Wednesday, 9 July 2025
ค้นหา พบ 49289 ที่เกี่ยวข้อง

'ชวน' ขอบคุณ 'สุเทพ' ยันไม่คิดหวนเป็นหัวหน้าพรรคอีก ยัน!! ยังช่วยพรรคเต็มที่ พร้อมหนุน 'จุรินทร์' กอบกู้ ปชป.

(2 พ.ค.65) ที่รัฐสภา คุณชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำ กปปส. เสนอให้นายชวน กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ว่า ตนไม่มีความคิดที่จะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรค เพียงแต่พยายามที่จะช่วย โดยส่วนตัวตนเป็นหนี้บุญคุณพรรค เพราะในฐานะเป็นนักการเมืองมาจากพื้นฐานชาวบ้านคนหนึ่ง 

"เราไม่มีพื้นฐานความมั่งมี ร่ำรวย ครอบครัวใหญ่โต แต่เรามีโอกาสได้เพราะพรรคปชป. ไม่ว่าสถานการณ์ของพรรคจะขึ้นหรือลงก็ตามไม่มีความทิ้งพรรค มีแต่จะคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะช่วยกันภายใต้การดูแลของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคปชป. ต้องยอมรับว่าตอนเลือกหัวหน้าพรรค ตนและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ช่วยทำให้นายจุรินทร์ชนะและสามารถเป็นหัวหน้าพรรคได้

"เมื่อเลือกเข้ามาแล้ว ก็พยายามช่วยประคับประคองให้เขาทำงานได้ ซึ่งเข้าใจดีว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีความคิดที่แตกต่างและมีการแข่งขันสูงในตอนเลือกหัวหน้าพรรค จึงทำให้ผู้ร่วมแข่งขันลาออกไปหลายท่าน ซึ่งทรัพยากรคนเหล่านั้นน่าเสียดาย แต่พรรคต้องอยู่ และประสบการณ์นี้เราก็เคยผ่านมาแล้วที่มีคนตั้งพรรคใหม่บ้างมากมาย แต่เชื่อว่าความดีงามของพรรค ความยั่งยืนยาวนาน และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยและในระบบรัฐสภา ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยึดถือเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตเรื่องกฎหมายความยุติธรรม กฎหมายที่เข้มงวด กวดขัน ตรงไปตรงมา"

คุณชวน เผยอีกว่า "ทั้งหมด คือ สิ่งที่ทำให้พรรคอยู่รอดมาได้อย่างยาวนาน 70 กว่าปี ซึ่งไม่ง่ายนักที่พรรคการเมืองเจริญได้ยาวอย่างนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องช่วยกันประคับประคองต่อไปเพราะเข้าใจดีว่าสมัยนี้หลายท่านก็มีความรู้สึกที่ไม่พอใจหัวหน้าบ้าง หรือมีความรู้สึกเป็นห่วง วิตกกังวลในการเลือกต้งครั้งต่อไปบ้าง ก็เข้าใจดีแต่พยายามให้กำลังใจทุกคนว่าเมื่อมีปัญหาต้องช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ อย่าซ้ำเติมให้พรรคยิ่งลำบากขึ้น ดีที่ว่าบรรดาเพื่อนๆ ส่วนใหญ่เข้าใจและมาหารือกัน

"หลายคนมาหารือว่าตนพอจะไหวไหม หากให้มารักษาการสักพักหนึ่ง ตนตอบว่า ไม่มีความคิดเรื่องนี้อยู่ในใจ แต่จะช่วยเท่าที่สามารถทำได้ ภายใต้กฎเกณฑ์กติกาที่เรามี โดยทั่วไปนายจุรินทร์ก็ไม่ธรรมดา เป็นคนเก่งคนหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดถึงแม้จะมีความคิดที่แตกต่างกันบ้างก็ตาม แต่ความซื่อสัตย์ สุจริต ซึ่งเป็นหัวใจของพรรคปชป. ก็ยังคงยึดมั่นอยู่ แต่การทำงานอาจถูกใจบ้างหรือไม่ถูกใจบ้าง ก็พยายามให้กำลังใจแต่ก็ต้องยอมรับว่า หากมีอะไรที่สมาชิกไม่พอใจต้องพยายามทำความเข้าใจ อย่าเฉย นี่คือสิ่งที่ตนพยายามเตือน"

'พาณิชย์' ชงแก้อาหารสัตว์แพง เว้นมาตรการ 3 ต่อ 1 เปิดนำเข้าข้าวโพด 6 แสนตัน

'จุรินทร์' เป็นประธานการประชุม นบขพ. และคณะกรรมการนโยบายอาหาร มีมติผ่อนปรนมาตรการ 3 ต่อ 1 เพิ่มโควตานำเข้าข้าวโพดเป็น 6 แสนตัน ลดภาษีเหลือ 0% ชั่วคราว 3 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ พร้อมทำเรื่องเสนอ ครม. อนุมัติทันที 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) และคณะกรรมการนโยบายอาหาร ครั้งที่ 1/2565 ว่า ที่ประชุมได้มีมติในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยยกเว้นเงื่อนไขที่กำหนดไว้เดิม ในการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน (มาตรการ 3 ต่อ 1) เป็นการชั่วคราวก่อน คือ ระหว่างเดือนพ.ค.-31 ก.ค.2565 ซึ่งเป็นการผ่อนปรนมาตรการที่กำหนดไว้เดิมในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดในประเทศ 

ทั้งนี้ ยังได้อนุมัติเพิ่มโควตานำเข้าข้าวโพดภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จากเดิมให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าไม่เกิน 54,700 ตัน เป็นให้ อคส. และผู้นำเข้าทั่วไปนำเข้าได้ ปริมาณ 600,000 ตัน ภายในเดือนพ.ค.-31 ก.ค.2565 โดยลดภาษีนำเข้าข้าวโพดจากอัตรา 20% เป็น 0% เป็นการชั่วคราว ในช่วง 3 เดือนนี้ และกระทรวงพาณิชย์จะช่วยจัดการเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ให้เพียงพอในประเทศในช่วง 3 เดือนนี้ด้วย

สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้ง 3 ช่องทาง ทั้งจากการผ่อนปรนมาตรการ 3 ต่อ 1 การนำเข้าภายใต้ WTO และการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน กำหนดปริมาณไว้รวมกันจะต้องไม่เกิน 1,200,000 ตัน ซึ่งรวมข้าวบาร์เลย์ด้วย และให้ตั้งคณะอนุกรรมการ 5 ฝ่าย เพื่อติดตามประเมินการผลดำเนินการทั้งหมด โดยสามารถเสนอให้ทบทวนหรือปรับปรุงมาตรการต่อไปได้เพื่อความเหมาะสม

นายจุรินทร์กล่าวว่า มติแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ดังกล่าว จะดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป คาดว่า เร็วสุดน่าจะเป็นวันที่ 3 พ.ค.2565 เพราะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลน เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอในการผลิตอาหารสัตว์ป้อนให้กับผู้เลี้ยงสุกร ไก่ ไข่ไก่ และไม่ให้กระทบต่อราคาเนื้อสัตว์ปลายทางถึงผู้บริโภค

ยูเนสโกเสนอให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น 'วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก'

3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น 'วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก' (World Press Freedom Day) เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการคิดและการแสดงออก เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เสนอข้อเท็จจริงโดยเสรี และปลอดภัย เพราะในระยะหลัง ๆ นักข่าวที่ลงพื้นที่ภาคสนามได้มีจำนวนผู้เสียชีวิต ถูกจับเป็นตัวประกัน และถูกจับกุมเพิ่มมากขึ้น 

ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น 'วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก' เพื่อระลึกถึงข้อปฏิบัติว่าด้วยเสรีภาพสื่อ และเพื่อเป็นการปกป้องนักข่าวที่ถูกโจมตีเพียงเพราะพวกเขาทำหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น การปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกนั้นถือเป็นงานที่หนักพอสมควร


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

มองมุมไหนก็งดงาม!! ‘ภูเขาทอง’ ตระหง่านล้ำเหนือกาลเวลา เสริมความงามผ่านฉากหลัง ‘ปักษาวายุภักษ์’

ภูเขาทอง กับฉากหลัง ปักษาวายุภักษ์บนตึกกระทรวงการคลัง ที่อารีย์

เสริมความงดงาม เด่นตระหง่านท่ามกลางป่าคอนกรีต


ที่มา : https://web.facebook.com/photo/?fbid=497382721745391&set=a.242244413925891


👍มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง

'บิ๊กตู่' เผย 8 ข้อหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ส่งทีมศก.ไทยถก 5 บริษัทรถยนต์ ลุยอุตสาหกรรม EV

‘บิ๊กตู่’ โพสต์ผลสำเร็จหลังพบหารือกับนายกฯญี่ปุ่น หวังอนาคตก้าวสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับต้นๆ ของโลก

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงการพบปะหารือร่วมกับ นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ว่า ช่วงวันที่ 1-2 พ.ค.นี้ ประเทศไทยได้มีโอกาสให้การต้อนรับการเยือนอย่างเป็นทางการ ของนายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และคณะกว่า 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนระดับสูงจากหลายกระทรวงสำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว รวมทั้งกระทรวงกลาโหม นับเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในระดับนายกรัฐมนตรี ครั้งแรกในรอบ 9 ปี เพื่อสานต่อและขยายผลความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ ที่มีมาอย่างยาวนาน 135 ปี ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนมีความยินดีที่จะเรียนให้ทราบถึงความสำเร็จร่วมกัน จากการหารือเพื่อเพิ่มพูนความเป็น "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น อย่างน้อย 8 ด้าน ดังต่อไปนี้

1.) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเสริมสร้างศักยภาพ Startup และ SMEs ให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการร่วมมือภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียว ของทั้งสองประเทศ 

2.) การส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่น ในอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า-แบตเตอรี่-อะไหล่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัล และ BCG ทั้งในพื้นที่ EEC และทั่วทุกภูมิภาคของไทย ที่จะต้องพิจารณาส่งเสริมโดยตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง 

รวมทั้งเรื่องเวชภัณฑ์-ยา-เครื่องมือแพทย์ ซึ่งญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตยาระดับโลก รัฐบาลก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุน การวิจัย หรือขยายธุรกิจ โดยตั้งโรงงานผลิตยาในประเทศไทยให้มากขึ้น โดยไทยก็มีความพร้อมด้านบุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อส่งเสริมบทบาทของไทย ให้เป็น "ศูนย์กลางด้านสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare, Wellness & Medical Hub)" ของโลก

3.) การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและพื้นที่ EEC การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยส่งเสริมการสร้างแรงงานทักษะสูง ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่รองรับการลงทุนของญี่ปุ่น ผ่านสถาบันโคเซ็นในไทย (KOSEN Education Center) เพื่อมุ่งพัฒนาให้ไทยเป็น "ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 

4.) การเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน 

5.) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ระบบราง โครงข่ายดิจิทัล และ 5G

6.) การส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA : Free Trade Agreement) ต่างๆ ที่สองฝ่ายเป็นภาคีอยู่ รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top