Tuesday, 29 April 2025
ค้นหา พบ 47751 ที่เกี่ยวข้อง

ภายใต้การกำกับดูแลของ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ เจ้ากระทรวงพลังงาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ‘ค่าไฟฟ้า’ ไม่เคยเพิ่ม มีแต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ เจ้ากระทรวงพลังงาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ‘ค่าไฟฟ้า’  ไม่เคยเพิ่ม มีแต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง...

สถานทูตจีนย้ำ!! จีน-ไทย มิตรภาพยั่งยืน พร้อมหนุนสินค้าไทยบุกตลาดใหญ่จีน

(29 เม.ย. 68) เมื่อเร็ว ๆ นี้ โฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการเยือนเวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชาอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกในปีนี้ โดยเน้นแนวคิดการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างจีนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเยือนครั้งนี้สร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่น จีนและเวียดนามตกลงเร่งสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันเชิงยุทธศาสตร์ พร้อมเริ่มต้นความร่วมมือทางรถไฟจีน-เวียดนาม ด้านมาเลเซียและกัมพูชายกระดับความสัมพันธ์สู่ประชาคมเชิงยุทธศาสตร์ โดยลงนามข้อตกลงสำคัญหลายฉบับ ส่งเสริมความร่วมมือเชิงลึกทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง

ในบริบทของความตึงเครียดทางการค้าจากนโยบายกีดกันของสหรัฐฯ การเยือนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเน้นย้ำความร่วมมือพหุภาคี การเปิดกว้าง และการไม่แบ่งแยก พร้อมเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยจีนพร้อมเปิดตลาดขนาดใหญ่เพื่อต้อนรับสินค้าคุณภาพจากภูมิภาคนี้

ผู้นำทั้งสามประเทศ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชา ต่างแสดงการสนับสนุนข้อเสนอของจีนในการปกป้องระบบการค้าเสรีและร่วมกันต่อต้านลัทธิฝ่ายเดียว พร้อมยืนยันการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับจีนเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ด้านความร่วมมือเศรษฐกิจ จีนมุ่งกระชับการค้าทวิภาคีและการลงทุนกับทั้งสามประเทศ ส่งเสริมการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อาทิ โครงการรถไฟจีน-เวียดนามและระเบียงพัฒนาอุตสาหกรรมในกัมพูชา

โฆษกฯ ระบุว่า ความสำเร็จในการเยือนครั้งนี้มีนัยสำคัญต่อความสัมพันธ์จีน-ไทย ซึ่งมีพื้นฐานที่แน่นแฟ้นและลึกซึ้ง จีนพร้อมร่วมมือกับไทยในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน ร่วมรับมือกับความท้าทายระหว่างประเทศ และส่งเสริมการค้าเสรีที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

จีนยืนยันความมุ่งมั่นที่จะเปิดประเทศกว้างยิ่งขึ้น แบ่งปันโอกาสการพัฒนากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะไทย ซึ่งจีนพร้อมสนับสนุนการนำเข้าสินค้าไทยคุณภาพดี และสานต่อความสัมพันธ์ “จีน-ไทยพี่น้องกัน” เพื่อก้าวสู่อนาคตร่วมกันที่สดใสยิ่งขึ้น

‘ดร.อาชนัน’ จี้ รบ. เร่งจัดการสินค้าจีนสวมสิทธิ์ ‘บริษัทไทย’ หลังมีผู้ผลิตโซลาร์โดนสหรัฐฯ ขึ้นภาษีสุดโหด

นักวิชาการธรรมศาสตร์ เสนอรัฐบาลเร่งคลอดมาตรการป้องกัน ‘จีน’ สวมสิทธิ์บริษัทไทย เร่งฟื้นเชื่อมั่นสหรัฐฯ ผ่านการแก้ปัญหาจริงจัง ระบุควรตั้งกรรมการเฉพาะขึ้นมา และเปิดช่องให้ผู้แทนมะกันเข้ามาร่วมตรวจสอบสถานประกอบการเพื่อความไว้วางใจ

รศ. ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และนักวิจัยศูนย์ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนา เปิดเผยว่า การที่สหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) จากประเทศในอาเซียนจำนวน  4 ประเทศ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสืบสวนทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ตั้งข้อสังเกตถึงพฤติกรรมการสวมสิทธิ์ของประเทศจีน ที่ได้เข้ามาสวมสิทธิ์ตั้งฐานการผลิตโซลาร์เซลล์ในบริษัทอาเซียน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย โดยผลการตรวจสอบของสหรัฐฯ ในปี 2023 สรุปว่ามีการสวมสิทธิ์ และทำให้เริ่มไต่สวนเพื่อคำนวณอัตราการเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุนและการทุ่มตลาดในปี 2024 และสรุปออกมาเป็นตัวเลขที่แน่ชัดได้ในช่วงเดือน เม.ย. 2025 ที่ผ่านมา

รศ. ดร.อาชนัน กล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า มาตรการการขึ้นภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์โซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ แตกต่างกันในแต่ละประเทศ และภายในประเทศนั้นๆ บริษัทแต่ละบริษัทก็เผชิญภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน โดยบริษัทจากมาเลเซียโดนภาษีตอบโต้การอุดหนุนและการทุ่มตลาดในอัตราที่ต่ำที่สุด ในขณะที่อีก 3 ประเทศเผชิญภาษีดังกล่าวมากกว่าร้อยละ 100  ดังนั้นมาเลเซียและผู้ผลิตโซลาร์ในสหรัฐฯ น่าจะได้ประโยชน์จากการเก็บภาษีนำเข้า ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ด้วยอัตราภาษีในระดับนี้คงยากที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศได้ 

อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตโซลาร์ของมาเลเซียโดยลำพังอาจไม่เพียงพอที่รองรับความต้องการของสหรัฐฯ ได้ ดังนั้นราคาโซลาร์ในสหรัฐฯ คาดว่าจะสูงขึ้น และทำให้ความต้องการโซลาร์ลดลง ผลที่ตามมาคือการเปลี่ยนผ่านไปพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์คาดว่าจะชะลอตัวลง และทำให้ปัญหาสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น 

“ในเวลานี้คงเป็นเรื่องยากและอาจจะเลยจุดที่รัฐบาลไทยจะทำอะไรได้มากแล้ว เพราะเป็นกระบวนการที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2024 สหรัฐฯ ตัดสินไปแล้ว ซึ่งเราก็อาจจะอุทธรณ์ได้ในบางกรณีแต่ก็คงไม่ง่าย ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรจะต้องทำก็คือการหามาตรการป้องกันเรื่องการสวมสิทธิ์สินค้า ซึ่งแน่นอนว่าจะมีมาอีกเรื่อยๆ ในผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพราะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของโลกมีการแบ่งงานกันระหว่างประเทศ และจีนมีบทบาทในเกือบทุกสินค้า รัฐบาลจึงต้องเตรียมการเชิงรุกให้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำรอยเดิมอีก” รศ. ดร.อาชนัน กล่าว

รศ. ดร.อาชนัน กล่าวว่า คำแนะนำในเบื้องต้นคือหลังจากนี้ไปรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ควรจะต้องมีกระบวนการที่เข้มข้นมากขึ้น ในการพูดคุยและเจรจากับผู้ประกอบการจากต่างชาติว่าจะมีแผนหรือกระบวนการต่างๆ อย่างไร เพื่อให้ลดการพึ่งพาชิ้นส่วนต่าง ๆ จากจีน และหันมาสร้างซัพพลายเชนในไทยมากขึ้น เรื่องดังกล่าวคาดว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ประกอบการทุกชาติในประเทศไทย  ภาครัฐสามารถใช้กรณีบริษัทผลิตโซลาร์เซลล์ครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาว่าหลักเกณฑ์ใดที่เข้าข่ายการสวมสิทธิ์ และแบบใดไม่เข้าข่าย ซึ่ง ช่องว่างของความแตกต่างเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องกลับมาทบทวน และถอดรหัสเพื่อหามาตรการรับมือ

“มากไปกว่านั้นคือควรใช้โอกาสจากการที่ไทยกำลังจะเดินหน้าเข้าสู่การเจรจากับสหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่งในการหารือถึงการทำงานร่วมกันกับสหรัฐฯ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์สินค้า โดยแสดงความจริงใจและความมุ่งมั่นผ่านการนำเสนอกระบวนการทำงานที่เป็นรูปธรรมหลังจากนี้ไป และอาจจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อรับหน้าที่ดังกล่าวขึ้นมาโดยเฉพาะ และเชิญชวนตัวแทนเจ้าที่ทางการจากสหรัฐฯ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งสำหรับร่วมตรวจสอบสถานประกอบการ หรือบริษัทต่างๆ ที่เข้ามาดำเนินการผลิตในไทย หากสามารถทำให้สหรัฐฯ มองเห็นถึงความเอาจริงเอาจังเพื่อจัดการปัญหาเรื่องการสวมสิทธิ์สินค้า ก็อาจจะส่งผลให้อเมริกาพิจารณาผ่อนคลายมาตรการการขึ้นภาษีได้ในท้ายที่สุด” นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าว

‘ทรัมป์’ เผย ‘เซเลนสกี’ พร้อมยกไครเมียให้รัสเซีย แลกข้อตกลงสันติภาพ ขณะที่ ‘ปูติน’ เสนอหยุดยิงเชิงสัญลักษณ์ แต่ฝ่ายยูเครนยังไม่วางใจ

(29 เม.ย. 68) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ระบุว่า ตนเชื่อว่าประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน พร้อมที่จะยกดินแดนไครเมียให้รัสเซีย เพื่อแลกกับข้อตกลงสันติภาพ แม้เซเลนสกีจะเคยปฏิเสธเรื่องนี้อย่างหนักแน่นมาก่อนหน้านี้ก็ตาม พร้อมกันนี้ ทรัมป์ยังส่งสารถึงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เรียกร้องให้ยุติการโจมตีและเร่งลงนามข้อตกลงสันติภาพภายใน 2 สัปดาห์

ล่าสุด วลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศเตรียมหยุดยิงยูเครนเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่เช้าวันที่ 8 พฤษภาคมถึงวันที่ 11 พฤษภาคม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียระบุว่าการหยุดยิงครั้งนี้มีเหตุผลด้านมนุษยธรรม และแสดงความหวังว่าฝั่งยูเครนจะตอบสนองด้วยการหยุดยิงเช่นกัน พร้อมเรียกร้องให้มีการหยุดยิงเต็มรูปแบบอย่างน้อย 30 วัน เพื่อปูทางสู่การเจรจาทางการทูต

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายยูเครนออกมาโต้ตอบทันที โดยระบุว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องรอจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคมในการหยุดยิง โดยชี้ว่าควรหยุดการสู้รบทันทีเพื่อเห็นแก่ชีวิตของประชาชน ไม่ใช่เพื่อขบวนพาเหรดเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัสเซียแสดงความจริงใจมากกว่าการหยุดยิงชั่วคราว

ทั้งนี้ การแสดงความเห็นของทรัมป์มีขึ้นหลังจากที่เขาเดินทางกลับจากพิธีพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ที่นครรัฐวาติกัน ซึ่งเขาได้พบกับเซเลนสกีในช่วงเวลาสั้น ๆ ทั้งนี้ ทรัมป์เคยย้ำว่าข้อตกลงสันติภาพกำลังคืบหน้า และตำหนิรัสเซียที่โจมตีเขตพลเรือนโดยไร้เหตุผล

ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ในสเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส อันดอร์รา พังเป็นโดมิโน ผู้คนติดลิฟต์-รถไฟหยุด-สนามบินวุ่น ยังไม่ฟันธงสาเหตุแต่ไม่ใช่ไซเบอร์โจมตี

เมื่อวานนี้ (28 เม.ย. 68) สเปนและโปรตุเกสประสบเหตุไฟฟ้าดับครั้งใหญ่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เมืองใหญ่ทั้งมาดริด บาร์เซโลนา และลิสบอนต้องเผชิญปัญหาไฟฟ้าดับแบบไม่ทันตั้งตัว ขณะที่บางพื้นที่ในฝรั่งเศสและประเทศอันดอร์ราก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เหตุการณ์สร้างความโกลาหลในระบบขนส่ง สนามบิน และบริการสาธารณะต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค

ส่งผลให้รัฐบาลทั้งสองประเทศเร่งฟื้นฟูระบบไฟฟ้า โดยนายกรัฐมนตรีสเปนระบุว่าไฟฟ้า 50% ได้รับการฟื้นฟูแล้ว ขณะที่โปรตุเกสสามารถจ่ายไฟกลับคืนให้ลูกค้า 750,000 ราย ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่าไฟดับครั้งนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าระหว่างฝรั่งเศสกับสเปน

ด้านบริษัทพลังงาน REN ของโปรตุเกสระบุว่า ปรากฏการณ์อากาศที่หายากทำให้เกิด “แรงสั่นสะเทือนที่ชักนำโดยสภาพอากาศ” ส่งผลให้สายไฟแรงสูง เกิดความล้มเหลวพร้อมกัน เป็นเหตุให้ระบบไฟฟ้าล่มทั่วเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างสอบสวน และยังไม่มีสัญญาณว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์

สำหรับสเปนเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนในยุโรป โดยผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดถึง 56% ของทั้งประเทศในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ระบบไฟฟ้าแบบใหม่นี้ต้องเผชิญความท้าทายในการรักษาสมดุลของการผลิตและจ่ายไฟอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากแหล่งพลังงานที่ไม่แน่นอนอย่างแสงอาทิตย์และลม

ทั้งนี้ การไฟฟ้าดับวงกว้างไม่ใช่เหตุการณ์ใหม่สำหรับยุโรป โดยเคยเกิดขึ้นในอิตาลีปี 2003 และในเยอรมนีปี 2006 แต่เหตุการณ์ล่าสุดตอกย้ำถึงความสำคัญของการอัปเกรดโครงข่ายไฟฟ้าให้สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียน และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงใหม่ที่มากับสภาพอากาศสุดขั้วและเทคโนโลยีพลังงานยุคใหม่


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top