Tuesday, 6 May 2025
CoolLife

‘วันความสุขสากล’ วันแห่งการตระหนักถึงความสุขในชีวิต 

‘วันความสุขสากล’ เชื่อว่าอาจเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างและหากพูดถึงที่มาที่ไปของวันนี้ละก็ ต้องย้อนกลับไป ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่ประชุมสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวัน ‘ความสุขสากล’ หรือ ‘The International Day of Happiness’

แต่หากถามถึงแรงบันดาลใจ ที่ทำให้สหประชาชาติกำหนดวันแห่งความสุขขึ้นมาละก็คงไม่พ้น แนวคิดริเริ่มที่ได้มาจาก ‘ประเทศภูฏาน’ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก’ แถมยังติดอันดับที่ 1 ในการวัดความรุ่งเรืองของชาติและความสำเร็จทางสังคม หรือดัชนีมวลรวมความสุข หรือ Gross National Happiness Index (GNH) โดยที่การวัดค่าดังกล่าวไม่ได้นำการใช้เศรษฐกิจ หรือความร่ำรวยทางวัตถุมาเป็นตัวตัดสินการพัฒนา แต่กลับหันมามองแบบองค์รวมว่าจิตใจที่ดีของประชาชนและชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าวัตถุ

เมื่อเห็นถึงแนวคิดที่ไม่ได้วัดค่าจากความมั่งคั่งทางวัตถุแต่วัดจากความมั่งคั่งความสุขทางใจแบบนี้แล้ว ‘ยูเอ็น’ จึงได้มีมติกำหนด ‘วันความสุขสากล’ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ  2 ข้อ ด้วยกัน คือ เพื่อให้ทุกคนร่วมเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชนรวมถึงแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของมนุษย์ และเพื่อเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันและเข้าถึงนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชนทุกๆ
 

21 มีนาคม  วันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

เชื่อว่าหากพูดถึงชื่อนี้ คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จักเขา ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบัน แน่นอนว่าหากพูดถึงเขาคนนี้ ทุกคนต้องรู้จักเขาในบทบาทของนักการเมืองใหญ่ ทหารยศสูง วันนี้จึงจะพาทุกคนมาเปิดประวัติ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ของ ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ชื่อเล่น ตู่ เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

โดนเขาสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดาซึ่งเป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในสมัยที่ศึกษาอยู่ที่นี่เขาเคยถูกนำเสนอประวัติผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ในฐานะเด็กเรียนดีอีกด้วย จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

วันนี้เมื่อ 288 ปี ก่อน ตรงกับวันพระราชสมภพ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’

วันพระราชสมภพ ของ ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’ หรือที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักในนาม ‘พระเจ้าตาก’ เรียกได้ว่าเป็นข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งจากข้อถกเถียงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดมากมาย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ได้เสนอไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยใช้การคำนวณย้อนหลังจากวันเสด็จสวรรคตตามที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโหรว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาได้ 48 ปี 15 วัน และตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า ทรงถูกประหารชีวิตในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 และวันพระราชสมภพคือวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277

แต่หากถือตามหลักฐานฝ่ายไทยซึ่งบันทึกว่าเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2326 วันพระราชสมภพก็คือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 ประเด็นนี้ก็สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อมูลแก่หมอสมิธ เพื่อเขียนประวัติศาสตร์ไทยว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระราชสมภพในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2277

อย่างไรก็ดี แม้จะยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ แต่เรื่องราวของอดีตกษัตริย์ไทยพระองค์นี้ ยังเป็นที่สนใจของเราชาวไทยเสมอมา

โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ 

ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่างๆ ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง 

11 ปี วันสถาปนา ‘จังหวัดบึงกาฬ’ จังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย 

หากย้อนกลับไปในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 หรือว่า 11 ปีก่อน ประเทศไทย ได้มีจังหวัดเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 76 จังหวัด กลายเป็น 77 จังหวัด โดยจังหวัดนั้นก็คือ ‘จังหวัดบึงกาฬ’

โดยประวัติของจังหวัดบึงกาฬ เดิมเป็น อำเภอบึงกาฬ ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม โดยมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยในปี พ.ศ. 2459 ทางราชการ ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ปี พ.ศ. 2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก “บึงกาญจน์” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น “อำเภอบึงกาญจน์” ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ. 2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น “อำเภอบึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับ

วันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช’ เสด็จนิวัตประเทศไทย พร้อม ‘ม.ร.ว. สิริกิติ์’ พระยศในขณะนั้น

หากย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยการมาถึงของบุคคลสำคัญในครั้งนี้ได้ตราตรึงและสร้างความปลื้มปริ่มให้กับคนไทยทั้งชาติ โดยวันนี้ตรงกับวันที่ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช’ เสด็จประเทศไทย พร้อม ‘ม.ร.ว. สิริกิติ์’ พระยศในขณะนั้น

โดยย้อนกลับไปในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2492 อธิบดีกรมโฆษณาการได้เปิดแถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จมาราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้นเดือนมีนาคม 2493 อย่างแน่นอน โดยจะเสด็จทางชลมารค ซึ่งมีบริษัทเดินเรือทะเลหลายบริษัทแสดงความจำนงอัญเชิญเสด็จกลับโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด แต่ทางราชการยังไม่ตกลงว่าจะใช้เรือของบริษัทใด สำหรับราชองครักษ์ประจำพระองค์ในขบวนเสด็จ ทางราชการได้จัดให้พลตรีหลวงสุรณรงค์ สมุหราชองครักษ์ เดินทางไปรับเสด็จภายใน 7 วัน และบางทีสมเด็จพระราชชนนีจะไม่เสด็จกลับมาด้วยเนื่องจากอุบัติเหตุ”

แต่แล้วในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ วิทยุจากเมืองวิลฟรังก์ ประเทศฝรั่งเศส ได้ออกข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ได้ประทับเรือซีแลนเดีย ออกจากเมืองท่าวิลฟรังก์มาแล้ว ในโอกาสนั้น เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศสได้ถวายช่อดอกไม้แด่ว่าที่สมเด็จพระราชินีด้วย

ข่าวนี้กระตุ้นให้ประชาชนเฝ้ารอถวายความจงรักภักดียิ่งขึ้นตามลำดับ

เรือพระที่นั่งผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เข้าคลองสุเอซมาออกมหาสมุทรอินเดีย สถานที่ทรงแวะที่ควรกล่าวถึงก็คือ ลังกา รัฐบาลได้ทูลเชิญทรงปลูกต้นจันทน์ ส่วนที่สิงคโปร์ ทางการอังกฤษได้ทูลเชิญให้ประทับแรม โดยจัดต้อนรับเสด็จอย่างมโหฬาร คนไทยในสิงคโปร์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ที่ห้องโถงของสถานกงสุลไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในฉลองพระองค์ลำลองพร้อมด้วย ม.ร.ว.สิริกิติ์ และ ม.ร.ว.บุษบา กิติยากร ทรงทักทายคนที่ทรงรู้จัก กงสุลไทยได้นำผู้แทนร้าน “สิงคโปร์โฟโต้” 4 คนเข้าเฝ้าฯ ถวายกล้องถ่ายภาพให้ทรงเลือก ซึ่งทรงเลือกไว้ 1 กล้อง

วันที่ 24 มีนาคม เรือซีแลนเดียได้เข้าทอดสมอเทียบท่าเกาะสีชังเมื่อเวลา 07.00 น.เศษ รัฐบาลได้ส่งเรือ ร.ล.สุราษฎร์เป็นเรือพระที่นั่งมารับเสด็จ มี ร.ล.สุโขทัย และ ร.ล.อาดัง ตามขบวน และเครื่องบินแห่งราชนาวีบินทักษิณาวัตรถวายเกียรติยศ

เมื่อเสด็จจากเรือซีแลนเดียมาประทับ ร.ล.สุราษฎร์แล้ว ขบวนเรือพระที่นั่งก็มุ่งผ่านสันดอนมาที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งรัฐบาลจัด ร.ล.ศรีอยุธยาเป็นเรือพระที่นั่งนำเสด็จสู่พระนคร และเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ร.ล.ศรีอยุธยา พร้อมด้วย ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระคู่หมั้นแล้ว จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องยศจอมพลเรือ ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทหาร พลเรือน เฝ้าฯ รับเสด็จ 

ส่วนในท้องน้ำ บรรดาเรือของชาวสมุทรปราการที่มารับเสด็จ ต่างรายล้อมเข้ามารอบเรือพระที่นั่ง เพื่อปรารถนาจะชมสิริโฉม ม.ร.ว.สิริกิติ์ ต่างเห็นพระอิริยาบถอันละมุนละไม นิ่มนวลเป็นสง่า มีรอยยิ้มที่เปี่ยมด้วยเมตตาอยู่เป็นนิจ

เมื่อพิธีถวายเครื่องยศจอมพลเรือเสร็จเรียบร้อย ร.ล.ศรีอยุธยาจึงเคลื่อนลำนำเสด็จเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา ท่ามกลางเรือยนต์ เรือกลไฟ เรือแจว และเรือพายของราษฎรคับคั่ง ลอยลำรับเสด็จและเปล่งเสียงถวายพระพรไม่ขาดสาย ม.ร.ว.สิริกิติ์ ยืนเคียงข้างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่บนหอบังคับการเรือ ให้ราษฎรได้ยลสิริโฉม

หลังจากแวะเทียบท่าหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุดธูปเทียนสักการะพระสมุทรเจดีย์แล้ว ร.ล.ศรีอยุธยาเข้าเทียบท่าราชวรดิฐเมื่อเวลา 15.00 น.ตามหมายกำหนดการ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์ชุดจอมพลเรือ เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง มี ม.ร.ว.สิริกิติ์ ตามเสด็จอย่างใกล้ชิด เสด็จขึ้นประทับ ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ร.ล.แม่กลองยิงสลุต 21 นัด เจ้าพนักงานเชิญพระแสงราชอาญาสิทธิ์น้อมเกล้าฯ ถวาย จากนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการ กราบบังคมทูลถวายพระราชกรณียกิจเพื่อทรงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“โดยที่บัดนี้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จมาประทับในราชอาณาจักรแล้ว ความเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพระพุทธเจ้าได้สิ้นสุดลง นับแต่นี้เป็นต้นไป”

หลังจากทรงมีปฏิสันถารกับข้าราชการผู้ใหญ่และทูตานุทูตแล้ว เสด็จไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อถวายสักการะพระพุทธปฏิมากร และรับคำถวายพระพรชัยมงคลจากบรรพชิตจีนญวน แล้วเสด็จไปถวายเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระบรมอัฐิสมเด็จพระราชบิดา ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน แล้วเสด็จไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อทรงวางพวงมาลาและถวายบังคมพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐา และทรงถวายนมัสการพระสัมมาสัมพุทธพรรโณภาษ แล้วเสด็จประทับรถพระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวังไปประทับพระตำหนักสวนจิตรลดา ตลอดเส้นทางมีประชาชนไปคอยเฝ้าฯ รับเสด็จแน่นขนัด

ส่วน ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระคู่หมั้น ได้ไปพักที่วังเทเวศร์ อันเป็นที่ประทับของ ม.จ.นักขัตรมงคล

25 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาสและการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

วันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาสและการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก’ หรือ ‘International Day of Remembrance of the Victims of Slavery and the Transatlantic Slave Trade’

โดยวันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาส และการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ริเริ่มขึ้นโดย องค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงกลุ่มคนจากทวีปแอฟริกาที่ต้องจากบ้านเกิดข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้รับความทุกข์ทรมาน ถึงขนาดต้องสังเวยชีวิต จากระบบทาสที่โหดร้าย เพื่อมาเป็นทาสในดินแดนของคนผิวขาวเป็นจำนวนมากกว่า 15 ล้านคนตลอดระยะเวลากว่า 400 ปี 

126 ปี วันสถาปนากิจการ ‘รถไฟไทย’ จากพระราชวิสัยทัศน์กว้างไกลของ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 5’

ย้อนกลับไปประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่แต่ก่อนนั้น การคมนาคมไม่ได้สะดวกสบายอย่างเช่นทุกวันนี้ ในสมัยก่อนผู้คนยังคงนิยมสัญจรไปมาโดยใช้สัตว์ เช่น โค กระบือ ม้า ช้างและเกวียน เป็นพาหนะ กระทั่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ซึ่งทรงเป็นประมุขของประเทศได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการคมนาคมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำความรุ่งเรืองมาสู่ชาติบ้านเมือง หนึ่งในนั้นก็คือการคมนาคมทางรถไฟ

โดยย้อนกลับไปก่อนที่การรถไฟหลวงจะถือกำเนิดขึ้นนั้นปรากฏว่าในปีพุทธศักราช 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษให้ เซอร์ จอห์น เบาริง (Ser John Bowring) ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พร้อมด้วย มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค (Mr. Harry Smith Parkes) กงสุลเมืองเอ้หมึง เป็นอุปทูต เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางราชไมตรีฉบับที่รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ทำไว้กับรัฐบาลไทยเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 ซึ่งในกาลนั้น มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค ได้นำสนธิสัญญาฉบับใหม่ออกไปประทับตราแผ่นดินอังกฤษ แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนสนธิสัญญากับฝ่ายไทย 

พร้อมทั้งอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษเข้ามาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริงประกอบด้วย รถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษ ราชบรรณาการในครั้งนั้นสมเด็จพระนางวิคตอเรีย ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงคิดสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในราชอาณาจักรไทย แต่เนื่องจากในขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในฐานะไม่มั่นคง และมีจำนวนพลเมืองน้อย กิจการจึงต้องระงับไว้

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมือง สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น 

ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอนๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430 

111 ปี ‘พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กรมศิลปากร'

ย้อนกลับไปเมื่อ 111 ปี ก่อน ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 นับเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งกับประเทศไทย เนื่องจากวันนี้ตรงกับ ‘วันสถาปนากรมศิลปากร’ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของ ‘มรดกศิลปวัฒนธรรม’ 

โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริ ให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ มาจัดตั้งเป็น ‘กรมศิลปากร’ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่าร้อยปี กรมศิลปากรได้ทำภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครอง  ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ  

ย้อนรำลึก ‘ครูเวส สุนทรจามร’ เจ้าของบทเพลงในตำนาน ‘บุพเพสันนิวาส’

เมื่อพูดถึงบทเพลง ‘บุพเพสันนิวาส’ หรือ ‘พรหมลิขิต’ เชื่อว่าหลายคนต้องร้อง ‘อ๋อ’ เพราะนับได้ว่าบทเพลงเหล่านี้ เป็นบทเพลงคุ้นหูที่หลายคนเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง และอาจเรียกได้ว่าเป็นบทเพลง ‘อมตะ’ ที่เป็นผลงานจากนักประพันธ์เพลงชั้นครูอย่าง ‘ครูเวส สุนทรจามร’

โดย ‘เวส สุนทรจามร’ หรือ ‘ครูเวส’ นักประพันธ์เพลงที่มีผลงานแต่งทำนองให้กับวงสุนทราภรณ์ ร่วมกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูสุรัฐ พุกกะเวส เป็นจำนวนมาก เป็นครูเพลงที่มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงในวงการหลายคน เช่น วินัย จุลละบุษปะ, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ประพนธ์ สุนทรจามร, ธนิต ผลประเสริฐ เป็นต้น

แต่หากย้อนกลับไปถึงประวัติความเป็นมาของ ‘เวส สุนทรจามร’ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2442 ที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี มารดาชื่อ นางทองคำ สุนทรจามร บิดาเป็นทหาร ย้ายตามบิดาเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพ เรียนหนังสือที่วัดอนงคาราม พ.ศ. 2457 ขณะอายุได้ 15 ปี ก็สมัครเป็นทหารอยู่ที่ กรมทหารราบที่ 3 ซึ่งอยู่บริเวณกระทรวงกลาโหม และได้ฝึกหัดแตรวงอยู่กับครูฝึกชื่อ สิบตรีอั้น ดีวิมล และครูอั้นได้พาออกไปรับงานนอก เป่าแตรเพลงโฆษณารถแห่หนัง เป่าแตรหน้าโรงหนังก่อนหนังฉาย และเป่าเพลงเชิด เพลงโอด ประกอบภาพยนตร์

ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการยุบ ย้ายหน่วยทหาร จึงลาออกไปสมัครเป็นทหารในกองแตรวงทหารมหาดเล็ก จนกระทั่งถูกยุบวงเมื่อ พ.ศ. 2475 จึงไปเป็นนักดนตรีของวงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง กรมมหรสพ ภายใต้การดูแลของพระเจนดุริยางค์ และเล่นดนตรีแนวแจ๊สกับ เรนัลโด ซีเกร่า บิดาของแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ในเวลาเดียวกันก็ตั้งคณะละครวิทยุ ชื่อ คณะสุนทรจามร ประพันธ์เพลงร่วมกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล บันทึกเสียงวางจำหน่าย

พ.ศ. 2481 หลวงสุขุมนัยประดิษฐก่อตั้ง บริษัทไทยฟิล์มร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล และนายพจน์ สารสิน จัดตั้งวงดนตรีประจำบริษัทเพื่ออัดเพลงประกอบภาพยนตร์ จึงมาชวนไปอยู่ด้วย โดยมีครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง และมีโอกาสได้อัดเพลงยอดฮิตหลายเพลง เช่น เพลงบัวขาว, ลมหวน ของท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์

29 มีนาคม พ.ศ. 2430 วันเกิด ‘พระยาพหลพลพยุหเสนา’ บุคคลสำคัญผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นามเดิม พจน์ พหลโยธิน เป็นนายทหารปืนใหญ่ เชษฐบุรุษ และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่สอง ทั้งยังเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือผู้ก่อการปฏิวัติสยามใน พ.ศ. 2475 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และยังเป็นผู้นำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

โดยนายพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา มีนามเดิมว่า “พจน์ พหลโยธิน” เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน) (บางตำราว่าเขียนนามบิดาของท่านว่า กิ่ม และบางตำราว่าเขียนนามมารดาของท่านว่า จีบ) กับคุณหญิงจับ พหลโยธิน สมรสกับคุณหญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา

ในด้านของการศึกษา นายพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียน นายร้อยทหารบก โดยมีผลการเรียนดีมาตลอด ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมนี ศึกษาอยู่ 3 ปี ต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2455 ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์ก เรียนได้ปีเดียวถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

โดย นายพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา รับราชการครั้งแรกประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี และเลื่อนขั้นขึ้นมาตามลำดับ จนวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาพหลพลพยุหเสนา” มีราชทินนามเดียวกับบิดา

ในด้านบทบาททางการเมืองของ พระยาพหลพลพยุหเสนา นับว่าสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับประเทศไทยไม่น้อย โดยได้ร่วมกับ “คณะราษฎร” โดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรและเป็นหัวหน้าสายทหารบก ทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็นระบอบ “ประชาธิปไตย” โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ในปี พ.ศ. 2475 ได้รับตำแหน่งพิเศษ เป็นกรรมการกลางกลาโหม ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 จึงได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก (บางตำราเดือนกรกฎาคม) และดำรงตำแหน่งกรรมการราษฎร รัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ได้กระทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (สมัยที่ 3) อันเนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีปิดสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญ โดยนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (ยศในขณะนั้น) ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทยหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top