Monday, 28 April 2025
ค้นหา พบ 47725 ที่เกี่ยวข้อง

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#18 ‘ซวนล็อก’ สมรภูมิสุดท้ายของ ‘กองทัพเวียตนามใต้’

เมื่อสงครามเวียตนามใกล้จะสิ้นสุดมีการรบที่ดุเดือดที่สุด แต่แทบจะไม่มีการกล่าวถึงเลย ด้วยหลังจากการรบครั้งนั้น 9 วัน เวียตนามใต้ก็ล่มสลายเมื่อกองกำลังเวียตนามเหนือและเวียตกงเข้ายึดครองกรุงไซ่ง่อนได้สำเร็จ “สมรภูมิซวนล็อก (Battle of Xuân Lộc)” เป็นการสู้รบใหญ่ครั้งสุดท้ายในสงครามเวียตนาม โดยตั้งแต่ต้นปี 1975 กองทัพประชาชนเวียตนาม (PAVN) ได้ปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังเวียตนามใต้ (Army of the Republic of Vietnam : ARVN) ในจังหวัดทางตอนเหนือของเวียตนามใต้บริเวณที่ราบสูงตอนกลาง ทำให้กองพลที่ 2 ของกองทัพบกเวียตนามใต้ถูกทำลายอย่างย่อยยับในขณะที่พยายามเคลื่อนพลไปยังพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง การรบที่เมืองเว้และดานัง กองกำลังเวียตนามใต้นั้นละลายโดยแทบจะไม่มีการต่อต้าน ความพ่ายแพ้อย่างหนักของกองทัพบกแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม (ARVN) ทำให้สมัชชาแห่งชาติเวียดนามใต้ตั้งกระทู้ถามกับประธานาธิบดีเหงียนวันเทียวถึงกรณีดังกล่าวจนทำให้ประธานาธิบดีเหงียนวันเทียวต้องลาออกจากตำแหน่ง

หลังจากการล่มสลายของกองพลที่ 1 และ 2 ของกองทัพบกเวียตนามใต้ กองทัพปลดปล่อยเวียตนาได้เคลื่อนพลเข้าสู่กรุงไซง่อน โดยมีกองพลทหารราบที่ได้รับการเสริมกำลังอย่างหนักจำนวน 15 กองพล โดยกองพล 3 กองพลได้เข้าโจมตีเมือง “ซวนล็อก” ซึ่งอยู่ห่างจากไซง่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือบนทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ 30 ไมล์ กองกำลังเวียตนามใต้เคลื่อนกำลังที่เหลือเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกองพลทหารราบที่ 18 ภายใต้พลจัตวา Lê Minh Đảo เพื่อป้องกันเมือง "ซวนล็อก" อันเป็นสี่แยกยุทธศาสตร์ ด้วยหวังที่จะชะลอการบุกของกองทัพประชาชนเวียตนาม การสู้รบครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ถึง 21 เมษายน 1975 และจบลงเมื่อกองทัพประชาชนเวียตนามสามารถยึดครองเมืองนี้ โดยกำลังพลจากกองทัพน้อยที่ 4 นำโดยพลตรี Hoàng Cầm เมือง "ซวนล็อก" ถือเป็นแนวป้องกันด่านสุดท้ายของกองทัพภาคที่ 3 ของเวียตนามใต้ให้การคุ้มกันแนวรบทางตะวันออกของกรุงไซ่ง่อนเมืองหลวงของเวียตนามใต้ ด้วยเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อเมือง Bình Dương ฐานทัพอากาศ Bien Hoa, เมือง VũngTàu, เมือง Long An และ เมือง lynchpin อันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "ซวนล็อก" ซึ่งกำลังทหารเวียตนามใต้ได้ร่วมกันในความพยายามทำหน้าที่ครั้งสุดท้ายเพื่อป้องกันกรุงไซ่ง่อนและปกป้องเวียดนามใต้ ประธานาธิบดีเหงียนวันเทียวได้สั่งให้กองพลทหารราบที่ 18 รักษาเมือง "ซวนล็อก" ให้ได้ด้วยทุกวิธี 

กองกำลังเวียตนามใต้ทำการป้องกันกรุงไซ่ง่อน โดยครอบคลุมถนนสายหลักทั้ง 5 ที่นำไปสู่กรุงไซ่ง่อน ทางตอนเหนือของไซ่ง่อน กองพลที่ 5 ป้องกันการโจมตีของศัตรูบนทางหลวงหมายเลข 13 ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวง กองพลที่ 18 ป้องกันเมือง "ซวนล็อก" ครอบคลุมทางหลวงหมายเลข 1 และเมือง Bình Dương และฐานทัพอากาศ Bien Hoa ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงไซ่ง่อน ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบินและกองกำลังจู่โจม (ซึ่งทั้งหมดมีศักยภาพในการรบเหลือประมาณ 50 %) และทางหลวงหมายเลข 15 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงไซ่ง่อน กองพลที่ 22 ป้องกันทางหลวงหมายเลข 4 เส้นทางหลักจากสามเหลี่ยมแม่น้ำโขงไปยังกรุงไซ่ง่อนและตะวันตกเฉียงเหนือ กองพลที่ 25 ป้องกันเส้นทางหมายเลข 1 ระหว่างเมือง Tay Ninh และกรุงไซ่ง่อน

กองทัพน้อยที่ 4 ของกองทัพประชาชนเวียตนามได้รับคำสั่งให้ยึด "ซวนล็อก" เพื่อเปิดประตูสู่กรุงไซ่ง่อน ในช่วงเริ่มต้นของการรบกองพลทหารราบที่ 18 สามารถเอาชนะกองทัพน้อยที่ 4 ของกองทัพประชาชนเวียตนามได้ ทหารเวียตนามใต้ต่อสู้ด้วยความกล้าหาญท่ามกลางอุปสรรคมากมาย กองทัพอากาศของเวียตนามใต้ให้การสนับสนุนด้วยเฮลิคอปเตอร์และการโจมตีทางอากาศ รวมถึงการใช้ระเบิดคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ และระเบิด "เดซี่คัตเตอร์" และระเบิดเพลิงอบบ CBU-55B ซึ่งเป็นระเบิดเพลิงอากาศแบบแรกที่ใช้ในการสู้รบ จนทำให้ทหารของกองทัพประชาชนเวียตนามหนึ่งกองพลต้องล่าถอยด้วยความสูญเสียอย่างหนัก เพื่อยึดครองเมือง "ซวนล็อก" ให้สำเร็จ ผู้บัญชาการกองทัพน้อยที่ 4 จึงได้เปลี่ยนแผนการรบ แต่แล้วในวันที่ 19 เมษายน 1975 กองกำลังของพลจัตวา Đảo ได้รับคำสั่งให้ถอนตัวหลังจากเมือง "ซวนล็อก" ถูกโดดเดี่ยวเกือบทั้งหมด โดยหน่วยของเวียตนามใต้ที่เหลือทั้งหมดถูกทำลายอย่างย่อยยับ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นจุดสิ้นสุดของอาชีพทางการเมืองของประธานาธิบดีเหงียนวันเทียว โดยที่เขาลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 1975 ด้วยประโยคที่ว่า "ผมขอลาออก แต่ผมจะไม่หนี" แล้ว 5 วันต่อมา เขาก็ขึ้นเครื่องบินลำเลียง C-118 หนีไปไต้หวันพร้อมด้วยกระเป๋าที่หนักอึ้งเป็นจำนวนมาก

ทหารฝ่ายป้องกันของเวียดนามใต้ต่อสู้ด้วยความกล้าหาญท่ามกลางอุปสรรคมากมาย Xuan Loc ได้รับการปกป้องโดยกองพลที่ 18 ของเวียดนามใต้ ซึ่งประกอบด้วยกรมทหารราบ 3 กรม ได้แก่ กรมที่ 43 กรมที่ 48 และกรมที่ 52 นอกจากนี้ยังมีกองพลยานเกราะอีก 5 กองพัน กองกำลังภูมิภาคอีก 4 กองพัน (กองพันที่ 340 กองพันที่ 342 กองพันที่ 343 และกองพันที่ 367) หน่วยปืนใหญ่ 2 หน่วย (กองพันปืนใหญ่ที่ 181 และ 182) พร้อมปืนใหญ่ 42 กระบอก และกองกำลังป้องกันตนเองของประชาชนอีก 2 กองร้อย  ในวันที่ 12 เมษายน ยังได้รับการเสริมกำลังด้วยกองพลทหารราบทางอากาศที่ 1 กองพลยานเกราะ 3 กองพล (กองพลยานเกราะที่ 315, 318 และ 322) กองกำลังเฉพาะกิจที่ 8 จากกองพลที่ 5 และกองพันทหารพรานที่ 33 การสนับสนุนทางอากาศมาในรูปแบบของกองพลอากาศโยธินอีก 2 กองพล ได้แก่ กองพลอากาศโยธินที่ 5 ประจำการที่ฐานทัพอากาศเบียนฮัว และอากาศโยธินที่ 3 ฐานทัพอากาศเตินเซินเญิ้ต นอกจากนี้ยังมีกองทัพอากาศของเวียดนามใต้ให้การสนับสนุนทางเฮลิคอปเตอร์และการโจมตีทางอากาศ รวมถึงการใช้ระเบิดคลัสเตอร์ขนาดใหญ่และระเบิด "เดซี่คัตเตอร์" และระเบิดเชื้อเพลิงอากาศ CBU-55B ซึ่งเป็นระเบิดเชื้อเพลิงอากาศลูกแรกที่เคยใช้ในการสู้รบ เนื่องจากกองกำลังเวียตนามใต้ที่ทำหน้าที่ป้องกันสูญเสียกำลังพลไป 30% 

วันที่ 23 เมษายน 1975 กองพลที่ 18 ได้เคลื่อนพลถอยไปยังกรุงไซง่อนบนทางหลวงหมายเลข 2 โดยที่หน่วยสนับสนุนและปืนใหญ่ยังคงอยู่ครบถ้วน ทำให้เมือง “ซวนล็อก” ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังคอมมิวนิสต์ในวันเดียวกัน แม้ว่าครั้งหนึ่ง กองทัพสหรัฐฯ จะไม่ให้การยอมรับทหารกองพลที่ 18 แต่ภายใต้การนำของพลจัตวา Lê Minh Đảo กองพลนี้ได้กลายเป็นหน่วยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันกรุงไซง่อน สมรภูมิ "ซวนล็อก" สิ้นสุดลงลงในวันที่ 21 เมษายน 1975 โดยกองทัพน้อยที่ 4 ของเวียตนามเหนือสามารถเอาชนะกำลังผสมชุดสุดท้ายของกองทัพภาคที่ 3 ของเวียตนามใต้ แล้วอีก 9 วันต่อมาเมื่อรถถัง T-54 ของกองทัพประชาชนเวียตนามชนผ่านประตูทำเนียบประธานาธิบดีเวียตนามใต้ในวันที่ 30 เมษายน 1975 จึงเป็นการสิ้นสุดสงครามเวียตนามอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียตนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งร่างตำรวจกล้าที่เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตก ไปบำเพ็ญกุศลยังภูมิลำเนา พร้อมดูแลพิธีต่าง ๆ ทุกแห่งอย่างสมเกียรติ 

(27 เม.ย. 68) พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) กล่าวว่า จากการที่ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ดูแลครอบครัวข้าราชการตำรวจ 6 นาย ที่เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตำรวจตก ขณะปฏิบัติภารกิจทดสอบการบิน ฝึกกระโดดร่ม ในพื้นที่ทะเล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจัดพิธีอย่างสมเกียรตินั้น จึงได้สั่งการกำชับหน่วยที่เกี่ยวข้อง ให้ดูแลการดำเนินการจัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมเกียรติแก่ผู้วายชนม์และครอบครัว , จัดกำลังตำรวจอำนวยความสะดวกการจราจรในเส้นทางจนถึงสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา และจัดกำลังตำรวจอำนวยความสะดวกในงานพิธี จนกว่าจะเสร็จพิธี

ทั้งนี้ ญาติของผู้วายชนม์ได้กำหนดให้มีการจัดพิธีบำเพ็ญกุศล ทั้งในกรุงเทพมหานครและภูมิลำเนา โดยในวันประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ จะมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเดินทางไปเป็นประธานในพิธี ดังนี้

1. พ.ต.อ.ประธาน เขียวขำ นักบิน (สบ 4) งกบ.บ.ตร. และ ร.ต.ท.ธนวรรษ เมฆประเสริฐสุข  วิศวกรอากาศยาน (สบ 1) จัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 น. โดยมี พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผบ.ตร. เป็นประธานในพิธี

2. พ.ต.ท.ปานเทพ มณิวชิรางกูล นักบิน (สบ 3) งกบ.บ.ตร. ออกเดินทางจาก บ.ตร.(ดอนเมือง) โดยเครื่องบินฟอกเกอร์ ในวันนี้ (27 เมษายน 2568)  เวลา 12.00 น. นำส่งไปยังสนามบินลำปาง เพื่อจัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ณ วัดบ้านต้า ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 น. โดยมี พล.ต.อ.ประจวบ วงศ์สุข รอง ผบ.ตร. เป็นประธานในพิธี

3. ร.ต.อ.จตุรงค์ วัฒนไพรสาณฑ์ นักบิน (สบ 1) งกบ.บ.ตร. ออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร โดยรถยนต์ของศูนย์ส่งกลับ โรงพยาบาลตำรวจ ในวันนี้ (27 เมษายน 2568) นำส่งเพื่อจัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.00 น. โดยมี พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รอง ผบ.ตร. เป็นประธานในพิธี

4. จ.ส.ต.ประวัติ พลหงสา ผบ.หมู่ งชอ.บ.ตร. ออกเดินทางจาก บ.ตร. (ท่าแร้ง)โดยเฮลิคอปเตอร์เบลล์ 412 EP ในวันนี้ (27 เมษายน 2568) เวลา 12.00 น. นำส่งไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว เทศบาลตำบลโคกล่าม อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด เพื่อจัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ณ วัดราชวรี บ้านโคกล่าม ต.โคกล่าม อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 15.00 น. โดยมี พล.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.เป็นประธานในพิธี

5. ส.ต.ต.จิราวัฒน์ มากสาขา ผบ.หมู่ งชอ.บ.ตร. ออกเดินทางจาก บ.ตร. (ดอนเมือง) โดยเครื่องบินฟอกเกอร์ ในวันนี้ (27 เมษายน 2568) เวลา 12.00 น. นำส่งไปยังท่าอากาศยานสงขลา เพื่อจัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ณ วัดปะโอ ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 น. โดยมี พล.ต.ท.สำราญ  นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นประธานในพิธี

สำนักงานตำรวจแห่งชาติขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เสียสละจากเหตุการณ์ครั้งนี้

สวนนงนุชพัทยา โดย “กัมพล ตันสัจจา” จัดโปรโมชั่นพิเศษต้อนรับเดือนพฤษภาคม พร้อมกิจกรรมสุดพิเศษวันแรงงานแห่งชาติ

(27 เม.ย. 68) สวนนงนุชพัทยา ภายใต้การบริหารของ นายกัมพล ตันสัจจา เดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ด้วยโปรโมชั่นสุดคุ้มและกิจกรรมพิเศษเอาใจนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม

1.สิทธิพิเศษสำหรับนิสิต นักศึกษาตลอดทั้งเดือน พฤษภาคม 2568เพียงแสดงบัตรนักศึกษา ณ จุดจำหน่ายบัตร จะได้รับสิทธิ ส่วนลด 50% สำหรับบัตรผ่านประตู เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ใกล้ชิดธรรมชาติและเสริมสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียน

2. ผู้ที่เกิดในเดือนพฤษภาคม รับบัตรผ่านเข้าฟรีตลอดทั้งเดือน!เพื่อร่วมฉลองเดือนเกิด สวนนงนุชพัทยามอบของขวัญสุดพิเศษสำหรับผู้ที่เกิดในเดือนพฤษภาคม

3.กิจกรรมสุดพิเศษ “วันแรงงานแห่งชาติ” 1 พฤษภาคม 2568
ร่วมเฉลิมฉลองวันแรงงานแห่งชาติด้วยกิจกรรมสนุกสนาน ลูกทุ่งวันแรงงานการแสดงวัฒนธรรมไทย และการแสดงของน้องช้างแสนรู้

นายกัมพล ตันสัจจา เผยว่า “เราต้องการมอบความสุข ความคุ้มค่า และความประทับใจให้กับทุกคนที่มาเยือน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวทั่วไปหรือครอบครัวให้สวนนงนุชพัทยาเป็นแหล่งเรียนรู้และพักผ่อนในทุกโอกาส”โปรโมชั่นอื่นๆสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทร: 038-238061-63
เว็บไซต์ : www.nongnoochtropicalgarden.com
Facebook: สวนนงนุชพัทยา Nongnooch Garden Pattaya
 

‘กล้าธรรม’ ปักธงภาคใต้คว้าชัยสนามเมืองคอน สะท้อนภาพ ‘ประชาธิปัตย์’ คะแนนนิยมถดถอย

(28 เม.ย. 68) ‘บิ๊กโอ’ คว้าชัยสนามเมืองคอน สะท้อนอนาคตก้าวกระโดดของพรรคกล้าธรรม ความถดถอยของประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งซ่อมเขต 8 นครศรีฯอย่างไม่เป็นทางการ แทนตำแหน่งว่าง หลังจาก “มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล” จากพรรคภูมิใจไทย โดนใบแดง

ผลการนับคะแนนครบทั้ง 233 หน่วยเลือกตั้งแล้ว ปรากฏว่า
เบอร์ 1     28,422 (ไสว)
เบอร์ 2     4,189 (ชินวรณ์)
เบอร์ 3     6,759 (ณัฐกิตติ์)
เบอร์ 4     286 (พรรคพร้อม)
เบอร์ 5     39,039 (ก้องเกียรติ)
เบอร์ 6     192 (ทางเลือกใหม่)

ผลการนับคะแนนเบื้องต้น “บิ๊กโอ-ก้องเกียรติ เกตุสมบัติ” จากพรรคกล้าธรรมชนะขาดลอย กินขาดพรรคภูมิใจไทย ที่มีพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นหัวเรือใหญ่ หลังจากก่อนหน้านี้ ในการเลือกตั้งปี 2566 ยึด 2 เขตเลือกตั้งของนครศรีฯมาได้ คือเขต 7 ษฐา ขาวขำ เอาชนะชินวรณ์ บุณยะเกียรติ จากประชาธิปัตย์ เขต 8 มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล เอาชนะ ทั้งประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ และประชาชน ส่ง “มุกดาวรรณ” เข้าไปนั่งในสภา แต่มุกดาวรรณถูกร้องเรียนเรื่องซื้อเสียง และโดนใบแดง

พรรคภูมิใจไทย กล้าหาญเกินเหตุส่ง “ไสว เลื่องสีนิล” สามีมุกดาวรรณ ที่โดนใบแดงลงสมัครอีกครั้ง กฎหมายไม่ได้ครอบคลุมว่า ภรรยาโดนใบแดง หรือสามีโดนใบแดง ถ้ายังไม่จ่ายค่าเสียหาย ห้ามลงเลือกตั้ง

น้ำ วาริน ชิณวงศ์ นายกฯอบจ.นครศรีฯมองว่า ใบแดงเป็น “เหตุสุดวิสัย”

ภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาที่มาช่วยปราศรัยว่า ใบแดงของมุกดาวรรณ เป็นอุบัติเหตุทางการเมือง

แต่ประเด็นข้อเท็จจริง คือ มุกดาวรรณ ถูกร้องเรียนเรื่องซื้อเสียงเลือกตั้ง มีพยานหลักฐานจนศาลเชื่อ และพิพากษาให้ใบแดง จนนำมาสู่การเลือกตั้งใหม่

ผลการเลือกตั้งชัดเจนว่า คนนครฯเขต 8 ไม่เอาครอบครัวคนที่เคยมีประวัติซื้อเสียง ส่วนผลการเลือกตั้งจะนำมาสู่การร้องเรียน-ซื้อเสียงอีกหรือไม่ จะมีใบแดงรอบสองไหม ต้องติดตามกันต่อไป

แต่ชัยชนะของ บิ๊กโอ-ก้องเกียรติ เกตุสมบัติ ในการเลือกตั้งซ่อมเขต 8 นครศรีธรรมราช มีความหมายยิ่งสำหรับพรรคกล้าธรรม

พรรคกล้าธรรมที่มี สส.อยู่แล้ว 24 คน แต่พรรคกล้าธรรมไม่เคยผ่านสนามเลือกตั้งมาก่อน เป็นพรรคการเมืองที่เกิดใหม่ สส. 24 คน ส่วนใหญ่มาจากการถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ และมาสังกัดพรรคกล้าธรรม พร้อม รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่มานั่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรค

ชัยชนะของ บิ๊กโอ จึงเป็นชัยชนะแรกของพรรคกล้าธรรมในสนามเลือกตั้ง นับต่อแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป คือการนับ 1 ของการ เขย่ง-ก้าว-กระโดด ของพรรคกล้าธรรม ในการเดินหน้าขับเคลื่อนพรรคืเพื่อเดินไปสู่สนามเลือกตั้งปี 70 ธรรมนัสจะต้องเดินเต็มกำลังเพื่อเข้ามายึดครองพื้นที่ภาคใต้ ในสถานการณ์ที่พรรคการเมืองเจ้าสนามเดิมกำลังอ่อนแอแอ ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปัตย์ หรือภูมิใจไทย และหรือพรรคประชาชาติ

พรรคประชาธิปัตย์อ่อนแออันเกิดจากสนิทเห็น ภายในพรรคเองที่สถานการณ์ตกอยู่ในสภาพที่ยากต่อการฟื้นฟู ไม่แตกต่างจากตึกสำนักงาน สตง.ถล่ม หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เรื่องราวถูกขุดถูกรื้อขึ้นมาแฉเรื่องแล้วเรื่องเล่า สถานการณ์ของประชาธิปัตย์ก็ไม่แตกต่างกัน แกนนำพรรคขาดความน่าเชื่อถือ ถูกกระแนะกระแหนครั้งแล้วครั้งเล่า ยิ่งตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลที่มีทักษิณชักใยอยู่เบื้องหลังยิ่งไปกันใหญ่ 3-4 ผู้อาวุโสก็ยังเดินไปคนละทิศคนละทางกับมติพรรค

ส่วนพรรคภูมิใจไทยที่ค่อยๆเข้ามาแทรกซึมยึดพื้นที่ภาคใต้ และขยายฐานออกไปเรื่อย ๆ ดูเหมือนจะดีกับวลี “พูดแล้วทำ” แต่ก็มีคำถามว่า ทำอะไรบ้าง แถมยังมีปัญหาเรื่องที่ดินสนามกอล์ฟของ “อนุทิน ชาญวีระกูล” หัวหน้าพรรคที่รอการพิสูจน์ เรื่องที่ดินเขากระโดง ก็เป็นกลัดหนองอยู่ แถมยังมีปัญหาข้อขัดแย้งกับพรรคแกนนำรัฐ ทั้งเรื่องแก่รัฐธรรมนูญ เรื่องกาสิโน ที่ยังไม่รู้อนาคตว่าจะถูกปรับออกหรือ หรือจะถูกยึดกระทรวงสำคัญๆหรือไม่

พรรคประชาชาติ เมื่อ “วันมูหะมัดนอร์ มะทา” ต้องล้างมือในอ่างทองคำ พรรคประชาชาติก็เดินไปยาก ต้องยอมรับความจริงว่า พรรคประชาชาติเกิดจาก “วันนอร์” คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังให้ความเคารพนับถือ “วันนอร์” อยู่มาก เมื่อวันนอร์ถอยออกไป ถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง จะหอบหิ้วพรรคต่อไปได้แค่ไหน จึงน่าจะเปิดช่องให้พรรคกล้าธรรมเข้าโจมตีได้ง่ายขึ้น

กล่าวสำหรับภาคใต้เป้าหมายของพรรคกล้าธรรมจะจู่โจมเข้าโจมตีตั้งแต่ชุมพร ไล่ไปจนถึงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

ส่วนภาคอิสานต้องยอมรับความจริงว่า เป็นถิ่นของเพื่อไทย และภูมิใจไทย พรรคกล้าธรรมจึงมีเป้าหมายตีพื้นที่ภูมิใจไทยในภาคอิสาน ประเดิมด้วยการดึงตระกูล “ช่างเหลา” แห่งเมืองขอนแก่นเข้ามาอยู่ชานคาเดียวกันเป็นการประเดิม หลังภูมิใจไทยมีมติขับ “เอกราช ช่างเหลา” ออกจากพรรค

ภาคเหนือก็เป็นฐานของเพื่อไทย ก็ให้เขาสู้กันกับพรรคประชาชน แต่พรรคกล้าธรรมจะเลือกสู้ในบางสนามที่มีความหวัง เช่นเดียวกับภาคกลางก็จะเลือกแข่งในสนามที่สู้ได้

ส่วนกรุงเทพคงไม่ใช่เป้าหมายของพรรคกล้าธรรม คงปล่อยให้พรรคเพื่อไทยราวีกับพรรคประชาชน

แต่แน่นอนว่า ชัยชนะของบิ๊กโอ ได้สร้างความฮึกเหิมให้กับพรรคกล้าธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าชัยชนะนั้นจะได้มาด้วยวิธีการใดก็ตาม

ความพ่ายแพ้ของพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ สะท้อนอนาคตชัดเจนว่าจะเดินไปสู่จุดไหน ให้พิจารณาคะแนนไม่เลือกใครด้วย

น้ำมันอาเซอร์ไบจานยังส่งผ่านตุรกีสู่ท่าเรือไฮฟา ท่ามกลางมาตรการตัดสัมพันธ์การค้าของอังการา

(28 เม.ย. 68) สื่ออิสราเอลรายงานว่า แม้รัฐบาลตุรกีประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการค้าทั้งหมดกับอิสราเอลอย่างเป็นทางการ เพื่อตอบโต้การโจมตีฉนวนกาซ่า แต่การส่งออกน้ำมันจากสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานไปยังอิสราเอลผ่านท่าเรือตุรกียังคงดำเนินต่อไป

Globes สื่อเศรษฐกิจของอิสราเอลเปิดเผยว่า น้ำมันดิบจากอาเซอร์ไบจานยังคงส่งผ่านท่อบากู-ทบิลิซี-เจฮานถึงท่าเรือเจฮานในตุรกี ก่อนถูกลำเลียงต่อไปยังท่าเรือไฮฟาในอิสราเอลโดยเรือบรรทุกน้ำมัน ทั้งนี้ อิสราเอลนำเข้าน้ำมันดิบจากอาเซอร์ไบจานมากกว่า 523,000 ตันในเดือนมกราคม คิดเป็นมูลค่าเกือบ 297 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความตึงเครียด ฮิกเมต ฮาจิเยฟ ผู้ช่วยฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน ได้พบกับนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูที่สถานทูตอาเซอร์ไบจานในกรุงเทลอาวีฟ เพื่อหารือเรื่อง "การพัฒนาในภูมิภาค" โดยเน้นความพยายามไกล่เกลี่ยกับตุรกีเกี่ยวกับสถานการณ์ในซีเรีย

หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ฮาจิเยฟเดินทางต่อไปยังกรุงอังการา เพื่อพบกับฟาเรตติน อัลตุน หัวหน้าสำนักงานสื่อสารแห่งชาติของตุรกี และผู้ใกล้ชิดกับประธานาธิบดีเออร์โดกัน โดยทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคและระดับโลก ท่ามกลางความพยายามฟื้นฟูเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top