Thursday, 2 May 2024
ปตท

‘กรมสมเด็จพระเทพฯ’ เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมติดตามการพัฒนาธุรกิจ ‘กลุ่ม ปตท.’ ณ วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง

(7 พ.ย.66) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี ระดับดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 ราย พร้อมพระราชทาน ‘ทุนพระราชทานศรีเมธี’ แก่นิสิตที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม จำนวน 4 ราย และพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้แทนนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีนายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. พร้อมคณะผู้บริหารจากกลุ่ม ปตท. ร่วมกับผู้บริหารสถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ เฝ้าฯ รับเสด็จฯ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จึงร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ปัจจุบัน สถาบันวิทยสิริเมธี ประกอบไปด้วย ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า และ 4 สำนักวิชา ได้แก่ สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน สำนักวิชาวิทยาการชีวโมเลกุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสูงด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม และส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก สามารถต่อยอดใช้ประโยชน์ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมสร้างการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และส่งเสริมความยั่งยืนแก่สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

สำหรับโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ในปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนรุ่นที่ 6 สำเร็จการศึกษา จำนวน 69 คน แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) จำนวน 48 คน ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและอื่น ๆ จำนวน 21 คน โดยได้รับทุนศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ และได้รับทุนการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธีเพื่อศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับปริญญาตรีภายในประเทศด้วยเช่นกัน

ในวันเดียวกัน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินไปยังสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี จัดตั้งจากการสนับสนุนของธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ติดตามความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและพัฒนา พร้อมทอดพระเนตรห้องปฏิบัติการและนิทรรศการผลงาน เช่น ห้องปฏิบัติการวิจัย Wangchan Advanced Industrial Labs โครงการกลุ่มวิจัย Interfaces Lab โครงการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โครงการกลุ่มวิจัย Brain Lab เป็นต้น 

ต่อมาทรงทอดพระเนตรผลงาน โรงเรือนสาธิตเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นำเสนอภาพรวมโครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อ Net Zero เกษตรยั่งยืน และอาหารปลอดภัยรวมถึงโครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอุตสาหกรรมชีวภาพและชุมชนที่ยั่งยืน จ.น่าน ที่นำโครงการต้นแบบไปพัฒนาสู่การใช้งานจริงในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของวังจันทร์วัลเลย์และกลุ่มธุรกิจใหม่ ปตท. ณ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center : IOC) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทรงทอดพระเนตรการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจใหม่ ปตท. โดยขับเคลื่อนจากการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน 4 ด้าน ได้แก่…

1.ด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายใน พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050)
2.ด้านนวัตกรรมเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่โลกแห่งยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร มุ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าในระดับสากล 
3.ด้านนวัตกรรมเพื่อโลกยุคใหม่ (AI and Robotics) มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและขยายขีดความสามารถสู่สากล 
4.ด้านนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม (Life Science) สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับประชาชน ผ่านการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจยา กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการแพทย์ และ กลุ่มธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ 

อนึ่ง โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ โครงการวังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จะพัฒนาพื้นที่โครงการฯ ให้มีระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ในระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เข้าด้วยกัน

‘บุญรอดฯ - ปตท. - IRPC’ ร่วมพัฒนานวัตกรรมผลิตวัสดุหมุนเวียน มุ่งใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า - ต่อยอดธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมต่อยอดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต สร้างผลิตภัณฑ์หมุนเวียน (Returnable Equipment) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เดินหน้าโครงการนำร่องรีไซเคิลพลาสติกผ่านผลิตภัณฑ์ต้นแบบอย่างลังน้ำและโซดาขวดเปลี่ยน ผลิตจาก rPET และ rHDPE พาเลท (Pallet) ผลิตจาก rHDPE และกากมอลต์  

นายปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เปิดเผยว่า หนึ่งในแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ให้ความสำคัญ คือ การดำเนินธุรกิจบนความยั่งยืน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด ‘องค์กร ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมต้องมีความสุขร่วมกันอย่างยั่งยืน’

ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในกลุ่มบริษัทบุญรอดฯ ทั้งหมด เช่น เสื้อยูนิฟอร์มพนักงานจากผ้าที่ผลิตจากขวด PET การแยกขยะ การใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนโครงการที่ทำกับชุมชนและสังคมอีกหลายโครงการ และล่าสุดได้ร่วมงานกับแบรนด์แฟชั่นของไทยที่เป็นที่รู้จักในวงการแฟชั่นทั่วโลกอย่าง PIPATCHARA ดีไซน์กระเป๋ารุ่นพิเศษที่ผลิตจากผ้าที่ Upcycling มาจากขวดพลาสติก PET 100% 

ทั้งนี้ ในแต่ละปี เรามีวัสดุเหลือจากระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก น่าจะสามารถนำมาสร้างประโยชน์ต่อยอดได้อย่างคุ้มค่า จึงเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือกับบริษัทฯ ปตท. และ ไออาร์พีซี ในครั้งนี้ เราเชื่อว่า ด้วยความรู้ความชำนาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัยของทั้งแต่ละบริษัทฯ จะสามารถร่วมกันพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่จากวัสดุในกระบวนการผลิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่ม ปตท. ยึดมั่นในพันธกิจรักษาความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผ่านการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 โดยส่วนหนึ่งได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เกิดเป็นรูปธรรม มุ่งปฏิวัติรูปแบบการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดปริมาณของเสียตลอดกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และรักษาสิ่งแวดล้อม 

ความร่วมมือในครั้งนี้ กลุ่ม ปตท. โดย PRISM (Petrochemical and Refining Integrated Synergy Management) แพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ผลักดันให้เกิดการผสานองค์ความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรจากทั้ง 3 หน่วยงาน นำวัสดุเหลือใช้ ในกระบวนการผลิตมาต่อยอดและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ และเจตนารมย์องค์กรชั้นนำของไทย ที่จะจุดพลังและขยายความร่วมมือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนอนาคตที่ดีให้แก่โลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

นายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC กล่าวว่า IRPC ดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์องค์กร “สร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงาน เพื่อชีวิตที่ลงตัว” ด้วยการใช้นวัตกรรมสร้างการเติบโต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยโครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและใช้ประโยชน์ของทรัพยากรอย่างสูงสุด โดยบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้ว ประเภทใช้ครั้งเดียวสู่ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน ผ่านผลิตภัณฑ์แบรนด์ “POLIMAXX” สร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งในกลุ่มรีไซเคิลและพลาสติกที่มีพืชเป็นส่วนผสมหลักในการผลิต (Bio-Based) ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ตามโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) 

นอกจากนี้ IRPC ยังได้ร่วมผลักดันการสร้างความสมดุลและความยั่งยืน หรือ ESG โดยตั้งเป้าหมายและกำหนดแนวทางองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero Emission ภายในปี 2603 เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืน 

นับเป็นหมุดหมายสำคัญในการเดินหน้าธุรกิจภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัทไทย ชั้นนำอย่าง บุญรอดบริวเวอรี่ ปตท. และ ไออาร์พีซี ที่จับมือพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมยกระดับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์หมุนเวียนจากวัสดุเหลือใช้ภายในโรงงาน ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่กำหนดไว้ในปี 2608 ได้ต่อไป

‘กลุ่ม ปตท.’ จัดงาน ‘2023 Green Technology Expo’ โชว์นวัตกรรมเพื่อโลกอนาคต-จุดทุกพลังเพื่อสังคมที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน 2023 Green Technology Expo ภายใต้แนวคิด ‘Future Greenology นวัตกรรมสีเขียวแห่งอนาคต’ โดยมี นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นำทัพ กลุ่ม ปตท. ร่วมจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อโลกในอนาคต พร้อมเปิดเผยว่า การจัดแสดงนิทรรศการและผลิตภัณฑ์ธุรกิจใหม่กลุ่ม ปตท. ประกอบด้วย 

1. Green Mobility Zone ระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า จากกลุ่มอรุณ พลัส อาทิ ผลิตภัณฑ์และบริการด้าน EV ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มของ อีวี มี ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ EV ในทุกมิติ เครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ ออน-ไอออน นวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานในธุรกิจแบตเตอรี่รวมถึงแพลตฟอร์มสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ จาก สวอพ แอนด์ โก 

2. Green Technology Zone การสร้างธุรกิจแห่งโลกอนาคตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ ผ่านธุรกิจพลังงานสะอาดและผลักดันสังคมคาร์บอนต่ำ จาก เมฆา วี การใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในภาคอุตสาหกรรม จาก พีทีที เรส รวมทั้งเทคโนโลยีระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงพยากรณ์ จาก พี-ดิกเตอร์ 

และ 3. Green Product Zone ผลิตภัณฑ์ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างสังคมที่ยั่งยืน จาก อินโนบิก (เอเซีย) กลุ่มผลิตภัณฑ์โภชนาการและอาหารโปรตีนจากพืชครบวงจรสนับสนุนวิถีการมีสุขภาพดีของคนรุ่นใหม่ จาก เอ็นอาร์พีที รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุเหลือใช้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จาก มอร์ อีกด้วย

“ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดรับกับเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้คน และพร้อมเดินหน้าต่อยอดธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต และธุรกิจที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศให้เติบโต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 9 - 12 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) Hall EH 98”

‘กลุ่ม ปตท.’ เผยผลดำเนินงาน 9 เดือน ปี 2566 ปรับตัวดีขึ้น - รวมนำเงินส่งรัฐกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ปตท. และบริษัทย่อย ใน 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้ 2,337,438 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 79,259 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3% จากช่วงเดียวกันของปี 2565 เนื่องจากขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงจากความกังวลด้านสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เริ่มผ่อนคลาย รวมถึงความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) ของกลุ่ม ปตท. ปรับลดลง โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น จากกำไรขั้นต้นจากการกลั่น (Market GRM) ที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2565 และผลกำไรสต๊อกน้ำมันที่ลดลง ประกอบกับผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ปรับลดลงจากราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง

โดยเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 คณะกรรมการ ปตท. มีมติอนุมัติการจ่ายปันผลระหว่างกาลส่งผลให้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และกองทุนวายุภักษ์จะได้รับเงินปันผลรวมประมาณ 14,000 ล้านบาท และเมื่อรวมกับภาษีเงินได้นิติบุคคลของ ปตท. และบริษัทในเครือ อีกประมาณ 34,000 ล้านบาท รวมกลุ่ม ปตท. นำส่งรายได้จากการดำเนินธุรกิจ 9 เดือนแรกของปี 2566 ให้กับรัฐ เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ แล้วประมาณ 48,000 ล้านบาท โดยการจ่ายเงินปันผลจะพิจารณาให้เหมาะสมกับกำไร สถานะทางการเงิน สภาพคล่อง รวมถึงแผนการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางพลังงาน สนับสนุนประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง ดังตลอดระยะเวลา 45 ปี ที่ผ่านมา พร้อมมุ่งจุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต สร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านการพัฒนาธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตและก้าวสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน

ทั้งนี้ ปตท. ขานรับนโยบายลดผลกระทบค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. วันที่ 19 ตุลาคม 2566 มีมติเห็นชอบให้ ปตท. เรียกเก็บค่าเชื้อเพลิงตามค่าควบคุม และยืดระยะเวลาการชำระหนี้ให้กลุ่มภาคไฟฟ้าในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 2566 ตามมติ ครม. พร้อมให้ทยอยจ่ายคืนส่วนต่างในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับรอบถัดไปตามที่ กกพ. เห็นชอบ มีผลย้อนหลังตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 โดยตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน ปตท. สนับสนุนงบประมาณบรรเทาผลกระทบต้นทุนด้านพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นจากภาวะวิกฤตต่าง ๆ ให้กับประชาชนแล้ว กว่า 25,000 ล้านบาท โดยเมื่อช่วงต้นปีนี้ ปตท. ยังได้มีการจัดสรรก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตลอดจนจัดหา LNG ในราคาที่เหมาะสม ช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท รวมถึงช่วยเหลือผู้ใช้พลังงานในภาคส่วนอื่น ๆ ทั้ง LPG NGV และสนับสนุนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อร่วมดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนอย่างสมดุล พร้อมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

‘กลุ่ม ปตท.’ ผนึกกำลังแสดงนวัตกรรมสร้างรอยยิ้มให้ชุมชน  ในงาน ‘PTT Group Innovation for Future Society 2023’ 

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) จัดงาน ‘PTT Group Innovation for Future Society 2023 จุดพลังสร้างอนาคต ขับเคลื่อนชุมชนสู่ความยั่งยืน’ แสดงนวัตกรรมและผลสำเร็จของโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารบริษัทใน กลุ่ม ปตท. ผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนจาก 45 พื้นที่เครือข่าย รวมถึงเยาวชนจากโครงการ Restart Thailand เข้าร่วมงาน ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ 

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า ‘โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท.’ เป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่ ปตท. และบริษัทในกลุ่มรวมพลังกันเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยนำนวัตกรรม องค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาพัฒนาชุมชนเครือข่าย 45 ชุมชน ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนใน 3 ด้านประกอบด้วย Smart Farming ยกระดับการเกษตรด้วยนวัตกรรมให้ผลผลิตที่มีคุณภาพในปริมาณที่สูงขึ้น Smart Marketing การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยการแปรรูปและสร้างมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้แก่ชุมชน และ Community-Based Tourism ส่งเสริมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการฯ เป็นไปตามเป้าหมาย ทุกชุมชนสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากฐานรายได้เดิม ร้อยละ 10 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนรวม 45 รายการ พัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวโดยชุมชนจำนวน 6 พื้นที่ รวมถึงชุมชนมีทักษะและศักยภาพที่สามารถดำเนินการและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งผลสำเร็จจากโครงการจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. ยังร่วมแก้ปัญหาการว่างงาน โดยจ้างบัณฑิตจบใหม่ผ่านโครงการ Restart Thailand กว่า 280 อัตรา เพื่อให้เป็นพลังร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ พัฒนาและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชุมชนบ้านเกิด เป็นโอกาสให้เยาวชนที่จบใหม่และอยู่ในพื้นที่โครงการฯ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับท้องถิ่นและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากกลุ่ม ปตท. พัฒนาพื้นที่บ้านเกิด นับเป็นผลสำเร็จของการพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ให้ชุมชนในพื้นที่สามารถต่อยอด และพึ่งพาตนเองต่อไปได้

การจัดงาน PTT Group Innovation for Future Society 2023 ครั้งนี้ จึงเป็นการสรุปผลสำเร็จของโครงการฯ ที่ได้ดำเนินมาตลอดเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564 - 2566 รวมถึงเป็นการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้ของ กลุ่ม ปตท. และองค์ความรู้ของชุมชนที่เกิดขึ้นในโครงการฯ พัฒนาเป็น ‘จุดเรียนรู้’ 12 พื้นที่ มาจุดประกายให้ผู้ที่ร่วมงานได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อขยายพื้นที่สร้างรอยยิ้มให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้ต่อไป เพราะทุกชุมชนคือรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ”

สำหรับการจัดงาน ‘PTT Group Innovation for Future Society 2023 จุดพลังสร้างอนาคต ขับเคลื่อนชุมชนสู่ความยั่งยืน’ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2566 โดยมีการจัดแสดงนวัตกรรมและผลสำเร็จของโครงการฯ ผ่านพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ 3 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 นวัตกรรมเพื่อชุมชน โดย กลุ่ม ปตท. และพื้นที่เรียนรู้ชุมชน โซนที่ 2 การท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน และโซนที่ 3 ตลาดนัดชุมชน 

นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนาเพื่อให้ชุมชนได้แบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินโครงการฯ รวมถึงได้รับเกียรติจากวิทยากรภายนอก อาทิ คุณสรกล อดุลยานนท์ ‘หนุ่มเมืองจันทร์’ เจ้าของสวนสันติเกษตรอินทรีย์ เป็นผู้ดำเนินเวที, คุณชารีย์ บุญญวินิจ จาก ฟาร์มลุงรีย์ Uncle Ree Farm, คุณนิพนธ์ พิลา จาก พิลาฟาร์มสตูดิโอ, คุณจรงศักดิ์ รองเดช จากภัตตาคารบ้านทุ่ง และคุณธราณิศ ประเสริฐศรี Co-Founder Technical จาก Varuna สตาร์ตอัปสายเขียวเกษตรกรยุคใหม่ ร่วมเติมเต็มเรื่องราวการพัฒนาชุมชนที่น่าสนใจอีกด้วย

“กลุ่ม ปตท. จะยืนหยัดมุ่งมั่นดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ พร้อมพัฒนาธุรกิจใหม่ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ควบคู่ไปกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 

ปตท. ได้นำส่งรายได้เข้ารัฐเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ นับตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน (9 เดือนแรกของ ปี 2566) ในรูปแบบภาษีเงินได้และเงินปันผล แล้วกว่า 1.21 ล้านล้านบาท ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปตท. ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมและชุมชน ทั้งในกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ  ทั้งด้านการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง การแก้ปัญหาภัยพิบัติ การส่งเสริมการศึกษา และการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. แม้ว่าระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่เชื่อว่าองค์ความรู้ นวัตกรรม และวิถีการเกษตรครบวงจรจะยังดำเนินการและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง” นายอรรถพล กล่าวปิดท้าย

‘ปตท.’ ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการ ระดับดีเลิศ 15 ปีซ้อน สะท้อนการพัฒนามาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

เมื่อไม่นานมานี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ ดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 และติดหนึ่งใน Top Quartile ของบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ในโครงการสำรวจการกำกับการดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies: CGR) ประจำปี 2566 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) 

ทั้งนี้ ปตท. ได้ผ่านหลักเกณฑ์ที่สำคัญด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงครอบคลุมทั้งในด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) สะท้อนการพัฒนามาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศสู่การยอมรับในระดับสากล

‘ปตท. - GPSC - Nuovo Plus’ ร่วมมือ ‘TES’ ศึกษาการลงทุนตั้งโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ในไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ Mr. John Jonghun Oh, Chief Strategy Officer, Total Environmental Solutions Company Limited (TES) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่ ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) บริษัท นูออโว พลัส จำกัด (Nuovo Plus) และ บริษัท โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ จำกัด (TES) 

โดยมี ดร.ยุทธนา สุวรรณโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม ปตท. นายมนัสชัย คงรักษ์กวิน รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ GPSC นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี กรรมการ Nuovo Plus และ Mr. Luc Scholte van Mast, Managing Director, TES ร่วมลงนาม เพื่อแสวงหาโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีและศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ในประเทศไทย สนับสนุนการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่ครบวงจรในอนาคต พร้อมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีรีไซเคิลมาส่งเสริมธุรกิจด้านพลังงานสะอาดที่เกี่ยวข้องให้แก่กลุ่ม ปตท. นอกจากจะช่วยเสริมศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยต่อไป

ปตท. รับโล่ ‘รางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส’ ครั้งที่ 11 รางวัลแห่งเกียรติยศด้านธรรมาภิบาล-ความโปร่งใส

เมื่อไม่นานมานี้ นายชฎิล ชวนะลิขิกร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารศักยภาพองค์กรและธรรมาภิบาล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทน ปตท. รับมอบโล่ ‘รางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส’ ครั้งที่ 11 (NACC Integrity Awards) จากพลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 

โดยในปีนี้ ปตท. ได้รับรางวัลองค์กรโปร่งใสต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ประกอบด้วย รางวัลองค์กรโปร่งใส จำนวน 2 ครั้ง และรางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส จำนวน 3 ครั้ง สะท้อนการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ตามมาตรฐานสากล สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมถึงส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรมในองค์กร

‘ปตท.’ ได้รับยกย่อง ‘หุ้นยั่งยืน’ ระดับสูงสุด AAA พร้อมคว้า 3 รางวัลเกียรติยศจาก ‘SET Awards 2023’

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 66 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2023 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ วารสารการเงินธนาคาร รวม 3 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม (Innovative Company Awards of Honor) และรางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ดีเด่น (Outstanding Investor Relations Awards) สะท้อนความมุ่งมั่นของ ปตท. ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างสมดุล

รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Awards of Honor นับเป็นปีที่ 3 ที่ ปตท. คว้ารางวัลสุดยิ่งใหญ่นี้ซึ่งเป็นผลจากการรักษาความยอดเยี่ยมจนได้รับ Best Sustainability Awards ติดต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมถึงได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ในระดับสูงสุด AAA แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของ ปตท. ในการก้าวข้ามผ่านความท้าทายต่าง ๆ พร้อมเป็นผู้นำสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ในปี 2050 ตามแนวทางการดำเนินงาน 3P (Pursuit of Lower Emissions, Portfolio Transformation และ Partnership with Nature and Society) โดยในปีที่ผ่านมา ปตท. ได้กำหนดทิศทางกลยุทธ์ที่ชัดเจน ทั้งการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้นักลงทุนมาลงทุนใน ปตท. 

สำหรับ รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม หรือ Innovative Company Awards of Honor ที่ ปตท. ได้รับในครั้งนี้ สืบเนื่องจากได้รับ Best Innovative Company Awards ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน จากผลงานการพัฒนานวัตกรรม ‘ตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR’ (Selective Catalytic Reduction) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen oxide, NOX) ในไอเสียจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นก๊าซพิษที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดฝนกรดและ PM2.5 ซึ่งนวัตกรรมนี้ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรถึง 3 รายการ มีประสิทธิภาพการใช้งานได้นาน 10 ปี สามารถใช้ได้ที่อุณหภูมิต่ำ และความร้อนที่เหลือไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้  ช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการสร้างธุรกิจด้านตัวเร่งปฏิกิริยา ปัจจุบันได้ถูกนำไปใช้งานที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปตท. มากกว่า 2 ปี และอยู่ระหว่างต่อยอดเชิงพาณิชย์ขยายผลการใช้งานไปยังกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในและนอกกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ ปตท. ได้คว้ารางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ดีเด่น หรือ Outstanding Investor Relations Awards กลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงกว่า 1 แสนล้านบาท ถือเป็นความสำเร็จในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดทุนไทยที่ได้รับการยอมรับจากนักวิเคราะห์และนักลงทุนในประเทศอีกด้วย

“ปตท. ขอขอบคุณนักวิเคราะห์ นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ ปตท. ได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจ ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย ปตท. พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม รุกสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอนาคต เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมใหม่และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมไปด้วยกัน” นายอรรถพล กล่าว

‘ปตท.’ ส่ง ‘GML’ จับมือ ‘อ.ต.ก.’ ผลักดันสินค้าเกษตรไทย ขยายตลาดส่งออกผ่านระบบทางราง นำร่องเส้นทางไทย-จีน

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท โกลบอล มัลติโมดัล โลจิสติกส์ จำกัด (GML) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านระบบการขนส่งทางราง มุ่งสร้างเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดการค้าต่างประเทศ โดยมี นายพีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานกรรมการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และนายชาญศักดิ์ ชื่นชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล มัลติโมดัล โลจิสติกส์ จำกัด เป็นประธานร่วมในพิธี พร้อมด้วย นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และนายไกรยสิทธิ์ อินทรพาณิชย์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล มัลติโมดัล โลจิสติกส์ จำกัด เป็นผู้ลงนาม

นายไกรยสิทธิ์ อินทรพาณิชย์ เปิดเผยว่า GML ดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร เชื่อมโยงระบบเครือข่ายขนส่งของประเทศไทยและต่างประเทศ ครอบคลุมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ เพื่อยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกจากประเทศไทย 

ปัจจุบัน GML ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการขนส่งสินค้าไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนลาว กัมพูชา สำหรับความร่วมมือนี้ GML และ อ.ต.ก. จะนำศักยภาพของทั้ง 2 องค์กรมาสนับสนุนการขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย ผ่านระบบขนส่งทางรางไปยังประเทศเป้าหมาย โดย GML จะบริหารจัดการระบบการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนที่แข่งขันได้ และอ.ต.ก. จะเป็นผู้จัดหาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกและกระจายสินค้าของประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย รวมทั้งประเทศในกลุ่มยุโรป เอเชียกลาง และตะวันออกกลาง

นายปณิธาน มีไชยโย เปิดเผยว่า จากความร่วมมือกันระหว่าง อ.ต.ก. และ GML ที่ดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น โดยจะดำเนินการส่งสินค้าเกษตรผ่านระบบการขนส่งทางรถไฟไทย-จีน ซึ่งสอดรับกับโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt One Road (OBOR) หรือ แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบกของจีน ที่ผลักดันการเชื่อมโยงและเส้นทางการค้าระหว่างประเทศสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก 

สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการขยายตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ ซึ่ง อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตร และพร้อมที่จะผลักดันนโยบายดังกล่าว สร้างโอกาสในการจำหน่ายให้แก่พี่น้องเกษตรกร เพื่อส่งเสริมให้สินค้าเกษตรไทยสามารถเข้าสู่ตลาดการค้าต่างประเทศได้มากขึ้น โดยเส้นทางการค้าทางรถไฟจากประเทศไทยสู่ประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะผลไม้ไทย อาทิ ทุเรียน กล้วยไข่ มังคุด และ ส้มโอ ซึ่งมีปริมาณการนำเข้า ไม่น้อยกว่า 20,000 ตัน/ปี โดย อ.ต.ก. จะดำเนินการจัดส่งข้าวหอมมะลิ ลำไยสด ลำไยอบแห้ง นำร่องไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านการขนส่งทางราง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top