Wednesday, 9 July 2025
ค้นหา พบ 49289 ที่เกี่ยวข้อง

‘ม.ร.ว.รุจีสมร’ อดีตคุณครูใหญ่รร.วรรณวิทย์ ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว สิริอายุ 101 ปี 7 เดือน

เพจศิษย์เก่าโรงเรียนวรรณวิทย์ Wannawit School Alumni ได้โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งข่าว โดยระบุว่า คุณครูใหญ่โรงเรียนวรรณวิทย์ ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์ ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว กำหนดรดน้ำศพ ณ วัดธาตุทอง เวลาประมาณ 15.30 น. ในวันที่ 4 พ.ค. 65

จากการโทรศัพท์สอบถามอดีตผู้จัดการโรงเรียนวรรณวิทย์ ก็ได้เล่าว่า ม.ร.ว.รุจีสมร เสียชีวิตด้วยอาการสงบ จากโรคชรา โดยเสียชีวิตในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น.ในคืนที่ผ่าน ณ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ซึ่งการเสียชีวิตของ ม.ร.ว.รุจีสมร สร้างความโศกเศร้ากับบรรดาลูกศิษย์และคุณครูโรงเรียนวรรณวิทย์เป็นอย่างยิ่ง

'เพื่อไทย' อัด ‘บิ๊กตู่’ แก้ปัญหาของแพงล้มเหลว แนะถอยได้แล้ว ก่อนประชาชนลุกฮือไล่

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส. กทม.และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้คนไทยทั้งประเทศตกทุกข์ได้ยากอย่างแสนสาหัส จากการที่รัฐบาลนิ่งเฉย ปล่อยปละละเลย ไม่สนใจดูแลราคาสินค้าและค่าครองชีพ ในภาวะที่ประชาชนตกงาน เรียนจบไม่มีงานทำมาตั้งแต่ปี 63 จนถึงสิ้นปี 64 รวมมากกว่า 2 ล้านคน ขณะที่ในเดือนนี้รัฐทยอยเลิกอุดหนุนค่าพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับขึ้นลิตรละ 2 บาท กระทบกับต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก๊าซหุงต้มราคาปรับขึ้นอีก 15 บาทต่อถัง (15 กก.) และจะปรับขึ้นอีกในเดือนมิ.ย. อีก 15 บาท ทำให้ราคาอาหารปรับเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ส่วนค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนนี้จนถึงส.ค.จะปรับขึ้นอยู่ที่หน่วยละ 4 บาทเป็นค่าไฟที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ต้นทุนการใช้ชีวิตของประชาชนแพงขึ้นทั้งหมด ปัญหากำลังทับถมรุมเร้าคนไทยให้จนมุม ไม่สามารถจะมีชีวิตที่ดีกว่านี้ได้ แม้ทำงานมีรายได้ต่อวันหรือทำการเกษตร ก็ล้วนต้องทำมาเพื่อจ่ายไป ซ้ำที่หามาได้ยังไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าอาหารต่อวันด้วยซ้ำ ขณะที่รัฐบาล คณะรัฐมนตรีหรือแม้แต่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ 

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาค่าครองชีพมี 2 วิธี ทำได้ทันที คือ 1.) ปรับลดกำไรของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 3 หน่วยงาน ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟน.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลง โดยในปี 63 กฟผ. มีกำไรสุทธิ 31,311 ล้านบาท ปี 64 กำไรอยู่ที่ 33,486 ล้านบาท ส่วน กฟน. มีกำไรในปี 62 อยู่ที่ 5,356 ล้านบาท ปี 63 กำไรเพิ่มขึ้น 5,922 ล้านบาท ส่วน กฟภ.มีกำไรในปี 63 อยู่ที่ 9,986 ล้านบาท ปี 64 อยู่ที่ 15,694 ล้านบาท 

2.) กระทรวงพาณิชย์ต้องเข้าไปบริหารจัดการราคาสินค้าที่ปลายทางซึ่งมีราคาสูง ขณะที่ผู้ผลิตอย่างเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน หรือผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขายส่งสินค้าได้ในราคาที่ต่ำ ถูกกดราคา เรียกได้ว่าตอนนี้เป็นยุคคนผลิตขายจน คนซื้อของแพง

‘ชัชชาติ’ ยันไม่หวนคืนการเมืองสนามใหญ่ หลัง ‘วิษณุ’ ระบุติดลิสต์นายกฯ สำรอง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) ยืนยันว่า จะไม่กลับไปเล่นการเมืองสนามใหญ่ หลังนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า นายชัชชาติ เป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีนายกรัฐมนตรีสำรอง ซึ่งไม่ทราบวิธีเอารายชื่อออก อีกทั้งตนเองมาทางการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัดเจนแล้ว จึงขอมุ่งเน้นไปที่สนามผู้ว่าฯ กทม. พร้อมยืนยันว่าไม่เคยทำผิดกฎหมาย และไม่เคยซื้อเสียงเลือกตั้ง ซึ่งข่าวที่ปล่อยออกมาเป็นข่าวปลอม และมองว่าเริ่มมีการพยายามใส่ร้ายป้ายสี โดยขอให้แข่งขันกันที่นโยบาย


ที่มา : https://mgronline.com/uptodate/detail/9650000041973

ผบ.ตร. เปิดสูตรแก้หนี้ตำรวจ เป้าปลดหนี้ผู้ใต้บังคับบัญชา 3 แสนล้านบาท ยกเคส ช่วย ‘ตร.หญิง’ หนี้ 1.8 ล้าน จากการค้ำประกัน

ผบ.ตร. เปิดสูตรแก้หนี้ตำรวจ เป้าปลดหนี้ผู้ใต้บังคับบัญชา 3 แสนล้านบาท ยกเคส ช่วย ‘ตร.หญิง’ หนี้ 1.8 ล้าน จากการค้ำประกัน

พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ เปิดสูตรแก้หนี้ตำรวจ ตั้งเป้าปลดหนี้ 3 แสนล้านบาท แก้แล้ว 2,000 ราย กลุ่มสีแดงหนี้ท่วมขั้นวิกฤต ยกเคส ตร.หญิง หนี้ 1.8 ล้านบาท จากการค้ำประกัน เล่าโครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน พร้อมไอเดีย “สร้างแบรนด์” เพิ่มรายได้ครอบครัวตำรวจ

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ Policenewsvarieties เผยแพร่เมื่อ 1 พฤษภาคม 2565 ถึงการแก้ปัญหาหนี้สินของข้าราชการตำรวจ โดยระบุว่า ถึงเรื่องงานบริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ฝากเป็นการบ้านให้กับผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติรุ่นต่อไป 

“ในด้านการบริหารจะมีเรื่องแก้ปัญหาหนี้สินตำรวจ สร้างบ้านพักสวัสดิการ อยากให้ทำต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องหนี้ตำรวจ หลังจากรวมหลายรอบพบว่าตำรวจมีหนี้ 300,000 กว่าล้านบาท โดยแก้ปัญหาไปได้แล้ว 2,000 กว่าราย”

พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ เผยว่า จากการสำรวจระดับหนี้ของข้าราชการตำรวจ พบว่า กว่า 97% เป็นสีเขียว คืออยู่ในวิสัยที่ยังผ่อนได้ 2% สีส้ม คือร่อแร่ และ 1% สีแดงที่เข้าขั้นวิกฤต ตอนนี้ความเร่งด่วนคือแก้ปัญหากลุ่มสีแดง ซึ่งกลุ่มนี้ช่วยแก้ปัญหาไปแล้ว 2,000 ราย

ผบ.ตร. เล่าว่า วันก่อน คุณรัตนาภรณ์ สีวลีพันธ์ นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ มาเล่าให้ฟังว่า มีตำรวจหญิงคนหนึ่งมาเล่าให้ฟัง ดีใจจะร้องไห้บอกว่า เป็นหนี้อยู่ 1.8 ล้านบาท หนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อ แต่เกิดจากการไปค้ำประกัน พอมีโครงการแก้ปัญหาหนี้ จึงสมัครเข้าโครงการ ก็เลยช่วยกันเจรจาปรับดอกเบี้ย ตัดลงไปเหลือ 400,000 บาท เขาดีใจมาก

“หลัก ๆ ของเราคือการทำรีไฟแนนซ์ สมมติว่าต้นทุนเงินกู้แพง ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ต้องแพง โดยต้องดูดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ว่าเท่าไหร่ ถ้าดอกเบี้ยเงินฝากแพง แสดงว่าต้นทุนแพง เขาจะมาให้กู้ดอกเบี้ยถูก เป็นไปไม่ได้ เราก็พยายามหาสหกรณ์ที่อยากมาเข้าโครงการของเราเพื่อช่วยเหลือตำรวจ โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาล สมัครเป็นสหกรณ์ต้นแบบ อาจจะแก้ปัญหาแรก ๆ ก่อน รายที่มีหนี้ท่วมมาก ๆ อาจทำรีไฟแนนซ์ให้เฉพาะรายนั้นไป”

“ธนาคารออมสินเขายินดีมาช่วยเรา ดอกเบี้ยเขาไม่เกิน 2 บาท สมมุติต้นทุนมาไม่เกิน 2 บาท ถ้าเราปล่อยสัก 4 บาท สหกรณ์ก็ยังอยู่ได้ แทนที่จะ 7 - 8 บาท แต่อย่างนี้ จะทำทุกคนไม่ได้ มันจำกัด และด้วยสัญญาเดิมที่มีต้นทุนเก่า เพราะฉะนั้นต้องค่อย ๆ ถ่ายเทกันไป ส่วนสหกรณ์ไม่ได้อยู่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เขาเป็นอิสระ เขามีการเลือกตั้งประธานสหกรณ์ บางทีเป็นตำรวจที่เกษียณแล้ว จึงอยู่ที่การเจรจา” ผบ.ตร. เผยวิธีแก้ปัญหาหนี้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา

พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ ย้ำถึงการแก้หนี้ว่า ขอให้ผู้บริหาร ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ เข้าใจหลักการ แล้วก็เอาหลักการไปประยุกต์ใช้เป็นราย ๆ ไป ไปคุยกับเจ้าหนี้ให้ลูกน้อง แต่เป้าหมายของเราไม่ใช่ 1 - 2% เป้าหมายเราคือ 97% กับเป้าหมายที่ 2 คือ คนที่ไม่ได้อยู่ใน 100% นี้ ที่เป็นตำรวจเข้าใหม่

ผบ.ตร. เผยว่า สำหรับ “ตำรวจเข้าใหม่” ใช้วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันหนี้ ให้วัคซีนทางการเงิน ป้องกันการสร้างหนี้ 

“ตอนนี้ สมาคมแม่บ้านตำรวจไปให้ความรู้เกี่ยวกับการออม การบริหาร การใช้เงิน โครงการ Money Management & Investment เสียงตอบรับดี แล้วก็พยายามขยายไปทุก ๆ หลักสูตรการศึกษาของตำรวจ”

ก่อนอำลา ล้ง 1919!! ยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน จากท่าเรือขนส่งสินค้า สมัยร. 4 สู่โครงการศูนย์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก

ก่อนอำลา ล้ง 1919 คลองสาน (กลางภาพ)

สร้างปี ค.ศ. 1850 ในสมัยรัชกาลที่ 4
โดย พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า

ตัวเลข 1919 มาจากปี ค.ศ. 1919
ปีที่นายตัน ลิบ บ๊วย (ต้นตระกูลหวั่งหลี) เข้ามาถือครองและรับช่วงต่อจาก “ตระกูลพิศาลบุตร” ปรับเปลี่ยนเป็นอาคารสำนักงานและโกดังเก็บสินค้า สำหรับกิจการการค้าด้านการเกษตรของตระกูลหวั่งหลี ที่ขนมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา

ค.ศ. 2017 ทายาทตระกูลหวั่งหลี ทำศูนย์การค้าและท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อ "ล้ง 1919"

ค.ศ. 2020-2021 มหาภัยพิบัติ COVID19 ถล่มโลกและประเทศไทย

ค.ศ. 2021 ปิด "ล้ง 1919" ทายาทตระกูลหวั่งหลี ให้กลุ่มสิริวัฒนภักดีเช่า 64 ปี มูลค่าลงทุนรวม 3,436 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าเช่า 1,269.2 ล้านบาท และเงินลงทุนในการพัฒนาโครงการ 2,166.8 ล้านบาท


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top