Monday, 28 April 2025
ค้นหา พบ 47704 ที่เกี่ยวข้อง

ผิดที่ ถูกเวลา

กรณีศึกษา​ โกยซีนการเมือง​ ผ่านเวที​ Cat Expo7

ต่อให้อุณหภูมิการเมืองบ้านเราจะร้อนแรงเหมือนแดดเผาแค่ไหน แต่คนไทยก็ใช่จะต้องกลัว​ เพราะวิธีดับเรื่องร้อน ๆ​ มันมีอยู่เยอะแยะ

เมื่อไม่กี่วันมานี้​ก็เพิ่งจะมีงานเทศกาลดนตรีที่จัดขึ้นผ่ากลางสมรภูมิการเมืองแบบคู่ขนาน​ ในชื่องาน 'Cat Expo7'​ ที่จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 - วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่สวนสนุกวันเดอร์เวิลด์ (รามอินทรา กม.10) เพื่อที่ดับร้อนของคนที่อยากฉีกหนีจากโลกการเมืองสักพัก

แต่ไหงคนที่เข้าไปงาน​ Cat Expo7 ถึงแอบบ่นว่างานนี้โคตรร้อนกว่าเดิม แต่ร้อนที่ว่านี่คือ​ 'อารมณ์ร้อน'​

ก็จะไม่ให้ร้อนได้ไง!! งานก็ไม่ใช่งานฟรี​ คนอยากไปดูคอนเสิร์ตดีๆ​ เพื่อหนีการเมือง​ ก็ดั๊นนน... มาเจอดราม่าการเมืองบนเวทีดนตรีอีก​ เฮ้ย!! มันผิดที่

เรื่องมีอยู่ว่าช่วงเวลาของศิลปินวง​ T_047 ได้อัญเชิญแกนนำราษฎรขึ้นมาบนเวทีคอนเสิร์ตไม่ว่าจะเป็น รุ้ง, ไผ่ ดาวดิน, แอมมี่ เดอะบอตทอมบลูส์ พร้อมแกนนำคนอื่นๆ

ทั้งหมดได้มีส่วนร่วมร้องเพลงกับศิลปิน T_047 ซึ่งจริงๆ​ ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร​ และจบลงด้วยดีไร้ความรุนแรงใดๆ นอกจากการชูสามนิ้ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะราษฎรทิ้งท้าย

แต่เรื่องที่น่าสนใจไม่ได้อยู่ที่การขึ้นมาร่วมร้องเพลงของแกนนำเหล่านี้ แต่มันอยู่ที่ความเหมาะสมของการกระทำที่เกิดขึ้น

เพราะถึงแม้แกนนำม็อบจะไม่ได้มาปราศรัยเต็มรูปแบบ​ แต่นี่ก็ไม่ใช่เวที​ 'ฉกฉวย'​ ซีน​ ที่หวังว่าจะมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ให้คนที่กำลังเมามันกับสิ่งที่เรียกว่า​ 'ดนตรี'​ เคลิ้มตาม

แน่นอนว่าโดยภาพรวมของงาน​ ก็มีศิลปินหลายท่านที่แสดงสัญลักษณ์ทางการเมืองในแบบของตนผ่านทางเสื้อผ้า คำพูด หรือวัตถุ แบบตรงและอ้อม

แต่นั่นก็ไม่ได้ไร้มารยาทดั่งเช่นศิลปิน T_047 ที่ชวนแกนนำม็อบขึ้นมาร่วมร้องเพลง

นี่ถือเป็นเรื่องของมารยาททางสังคม​ล้วน​ เพราะเชื่อว่าผู้กระทำย่อมรู้อยู่แล้วว่า “ผิดที่” ผิดเวลา​ แต่มันดัน “ถูกเวลา” เป๊ะ ๆ

ต่อให้ทั้งคอนเสิร์ตเป็นแฟนคลีบม็อบทั้งหมด​ ก็เชื่อเถอะว่า​ บางส่วนก็คงมิได้เห็นด้วย​ เพราะงานดนตรีควรเป็นที่ของทุกคนที่มีความชื่นชอบในเสียงเพลง และไม่ควรนำความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นมาเป็นประเด็น​ โดยใช้พื้นที่งานในการแสดงออก แล้วทำให้ผิดไปจากจุดมุ่งหมายที่เจ้าของงานตั้งใจที่จะจัดเทศกาลดนตรีนี้ขึ้น

การแสดงออกทางการเมืองมีมากมายหลายวิธี และก็เถียงไม่ได้ว่า “ดนตรี” นี่แหละก็เป็นอีกทางที่ใช้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แต่ความสร้างสรรค์นั้น ก็ควรต้องอยู่บนพื้นฐานของ “กาลเทศะ” ด้วย

แยกแยะเรื่องแค่นี้ยังไม่ได้​ แล้วในอนาคตใครจะกล้าให้มาแยกแยะงานใหญ่ยิ่งกว่า​ หากประเทศไทยต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ​ ล่ะ​

ปัญหา 'ช่องว่างระหว่างวัยในที่ทำงาน' แก้ได้

หลายคนเคยวาดฝัน ว่าเมื่อฉันเรียนจบไปแล้ว ฉันจะเดินเข้าสู่ที่ทำงานทันสมัย ใหม่ ๆ ดี ๆ เท่ ๆ คูล ๆ บลา ๆๆๆ ทว่าตัดกลับมาในฉากชีวิตจริง วันแรกของการทำงาน คือบริษัทเก่าซูเปอร์โบราณ แถมยังมีหัวหน้างานที่แทบจะยกมือไหว้เรียก...คุณพ่อ!!

เป็นธรรมดา ภาพฝันกับภาพความจริง มักไม่ค่อยแนบสนิทชิดเป็นภาพเดียวกันสักเท่าไร แถมหนำซ้ำ การมีหัวหน้าเป็นคุณพ่อ เอ้ย! การมีหัวหน้าอายุคราวคุณพ่อ ยังทำให้หลายคนต้องพกแผงยาพาราเซตตามอลไว้บนโต๊ะตลอดเวลา เพราะต้องกินแก้ปวดหัว จากปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาที่ยากจะเข้าใจ หรือไม่ก็เป็นการสั่งงานที่เชื่องช้า ทุก ๆ งาน ทุก ๆ อย่าง มักต้องเริ่มจากนับหนึ่งเสมอ พอจะแนะนำอะไรไป ก็ทำหน้างงใส่ แถมพูดเสียงแข็ง 'นี่ผมเป็นหัวหน้าคุณนะ!'

เจอ 'ปัญหา' ที่เรียกว่า หัวหน้าแก่แบบนี้ หลายคนตั้งธงในใจ ได้งานใหม่เมื่อไร 'กรูไปแน่!!'

ใจเย็น ๆ ก่อนครับ ชะลออารมณ์เบื่อหน่าย แล้วมาตรึกตรองกันดูดี ๆ เสียก่อน 

เริ่มต้นที่คำว่า 'ปัญหา' มองกันให้ชัด ๆ ว่าปัญหาจริง ๆ คือ หัวหน้างานที่แก่ หรือว่าที่จริงแล้ว เป็นเราเองที่แก่? 

'แก่' ในที่นี้ หมายความว่า ใจเราเองหรือเปล่า ที่เหมือนคนแก่ ที่ไม่ยอมเปิดรับ ภาษาอังกฤษเรียก ไม่ 'Open Mind' คอยตั้งกำแพงกับสิ่งที่หัวหน้าบอกหรือพูดอยู่หรือไม่ ลองทุบกำแพง หรือแม้แต่แง้มประตูออกสักนิด ไม่ต้องเปิดมากก็ได้ เปิดพอให้ 'มุมมองที่แตกต่าง' ได้เข้ามาในสมองและความคิดของเราดูบ้าง 

บางทีอะไรที่มันเคยไม่ใช่ พอมองดี ๆ มันกลับกลายเป็นความลงตัวขึ้นมาก็เป็นได้ รถยนต์มีคันเร่งให้เหยียบไปได้เร็วปรู้ดปร้าด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเหยียบคันเร่งเร็วแบบนั้นเสมอไป ผ่อนลงมาบ้าง จะได้เห็นอะไร ๆ ที่แตกต่างตั้งมากมาย 

ยิ่งเมื่อเราผ่อนคลาย ช่องว่าง (Gab) ระหว่างเรากับหัวหน้า ที่เคยห่างไกลลิบ ๆ ก็จะค่อย ๆ ขยับเข้ามาใกล้กันมากขึ้น ไม่ต้องห่วงนะว่าจะดูเหมือนว่าเรายอมเขา เพราะหากว่าเขาเป็น 'หัวหน้างานที่ดี' เขาจะปรับท่าที และขยับเข้าหา เพื่อเรียนรู้กันและกันมากขึ้น

ปัญหาเรื่องอายุที่ห่างกัน หากมองในแง่ดี ยิ่งเราอายุห่างจากหัวหน้างานมากเท่าไร เราก็จะได้ 'ประสบการณ์' มากขึ้นเท่านั้น และจงเชื่อเถอะว่า ไม่มีประสบการณ์ไหนที่เก่า หรือเป็นประสบการณ์หมดอายุ ใช้งานไม่ได้ เพราะประสบการณ์คือตัวแปรของความรอบคอบ รอบคอบในการทำงาน รอบคอบในความคิด ในการตัดสินใจ แล้วที่สำคัญ ประสบการณ์ไปหาซื้อตามห้างสะดวกซื้อที่ไหนไม่ได้ ซึ่งบางที มันอยู่ที่ 'หัวหน้างาน' ของเรานี่ล่ะ

ไม่มีใครเริ่มต้นงานแล้วสามารถเป็นหัวหน้างานได้ทันที เมื่อก่อนคนที่เคยเป็นหัวหน้า ก็ต้องเคยเป็นลูกน้องมาก่อนทั้งนั้น เหมือนกับเราในตอนนี้ที่กำลังเป็นลูกน้อง แต่วันหนึ่ง เราก็จะขึ้นไปเป็นหัวหน้าแทนบ้าง แล้ววันนั้น เราก็จะมีลูกน้องมองเราว่า 'แก่' เพียงแต่ถ้าเราเข้าใจในการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านนี้ สุดท้าย..เราจะสามารถยิ้มให้กับเจ้าลูกน้องคนนั้นได้อย่างสบายใจ

เอาเป็นว่า พรุ่งนี้ตื่นเช้าก่อนเข้าออฟฟิศ ซื้อขนมปัง ปาท่องโก๋ ไปฝากคนแก่ เอ้ย! ไปฝากหัวหน้าสักหน่อยแล้วกัน แล้วอะไร ๆ จะดีขึ้นแน่นวล...   

ชำแหละ VAR ส่งผลดีหรือผลเสียต่อโลกฟุตบอล?

เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ผลฟุตบอลพรีเมียร์ลีกคู่ระหว่าง ไบรท์ตัน กับ ลิเวอร์พูล ที่จบลงไปด้วยการเสมอกัน 0-0 ดูจะทำให้เหล่าบรรดาสาวกหงส์แดงคันตามง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า หลายคนมีอาการอยากกระโดดโอเวอร์เฮดคิกเข้าใส่ที่หน้าจอทีวีตอนถ่ายทอดสด เนื่องด้วยลิเวอร์พูลถูกริบประตูไป 2 ประตู ด้วยฝีมือของ ‘พี่ VAR’ แถมที่เดือดขั้นสุดยิ่งไปกว่านั้น คือช่วงท้ายของเกม ลิเวอร์พูลมาโดนจับเช็ก VAR จนเสียลูกจุดโทษ ส่งผลให้ไบรท์ตันมาตามตีเสมอได้สำเร็จ

 

เจออิทธิฤทธิ์ ‘พี่ VAR’ เข้าไปแบบนี้ ด้านผู้จัดการทีมหงส์แดง เจอร์เก้น คล็อปป์ ถึงกับออกอาการหงุดหงิด ทำไม VAR ถึงได้ส่งผลต่อเกมฟุตบอลมากมายขนาดนี้ แล้วตกลง VAR มันส่งผลดีหรือผลเสียต่อฟุตบอลกันแน่ มาหาคำตอบกัน!


VAR หรือ Video Assistant Referees หรือในความหมายภาษาไทยให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ‘กรรมการที่ตัดสินจากภาพ’ เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้การตัดสินของ ‘จารย์’ หรือ ‘ผู้ตัดสิน’ ให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น

ถึงตอนนี้ เริ่มนำมาใช้กันได้สัก 2-3 ปี ถ้าเอาผลลัพธ์ในมุมบวก แน่นอน การตัดสินในกรณีลูกน่ากังขา ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบรวดเร็วก็ดี หรือเหตุการณ์ที่กรรมการ คนดู หรือแม้แต่นักฟุตบอลด้วยกันเอง ดูไม่ทันก็ดี เหล่านี้ ช่วยได้ด้วย VAR

อีกอย่างหนึ่งคือ ทำให้นักฟุตบอลต้องยอมรับในคำตัดสิน เพราะภาพหลายมุมที่ถูกจับด้วยกล้องนับสิบๆ ตัว ยังไงก็ละเอียดมากพอที่จะทำให้นักฟุตบอลไม่กล้าเถียง แต่เมื่อพูดถึงมุมบวก มันก็มีมุมคู่ขนานกัน จะเรียกว่ามุมลบก็พูดไม่ได้เต็มปากนัก เรียกว่าเป็นมุมอับของ VAR ก็แล้วกัน

ที่เห็นกันชัดๆ คือ เกมฟุตบอลในวันนี้ มีสกอร์ที่ได้จากลูกจุดโทษมากขึ้น เพราะค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของผลที่ออกมาจาก VAR มักจะลงท้ายด้วยการให้จุดโทษ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายๆ เกมในวันนี้ คนดูมุ่งเป้าโฟกัสไปที่ ‘จุดโทษจาก VAR’ มากกว่าเกมในสนามเสียอีก แถมที่เป็นตลกร้ายกว่านั้น บางนัดที่เกมตื้อๆ ทำอะไรกันไม่ได้ แฟนบอล(บางราย) ร้องหา ‘เมื่อไรจะมีลูกโทษจาก VAR วะ!’

ตลกร้ายเข้าไปอีก หากมีช็อตที่ผู้เล่นกระทบกระทั่งกันเพียงเล็กน้อย หรือเอาเท้าแหย่กันให้หกล้มในเขตโทษ ประโยคที่ดังก้องสนามก็คือ VAR!!

อันนี้เป็นมิติของคนดูนะครับ ส่วนมิติของผู้เล่นในสนาม เอามุมที่แย่ที่สุดก่อน จากเมื่อก่อนที่จะมีผู้เล่นที่เป็นสายพุ่ง สายดีดตัว ที่เป็นจอมเรียกจุดโทษ โชคดีฟาวล์จริงก็แล้วไป แต่โชคร้ายตั้งใจเป็นนักแสดง พอแสดงไม่เข้าตากรรมการ ก็อาจะถูกใบเหลืองจากจารย์ไปได้ ทว่าเมื่อวันนี้มีพี่ VAR เข้ามาเป็นตาวิเศษเห็นนะ กลับกลายเป็นว่า เราจะได้เห็นสายดีด สายพุ่ง สายล้ม มากขึ้นอย่างเสียไม่ได้

ลองสังเกตช่วงท้ายของเกมที่เสมอกันกันดูสิครับ เกิดกรณีดราม่ากันมาแล้วกี่คู่?

เล่ามาถึงตรงนี้ ไม่ได้บอกว่า เทคโนโลยี VAR ไม่ใช่ของดี หรือกลายเป็นตัวทำให้เกมฟุตบอลผิดเพี้ยนไป แต่ชื่อของมันก็บอกอยู่แล้วว่า มาเป็นผู้ช่วย (assistant) ไม่ใช่คนตัดสินใจ ชี้ถูก ชี้ผิด เป็นตัวช่วยให้เห็นว่า ผลลัพธ์ควรเป็นอย่างไรต่างหาก

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดๆ บนโลกนี้ ที่เหนือกว่าเทคโนโลยี ก็คือ ‘คน’ นี่ล่ะ เทคโนโลยีมันออกมาเพื่อรองรับคน ดังนั้น คนอย่างเราๆ นี่แหละ ที่จะต้องนำพาเทคโนโลยีไปเกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์มากที่สุด

ปิดท้ายด้วยการย้อนเวลาไปยังยุคฟุตบอลโบราณ สมัยนั้นไม่มีหรอกรองเท้าสตั๊ด หรือปุ่มสตั๊ดที่เป็นเหล็ก หรือสนับแข้ง หรือแม้แต่ถุงมือโกล์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อะไรๆ เหล่านี้ก็ได้เข้ามาเพื่อ ‘ช่วย’ ให้นักเตะและเกมฟุตบอลมีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น หันกลับมาที่เทคโนโลยี VAR ในวันนี้ ก็เชื่อว่ามันเกิดขึ้นมาด้วยความประสงค์ที่จะทำให้เกมฟุตบอลสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ทีนี้ก็อยู่ที่เราแล้วล่ะว่า จะใช้มันให้ตอบโจทย์กับคำว่า ‘สมบูรณ์แบบ’ ได้มากน้อยเพียงใด

30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556...สตาร์ดัง พอล วอล์คเกอร์ เสียชีวิต

นึกถึงหนังสายความเร็วระดับตำนาน หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อ The Fast and The Furious และหากให้นึกต่อไป ภาพที่หลายคนจดจำได้ดี คือ 2 นักแสดงนำของเรื่อง วิน ดีเซล และ พอล วอล์คเกอร์

 

ย้อนกลับไปวันนี้เมื่อ 7 ปีก่อน มีเหตุการณ์ช็อกแฟนหนัง เมื่อมีข่าวว่า พอล วอล์คเกอร์ เกิดประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ตามรายงานข่าวแจ้งว่า เขากับเพื่อนได้ขึ้นไปทดลองรถ Porsche Carrera GT เพื่อทดสอบหมุนรถ แต่รถเกิดเสียหลักพุ่งชนกับต้นไม้ข้างทาง เพลิงลุกไหม้ทำให้พอลและเพื่อนเสียชีวิตลงทั้งคู่

 

จากข่าวช็อกๆ นี้ ทำเอาแฟนหนังของเขาพากันเศร้าสลด เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ตัวละคร ‘ไบรอัน โอคอนเนอร์’ ในหนังฟาสต์ฯ นั้น เป็นตัวละครที่คนดูรักและติดตามกันมาตลอด การจากไปของเขาอย่างกระทันหัน จึงทำให้หนังที่ถูกสร้างภาคต่ออีกหลายภาคนั้น ต้องถูกนำมาพิจารณากันใหม่อีกครั้ง

 

พอลเริ่มต้นชีวิตการแสดงภาพยนตร์มาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1987 กับหนังเรื่อง Monster in the Closet ก่อนจะเริ่มมีผลงานมากขึ้นตลอดช่วงทศวรรษที่ 90 อาทิ Meet the Deedles Phil Deedle, Pleasantville, Skip Martin และใน ค.ศ. 2001 เขาก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหนัง The Fast and the Furious หลังจากนั้นชื่อเสียงของเขาก็โด่งดังเหมือนพลุที่ถูกจุดขึ้นไปบนฟ้า มีหนังต่อแถวให้เขาไปร่วมงานด้วยอีกมากมาย รวมไปถึงหนังฟาสต์ฯ ที่ถูกสร้างภาคต่อมาอีกหลายภาค

 

พอลเสียชีวิตขณะถ่ายทำหนังฟาสต์ฯ ภาคที่ 7 แต่ในที่สุด ภาคดังกล่าวนั้นก็ถ่ายทำจนเสร็จสิ้น โดยต้องใช้นักแสดงสแตนอิน เล่นแทนตัวเขาถึง 4 คน ปัจจุบันแม้หนังจะดำเนินต่อมาถึงภาคที่ 9 แล้ว แต่แฟนๆ หนังสายความเร็วเรื่องนี้ ก็ยังจดจำและนึกถึง ‘ไบรอัน โอคอนเนอร์’ อยู่เสมอ

 

วันนี้ครบ 7 ปีของจากไป แฟนหนังอย่างเราก็ขอแสดงความไว้อาลัย และเขาจะอยู่ในใจแฟนหนังตลอดไป...

 

 

 

 

วาทะแห่งปี!!! จาก 'ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์'

วาทะแห่งปี!!

จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence และ Actuarial Science and Risk Management คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top