Wednesday, 9 April 2025
ปูติน

สงครามยูเครน กับทางเลือกสุดท้ายของ เซเลนสกี้ จำ!! ต้องคืนสู่โต๊ะเจรจากับ ‘วลาดีมีร์ ปูติน’

(2 มี.ค. 68) สถานการณ์สงครามยูเครนในปัจจุบันกำลังเดินไปสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้ง เมื่อความเป็นไปได้ที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี้ อาจต้องกลับไปเจรจากับรัสเซียเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่แทบจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทั้งหมด ไม่ใช่เพราะเซเลนสกี้เต็มใจ แต่เพราะสถานการณ์บีบให้ยูเครนแทบไม่เหลือทางเลือกอื่นอีกแล้ว

1. อเมริกาถอนตัว – ยูเครนเหลือเพียงตัวเอง
หนึ่งในปัจจัยที่ผลักยูเครนเข้าสู่สถานการณ์นี้คือสหรัฐฯ กำลังแสดงท่าทีลดการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายใน เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2024 ที่อาจนำโดนัลด์ ทรัมป์กลับคืนสู่ตำแหน่ง ซึ่งเขาเคยประกาศชัดว่าต้องการยุติสงครามโดยเร็ว หรือแม้แต่ฝ่ายเดโมแครตเองก็เริ่มมีความลังเลเรื่องการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธแก่ยูเครน เมื่อเห็นว่าสงครามกำลังยืดเยื้อโดยไม่มีวี่แววของชัยชนะ นอกจากนี้ สหรัฐฯ กำลังเผชิญภาระทางทหารและเศรษฐกิจที่หนักขึ้นจากการสนับสนุนอิสราเอลในสงครามกับฮามาส การขยายบทบาทในเอเชียเพื่อสกัดกั้นจีน และการเตรียมรับมือความขัดแย้งในภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ทำให้ความสำคัญของยูเครนในสายตาของวอชิงตันลดลงไป เมื่อสหรัฐฯ ไม่สามารถให้การสนับสนุนได้เต็มที่ ยูเครนจึงต้องเผชิญชะตากรรมของตัวเอง ท่ามกลางกองกำลังรัสเซียที่ยังคงรุกคืบอย่างต่อเนื่อง

2. อธิปไตยที่ต้องแลกด้วยดินแดน?
สงครามที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2022 ทำให้ยูเครนต้องเผชิญความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งกำลังพลกว่า 500,000 นาย ที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ ดินแดนสำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น โดเนตสก์ ลูฮันสก์ ซาโปริชเชีย และเคอร์ซอน ที่ถูกรัสเซียผนวกอย่างเป็นทางการ การเจรจากลับไปสู่โต๊ะของปูตินในเวลานี้ย่อมหมายความว่ายูเครนอาจต้อง สูญเสียดินแดนบางส่วนเป็นเงื่อนไขของสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไครเมีย ซึ่งรัสเซียครอบครองมาตั้งแต่ปี 2014 และปัจจุบันมีฐานทัพเรือที่สำคัญในเซวาสโตโพล นอกจากนี้ แม้ยูเครนจะรักษาอธิปไตยได้ในทางเทคนิค แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศอาจกลายเป็น รัฐกันชน (Buffer State) ที่ต้องดำรงอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซียโดยปริยาย หรืออาจถูกบีบให้มีสถานะคล้ายฟินแลนด์ในช่วงสงครามเย็น (Finlandization) ที่แม้จะเป็นเอกราช แต่ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่างประเทศที่เอื้อต่อมอสโก

3. บทเรียนจากการเลือกตั้งผู้นำที่มองข้ามประโยชน์ชาติ
หนึ่งในข้อวิพากษ์สำคัญคือการตัดสินใจของยูเครนที่เลือกผู้นำซึ่ง มองข้ามความเป็นจริงทางภูมิรัฐศาสตร์ และพยายามเดินหน้าชนรัสเซียอย่างไม่ไตร่ตรองถึงผลที่ตามมา เซเลนสกี้ในฐานะอดีตนักแสดงที่ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐ อาจไม่เข้าใจความซับซ้อนของเกมการเมืองระหว่างประเทศเท่าที่ควร และเลือกเดิมพันอนาคตของประเทศไว้กับการสนับสนุนของตะวันตกเพียงอย่างเดียว โดยลืมไปว่าการเจรจากับรัสเซียอาจเป็นหนทางที่หลีกเลี่ยงความเสียหายมหาศาลให้กับประเทศได้ตั้งแต่แรก

4. การเดินหมากครั้งสุดท้ายของยูเครน
แม้ว่ายูเครนจะพยายามต่อต้านต่อไป แต่ สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ กำลังพลที่ลดลง และการขาดการสนับสนุนจากตะวันตกกำลังบีบให้ยูเครนต้องคิดใหม่ หากยูเครนยังคงเลือกแนวทางแข็งกร้าว อาจเสี่ยงต่อการล่มสลายของรัฐคล้ายกับอัฟกานิสถานหลังสหรัฐฯ ถอนตัว หรืออาจถูกบังคับให้ยอมรับข้อตกลงที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมหาศาล ในท้ายที่สุด เซเลนสกี้อาจไม่มีทางเลือกนอกจากกลับไปเจรจากับปูติน แต่ คำถามที่แท้จริงคือ ยูเครนจะยังเหลืออะไรอยู่บ้างให้ต่อรอง?

รัสเซียไม่ใช่ศัตรูของประชาชนยุโรป ศัตรูตัวจริงของพวกคุณ(ประชาชนยุโรป) คือผู้นำของพวกคุณเองนั่นแหละ

(9 มี.ค. 68) อินฟลูทวีตในเอ็กซ์ ข่าวแถลงการณ์ของปูติน ต่อประเทศในยุโรป ที่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดทางทีวีช่องหนึ่งของโครเอเชีย

ปูตินแถลงต่อยุโรปว่า ”รัสเซียไม่เคยเป็น และจะไม่เป็นศัตรูของยุโรป“

“พวกเรา(รัสเซีย) ไม่ต้องการทรัพยากร หรือความมั่งคั่งจากยุโรป พวกเรามีทรัพยากรของตนเอง และมีความมั่งคั่งในระดับหนึ่ง ว่าไปแล้วรัสเซียเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ในเชิงความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติ”

”พวกเราไม่ได้ต้องการดินแดนของพวกคุณ ดูจากแผนที่สิ! แผ่นดินรัสเซียนั้นกว้างใหญ่ขนาดไหน ขนาดของพื้นที่รัสเซียกว้างใหญ่เป็นเท่าตัวของทั้งยุโรปเสียอีก แล้วทำไมพวกคุณถึงคิดว่าพวกเราจะมายึดเอาแผ่นดินของคุณไป อีกอย่างพวกเราเอาไปทำประโยชน์อะไร”

“ทำไมพวกคุณถึงคิด(ไปเอง) ว่ารัสเซียเป็นศัตรูของยุโรป? พวกเราไปสร้างความเสียหายอะไรไว้ให้แก่พวกคุณ?”

“ใช่พวกเราไหม ที่เคยขายแก๊ส และวัตถุดิบเพื่อการผลิตในราคาที่ถูกกว่า ”มิตรประเทศ“ ที่กำลังขายให้พวกคุณอยู่ในปัจจุบัน? ”

“ใช่พวกเราไหม ในอดีตที่ยอมพลีชีพกว่า 20 ล้านคนในสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อช่วยพวกคุณจัดการกับนาซี?”

“ใช่พวกเราไหม ที่เป็นประเทศแรกที่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ แก้สถานการณ์โรคระบาด(โควิด19) ในยุโรป?“

”ใช่พวกเราไหม ที่ให้ความช่วยเหลือทุกครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติกับประเทศในยุโรป?“

แน่นอนว่า “คำตอบ” ของทุกคำถามข้างต้นคือ“ใช่เป็นรัสเซีย”

“แล้วเช่นนั้น รัสเซียได้ไปทำอะไรไว้กับยุโรป จนพวกคุณถึงได้เกลียดชังเราได้ถึงปานนั้น?”

ปูตินปิดแถลงการณ์ว่า คนยุโรปน่าจะถึงเวลาถามตัวเองแล้วว่าใครกันแน่ ที่เป็นศัตรูของพวกเขา

”รัสเซียไม่ใช่ศัตรูของประชาชนยุโรป ศัตรูตัวจริงของพวกคุณ(ประชาชนยุโรป) คือผู้นำของพวกคุณเองนั่นแหละ!!

‘ปูติน’ ลงพื้นที่เยือนศูนย์บัญชาการทหารในเคิร์สก์ มุ่งเสริมความมั่นคงรับมือภัยคุกคามจากฝ่ายตรงข้าม

(13 มี.ค. 68) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียลงพื้นที่เยือน ศูนย์บัญชาการทหาร ที่ควบคุมการปฏิบัติการใน ภูมิภาคเคิร์สก์ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่มีความตึงเครียดทางทหารในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยการเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค และสั่งการให้ดำเนินมาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามจากกองกำลังฝ่ายตรงข้าม

ปูตินได้เสนอแนวทางการจัดตั้งเขตความมั่นคง ตามแนวชายแดนของรัสเซีย เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในการป้องกันประเทศและยับยั้งการบุกรุกจากฝ่ายตรงข้ามที่อาจเข้ามาก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว เขตความมั่นคงที่เสนอนี้จะมีการจัดตั้งการป้องกันทางทหารอย่างเข้มงวด และมีกองกำลังรัสเซียประจำการอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ปูตินได้สั่งการให้ขับไล่กองกำลังฝ่ายตรงข้าม ออกจากภูมิภาคเคิร์สก์ โดยระบุว่า รัสเซียจะไม่ยอมให้มีกองกำลังที่ไม่เป็นมิตรทำการแทรกแซงหรือขัดขวางการปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่สำคัญนี้ การขับไล่กองกำลังฝ่ายตรงข้ามถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเสริมสร้างความมั่นคงและปกป้องดินแดนของรัสเซียในช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดทางการเมือง และทหารในภูมิภาคยูเครนรวมถึงเขตพื้นที่ใกล้เคียง

โดยในระหว่างการแถลงข่าว ปูตินได้เน้นย้ำว่า การปลดปล่อยภูมิภาคเคิร์สก์ จากการควบคุมของกองกำลังฝ่ายตรงข้ามจะเป็นก้าวสำคัญในการรักษาความมั่นคงและอำนาจการปกครองในภูมิภาค โดยเขาแสดงความเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติการทางทหารที่รุนแรงและมีความมุ่งมั่นจะสามารถนำไปสู่ชัยชนะในที่สุด

ปูตินยังกล่าวเสริมว่า ทหารฝ่ายตรงข้ามที่ถูกจับกุมในเคิร์สก์ ควรได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็น ผู้ก่อการร้าย ตามกฎหมายของรัสเซีย โดยอ้างว่าผู้ที่ต่อต้านการปกครองของรัสเซียในภูมิภาคนี้ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและการปกครองของรัฐ จึงต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมายที่เคร่งครัด

การเยือนของปูตินในครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของรัฐบาลรัสเซียในการรักษาอำนาจทางทหารในพื้นที่ยุทธศาสตร์ และสร้างการควบคุมที่เข้มงวดในภูมิภาคที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อรัสเซีย โดยเฉพาะเมื่อมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงจากต่างชาติในพื้นที่เหล่านี้

‘ปูติน’ ลงนามคำสั่ง!! ให้คนยูเครนที่อยู่ในรัสเซีย ต้อง!! ย้ายออกนอกพื้นที่ 10 ก.ย. ปีนี้

(22 มี.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Ethan Hunts’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

ปธน.ปูตินลงนามคำสั่ง ให้คนยูเครนที่พักอาศัยในรัสเซีย รวมถึงแผ่นดินที่ควบรวมกับรัสเซีย อันได้แก่ ดอนเสนก์, ลูฮันส์, ซาโปโรเชีย และเคอร์ซอน ต้องย้ายออกนอกพื้นที่ หรือไม่ต้องมาดำเนินการเอกสารทางกฎหมาย (วีซ่า) ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2025 เป็นต้นไป

ชาวต่างชาติที่พักอาศัยในดอนบาส และโนโวโรสิย่า ต้องแสดงผลตรวจเลือด HIV และต้องเป็นลบเท่านั้น และแสดงประวัติการใช้ยาย้อนหลัง 10 ปี และต้องดำเนินการก่อนวันที่ 10 มิถุนายนนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top