Monday, 28 April 2025
ค้นหา พบ 47704 ที่เกี่ยวข้อง

‘สนามบินพาโร ภูฏาน’ ลงจอดยากมาก ไม่มีเรดาร์ช่วย ต้องอาศัยประสบการณ์ ส่วนใหญ่ผู้ที่ลงจอดได้ เป็นนักบินจาก ‘Drukair - Bhutan Airlines’ ที่ผ่านการรับรอง

(27 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Sierra Charlie Lima’ ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า ...

มีนักบินจำนวนไม่มากที่ได้รับอนุญาตให้บินขึ้นลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติพาโร ประเทศภูฏาน เนื่องจากสนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยยอดเขาสูงกว่า 5,500 เมตร อากาศบาง และไม่มีระบบนำร่องด้วยสัญญาณวิทยุ (ILS) หรือเรดาร์ช่วย นักบินต้องอาศัยการบินด้วยสายตา (Visual Flight Rules) และประสบการณ์สูงในการจดจำภูมิประเทศ คาดว่ามีนักบินเพียงประมาณ 20-30 คนทั่วโลกที่ผ่านการรับรอง โดยส่วนใหญ่เป็นนักบินของสายการบิน Drukair และ Bhutan Airlines ซึ่งเป็นสายการบินที่ได้รับอนุญาตให้บินที่นี่

‘อัครเดช’ ปลื้ม!! ได้กำลังใจล้นหลาม!! ชาวบ้านแห่ชม 'พีระพันธุ์' ทุ่มเท ทำงานหนัก ลดค่าไฟต่อเนื่อง ผ่อนคลายค่าครองชีพ ช่วยลดภาระความเดือดร้อน ให้ครัวเรือน

(27 เม.ย. 68) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต 4 ในฐานะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เปิดเผยว่า

เนื่องจากในช่วงนี้เป็นการปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตนรวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครวมไทยสร้างชาติต่างลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนและเสียงสะท้อนการทำงานจากพี่น้องประชาชน ตามนโยบายของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ

จากการลงพื้นที่ตนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครวมไทยสร้างชาติต่างได้รับเสียงชื่นชมในการทำงานของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่สามารถลดค่าไฟได้อย่างต่อเนื่องทั้งในรอบเดือน ม.ค.-เม.ย. 68 ที่สามารถควบคุมค่าไฟให้อยู่ที 4.15 บาทต่อหน่วยจากที่ กกพ. ได้เสนอที่ 4.49-4.79 บาทต่อหน่วย และในรอบต่อไปคือ พ.ค.-ส.ค. 68 ที่คาดว่าจะลดลงเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย จากที่ กกพ. เสนอที่ 4.15 บาทต่อหน่วย 

นอกจากนี้พี่น้องประชาชนยังขอขอบคุณสำหรับการทำงานอย่างหนักของนายพีระพันธุ์ และรัฐบาล ที่สามารถช่วยลดค่าไฟซึ่งเป็นหนึ่งในค่าครองชีพที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต เป็นการช่วยผ่อนคลายค่าครองชีพที่เป็นภาระหนักอึ้ง

นายอัครเดช กล่าวต่อไปว่า แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาพลังงานทั้งไฟฟ้า น้ำมัน และก๊าซ ซึ่งที่เห็นในขณะนี้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วน การแก้ไขปัญหาในระยะยาวต้องอาศัยการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งจะทลายปัญหาโครงสร้างราคาพลังงานที่ฝังรากลึกมาอย่างยาวนาน และเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน

"ตนอยากให้พี่น้องประชาชนทุกคนมั่นใจว่า การบริหารงานของกระทรวงพลังงานภายใต้การนำของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ภายใต้การสนับสนุนภารกิจนี้จากนายกรัฐมนตรีเป็นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการรื้อ ลด ปลด สร้างพลังงานไทย การแก้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการจัดการอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต "นายอัครเดช กล่าวทิ้งท้าย

เกิดอะไรขึ้นภายหลังการสิ้นพระชนม์ของ ‘สมเด็จพระสันตะปาปา’ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อเลือกผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวคาทอลิกทั่วโลก

(27 เม.ย. 68) จากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้ตำแหน่งประมุขผู้นำสูงสุดของชาวคาทอลิกทั่วโลกว่างลง จึงเป็นเหตุการณ์สำคัญของวาติกันอีกครั้งที่จะจัดให้มีการเลือกสมเด็จพระสันตะปาปา (Pope) พระองค์ใหม่ในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกขึ้น เป็นกระบวนการที่มีชื่อเรียกว่า Conclave (คองเคลฟ) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะพระสันตะปาปาเป็นผู้นำสูงสุดของศาสนจักรคาทอลิกทั่วโลก และมีบทบาทสำคัญทั้งทางจิตวิญญาณและการบริหารงานต่างๆของศาสนจักร 

ใดๆdigest ขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับกระบวนการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปารวมไปถึงพิธีสำคัญของโลกพิธีหนึ่งมี่มีความสำคัญมากกับผู้คนนับพันล้านคนทั่วโลกกันครับ 

เมื่อพระสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ จะเกิดกระบวนการที่เป็นระเบียบและสืบทอดกันมายาวนานในศาสนจักรคาทอลิก เพื่อจัดการช่วงเวลาสำคัญนี้ ทั้งด้านจิตวิญญาณ พิธีกรรม และการบริหารซึ่งสามารถแบ่งสิ่งที่เกิดขึ้นออกเป็น 3 ระยะหลัก ๆ ดังนี้

1. การยืนยันการสิ้นพระชนม์ โดยพระคาร์ดินัลคาเมอเลงโก (Camerlengo)ซึ่งรับหน้าที่ดูแลศาสนจักรระหว่างที่ไม่มีพระสันตะปาปา จะเป็นผู้ยืนยันว่าพระสันตะปาปาสิ้นพระชนม์แล้วอย่างเป็นทางการ โดยธรรมเนียมดั้งเดิม (ในอดีต) คาเมอเลงโกจะเรียกชื่อพระสันตะปาปา 3 ครั้งเพื่อดูว่ามีการตอบหรือไม่ ปัจจุบันจะใช้วิธีทางการแพทย์ประกอบด้วย เมื่อตรวจสอบแล้วว่าแน่ชัด คาเมอเลงโกจะสั่ง ทำลายแหวนประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปา หรือที่รู้จักกันในนามแหวนแห่งชาวประมง (Ring of the Fisherman) เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสารในนามพระองค์

2.  การประกาศ Sede Vacante และการดูแลศาสนจักร Sede Vacante แปลว่า “ที่นั่งว่าง” เป็นช่วงเวลาที่ตำแหน่งพระสันตะปาปาว่างลง และในช่วงเวลานี้ตราประจำตำแหน่งขององค์พระสันตะปาปาจะเปลี่ยนชั่วคราว โดยมีภาพร่ม (ombrellino) และกุญแจสองดอกไขว้กันโดยในช่วงเวลานี้พระคาร์ดินัลทั้งโลกจะได้รับการแจ้งให้เดินทางมายังกรุงวาติกัน และไม่มีใครสามารถออกกฎหมายศาสนาใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรในเชิงนโยบายจนกว่าจะมีพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่

3. พิธีฝังพระศพและการเตรียม Conclave โดยในช่วงพิธีฝังพระศพร่างของพระสันตะปาปาจะถูกนำไปวางไว้ที่มหาวิหารนักบุญเปโตร เพื่อให้ประชาชนร่วมไว้อาลัยและมีการประกอบพิธีศพอย่างสมเกียรติ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีพิธีที่เรียกว่า Novemdiales ซึ่งคือพิธีภาวนา 9 วัน เพื่ออุทิศให้พระสันตะปาปาหลังจากนั้น พระศพจะถูกฝังในถ้ำใต้มหาวิหารนักบุญเปโตร หรือสถานที่อื่นตามแต่อดีตพระสันตะปาปาได้ทรงแสดงเจตจำนงไว้ก่อนสิ้นพระชนม์

จากนั้นการเตรียมการเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ (Conclave) ก็จะเริ่มขึ้น

ความสำคัญของ Conclaveต่อชาวคริสตชนคาทอลิกกว่า 1.3 พันล้านคนทั่วโลก 

1. พระสันตะปาปาคือผู้สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร ซึ่งเป็นอัครสาวกของพระเยซูและถือว่าเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก จึงถือว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญอย่างยิ่งของชาวครทอลิกทั่วโลก 

2. เมื่อพระสันตะปาปาองค์ก่อนสิ้นพระชนม์หรือสละตำแหน่ง ต้องมีการเลือกองค์ใหม่โดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดความว่างเปล่าในผู้นำและรักษาเสถียรภาพของศาสนจักร และเป็นการรักษาเอกภาพของศาสนจักรเอาไว้ 

3. เป็นกระบวนการที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และเอกภาพของศาสนจักร
เพราะการเลือกต้องผ่านการพิจารณาโดยพระคาร์ดินัล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาองค์ก่อน เป็นกระบวนการที่ต้องใช้การอธิษฐานขอการนำทางจากพระผู้เป็นเจ้า

กระบวนการของ Conclave อย่างเป็นลำดับ มีอะไรบ้าง

1. เกิดภาวะ"Sede Vacante"(ตำแหน่งว่างของพระสันตะปาปา) ขึ้นเมื่อพระสันตะปาปาองค์ก่อนสิ้นพระชนม์หรือสละตำแหน่ง  พระคาร์ดินัลคาเมอเลงโก (Camerlengo) ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนจะรับผิดชอบการบริหารศาสนจักรชั่วคราวจนกว่าจะได้พระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ 

2. จัดการนัดประชุม Conclave ที่วาติกัน
ซึ่งพระคาร์ดินัลที่มีอายุต่ำกว่า 80 ปีจากทั่วโลกจะถูกเรียกให้มาชุมนุมกันภายใน 15-20วันหลังจากตำแหน่งว่างลง แต่ละรูปมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งได้จนกว่าจะได้พระสันตะปาปาพระองค์ใหม่

3. พระคาร์ดินัลผู้มีสิทธิ์เลือก (Electors) จะเข้าไปในโบสถ์น้อยซีสทีน (Sistine Chapel)ซึ่งตั้งอยู่ภายในวาติกัน

พิธีเริ่มด้วยคำว่า "Extra omnes!" (ทุกคนออกไป!) เหลือเฉพาะผู้มีสิทธิ์เลือกเท่านั้น

4. กระบวนการลงคะแนนจะต้องได้เสียง 2ใน 3 ของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมดจึงจะถือว่าได้รับเลือก  โดยมีการลงคะแนนวันละ 2 ครั้งเช้า-บ่าย  และหากยังไม่สามารถเลือกได้ จะมีการเผาบัตรเลือกตั้งพร้อมสารเคมีทำให้เกิดควันสีดำ (Fumata nera)เพื่อแสดงว่ายังไม่มีผู้ได้รับเลือก

และหากเลือกได้แล้ว ควันจะเป็นสีขาว (Fumata bianca) พวยพุ่งออกจากปล่องควันของโบสถ์น้อยซิสทีนพร้อมเสียงระฆังสัญญาณ

5. จะมีการถามผู้ได้รับเลือกว่า “ยอมรับหรือไม่” และ “จะใช้พระนามใด”
 เมื่อผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ยอมรับแล้ว จะถือเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่อย่างเป็นทางการทันที และจะสวมชุดขาวออกมาแสดงตัวที่ระเบียงหน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร (St. Peter’s Basilica)

ความสำคัญและลึกซึ้งทางจิตวิญญาณของพิธี Conclave นั้น ไม่ใช่เพียงแค่การเลือกผู้นำองค์กร หากแต่เป็น การอธิษฐานขอการนำทางจากพระเจ้าเพื่อให้ได้ผู้นำที่พระเจ้าทรงเลือกไว้ รวมทั้ง Conclave นั้นดำเนินการด้วย การประชุมแบบปิดล้อม (con-clave มีความหมายตรงตัวว่า “ด้วยกุญแจ") แสดงถึงการละจากโลกภายนอก เพื่อมุ่งสู่ความเงียบและการไตร่ตรอง

กล่าวโดยสรุป Conclave ก็คือการเลือกพระสันตะปาปาใหม่ผ่านการอธิษฐาน ไตร่ตรอง และลงคะแนนเสียง โดยพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิ์ โดยเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ทรงนำทางในกระบวนการนี้นั่นเอง โดย Conclave ครั้งล่าสุดที่กำลังจะถูกจัดให้มีขึ้นในครังนี้ พระคาร์ดินัลชาวไทยที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการประชุมเพื่อเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ในปี 2025 คือ พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช โดยท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัลโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในปี ค.ศ. 2015 และยังมีอายุต่ำกว่า 80 ปี จึงมีสิทธิ์เข้าร่วมลงคะแนนเสียงตามกฎของวาติกัน

พระคาร์ดินัลเกรียงศักดิ์ ถือเป็นบุคคลสำคัญของคริสตจักรคาทอลิกไทยทีเตรียมบินไปวาติกัน เลือกตั้งพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านจะเป็นหนึ่งในคณะพระคาร์ดินัลประมาณ 120–135 องค์ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนในพิธี Conclave เพื่อเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ที่จะถูกจัดขึ้นอย่างลับสุดยอดนั่นเอง

‘บิ๊กป้อม’ นำทัพ!! พรรคพลังประชารัฐ ประชุมใหญ่สามัญ เปลี่ยนโลโก้พรรค พร้อมตั้ง ‘ธีระชัย - สุรเดช’ นั่งรองหัวหน้า

(27 เม.ย. 68) ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ อาคารรัชดาวัน กรุงเทพฯ ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2568 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารพรรค สส. ตัวแทนภาค และตัวแทนสาขา และสมาชิกพรรค เข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้าพรรค,นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค, นายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้าพรรค,นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค,นางสาวตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค,

นายอุตตม สาวนายน รองหัวหน้าพรรค,นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รองหัวหน้าพรรค,นายชัยมงคล ไชยรบ รองหัวหน้าพรรค,พลเอกกฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรค,นายสมโภชน์ แพงแก้ว นายทะเบียนสมาชิกพรรค

รวมถึงกรรมการบริหารพรรค อาทิ นายอนันต์ ผลอำนวย กรรมการบริหารพรรค,นายทวี สุระบาล กรรมการบริหารพรรค,นายสุธรรม จริตงาม กรรมการบริหารพรรค นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ กรรมการบริหารพรรค,นายคอซีย์ มามุ กรรมการบริหารพรรค,พลตำรวจโทปิยะ ตะวิชัย กรรมการบริหารพรรค ,หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรค และนายวัน อยู่บำรุง กรรมการบริหารพรรค

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2568 ดำเนินการพรรคการเมืองตามกฎหมายพรรคการเมือง เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ตามมาตรา 43 และรับรองงบการเงิน ประจำปี 2567 ตามมาตรา 61 ของ พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค ผู้แทนสาขาพรรคแตัวแทนพรรคประจำจังหวัดแสมาชิกพรรค รวมทัังสิ้นเกินกว่า 250 คนครบองค์ประชุมตามที่กฎหมายกำหนด

โดย พล.อ.ประวิตร กล่าวเปิดการประชุมว่า พรรคพลังประชารัฐขอประกาศจุดยืนทางการเมืองในการเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมทันสมัย ที่มีเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะยึดมั่นและปกป้องสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ อนุรักษ์และสืบสาน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี และ ค่านิยมอันดีงามของชาติ โดยขอขอบคุณสมาชิกพรรคทุกคนที่เดินทางมาร่วมประชุมใหญ่ของพรรคในวันนี้

จากนั้นที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองที่ได้ดำเนินในรอบปี 2567 รวมถึงให้ความเห็นชอบงบการเงินของพรรคการเมืองประจำปี 2567 นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบตราสัญลักษณ์พรรคและความหมายของพรรคพลังประชารัฐตราใหม่ มีลักษณะดังนี้ คำว่า “พรรค” อยู่บนกึ่งกลางด้านในของเครื่องหมายพรรคการเมือง เหนือตัวอักษรคำว่า”พลังประชารัฐ”โดยมี คำว่า “พลัง” เป็นสีเขียว คำว่า “ประชา” เป็นสีน้ำเงิน คำว่า “รัฐ” เป็นสีแดง อยู่ภายในวงล้อพลวัต ที่มี 3 แถบสี เป็นสีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว บนพื้นสีขาว

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เลือกกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค 2 ตำแหน่ง ได้แก่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และนายสุรเดช ยะสวัสดิ์ ด้วยคะแนน 339 ทั้ง 2 คน

และกรรมการบริหารชุดใหม่ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนจากชุดเดิมหนึ่งตำแหน่ง โดยมีการปลด น.ส.กาญจนา จังหวะ สส.ชัยภูมิ ออกจะกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากปรากฎภาพว่าไปร่วมกิจกรรมกับพรรคกล้าธรรม แล้วมีการแต่งตั้ง นายธีระชัยและนายสุรเดช เข้ามาเป็นรองหัวหน้าพรรคเพิ่มเติม

พบผู้ว่ากทม. คุณชัชชาติ โดยบังเอิญที่ร้านอาหาร Malibu

(27 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaran Ditapichai’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

พบผู้ว่ากทม. คุณชัชชาติ โดยบังเอิญที่ร้านอาหาร Malibu 
ที่คนไทยเรียก ร้านไก่ดำ เพราะเป็นร้านอาฟริกา 
ท่านมากับคณะบริหาร ถามผมติดคดีอะไร 112 ครับ 
ส่วนผมให้กำลังใจ เป็นหลัก ตามประสาเคยรู้จักกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top