Sunday, 6 July 2025
ค้นหา พบ 49226 ที่เกี่ยวข้อง

‘รมว.แรงงาน’ วอน เข้าใจ ‘บิ๊กป้อม’ กรณีส่งผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมนครศรีธรรมราช ชี้เป็นการเลือกตั้งซ่อมที่เกิดจากเหตุโมฆะ ไม่ใช่โดนใบเหลือง - ใบแดง ไม่เหมาะยกเรื่องมารยาทมาอ้าง

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงความขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)และพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 3 จ.นครศรีธรรมราช แทนนายเทพไท เสนพงศ์ ว่าในวันที่4 ก.พ.จะมีการหารือกันในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาท้วงติงถึงเรื่องของมารยาทในการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลควรหลีกทางให้เจ้าของพื้นที่นั้น

นายสุชาติ กล่าวว่า "เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ความจริงเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องของใบเหลือง ใบแดง แต่เป็นเรื่องของโมฆะ ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องมารยาท ถ้าเป็นกรณีของใบเหลือง ใบแดง ที่เลือกตั้งซ่อมใหม่ ก็ยังถือเป็นเรื่องของมารยาทได้ แต่นี่เป็นกรณีของการเลือกตั้งที่โมฆะ เหมือนกับการเลือกตั้งใหม่

ซึ่งคนละเรื่องกัน โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคก็ต้องฟังเสียงของกรรมการบริหารพรรคกว่า 30 คน เมื่อกรรมการบริหารพรรค เห็นชอบให้ส่งก็ต้องดำเนินตามนั้น เพราะทีมภาคใต้เขาก็มั่นใจของเขา เราต้องให้ความเป็นธรรมให้หัวหน้าพรรคด้วย"

ส่วนความกังวลต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้หรือไม่ โดยเฉพาะการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่พรรคประชาธิปัตย์อาจไม่ลงมติไปในแนวทางเดียวกับรัฐบาล นายสุชาติ กล่าวว่า "เข้าใจเรื่องนี้ดีว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่คิดว่าผู้ใหญ่ในระดับหัวหน้าพรรคต่อหัวหน้าพรรคน่าจะคุยกันได้จนจบ"

อพท. ผลักดันพื้นที่พิเศษสู่เมืองในเครือข่าย ‘เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก’ หวังดันเมืองพัทยาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ หลังปั้นภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพมหานครฯ และสุโขทัยสำเร็จไปแล้วก่อนหน้า

นายบรรลือ กุลละวณิชย์ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ ที่ดำเนินการโดยองค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.

โดยมี เรือตรี ปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยา นายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ที่ปรึกษานายกเมืองพัทยาด้านภาคท่องเที่ยว รวมทั้งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เขตเมืองพัทยา เข้าร่วมที่ห้องประชุมโรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี

นายสุธารักษ์ สุนทรวิภาต ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 อพท. เปิดเผยว่า อพท. ได้มีแนวทางการผลักดันพื้นที่พิเศษให้เป็นเมืองในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ตามหลักเกณฑ์พิจารณาสู่ความเป็นเมืองสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว 7 ด้าน คือ 1.) เมืองแห่งวรรณคดี 2.) เมืองแห่งการออกแบบ 3.) เมืองแห่งภาพยนตร์ 4.) เมืองแห่งดนตรี 5.) เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน 6.) เมืองแห่งศิลปกรรมร่วมสมัย และ 7.) เมืองแห่งอาหาร

ที่ผ่านมา อพท.ได้ผลักดันพื้นที่พิเศษเข้าเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกของไทยไปแล้ว ประกอบด้วย 1.) ภูเก็ต เมืองแห่งอาหาร 2.) เชียงใหม่ เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน 3.) กรุงเทพมหานครฯ เมืองแห่งการออกแบบ 4.) สุโขทัย เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน และกำลังผลักดันสุพรรณบุรี ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี และเมืองพัทยา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ ซึ่งทางยูเนสโกมีหลักเกณฑ์พิจารณาชัดเจนว่า เมืองที่จะได้รับการรับรองต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านนั้นๆ อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ทาง อพท.3 ได้มีการเสนอแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงฉบับ พ.ศ.2564 - 2570 ให้กับเมืองพัทยา ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทพัฒนาเมืองพัทยาสู่เมืองภาพยนตร์ในระยะ 5 ปี (2565 - 2570) และแนวทางของรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ (City of Film) โดยบูรณาการความร่วมมือทุกหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์

องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 สาขาพัทยา จึงได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ในหัวข้อ แนวทางการขับเคลื่อนเมืองสู่เมืองสร้างสรรค์ตามแนวทางขององค์กรยูเนสโก จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นเป็นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการแบ่งกลุ่มจัดทำแผนงานโครงการฯ ก่อนสรุปเป็นข้อมูลให้กับทาง อพท.สำนักงานใหญ่ดำเนินการผลักดันให้เมืองพัทยาได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกตามลำดับต่อไป


ที่มา: ภาพ/ข่าว อนันต์ สุขวัฒนะ เอกชัย สุขวัฒนะ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค พัทยา จ.ชลบุรี

ก.แรงงาน ปล่อยมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างนายจ้างเสริมสภาพคล่องด้านการเงินสู้วิกฤตโควิด-19 วงเงิน 50 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ วันนี้ถึง 31 ก.ค. 64

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพี่น้องแรงงาน และสถานประกอบกิจการในทุกภาคส่วนของประเทศ

รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หาแนวทางในการดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มนายจ้างลูกจ้าง โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ได้ลงมติเห็นชอบโครงการเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เปิดโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการหรือรัฐวิสาหกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุกดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนารายได้ของตนเองและครอบครัวได้

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุน เพื่อผู้ใช้แรงงาน ได้จัดทำโครงการเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีวงเงินงบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการหรือรัฐวิสาหกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ในรัฐวิสาหกิจสามารถยื่นคำขอกู้เงินเพื่อนำไปให้บริการเงินกู้แก่ผู้ใช้แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ได้ไม่เกินแห่งละ 10 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อปี ระยะเวลาการส่งชำระคืนสูงสุดไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และผ่อนส่งเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเงินกู้เป็นงวดรายเดือน โดยมีเงื่อนไขว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิกต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติประเภทสามัญ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.75 ต่อปี ทั้งนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่สนใจสามารถยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 กรกฎาคม 2564

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์ 02-246-0383 หรือ 02-248-6684

โควิด ระลอกใหม่ ที่เวียดนาม สายพันธุ์อังกฤษ มาเร็วและแรงกว่าเดิม .. ส่งผล ทำให้มีผู้ติดเชื้อแล้ว 301 คน และ แพร่กระจายลามไปยัง 10 จังหวัด

หวู ดึ๊ก ดาม รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโควิด-19 กล่าวในที่ประชุมรัฐบาลว่า..

"สายพันธุ์ใหม่กำลังแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และเราต้องเร็วกว่า"

"เราไม่ควรกังวลเรื่องตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อที่พุ่งสูง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการติดตามผู้สัมผัส เราต้องเฝ้าระวัง แต่ไม่ต้องตื่นตระหนก"

ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 12 ใน 276 คน เป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อังกฤษ แต่อย่างไรก็ตามยังคงไม่ทราบแหล่งที่มาของการระบาดครั้งนี้

"ฮานอยต้องเพิ่มมาตรการสกัดกั้นเชื้อไวรัส กระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนฮานอยในการยกระดับขีดความสามารถในการตรวจหาเชื้อเป็น 40,000 ครั้งต่อวัน"

เวียดนามอนุมัติรับรองวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม ..

หลังนายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุ้ก กล่าวว่า ประเทศต้องมีวัคซีนภายในไตรมาสแรก และก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้กล่าวว่ากำลังการเจรจาจัดหาวัคซีนจำนวน 30 ล้านโดส โดย วัคซีนชุดแรกจำนวน 50,000 โดส จะมาถึงในเดือน มี.ค. และส่วนที่เหลือจะส่งมอบภายในเดือน มิ.ย.

ขณะที่ เด็กนักเรียนในกรุงฮานอย กว่า 2 ล้านคน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษา ได้หยุดเทศกาลวันตรุษญวนเร็วขึ้น 1 สัปดาห์ ในมาตรการป้องกันโควิด-19 ท่ามกลางการระบาดครั้งใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ไปจนถึงวันที่ 16 ก.พ. จากเดิมที่มีกำหนดเริ่มหยุดตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.


หนุ่มโคราช รายงาน

วัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และแอสตราเซเนกา ไม่ใช่แค่ป้องกันผู้คนจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แบบไม่แสดงอาการ แต่ดูเหมือนว่ามันจะช่วยชะลอการแพร่กระจายเชื้อได้อีกด้วย จากผลวิจัยหนึ่งซึ่งเผยแพร่เมื่อวันอังคาร (2 ก.พ.)

ผลการค้นพบดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่ในเอกสารก่อนตีพิมพ์ฉบับหนึ่งและยังไม่ได้ผ่านการทบทวนโดยเหล่าผู้ทรงคุณวุติ คือหลักฐานชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่ามีวัคซีนโควิด-19 ตัวหนึ่ง ที่สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และตอกย้ำให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนหมู่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในหนทางหลุดพ้นจากโรคระบาดใหญ่

คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดวัดการแพร่กระจายเชื้อ ผ่านการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ (Swab) อาสาสมัครบางส่วนในทุกๆ สัปดาห์ เพื่อตรวจหาสัญญาณต่างๆ ของไวรัส และพบว่าอัตราอาสาสมัครที่มีผลตรวจแบบ PCR เป็นบวกนั้น มีจำนวนลดลงราวๆ ครึ่งหนึ่งหลังจากได้รับวัคซีน 2 โดส ซึ่งในกรณีนี้ผู้เขียนชี้ว่าหากวัคซีนแค่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการเบาลง ผลตรวจ PCR ก็จะยังคงเป็นบวกไม่เปลี่ยนแปลง

ผลการศึกษายังพบด้วยว่าวัคซีน 1 โดสของแอสตราเซเนกา สามารถมอบประสิทธิภาพการคุ้มกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการ ราว 76% หากชะลอการฉีดโดสที่ 2 ออกไปนานสูงสุด 3 เดือน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนแผนการฉีดวัคซีนของสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับช่วงเวลาของการฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่สอง

ทั้งนี้หากมีการฉีดวัคซีนครบ 2 โดส วัคซีนของแอสตราเวเนกาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็น 82.4%

พวกนักวิจัยบอกว่าการเว้นระยะห่างระหว่างโดสนาน 3 เดือน เป็น "ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อ และบางทีอาจเป็นวัคซีนโรคระบาดใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับการแจกจ่ายอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อุปทานมีอย่างจำกัดในระยะสั้น"

ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร ซึ่งกำลังเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของตัวกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดิมหลายเท่า

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สหราชอาณาจักรแสดงความกังวลว่าตัวกลายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศของพวกเขา รวมถึงตัวกลายพันธุ์จากแอฟริกาใต้และบราซิล อาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง


ที่มา: CNN

https://mgronline.com/around/detail/9640000011100


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top