Sunday, 11 May 2025
SPECIAL

20 โปรเจกต์ หนุน EEC เดินหน้า

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

โครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ‘โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ อีกหนึ่งความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยปัจจุบันมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขในการเอื้อต่อการลงทุนแล้วหลายประการ

1. พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
2. พัฒนารถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย)
3. พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด / ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น ‘ประตูการค้า’ เชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน
4. พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ หรือท่าเรือจุกเสม็ด รองรับนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทางทะเล
5. ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3

6. ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ชลบุรี, พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา
7. ต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม (ยานยนต์สมัยใหม่, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร)

8. ผลักดัน 5 NEW S-curve อุตสาหกรรมใหม่ (หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม, การแพทย์ครบวงจร, ขนส่งและการบิน, เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, ดิจิทัล)

เปิด 18 ผลงาน 'รัฐบาลลุงตู่' 8 ปีพัฒนา 'ภาคกลาง'

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน แก้ไขปัญหาสะสมเรื่องความไม่สงบในประเทศ ออกมาตรการทางเศรษฐกิจ มีการจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  มารดาประชารัฐ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการชิมช็อปใช้ โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจับต้องได้ทั้งสิ้น และคนที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนไทยทุกคน

ในส่วนภาคกลาง มีการประกาศระเบียงเศรษฐกิจภาคกลาง-ตะวันตก ประกอบด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อผลักดันการลงทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งและโลจิสติกส์ เชื่อมโยงระหว่างภาคตะวันออกและตะวันตก และภาคตะวันตกกับภาคใต้ตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน

เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาการเกษตร การท่องเที่ยว และการพัฒนาอุตสาหกรรมมูลค่าสูง โดยสามารถพัฒนาศักยภาพในการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC  มีโครงการที่สามารถจับต้องและเอื้อประโยชน์ต่อชาวภาคกลางดังนี้

1. โครงการทางพิเศษสายศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหาคร เพื่อขยายโครงข่ายทางพิเศษไปทางตะวันตกของ กทม

2. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา

3. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี

4. โครงการก่อสร้างทางหลวงชนบท สาย ฉ และ ค ผังเมือง รวมเมืองชัยนาท จ.ชัยนาท 

5. โครงการถนนสาย ค ผังเมืองรวมเมืองนครสวรรค์ (บริเวณถนนมหาเทพ) 

6. โครงการขยายถนนราชพฤกษ์ระยะที่ 2 (ตอนที่ 2) ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 - คลองมหาสวัสดิ์)

7. โครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ – ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ - ใต้) ตอน NS1

8. โครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ – ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ - ใต้) ตอน NS2

14 เรื่อง ดี๊ดี ที่ 'บิ๊กตู่' มีให้ ภาคตะวันตก

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ สำหรับภาคตะวันตก อันประกอบไปด้วยจังหวัด กาญจนบุรี, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี และราชบุรี ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งผลักดันโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน รวมถึงการยกระดับการท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมานี้ มีหลากโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนแนวทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากมาย

>> จังหวัดกาญจนบุรี

1. Skywalk กาญจนบุรี แลนด์มาร์กแห่งใหม่ริมแม่น้ำแคว บนความสูง 12 เมตรจากพื้นถนน และความยาวของ Skywalk กาญจนบุรี อยู่ที่ 150 เมตร ตลอดริมแม่น้ำ ตัวพื้นของ Skywalk กาญจนบุรี ทำจากกระจกใสแข็งแรง ตลอดทางเดินสามารถมองเห็นแม่น้ำด้านล่าง

2. จัดระเบียบเรือนแพและปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำแคว เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

3. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 

4. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี มีพื้นที่ผ่าน 3 จังหวัด คือ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม และ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 96.41 กิโลเมตร 

>> จังหวัดตาก

5. มอบสิทธิมอบสุขในที่ดินทำกิน หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 5 ป่า ประกอบด้วย ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน / ป่าแม่ละเมา / ป่าแม่สอด / ป่าท่าสองยาง และ ป่าแม่ระกา พร้อมทั้งมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ในพื้นที่จังหวัดตาก ให้กับประชาชนในพื้นที่ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน จำนวน 1,231 เล่ม 

6. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมกันผลักดัน ให้ ‘ไม้กลายเป็นหิน’ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย จังหวัดตาก ถูกบันทึกสถิติโลกว่าเป็น ‘ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก’ ลง Guinness World Records ได้สำเร็จ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเยาวชน ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจด้านแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญในประเทศไทย

‘ชัยวุฒิ’ ซัด บางพรรคย้อนอดีต เกลียดปฏิวัติ เหน็บ เพราะเสียอำนาจ เย้ย ‘30บาท ตายทุกโรค’ ทำวุ่นเคลม รัฐบาลปัจจุบัน ปลดล็อกได้

เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่สนามกีฬาสมโภชน์ 700ปี จ.เชียงใหม่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวปราศรัยตอนหนึ่ง ว่า บางพรรคพูดถึงผลงานตัวเองเมื่อ 20 ปีที่แล้ว พูดแต่เรื่องเก่า เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค สมัยก่อนมีปัญหามากแถวบ้านตนเรียก30 บาท ตายทุกโรค เพราะโรงพยาบาลและรัฐบาลเจ๊ง เงินไม่พอ กว่าจะแก้ปัญหามาได้เหนื่อยมาก แต่รัฐบาลนี้ทำมาแล้ว ไม่ต้องไปดูป้ายหาเสียงพรรคไหน เพราะ พรรคพปชร.ทำมาแล้ว ดังนั้น อย่าจมอยู่กับอดีต

'ประชาธิปัตย์' พรรคการเมืองที่ไม่เคยห่างหายไปจาก 'การเมืองไทย'

ใกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกขณะ หากสำรวจข้อมูลพรรคการเมืองจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566 พบว่ามีพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 88 พรรค   

ใน 88 พรรค มีอยู่เพียงแค่พรรคเดียว ที่อายุยืนยาวที่สุด เป็นพรรคเดียวที่จัดตั้งในยุคแรกและยังคงดำเนินการจนถึงวันนี้ ไม่เคยห่างหายไปจากการเมืองไทย  เดาไม่ยาก ว่าพรรคการเมืองที่ว่านั้นคือ พรรคประชาธิปัตย์

ย้อนกลับไป ในช่วงเวลาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีแนวคิดจัดตั้งพรรคการเมืองอยู่เป็นระยะ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เป็นรูปเป็นร่างได้ ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี 2488  บรรยากาศประชาธิปไตยในไทยเปิดกว้างมากขึ้น พรรคการเมืองไทยยุคแรกจึงก่อตัวขึ้นในยุคนั้น

ปี 2489  พรรคประชาธิปัตย์ถูกก่อตั้งขึ้นโดย 'พันตรีควง อภัยวงศ์' คณะราษฎรสายพลเรือน พร้อมกับขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก โดยมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลขาธิการพรรคคนแรกนำพรรคก้าวหน้าของตนมารวมกับพรรคประชาธิปไตยของ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ แล้วให้ชื่อว่า 'พรรคประชาธิปัตย์'

จนถึงวันนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีหัวหน้าพรรคมาแล้ว  8 คน ในจำนวนนี้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 คน คือ พันตรีควง อภัยวงศ์ , ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช , นายชวน หลีกภัย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่วนอีก 4 คน ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกฯ คือ พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ , นายพิชัย รัตตกุล , นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และหัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 

ยุคทองของพรรคประขาธิปัตย์ ซึ่งถือว่ารุ่งเรืองที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ถึงขั้นมีวลีที่ว่า "ส่งเสาไฟฟ้าลงสมัครยังชนะ" และ "คนใต้กรีดเลือดมาเป็นสีฟ้า" นั้น ก่อตัวและเกิดขึ้นในยุคของผู้นำพรรคที่ชื่อ 'ชวน หลีกภัย' 

จุดเริ่มต้นการสั่งสมความนิยมในภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ เกิดขึ้นในปี 2523 ที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องจาก พลเอกเปรม ซึ่งพื้นเพเป็นคนสงขลา ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความซื่อสัตย์ สุจริต ทำให้ได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนสูง

พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้จำนวนมาก จึงเริ่มสร้างความนิยมในภาคใต้อย่างแนบแน่นในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากพลเอกเปรม กระทั่ง ปี 2531 กระแสฟีเวอร์ นายชวน หลีกภัย ซึ่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากนายพิชัย รัตตกุล เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

ต่อมามีการเลือกตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง และนายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งครั้งนั้นมีการรณรงค์หาเสียงชูประเด็น 'นายกฯ คนใต้' ตามรอยพลเอกเปรม นับตั้งแต่นั้นมานายชวน หลีกภัย และพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้สร้างความนิยมให้เกิดขึ้นแก่พรรคประชาธิปัตย์ในหมู่คนภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

8 ปี 'ภาคเหนือ' 'รัฐบาลลุงตู่' จัดให้!!

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ในส่วนการพัฒนาภาคเหนือ มีการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือเพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 

การพัฒนาและผลงานที่เป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์ให้แก่พี่น้องชาวภาคเหนือมีมากมายหลายโครงการ ขอยกตัวอย่างมาให้เห็นคร่าวๆ ดังนี้

1.) พัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ที่เชียงราย

2.) เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา การท่องเที่ยวธรรมชาติและสุขภาพ ตามเส้นทางเมืองเก่าลำพูน ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

3.) ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาล จาก 4 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร

4.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 116 ตอนป่าสัก-สะปุ๋ง-บ้านเรือน-สันป่าตอง จาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 19 กม.

5.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 10.35 ตอนวังหม้อพัฒนา-แจ้ห่ม ระยะทาง 19 กม.

6.) ก่อสร้างส่วนขยายสะพานข้ามทางแยกต่างระดับ แยกภาคเหนือ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 ตอนเกาะคา-สามัคคี กับทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาน

7.) ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 1136 ตอนเหมืองง่า-ลำพูน เพื่อเชื่อมทางเลี่ยงเมืองลำพูน สายเหมืองง่า-ท่าจักร และเชื่อมโยงจังหวัดเชียงใหม่

8.) ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองแม่ริม เมืองสันกำแพง

9.) สร้างสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค

10.) ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม 'เมืองเก่าลำพูน'

เรื่อง 'ทำ' ของพรรคการเมือง

นายกฯ ประยุทธ์ ประกาศยุบสภาเป็นที่เรียบร้อย นับจากนี้เริ่มต้นเข้าสู่วาระแห่งการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 แบบเต็มพิกัด งานนี้หลายพรรคออกตัวกันไปบ้างแล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่า วลีคำว่า 'ทำ' กลายเป็นคำฮิตของเหล่าบรรดาพรรคการเมือง THE STATES TIMES ไปรวบรวมมาว่า มีใคร 'ทำ' อะไรกันบ้าง 

เริ่มจาก 'ลุงตู่' ว่าที่แคนดิเดตแห่งพรรค #รวมไทยสร้างชาติ ก่อนหน้านี้เคยมีประโยคที่กลายเป็นกระแสข่าวอยู่หลายวัน นั่นคือ 'ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ' ลุงตู่ประกาศ '3 ทำ' และแน่นอนว่า จะขอ come back กลับมาลุยงานต่อให้จงได้ในสมัยหน้า

ด้านพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร มาด้วยประโยค 'คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน' เน้นว่า 'ทำเป็น' งานนี้ประกาศชัดเจน แม้ว่าจะเป็นการลงเล่นการเมือง 'ครั้งแรก' ของเจ้าตัวก็ตาม

33 ผลงาน ภาคอีสาน ช่วง 8 ปี 'รัฐบาลลุงตู่'

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

ภายหลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาบริหารประเทศ ก็เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ขึ้นถ้วนทั่วทุกภาคของไทย โดยหนึ่งในภูมิภาคที่บังเกิดผลงานอันเป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์มากมายนั้น คือ 'ภาคอีสาน' ผ่านหลากหลายโครงการ ที่จะขอยกตัวอย่างมาให้เห็นคร่าว ๆ ดังนี้...

1. โครงการคนละครึ่ง
2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
3. มารดาประชารัฐ
4. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  
5. โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
6. โครงการชิมช้อปใช้

7. พัฒนาสนามบินในอีสาน เช่น สนามบินอุบลราชธานี และสนามบินขอนแก่น
8. บริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ตามโครงการเพิ่มน้ำต้นทุนโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี
9. โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรใหญ่ที่สุดในโลก ที่ จ.อุบลราชธานี
10. ต่อรางสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย และโครงการรถไฟทางคู่ อ.หัวหิน, จ.ขอนแก่น, จ.สระบุรี และ จ.ลพบุรี
11. สร้างทางหลวงหมายเลข 12 จ.กาฬสินธุ์ เชื่อมไปประเทศลาว 
12. สร้างอุโมงค์ทางลอดยาวที่สุดในภาคอิสานที่ จ.อุดรธานี

13. สร้างมอเตอร์เวย์สายใหม่ บางปะอิน-นครราชสีมา
14. โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย ที่ จ.นครราชสีมา
15. รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน / กรุงเทพฯ – หนองคาย
16. กระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบียที่ห่างเหินไป 32 ปีให้กลับฟื้นคืนดังเดิม แรงงานไทยจากภาคอีสานสามารถเดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบียได้สะดวก
17. แก้ไขปัญหาการขายหวยเกินราคา
18. แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน

‘เศรษฐา’ ชี้โอกาสมาถึงแล้ว พท. พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลง ลั่น เตรียมทวงคืนศักดิ์ศรีของประเทศไทยในเวทีโลก

เมื่อวันที่ 20  มีนาคม 2566 ภายหลังจากที่มีการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า วันนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในอีกไม่เกิน 60 วันข้างหน้านี้ ที่คนไทยทุกคนจะได้คัดเลือกผู้แทนประชาชนชุดใหม่ ทดแทนชุดที่กำลังหมดวาระ ถือเป็นช่วงเวลาที่คนไทยทุกคนมีสิทธิ และบทบาทเท่าเทียมกันต่อการกำหนดทิศทาง 4 ปีถัดจากนี้ของประเทศไทย ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง

นายเศรษฐา ระบุต่อว่า ตนอยากเชิญชวนทุกท่านศึกษานโยบาย จุดยืน และอุดมการณ์ของพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อหาพรรคการเมืองที่จะมาเป็นความหวังของท่าน ที่จะมาเป็นผู้ทำให้ภาพประเทศไทยในฝันของท่านเป็นจริง ที่จะมาขับเคลื่อนประเทศและทำให้ชีวิตของทุกท่านดียิ่งขึ้น

"พรรคเพื่อไทยพร้อมที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และทวงคืนศักดิ์ศรีของประเทศไทยในเวทีโลกอีกครั้ง โอกาสของทุกท่านที่จะกำหนดทิศทางของประเทศมาถึงแล้ว" นายเศรษฐา ระบุ

ครม. เห็นชอบรายงานการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

ทวนกันอีกครั้ง!! 

ครม. เห็นชอบรายงานการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และประชารัฐสวัสดิการใหม่ ให้แก่ผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 14.6 ล้านราย เริ่มกระบวนการยืนยันตัวตนไปแล้วเมื่อ 1 มีนาคม 66 ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งอนุมัติงบกลาง จำนวน 9,140.35 ล้านบาท ให้กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม นำมาสมทบกับเงินกองทุน ฯ ในการดำเนินการจัดสรรประชารัฐสวัสดิการใหม่ เช่น วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคจากร้านธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 300 บาท/คน/เดือน วงเงินค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาท/คน/เดือน เป็นต้น

รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการฯ ปี 2565 มีรายละเอียด ดังนี้

1. ผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการ ฯ ปี 2565 ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 14,596,820 ราย ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 5,050,421 ราย ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ อาทิ มีรายได้เกิน 100,000 บาท/ปี มีบัญชีเงินฝากเกิน 100,000 บาท มีบัตรเครดิต มีวงเงินกู้บ้าน/รถ เป็นต้น

2. กรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ฯ ปี 2565
- ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติและเริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน 1 มีนาคม 2566
- เริ่มใช้สิทธิ์สวัสดิการสำหรับผู้ลงทะเบียนรอบปกติ 1 เมษายน 2566
- กระบวนการอุทธรณ์ (กรณีผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ) 1 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2566
- ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติรอบอุทธรณ์ 20 มิถุนายน 2566
- เริ่มใช้สิทธิ์สำหรับผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติรอบอุทธรณ์ 1 กรกฎาคม 2566

3. ข้อเสนอประชารัฐสวัสดิการใหม่ที่จัดสรรให้แก่ผู้มีบัตร ฯ
1) วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจากร้านธงฟ้า : ต่างจังหวัดและกทม. 300 บาท/คน/เดือน
2) วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม : 80 บาท/คน/สามเดือน
3) วงเงินค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาท/คน/เดือน
4) วงเงินค่าไฟฟ้า ต่างจังหวัดและกทม. 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน
5) วงเงินค่าน้ำประปา ต่างจังหวัดและกทม. 100 บาท/ครัวเรือน/เดือนแต่ไม่เกิน 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน

8 ปีที่ผ่านมา 'บิ๊กตู่' เดินหน้าพัฒนา 'คมนาคม-เศรษฐกิจ' แบบไม่หยุดยั้ง!! จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน!!!

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

 

8 ปีที่ผ่านมา 'บิ๊กตู่' เดินหน้าพัฒนา 'คมนาคม-เศรษฐกิจ' แบบไม่หยุดยั้ง!! จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน!!!

 

'บิ๊กตู่' ปฏิรูปตำรวจครั้งใหญ่ แก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ลดจุดอ่อนกฎหมายเดิม

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

'บิ๊กตู่' ปฏิรูปตำรวจครั้งใหญ่ แก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ลดจุดอ่อนกฎหมายเดิม
 

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน

ในส่วนของการพัฒนากรุงเทพมหานครก็เช่นกัน มีการพัฒนาและผลงานที่เป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์ให้แก่ชาวกทม. มากมายหลายโครงการ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ต้องลองพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมกันดู...

‘ก้าวไกล’ ขยับทันทีหลังยุบสภาฯ ชู 300 นโยบาย เปลี่ยนประเทศไทยไม่เหมือนเดิม

‘ก้าวไกล’ ขยับทันทีหลังยุบสภา ประกาศ 300 นโยบายรัฐบาลก้าวไกล เปลี่ยนประเทศไทยไม่เหมือนเดิม พร้อมระดมทุนผ้าป่าสามัคคีสู้ศึกเลือกตั้ง

วันที่ 20 มีนาคม 2566 หลังเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 พรรคก้าวไกลได้ประกาศความพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง ด้วยการประกาศ 300 นโยบายรัฐบาลก้าวไกล ที่จะเปลี่ยนประเทศไทยให้ไม่เหมือนเดิม ครอบคลุมทั้ง 9 เสานโยบาย ประกอบด้วย การเมืองไทยก้าวหน้า สวัสดิการไทยก้าวหน้า ทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า ราชการไทยก้าวหน้า การศึกษาไทยก้าวหน้า เกษตรไทยก้าวหน้า สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า สุขภาพไทยก้าวหน้า และเศรษฐกิจไทยก้าวหน้า

'บิ๊กตู่' ตั้งเป้า!! ขจัดความยากจน

#จดหมายเหตุลงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

'บิ๊กตู่' ตั้งเป้า!! ขจัดความยากจน ช่วยคนไทยให้ลืมตาอ้าปาก 653,524 ครัวเรือน หรือ 1,028,112 คน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top