Saturday, 17 May 2025
ค้นหา พบ 48168 ที่เกี่ยวข้อง

‘ศธ.’ เสนอ ‘ยูเนสโก’ ดัน ‘ครูบาศรีวิชัย’ บุคคลสำคัญของโลก ด้าน ‘การศึกษา-ศาสนา-วัฒนธรรม-สันติภาพ’

วันนี้ (17 มี.ค.66) ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังการร่วมคณะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ร่วมรับฟังข้อเสนอการสนับสนุนแผนแม่บทโครงการเสนอชื่อครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นบุคคลสำคัญของโลก และติดตามการดำเนินงานในจังหวัดเชียงใหม่ว่า ศธ.มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการดำเนินงานขับเคลื่อนการเสนอชื่อ ครูบาเจ้าศรีวิชัย (อินท์เฟือน สีวิเชยฺย) ให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ ในวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย ในปี พ.ศ. 2571 ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก

สำหรับ ‘ครูบาศรีวิชัย’ หรือ ‘พระสีวิไชย’ เป็นพระเถระชาวจังหวัดลำพูน ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างและบูรณะพุทธศาสนสถานหลายแห่งทั่วภาคเหนือของประเทศไทย จนได้รับการขนานนามว่า ‘ตนบุญแห่งล้านนา’

ครูบาศรีวิชัยเกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2421 ปีขาล เวลาพลบค่ำ ขณะนั้นมีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรือ อ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อควาย ส่วนมารดาชื่ออุสา นายควายบิดาเป็นบุตรของนายอ้าย กับนางน้อยธิดาของหมื่นผาบ (มาต่า) หมอคล้องช้างชาวกะเหรี่ยงแดงจากเมืองกันตรวดีที่เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ชวนมาอยู่ลำพูนด้วยกัน ส่วนนางอุสามารดาของท่าน บางแห่งว่าเป็นชาวเมืองเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นธิดาหนานไจยา ชาวเมืองลี้ เพ็ญสุภา สุขคตะสรุปว่าครูบาศรีวิชัยมีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดงจากฝั่งบิดา และอาจมีเชื้อสายกะเหรี่ยงขาวและยองจากฝั่งมารดา

เมื่ออายุได้ 18 ปี ท่านคิดว่าชาตินี้เกิดมายากจนเพราะในอดีตไม่ได้ทำบุญไว้เพียงพอ จึงควรออกบวชรักษาศีลปฏิบัติธรรมไว้เพื่อประโยชน์สุขในภายหน้า และจะได้ตอบแทนพระคุณมารดาบิดาทางหนึ่งด้วย ท่านจึงลาบิดามารดาไปอยู่วัดบ้านปาง ศึกษาเล่าเรียนและบวชเป็นสามเณรกับพระอาจารย์ขัติยะ (หรือครูบาแข้งแขะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) จนอายุได้ 21 ปีจึงได้อุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาในการอุปสมบทว่า ‘สีวิเชยฺย’ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย

หลังจากอุปสมบท ท่านได้ศึกษาไสยศาสตร์กับครูบาขัตติยะและครูบาอุปปละ แล้วมาศึกษากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง เมื่อกลับมาอยู่วัดบ้านปาง ท่านมักเจริญภาวนาในป่า ฉันภัตตาหารมื้อเดียว ฉันมังสวิรัติ ไม่ฉันของเสพติด เช่น หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง ทำให้ประชาชนเลื่อมใสท่านมาก เมื่อท่านทราบว่าที่ใดยังขาดเสนาสนะที่จำเป็นหรือกำลังชำรุดทรุดโทรม ท่านจะเป็นผู้นำชาวบ้านไปก่อสร้างจนสำเร็จ ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือการถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ที่มีระยะทางทั้งหมด 11.530 กิโลเมตร โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 แล้วเสร็จในวันที่ 30 เมษายน 2478

ชื่อเสียงของครูบาเจ้าศรีวิชัย ทำให้พระสังฆาธิการในจังหวัดลำพูนบางรูปนำโดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูนตั้งอธิกรณ์กล่าวหาว่าท่าน 8 ข้อ เช่น ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์ ซ่องสุมกำลังผู้คน คิดขบถต่อบ้านเมือง และนำท่านไปจำไว้ที่ลำพูนและวัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ จากนั้นจึงได้ส่งตัวท่านไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องพระศรีวิชัย ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) และพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ได้ถวายรายงานมีความเห็นว่า ข้อ 1-5 ซึ่งเกี่ยวกับการไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายปกครอง พระศรีวิชัยรับสารภาพและได้รับโทษแล้ว ข้อที่เหลือซึ่งเกี่ยวกับการอ้างคุณวิเศษ พระศรีวิชัยไม่มีความผิด เพราะประชาชนเล่าลือไปเอง และเจ้าคณะลงโทษเกินไป ควรปล่อยพระศรีวิชัยกลับภูมิลำเนา สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณโรรสทรงเห็นชอบ

ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ.2482) ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการบูชา อัฏฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินล้านนาดังนี้

'ไพบูลย์' พร้อมดัน พ.ร.บ.ปราบปรามการทรมานฯ หาก พปชร. นั่ง รบ. หลัง 'เฌอเอม' ทวงการเยียวยา 'อุ้มคนหาย-ทำร้าย' จากเหตุชุมนุม

เฌอเอม มิสแกรนด์ลำพูน 2023 ฟาดเดือด ไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ถามถึงการเยียวยาคนถูกอุ้มหาย ถูกทำร้ายจากการชุมนุม

กลายเป็นกระแสอีกครั้งสำหรับเวทีนางงามชื่อดังมิสแกรนด์ไทยแลนด์ซึ่งได้จัดงาน 'มิสแกรนด์ กับ อนาคตเมืองไทย หลังเลือกตั้งปี 66' ที่นำเอาผู้เข้าประกวดทั้ง 77 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของคนไทยทั้ง 77 จังหวัด ถามคำถามกับนักการเมืองจากพรรคต่าง ๆ

ไฮไลต์ของงานเห็นจะเป็นนางงามฝีปากเอกอย่าง 'เฌอเอม' ชญาธนุส ศรทัตต์ อดีตผู้เข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ปี 2020 ที่ในปีนี้เข้าร่วมเวทีมิสแกรนด์ในฐานะ มิสแกรนด์ลำพูน

โดยเป็นคิวที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ขึ้นเวทีเพื่อแสดงวิสัยทัศน์พอดิบพอดี เฌอเอมได้กล่าวถึง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่เสนอผ่านขั้นแรกไปในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่โดน พ.ร.ก. ฉุกเฉินสั่งเลื่อนไปอีก

เฌอเอมถามว่า “การสูญหาย ความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมเกิดขึ้นเยอะที่สุดในยุครัฐประหาร และต่อมาก็เป็นยุครัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้าพรรคของท่าน”

“ไม่ทราบว่าหากพรรคของท่านได้เป็นตัวแทนในสมัยหน้า จะทำอย่างไรในการเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียและทุกคนในสังคมที่เจ็บช้ำมีบาดแผลจากคณะท่านตั้งแต่วันปฏิวัติรัฐประหารเป็นต้นมา จะทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าถ้าเลือกท่านแล้วจะไม่มีการถูกใช้ความรุนแรงอีก”

“2 คนที่ดิฉันไม่ได้ทำงานร่วมด้วยเพราะเขาเสียชีวิตไปแล้ว คือ 1.บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ชาวกะเหรี่ยง บ้านบางกลอย และ 2.คุณวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นท่านช่วยพูดกับทุกคนในสังคมที่หวาดกลัวขณะต้องเรียกร้องสิทธิภายใต้รัฐบาลของท่านด้วยค่ะ”

ไพบูลย์ ได้ตอบคำถามนี้ว่า “ผมก็อยู่ในกรรมการชุดที่ทำ พ.ร.บ. นี้ สิ่งที่ต้องทำคือการก้าวผ่านความขัดแย้ง ผมผ่านยุคการชุมนุมมาหลายยุค ผ่านการปลุกปั่น ทุกฝ่ายก็สูญเสียและบาดเจ็บ สิ่งที่ต้องทำมี 2 อย่าง อย่างที่หนึ่งต้องไม่ให้เกิดอีก อย่างที่สองต้องเยียวยา”

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ บินด่วนเกาะหลีเป๊ะ หารือความคืบหน้าการบังคับใช้กฎหมายทั้งเรื่องที่ดินพิพาทและเรือประมงพาณิชย์

วันนี้ (17 มี.ค.66) เวลาประมาณ 14.00 น. ณ ห้องประชุม ภ.จว.สตูล พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ประธานกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงกรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ได้ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนเอกชน และชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหากรณีเอกชนปิดทางเข้าออกโรงเรียน กระทบความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว รวมทั้งปัญหาการทำประมงพื้นบ้านที่มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติซึ่งห้ามทำประมงโดยเด็ดขาด

ความคืบหน้าล่าสุด ในส่วนของการดำเนินคดีกับโรงแรมซึ่งมีการบุกรุกที่ดิน พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้สั่งการให้ ผบก.ภ.จว.สตูล ดำเนินคดีกับรีสอร์ทและสถานที่ที่มีการบุกรุกที่ดินราชพัสดุของกรมธนารักษ์ จำนวน 8 คดี มีผู้ต้องหาจำนวน 13 ราย รวมทั้งได้มีการแจ้งข้อกล่าวหากับ นายก อบต. ในกรณีที่มีการตรวจพบความผิดดังกล่าว แต่กลับเพิกเฉยไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ยังได้ประสานให้นายอำเภอผู้รับผิดชอบดำเนินการทำข้อมูลโรงแรมและรีสอร์ทในพื้นที่ทั้งหมดที่ไม่มีใบอนุญาต เพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ในส่วนของคดีการทำประมงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา วันนี้ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ เพื่อแสดงความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีกับเรือประมงพาณิชย์ทั้ง 27 ลำ ที่ตรวจพบการทำประมงในพื้นที่อุทยานดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้ประชุมร่วมกับกรมประมง กรมอุทยานฯ และชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อหาแนวทางในการกำหนดพื้นที่สำหรับทำประมงให้กับชาวประมงพื้นบ้านให้สามารถทำประมงเพื่อยังชีพได้ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเรือประมงขนาดเล็ก ไม่สามารถออกไปทำประมงในระยะไกลได้ ดังนั้นจึงได้หาทางออกร่วมกันเพื่อให้สามารถคงวิถีชีวิตการทำประมงพื้นบ้าน และสามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลไว้ได้ต่อไป

‘พิธา’ นำทัพ ‘ก้าวไกล’ ลุย ‘ปทุมฯ’ พื้นที่ยุทธศาสตร์ พร้อมแง้มนโยบายเศรษฐกิจ ก่อนยุบสภา

‘พิธา’ พร้อมปักธง ‘ก้าวไกล’ ปทุมธานี ชี้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ แง้มเปิดนโยบาย-ทีมเศรษฐกิจ จัดเต็มหลังยุบสภา

วันที่ 17 มีนาคม 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย รังสิมันต์  โรม โฆษกพรรคก้าวไกล และ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ปทุมธานี ทั้ง 7 เขต ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่ ที่ตลาดจัมโบ้ คลองสาม จังหวัดปทุมธานี โดยก่อนหน้านี้ระหว่างวัน พิธา พร้อมกับ เชตวัน เตือประโคน ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ปทุมธานี เขต 6 ได้ขึ้นรถแห่ขอคะแนนจากประชาชนชาวปทุมธานีด้วย

พิธา กล่าวถึงกรณีการแบ่งเขตเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าการแบ่งเขตตามรูปแบบที่ 1 ที่ กกต.เลือกใช้ ถึงแม้ว่าจะมีค่าความเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยประชากรที่ไม่เกินร้อยละ 10% ตามเกณฑ์ตัวเลข แต่ก็สร้างความสับสนแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก บางเขตเลือกตั้งประกอบด้วยเขตปกครองมากกว่า 3 เขต ฝั่งว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคมีการจัดทีมหาเสียงกันใหม่ เพื่อลดความสับสนและพบปะพี่น้องประชาชน สร้างความเข้าใจให้มากขึ้น อันที่จริงตนคิดว่า กกต. ควรแบ่งเขตเลือกตั้งเสร็จสิ้นตั้งนานแล้ว เพราะตอนนี้ใกล้ช่วงยุบสภา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสับสนในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง จึงหวังว่าจะไม่มีเจตนาแอบแฝง ช่วงชิงความได้เปรียบในการหาเสียงของผู้มีอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายและผลกระทบต่อประชาชนในอนาคต อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวไกล พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งไม่ว่าเขตเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร และมั่นใจว่าจะกวาดที่นั่ง ส.ส. ได้เป็นอันดับหนึ่งใน กทม.

ส่วนความคาดหวังต่อผลการเลือกตั้งในจังหวัดปทุมธานี พิธากล่าวว่า ปทุมธานีเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของพรรคก้าวไกลมาตั้งแต่ครั้งพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง รวมมากกว่า 147,000 คะแนน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของคนปทุมธานี เลือกพรรคอนาคตใหม่ วันนี้ลงพื้นที่พบปะประชาชนตั้งแต่เช้า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า ปทุมธานีเป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตเยอะ มี SMEs มากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ทำให้มีคนย้ายเข้ามาทำงานอยู่อาศัย ดังนั้น โจทย์ที่พรรคก้าวไกลต้องตีให้แตกคือ การแก้ไขปัญหาที่มาพร้อมกับการเจริญเติบโตของเมือง คือ 'คลอง คน ถนน' ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการคมนาคม ปัญหาขยะ ปัญหาความสะอาดของลำคลอง

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ‘คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี’

(วันนี้ ( 17 มี.ค.) เมื่อเวลา 17.23 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี
ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ป.ภ.,ท.จ.,ว.ป.ร.๔ และทรงวางพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี และพวงมาลาส่วนพระองค์ ที่หน้าโกศศพ ณ ศาลากวีนิรมิต วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top