Wednesday, 9 July 2025
ค้นหา พบ 49289 ที่เกี่ยวข้อง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับองค์กร The Ocean Cleanup นำร่องส่งนวัตกรรมเครื่อง Interceptor เรือเก็บขยะแม่น้ำ ‘ลำแรก’ ดักเก็บขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา สุดล้ำใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แยกขยะ คาดเก็บขยะได้ 3 - 4 ตันต่อวัน

นางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมด้วย นายโบแยน สแลต ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup จากเนเธอร์แลนด์ ผู้ที่คิดค้นทุ่นดักขยะทะเลใช้กำจัดแพขยะในมหาสมุทร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการนำเครื่อง Interceptor เพื่อวิจัยขยะพลาสติกในแม่น้ำ และการดักเก็บขยะพลาสติกในแม่น้ำของไทยก่อนออกสู่ทะเล

ทั้งนี้จะมีการติดตั้ง Interceptor บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ 3 จุด โดยจุดแรกนำร่องติดตั้งบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า เบื้องต้นอยู่ระหว่างศึกษาความลึกของแม่น้ำและกระแสน้ำที่เหมาะสมในการติดตั้งเครื่องดังกล่าว

นวัตกรรม Interceptor เพื่อจัดการขยะในแม่น้ำก่อนลงสู่ทะเล ได้ผ่านการคิดค้นและทดสอบประสิทธิภาพมาแล้ว โดยจะนำมา ทดลองใช้ในไทยในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาก่อนลงสู่ทะเล เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณขยะในแม่น้ำมากที่สุด

สำหรับเครื่อง Interceptor สามารถดักเก็บขยะได้แบบอัตโนมัติ เนื่องจากใช้พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถจัดเก็บขยะได้ 3 - 4 ตันต่อวันขึ้นอยู่กับปริมาณขยะในพื้นที่ หรือเฉลี่ยลดปริมาณขยะในแม่น้ำที่จะไหลลงสู่ทะเลได้ถึงร้อยละ 60

โดยขยะที่เก็บรวบรวมได้จะถูกนำมาคัดแยก และกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

สำหรับนวัตกรรมดังกล่าว เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อมก่อนไหลลงสู่ทะเล ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ทรัพยากรทางทะเล และระบบนิเวศชายฝั่ง


ที่มา: https://news.thaipbs.or.th/content/301049

ปตท. เปิดพื้นที่ใน พีทีที สเตชั่น 400 ขายไข่ไก่ธงฟ้าราคาพิเศษ ถาดละ 70 บาท จำนวนทั้งสิ้น 4.5 ล้านฟอง หรือ 150,000 ถาด ช่วยระบายไข่ไก่ล้นตลาดและแก้ปัญหาราคาตกต่ำ พร้อมช่วยลดภาระค่าครองชีพของผู้บริโภค

นายบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดพื้นที่ปันสุข ในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น 400 แห่งทั่วประเทศ จำหน่ายไข่ไก่ธงฟ้าในราคาพิเศษ ตามโครงการไข่ไก่ธงฟ้าลดราคาเพื่อประชาชน นำไข่ไก่ไซส์เอ็ม น้ำหนักระหว่าง 55 - 65 กรัมต่อฟอง มาจำหน่ายในราคาพิเศษ ถาดละ 70 บาท บรรจุถาดละ 30 ฟอง จำนวนทั้งสิ้น 4.5 ล้านฟอง หรือ 150,000 ถาด ตั้งแต่วันนี้ - 28 ก.พ. 64

สำหรับโครงการพื้นที่ปันสุข เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรวมพลังสร้างรอยยิ้มเกษตรกรไทย ช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศที่ประสบปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ หรือประสบปัญหาในการหาช่องทางจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร โดยปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ประสบปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดและราคาตกต่ำ

ดังนั้นบริษัท จึงได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและฟาร์มผู้เลี้ยงไก่ไข่ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดภาระค่าครองชีพของผู้บริโภค ให้ได้ซื้อไข่ไก่ไซส์เอ็มได้ในราคาพิเศษอีกทางหนึ่งด้วย

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ครบรอบ 67 ปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเปิด ‘ตึกวชริราลงกรณธาราบำบัด’ ร.พ.พระมงกุฏเกล้า อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วย และต่อสู้กับสภาวะโรคโปลิโอระบาดในขณะนั้น

แม้ในวันนี้เรากำลังต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 แต่เมื่อย้อนไปในอดีตแล้ว ประเทศไทยเคยผ่านสถานการณ์การระบาดของโรคภัยต่าง ๆ มาไม่น้อย เหมือนเมื่อครั้งหนึ่ง ที่ประสบกับภาวะโรคโปลิโอระบาด แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญเหล่าของพสกนิกร จึงมีพระราชดำริให้จัดการแก้ไข และขจัดโรคนี้ให้หมดไป

เรื่องราวของโรคโปลิโอระบาดในเมืองไทย เกิดขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2495 ขณะนั้นเมืองไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอ หรือโรคไขสันหลังอักเสบ เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ในการรักษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดซื้อเครื่องช่วยหายใจจากต่างประเทศ จำนวน 3 เครื่องให้กับผู้ป่วย รวมถึงพระราชทานเงินจัดตั้ง ‘กองทุนโปลิโอสงเคราะห์’ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคนี้ให้หายเป็นปกติ

ต่อมาทรงมีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปที่ตึกรังสี รพ.พระมงกุฏเกล้า และได้ทอดพระเนตรกิจการของกองรังสีกรรมและแผนกกายภาพบำบัด ซึ่งรวมถึงงาน ‘ธาราบำบัด’ ที่เป็นหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโปลิโอ โดยเป็นการใช้น้ำช่วยพยุงร่างกายระหว่างการบริหารและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

หลังจากนั้นจึงทรงพระราชทานทรัพย์จำนวน 250,000 บาท จากกองทุนโปลิโอสงเคราะห์ เพื่อเป็นค่าเครื่องเวชภัณฑ์ และโปรดให้ก่อสร้าง ‘ตึกวชิราลงกรณธาราบำบัด’ โดยพระราชทานพระนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระยศในณะนั้น) เป็นชื่ออาคาร ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคนี้

อาคารวชิราลงกรณธาราบำบัด สร้างแล้วเสร็จในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระยศในขณะนั้น) และพระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระยศในขณะนั้น) ได้เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกวชิราลงกรณธาราบำบัด ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อย่างเป็นทางการ

เวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันนี้ ปัจจุบันแทบไม่มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโออีกแล้ว โดยเมื่อปี พ.ศ. 2557 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรคโปลิโอถูกกำจัดหมดไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ไม่พบผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยและใส่พระทัยในการขจัดปัญหาการระบาดในครั้งนั้น

ชื่นชม รปภ.ธรรมศาสตร์ ใจเด็ด โดดขวางนักศึกษาพยายามชักธง 112 หน้าอาคารโดมบริหาร ศูนย์รังสิต อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้เสรีภาพในการแสดงออกต้องอยู่ในขอบเขต ไม่ไปละเมิด หรือหมิ่นประมาท ทำให้ผู้อื่นเสียหาย

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr กรณีที่นายชนินทร์ วงษ์ศรี หรือบอล และ น.ส.เบนจา อะปัญ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พยายามนำธงยกเลิก 112 มาขึ้นแทนธงไตรรงค์

แต่ถูก รปภ.ห้ามไว้ ระบุว่า “ได้ดูคลิปที่มีนักศึกษาธรรมศาสตร์ ทั้งหญิงและชาย รวม 4 คน พยายามนำธงแดงมีข้อความยกเลิก 112 ขึ้นบนเสาธงไตรรงค์หน้าอาคารโดมบริหารที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ รปภ.หลายคนช่วยกันเจรจาห้ามปรามไว้ได้ แต่กว่านักศึกษาจะยอมก็ต้องถกเถียงกันอยู่นานพอควร เจ้าหน้าที่พยายามอธิบายว่ายอมให้ทำไม่ได้ เพราะต้องเคารพธงชาติไทย และต้องให้เกียรติพระมหากษัตริย์

เหตุผลที่นักศึกษาอ้าง สรุปความได้ว่า “นักศึกษาธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ต้องติดคุกเพราะมาตรา 112 นักศึกษาจึงต้องการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ ดังนั้นต้องทำได้ หากทำไม่ได้ ธรรมศาสตร์ก็ไม่มีเสรีภาพจริง ถ้าเอาธงแดงขึ้นแล้วประเทศจะล่มสลาย หรือจะมีใครต้องตายหรืออย่างไร”

นักศึกษาหญิงที่เถียงกับเจ้าหน้าที่เป็นส่วนใหญ่ ดูเหมือนจะเป็นนักศึกษาหญิงคนเดียวกันกับที่ไปชูป้ายเรื่องวัคซีนที่ไอคอนสยามนั่นเอง เหตุผลที่นักศึกษาใช้อ้าง เป็นเหตุผลที่แกนนำม็อบ 3 นิ้ว และผู้อยู่เบื้องหลังใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั่นคือคำว่า “เสรีภาพในการแสดงออก” ซึ่งดูเหมือนจะฝังแน่นอยู่ในสมองของคนกลุ่มนี้แบบที่ไม่มีใครจะโยกคลอนได้เลยว่า เสรีภาพคือการที่เราสามารถจะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่การทำผิดกฎหมายหากเราไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนั้น

ไม่ว่าจะอธิบายกันกี่ครั้งว่า เสรีภาพต้องอยู่ในขอบเขตเสมอ ก็ไม่สามารถทำให้คนกลุ่มนี้เข้าใจได้เลย ไม่ต่างจากคำว่า “ภาษีกู” ที่พวกเขาเข้าใจว่า ทุกคนมีสิทธิจะทำอะไรก็ได้กับสิ่งของ หรือถาวรวัตถุที่มาจากเงินภาษีของประเทศ เป็นความเข้าใจที่เข้าข้างตัวเองอย่างถึงที่สุด

เรามีเสรีภาพในการแสดงออกก็จริง แต่การแสดงออกนั้นต้องไม่ไปละเมิด หรือหมิ่นประมาท หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย ไม่รู้ว่าใครไปฝังชิปลงในสมองของพวกเขาได้แน่นหนาขนาดนี้ อยากรู้เหลือเกินว่าพ่อแม่ และครอบครัวของพวกเขาเหล่านี้คิดอย่างไร เห็นอย่างไร หากคิดเหมือนกัน เห็นเหมือนกันทั้งครอบครัว ก็น่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศมาก หากพ่อแม่หรือครอบครัวไม่ได้เห็นแบบนี้ คิดแบบนี้ ก็น่าสงสารพ่อแม่และครอบครัวของพวกเขาเหล่านี้มาก ต้องกลัดกลุ้ม และไม่มีความสุขแน่ๆ

ต้องขอชมเจ้าหน้าที่ รปภ.ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รับมือกับสถานการณ์นี้ได้โดยไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่คนแรกที่มาห้ามปราม เป็นเจ้าหน้าที่ที่ผมค่อนข้างจะคุ้นเคย ตั้งแต่ผมยังทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเวลาไปประชุม เจ้าหน้าที่ผู้นี้ก็จะมาช่วยดูแลเรื่องที่จอดรถให้เสมอ เจอครั้งหน้าเห็นท่าจะต้องขอสัมภาษณ์ และให้รางวัลสักหน่อยเสียแล้วครับ”

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ใช้วิธีการชักเสาธงเพื่อแสดงออกทางการเมือง เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง อาทิ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2556 นายศรันย์ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ และนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว เคยปลดธงชาติไทยแล้วนำธงดำขึ้นเสาบริเวณตึกโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไว้อาลัยอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีที่ประกาศหยุดเรียนหยุดสอนหยุดทำงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต่อมาวันที่ 24 ก.พ. 2563 น.ส.สิรินทร์ มุ่งเจริญ หรือเฟลอ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ อดีตรองประธานสภานิสิตคนที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแกนนำกลุ่มวิ่งไล่ลุง พยายามนำธงดำขึ้นสู่ยอดเสา อ้างว่าแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อไว้อาลัยแก่กระบวนการยุติธรรม แต่ถูก รปภ.ห้ามไว้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 นายพริษฐ ชิวารักษ์, น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, น.ส.เบนจา อะปัญ แกนนำกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า คณะราษฎร 2563 และกลุ่มการ์ดวีโว่ นำโดย นายปิยรัฐ จงเทพ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคอนาคตใหม่ ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ทายาทกลุ่มไทยซัมมิท ร่วมกันปลดธงชาติไทยแล้วนำธงสีแดงระบุข้อความ 112 มาชักขึ้นแทน หน้า สภ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ระหว่างที่นายชยพล ดโนทัย หรือเดฟ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาความผิดตามมาตรา 112 และเกิดเหตุชุลมุนแย่งธงคืนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

อนึ่ง พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ผู้ใดกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการเหยียดหยามต่อธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงที่ได้บัญญัติกำหนดลักษณะไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ที่มา : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000014197

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4061779217165936&id=100000016923106

‘กระทรวงวัฒนธรรม’ ย้ำ แนวทางปฎิบัติ ไหว้สถานที่ศักดิ์ช่วงตรุษจีน - วาเลนไทน์ ต้องยึดมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และมาตรการผ่อนคลายของศบค. พร้อมยันไม่เลือกปฏิบัติระหว่าง ‘ม็อบ - งานประเพณี’

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงข้อกังวลว่า การรวมตัวของคนจำนวนมาก เช่น การไหว้พระตรีมูรติ หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงเทศกาลตรุษจีนและวันวาเลนไทน์นั้น ทางรัฐบาลโดยศบค. เน้นย้ำให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดรณรงค์ให้ประชาชนรับทราบถึงการปฎิบัติตามมาตรการ และเฝ้าระวังการทำกิจกรรมรวมกัน และเท่าที่เห็นการไหว้ในเทศกาลตรุษจีนตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัยเกือบ 100%

ถึงกระนั้นกระทรวงต่างๆ ก็ได้ย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว โดยกระทรวงวัฒนธรรม ได้แจ้งไปยังศาสนสถาน เครือข่ายวัฒนธรรมประเพณี ที่จัดกิจกรรมในสถานที่ต่างๆ ไปเรียบร้อยแล้วว่าให้ปฎิบัติเป็นไปตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และมาตรการผ่อนคลายของศบค.

อย่างไรก็ตามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก็งดกิจกรรมบางอย่าง เช่น งานจดทะเบียนสมรสวันวาเลนไทน์ ที่คนมารวมตัวกันมาก ถึงแม้เวลานี้สถานการผู้ติดเชื้อจะเบาบางลง แต่ยังมีจำนวนมากกว่าระลอกแรก จึงต้องไม่ประมาท

ผู้สื่อข่าวถามถึงเสียงวิจารณ์ว่า อนุญาตให้ทำกิจกรรมได้ในเทศกาลได้ แต่ห้ามการชุมนุม โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันโควิด นายอิทธิพล กล่าวว่า เราห่วงใยทุกกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี การประชุมสัมมนา หรือการชุมนุมทางการเมือง เราห่วงใยมาตลอด ซึ่งทางสาธารณสุขเน้นย้ำตลอดเรื่องการรวมตัว

แม้จะสวมหน้ากากอนามัย ก็อาจจะไม่สามารถคัดกรองได้ทุกคน เรื่องนี้ภาครัฐประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา เพราะเราอยากให้การแพร่ระบาดสงบโดยเร็วภายในเดือนมี.ค. ที่จะเริ่มมีวัคซีนล็อตแรกเข้ามา

เมื่อถามว่าจะไม่เลือกปฏิบัติ ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองกับการจัดกิจกรรมประเภทอื่น นายอิทธิพล กล่าวว่า เรายึดการประเมินความเสี่ยงทางสาธารณสุขว่ามีมากน้อยแค่ไหน ไม่ได้เลือกว่าเป็นกิจกรรมประเภทใด ทั้งนี้ขอฝากให้ทุกคนดูแลสุขภาพ และระมัดระวัง ถึงแม้จะเป็นการพบปะในครอบครัวก็ตาม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top