Wednesday, 26 June 2024
เลือกตั้ง

‘เสี่ยหนู’ ไม่กังวล เสียคะแนนนิยม ปม ‘ชูวิทย์’ โจมตี  ชี้ ปชช. มีสิทธิ์ตรวจสอบ เปรียบ ‘ภท.’ เป็นภูเขาทอง

(18 มี.ค. 66) ที่พรรคภูมิใจไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวภายหลังการเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.กทม. 33 เขต พรรคภูมิใจไทย ว่า ผู้สมัครและผู้บริหารพรรคลงพื้นที่ทุกวัน พบปะชาวบ้านในชุมชนย่อยต่าง ๆ ซึ่งพบว่า ประชาชนให้การตอบรับกระแสของพรรคดีขึ้นเป็นอย่างมาก ชาว กทม. ชื่นชมในนโยบายต่าง ๆ อาทิ นโยบายเรื่องสุขภาพ การแก้ปัญหาฝุ่นละอองทางอากาศ ค่าครองชีพ เป็นต้น

เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หลังนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ออกมาคัดค้านพรรคภูมิใจไทย จะทำให้เสียคะแนนนิยมในพื้นที่ กทม.หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวสั้น ๆ ว่า “ไม่กังวล” และการเคลื่อนไหวของนายชูวิทย์ก็ไม่มีปัญหา เพราะพรรคภูมิใจไทยเปรียบเหมือนภูเขาทอง ส่วนที่เหลือก็ไปคิดกันเอาเอง

‘พิธา-อมรัตน์-สุทธวรรณ’ บุกนครปฐม หนุน การเกษตร ด้าน ‘ศิริกัญญา-ไอติม’ ลุยสุพรรณฯ รับฟังปัญหา SME

(18 มี.ค. 66) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พร้อมด้วย นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล, นางสาวสุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา และนายกิตติภณ ปานพรหมมาศ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นครปฐมเขต 4 ลงพื้นที่หาเสียง ที่ตลาดชุมชนบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม รวมทั้งได้พูดคุยกับกลุ่มเกษตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

โดยนายพิธาเริ่มต้นการหาเสียงด้วยการกล่าวว่า ขอบคุณชาวนครปฐมที่ให้ความไว้วางใจพรรคอนาคตใหม่ถึง 165,201 คะแนน เป็นแชมป์อันดับ 1 ของจังหวัดนครปฐม ได้ ส.ส. 2 จาก 5 ที่นั่ง และเดินไปในตลาดแห่งนี้ก็เชื่อว่าใน 3 คน ต้องมี 1 คนที่เคยเลือกพรรคอนาคตใหม่ คราวนี้จึงอยากขอความไว้วางใจอีกรอบ หากต้องหารเห็นวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่ อยากเห็นประเทศไทยไม่เหมือนเดิม ต้องกาก้าวไกลทั้ง 2 ใบ คราวนี้เราจำเป็นต้องได้ ส.ส. ให้มากที่สุด เพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศ

ในส่วนศักยภาพของจังหวัดนครปฐม นายพิธากล่าวว่า ชาวนครปฐมมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กว่า 12,460 ฟาร์ม ผลิตกุ้งคุณภาพไปกว่าปีละ 7,700 ตัน และมีสัดส่วนฟาร์มกุ้งก้ามกรามที่ได้การรับรองคุณภาพ GAP กว่า 38% มากที่สุดในประเทศไทย แต่ยังมีปัญหาต้นทุนการเลี้ยงสูงและอัตราการมีชีวิตรอดของลูกกุ้งต่ำ เพราะขาดแคนลูกพันธุ์คุณภาพ

“ที่น่าตกใจ คือ ถึงแม้นครปฐมจะเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่งบประมาณที่กรมประมงสนับสนุนในปีที่ผ่านมา คือ 0 บาท เรื่องแบบนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นในรัฐบาลพรรคก้าวไกล เพราะเรามีนโยบายรับรองมาตรฐาน GAP-GMP-เกษตรอินทรีย์ ฟรี!! พร้อมทั้งส่งเสริมการส่งสินค้าเกษตรคุณภาพดีไปทั่วโลก ผ่านการจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบการที่ขอใบรับรองของสินค้าแปรรูที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรแปรรูปไทยสู่มาตรฐานสากล” นายพิธา กล่าว

ส่วนนายกิตติภณ ปานพรหมมาศ ในฐานะว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. นครปฐมเขต 4 กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาของชาวนครปฐม นอกจากด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ต้องมีพัฒนาแล้ว ปัญหาอาชญากรรมและสิ่งแวดล้อม ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบกับคนในพื้นที่ ตนเชื่อว่า นโยบายพรรคก้าวไกลไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการถ้วนหน้า นโยบายสิ่งแวดล้อม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตคนนครปฐมและชีวิตคนไทยทั้งประเทศดีขึ้นแน่นอน

ในช่วงเวลาเดียวกัน นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย เดินสายหาเสียงพบพี่น้องประชาชนอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อรับฟังปัญหาผู้ประกอบการรายย่อย (SME) และร่วมแลกเปลี่ยนเปลี่ยนปัญหาเชิงพื้นที่ของตลาดเก่าศรีประจันต์ ซึ่งในอดีตเป็นตลาดที่คึกคักและเป็นจุดเชื่อมต่อทางคมนาคมที่สำคัญในการเดินทางไปยังกรุงเทพ ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนทำให้พื้นที่ตลาดถูกลดความสำคัญและเริ่มซบเซาลง

ปัจจุบันมีความพยายามพลิกฟื้นตลาดเก่าศรีประจันต์ จากกลุ่มผู้ประกอบการและศิลปินในพื้นที่ พยายามปรับปรุงพื้นที่บางส่วน พร้อมจัดแสดงผลงานศิลปะเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ขณะที่วิเชียร ตามสี ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. สุพรรณบุรี เขต 5 กล่าวว่า “ตลาดศรีประจันต์เป็นย่านเก่าแก่ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตคนสุพรรณ ปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่พยายามจะคืนชีพตลาดนี้ ส่วนตัวมองว่ามีโอกาสสร้างพื้นที่ตรงนี้ให้ดีกว่านี้ได้ เพราะตลาดมีจุดเด่นของตัวเองและสามารถเชื่อมโยงไปยังบึงฉวาก การมาเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคครั้งนี้เตรียมที่จะผลักดันต่อไป”

ด้านรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอกับพี่น้องประชาชนศรีประจันต์ระหว่างพูดคุยว่า ต้องตีโจทย์ตลาดเก่าศรีประจันต์ เพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสมต่อไป และถ้าหากมีการออกแบบหรือคิดไม่รอบด้าน สุดท้ายตลาดเก่าหรือบ้านเก่า จะถูกอนุรักษ์แบบแข็งตึงและไม่มีการพัฒนา และไม่สามารถทำสิ่งใดได้

‘ปชป.’ กระแสดี พร้อมปรับทัพ รับมือแบ่งเขตใหม่ ด้าน ‘องอาจ’ มั่นใจ!! ปักธงชัยสนาม กทม.ได้แน่นอน

(19 มี.ค. 66) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ดูแล กทม.และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ กทม. เปิดเผยว่า คาดว่า นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาภายใน 2-3 วันนี้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่โหมดของการเลือกตั้งเต็มรูปแบบ ซึ่งพรรค ปชป.ใน กทม. ได้เตรียมความพร้อมรองรับการยุบสภาฯ อยู่แล้ว ไม่ว่านายกฯ จะยุบสภาฯ วันไหน ก็พร้อมจะเดินหน้าทำตามกติกา กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และกฎหมายพรรคการเมืองทันที

ทั้งนี้ พรรคฯ ได้เตรียมยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง ส.ส. กทม. พร้อมนโยบายที่ตอบโจทย์ชาว กทม. รวมถึงผู้สมัคร ส.ส. กทม. ที่ผสมผสานกันระหว่างอดีต ส.ส. กทม. และคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไว้ครบถ้วน

‘ส.ส.กาย’ มั่นใจ!! ‘ก้าวไกล’ คว้าอันดับ 1 ส.ส.กทม. ชู นโยบายเพิ่มเบี้ยผู้สูงวัย ช่วยลดภาระลูกหลาน

(19 มี.ค. 66) นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ลุยพื้นที่รณรงค์หาเสียงต่อเนื่องหลัง กกต.แบ่งเขตใหม่ โดย นายณัฐชาระบุว่า พื้นที่ของตนในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือบางขุนเทียน-บางบอน บางขุนเทียน เฉพาะแขวงแสมดำและ เขตบางบอน เฉพาะแขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางบอน แม้จะมีพื้นที่ใหม่ก็ไม่หวาดหวั่นแต่อย่างใดเพราะ ผลงานของตนและพรรคก้าวไกล ทั้งในสภาและพื้นที่เป็นที่ประจักษ์ดีว่า พวกเราเป็นตัวแทนที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนจริง ๆ

นอกจากนี้ ได้มีการพูดคุยเพื่อนำเสนอนโยบายของพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญผู้สูงอายุ เพราะวันนี้ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุมีประชากรเกิดใหม่น้อยขึ้นลง ขณะที่ผู้สูงอายุมีแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้น แต่ปล่อยให้คนวัยทำงานแก่ตัวไปแบบไม่มีเงินเก็บ ไม่มีความมั่นคงในชีวิต กลายเป็นว่ายิ่งแก่ยิ่งจน ยิ่งแก่ยิ่งต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบทำงานชั่วชีวิต 

'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' นายกฯ หญิงคนเดียวของประเทศ กับวิบากกรรม 'จำนำข้าว'

ย้อนเวลาไป 12 ปีก่อน การเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนมากกว่า 15 ล้านเสียง ได้ส.ส. 265 จาก 500 คน เกินครึ่งของที่นั่งในสภา แต่ที่สำคัญกว่าการชนะเลือกตั้ง คือการผลักดัน 'นายกรัฐมนตรีหญิง' คนแรกของไทยก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง เธอคือ 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' โดยเป็นการพิสูจน์และเปิดประตูความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่น่าเสียดายที่บทส่งท้าย ของประวัติศาสตร์หน้าสำคัญนี้ กลับกลายเป็นความผิดพลาด เกิดวิบากกรรมทางการเมืองที่ทำให้เจ้าตัวยังไม่กลับประเทศไทยจนถึงวันนี้ 

กล่าวถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เธอเป็นบุตรสาวของนายเลิศ ชินวัตร อดีต ส.ส.เชียงใหม่ โดยในบรรดาลูกๆ ทั้ง 10 คนของนายเลิศ หลายคนเดินตามรอยของบิดาในการก้าวเข้าสู่สนามการเมือง ไม่ว่าจะเป็นอดีตนายกฯ ทักษิณ นางเยาวลักษณ์ นางเยาวเรศ นางเยาวภา และนายพายัพ ชินวัตร ส่วนลูกสาวคนสุดท้อง 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' เดิมไม่สนใจการเมืองแต่มุ่งหน้าเติบโตในสายธุรกิจ 

จนเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ในราวปลายปี 2551 เข้าสู่ยุคของพรรคเพื่อไทย 'ยิ่งลักษณ์' เป็นทางเลือกแรกของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคแต่ยังถูกปฏิเสธ ด้วยไม่อยากเข้าสู่การเมืองและสนใจทำธุรกิจเท่านั้น ต่อมาปี 2554 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมือง หลังได้รับการร้องขอให้ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน 'ดร.ทักษิณ' พี่ชาย โดยนำทัพพรรคเพื่อไทยสู้ศึกเลือกตั้ง ในฐานะผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 และใช้เวลาเพียง 49 วัน พาเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง กรุยทางสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ในวัยเพียง 44 ปี 

นอกจากกระแสความนิยมในตัว 'ดร.ทักษิณ' ที่นำพา 'ยิ่งลักษณ์' ก้าวขึ้นสู่อำนาจแล้ว หากลองดูนโยบายของพรรคเพื่อไทยในช่วงปีนั้นก็ถือว่า หลายนโยบายที่ใช้หาเสียงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางเศรษฐกิจที่เรียกคะแนนนิยมจากการเลือกตั้งด้วย ทั้งนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท , จบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท , โครงการรถยนต์คันแรก , ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก , แจกแท็บเลตให้เด็กนักเรียนให้เข้าถึงคอมพิวเตอร์และการเรียนออนไลน์ รวมถึงนโยบายที่ให้ทั้งคุณและโทษกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นั่นคือ 'โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด' 

'ประชาธิปัตย์' พรรคการเมืองที่ไม่เคยห่างหายไปจาก 'การเมืองไทย'

ใกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกขณะ หากสำรวจข้อมูลพรรคการเมืองจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566 พบว่ามีพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 88 พรรค   

ใน 88 พรรค มีอยู่เพียงแค่พรรคเดียว ที่อายุยืนยาวที่สุด เป็นพรรคเดียวที่จัดตั้งในยุคแรกและยังคงดำเนินการจนถึงวันนี้ ไม่เคยห่างหายไปจากการเมืองไทย  เดาไม่ยาก ว่าพรรคการเมืองที่ว่านั้นคือ พรรคประชาธิปัตย์

ย้อนกลับไป ในช่วงเวลาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีแนวคิดจัดตั้งพรรคการเมืองอยู่เป็นระยะ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เป็นรูปเป็นร่างได้ ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี 2488  บรรยากาศประชาธิปไตยในไทยเปิดกว้างมากขึ้น พรรคการเมืองไทยยุคแรกจึงก่อตัวขึ้นในยุคนั้น

ปี 2489  พรรคประชาธิปัตย์ถูกก่อตั้งขึ้นโดย 'พันตรีควง อภัยวงศ์' คณะราษฎรสายพลเรือน พร้อมกับขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก โดยมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลขาธิการพรรคคนแรกนำพรรคก้าวหน้าของตนมารวมกับพรรคประชาธิปไตยของ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ แล้วให้ชื่อว่า 'พรรคประชาธิปัตย์'

จนถึงวันนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีหัวหน้าพรรคมาแล้ว  8 คน ในจำนวนนี้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 คน คือ พันตรีควง อภัยวงศ์ , ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช , นายชวน หลีกภัย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่วนอีก 4 คน ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกฯ คือ พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ , นายพิชัย รัตตกุล , นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และหัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 

ยุคทองของพรรคประขาธิปัตย์ ซึ่งถือว่ารุ่งเรืองที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ถึงขั้นมีวลีที่ว่า "ส่งเสาไฟฟ้าลงสมัครยังชนะ" และ "คนใต้กรีดเลือดมาเป็นสีฟ้า" นั้น ก่อตัวและเกิดขึ้นในยุคของผู้นำพรรคที่ชื่อ 'ชวน หลีกภัย' 

จุดเริ่มต้นการสั่งสมความนิยมในภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ เกิดขึ้นในปี 2523 ที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องจาก พลเอกเปรม ซึ่งพื้นเพเป็นคนสงขลา ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความซื่อสัตย์ สุจริต ทำให้ได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนสูง

พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้จำนวนมาก จึงเริ่มสร้างความนิยมในภาคใต้อย่างแนบแน่นในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากพลเอกเปรม กระทั่ง ปี 2531 กระแสฟีเวอร์ นายชวน หลีกภัย ซึ่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากนายพิชัย รัตตกุล เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

ต่อมามีการเลือกตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง และนายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งครั้งนั้นมีการรณรงค์หาเสียงชูประเด็น 'นายกฯ คนใต้' ตามรอยพลเอกเปรม นับตั้งแต่นั้นมานายชวน หลีกภัย และพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้สร้างความนิยมให้เกิดขึ้นแก่พรรคประชาธิปัตย์ในหมู่คนภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

รัฐบาล 'ลุงตู่' อยู่ในใจ

นับถอยหลัง รัฐบาลที่นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ถึงตรงนี้ หลายฝ่ายกะเก็งว่า “ลุงตู่” จะยุบ หรือไม่ยุบสภา ก่อนรัฐบาลหมดวาระ แต่หากก้าวข้ามเรื่องราวเหล่านี้ไป ในช่วงเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้สร้างสรรค์ผลงานเอาไว้มากมาย ซึ่งถ้าจะให้นึกถึง “ภาพจำ” ที่รัฐบาลได้สร้างเอาไว้ The State Times ขอยกให้ 6 เรื่องราวเหล่านี้

เริ่มจากภาพการต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปี 2566 ระหว่างทางต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากมาย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า โรคระบาดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกของโลก ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร และที่สำคัญ ไม่มีใครที่มีวัคซีน แต่ผลสุดท้าย รัฐบาล โดยการนำของลุงตู่ ก็สามารถฝ่าทุกกระแสดราม่า ทำให้ประชาชนคนไทย ก้าวข้ามจากโควิด-19 และได้ฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า

เชื่อมโยงจากเรื่องโควิด-19 มาถึงการได้เปิดประเทศ ต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และหลายๆ ประเทศที่มีวิทยาการก้าวล้ำกว่าประเทศไทย ยังเปิดบ้านเปิดเมือง “ช้ากว่า” เราอยู่ไม่น้อย ถึงวันนี้ นักท่องเที่ยวเดินแบกเป้กันเต็มเมือง ส่วนหนึ่งเพราะการวางมาตรการการดูแลป้องกันที่เข้มงวด จึงสามารถเปิดประตูประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าประทับใจ

พูดถึงความสัมพันธ์ต่างประเทศ รัฐบาล โดยการนำของลุงตู่ ถือว่ามีภาพจำที่ดีไม่น้อย โดยเฉพาะกับงานใหญ่อย่าง “การประชุมเอเปค” เมื่อปลายปี 2565 ซึ่งการจัดงานผ่านพ้นไปด้วยดี และที่ดีมากกว่านั้น คือภาพความสัมพันธ์ของลุงตู่กับผู้นำหลายต่อหลายชาติ แม้จะเป็นเพียงภาพถ่ายไม่กี่ช็อต ที่ถูกนำเสนอตามหน้าสื่อ แต่สำหรับในเวทีโลกแล้ว นี่คือ “พลัง” ของความเป็นประเทศไทย ที่จะถูกฉายและขับเคลื่อนต่อไปในเวทีระดับนานาชาติ

4 ปีของรัฐบาลลุงตู่ ไม่ได้มีแต่เรื่องบวกๆ หลายๆ เรื่องที่ต้องเรียกว่าเป็นปัญหา จนนำมาซึ่งอีกภาพจำหนึ่ง นั่นคือ การเยียวยาดูแลประชาชน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงเวลา 4 ปีนี้ มีโครงการ “เยียวยาประชาชน” เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าใครจะมองว่าเป็นการ “แจกเงิน” หรือ “ประชานิยมทางอ้อม” แต่สุดท้ายแล้ว “ผลประโยชน์” ตกไปสู่มือคนไทยทุกระดับอย่างแท้จริง

เยียวยา เยียวใจ "ลุงตู่" นายก ผู้มากับสารพัด โครงการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน

ถ้า “ลุงตู่” จะได้ชื่อว่า เป็น “นายกรัฐมนตรีที่สร้างสรรค์ “บทเพลง” ออกมามากมายแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ถือว่าเป็น “ที่สุด” เช่นกัน นั่นคือ การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มี “โครงการเยียวยาประชาชน” จำนวนมากมาย

คนละครึ่ง, กำลังใจ, เราไปเที่ยวด้วยกัน, ม.33 เรารักกัน, ชิมช้อปใช้, เราไม่ทิ้งกัน, เราชนะ, ช้อปดีมีคืน ฯลฯ นี่คือเหล่าบรรดาชื่อโครงการที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่ว่ามีวัตถุประสงค์เดียวกัน นั่นคือ “ช่วยเหลือประชาชน”

ถึงจะหลีกเลี่ยงข้อวิพากษ์วิจารณ์ บ้างหาว่า “แจกเงิน” บ้างหาว่า “ประชานิยมทางอ้อม” แต่ไม่จะอย่างไร คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกโครงการล้วนส่งผลต่อการเยียวยาประชาชนอย่างแท้จริง เพราะหากลองวัด “เรตติ้ง” หรือวัดกระแสความนิยม แทบทุกครั้งที่โครงการเหล่านี้ถูกเผยแพร่พร้อมใช้ มักจะมีข่าวสารความเคลื่อนไหวออกมาสู่สังคมเสมอ

เรื่อง 'ทำ' ของพรรคการเมือง

นายกฯ ประยุทธ์ ประกาศยุบสภาเป็นที่เรียบร้อย นับจากนี้เริ่มต้นเข้าสู่วาระแห่งการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 แบบเต็มพิกัด งานนี้หลายพรรคออกตัวกันไปบ้างแล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่า วลีคำว่า 'ทำ' กลายเป็นคำฮิตของเหล่าบรรดาพรรคการเมือง THE STATES TIMES ไปรวบรวมมาว่า มีใคร 'ทำ' อะไรกันบ้าง 

เริ่มจาก 'ลุงตู่' ว่าที่แคนดิเดตแห่งพรรค #รวมไทยสร้างชาติ ก่อนหน้านี้เคยมีประโยคที่กลายเป็นกระแสข่าวอยู่หลายวัน นั่นคือ 'ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ' ลุงตู่ประกาศ '3 ทำ' และแน่นอนว่า จะขอ come back กลับมาลุยงานต่อให้จงได้ในสมัยหน้า

ด้านพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร มาด้วยประโยค 'คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน' เน้นว่า 'ทำเป็น' งานนี้ประกาศชัดเจน แม้ว่าจะเป็นการลงเล่นการเมือง 'ครั้งแรก' ของเจ้าตัวก็ตาม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top