Thursday, 2 May 2024
ปตท

'นายกฯ' ถก!! ปตท. 'หารือ-หนุน' การลงทุนในต่างประเทศ  แนะ!! ลุย 'โซลาร์ลอยน้ำ-ผลักดันสตาร์ตอัปไทย' ในศรีลังกา

(5 ก.พ.67) ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เวลาประมาณ 14.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่าได้หารือกับนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และนายคงกระพัน อินทรแจ้ง กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

ทั้งนี้นายเศรษฐาได้เปิดเผยว่าการหารือกับประธานบอร์ด ปตท. และ ซีอีโอ ปตท. โดยหารือถึงโอกาสในการลงทุนของ ปตท.ในต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการขยายธุรกิจ และมีโอกาสอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านพลังงานสะอาด โดยเฉพาะในโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ (Solar Floating) รวมทั้งการขยายการลงทุนไปยังศรีลังกา ซึ่งต้องการการลงทุนจากประเทศไทยอย่างมาก

“หลังจากผมได้กลับมาจากการเดินทางที่ประเทศศรีลังกา ผมได้เชิญประธานกรรมการ ปตท. เพื่อมาพูดคุยถึงโอกาสในการลงทุนของ ปตท.ในต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการขยายธุรกิจ และถือว่ามีโอกาสอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านพลังงานสะอาด (Solar Floating) ซึ่งประเทศศรีลังกา พร้อมเปิดรับการลงทุนจากไทยด้วย”

นอกจากนั้นได้ให้นโยบายด้วยว่าอยากให้ ปตท.เข้ามาส่งเสริมธุรกิจ Start-up และการส่งเสริมผลักดันสมาคมกีฬาต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งได้รับผลการตอบรับอย่างดีจากทาง ปตท.ด้วย

"เชื่อมั่นว่าจะเป็นการยกระดับของปตท. ไม่ใช่เป็นเพียงแค่บริษัทพลังงานในประเทศไทย แต่ยังเสริมสร้างโอกาสดี ๆ ให้กับประชาชนในประเทศอีกด้วยครับ" นายกรัฐมนตรี กล่าว 

'วีระศักดิ์' พาชม 10 ปีแห่งการพัฒนาที่ดินเพื่อสิ่งแวดล้อมของ ปตท. จาก 12 ไร่รกร้างกลางกรุง กลายร่างเป็นนิเวศป่ากลางเมืองแสนอุดม

เมื่อวานนี้ (8 ก.พ.67) ประธานและรองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำคณะกรรมาธิการฯ ไปสำรวจศึกษาตัวอย่าง 'ป่าในกรุง' ซึ่งบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ลงทุนซื้อที่ดินเอกชนที่เคยเป็นกองขยะรกร้างจำนวน 12 ไร่ ในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มาพัฒนาให้กลายเป็นนิเวศป่ากลางเมือง ด้วยแนวคิดสถาปนิกญี่ปุ่น ดร.มิยาวากิ อากิระ ที่ต้องการเลียนแบบป่าท้องถิ่นธรรมชาติ เน้นให้พืชหลากชนิด หลากเรือนชั้น แข่งกันโตในแนวพุ่งสูงขึ้นสู่ฟ้า โดยปลูกต้นไม้อย่างน้อย 5 ต้นต่อตารางเมตร

จากนั้นสร้างทางเดินชมธรรมชาติที่ยกระดับต่าง ๆ ขึ้นจนถึงเรือนยอดไม้ และต่อด้วยหอคอยสูงเท่าอาคาร 9 ชั้น เพื่อให้สามารถชมสวนป่ากลางกรุงได้ด้วยวิว 360 องศา

จากประสบการณ์ปลูกป่าล้านไร่ ของสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ที่นี่จึงเรียนรู้ที่จะรวบรวมดินปลูกตัวอย่างจากทั่วภาคกลาง รวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เคยมีในเขตกรุงเทพเเละปริมณฑลมาไว้กว่า 270 ชนิด

เริ่มโครงการเมื่อ 2557 แบ่งพื้นที่เป็นสระน้ำ 10% ใช้เป็นที่ตั้งอาคารดินเพื่อใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ 15% อีก 75% ใช้ปลูกป่า ที่มีทั้งโซนไม้เบญจพรรณ ป่าผลัดใบไปจนถึงป่าชายเลน

เพียง 10 ปีผ่านไป ที่นี่ดึงดูดให้ได้พบเจอนกนานาพันธุ์ที่หาชมยาก เข้ามาปรากฏตัวมากถึง 74 ชนิด จาก 37 วงศ์ 

ที่นี่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมทุกวันอังคารถึงอาทิตย์ (มีกิจกรรมนำชมทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หากทำการจองเวลานัดหมายไว้ล่วงหน้า)

ที่นี่ยังอนุญาตให้หน่วยงานและกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาขอใช้สถานที่เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ 'ปลูกป่าในใจคน' และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ

นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า "ที่นี่เป็นตัวอย่างของการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมุมมองด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่อัตคัดอย่างมหานครใหญ่ นับเป็นกรณีที่ควรแก่การยกย่อง และเหมาะสมต่อการผลักดันนโยบายสนับสนุนทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เช่นการได้รับยกเว้นภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง การได้รับอัตราค่าไฟฟ้าสาธารณะ การใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางวิชาการ  การฝึกปฏิบัติด้านการเพาะเลี้ยงกล้าไม้ สำหรับคนเมืองต่อไป…"

Chevron โอนหุ้นโครงการท่อก๊าซยาดานาให้ ปตท.ก่อนถอนตัวออกจากพม่า ส่ง ปตท.ผู้ถือหุ้นใหญ่ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 62.96%

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (8 เม.ย.67) Chevron บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศถอนตัวออกจากโครงการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาในประเทศพม่าแล้ว หลังจากที่บริษัทแสดงจุดยืนประณามความรุนแรง และ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่ามานานกว่า 2 ปี

โดยสัดส่วนหุ้นของ Chevron จำนวน 41.1% จะถูกโอนไปให้กับผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่ในโครงการนี้ ได้แก่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. และ และวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา หรือ MOGE ที่ตอนนี้อยู่ภายในการดูแลของรัฐบาลทหารพม่า 

และจากการจัดสรรหุ้นใหม่หลังจากที่ Chevron ถอนตัวไป จะทำให้ ปตท. กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของโครงการยาดานาไปในทันที ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 62.96% 

โฆษกของ Chevron กล่าวว่า การถอนธุรกิจออกจากพม่าเป็นความตั้งใจของบริษัทอยู่แล้ว หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในพม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ที่ก่อให้เกิดจลาจล การลุกฮือของประชาชนและชนกลุ่มน้อย และการปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้พม่าต้องเผชิญกับวิกฤติด้านมนุษยธรรมอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ทางบริษัทจึงขอถอนธุรกิจออกจากพม่าอย่างเป็นระเบียบตามขั้นตอนที่ควบคุมได้

โครงการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา แต่เริ่มเดิมทีเป็นการร่วมทุนของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ 2 บริษัท ได้แก่ Total Energies ของฝรั่งเศส และ Chevron ของสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ ปตท. สผ. ของไทย และ MOGE ของรัฐบาลพม่า ในสัดส่วนผู้ถือหุ้น Total Energies (31.2%), Chevron (28.3%), ปตท (25.5%) และ MOGE (15%) ตามลำดับ 

แหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา สามารถผลิตก๊าซได้ราว 6 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และในปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ 70% ส่งขายในประเทศไทย ส่วนอีก 30% เป็นของ MOGE ในการจัดจำหน่ายพลังงานในประเทศ 

แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในพม่าเมื่อปีพ.ศ. 2564 คณะรัฐประหารที่นำโดย ผู้นำทหารสูงสุด มิน อ่อง หล่าย ได้เข้าควบคุมกิจการ MOGE อันเป็นสาเหตุให้บริษัทพลังงานจากชาติตะวันตกถูกกดดันให้ถอนทุนออกจากธุรกิจพลังงานในพม่า เนื่องจาก MOGE กลายเป็นแหล่งรายได้หลักที่หล่อเลี้ยงรัฐบาลทหารพม่า และต่อมา โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ได้ออกคำสั่งห้ามบริษัทเอกชนของอเมริกันทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ กับ MOGE เพื่อตัดวงจรท่อน้ำเลี้ยงของกองทัพพม่า

ด้วยเหตุนี้ Total Energies จึงตัดสินใจถอนทุนออกจากโครงการยาดานา ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 โดย ปตท.สผ. ก็เป็นผู้รับช่วงถือครองหุ้น ของ Total Energies ในเวลาต่อมา 

ด้าน Chevron ก็ได้ประกาศแผนถอนทุนออกจากกิจการพลังงานในพม่าเช่นเดียวกัน และตัดสินใจที่จะโอนหุ้นให้กับผู้ร่วมทุนที่ยังเหลืออยู่ คือ ปตท.สผ. และ MOGE

ล่าสุด มนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) ได้ส่งจดหมายถึงประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แจ้งเรื่องการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการยานาดา ที่เป็นผลจากบริษัทในเครือ Chevron ตัดสินใจถอนการลงทุน และประสงค์ที่จะโอนหุ้นให้กับผู้ร่วมทุนที่เหลืออยู่ ทำให้ ปตท.สผ. จะมีสัดส่วนการลงทุนที่ร้อยละ 62.9630 ในโครงการยาดานา มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

ด้านกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ไม่ขอออกความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการตัดสินใจถอนทุนของบริษัท Chevron พม่า และสถานการณ์ของบริษัทเอกชนแต่ละแห่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพม่า แต่ยังคงจุดยืนแน่วแน่ในการกดดันรัฐบาลพม่า รวมถึงกิจการภายใต้การควบคุมของรัฐให้อ่อนแอลง และสนับสนุนการต่อสู้ของรัฐบาลพลเรือนในพม่า 

‘OR’ จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567  ยึดถือแนวทาง ‘Carbon Neutral Event’

(10 เม.ย. 67) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัท และ นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ถือหุ้นรับทราบผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบปี 2566 การจ่ายเงินปันผล และการอนุมัติเรื่องต่าง ๆ ตามกฎหมาย ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) 

โดย OR มุ่งมั่นที่จะแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการประชุม ผ่านการขอรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอนตามแนวทาง Carbon Neutral Event ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนในปี 2030 ของ OR (OR 2030 Goals) ที่ครอบคลุมทั้งสังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินการที่ดี และได้นำหลักการการจัดประชุมอย่างยั่งยืนตามแนวทางการจัดประชุมสีเขียว หรือ Green Meeting ขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นการงดหรือลดการแจกเอกสาร เพื่อลดการใช้ทรัพยากร การใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เพื่อใช้งานบริเวณห้องควบคุมการประชุม รวมถึงจัดให้มีการแยกขยะ เพื่อนำกลับไปรีไซเคิลให้ได้มากที่สุดอีกด้วย

รู้จัก ‘คงกระพัน อินทรแจ้ง’ CEO คนที่ 11 ของ ‘ปตท.

นับถอยหลัง ต้อนรับ ‘นายคงกระพัน อินทรแจ้ง’ สู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะมาแทนคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซึ่งจะครบวาระในเดือนพฤษภาคมนี้ 

บมจ.ปตท. (PTT) ถือเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย โดยมีกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมด้านพลังงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำและถือเป็นหุ้นที่ผู้ลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ขณะที่ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เป็นอันดับ 2 ของตลาดหุ้นไทยราว 971,141 ล้านบาท ซึ่งเป็นรองเพียงแค่ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (DELTA) เท่านั้น 

แน่นอนว่า ผู้บริหารสูงสุด ก็เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจ หากมีการปรับเปรียบเสมอ โดยก่อนหน้านี้ มติบอร์ด ปตท. เห็นชอบตั้ง ‘นายคงกระพัน อินทรแจ้ง’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ขึ้นมานั่งเก้าอี้ซีอีโอ ปตท. คนที่ 11 ต่อจาก ‘อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์’ ที่จะครบวาระ 4 ปี ภายในเดือน พ.ค.นี้

สำหรับ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง เป็นใคร? มีประวัติ หรือผลงานเด่นเรื่องไหนบ้าง เชิญติดตาม…

>> เปิดประวัติ คงกระพัน อินทรแจ้ง
สำหรับ ประวัติ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ชื่อเล่น เอ้ ปัจจุบันอายุ 55 ปี สถานะ โสด เป็นกรรมการ (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร), เลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

>> คุณวุฒิการศึกษา / ประวัติการอบรม
- Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Chemical Engineering, University of Houston, U.S.A.
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) (เกียรตินิยมอันดับสอง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 30 (วตท. 30), สถาบันวิทยาการตลาดทุน
- หลักสูตร Leadership Development Program (LDP 3) รุ่นที่ 4, สถาบันพัฒนาผู้นำและการเรียนรู้ กลุ่ม ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 14 (วพน. 14), สถาบันวิทยาการพลังงาน
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (ปริญญาบัตร วปอ.) รุ่นที่ 60, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- หลักสูตร Breakthrough Program for Senior Executives, IMD Business Schoolการอบรมหลักสูตรกรรมการ
- หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่น 21/2009 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
- หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 119/2009 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

ส่วนคุณวุฒิการศึกษาและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมี มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ในการบริหารบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการกลั่นปิโตรเลียมแบบครบวงจร รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร การพัฒนาธุรกิจ การเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ การวิจัยและพัฒนา (R&D) การพัฒนาโครงการลงทุนที่สำคัญ การควบรวมกิจการระหว่างประเทศ และการบริหารจัดการกิจการร่วมค้า

มีประสบการณ์ที่หลากหลายในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Emery Oleochemicals Group และกรรมการของบริษัทย่อยในต่างประเทศ ได้แก่ Emery Oleochemicals Group ในประเทศมาเลเซีย Vencorex Holding ในประเทศฝรั่งเศส และ NatureWorks LLC ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่งประธานร่วม France-Thailand Business Forum โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำและส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจความร่วมมือกัน (Economic Collaboration) รวมทั้งการลงทุนและการค้าทั้งสองทาง (Two-way trade and investment) ระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศส

ดำรงตำแหน่งสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC) และสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) รวมทั้งกรรมการขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) โดยได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นต้นแบบที่ดีในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบในด้าน ESG เพื่อเสริมสร้างคุณค่าการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวให้กับธุรกิจ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

>> การดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในบริษัท
ส่วนการดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย…

- 21 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- 15 ส.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
การดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- 29 ธ.ค. 2564 - ปัจจุบัน ประธานคณะที่ปรึกษา บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V. สำหรับเรื่องธุรกิจและการลงทุนในบริษัท Allnex
- 8 ธ.ค. 2564 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V.
- 1 ก.ย. 2563 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC International Private Limited

>> การดำรงตำแหน่งในองค์กรอื่น / กิจกรรมพิเศษที่สำคัญ
- 8 พ.ค. 2566 - ปัจจุบัน กรรมการอำนวยการ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 23 ม.ค. 2566 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- 25 ก.ค. 2565 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษา คณะกรรมการสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 14 มิ.ย. 2564 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- 22 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน
- 30 ก.ย. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 11 มี.ค. 2563 - ปัจจุบัน อุปนายก (ด้านสนับสนุน) สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย
- 30 ม.ค. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิทยสิริเมธี
- 30 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการอำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- 3 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร สถาบันวิทยาการพลังงาน
- 15 ส.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
- เดือน ก.ค. 2560 - ปัจจุบัน ประธานร่วม France-Thailand Business Forum

>> ประสบการณ์การทำงาน (5 ปีย้อนหลัง)
- 1 ต.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2565 ที่ปรึกษาในสายงานสมาชิกสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 1 ก.ย. 2563 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท GC International Corporation
- 1 ก.ค. 2558 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC America Corporation
- 1 ก.ค. 2558 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC America LLC
- 24 ส.ค. 2563 - 25 มี.ค. 2564 กรรมการ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน
- 6 พ.ย. 2562 - 20 ต.ค. 2563 กรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- พ.ย. 2562 - ก.ย. 2563 กรรมการ มูลนิธิพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม
- ต.ค. 2562 - ก.ย. 2563 กรรมการ มูลนิธิพลังแห่งการเรียนรู้
- 31 ต.ค. 2562 - 31 ส.ค. 2563 กรรมการ บริษัท GC International Corporation
- 9 ก.ย. 2551 - 31 ส.ค. 2563 กรรมการ บริษัท PTTGC International Private Limited
- พ.ค. 2560 - ม.ค. 2563 กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
- ก.ค. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ และ President & CEO บริษัท PTTGC America Corporation
- เม.ย. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท PTTGC Innovation America Corporation
- ก.พ. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V.
- ม.ค. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Vencorex Holding
- พ.ย. 2551 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Emery Oleochemicals (M) Sdn. Bhd.
- พ.ย. 2551 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Emery Specialty Chemicals Sdn. Bhd.
- ก.ย. 2557 - ธ.ค. 2561 กรรมการ และ Vice President บริษัท GC International Corporation (เดิมบริษัท PTTGC International (USA) Inc.)
- ก.ย. 2557 - ธ.ค. 2561 กรรมการ บริษัท NatureWorks LLC
- ต.ค. 2557 - มี.ค. 2560 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน International Business Operations บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- เม.ย. 2560 - 30 ก.ย. 2562 ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

‘ปตท.’ รวมพลังผู้บริหาร-พนักงาน ‘ปรับภูมิทัศน์ @คลองเปรมประชากร’ หวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนเมือง พร้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ ในหลวง ร.10

เมื่อวานนี้ (24 เม.ย.67) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Kick-off ‘โครงการปรับภูมิทัศน์ @ คลองเปรมประชากร’ เพื่อร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา โดยมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ปตท. กว่า 300 คน ร่วมปลูกต้นไม้ ณ ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

นายฉัตรชัย กล่าวว่า ปตท. ได้จัดสรรพื้นที่ติดคลองเปรมประชากรจำนวน 10 ไร่ ในโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ ถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งพื้นที่นี้มีจุดเด่นในการเข้าถึงได้ 3 เส้นทาง คือ ทางล้อ จากถนนวิภาวดีรังสิต ทางราง จากสถานีรถไฟสายสีแดง-ทุ่งสองห้อง และทางเรือ ถึงคลองเปรมประชากร โดยพื้นที่สีเขียวแห่งนี้ออกแบบให้เป็นสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ที่บอกเล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 10 ต่อประชาชน และเพื่อสืบสานประวัติศาสตร์พื้นที่ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม 

นายอรรถพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ปตท. ตั้งใจให้พื้นที่แห่งนี้สร้างความ สงบ ร่มเย็นให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสร้างการเติบโตให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง โดยคำนึงถึงระบบนิเวศที่ยั่งยืน พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยวันนี้ได้จัดเตรียมต้นไม้ใหญ่และกล้าไม้ อาทิ ต้นพะยูง ต้นอโศกศรียะลา ต้นปีบ ต้นประดู่ป่า ต้นรวงผึ้ง ต้นโพธิ์ ฯลฯ รวมกว่า 300 ต้น สลับกับไม้พุ่มขนาดกลางรวมพันธุ์ไม้กว่า 54 ชนิด มาปลูกเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยแนวทางการปลูกต้นไม้จะเป็นการจัดสรรโครงสร้างของต้นไม้ตามธรรมชาติ อนุรักษ์ต้นไม้เดิมในพื้นที่ และปลูกเพิ่มเติมตามแนวคิดของการใช้ต้นไม้ในโครงการ คือ ต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ ต้นไม้พื้นถิ่นลุ่มแม่น้ำภาคกลาง ต้นไม้สำหรับพื้นที่แก้มลิงชีวภาพ (Bioretention Ponds) และต้นไม้เพื่อสิ่งแวดล้อม (ไม้กรองฝุ่น - พืชกรองน้ำ)

"ตลอดระยะเวลา 45 ปี ปตท. ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องผ่านการดำเนินงานในทุกมิติ ควบคู่กับการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล โดยมุ่งพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำและเป็นองค์กรที่ดีของสังคม พร้อมจุดพลังและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ให้เติบโตเคียงข้างกันไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน" นายอรรถพล กล่าว

‘ปตท.’ ผนึก ‘กฟผ.’ ร่วมทุนโครงการ LNG Map Ta Phut Terminal 2 หนุนนโยบายรัฐ ‘เสรีธุรกิจก๊าซธรรมชาติ’ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

เมื่อไม่นานมานี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.), นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ ปตท. ในฐานะประธานกรรมการ PTTLNG, นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), นายรัตติกูล ปิยะวงค์วาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด และนายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)) ประกาศความสำเร็จการร่วมทุนใน บริษัท พีอี แอลเอ็นจี จำกัด (PE LNG) เพื่อดำเนินโครงการ LNG Map Ta Phut Terminal 2 (LMPT2) ระหว่าง บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 

โดย PTTLNG และ กฟผ. จะถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากัน (50:50) พร้อมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เสริมความมั่นคงทางพลังงานแก่ประเทศ รวมทั้งแสวงหาโอกาสความร่วมมือและการลงทุนร่วมกันต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top