Tuesday, 6 May 2025
CoolLife

11 มีนาคม พ.ศ. 2473 ระลึกถึง ‘อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ’ ผู้ให้กำเนิดแบบเรียน ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’

หากพูดถึงชั่วโมงเรียนภาษาไทยในวัยประถม หลายคนคงนึกถึงตัวละคร ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ แบบเรียนที่เด็กไทยหลายคนต้องเคยได้สัมผัสและในวันที่ 11 มีนาคม ก็นับว่าเป็นวันเกิดของผู้ให้กำเนิดแบบเรียนในความทรงจำ ‘อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ’

โดยแบบเรียน ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ เคยใช้เป็นแบบเรียนวิชาภาษาไทย ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521-2537 แน่นอนว่าสำหรับใครที่อายุเลข 3 ขึ้นไป ต้องเคยได้สัมผัสและเติบโตไปพร้อมกับเรื่องราวของมานะ มานี จนเขียนอ่านได้คล่อง ถึงแม้ว่าอาจารย์รัชนี ได้จากโลกนี้ไปแล้ว แต่ตัวละครต่างๆ ก็ได้กลายเป็นความทรงจำสีจางให้กับหลายคน

‘อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ’ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2473 นับได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อการศึกษาไทยในวิชาภาษาไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งขณะรับราชการเป็นศึกษานิเทศก์ครูภาษาไทย ท่านได้รับมอบหมายจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เขียนเรื่องประกอบหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ โดยนำมาใช้เป็นแบบเรียนตามหลักสูตรจวบจนถึงปี 2537 และเป็นผลงานที่ทำให้ท่านได้รับการยกย่องมาจวบจนถึงทุกวันนี้ 
 

18 ปี อุ้มหายกลางเมือง ‘ทนายสมชาย นีละไพจิตร’ ทนายและนักสิทธิมนุษยชนมุสลิมชาวไทย

ทนายสมชาย นีละไพจิตร เป็นนักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนมุสลิมชาวไทย ที่มักเข้าไปมีบทบาทเป็นทนายให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะคดีที่ประชาชนถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการก่อการร้ายจนจำเลยพ้นจากข้อหาได้เกือบทุกคดี ทำให้เขานั้นกลายเป็นที่รู้จักในฐานะ ‘ผู้ที่ทวงคืนความยุติธรรมให้แก่ชาวบ้านชายแดนใต้’ หรือในอีกแง่หนึ่งที่บางคนอาจรู้จักเขาในฐานะ ‘ทนายโจร’

ไม่ว่าเขาจะถูกเรียกขานอย่างไรก็ตาม จุดมุ่งหมายหลักของเขานั้นก็คือการช่วยเหลือคนเพื่อให้ได้รับความ ‘ยุติธรรม’ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแม้แต่น้อย หากแต่การเป็นทนายน้ำดีของเขาที่เข้าไปมีบทบาทพัวพันกับคดีความมั่นคงมากมาย อาจไปขัดต่อความคิดเห็นหรือขัดขาคนบางกลุ่ม จนทำให้เขาต้องประสบกับเหตุไม่คาดฝันที่ทำให้เขาต้องกลายเป็น ‘บุคคลสูญหาย’ ในที่สุด 

โดยย้อนกลับเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547 ทนายสมชายได้เดินทางไป โรงแรมชาลีน่า เพื่อรอพบเพื่อน หลังจากนั่งรอที่ล็อบบี้ของโรงแรม แต่เพื่อนมาช้ากว่ากำหนดมาก บวกกับความอ่อนเพลีย และอยากพักผ่อน จึงทำให้ทนายสมชายตัดสินใจเดินทางกลับ 

ในระหว่างเดินทางกลับด้วยรถยนต์ส่วนตัว ทนายสมชายได้ใช้เส้นทางถนนรามคำแหง เพื่อมุ่งหน้าไปค้างคืนที่บ้านเพื่อน แต่ระหว่างทางนั้นกลับมีรถยนต์ที่บรรทุกชายฉกรรจ์จำนวน 5-6 คน ตามมาอย่างกระชั้นชิด จนชนท้ายรถยนต์ของทนายสมชาย

ทำให้ต้องหยุดรถเพื่อลงมาพูดคุย หากแต่ว่าทนายสมชายกลับถูกทำร้ายและผลักเข้าไปในรถยนต์ของชายฉกรรจ์ และมีชายอีกคนขับรถของทนายสมชายขับหลบหนีออกไปพร้อมกัน และนั่นจึงกลายเป็น ‘ครั้งสุดท้าย’ ที่มีผู้คนเห็นทนายสมชาย

วันนี้เมื่อ 240 ปีก่อน ‘วิลเลียม เฮอร์เชล’ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบ ‘ดาวยูเรนัส’ ดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

วันนี้เมื่อ 240 ปีก่อน ได้มีการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เมื่อนักดนตรีอาชีพ ผู้หลงใหลในดาราศาสตร์ จนทำให้งานอดิเรกของเขา สร้างการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ และกลายเป็นผู้ค้นพบ ‘ดาวยูเรนัส’ ในที่สุด เขาคนนั้น ก็คือ ‘วิลเลียม เฮอร์เชล’ นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ เชื้อสายเยอรมัน ได้ค้นพบ ‘ดาวยูเรนัส’ ดาวเคราะห์แก๊สที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ของระบบสุริยะโดยบังเอิญ ในขณะที่เขากำลังส่องกล้องโทรทรรศน์เพื่อสำรวจดาวฤกษ์

โดยการค้นพบของเขานั้น เกิดจากการที่เฮอร์เชลนั้นได้มองเห็นดาวดวงหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านไปอย่างช้าๆ ในตอนแรกเขาคิดว่ามันเป็นเพียงดาวหาง แต่เมื่อเฝ้าติดตามสังเกตอยู่หลายสัปดาห์ เฮอร์เชลจึงได้คำนวณวงโคจรของวัตถุที่เขาค้นพบ และพบว่าวัตถุดังกล่าว คือดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และไกลจากวงโคจรของดาวเสาร์ออกไปถึง 2 เท่า 

14 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับวัน ‘White Day’ ของญี่ปุ่น วันมอบของแทนใจจากฝ่ายชายสู่ฝ่ายหญิง

ถ้าพูดถึงเทศกาลสำคัญที่รายล้อมไปด้วยดอกไม้ และช็อกโกแลต เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงต้องนึกถึงวันวาเลนไทน์ แต่ว่าในประเทศญี่ปุ่นเอง กลับมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่รายล้อมไปด้วยดอกไม้ และช็อกโกแลต ไม่ต่างไปจากวันวาเลนไทน์ นั่นก็คือวัน ‘White Day’ ของชาวญี่ปุ่น

โดยตามธรรมเนียมญี่ปุ่น ในวันวาเลนไทน์มักเป็นวันที่ฝ่ายหญิงมอบของขวัญให้แก่ฝ่ายชาย ดังนั้น อีก 1 เดือนถัดมา ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ก็จะเป็นวันที่ฝ่ายชายจะได้ให้ของขวัญกลับแก่ฝ่ายหญิง ซึ่งดูเป็นเทศกาลแสดงความรักที่แสนน่ารักอีกเทศกาลหนึ่ง

แต่รู้หรือไม่ว่าเทศกาล ‘White Day’ จริง ๆ แล้วมีที่มา ที่ไปอย่างไร?

จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1977 ทางบริษัทขนม อิชิมุระ มันเซโดะ ในจังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการตลาดเพื่อโปรโมทสินค้า ‘มาร์ชเมลโล’ โดยมุ่งเป้าไปที่ ‘กลุ่มเพศชาย’ ซึ่งการตลาดนี้ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นกระแสที่ทำให้เกิด ‘วันมาร์ชเมลโล’ ขึ้น 

‘วันสิทธิผู้บริโภคสากล’ วันสำคัญที่มีขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้บริโภคทุกคนตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง

15 มีนาคมของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่มีขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้บริโภคทุกคนตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกคนอย่างทั่วถึงทั้งโลก ซึ่งต่างเรียกวันนี้ว่า ‘วันสิทธิผู้บริโภคสากล’ หรือ ‘World Consumer Rights Day’

โดยจุดเริ่มต้นของวันสิทธิผู้บริโภคสากล เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เป็นผู้บัญญัติวันสำคัญสากลนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า Consumer Right Day โดยได้รับการรับรองจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International)

แม้ว่าการเกิดขึ้นครั้งแรกอาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในวันที่ 15 มีนาคม ปี ค.ศ. 1983 ได้มีการจัดแคมเปญนี้ขึ้นอีกครั้ง โดยจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม และเผยแพร่ความสำคัญของวันสิทธิผู้บริโภคสากลตามสื่อต่างๆ เท่าที่จะทำได้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วันที่ 15 มีนาคมของทุกปี จึงกลายเป็น ‘วันสิทธิผู้บริโภคสากล’

ซึ่งในประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญ กับสิทธิผู้บริโภคไม่แพ้กัน โดยเห็นได้จากร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2559 ก็ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 46 ว่า "สิทธิของผู้บริโภค ย่อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิร่วมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค

องค์กรของผู้บริโภคตามวรรคสองมีสิทธิร่วมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อำนาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
 

16 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันไม่เซลฟี่’

ในวันที่โลกมีความเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของผู้คนต่างก็เปลี่ยนตาม สิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตมนุษย์ไม่น้อยนั่นก็คือเทคโนโลยีที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่นำมาซึ่ง สังคมไร้ขอบเขตอย่าง ‘โซเชียลมีเดีย’ ที่เข้ามามีอิทธิพลกับมนุษย์ไม่น้อย

หากมองถึงโลกในปัจจุบันไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือ วัฒนธรรมการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะ กิน เที่ยว ตื่น หรือนอน เรียกได้ว่าบางคนถ่ายทุกช็อตการใช้ชีวิต จนแทบจะกลายเป็นสารคดีอยู่แล้ว ซึ่งภาพเหล่านี้ก็จะถูกเจ้าตัวนำไปโพสต์ เพื่อหวังการตอบกลับจากการกดไลก์ กดแชร์ หรือแม้แต่คอมเมนต์ 

ซึ่งในวันนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 16 มีนาคม จึงเป็นวันสำคัญวันหนึ่งนั่นก็คือ “วันงดเซลฟี่” (No Selfie Day) วันที่มีขึ้นเพื่อเตือนสติมนุษย์โซเชียลทั้งหลายให้หลุดจากสังคมก้มหน้า และหันหน้ามายิ้มกับคนรอบข้างมากกว่ายิ้มให้กล้อง โดยในวันนี้เป็นวันที่ต้องการรณรงค์ให้คนทั่วโลกหยุดถ่ายรูปตัวเองชั่วคราว ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้หญิงใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมง 24 นาทีในแต่ละอาทิตย์เพื่อถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเอง ซึ่งบางครั้งอาจทำให้หมกมุ่นอยู่กับการเซลฟี่มากเกินไป

17 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันมวยไทย’ หรือ ‘วันนักมวย’ เพื่อรำลึกถึงบรมครูมวย ‘นายขนมต้ม’

วันมวยไทย หรือวันนักมวย ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันระลึกเหตุการณ์ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ที่ นายขนมต้ม นักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา ได้ขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้ามังระ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 และสามารถชนะได้ถึงสิบคน ทำให้ศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวของไทยได้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพร้อมกันนี้นายขนมต้มยังได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือน "บิดามวยไทย" อีกด้วย

โดยนายขนมต้ม เกิดที่ตำบล บ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเกิดและ นางอี มีพี่สาวชื่อ เอื้อย แต่หลังการบุกของทัพพม่าได้ทำให้พ่อแม่และพี่สาวถูกพม่าฆ่าตายทั้งหมด มีเพียงแต่นายขนมต้มคนเดียว ที่รอดชีวิตมาได้ จากการถูกจับเป็นเชลยในระหว่างการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และได้ไปอาศัยอยู่ในวัดตั้งแต่เล็ก ก็ได้เรียนรู้วิชาการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยอย่างต่อเนื่อง จนมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ

ดังปรากฏในพงศาวดารว่า “เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ 17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า “นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก”

เมื่อ 84 ปีที่แล้ว ‘สวนสัตว์ดุสิต’ หรือ ‘เขาดินวนา’ เปิดให้บริการวันแรก

หากพูดถึงสวนสัตว์ในยุคสมัยนี้เรียกได้ว่ามีมากมายให้เลือกสรร ซึ่งเป็นสถานที่ยอดฮิต ที่ผู้คนมักเลือกไปพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ อีกด้วย สวนสัตว์สมัยนี้ต่างเต็มไปด้วยสัตว์แปลกใหม่ หรือแม้แต่เพิ่มความตื่นตาตื่นใจมากมาย เพื่อสร้างความโดดเด่น ให้ดึงดูดผู้เข้ามาเยี่ยมชม แต่กว่าที่ประเทศไทยของเราจะมีสวนสัตว์มากมายผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดขนาดนี้ รู้หรือไม่ว่า ‘สวนสัตว์แห่งแรกของไทย คือที่ไหน ?’ 

สวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จักในชื่อว่า ‘สวนสัตว์ดุสิต’ หรือ ‘เขาดินวนา’ โดยสวนสัตว์ดุสิต ตั้งอยู่ในบริเวณของ ‘วังสวนดุสิต’ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อสวนและนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงคลองสามเสน ด้านตะวันออกถึงทางรถไฟ ด้วยเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยพระราชทานชื่อที่ตำบลนี้ว่า ‘สวนดุสิต’

โดยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2481 เทศบาลนครกรุงเทพ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ดัดแปลงบริเวณสวนสัตว์กรุงเทพ เป็นสวนสาธารณะเปิดให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยมิต้องมีค่าเช่า และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นสวนสาธารณะ 

ทั้งยังพระราชทานลูกหลานกวางดาวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากอินโดนีเซีย ที่เมืองบุยเตนซอค (Buitenzurg) เมื่อการเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งหลัง พ.ศ. 2444 (ร.ศ. 120) และสัตว์อื่นอีก 2-3 ชนิด จากสวนกวางบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน มาเลี้ยง และได้โอนกิจการสวนสัตว์ดุสิตของเทศบาลนครกรุงเทพ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของกระทรวงมหาดไทย มาอยู่กับองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์

32 ปี สถาปนา ‘คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ สถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ 

นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขณะนั้น จัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531

ในการดำเนินการได้มีการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการผลิตบัณฑิตแพทย์พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2533
 

‘พอร์ตแลนด์’ เอย จงอย่าหยุด ‘เพี้ยน’ (Keep Portland weird)

‘พอร์ตแลนด์’ (Portland) ถือเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเรียงนามกระฉ่อนทั่วโลกมาแต่ไหนแต่ไร แถมยังขึ้นชื่อว่าเป็นอีกเมืองฮิพแห่งรัฐโอเรกอนอย่างมากด้วย 

สังเกตได้จาก เมืองนี้ เต็มเปี่ยมไปชาวเมืองที่มีแนวคิดในการดูแลสิ่งแวดล้อมและแสดงออกได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันยังเป็นเมืองต้นแบบอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาในการสร้างและจัดการระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุม

...เราจะพบเห็นทางจักรยานที่ถูกสร้างให้คนสัญจร ออกกำลังกาย รวมไปถึงปั่นไปทำงานก็ได้ 

...อีกทั้งเมืองนี้ ยังเต็มไปด้วยสวนสาธารณะที่เอื้อให้คนได้ใช้พื้นที่สีเขียวร่วมกันสำหรับพักผ่อน แถมยังมีการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างเป็นระบบด้วยนะ

...Portland ยังเป็นศูนย์รวมคนหลายกลุ่มหลากประเภท ตั้งแต่ฮิพสเตอร์แต่งกายแลดูเรียบๆ แต่แอบติดหรูแบรนด์เนม ดูเนิร์ดใส่แว่นตา แต่ก็โคตรเท่ประมาณนั้น หรือจะเป็นเด็กฮิพย้อมผมสีฉูดฉาดตัดกับผิวสีขาวซีดที่เต็มไปด้วยรอยสักประหนึ่งขนเอาสวนสัตว์เปิดเขาเขียวมาไว้บนผิวหนัง พวกฮิปปี้ซึ่งนิยมสวมเสื้อผ้าวินเทจและดูดปู๊นเป็นเนืองนิจก็มี ถ้าจะให้คูลต้องถกกันด้วยหลักปรัชญาตะวันออก

...นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มคนเฉพาะที่บ้ากาแฟขึ้นสมองก็มากองกันอยู่ที่นี่ ร้านกาแฟคลื่นที่สามที่สี่มากมายชนิดทำ Coffee Shop กันไม่หวาดไม่ไหว

...โรงผลิตเบียร์คราฟต์เบียดตัวในย่านท่องเที่ยวกินดื่มแข่งกับร้านขายกัญชา

...แพทย์แผนตะวันออกได้รับความนิยมพอๆ กับโรงพยาบาลฝรั่ง

...ช่างสักตามร้านที่เห็นได้ทั่วไปทำเงินเป็นกอบเป็นกำ บางเจ้าถึงขั้นเปิดโรงเรียนสอนการสักก็มี

...ศิลปินทุกแขนงทั้งแบบสร้างผลงานขายเป็นเรื่องเป็นราวกับศิลปินริมถนนผสมปนเปกันอยู่ในหม้อหลอมใบนี้ 

…กลุ่ม LGBTQ ก็มีพื้นที่ยืนในสังคมได้อย่างค่อนข้างเสรี 

...ร้านอาหาร ผับ บาร์ ฟู้ดทรักมากมายขายอาหารและเครื่องดื่มทุกสัญชาติบนโลกใบนี้ เรียกว่าใครอยากกินเมนูประเทศอะไรเมืองนี้ประเคนให้ได้หมด 

...แถมยังขึ้นชื่อว่ามีความหนาแน่นของสถานเริงรมย์ประเภทคลับโชว์เปลื้องผ้ามากที่สุดในอเมริกาอีกด้วย

...นอกจากนี้ ในส่วนของย่านใจกลางเมือง ก็มีพลเมืองรวมๆ กันอยู่ร่วมครึ่งล้าน แต่เมื่อรวมชานเมืองโดยรอบนับหัวก็จะได้ราว 3 ล้านคน โดยผสมผสานไปด้วยความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติเป็นเงาตามตัวด้วย แต่แน่นอนคนขาวยังคงเป็นประชากรหลัก พวกตะวันออกกลางและอาหรับก็มีบ้าง ในขณะที่เม็กซิกันและคนเชื้อสายละตินค่อนข้างมากและมักไปกระจุกกันอยู่แถว Hillsboro ซึ่งอยู่ชานเมืองด้านตะวันตก จนคนล้อกันว่าเป็น Hillburito ส่วนพวกเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม, จีน, เกาหลี, ไทย, ลาว ทั้งหลายต่างไปรวมกันอยู่แถว Happy Valley ซึ่งอยู่ค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง จึงสังเกตได้ว่าแนวถนนหมายเลข SE 82 มักเต็มไปด้วยร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติผิวเหลือง

ความหลากหลายต่างมิติทั้งสภาพแวดล้อมและเชื้อชาติดังกล่าวข้างต้น มันเลยเป็นที่มาว่าทำไม Portland ถึงดูจะกลายเป็นเมืองเพี้ยนๆ มากพอตัว 

แต่เชื่อไหมว่า ชาวเมืองบางส่วนเห็นความเพี้ยนที่ผสมปนเปเหล่านี้ ว่าเป็นจุดเด่น แถมดูจะภูมิอกภูมิใจ ถึงขั้นเขียนประโยคขึ้นผนัง Keep Portland weird หรือแปลให้เข้าง่ายก็คง “พอร์ตแลนด์เอ๋ย จงอย่าหยุดเพี้ยน” 

แต่ในมุมที่ควรยอมรับต่อการถอยห่าง Portland มันเริ่มหนักข้อขึ้น โดยเฉพาะช่วงปีหลังๆ มานี้เกิดการแตกขั้วทางความเห็นเกี่ยวกับการเมืองค่อนข้างรุนแรง ประจวบเหมาะกับโรคอุบัติใหม่เมื่อปีที่แล้ว ทำให้เศรษฐกิจเมืองระส่ำระสายไปพักใหญ่ จนกลายสถานประกอบการต้องพังลงไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top