Monday, 20 May 2024
WEEKEND NEWS

"น้องเทนนิส" ฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก สุดปลื้มได้ทุนเรียนต่อถึง ป.เอก พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านบาท จากอธิการบดี ม.กรุงเทพธนบุรี

รศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มอบเงินรางวัลจำนวน 1 ล้านบาท และมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกให้แก่ “น้องเทนนิส-เรืออากาศตรีหญิง พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ" พร้อมกล่าวชื่นชมในความสำเร็จของน้องเทนนิสทางด้านการกีฬา ซึ่งการมอบรางวัลดังกล่าว เพื่อเป็นขวัญกำลังใจที่ได้รับรางวัลเหรียญทองกีฬาเทควันโดจากการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 ครั้งที่ 32 ประเทศญี่ปุ่น และถือเป็นการสร้างชื่อเสียงเกียรติประวัติให้แก่ครอบครัว ประเทศชาติ และมหาวิทยาลัยฯ ในฐานะที่น้องเทนนิสเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี


รศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กล่าวแสดงความยินดีกับ น้องเทนนิส-เรืออากาศตรีหญิง พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ฮีโร่เหรียญทองในนามของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคคลากรทุกภาคส่วน นักศึกษาศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า วิทยาลัยในเครือฯ ว่า ในนามของชาวไทยคนหนึ่ง ต้องบอกว่ามีความยินดีอย่างที่สุดที่ “น้องเทนนิส” ได้สร้างชื่อเสียงได้ทำเหรียญทองโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นมาฝากชาวไทยในครั้งนี้ ในฐานะที่อธิการบดีเป็นอธิการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และ “น้องเทนนิส” เรียนในหลักสูตรปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต พวกเราชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และสถาบันในเครือฯ ต้องบอกว่าที่สุดฃองความภาคภูมิใจ “น้องเทนนิส” ก็ถือว่าเป็นลูกสาวคนหนึ่งที่ได้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ อันนี้คือ ฮีโร่เหรียญทองของเราในการแข่งขันโอลิมปิก 2020 ที่ผ่านมา


“น้องเทนนิสมีความเก่ง มีความเข้มแข็ง มีวินัยทั้งในด้านของการฝึกซ้อมกีฬา ซึ่งมีคุณพ่อเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจลูก มีวินัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมาก คณาจารย์ทุกท่านที่ได้พบได้สอนน้องเทนนิสจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น้องมีวินัยในทุกๆ เรื่อง น้องมีความตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จทุกเรื่อง ก่อนที่น้องเทนนิสจะเดินทางไปแข่งขันได้มาเรียนหนังสือได้มาเข้าชั้นเรียนได้เข้ามาคุยหารือกับอธิการบดี โดยมีคุณพ่อมาด้วย นั่งคุยกันว่าลูกมีความมั่นใจอย่างไร น้องเทนนิส กับ คุณพ่อบอกว่า มั่นใจเต็มร้อย จากที่คุณพ่อคอยดูแลลูก คอยให้กำลังใจ คอยสนับสนุนลูกจากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดมั่นใจเต็มร้อยครับท่านอธิการบดี น้องเทนนิสก็บอกมั่นใจเต็มร้อยค่ะท่านอธิการฯ และวันนี้น้องเทนนิสทำได้สำเร็จเป็นความภาคภูมิใจของอธิการบดี ของพวกเราชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และของคนไทยทั่วโลก อธิการบดีขอยินดีด้วย” อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กล่าว
นอกจากนี้ เรืออากาศตรีหญิง พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ พร้อมด้วย “คุณพ่อสิริชัย วงศ์พัฒนกิจ” มาร่วมสนทนาถ่ายทอดประสบการณ์ แนวคิด และการสร้างแรงบันดาลใจการเล่นกีฬาให้ประสบความสำเร็จอย่างมืออาชีพผ่านระบบ ZOOM ให้กับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา อีกด้วย โดยมี จิรัฏฐวัฒน์ ศิริบุตร และ ณัฎฐา ชาญเลขา เป็นผู้ดำเนินรายการ


ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมแสดงความยินดีผ่านคลิปวิดีโอในโอกาสดังกล่าว โดยมี ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวง อว. ได้ร่วมแสดงความยินดีพร้อมเซอร์ไพรส์มอบเค้กให้แก่ “น้องเทนนิส” ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิด 8 สิงหาคมที่ผ่านมาด้วย ณ สถานีโทรทัศน์ BTU Channel มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

โควิดพ่นพิษส่งออกสะดุด “เฉลิมชัย"ปลุกตลาดภายในคิกออฟโครงการ “เกษตรกร Happy”เฟส2เร่งอัพราคาลำไย เงาะ ลองกอง พร้อมส่งทีม”เกษตรฯ.-พาณิชย์”ขึ้นเหนือทันที ตัวแทนชาวสวนขอบคุณฟรุ้ทบอร์ดมอบโครงการดีๆดูแลเกษตรกร

วันที่ 15 ส.ค.64 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)เป็นประธานการแถลงข่าว Live สดผ่าน facebook : คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Ecommerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดตัวโครงการ “เกษตรกร Happy” phase 2 เพื่อช่วยเกษตรกรชาวสวนลำไย เงาะ ลองกอง ในการขายผลไม้คุณภาพดี สดจากสวน ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงและเข้าขั้นวิกฤต จนทำให้มีการเพิ่มมาตรการล็อกดาวน์ทั้งในและต่างประเทศ ตลาดต่างประเทศมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นมากขึ้น ระบบขนส่งระหว่างประเทศเกิดความติดขัด ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน แรงงานและผู้ค้า รวมทั้งบริษัทขนส่งในประเทศติดโควิดเพิ่มมากขึ้น ผู้ส่งออกและล้งลดจำนวนลง ในขณะที่ผลไม้อยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพร้อม ๆ กัน ทั้งมังคุด เงาะ ลำไย และลองกอง เป็นต้น โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดนมีวัตถุประสงค์ คือ 1) รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทยภายในประเทศ 2) เพิ่มกิจกรรมการค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อระบบการค้าที่เป็นธรรม และ 3) ยกระดับราคา เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ภายใต้แนวคิด "คนกินยิ้มได้ เกษตรกรไทยแฮปปี้" และ "คนไทยไม่ทิ้งกัน"

และจากการดำเนินโครงการ “เกษตรกร Happy” phase 1 ในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมังคุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งกระทรวงเกษตรฯ.กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กรมประชาสัมพันธ์ ททบ.5 กองทัพบก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, บริษัท แกร็บ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด, เครือข่ายร้านธงฟ้า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Ecommerce คณะกรรมการธุรกิจเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะสื่อมวลชนทุกแขนงที่ช่วยในการสื่อสารรณรงค์จนประสบความสำเร็จ และสามารถระบายมังคุดออกจากกลไกตลาดและรักษาเสถียรภาพราคาได้ในระดับที่น่าพอใจ

"ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันดำเนินโครงการเกษตรกร Happy ซึ่งในวันนี้เป็นการดำเนินโครงการเฟส 2 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่กำลังออกตามฤดูกาล ทั้งลำไย ลองกอง และเงาะ โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการในหลายมิติ ทั้งการรณรงค์บริโภคผลไม้ไทย การขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้อุดหนุนผลไม้ไทย และได้มอบ หมายปลัดเกษตรฯ ตั้งทีมกระจายผลไม้เฉพาะกิจ เพื่อประสานงานไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมอบให้นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีเกษตรเดินทางไปลำพูนและเชียงใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาลำไยร่วมกับนายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์และรองประธานฟรุ้ทบอร์ดระหว่างวันที่16-18สิงหาคม

สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออก ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานและเจรจากับประเทศคู่ค้า โดยไทยจะมีมาตรการตรวจสอบให้เข้มข้นขึ้น เพื่อให้ไทยสามารถส่งออกผลไม้ไปต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กระทรวงเกษตรฯ จึงพยายามเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นและง่ายที่สุด จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องหันมาบริโภคผลไม้ไทย และร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน" ดร.เฉลิมชัย กล่าว

ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งในตลาดโลกและตลาดภูมิภาค เช่น มีพื้นที่เพาะปลูกถึง 7 ล้านไร่ สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี ทั้งผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง และผลไม้แปรรูป ซึ่งในปี 2564 ได้ประมาณการว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 23% จากปีที่ผ่านมา จาก 4.4 ล้านตัน เป็น 5.4 ล้านตัน และถึงแม้ว่าเราจะเผชิญกับสถานการณ์การโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 กระทรวงเกษตรฯ ได้บริหารจัดการเชิงรุก
โดยได้เร่งพัฒนาการบริหารผลไม้จัดการทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิต การสร้างมาตรฐาน GAP/GMP การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ผลไม้ การบริหารโลจิสติกส์ ตลอดจนการตลาดสมัยใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ผลไม้สามารถครองแชมป์การส่งออก ด้วยอัตราการเติบโตสูงถึง 185% ทุเรียนส่งออกขยายตัว 172% และมังคุดเติบโตถึง 488% ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวม มีมูลค่า 71,473 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึง 59.8% นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี และเป็นการขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่องกัน แต่ย่างเข้าเดือนกรกฎาคมการระบาดของโควิด19เข้าขั้นวิกฤติส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลไม้ ฟรุ้ทบอร์ดจึงต้องปรับกลยุทธ์เพิ่มการบริโภคภายในประเทศ โครงการเกษตรกรแฮปปี้จึงเกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมช่องทางการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และทุกภาคีภาคส่วน เฟสที่1 เราสามารถช่วยชาวสวนมังคุดภาคใต้จนราคาขยับตัวเกินเป้าหมาย ภายในเวลาสัปดาห์เศษ จึงขอเชิญชวนให้มาช่วยกันซื้อ ลำไย เงาะ ลองกอง นอกจากจะได้รับประทานผลไม้ดี ๆ แล้วยังช่วยเกษตรกรฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกันภายใต้แนวทาง ”คนกินยิ้มได้ เกษตรกรไทยแฮปปี้” นายอลงกรณ์ กล่าว 

ทางด้านตัวแทนเกษตรกรชาวสวนลำไย เงาะและลองกองได้กล่าวขอบคุณฟรุ้ทบอร์ดที่ดูแลช่วยเหลือชาวสวนผลไม้มาโดยตลอดโดยเฉพาะโครงการเกษตรแฮปปี้เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์เชื่อว่าจะช่วยชาวสวนได้ในช่วงที่ราคาตกต่ำจากผลกระทบของโควิด19
 

สมุทรปราการ-ธารน้ำใจ 'พญาอินทรี’ มอบแด่ 'พระครูจาบ' วัดหนามแดง  ถวายถังดับเพลิง 20 ถัง เพื่อใช้ป้องกันอัคคีภัย

ที่ภายในวัดหนามแดง ต.บางแก้ว  อ.บางพลี  จ.สมุทรปราการ  นายสวัสดิ์  เจริญวรชัย  ประธานกรรมการบริหาร  บริษัท ลีดเดอร์ ไฟร์ เซฟตี้ จำกัด และผู้อำนวยการ ฝ่ายปฎิบัติการพญาอินทรีบรรเทาภัย ศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี  พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี เดินทางไปยังวัดหนามแดง  อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เพื่อนำถังดับเพลิง จำนวน 20 ถัง นำไปถวายให้กับท่าน พระครูวิทูรกิจจาทร (พระครูจาบ) รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหนามแดง  เพื่อใช้ป้องกันเหตุเพลิงไหม้  เนื่องจากก่อนหน้านี้เมื่อปลายปี 63 ที่ผ่านมา  วัดหนามแดงได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นกลางดึกภายในวัดโชคดีที่พระลูกวัดได้เห็นเหตุการณ์  และช่วยกันดับไฟไว้ได้ทัน  

และในการมอบถังดับเพลิงให้กับทางวัดหนามแดงในครั้งนี้  ทีมเจ้าหน้าที่พญาอินทรี  ได้มีการสาธิตวิธีการดับไฟพร้อมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจและวิธีปฎิบัติที่ถูกต้องแก่พระสงฆ์วัดหนามแดง  โดยสมมุติเหตุการณ์เสมือนเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นจริง หรือเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นภายในวัด

โดยนายสวัสดิ์ เจริญวรชัย กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มจิตอาสา 9 องค์กรด้วยกัน และได้ดำเนินโครงการนี้มานานหลายปี โดยที่ผ่านมาได้มีการนำถังดับเพลิงไปถวายให้กับทางวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไม่ต่ำกว่า 4,000 ถัง อีกทั้ง ตนเองได้ทำงานด้านจิตอาสามานานกว่า 47 ปี ตั้งแต่อายุ 16 ปี และได้ทำงานด้านจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคมมาโดยตลอด

เนื่องจากตนเองนั้น มองเห็นว่าปัจจุบันวัดส่วนใหญ่จะไม่มีอุปกรณ์ใช้ในการป้องกันเหตุอัคคีภัย บางวัดโทรแจ้งเหตุไปยังท้องถิ่นประสานขอรถน้ำมาทำการดับไฟ  แต่ก็อาจจะไม่ทันท่วงทีเนื่องจากระยะเวลาการเดินทางและการจราจร  โดยที่ผ่านมาวัดส่วนใหญ่ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้นั้นจะไม่มีถังดับเพลิง หรือ อาจมีจำนวนที่ไม่เพียงพอแต่หากทางวัดที่มีถังดับเพลิงติดตั้งอยู่ภายในวัด  และสามารถมองเห็นได้ชัดเจนก็จะสามารถนำมาใช้ระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ และอาจจะไม่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างหากเข้าใจวิธีการปฎิบัติอย่างถูกต้อง และเข้าใจวิธีแก้ไขเหตุเฉพาะหน้าจนนำไปสู่การดับไฟที่ถูกต้อง 


และในวันนี้ที่ทางศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี นำถังดับเพลิงมาถวายให้กับท่าน  พระครูวิทูรกิจจาทร (พระครูจาบ) รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหนามแดง จำนวน  20 ถัง เนื่องจากทางวัดแห่งนี้มีถังดับเพลิงไม่เพียงพอ  จึงมีความตั้งใจอยากจะร่วมทำบุญกับทางวัดหนามแดงแห่งนี้  อีกทั้งวัดมีพื้นที่เป็นจำนวนมาก  และมีอาคารที่เป็นไม้เก่า  อาคารส่วนใหญ่สร้างติดกัน

อย่างไรก็ตาม  การถวายถังดับเพลิงให้กับทางวัดหนามแดงในครั้งนี้ทางผมเองนั้นถวายให้ฟรี  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้ง ถังดับเพลิงของทางวัดที่มีอยู่  จำนวน  4 ถัง  ทางศูนพญาอินทรี  จะนำไปอัดน้ำยาเคมีให้ใหม่โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วยเช่นกัน  และในส่วนถังดับเพลิงที่นำไปใช้งานแล้วเกิดหมด  ทางศูนย์ของเราก็จะดำเนินการนำถังไปบรรจุก๊าชให้ใหม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน

โดยทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการติดตั้งถังดับเพลิงบริเวณพื้นที่โดยรอบของวัดและมองเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ ทางศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี ยังมีเจ้าหน้าที่ชำนาญการมาให้ความรู้และทำการสาธิตวิธีการดับไฟ รวมถึงการระงับเหตุเพลิงไหม้อย่างถูกต้องและถูกวิธีอีกด้วย

ส่วนสาเหตุที่ตนเองนั้นนำถังดับเพลิงมาถวายให้กับทางวัดหนามแดง  เนื่องจากว่ามีความเลื่อมใสศรัทธา ท่านพระครูจาบ  รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหนามแดง  ที่ได้เมตตารับเผาศพโควิดให้กับญาติโยม  ประกอบกับตนเองมองเห็นว่าทางวัดนั้นไม่มีถังดับเพลิงติดตั้งอยู่  จึงมีความห่วงใยและมีความตั้งใจที่จะนำถังดับเพลิงมาถวายให้กับทางวัดหนามแดงแห่งนี้ เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป

คิว-ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน

หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จบำเพ็ญกุศล เททองหล่อพระพุทธรูปประจำองค์ ทรงประทานถวายนามว่า ‘พระชัยอัปสรอุทัยกัญญา’

‘หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์’ ทรงกรุณาเสด็จบำเพ็ญกุศล ในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำองค์ ขนาดหน้าตัก 12นิ้ว เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหัวดอน ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
 
โดยประวัติ ‘วัดหัวดอน’ 
นามเดิมชื่อ ‘วัดศรีสมพร’ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ต่อมา 
เปลี่ยนชื่อวัดในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ตาม พรบ.ปกครองคณะสงฆ์ปี พ.ศ.๒๔๘๔ เปลี่ยนตามชื่อหมู่บ้าน คือ 
‘บ้านหัวดอน’ เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ จึงได้ชื่อว่า ‘วัดหัวดอน’ มาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๓ หมู่ 4 บ้านหัวดอนใหญ่ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ได้รับ ‘วิสุงคามสีมา’ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๕ มีอดีตเจ้าอาวาสคือ 
๑. พระมหาสุขุม (ไม่ทราบฉายา) 
๒. พระมหาหนู อกปญาโน 
๓. พระสุรศักดิ์ ผิวงาม 
๔. พระทอง (ไม่ทราบฉายา) 
๕. พระคำสา ผิวแดง 
๖. พระครูพนมธรรมกิต (หลวงพ่อทา) 
๗. พระครูปัญญาพัฒนคุณ (หลวงพ่อมาย) พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๕๕ 
๘. พระครูสังฆรักษ์สิรภพ ฐิตสีโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
 
ประวัติอ้างอิงในการสร้าง ‘พระชัยอัปสรอุทัยกัญญา’ 
ในอดีตเดิม ‘นายโพ’ เป็นนายตำรวจ ชาวอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ได้สมรสกับหญิงสาวชาวบ้านหัวดอน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยแต่เดิม ‘นายโพ’เคยบวชเรียนก่อนมารับราชการเป็นตำรวจ ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ‘นายโพ’ได้มีศรัทธารวบรวมของมีค่าที่สั่งสมมา และชักชวนชาวบ้านหัวดอนร่วมบริจาคทรัพย์สิน เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน เป็นต้น เพื่อรวบรวมไปหล่อองค์พระที่ ‘วัดโพธิ์เครือ’ บ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ซึ่งมี ‘พระครูสอน’ (ชาวไทญ้อ) เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีวิชาศิลปการช่างหล่อพระแบบโบราณ และมีวิชาอาคมแกร่งกล้ามาก เป็นที่เคารพนับถือในสมัยนั้น ผู้คนต่างพากันให้ความเคารพท่านมาก ในการนี้ท่านได้นำสิ่งของมีค่านำไปหล่อพระดังกล่าวในคราวนั้นสามารถหล่อพระได้ ๒ องค์ คือ (๑) องค์ขนาดใหญ่ หน้าตัก 14 นิ้ว ได้ถวายนามว่า ‘พระศรีสมพร’ (๒) องค์ขนาดเล็ก หน้าตัก 9 นิ้ว ถวายนามว่า ‘พระชัยอัปสร’ (พระชัยหลังช้าง ใช้แห่ในงานมงคลต่างๆ เช่น งานสงกรานต์) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองคำศิลปะล้านช้าง ซึ่งปัจจุบันพระสกุลช่างพื้นถิ่นของชาวไทญ้อ ปัจจุบันเหลือเพียง ‘พระศรีสมพร’ ส่วน ‘พระชัยอัปสร’ ได้หายไปตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว 

 

ปัจจุบันพระพุทธรูป ‘ศรีสมพร’ เป็นพระคู่ ‘วัดหัวดอน’ มาจนถึงปัจจุบัน และได้ถวายพระนามใหม่ว่า ‘สมเด็จพระนางพญาศรีสมพร’ มูลเหตุที่มีคำว่า ‘สมเด็จพระนางพญา’ นำหน้าชื่อพระพุทธรูป ‘ศรีสมพร’ เนื่องจากว่าปีที่สร้างพระศรีสมพรนั้นคือปี พ.ศ. ๒๔๗๕ นับเป็นปีประสูติของ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ’ ทางวัดจึงได้ขอถวายเป็นพระราชกุศล ได้ชื่อที่ไพเราะงดงาม ตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปองค์นี้ว่า ‘สมเด็จพระนางพญาศรีสมพร’ 
และ ‘พระชัยอัปสร’ นั้น ได้มีการเททองหล่อ หลังจากสร้าง ‘พระศรีสมพร’ ๑ ปี คือ พ.ศ.๒๔๗๖ แต่ปัจจุบันได้หายไปจาก ‘วัดหัวดอน’ ด้วยเหตุนี้ ‘พระครูสังฆรักษ์สิรภพ ฐิตสีโล’ เจ้าอาวาสวัดหัวดอนรูปปัจจุบัน จึงมีดำริกับชาวบ้าน คณะศรัทธาวัดหัวดอน มีความเห็นว่าควรจะหล่อ ‘พระชัยอัปสร’ ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่กราบไว้สักการะบูชา เป็นพระพี่ พระน้องคู่กันกับ ‘พระศรีสมพร’ จึงได้มีความเห็นชอบ ทำหนังสือขึ้นทูล ‘หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ‘ เชิญเสด็จเป็นองค์ประธานเททองหล่อ ‘พระชัยอัปสร’ เนื่องด้วยแต่เดิม ‘พระชัยอัปสร’ นั้น ได้เททองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ ซึ่งเป็นปีประสูติของ ‘หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์’ และขอประทานอนุญาตเชิญพระนามสถิตร่วมชื่อพระ โดยมีพระนามว่า ‘พระชัยอัปสรอุทัยกัญญา’ เพื่อเป็นศิริมงคล เป็นมิ่งขวัญ แก่ ‘วัดหัวดอน’ และชาวบ้าน พุทธบริษัทที่เข้ามาทำบุญแก่วัดหัวดอน สืบต่อกาลนาน
 
ท้ายนี้ขอเชิญร่วมทำบุญได้ที่ ‘พระครูสังฆรักษ์สิรภพ ฐิตสีโล’ เจ้าอาวาสวัดหัวดอน หรือโอนเงินที่ 103-1-75118-3 ธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี พระครูสังฆรักษ์สิรภพ จาริอุต
 
**อ้างอิงประวัติพระโบราณจาก 
๑) พระวิชัยธรรมคณี วิ. (หลวงพ่อเทพา) เจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ เจ้าอาวาสวัดเซกาเจติยาราม (พระอารามหลวง) เป็นผู้เล่าประวัติพระพุทธรูปโบราณ เป็นพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระพุทธรูปโบราณ 
๒) จากพระพุทธรูปสองพี่น้อง วัดศรีบุญเรือง บ้านเพีย อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร 
๓) ประวัติเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เครือมีพระครูสอนเป็นผู้เก่งกล้าในวิชาช่าง และอาคมในสมัยนั้น 
***พระครูสังฆรักษ์สิรภพ ฐิตสีโล เจ้าอาวาสวัดหัวดอน เป็นผู้เรียบเรียง ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราส่งมอบศูนย์พักคอย(โรงพยาบาลสนาม) ใต้ร่มพระบารมี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ให้แก่โรงพยาบาลพุทธโสธร 

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00 น. ณ โรงเรียนเทศบาล2 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นายกลยุทธ ฉายแสง นายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ  ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ร่วมส่งมอบ ศูนย์พักคอย (โรงพยาบาลสนาม)ใต้ร่มพระบารมี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ให้แก่โรงพยาบาลพุทธโสธร สำหรับรับผู้ป่วยระดับสีเขียวเข้ารับการดูแลตามมาตรการสาธารณสุข โดย แพทย์หญิง สมบัติ ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธรเป็นผู้รับมอบ

สำหรับศูนย์พักคอยใต้ร่มพระบารมี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนเทศบาล 2 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) สามารถรองรับผู้ป่วยโควิดระดับสีเขียว ได้จำนวน 185 เตียง โดยเทศบาลได้ทำการติดมุ้งลวดกันยุง พัดลมระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศ ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด ปรับปรุงห้องน้ำ ห้องอาบน้ำและซักผ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าพัก  ห้องจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้กักตัว  ห้องปฎิบัติการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างทีมแพทย์และผู้ป่วย รวมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในอาคารก่อนรับผู้ป่วย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  สำหรับศูนย์พักคอย(โรงพยาบาลสนาม) ใต้ร่มพระบารมี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา นี้จะอยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลพุทธโสธร เพื่อใช้รองรับและให้การดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่มีอาการไม่รุนแรง เข้ารับการรักษาพยาบาล เป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่ต่อไป


 

ตำรวจสันติบาล รับเรื่อง​ 'โค้ชเช'​ ขอสัญชาติไทย

กองบัญชาการตำรวจสันติบาล รับคำร้องขอแปลงสัญชาติของ 'นายยอง ซอก เช'​ หรือ 'โค้ชเช'​ โดยการยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นไปตามสิทธิและมีกระบวนการขั้นตอนพิจารณาตามกฎหมาย ว่าด้วยสัญชาติ 

(14 ส.ค. 2564)​ ที่กองบัญชาการตำรวจสันติบาล พลตำรวจตรี วรวัฒน์ อมรวิวัฒน์ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสันติบาล เปิดเผยกรณีนายยอง ซอก เช หรือ โค้ชเช (โค้ชกีฬาเทควันโด ทีมชาติไทย) อายุ 46 ปี สัญชาติเกาหลีใต้ ได้มายื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ต่อ พล.ต.ท.ธนพล ศรีโสภา ผบช.ส. ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมี พ.ต.อ.เอกพงษ์ กองนาค ผกก.ฝ่ายกฎหมายและวินัย บก.อก.บช.ส. เป็นเจ้าหน้าที่รับคำขอฯ ซึ่งทางฝ่ายโค้ชเช ได้เดินทางมาพร้อมกับ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทยและเรืออากาศตรีหญิง พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ( น้องเทนนิส ) นักเทควันโดหญิงทีมชาติไทย ที่เพิ่งได้รับเหรียญทองในการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2020 ณ ประเทศญี่ปุ่น

โฆษกกองบัญชาการตำรวจสันติบาล กล่าวว่า การจัดการคำขอครั้งนี้ ฝ่ายตำรวจจะดำเนินการตามขั้นตอนการร้องขอแปลงสัญชาติตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมาย โดยจากการตรวจสอบเอกสารของ นายยอง ซอก เช (โค้ชเช) มีคุณสมบัติเป็นไปตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้เพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 10 และ มาตรา 11(1) กรณีได้ทำความดี ความชอบ เป็นพิเศษ ต่อประเทศไทย (ด้านกีฬา) มีความครบถ้วน  ต่อจากนี้ จะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ที่ต้องประสานงานร่วมกับหน่วยต่างๆ ประกอบด้วย กองทะเบียนประวัติอาชญากร กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจสันติบาล  กองการต่างประเทศ นอกจากนั้นยังต้องประสานกับหน่วยงานนอกสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติบางหน่วยด้วยเช่นกัน อาทิเช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งการประสานตรวจสอบข้อมูลนี้จะมีระยะเวลาตามกรอบกฎหมายกำหนดประมาณ 99 วัน โดยหากหน่วยงานต่างๆ ส่งผลการตรวจสอบมาเร็ว บช.ส.ก็สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นก่อนกำหนดเวลา 

พล.ต.ต.วรวัฒน์ อมรวิวัฒน์ กล่าวต่อว่า หลังจากผ่านขั้นตอนการตรวจสอบที่กล่าวมาแล้ว บช.ส.ก็จะส่งเรื่องนำเรียนปลัดกระทรวงมหาดไทยเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป โดยจะมีการสัมภาษณ์โค้ชเช โดยคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการแปลงสัญชาติซึ่งมีรองอธิบดีกรมการปกครองเป็นประธาน ต่อด้วยการพิจารณาโดยคณะกรรมการเกี่ยวกับการพิจารณาสัญชาติ โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน พิจารณามีความเห็นเสนอต่อ รมว.มท. เมื่อ รมว.มท. ใช้ดุลยพินิจตามที่คณะกรรมฯ เสนอมีความเห็น แล้วจะเป็นขั้นตอนการนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตและมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา หากโค้ชเช ได้ผ่านการพิจารณาดำเนินการจนจบครบกระบวนการเหล่านี้ ก็จะมารับหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติที่ บช.ส และไปติดต่อสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ เพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนได้และถือเป็นประชาชนสัญชาติไทยคนหนึ่งโดยสมบูรณ์

หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จบำเพ็ญกุศล (เป็นการส่วนพระองค์)​ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2564

หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จบำเพ็ญกุศล (เป็นการส่วนพระองค์) ประทานผ้าห่มบูชาพระธาตุวังจาน และถวายผ้าไตรอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษา ในวัดที่ทรงอุปถัมภ์ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2564 

(14 ส.ค.64)​ หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงกรุณาเสด็จบำเพ็ญกุศล (เป็นการส่วนพระองค์) ณ วัดธาตุวังจาน ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม ซึ่งเป็นวัดที่ทรงรับไว้ในอุปถัมภ์ โดยจะเสด็จในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี เพื่อทอดพระเนตรความเจริญก้าวหน้าในการก่อสร้างถาวรวัตถุ และเยี่ยมพสกนิกรที่ช่วยทำนุบำรุงวัดนี้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรม โดยมี "พระครูสรวิชัย" เป็นเจ้าอาวาส

จากนั้นทรงอธิฐานจิตถวายผ้าห่มพระธาตุ แล้วทรงกรุณาให้ "ว่าที่ร้อยเอกวัฒนา คงคาน้อย" นายอำเภอปลาปาก พร้อมหัวหน้าหน่วยราชการเชิญห่มพระธาตุวังจาน เจดีย์คู่บ้าน คู่วัดปฐมฤกษ์สร้าง "วัดธาตุวังจาน" ตามที่มาของนามวัดแห่งนี้ จากนั้นทรงกรุณาถวายผ้าไตรอาบน้ำฝน แด่ "พระครูสรวิชัย" และพระสงฆ์ ผู้ปวารณาตนเข้าพรรษาในอาวาส "วัดธาตุวังจาน" แห่งนี้

ต่อมาทรงกรุณาให้ "นางสาวศุภพานี โพธิ์สุ" นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยคณะสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม / นายกเทศบาลเมืองนครพนม / นายกเทศบาลตำบลกุตาไก้ เฝ้ารับมอบประทานของที่ระลึก และร่วมสนทนาธรรม โดยทรงสนพระทัยการบริหารจัดการดูแลช่วยเหลือประชาชนในด้านสาธารณสุข, การหาวัคชีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19, การคัดกรองประชาชนเข้า-ออก พื้นที่ภายในจังหวัด ให้มีความเรียบร้อบ รอบคอบ เป็นไปตามระบบการจัดการตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณะสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สกพอ. รวมพลังกลุ่มสตรี อีอีซี ชลบุรี ส่งมอบถุงยังชีพเพื่อร่วมผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน

(14 ส.ค.64)​ นางสาวทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการ สกพอ. ร่วมกับ เครือข่าย สตรีอีอีซี ชลบุรี และ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จังหวัดชลบุรี (ทสม.) มอบถุงยังชีพจำนวน 200 ถุง เพื่อมอบให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งกำลังแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก

โดยภายในถุงประกอบด้วยสิ่งของที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยาสามัญ และเมล็ดพันธ์ุ

สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีผู้นำท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีร่วมบริจาคหน้าการอนามัย กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนตำบลหนองปลาไหลร่วมบริจาคสบู่ และสภาองค์กรตำบลหนองปลาไหลร่วมบริจาคน้ำ เป็นการร่วมพลังส่งกำลังใจให้ประชาชนในพื้นที่อีอีซี ได้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน โดยมีเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี เครือข่าย ทสม.ในพื้นที่ เป็นผู้นำไปมอบให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ธารน้ำใจ 'พญาอินทรี’ มอบแด่ 'พระครูแจ้' เจ้าอาวาสวัดดังบางพลี ถวายถังดับเพลิง 50 ถัง เพื่อใช้ป้องกันอัคคีภัย

ที่ภายในวัดบางพลีใหญ่กลาง ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ นายสวัสดิ์ เจริญวรชัย ประธานกรรมการบริหาร  บริษัท ลีดเดอร์ ไฟร์ เซฟตี้ จำกัด และผู้อำนวยการ ฝ่ายปฎิบัติการพญาอินทรีบรรเทาภัย ศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี  พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี เดินทางไปยังวัดบางพลีใหญ่กลาง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เพื่อนำถังดับเพลิง จำนวน 50 ถัง นำไปถวายให้กับท่าน พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (พระครูแจ้) เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง  เพื่อใช้ป้องกันเหตุเพลิงไหม้ พร้อมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจและวิธีปฎิบัติที่ถูกต้องแก่พระสงฆ์วัดบางพลีใหญ่กลางขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นภายในวัด

โดยนายสวัสดิ์ เจริญวรชัย กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มจิตอาสา 9 องค์กรด้วยกัน และได้ดำเนินโครงการนี้มานานหลายปี โดยที่ผ่านมาได้มีการนำถังดับเพลิงไปถวายให้กับทางวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไม่ต่ำกว่า 4,000 ถัง อีกทั้ง ตนเองได้ทำงานด้านจิตอาสามานานกว่า 47 ปี ตั้งแต่อายุ 16 ปี และได้ทำงานด้านจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคมมาโดยตลอด

เนื่องจากตนเองนั้น มองเห็นว่าปัจจุบันวัดส่วนใหญ่จะไม่มีอุปกรณ์ใช้ป้องกันเหตุอัคคีภัย และที่ผ่านมาวัดส่วนใหญ่ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้นั้นจะไม่มีถังดับเพลิง หรือ อาจมีจำนวนที่ไม่เพียงพอแต่หากวัดที่มีถังดับเพลิงติดตั้งอยู่ภายในวัดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนก็จะสามารถนำมาใช้ระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ และอาจจะไม่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างหากเข้าใจวิธีการปฎิบัติอย่างถูกต้อง และเข้าใจวิธีแก้ไขเหตุเฉพาะหน้าจนนำไปสู่การดับไฟที่ถูกต้อง และในวันนี้ที่ทางศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี นำถังดับเพลิงมาถวายให้กับท่าน  พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (พระครูแจ้)  เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง  มีจำนวน  50 ถัง โดยมีถังดับเพลิงขนาด 10 ปอน จำนวน 16 ถัง และถังดับเพลิงขนาด 15 ปอน จำนวน 34 ถัง นำมาถวายให้กับทางวัดฟรี  ดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้ง ถังดับเพลิงที่ทางวัดนำไปใช้แล้วเกิดหมดทางศูนย์ของเราก็จะดำเนินการนำถังไปบรรจุก๊าชให้ใหม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน

ในวันนี้ โดยทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการติดตั้งถังดับเพลิงบริเวณพื้นที่โดยรอบของวัดและมองเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ ทางศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี ยังมีเจ้าหน้าที่ชำนาญการมาให้ความรู้และทำการสาธิตวิธีการดับไฟ รวมถึงการระงับเหตุเพลิงไหม้อย่างถูกต้องและถูกวิธีอีกด้วย

ส่วนสาเหตุที่ตนเองนั้นนำถังดับเพลิงมาถวายให้กับทางวัดบางพลีใหญ่กลางแห่งนี้ เนื่องจากว่ามีความเลื่อมใสศรัทธา ท่านพระครูแจ้ เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง เนื่องจากตนเองได้สูญเสียมารดาที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และทางวัดบางพลีใหญ่กลางได้รับดำเนินการเผาศพมารดาของตนให้ฟรี โดยทางวัดไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ประกอบกับตนเองมองเห็นว่าวัดบางพลีใหญ่กลางนั้นไม่มีถังดับเพลิงติดตั้ง จึงมีความห่วงใยและมีความตั้งใจที่จะนำถังดับเพลิงมาถวายให้กับทางวัดบางพลีใหญ่กลางแห่งนี้ เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป

อย่างไรก็ตามหากวัดใดที่มีความประสงค์อยากมีถังดับเพลิงติดตั้งไว้ภายในวัดเพื่อไว้ใช้ประโยชน์ ไว้ใช้ป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดจากอัคคีภัย หรือไฟฟ้าลัดวงจร ทางศูนย์สู้ภัยพิบัติชาติ พญาอินทรี หรือบริษัท ลีดเดอร์  ไฟร์ เซฟตี้ จำกัด ก็พร้อมที่จะร่วมทำบุญถวายให้กับทางวัดฟรี และเข้าไปดำเนินการติดตั้งให้ฟรีอีกด้วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-306-8254 และ 086-336-7462 เบอร์โทรสำนักงาน 02-524-2227-9 (สวัสดิ์  เจริญวรชัย)


ภาพ/ข่าว  คิว-ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน

ผู้กล้าหนองคาย! ‘พรรคกล้า’ ผุด ‘ศูนย์กล้าดูแล’ ต่อเนื่อง เดินหน้าสร้างศูนย์พักคอย แยกกักตัวผู้ติดเชื้อ จ.หนองคาย

เปิดศูนย์กล้าดูแล แห่งที่ 7-10 ณ จังหวัดหนองคาย  -  ผศ.ดร.เอราวัณ ทับพลี ผู้อำนวยการพรรคกล้า กิตติพงษ์ ถิ่นศรี ผู้กล้าหนองคาย พร้อมด้วยทีมงานผู้กล้าจังหวัดหนองคาย พร้อมใจกันมาร่วมเปิด "ศูนย์กล้าดูแล" แห่งที่ 7 หมู่บ้านสมสะอาด ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย 
แห่งที่ 8 หมู่บ้านสวยหลง ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย
แห่งที่ 9 หมู่บ้านดาวเรือง ต.โพนสว่าง  อ.เมือง จ.หนองคาย         
แห่งที่ 10  อบต.นาข่า  อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย 



เพื่อให้ที่นี่ เป็นศูนย์พักคอย แยกกักตัวผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระดับสีเขียว ตัดวงจรระบาดในครอบครัวและชุมชน 

นอกจากนี้ ยังมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น

หากชุมชนใดสนใจ อยากจัดตั้งศูนย์พักคอย เพื่อคนในชุมชน สามารถติดต่อเราได้ เราพร้อมสนับสนุนเต็มที่ 



#พรรคกล้า#เรามาเพื่อลงมือทำ#สร้างสรรค์แต่ไม่ยอมจำนน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top