Friday, 16 May 2025
SPECIAL

อาชีวศึกษาเชียงใหม่ จัดนิทรรศการวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ"

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่  จัดงานวันวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ" ครั้งที่ 12โดยมีนายวีระพันธ์  ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงาน  นายสมบัติ นาหลวง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ กล่าวรายงาน ณ บริเวณหน้าอาคาร 7 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ มีแขกผู้มีเกียรติ คณะครู และนักเรียน นักศึกษา ร่วมงาน

นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า งานวันวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ"ครั้งที่ 12 เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ได้แสดงผลงาน ถือว่ามีความสำคัญในการส่งเสริมให้มีเจตคติต่ออาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเองต่อการเรียนสายวิชาชีพ การจัดทำโครงงานการสร้างและพัฒนาผลงานโดยบูรณาการความรู้ทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ ในสาขาวิชาชีพที่ศึกษา ตามกระบวนการด้วยความรับผิดชอบ มีวินัย มีคุณธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขยัน อดทน สามารถทำงานเป็นรายบุคคลหรือทำงานเป็นกลุ่มให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งสามารถนำเสนอผลงานด้วยรูปแบบต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานวันวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ" ครั้งที่ 12 จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพ

นายสมบัติ นาหลวง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มุ่งเน้นการปฏิบัติจริง และจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและวิธีการดำเนินงาน มีทักษะการปฏิบัติงานตามแบบแผนในขอบเขตสำคัญและบริบทต่างๆ ที่ต้องใช้การตัดสินใจ การวางแผน การแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติงานในบริบทใหม่ๆ รวมทั้งรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน

มทบ.32​ ร่วมฟังเทศน์มหาชาติ บุญตั้งธรรมหลวงเวียงละกอนฯ 

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 เวลา 13.00 น. พลตรีอโณทัย​ ชัยมงคล​ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 มอบหมายให้ พันเอกวิชาญ ศรีภัทรางกูร รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 ร่วมพิธีเปิดโครงการตั้งธรรมหลวงเวียงละกอน จังหวัดลำปาง (เทศน์มหาชาติ) ครั้งที่ 18 ประจำปีงบประมาณ 2565 ระหว่างวันที่ 3 - 4 มีนาคม 2565 ณ อาคารหอประชุมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง  ซึ่งจัดโดยจังหวัดลำปาง ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง  พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของบรรพชน ในการทำบุญตั้งธรรมหลวง ให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง ภายในงานมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วย พิธีอาราธนาพระอุปคุต การแสดงพระธรรมเทศนา “เทศน์มหาชาติ” กิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตชาวล้านนาที่สำคัญ  

อบจ. พระนครศรีอยุธยา รับโล่ห์ผ่านการประเมินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 3 มีนาคม ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชัน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายทวี เสริมภักดีกุลรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานพิธีเปิดการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและประโยชน์สุขของภูมิภาค กรณีศึกษาภาคกลางตะวันตกและพร้อมมอบโล่รางวัลให้กับองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับเข้าถึง เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข โดยโดยนางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการพร้อมรับโล่ห์ผ่านการประเมินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับเข้าถึง เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข

เทศบาลตำบลศรีบัวบาน ร่วม มูลนิธิพระพุทธสันติธรรม และ มูลนิธิสุทธาธรรมสถาน มอบเตียงสนามกระดาษ จำนวน 50 เตียง เพื่อใช้ในศูนย์ CI

ลำพูน - เทศบาลตำบลศรีบัวบาน ร่วมกับ มูลนิธิพระพุทธสันติธรรม และมูลนิธิสุทธาธรรมสถาน มอบเตียงสนามกระดาษ จำนวน 50 เตียง เพื่อใช้ในศูนย์ CI อำเภอเมืองลำพูน

ที่ศูนย์พักคอยและแยกกักตัวในชุมชน หรือ Community Isolation : CI เทศบาลตำบลศรีบัวบาน ค่ายลูกเสือหริภุญไชย ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นายจรูญ คำปันนา นายกเทศมนตรีตำบลศรีบัวบาน ร่วมกับ นายอนุกูล ชวพงศ์ ผู้แทนมูลนิธิพระพุทธสันติธรรม และมูลนิธิสุทธาธรรมสถาน ผู้แทน บริษัท SCG จำกัด พร้อมด้วยคณะทำงาน ร่วมมอบเตียงสนามกระดาษ จำนวน 50 เตียง โดยได้รับการประสานงานของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน โดยได้รับเกียรติจากนายโยธิน ประสงค์ความดี นายอำเภอเมืองลำพูน เป็นผู้รับมอบ โดยมี สาธารณสุขอำเภอ(สสอ.)เมืองลำพูน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (.อบจ.) ลำพูน เขตอำเภอเมืองลำพูน, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

"นิพนธ์" ลงพื้นที่ มอบนโยบายเร่งรัดขจัดความยากจนภาคใต้ ชงจังหวัดจับมือ อปท.ปรับแผนดันงบประมาณ กระจายทรัพยากรแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

วันนี้ 3 มีนาคม 2565  ที่โรงแรม บุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธีเปิดและมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่  โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย ข้าราชการในสังกัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย

โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำฐานข้อมูล การบันทึกข้อมูล และการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศในทุกมิติได้อย่างแท้จริง

นายนิพนธ์ กล่าวว่า กับดักความยากจนคือกลไกซ้ำเติมที่ทำให้คนจนลืมตาอ้าปากได้ยาก ภารกิจนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ ทั้งยังต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนเวลา ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านกลไกของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ซึ่งได้บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระทรวงมหาดไทยก็มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ จนลงไปสู่ท้องที่ท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน 

ตนมองว่า ในการแก้ไขปัญหาขจัดความยากจน ลดความความเหลื่อมล้ำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น ท้องถิ่นท้องที่เป็นกลไกสำคัญของกระทรวงมหาดไทยที่ต้อง“บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชน หากมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด อำเภอโดยนายอำเภอ สามารถประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้ อาจจะใช้โอกาสการประชุมประจำเดือน หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นวาระพิเศษ ในการพูดคุย ปรับแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้สัดส่วนงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งสัดส่วนโครงสร้างมาดูแลในส่วนนี้ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายการขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้มีการแก้ไขกฎหมายหลายๆ ฉบับ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความคล่องตัวในการดูแลพี่น้องประชาชนมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น

นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ตนในฐานะประธานคณะทำงานช่วยอำนวยการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ อ.ก.บ.ภ. ภาคใต้และภาคใต้ชายแดน  ทราบดีว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลงมานั้น ได้รับการจัดสรรลงมาอย่างจำกัด ทั้งนี้ ในส่วนของงบพื้นที่หรืองบประมาณบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบฟังก์ชันของกระทรวงต่างๆ เชื่อว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารได้ แต่สิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ การประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางแผนร่วมกันในการดึงงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกมาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ซึ่งหากสามารถนำงบประมาณในส่วนนี้มาปรับใช้ได้อย่างทันท่วงที ก็จะเป็นนิมิตหมายใหม่ในการพัฒนาประเทศต่อไป

นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ภาคใต้ที่ควรให้ความสำคัญและเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหา หากแต่ควรเกิดขึ้นในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้แต่อย่างใด และพร้อมดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เน้นย้ำการลงพื้นที่ไปคลุกคลีกับชาวบ้านเรื่องเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นจุดเชื่อมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับพี่น้องประชาชน หากสามารถรับสารจากพื้นที่ขึ้นมาแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ก็จะเกิดเป็นผลรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว นอกจากจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยแล้วนั้น ยังเป็นการช่วยสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่และสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย 

ลำปาง-มทบ.32​ ให้การต้อนรับ​ จก.กร.ทบ. เยี่ยมชมศูนย์บัญชาการควบคุมไฟป่าส่วนหน้า (อำเภอแม่ทะ)

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 น. พลตรีอโณทัย ชัยมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32  และคณะผู้บังคับบัญชา  ให้การต้อนรับ พลโทนิรันดร  ศรีคชา เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก/หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก พร้อมคณะทำงานฯ  และผู้แทน WANG โอกาสเดินทางเยี่ยมชมศูนย์บัญชาการควบคุมไฟป่าส่วนหน้า (อำเภอแม่ทะ) จังหวัดลำปาง พร้อมปิดการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการดับไฟป่าระหว่างกองทัพบกกับกองทัพบกสหรัฐอเมริกา Bush Fire SMEE 2022 ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3  

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความห่วงใยของกองทัพบกในสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ที่จำเป็นต้องบูรณาการและทุ่มเททั้งกำลังใจ กำลังกาย ยุทโธปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน ทุกภาคส่วนให้สามารถ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลดี ลดการเกิดไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี มีอากาศที่สดใส และเพื่อให้ลำปางไร้ปัญหาไฟป่าหมอกควันต่อไป    

ลำพูน - มอบแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”

จังหวัดลำพูนประกอบพิธีการมอบแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้กับช่างทอผ้า และผู้ผลิตผ้าทุกกลุ่มทุกเทคนิค ได้นำลายผ้าพระราชทานไปเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอด เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น 

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565  ที่ห้องประชุมจามเทวี ชั้น 4 ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน  ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีการมอบแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” โดยมี นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน  นางปนัดดา เนาวรัตน์  ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำพูน ปลัดจังหวัดลำพูน นายอำเภอทุกอำเภอ พัฒนาการจังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการช่างทอผ้า ผู้ผลิตผ้าทุกกลุ่มทุกเทนิคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธีฯ

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณวรี นารีรัตนราชกัญญา เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณวรี นารีรัตนราชกัญญา  จากนั้นประธานกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณวรี นารีรัตนราชกัญญา     ที่ทรงพระราชทานแบบลายผ้า“ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” พระราชทานให้กับกลุ่มทอผ้าจังหวัดลำพูน จำนวน 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองลำพูน  อำเภอแม่ทา  อำเภอป่าซาง  อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้  อำเภอเวียงหนองล่อง  อำเภอทุ่งหัวช้าง และ อำเภอบ้านธิ  

จากนั้นประธานในพิธีฯยืนประจำจุดที่กำหนด เจ้าหน้าที่เชิญแบบผ้าลายพระราชทานวางบนพาน  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดลำพูน ขึ้นรับมอบแบบลายผ้าพระราชทาน เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณวรี นารีรัตนราชกัญญา ตามลำดับ  นายอำเภอและคู้สมรสหรือบุคคลที่เหมาะสมทั้ง 8 อำเภอ ขึ้นรับแบบลายผ้าพระราชทานเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณวรี นารีรัตนราชกัญญา ตามลำดับ เป็นอันเสร็จพิธี

นราธิวาส-รมว.ศึกษาเร่งจัดงบฉุกเฉินกว่า47ล้านฟื้นฟูโรงเรียนน้ำท่วม197โรง ส่วนน้ำท่วมตลาดมูโนะใกล้คลี่คลายกรมชลเร่งนำBIG BAGปิดทางน้ำ

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ นายสุทธิชัย ขรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะ ได้เดินทางมายังโรงเรียนบ้านตือระมิตรภาพที่ 172 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางศึกษา รวมทั้งรับฟังการบรรยายสรุปความเสียหายแก่โรงเรียนที่อยู่ในเขตตรวจราชการที่ 8 ประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมขังในช่วงวันที่ 25 ถึง 27 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา โดยสรุป มีโรงเรียนถูกน้ำท่วมขัง จำนวน 197 โรง มีนักเรียน ครูและบุคคลากรทางการศึกษาได้รับความเดือดร้อน จากสภาวะน้ำท่วมบ้านพักอาศัย โดยแยกเป็นนักเรียน จำนวน 14,645 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 342 คน ในเบื้องต้นจากการสำรวจความเสียหายและได้ประเมินเป็นจำนวนเงิน 47,420,787 บาท โดยทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการโอนเงินเพื่อเข้าดำเนินการฟื้นฟูในเบื้องต้น จำนวน 260.000 บาท เพื่อให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย สามารถเปิดการเรียนการสอนชั่วคราวได้ตามปกติ

ต่อมา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบถุงยังชีพ แก่ตัวแทนผู้อำนวยการพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 12 เขตทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งตัวแทนผู้อำนวยการพื้นที่มัธยมศึกษาทั้ง 3 เขตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมจำนวน 500 ชุด เพื่อนำไปมอบช่วยเหลืออีกทอดหนึ่งแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้

นอกจากนี้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ยังได้มอบเงิน จำนวน 30,000 บาท แก่นายอับดุลฮาลี มะ ซึ่งเป็นพ่อตาของนายนภดล มะลิลา พนักงานราชการโรงเรียนบ้านนิคมพัฒนา 10 อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ที่เสียชีวิตพร้อมครอบครัวและเครือญาติรวม 7 คน ขณะขับรถยนต์บนคอสะพานบ้านโนนสมบูรณ์ ม.5 ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส และคอสะพานได้ทรุดตัวไปพร้อมกับรถยนต์ เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา ซึ่งได้นำ ด.ญ.นูรฟาราเดีย มะลิลา อายุ 5 ปี ติดสอยห้วยตามมาด้วย โดย น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้แสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ต่อมา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายและให้กำลังใจแก่ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ที่ทุกคนเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง แต่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ให้การอบรมเยาวชนให้เติบโตเป็นคนดี ตนจะเร่งพิจารณาดำเนินการในส่วนชองเงินงบประมาณฉุกเฉิน ในการฟื้นฟูโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมขังโดยเร็วใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้กลับมาเปิดการเรียนการสอนได้เต็มรูปแบบ

นราธิวาส-ตำรวจ สภ.เมืองนราธิวาส  เร่งประชาสัมพันธ์โครงการ Smart safety 4.0 เชิงรุก ในเขตเซฟตี้โซน ตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พ.ต.อ.เจฟฟรีย์ ไศลมานกุล  ผกก.สภ.เมืองนราธิวาส นำ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนราธิวาส  ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการ ร้านอาหาร  ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ตั้งแต่ หอนาฬิกา-แยกออมสิน-แยกท่าพระยาสาย-แยกซูซูกิ  ซึ่งอยู่ในเขตเซฟตี้โซน ของโครงการ smart safety 4.0 สภ.เมืองนราธิวาส  พร้อมถือป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ Smart safety 4.0 เชิงรุก เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวอย่างทั่วถึง ในการป้องกันอาชญากรรมของโครงการดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

พิจิตร -ส.ส.ภูดิท ลงพื้นที่อ.วังทรายพูนช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม

ส.ส.ภูดิท   อินสุวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขต 2 พร้อมทีมงานได้ลงพื้นที่ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร โดยมีกำนันสมหมาย สนามทอง กำนันตำบลวังทรายพูน กำนันพเยาว์ จำลอง กำนันตำบลหนองปล้อง พร้อมผู้นำท้องที่ร่วมกันนำลงพื้นที่แปลงปลูกแตงโมของนายสุทรี น้อมระวี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 12 บ้านหนองยางใต้ ต.วังทรายพูน ซึ่งประสบปัญหาราคาแตงโมตกต่ำ เหลือเพียงกิโลกรัมละ3-5บาท แต่ต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆทั้งราคาปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง รวมถึงค่าน้ำมัน ทำให้ประสบภาวะขาดทุน  

สงขลา - ศอ.บต.ยัน สภาพัฒน์อยู่ระหว่างดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย

ในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ซึ่งมีนายประมุข ลมุน เป็นประธาน และมีนายอำนวย ศรีระแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นตัวแทนของ พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เข้าร่วมประชุม  ครั้งล่าสุด  ซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาได้สอบถามความคืบหน้าในการ “ขับเคลื่อน” เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ “ เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เนื่องจากเป็น โครงการที่ มีประโยชน์ต่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีประชาชนสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ซึ่งเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 อ.จะนะ จ.สงขลา ได้เป็นผู้ให้รายละเอียดว่า โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 อยู่ระหว่างการดำเนินการ รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นไปแล้วหลายกลุ่ม และจะสิ้นสุดในเดือน มีนาคม นี้ หลังจากนั้นจะมีการดำเนินการ ศึกษาเรื่องของ สิ่งแวดล้อม ที่เป็นขบวนการทางวิชาการ เรื่องของ เมืองต้นแบบที่ 4 ยังไม่ได้หยุดชะงัก แต่ยังเดินหน้าต่อไปด้วยความรอบคอบในทุกด้าน ซึ่งอาจจะมีความล้าช้าไปบ้าง เพราะนอกจากเรื่องของการคัดค้านจากคนบางกลุ่มแล้ว เรื่องการระบาดของ”โควิด 19” ก็ทำให้มีความล่าช้าในขบวนการ

ในขณะที่ คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เสนอแนะว่า  นิคมอุตสาหกรรมจะนะ หรือ เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ “เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” เป็นโครงการพัฒนาที่ มีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหา การว่างงาน การสร้างรายได้ และการขยายไปสู่อาชีพอื่นๆ โครงการอื่นๆ ในอนาคต  แต่ในการดำเนินการ ต้องตั้งอยู่บนพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน และ เอกชน เจ้าของ โครงการต้องมีความโปร่งใส ให้ความจริงกับคนในพื้นที่ และ สาธารณะ ในการรับรู้ข้อมูล รวมทั้งเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง โครงการอาจจะช้าไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่รัฐบาลต้อง จริงใจ ในการ ผลักดัน ให้เมืองต้นแบบที่ 4 เกิดขึ้น เพราะจะเป็นการ กระจายรายได้ กระจายการจ้างงาน รวมทั้ง สร้างความเจริญ ในพื้นที่ใกล้เคียง

นราธิวาส-เทศบาลเมืองนราธิวาส  เปิดห้องเรียนอัจฉริยะ มิติใหม่ด้านการศึกษาของท้องถิ่นเทศบาลเมืองนราธิวาส  เดินหน้ายกระดับการจัดการศึกษาในระดับท้องถิ่น  

โดยการเปิดห้องเรียนพิเศษ (SME)  ระดับชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่  1  ในปีการศึกษา  2565  ตามนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา นายไพซอล  อาแว  นายกเทศมนตรีเมืองนราธิวาส  กล่าวว่า  ในปีการศึกษา  2565  นี้  เทศบาลเมืองนราธิวาส  ได้กำหนดโครงการเปิดสอนห้องเรียนพิเศษ  (SME)  ระดับชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่  1  โดยจะนำร่องเปิดห้องเรียนพิเศษ  โรงเรียนเทศบาล  1  (ถนนภูผาภักดี)  เป็นแห่งแรก  จำนวน  1  ห้อง  รับนักเรียน  จำนวน  20  คน  ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามนโยบายส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลให้มีความโดดเด่นในทุก  ๆ  ด้าน   เช่น  ด้านคณิตศาสตร์  ด้านวิทยาศาสตร์  ด้านภาษา  ด้านกีฬา  ด้านดนตรี  ด้านศาสนาและวัฒนธรรม   

โดยเทศบาลได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อร่วมพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษากับมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  สำหรับห้องเรียนพิเศษ  (SME) นี้ จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดในแปดกลุ่มสาระ  โดยจะมีการเสริมทักษะเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนในด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ  ซึ่งจะมีการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการและจัดการเรียนภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษาโดยตรง  

นอกจากนั้นยังจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพิ่มเติมนอกเหนือจากนักเรียนทั่วไป  ได้แก่การเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น  อุทยานการเรียนรู้นราธิวาส  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ศูนย์วิทยาศาสตร์  จัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ   สัปดาห์คณิตศาสตร์   สัปดาห์วิทยาศาสตร์  และกิจกรรมว่ายน้ำ เป็นต้น  ส่วนสวัสดิการที่จะจัดให้แก่นักเรียนห้องเรียนพิเศษ  ได้แก่  ค่าเล่าเรียนฟรี  อาหารกลางวันฟรี   อุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย  เช่น  โน๊ตบุ๊ก (ยืมเรียน)  จัดห้องเรียนพิเศษปรับอากาศ (โรงเรียนเทศบาล  1  และอุทยานการเรียนรู้นราธิวาส) 

กาฬสินธุ์-ตรวจเข้มสถานบริการป้องกันการค้ามนุษย์-ยึดหลักมาตรการป้องกันโควิด

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดของคนต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจเข้มสถานบริการ ร้านคาราโอเกะ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดของคนต่างด้าว  พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบการยึดหลักมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด หลังยังพบการแพร่ระบาดในพื้นที่มีผู้ป่วยรายวันเฉลี่ย 300-400 ราย 

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงกลางคืนที่ผ่านมา นายทรงพล ใจกริ่ม ผวจ.กาฬสินธุ์ มอบหมายให้นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ พ.อ.สุรศักดิ์  สำราญบำรุง รอง ผอ.รมน.กาฬสินธุ์ นายดาระใน ยี่ภู ปลัด จ.กาฬสินธุ์  นายเริงวิทย์  ถนอมแสง นายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ นายประสงค์ จันทร์กระจ่าง ป้องกัน จ.กาฬสินธุ์ นำชุดปฏิบัติการฝ่ายปกครอง บูรณาการร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จ.กาฬสินธุ์ ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ทหาร เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.กาฬสินธุ์ จัดหางาน จ.กาฬสินธุ์ แรงงาน จ.กาฬสินธุ์ ออกตรวจสถานประกอบการคล้ายสถานบริการ ร้านคาราโอเกะ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดของคนต่างด้าว และการฝ่าฝืนมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด หลังยังพบการแพร่ระบาดในพื้นที่ มีผู้ป่วยรายวันเฉลี่ย 300-400 ราย

นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใน จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีการเปิดด่านพรมแดนทางบก ในจังหวัดพื้นที่ชายแดน อาจจะทำให้เกิดการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้งความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการลักลอบการค้ามนุษย์

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำผิด การค้าประเวณี การค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานของคนต่างด้าวในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์โดยผิดกฎหมาย นายทรงพล ใจกริ่ม ผวจ.กาฬสินธุ์ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเข้มสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ ร้านคาราโอเกะ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดของคนต่างด้าว และป้องกันการฝ่าฝืนมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะการเว้นระยะห่าง จุดคัดกรอง การห้ามนั่งดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน เนื่องจากมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ  

นราธิวาส-ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาลงพื้นทีอำเภอสุไหงปาดี มอบถุงยังชีพประชาชนผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม

พล.อ.จีรัชญ์ บุญชญา ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและคณะ เดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากเหตุอุทกภัย ในพื้นที่ ม.7 บ.โคกสะตอ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พร้อมขึ้นรถบรรทุก 6 ล้อของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 ลุยน้ำไปมอบถุงยังชีพและน้ำดื่มให้แก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วมถึงหน้าบ้านของแต่ละบุคคลเพื่อเป็นการส่งความห่วงใย ให้กำลังใจ และได้พูดคุยสอบถามความต้องการของประชาชน ในการเตรียมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเต็มกำลังโดย หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย พร้อมยุทโธปกรณ์ในการติดตามสถานการณ์สาธารณภัยอย่างใกล้ชิด  เพื่อออกให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้พี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที

กอ.รมน.มุกดาหาร ร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ประจำปี 2565

พ.อ.วรพรต  แก้ววิจิตร  รอง ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดมุกดาหาร(ท) เป็นประธาน  การจัดกิจกรรมการพัฒนาและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตามโครงการ กำกับ ติดตาม และประเมินผล โดย กอ.รมน.ภายใต้งานบริหารจัดการขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของ กอ.รมน.จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี 2565

การจัดกิจกรรมครั้งนี้สืบเนื่องมาจากแผนงานโครงการ กำกับ ติดตาม และประเมินผล โดย กอ.รมน.ภายใต้งานบริหารจัดการขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของ กอ.รมน.จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี 2565 ซึ่งตำบลชะโนด อ.หว้านใหญ่ จว.มุกดาหาร เป็นหนึ่งใน  15 ตำบลเป้าหมาย ในการดำเนินงานตามโครงการฯ  จึงได้ร่วมกับเทศบาลตำบลชะโนด และราษฎรในพื้นที่ จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ และทำความสะอาดพื้นที่บริเวณสถานสาธารณประโยชน์ ศาลาอเนกประสงค์ริมโขง บ้านพาลุกา หาดมโนภิรมย์ ของเทศบาลตำบลชะโนด 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top