Wednesday, 14 May 2025
ค้นหา พบ 48079 ที่เกี่ยวข้อง

ชลบุรี - พลังสามัคคี พลังราชนาวีพื้นที่สัตหีบ ร่วมกับหน่วยงานราชการ และประชาชนสัตหีบ รวมพลังบริจาคโลหิต เข้าสภากาชาดไทย ร่วมฝ่าวิกฤตชาติ COVID-19

วันที่ 1 ก.ค.64 น.อ.วุฒิชัย ภู่เจริญยศ ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองเรือยุทธการ นำกำลังพลหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ จำนวน 60 นาย ร่วมโครงการน้อมดวงใจทำความดี บริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกิ่งกาชาดอำเภอสัตหีบ ณ หอประชุมสถานีตำรวจภูธร อำเภอสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ทั้งนี้หน่วยของกองทัพเรือที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.สัตหีบ ประกอบด้วย กองเรือยุทธการ , ทัพเรือภาคที่ 1, ฐานทัพเรือสัตหีบ , หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้รวมพลังสามัคคี พลังราชนาวี ด้วยความสมัครใจทั้งสิ้น จำนวน 230 นาย ร่วมกับหน่วยงานราชการ พี่น้องประชาชนในอำเภอสัตหีบ ร่วมบริจาคโลหิต เพื่อนำเลือดเข้าสู่คลังเลือด ที่ประสบปัญหาการขาดเลือดขั้นวิกฤต สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน

เป็นไปตามเจตนารมย์ของ พล.ร.อ.สุทธินันท์  สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ที่ย้ำต่อกำลังพลเสมอว่าให้ดำรงความพร้อมสำหรับการให้ความช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มกำลัง โดยเฉพาะสถานการณ์ของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในทุกด้าน กองเรือยุทธการพร้อมเคียงข้างประชาชนฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน


ภาพ/ข่าว  กองกิจการพลเรือน กองเรือยุทธการ

นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี ก012 ชลบุรี

“บิ๊กตู่” ห่วงโควิดยอดพุ่งกำชับเร่งนำผู้ป่วยทุกระดับสีเข้ารับการรักษาพยาบาล “ย้ำ” ปชช.เข้มข้นสูงสุด

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางเข้าปฏิบัติภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาลตามปกติ โดยตลอดช่วงเช้าไม่มีภารกิจทางการ และมีกำหนดให้ นายปีร์กะ ตาปีโอละ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เข้าพบนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพ้นหน้าที่

ขณะที่นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใย และติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และติดตามรายงานการป่วยและศักยภาพการรักษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่ามีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในบางวันมีตัวเลขผู้ป่วยสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการคัดกรองเชิงรุกในแต่ละคลัสเตอร์ และในแต่ละพื้นที่เสี่ยง เพื่อคัดแยกผู้ติดเชื้อเข้าออกจากกลุ่มก้อนและชุมชนให้เร็วและมากที่สุด

“นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งนำผู้ป่วยในทุกระดับสีเข้ารับการรักษาพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยทุกส่วนราชการเข้ามามีส่วนร่วมช่วยงานสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด และขอให้ประชาชนร่วมมือตามมาตรการที่ ศบค. กำหนดที่ได้ประกาศให้ประชาชนทราบในแต่ละช่วง เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ในระดับเข้มข้นสูงสุด และขอให้ประชาชนยังคงใช้ชีวิตแบบ New normal คือ D-M-H-T-T คือ หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม ใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ สแกนไทยชนะ รวมทั้ง ช่วยกันป้องกัน ดูแล และรักษาสุขภาพร่างกาย จิตใจให้แข็งแรง ป้องกันตนเอง ดูแลสมาชิกในครอบครัว ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายอนุชา กล่าวถึงการประสานหาเตียงให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ว่า แต่ละหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้มีการประสานเพิ่มเติมเรื่องเตียงสนามเพื่อรับผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาตามระดับเกณฑ์สีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงการส่งผู้ป่วยเข้าสู่โรงพยาบาลบุษราคัม ซึ่งได้มีการขยายจำนวนเตียงเพิ่มเติมเพื่อรองรับผู้ป่วยเกณฑ์สีเหลืองและสีแดง

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือประชาชนหลีกเลี่ยงการชุมนุม และยืนยันรัฐบาลติดตาม และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนตลอดเวลา ดูแลทุกกลุ่ม และพร้อมรับฟังความคิดเห็น และข้อเรียกร้อง ซึ่งสามารถเสนอมายังรัฐบาลผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เปิดกว้างให้ประชาชนเข้าถึงได้ อย่างสะดวก

ที่ปรึกษาศบค. แนะ ให้ตั้งความหวังอยู่บนพื้นฐานที่เป็นจริง เพราะโควิดจะอยู่กับเราจนถึงอย่างน้อยปีหน้า

2 ก.ค. 64 ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ตั้งความหวังที่เป็นจริง

เราทุกคน หวังว่าโควิดจะหายไปจากโลกนี้

หวังว่าเราจะได้กลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิม เหมือนก่อนโควิด

แต่ความเป็นจริงคือ

- โควิด จะอยู่กับเราต่อไปจนถึงอย่างน้อยปีหน้า และต่อ ๆ ไปก็จะยังกลับมาเรื่อย ๆ แม้ว่าอาจจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว ก็ยังไม่มีอะไรรับประกันได้

- การที่เราจะใช้มาตรการกดจำนวนผู้ติดเชื้อให้ลดลง อาจตามมาด้วยความทุกข์เข็ญของปากท้องของผู้คนจำนวนมากเช่นกัน แต่ถ้าให้เสรีภาพในการทำมาหากินตามปกติ ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อการรวมตัวและแพร่ระบาดอีก

- นับจนถึงวันนี้ ยังไม่มีประเทศไหนที่ได้กลับไปใช้ชีวิตเหมือนก่อนโควิดจริง ๆ เลยแม้แต่ประเทศเดียว ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนไปเท่าไหร่ก็ตาม จะมีก็แค่ช่วงสั้น ๆ เท่านั้น

ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ และควรทำ อาจเริ่มต้นจากการ set expectation หรือตั้งความหวังที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เช่น

- ยอมรับว่าเราต้องอยู่ร่วมกับโควิดไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี หรือนานกว่านั้น คงไม่ต้องรอว่าเมื่อไหร่เราจะได้กลับมาทำอะไรเหมือนเดิม แต่คิดล่วงหน้าไปเลยว่าเราจะทำอย่างไร เปลี่ยนแปลงตัวอย่างไร เพื่อให้อยู่กับโควิดให้ได้ และหวังว่าสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงนั้น จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยได้

- รับรู้ว่าสงครามครั้งนี้มีศึกสองด้าน คือสุขภาพกับเศรษฐกิจ ถ้าเลือกดูแลด้านหนึ่งเป็นพิเศษ อีกด้านก็จะแย่ ประเทศส่วนใหญ่ ในช่วงแรกก็จะเน้นสุขภาพ แต่เมื่อเวลาผ่านไป สุดท้ายก็ต้องกลับมาสู่ทางสายกลาง ซึ่งไม่มีทางที่จะกดยอดให้ต่ำมาก ๆ ได้ เพราะว่าจะเปิดช่องให้ทำมาหากิน ดำเนินชีวิตกันไปเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น ความหวังของเราคือ การสามารถอยู่ร่วมกับโควิดไปได้โดยไม่มีความเสี่ยงมากเกินไป โดยที่ยังทำมาหากิน ใช้ชีวิตตามเดิมได้เท่าที่จะทำได้ บวกกับการใช้ชีวิตแบบใหม่ที่มาจากการปรับตัวของเรา

- รับรู้ว่ายอดผู้ติดเชื้อ เป็นระลอก มีขึ้นมีลง ขาขึ้นจะดูน่ากลัว เราก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังตัวสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ไม่ว่ายอดจะขึ้นไปสูงอย่างไร ก็จะต้องมีจุดที่ตกลงมา เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศ ความหวังของเรา คือ ทำอย่างไรให้การระบาดนั้นสั้นที่สุด ผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด (ซึ่งเป็นเหตุผลที่จำเป็นต้องให้คนแก่และกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด)

- รับรู้ว่าในวิกฤต จะมีความวุ่นวายสับสน เหมือนในภาวะสงคราม โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลข่าวสาร และก็ไม่ใช่ทุกสื่อมวลชนที่จะเป็นที่พึ่งได้ แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดหวังว่าการสื่อสารจะต้องเป็นไปในทางเดียวกันทั้งหมด ตราบใดที่ทุกคนจะพูดจะเขียนอะไร ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ ก็มีช่องทางให้ทำได้ทั้งสิ้น หรือจะหวังให้ทุกสื่อทุกคนสื่อสารด้วยจริยธรรมก็คงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้

ดังนั้น นอกจากเราควรจะคาดหวังข้อมูลที่ดี มีประโยชน์จากทางการแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญก็คือที่แต่ละคนควรจะหวังพึ่ง ก็คือสติของเราเองในการแยกแยะข้อมูลข่าวสารที่ท่วมท้นในทุก ๆ วัน ไม่เช่นนั้นเราก็จะตกเป็นเหยื่อเองได้

เรื่องมาตรการต่าง ๆ ของรัฐ เป็นสิ่งที่เราทุกคนในฐานะประชาชนมีสิทธิเรียกร้องและแสดงความคิดเห็น ซึ่งผมก็เชื่อว่าสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ คงไม่มีประเทศไหน ต้องการให้เกิดความเสียหายหรือใครเสียชีวิต และอยากจะแก้ปัญหาให้ดีที่สุด ซึ่งก็คงไม่สามารถจะเป็นที่พอใจของทุกคนได้ และก็คงไม่มีประเทศไหนที่สามารถดูแลทุกคนได้ทุกวันตลอดไป

แต่อย่างน้อย ถ้าเราเริ่มต้นจากการตั้งความหวังที่เป็นจริง เราอาจจะเริ่มมองว่า เป้าหมายของเรา ไม่ใช่การกลับไปสู่อดีตที่เคยทำ เพราะมันอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะเป็น การยอมรับความจริงว่าชีวิตของเราคงไม่ได้กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว และเราจะทำอย่างไรให้มันดีที่สุด

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ ท่านครับ

 

 

ที่มา : https://www.facebook.com/warat.karuchit


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“หมอมารุต” เชื่อศบค.ทำดีอยู่แล้ว ถ้าไม่มีจะเละเทะกว่านี้ ชี้ เปิดสถานบันเทิง-ร้านอาหาร ต้องคิดว่าคุ้มหรือไม่

นพ.มารุต มัสยวาณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี 5 ส.ส.ตัวแทนพรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคภูมิใจไทย พรรคเสรีรวมไทย และพรรคประชาธิปัตย์ เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาจำนวน 6 ญัตติ เพื่อให้สภาฯ พิจารณามาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 และจากการบริหารของ ศบค. รวมถึง เสนอให้ยุบศบค. เพื่อกลับมาสู่กลไกลปกติ ไม่ให้มีรัฐซ้อนรัฐ ว่า ในสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่เหมาะที่จะยุบศบค. เพราะศบค.เปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางที่จะควบคุมและประสานงาน ตนมองว่าทางกระทรวงสาธารณสุขควรมีการประสานงานเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นกับทางการป้องกันชายแดน สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อป้องกันการลักลอบเข้ามาเพิ่มเชื้อ ถ้าไม่มี ศบค. จะเละเทะมากกว่านี้  

เมื่อถามต่อว่า ภาพรวมการจัดการของ ศบค.ล้มเหลวตามที่ 5 ส.ส.ตัวแทนพรรคออกมากล่าวหรือไม่ นพ.มารุต กล่าวว่า การจัดการของ ศบค. ดีอยู่แล้ว ไม่ใช่ไม่ดี เพียงแต่ว่ามีกลุ่มคนที่เดือดร้อนออกมาเรียกร้อง เช่น กลุ่มอาชีพธุรกิจกลางคืนที่ออกมาเรียกร้องให้เปิดสถานบันเทิง ซึ่งในมุมนี้ต้องกลับมาคิดว่า คุ้มหรือไม่ในการเปิดสถานบันเทิงต่างๆ เพราะสถานบันเทิงถือเป็นตัวแหล่งแพร่เชื้อโควิด-19 ส่วนกรณีร้านอาหารก็ต้องพิจารณาตามขั้นตอนว่า เมื่อไม่ให้นั่งทานในร้านจะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงหรือไม่ 

ทบ. แจง ฉีดวัดซีนให้ทหารปฏิบัติงานด่านหน้า พื้นที่เสี่ยงและทหารใหม่ตามที่ได้รับจัดสรร นอกนั้นกำลังพลใช้วิธีลงทะเบียนฉีดเหมือนปชช.ทั่วไป

ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวโดยอ้างถึงการติดเชื้อโควิด-19 ในกองทัพ และมีการตั้งคำถามเรื่องของวัคซีนที่กองทัพ ได้รับจัดสรร รวมถึงขอให้หยุดกระบวนการตรวจเลือกทหาร เพื่อรอสถานการณ์ ระบาดของโควิด-19 นั้น ว่า ทางกองทัพบก ขอเรียนข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

1.) กองทัพบกขอเรียนถึงความจำเป็นที่กำลังพลซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงและด่านหน้า จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน สืบเนื่องจากในสถานการณ์โควิด-19 กองทัพบก ได้รับมอบภารกิจในการสนับสนุนรัฐบาล และ ศบค. ในหลายมิติ ทั้งป้องกันการนำเข้าเชื้อจากนอกประเทศ 

โดยสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ด้วยการคัดกรองการผ่านเข้า-ออก ประเทศตามท่าอากาศยาน ส่วนภาคพื้นดินกองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบก ทั้ง 7 กองกำลังทั่วประเทศ ได้จัดกำลังเข้าคัดกรอง ลาดตระเวน เฝ้าตรวจ สกัดกั้นการลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมายไม่ผ่านการคัดกรอง ด้วยมาตรการสกัดกั้นที่เข้มข้นและต่อเนื่องตั้งแต่มีการระบาด ปรากฏเป็นผลการจับกุมผู้ลักลอบเข้า-ออกประเทศโดยผิดกฎหมาย อีกทั้ง ได้จัดกำลังสนับสนุนการตรวจกิจการกิจกรรมในพื้นที่ตอนใน นอกจากนั้น กองทัพบกได้ใช้บุคลากรทางการแพทย์ ทั้งหมดสนับสนุนงานด้านการป้องกันและรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ ทั้งที่อยู่ในโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบกทั้ง 37 แห่ง และโรงพยาบาลสนามที่กองทัพบก จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนจังหวัดต่าง ๆ 

รวมทั้ง เมื่อเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน กองทัพบกยังได้สนับสนุนกำลังพลเข้าช่วยบริหารจัดการ ระงับยับยั้งการแพร่ระบาดไม่ให้ขยายวงกว้าง ภารกิจข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่กองทัพบกจะต้องดูแลให้กำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจในด่านหน้าและปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ดำรงความแข็งแรงให้สามารถยืนหยัดในภารกิจได้อย่างปลอดภัย กองทัพบกจึงได้ขอรับการสนับสนุนวัคซีนผ่านกระทรวงกลาโหม ไปยังกรมควบคุมโรคเพื่อให้กับกำลังพลที่ต้องปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ซึ่งเป็นไปในรูปแบบองค์กรทั่วไปที่สามารถขอรับการจัดสรรวัคซีนตามข้อกำหนดของรัฐบาลได้

2.) สำหรับกำลังพลส่วนใหญ่และครอบครัวจะได้รับวัคซีนจากการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นหมอพร้อม และระบบการจัดการวัคซีนของแต่ละจังหวัดเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันได้รับวัคซีนเป็นบางส่วนเท่านั้น

3.) การที่มีการจัดทำบัญชีแผนการขอรับวัคซีนไว้ แผนดังกล่าวยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นเพียงเตรียมการ ทั้งนี้หน่วยทหารมีกำลังพลเป็นจำนวนมากจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมปฏิบัติงานโดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติ ต้องมีการเตรียมแผนบริหารจัดการให้กำลังพลได้รับวัคซีน ตามลำดับความเร่งด่วนและตามเกณฑ์เสี่ยง การจัดการแผนดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมหากปริมาณวัคซีนในภาพรวมของประเทศมีเพียงพอและได้รับการจัดสรร จะได้ดำเนินการเองตามแผนที่เตรียมไว้ได้ทันทีและช่วยลดภาระงานสาธารณสุข

 4.) กรณีการจัดสรรวัคซีนที่ได้รับให้กับทหารกองประจำการ ขอเรียนว่า ทหารกองประจำการ ถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่งเช่นกันที่มีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีน ก่อนเข้ามาเป็นทหารบางคนอาจอยู่ในภาวะว่างงาน แต่เมื่อเข้ามาประจำการ ทำให้มีอาชีพและได้รับเงินค่าตอบแทนจากงบประมาณของทางราชการซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทำให้มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพอย่างไม่เดือดร้อน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด การมีรายได้ที่มั่นคง อาจสามารถนำไปช่วยดูแลแบ่งเบาภาระของครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

กองทัพบกจึงได้เตรียมดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับทหารใหม่ทุกคนที่เข้าประจำการในเดือน กรกฎาคม 2564 ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการพิทักษ์พลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ โควิด-19 เพราะทหารใหม่ คือประชาชนที่มาจากหลากพื้นที่ หลายอาชีพและอาจเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ การได้รับวัคซีนจะสร้างความมั่นใจในการเข้าประจำการ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และกองทัพบกต้องการที่จะดูแลทหารกองประจำการที่ถือว่าเป็นบุคลากรอันมีค่าของกองทัพ ที่สำคัญกำลังพลส่วนนี้เมื่อปลอดภัย ได้รับการคัดกรองแล้ว ได้วัคซีนแล้ว ก็จะสามารถออกไปทำหน้าที่ช่วยเหลือคนอื่น ๆ ได้ต่อไป ตามที่กองทัพบกได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การบริจาคโลหิตในทุกครั้งที่มีปัญหาการขาดแคลน การช่วยอุดหนุนสร้างรายได้ให้ประชาชนในสถานการณ์โควิด ที่ปรากฎให้เห็น ในทุกภารกิจ

และ 5.) สำหรับการติดเชื้อในค่ายทหาร มีเกิดขึ้นบ้างเป็นจำนวนไม่มากและสามารถควบคุมได้ การติดเชื้อถือเป็นสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกชุมชน ทุกองค์กร เมื่อมีการติดเชื้อก็จะเข้าสู่กระบวนการป้องกันและรักษาตามมาตรฐานสาธารณสุข โดยใช้ศักยภาพของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก ในการรักษาพยาบาลกำลังพลและครอบครัว และควบคุมไม่ให้กระจายไปสู่ภายนอก

ทั้งนี้การติดเชื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการออกปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่เสี่ยง และบางส่วนเกิดจากการสัมผัสจากครอบครัวกำลังพล อย่างไรก็ตามทหารมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้เช่นเดียวกับประชาชนโดยทั่วไป

“ยืนยันว่า ในสถานการณ์โควิด กองทัพบก ตระหนักดีถึงความจำเป็นและข้อจำกัดรวมถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ได้ทุ่มเททรัพยากรและศักยภาพที่มีในการช่วยเหลือสนับสนุนทุกภาคส่วน เพื่อคลี่คลายและบรรเทาผลกระทบให้กับประเทศและประชาชนกลับมาสู่วิถีปกติ ในวิกฤติหากทุกคนร่วมมือกัน เชื่อมั่นในการบริหารจัดการของ ศบค. และรัฐบาล สื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมาด้วยข้อมูลที่เป็นความจริงและสร้างสรร  และเราจะผ่านพ้นสถานการณ์โรคอุบัติใหม่นี้ไปได้ในที่สุด”รองโฆษกกองทัพบก กล่าว 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top