Thursday, 2 May 2024
ปตท

SET ยก ปตท. สุดยอดองค์กรนวัตกรรม 'ยั่งยืน-ยอดเยี่ยม' เคลื่อนธุรกิจเติมคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่อง

ปตท.คว้ารางวัลสูงสุดด้านความยั่งยืน และรางวัลยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากเวที SET Awards 2022

เมื่อ (28 ต.ค. 65) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2565 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร รวม 2 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) และรางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม (Best Innovative Company Awards) สะท้อนความมุ่งมั่นของ ปตท.ที่ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง

รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Awards of Honor เป็นรางวัลสูงสุด โดย ปตท.ได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากการปรับแผนการลงทุนสู่ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตและธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ครอบคลุมธุรกิจเกี่ยวเนื่องในระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด นอกจากนี้ ปตท.ยังได้ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2040 และเป้าหมาย Net Zero Emissions ในปี ค.ศ. 2050 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ. 2065 และแสดงออกถึงการปฏิบัติจริงเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ทิศทางความยั่งยืน 

อนึ่ง รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน เป็นรางวัลที่มอบแก่องค์กรที่เคยได้รับรางวัล Best Sustainability Awards ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แสดงถึงความสามารถขององค์กรในการรักษาความโดดเด่นและยอดเยี่ยมด้านความยั่งยืน

ปตท. ผนึก ไออาร์พีซี ร่วมพัฒนาธุรกิจ Advanced Business Integration เสริมแกร่งธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าพลังงาน

ปตท. ผนึก ไออาร์พีซี ดันการลงทุนและพัฒนาธุรกิจ Advanced Business Integration มุ่งเพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจใหม่

เมื่อวันที่ (7 พ.ย. 65) นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ยืนกลาง) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อศึกษาการลงทุนตามกลยุทธ์ Advanced Business Integration (ABI) ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยนายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย) และนายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) พร้อมด้วย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ซ้าย) และนายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ขวา) ร่วมเป็นสักขีพยาน

'PTT – OR – TOYOTA – BIG' ผนึกกำลังดัน Future Energy ผุดต้นแบบสถานีเติมไฮโดรเจนแห่งแรกในไทย

4 ยักษ์ใหญ่ 'PTT – OR – TOYOTA – BIG' ผนึกกำลังเสริมแกร่ง Future Energy เปิดสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย จับมือเดินหน้าสู่ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด พร้อมรองรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) อนาคตใหม่ของการเดินทางเติมเต็มความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศยานยนต์แห่งอนาคต 

มอบประสบการณ์การเดินทางรูปแบบใหม่ ด้วยรถยนต์ โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี (U-Tapao Limousines) ให้บริการนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา - ชลบุรี ตอบรับแผนภาครัฐ สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

(8 พ.ย. 65) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นายวิศาล ชวลิตานนท์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (BIG) นายปาซานา กาเนซ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) และ นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TMT) ร่วมเปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของประเทศไทย (Hydrogen Station) ณ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยการนำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไร (Mirai) ของโตโยต้า มาเพื่อทดสอบการใช้งานในประเทศไทย ให้บริการในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี (U-Tapao Limousines) สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารในพื้นที่พัทยา - ชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะทำการเก็บข้อมูลเชิงเทคนิคที่ได้จากการใช้งานจริง เพื่อสร้างการรับรู้และเป็นข้อมูลรองรับการขยายผลใช้งานในอนาคต

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จึงมุ่งผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ปตท. เล็งเห็นว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอย่างไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานที่มีศักยภาพ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับประเทศไทยที่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และการลงทุนมูลค่าสูง ความร่วมมือของ 5 พันธมิตรชั้นนำในกลุ่มพลังงานและยานยนต์ครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งในด้านมาตรฐานระดับสากล และความปลอดภัยสูงสุดที่จะส่งมอบให้กับผู้ใช้บริการในอนาคต โดย ปตท. ได้ร่วมสนับสนุนการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบอัดบรรจุก๊าซไฮโดรเจน และข้อมูลเชิงเทคนิคที่จำเป็น ร่วมผลักดันการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปด้วยกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน

นายวิศาล ชวลิตานนท์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) กล่าวว่า จากแนวโน้มการใช้พลังงานในการเดินทางและการขนส่งในปัจจุบันที่รถไฟฟ้าเริ่มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น และหนึ่งในพันธกิจของ OR คือการสร้าง Seamless Mobility โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะต้องการพลังงานชนิดใดสำหรับการเดินทาง เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งมุ่งมั่นผลักดันการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการเดินทางและการขนส่งให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศ ตลอดจนพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) อย่างครบวงจร ซึ่งการสร้างสถานีบริการไฮโดรเจนเพื่อเติมไฮโดรเจนในรถยนต์ FCEV ครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญซึ่งจะช่วยเติมเต็มศักยภาพของโออาร์ในการมุ่งสู่การเป็นผู้นำ EV Ecosystem ในทุกมิติ โดยผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์ FCEV ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเติมเชื้อเพลิง เนื่องจากการเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ รูปแบบ Passenger Car ใช้เวลาเพียง 5 นาที ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ชอบการบริการที่สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคผู้ใช้หรือมีแผนที่จะใช้รถ FCEV และพันธมิตรผู้ค้าในคุณภาพและมาตรฐานการบริการ ซึ่งเป็นผลดีกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ EV และในอนาคตจะมีการพัฒนาการใช้พลังงานไฮโดรเจนในกลุ่มรถ FCEV ขนาดใหญ่ เช่น รถบัสและรถบรรทุก ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเติมเชื้อเพลิง สามารถเพิ่มรอบการขนส่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำไรให้แก่ธุรกิจอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายปี 2030 ของ โออาร์ ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon-neutrality) ภายในปี 2030 ซึ่งจะเป็นรากฐานที่นำไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Carbon Zero) ในปี 2050 ต่อไปอีกด้วย

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลัง เดินหน้ารุกธุรกิจน้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมศก.คาร์บอนต่ำ รับเป้าหมาย Net Zero

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลัง รุกธุรกิจน้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(9 พ.ย. 65) นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา พัฒนาและลงทุนผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thai Oil) โดย นายรัฐกร กัมปนาทแสนยากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านกลยุทธ์องค์กร  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) โดย นางวราวรรณ ทิพพาวนิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) โดย นายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์ แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) โดย นายทรงพล เทพนำโสมนัสส์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน ร่วมลงนาม 

การลงนามในครั้งนี้ผนวกรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของกลุ่ม ปตท. ในการประกอบธุรกิจโรงกลั่น พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการพัฒนากระบวนการกลั่นผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงจาก Thai Oil, GC และ IRPC ตลอดจนความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานมาอย่างยาวนานทั้งในประเทศและต่างประเทศของ OR  มาต่อยอดการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานระดับโลก ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิต Hydroprocessed Esters and Fatty Acids (HEFA) และ Alcohol to Jet (ATJ) มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก 

ผลการดำเนินงาน ปตท. 9 เดือนแรกของปี 2565 ปรับตัวลดลง รวมกลุ่ม ปตท. นำเงินส่งรัฐกว่า 64,461 ล้านบาท

ผลการดำเนินงาน ปตท. 9 เดือนแรกของปี 2565 ปรับตัวลดลง รวมกลุ่ม ปตท. นำเงินส่งรัฐกว่า 64,461 ล้านบาท พร้อมช่วยเหลือต้นทุนค่าพลังงานต่อเนื่อง

เมื่อ (10 พ.ย. 65) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ปตท. และบริษัทย่อย ใน 9 เดือนแรกของปี 2565 ทั้งในและต่างประเทศ มีรายได้ 2,570,029 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิจำนวน 73,303 ล้านบาท ลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปี 2564 เนื่องจากขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ ภาษีเงินได้ และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น 

ทั้งนี้หากมองกำไรสุทธิจำนวน 73,303 ล้านบาท ที่มาจากผลการดำเนินงานของ ปตท. จะคิดเป็น 13% ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลการดำเนินงานของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ที่ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติปรับสูงขึ้นมาก และอีก 87% มาจากผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือ ปตท. ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 49% ธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานและบริษัทย่อยอื่นๆ 24% ธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก 11% ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีสัดส่วนเพียง 3% 

โดยผลการดำเนินงานได้รับผลกระทบจากขาดทุนสต็อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก ตามทิศทางราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย 

Swap & Go เปลี่ยนแบตฯ ‘ทันใจ-ไม่ต้องชาร์จ’ ตอบโจทย์ไรเดอร์สายพันธุ์ใหม่ หัวใจอีวี

แม้ทุกวันนี้กระแสรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีวีจะมาแรงแค่ไหน แต่ก็อย่าลืมว่ารูปแบบพาหนะในเมืองไทยที่หลายคนใช้กันในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ได้มีเพียงแค่รถยนต์ 4 ล้อ เท่านั้น หากแต่ยังมีสายไรเดอร์ 2 ล้อ ที่หวังอยากจะมีโอกาสสัมผัสอีวีสองล้อที่ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์การขับขี่แบบไม่สะดุดรวมอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเล็ก ๆ ที่อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในบางเวลาของไรเดอร์ที่หันมาซบสองล้ออีวี คือ ความเร่งรีบที่สวนทางกับความไม่ทันใจในการเติมพลังงานสะอาด 100% นี้ เพราะทุกนาทีในการรอชาร์จ อาจทำให้พวกเขาผิดพลาดหรือหลุดโอกาสจากภารกิจต่างๆ ที่รัดตัวเอาได้ง่ายๆ

ทว่า ปัญหานี้ถูกคลี่คลาย หลังจากไม่นานมานี้ Swap & Go โดย บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเครือข่าย Battery Swapping หรือ การสลับแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐานสากลแก่ผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ ได้กลายคำตอบที่จะช่วยไรเดอร์อีวีได้อย่างชัดเจนขึ้น หลังจาก Swap & Go ได้เปิดให้บริการเหล่าไรเดอร์เปลี่ยนแบตฯ ได้ตลอดวัน 

ส่วนวิธีการใช้งานนั้น ก็ง่ายมากๆ แค่เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go และเชื่อมต่อกับ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ จากนั้นก็ค้นหาตำแหน่งของสถานี (ปตท.) โดยในแอปฯ จะมีระบบนำทางเราไปยังสถานีที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด 

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ประจำปีการศึกษา 2564

เมื่อวานนี้ (15 พ.ย.65) - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี ประจำปี 2564 จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็นระดับปริญญาเอก จำนวน 26 ราย และระดับปริญญาโท จำนวน 4 ราย และพระราชทานทุนการศึกษา ‘ศรีเมธี’ ให้กับนิสิตที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมจากสถาบันฯ จำนวน 4 ราย รวมทั้งพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้แทนนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ที่สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 5 โดยนายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล อธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. พร้อมกับคณะผู้บริหารและพนักงาน กลุ่ม ปตท. เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของสถาบันวิทยสิริเมธี ที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ งานวิจัยทางด้านระบบปัญญาและหุ่นยนต์ (Al and Robotic) งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน การพัฒนาแบตเตอรี่และวัสดุคุณภาพสูง (Energy Materials & Environment) และงานวิจัยพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และการเพิ่มมูลค่าขยะอินทรีย์ อนึ่ง สถาบันวิทยสิริเมธี ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อร่วมกันสร้างนักวิจัย พัฒนางานวิจัยที่มีศักยภาพไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสร้างคุณค่าให้แก่สังคม อันเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของสถาบันฯ 

ต่อมาทรงเป็นประธานในการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันวิทยสิริเมธี และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และห้องปฏิบัติการ ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) พื้นที่ประมาณ 88 ไร่

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ให้เป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพ เป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่สามารถสร้างคุณประโยชน์มากมายมหาศาลต่องานวิจัยทางด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และด้านอื่น ๆ โดยเครื่องกำเนิดแสงที่จะจัดสร้างนี้ มีค่าระดับพลังงาน 3 GeV และใช้เทคโนโลยี Double Triple Bend Achromat (DTBA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้แสงซินโครตรอนมีความสว่างจ้ามากกว่าเดิม 1 ล้านเท่า และรองรับระบบลำเลียงแสงได้สูงถึง 22 ระบบ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านงานวิจัยได้หลากหลาย

จากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารปฏิบัติการวิศวกรรม (Fabrication Center) ซึ่งเป็นห้องทดลองสำหรับนักเรียนในการสืบค้นข้อมูลและพัฒนาต้นแบบสิ่งประดิษฐ์ตามแนวคิดของตนเอง พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าและความยั่นยืนของโรงเรียนกำเนิดวิทย์ โดยมี 

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญโชติ เผ่าสวัสดิ์ยรรยง ผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ กราบบังคมทูลรายงาน ต่อมาเสด็จพระราชดำเนินไปยัง ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา’ ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้สำคัญในการพัฒนาภาพลักษณ์ของเกษตรกรไทยยุคใหม่ ให้เป็นอาชีพที่น่าภาคภูมิใจและยั่งยืน โดย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. และ นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที ดิจิทัล โซลูชั่น จำกัด ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือและแพลตฟอร์ม ‘สวนสมรม’ ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการเกษตร

ต่อมาทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนลานใจบ้าน สถาบันวิทยสิริเมธี โดยมีนายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงาน เฝ้าฯ รับเสด็จ และนำเสนอนิทรรศการโครงการด้านนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม ผลงานของ ปตท.สผ. ร่วมกับพันธมิตร ที่จะช่วยสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050 ของ ปตท.สผ.

แอควา พาวเวอร์ - ปตท. - กฟผ. ร่วมลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อนไทย เดินหน้าสู่ฐานการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว

ปตท. เดินหน้าเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไทย ผนึก แอควา พาวเวอร์ - กฟผ. ลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อนไทย สู่ฐานการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว ตอบรับความต้องการใช้พลังงานสะอาดของประเทศและภูมิภาคอาเซียนในอนาคต 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - เจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน อับดุลอาซิซ อัล-เซาด์ (His Royal Highness Prince Abdulaziz bin Abdulaziz AL-Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Minister of Energy of the Kingdom of Saudi Arabia) และ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาและลงทุนในโครงการไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง (Derivatives) เพื่อตอบสนองการใช้พลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงโอกาสการส่งออกไปยังภูมิภาคใกล้เคียง ระหว่าง บริษัท แอควา พาวเวอร์ จำกัด (ACWA Power) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมี ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยาน ณ บ้านปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศคำมั่นว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ประเทศไทยมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะเป็นฐานการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ในอนาคต ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนตํ่า (Low-Carbon Circular Economy) ของประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ท้าทายนี้ แอควา พาวเวอร์ ปตท. และ กฟผ. จึงได้ร่วมกันศึกษาโอกาสการลงทุนด้านพลังงานสะอาด เพื่อจัดตั้งโรงงานขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ ในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทย และมีเป้าหมายผลิตไฮโดรเจนสีเขียวในประเทศไทยประมาณ 2.25 แสนตันต่อปี หรือเทียบเท่ากรีนแอมโมเนีย 1.2 ล้านตันต่อปี ด้วยเงินลงทุนประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อตอบรับเทรนด์การใช้พลังงานสะอาดที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก รวมถึงตอบสนองความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และศึกษาโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน

นายแพดดี้ ปัทมานาทาน รองประธานกรรมการ บริษัท แอควา พาวเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การประกาศความร่วมมือกับ ปตท. และ กฟผ. แสดงถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของซาอุดีอาระเบีย ในการสนับสนุนพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนและร่วมศึกษาโอกาสการลงทุนในโครงการไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง (Derivatives) ในประเทศไทย ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในทิศทางเดียวกับซาอุดีอาระเบีย ส่งมอบพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพึ่งพาได้ เป็นการส่งเสริมการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับวาระด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ความร่วมมือกับ ปตท. และ กฟผ. ในครั้งนี้จะเป็นการวางรากฐานที่จำเป็น รวมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม ตลอดจนทรัพยากรและความเชี่ยวชาญระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายต่อไป

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. มุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานแห่งอนาคตให้กับประเทศไทย ตามวิสัยทัศน์ 'Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต' ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ ในการผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญระดับประเทศและระดับโลก ปตท. จึงตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15  ภายในปี ค.ศ. 2030  บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ

ปตท.ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้-ลงนามถวายพระพร กรมสมเด็จพระเทพฯ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมผู้บริหาร ปตท. ร่วมทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปตท. - สยามพิวรรธน์ ผนึกพลังร่วมนำธุรกิจสู่เป้าหมาย สร้างความยั่งยืนให้ ‘สังคม-สิ่งแวดล้อม’

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ปตท. บริษัทพลังงานแห่งชาติที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีครบวงจร พร้อมส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานแห่งอนาคตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย และ กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ โดยการนำของ สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย 

นับเป็นครั้งแรกของการประสานพลังจากสององค์กรชั้นนำระดับประเทศ ที่จะร่วมกันดำเนินธุรกิจสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมี ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ นางมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายองค์กรสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือที่ครอบคลุมการดำเนินงานใน 3 ด้าน ได้แก่... 

1.) การจัดการพลังงานหมุนเวียนนำไปสู่เป้าหมาย Net Zero ผ่านความร่วมมือกับ บริษัท รี แอค จำกัด (ReAcc) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท.

2.) การบริหารจัดการขยะและของเสีย

และ 3.) โครงการการพัฒนาที่ยั่งยืนต่าง ๆ ในอนาคต ตอกย้ำวิสัยทัศน์และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในประเทศไทยดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือกับสยามพิวรรธน์ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของ ปตท. ในการส่งเสริมภาคธุรกิจไทย ให้หันมาใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น นำไปสู่การใช้พลังงานที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) เพิ่มศักยภาพการพัฒนานวัตกรรมพลังงานยั่งยืนของประเทศสู่เวทีโลกในอนาคต สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มุ่งสนับสนุนแนวทางการผลักดันประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมส่งเสริมการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง 

โดยมีโครงการนำร่องด้านการจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย Net Zero ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ ดิเอ็กซ์พลอราทอเรี่ยม ศูนย์การค้าในกลุ่มสยามพิวรรธน์ ที่จะเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจที่ใช้แนวคิดความยั่งยืน โดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% ผ่านการซื้อใบรับรองสิทธิการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates : RECs) จาก ReAcc ซึ่งเป็นตัวแทนให้บริการซื้อขายด้านพลังงานสะอาดและความเป็นกลางทางก๊าซเรือนกระจก (Carbon Neutrality) ให้แก่บริษัทที่ต้องการจัดหาพลังงานหมุนเวียนสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวได้สะดวกมากขึ้น 

ความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของทั้งสององค์กรในการมุ่งมั่นใช้พลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดในประเทศไทยให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ RECs ได้อีกด้วย

ด้านนางมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายองค์กรสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า สยามพิวรรธน์สร้างความยั่งยืนผ่านทุกกระบวนการและในทุกธุรกิจที่ดำเนินการ (Sustainable Value In Process) เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันในทุกภาคส่วน ทั้งกับผู้คน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ การผนึกความแข็งแกร่งของสยามพิวรรธน์ ในฐานะผู้พัฒนาศูนย์การค้าที่เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตของผู้คนด้วยความคิดสร้างสรรค์ และได้ใช้สยามดิสคัฟเวอรี่ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ดำเนินธุรกิจแบบร่วมสร้าง (Co-creation) บุกเบิกแนวคิดที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยจับมือกับ ReAcc ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท. ผู้ให้บริการซื้อขายพลังงานสะอาด จะทำให้เราสามารถพัฒนาต้นแบบของธุรกิจด้วยแนวคิดความยั่งยืน ร่วมฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นหลัง และเข้าไปอยู่ใกล้ชีวิตประจำวันของผู้คนได้ง่ายขึ้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top