Sunday, 27 April 2025
CRIMES

ตำรวจ ปส.ทลายเครือข่ายไอซ์ข้ามชาติ ของกลางกว่า 1.1 ตัน

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร.(กม)/ผอ.ศอ.ปส.ตร., พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผช.ผบ.ตร./ ผอ.ศอ.ปส.ตร., พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผบช.ปส., พล.ต.ต.คมสิทธิ์ รังไสย์ ผบก.ปส.3, พล.ต.ต.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผบก.ปส.4, พล.ต.ต.พลัฏฐ์ วิเศษสิงห์ ผบก.สกส. และ พล.ต.ต.เอกภพ อินทวิวัฒน์ ผบก.ขส. ได้สั่งการให้สืบสวนหาข่าว เครือข่ายค้ายาเสพติดในทุกระดับ เพื่อจะตัดวงจรการลักลอบลำเลียงยาเสพติด รวมไปถึงจับกุม และขยายผลยึดทรัพย์เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ชั้นในและในชุมชน รวมทั้งส่งออกไปยังประเทศที่สาม เน้นย้ำ ในการสืบสวนหาข่าวเครือข่ายหน้าใหม่ รวมทั้งกลุ่มเครือข่ายเก่า ตามนโยบายเร่งด่วนของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ซึ่ง บช.ปส. ได้สืบสวนขยายผลจนนำมาสู่การจับกุมผู้ต้องหา 3 คดี รวมไอซ์กว่า 1 ตัน  

คดีแรก เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปส.4 ร่วมกับศูนย์วิเคราะห์ข่าวสงขลา บก.ขส. จับกุม 3 ผู้ต้องหา คือ 1.นายอาคม สุทธิโพธิ์ อายุ 27 ปี  ได้ที่ปั๊มน้ำมัน PT สาขาท่าแค ถ.เพชรเกษม ต.ท่าแค อ.เมือง จว.พัทลุง 2.น.ส.แหม่ม หมื่นบำรุง อายุ 32 ปี และ 3. น.ส.ชญาดา หมื่นบำรุง อายุ 35 ปี จับกุมได้ริมถนนสาย 41 ระหว่าง กม.128-กม.129 อ.ไชยา จว.สุราษฎร์ธานี  หลังพบว่าเมื่อวันที่ 16 ม.ค.66 กลุ่มผู้ลักลอบจะลำเลียงยาเสพติดจากพื้นที่ภาคกลาง นำไปส่งให้กับขบวนการค้ายาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้านทางภาคใต้ และพบรถของกลาง 3 คัน หนึ่งในนั้นบรรทุกสินค้าทางการเกษตรมาเต็มคัน ขับตามกันมา กระทั่งรถบรรทุกสินค้าจอดแวะที่ปั้มพีที สาขาท่าแค อ.เมือง จว.พัทลุง ตำรวจจึงแสดงตัวขอตรวจค้น พบนายอาคม สุทธิโพธิ์ เป็นผู้ขับขี่  สารภาพว่า มียาเสพติดซุกซ่อนปะปนมากับสินค้าทางการเกษตรเพื่อใช้อำพรางการตรวจค้น ส่วนรถอีก 2 คัน จับกุมได้บริเวณริมถนนสาย 41 ในพื้นที่ ต.ป่าเว อ.ไชยา จว.สุราษฎร์ธานี ตรวจยึด ไอซ์ 688 กก., รถยนต์กระบะ 3 คัน ซึ่งใช้ซุกซ่อนยาเสพติดอำพรางมากับผลผลิตทางการเกษตร และ โทรศัพท์มือถือ จำนวน 3 เครื่อง สำหรับขบวนการนี้เป็นเครือข่ายขบวนการค้าไอซ์ข้ามชาติ มาจากทางภาคอีสาน ส่งต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อไปยังปลายทางประเทศที่สาม โดยมีขบวนการมารอรับยาเสพติดที่บริเวณชายแดน ซึ่งจะอาศัยช่วงเปิดประเทศ และประชาชนเดินทางท่องเที่ยว ประกอบกับระบบการขนส่งสินค้าเริ่มฟื้นตัวมากขึ้น เพื่อเตรียมลักลอบลำเลียงไปจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ปส.4 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.น.7 และเจ้าหน้าที่ ศรภ. กองบัญชาการกองทัพไทย จับกุม 4 ผู้ต้องหา คือ 1.น.ส.วรวรรณ หรือโรส นันทรุจินนท์ ที่หน้าร้านบิ๊กซี มินิมาร์ท ถ.เพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จว.สมุทรสาคร พร้อมของกลางไอซ์ 3.8 กรัม, ยาบ้า 100 เม็ด ก่อนขยายผลจับกุม 2.นายณัฐพงษ์ หรือณัฐ สมรรถบุตร ที่ ซ.จำเนียรสุข 3 ถ.เพชรเกษม แขวงวังท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พร้อมของกลาง ไอซ์ 64  กรัม, 3.นายณัฐวุฒิ หรือป็อก แสนเมือง และ 4.นายนัส หรือมอส วัจนลักษณ์ ที่ หมู่บ้านจรัญวิลล่า 3 ซอยบางแวก 37 แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อมของกลางไอซ์ 43.285 กก. และ ผงเมทแอมเฟตามีน 660 กรัม โดยเครือข่ายนี้จากการตรวตสอบพบมีการซื้อขายยาเสพติดกันผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ 

คดีที่ 2 เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 66 เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สกส.บช.ปส. และ บก.ขส. ร่วมกันจับกุม นายทวีชัย  แซ่ย้า อายุ 25 ปี ภูมิลำเนาอยู่ อ.เชียงของ จว.เชียงราย สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ได้ทำการสืบสวนและติดตามกลุ่มบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าม้ง ผู้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน/จัดหาคนรับจ้างลำเลียงเสพติด ติดต่อประสานกับกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลักลอบลำเลียงยาเสพติดประเภทยาบ้า และ ไอซ์ จำนวนมาก จากพื้นที่ภาคเหนือผ่านเข้ากรุงเทพฯ และ ปริมณฑล โดยจะลำเลียงยาเสพติดสู่ไปส่งมอบให้กับลูกค้าตามสั่งการของผู้ว่าจ้างในพื้นที่ จว.สตูล และออกไปยังประเทศที่ 3 จนกระทั่งวันที่ 19 ม.ค.66 เวลาประมาณ 20.00 น. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมสามารถติดตามจับกุมผู้ต้องหา ได้ที่บริเวณลานจอดรถห้างบิ๊กซี สาขาบ้านดู่ อ.เมือง จว.เชียงราย พร้อมตรวจยึดของกลาง (ไอซ์) จำนวน 10 กระสอบ น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม อยู่ในห่อชาสีเขียว วางบรรทุกอยู่ในห้องโดยสารด้านหลังผู้ขับขี่ รถยนต์ส่วนบุคคล ยี่ห้อ MAZDA BT50 สีดำ เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมทำการตรวจยึดของกลางทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อขยายผลติดตามออกหมายจับบุคคลที่หลบหนี บุคคลในเครือข่ายและ ยึดทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ต่อไป

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรหลอกลวงประชาชนในช่วงยื่นภาษีประจำปี

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ฉวยโอกาสใช้สถานการณ์ต่างๆ สร้างความน่าเชื่อ มาก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้...

ตามที่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาให้ประชาชนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ซึ่งมิจฉาชีพก็จะฉวยโอกาสในช่วงเวลาดังกล่าว แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ติดต่อไปยังประชาชนหลอกลวงด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ โทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงเป็นขบวนการ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) หรือส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกให้กดลิงก์แอดไลน์เพิ่มเพื่อน แล้วให้ติดตั้งโปรแกรมของกรมสรรพากรปลอม หรือแอปพลิเคชันกรมสรรพากรปลอม หรือให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงิน โดยอ้างเหตุผลต่างๆ เช่น เพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือแจ้งเตือนให้ท่านชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการคนละครึ่ง หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้ ผ่านแอปพลิเคชันกรมสรรพากรปลอมดังกล่าว นอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังมีการใช้สัญลักษณ์ของสรรพากร และเอกสารราชการปลอม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถืออีกด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแอบอ้างเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชาผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า รูปแบบการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวมิจฉาชีพจะใช้วิธีการเดิมๆ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องไปตามสถานการณ์ หรือวันเวลาให้เข้ากับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ เช่น ช่วงที่มีภัยพิบัติธรรมชาติ ก็อาจจะสร้างเรื่องมาหลอกรับเงินบริจาค หรือช่วงที่มีข่าวการชำระค่าปรับจราจร ก็จะสร้างเรื่องมาข่มขู่ว่าถ้าไม่ชำระจะถูกออกหมายจับดำเนินคดี มิจฉาชีพมักจะอาศัยความไม่รู้ ความโลภ ความกลัว ของประชาชนเป็นเครื่องมือในการหลอกลวง โดยยืนยันทุกคนทุกวัยสามารถตกเป็นเหยื่อได้หมด อย่างไรก็ตาม บช.สอท. ยังคงมุ่งมั่นปราบปราม กดดัน จับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย และขอฝากไปยังภาคประชาชนช่วยแจ้งเตือน ซึ่งกันและกัน หรือรายงานไปยังหน่วยงานรัฐ หากพบแอปพลิเคชันปลอม หรือลิงก์ปลอมน่าสงสัย เพื่อลดการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

'สำนักงานตำรวจแห่งชาติ' แถลงผลงานรอบ 3 เดือน ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล กวาดล้างอาชญากรรมอย่างเด็ดขาดและต่อเนื่อง

สืบสวนปราบปรามจับกุม คดียาเสพติด คดีออนไลน์ การพนัน อาวุธปืน สถานบริการ เพิ่มความเข้มในการคัดกรองและจัด
ระเบียบคนต่างด้าวฯ แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่

วันนี้ (20 ม.ค. 66) เวลา 11.00 น. ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะด้านการปราบปรามอาชญากรรมอย่างเฉียบขาด จริงจัง บังคับใช้ทุกมาตรการทางกฎหมาย ยังคงนโยบาย ผบ.ตร. ในการยกระดับการบริการประชาชน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน แก้ไขปัญหายาเสพติดทุกมิติ และอาชญากรรมออนไลน์ การพนัน อาวุธปืน สถานบริการ เพิ่มความเข้มในการคัดกรองและจัดระเบียบคนต่างด้าวผิดกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอแถลงผลการดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 – 31 ธ.ค.65 ดังนี้

1. ด้านการกวาดล้างอาชญากรรม
1.1 สถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม ทั่วประเทศ สามารถจับกุมได้ 221,205 คดี
1.2 การระดมกวาดอาชญากรรมในช่วงเทศกาลสำคัญ (APEC, ฟุตบอลโลก, ปีใหม่) จับกุมความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน วัตถุระเบิด และเครื่องกระสุน ทั้งสิ้น 11,811 คดี ผู้ต้องหา 10,450 คน จับบุคคลตามหมายจับคดีอาญาได้ 9,465 หมายจับ ผู้ต้องหา 9,255 คน จับกุมการลักลอบเล่นการพนันทายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก ผู้ต้องหา 12,245 ราย ยึดทรัพย์สินมูลค่ารวม 1,770,565,337 บาท และเงินทุนหมุนเวียน 11,202,398,188 บาท
1.3 กวาดล้างและจัดระเบียบ คนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ระดมกวาดล้างคนต่างด้าว Overstay ในห้วงวันที่ 1 ธ.ค.-13 ธ.ค.65 จับกุมได้ 7,886 ราย สถิติการจับกุมในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง 3,017 ราย, ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น 23 ราย และนำพาคนต่างด้าว

4 ราย สถิติการดำเนินคดีในข้อหาตาม พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ (10 ประเภทความผิด) จำนวน 34 คดี จับกุมผู้ต้องหาได้ 64 ราย และช่วยเหลือผู้เสียหายได้ 91 ราย (ข้อมูลจาก ศพดส.ตร.)
1.4 โครงการประชาสัมพันธ์ เครือข่ายป้องกันอาชญากรรม
1.4.1 โครงการฝากบ้าน 4.0 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 มีประชาชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 8,583 ราย  เป็นการลงทะเบียนผ่านทางแอปพลิเคชัน 'ฝากบ้าน 4.0' จำนวน 7,190 ราย และลงทะเบียนผ่านการติดต่อกับสถานีตำรวจ  ในละแวกบ้าน จำนวน 1,393 ราย ขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า “สามารถลงทะเบียนฝากบ้าน 4.0 ได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะช่วงเทศกาล”
1.4.2 โครงการ Stop Walk and Talk เป็นการเก็บข้อมูลจากการหยุดรถตรวจพูดคุยกับประชาชน นำข้อมูลมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมก่อนเกิดเหตุ ซึ่งในการห้วงมีการประชุม APEC มีการบันทึกข้อมูลบุคคลที่พบปะพูดคุย จำนวน 593,621 ครั้ง
1.4.3 เพื่อนบ้านเตือนภัย ให้ประชาชนสามารถดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองได้ในขั้นต้น เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกัน
1.4.4 โครงการ 1 ตำรวจ 1 หมู่บ้าน พบปะทำความรู้จัก รับฟังปัญหาจากประชาชน แสวงหาความร่วมมือ ทำลายกระบวนการยาเสพติด ควบคุมและลดพฤติกรรมที่อันตราย ในระยะที่ 1 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจลงสู่ชุมชน จำนวน 1,365 ชุมชน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้ 203 คดี

2. ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
2.1 สถิติการจับกุมคดียาเสพติด จับกุมได้ 69,385 คดี ผู้ต้องหา 68,354 คน (ปริมาณของกลา ยาบ้า 93,118,132 เม็ด, ไอซ์ 77,246 กิโลกรัม, เฮโรอีน 36,861 กิโลกรัม เคตามีน 43,084 กิโลกรัม โคเคน 262 กิโลกรัม และ ยาอี 54,789 เม็ด)
2.2 โครงการค้นหา ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา และผู้ป่วยจิตเวช เพื่อนำเข้าสู่การบำบัดรักษา จำนวน 401,452 คน โดย แบ่งเป็น ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา จำนวน 350,056 คน ผู้สมัครใจนําเข้ากระบวนการบําบัดยาเสพติด จำนวน 106,937 คน ผู้ป่วยจิตเวชส่งเข้ารับการบำบัด จำนวน 51,396 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยจิตเวชสาเหตุจากยาเสพติด จำนวน 25,586 คน
2.3 โครงการชุมชนยั่งยืน ดำเนินการไปแล้วจำนวน 2,966 ชุมชน พบผู้เสพยาเสพติด จำนวน 28,164 คน ในปี พ.ศ. 2566 จะดำเนินการอีกจำนวน 1,483 หมู่บ้าน/ชุมชน นำเข้าสู่การบำบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment : CBTx)

3. ด้านการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
3.1 การแจ้งความออนไลน์ รับแจ้งความ 67,479 คดี ขยายผลและออกหมายจับจำนวน 321 Case ID จับกุมได้ 95 Case ID คิดเป็น 30% พบความเสียหายรวม 8,815,670,563 บาท อายัดบัญชีได้ 24,614 บัญชี อายัดเงินได้ 105,917,104 บาท
3.2 ความร่วมมือภาคีเครือข่ายและการประชาสัมพันธ์
3.2.1 บันทึกข้อความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติกับสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ  มีผู้แทนจากกระทรวงดิจิทัลฯ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย ปปง. ร่วมเป็นสักขีพยาน
3.2.2 โครงการสร้างภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Cyber Vaccine) อบรมครูแม่ไก่ 11 กองบัญชาการ รวม 116 นาย และ ครู ข.ไข่ จำนวน 29 กองบังคับการ
3.2.3 บันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับไปรษณีย์แห่งประเทศไทย จัดทำโปสเตอร์รูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพ จำนวน 2,000,000 แผ่น แจกจ่ายให้ประชาชนและสถานีตำรวจทั่วประเทศ
3.2.4 โครงการ แชทบอท@police1441 ผ่านแอปพลิเคชัน Line เพื่อให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแก่ประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
 
3.4 ปรับปรุงระเบียบกฎหมาย
3.4.1 ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ เสนอร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ..... เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
3.4.2 ร่วมเสนอร่างประกาศ ปปง. เรื่อง การจัดทำข้อมูลบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานและการฟอกเงินฯ เข้าสู่ระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงิน HR-03

4. ด้านการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ
4.1 Service Mind ปรับแนวคิดการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,484 สถานี เน้นการให้บริการดุจญาติมิตร รับรู้ แก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ ยกระดับการบริการทุกสายงาน เช่น สายตรวจต้องเข้าไปรับรู้ปัญหาของชุมชน (Stop Walk and Talk) พนักงานสอบสวนต้องแจ้งความคืบหน้าทางคดีให้ทราบ เป็นต้น
4.2 สำรวจความพึงพอใจประชาชน ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งประเทศ โดยมีที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการภายนอกเป็นผู้สำรวจจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวน 80,000 หมู่บ้าน ประชาชน 1 ล้าน คน ทำการสำรวจ 2 ครั้ง/ปี (ครั้งที่ 1 ในเดือน ม.ค.66 และ ครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ค.66)
4.3 การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ออนไลน์ (ผ่านระบบ JCOMS)  เปิดช่องทางให้ประชาชนได้มีโอกาสร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ JCOMS : www.jcoms.police.go.th และเว็บไซต์สำนักงานจเรตำรวจ : www.jaray.go.th หรือสแกนผ่านทาง QR Code ปัจจุบันมีการรับเรื่องร้องเรียน 1,851 เรื่อง แจ้งเบาะแส/ขอความช่วยเหลือ 1,261 เรื่อง รวม 3,112 เรื่อง

รวบแก็งกันน็อกแดงเขียวตระเวนลัก จยย.ทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑลส่งเอเยนต์ออกนอก

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เร่งรัดปราบปรามแก็งโจรกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ซึ่งตระเวนลักรถจักรยานยนต์ของชาวบ้านซึ่งจอดรถอยู่บริเวณที่พักอาศัยและแหล่งชุมชนในพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างหนักเป็นการสร้างความเดือดร้อนและกระทบการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไปอย่างรุนแรงเป็นวงกว้าง โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. IDMB รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากภาคประชาชนในพื้นที่ย่านพหลโยธินและย่านบางเขน กรุงเทพฯว่าในห้วงตั้งแต่เดือน พ.ย.65 จนถึงปัจจุบัน พบแก็งมิจฉาชีพโจรกรรมรถจักรยานยนต์สร้างความหวาดวิตกกังวลแก่เจ้าของและ ผู้ครอบครองรถจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงได้สั่งการให้ บก.สส.บช.น. เร่งรัดออกสืบสวนปราบปราม

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา ประมาณ 12.00 น. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก สส.บช.น. จึงได้สั่งการให้ชุดลาดตระเวนออนไลน์ประกอบด้วย พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สืบสวน 1 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ต.พิสิทธิ์ เตชะ สว.กก.1 บก.สส.บช.น. และ ด.ต.อุทัย กิ่งแก้ว ผบ.หมู่ กก.สส.1ฯ ลงพื้นที่สืบสวน หาข่าว และติดตามพฤติกรรรม เบาะแสและแผนประทุษกรรมของกลุ่มคนร้ายซึ่งก่อเหตุในคดีนี้ โดยพบว่า คนร้ายเป็นชายวัยรุ่นจำนวน 2 ราย ขับรถจักรยานยนต์ตระเวนออกลักรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีตำหนิพิเศษโดยคนร้ายทั้งสองมักจะใส่หมวกกันน็อกสีเขียวและสีแดงออกตระเวนลักทรัพย์ฯ เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้สืบสวนและจับกุมตัว

1.) นายเจษฏาพร หรือบอล ไพรเวหา อายุ 20 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 71/2566 ลงวันที่ 12 มกราคม 2566  
2.) นายธรรมนูญ หรือแบงค์ เลิศชัย อายุ 20 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.บาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 72/2566 ลงวันที่ 12 มกราคม 2566 
3.) นายพจน์ รุ่งแสง อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 121 ม.8 ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 

โดยกล่าวหาผู้ต้องหาที่ 1 และ 2 ว่า “ร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยใช้ยานพาหนะ เพื่อสะดวกในการกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป เพื่อให้พ้นการจับกุม” โดยกล่าวหาผู้ต้องหาที่ 3 ว่า รับของโจร
พร้อมยึดของกลาง
1. รถจักรยานยนต์ที่ใช้ก่อเหตุจำนวน 2 คัน
2. รถจักรยานยนต์ที่ลักมาจำนวน 2 คัน
3. รถจักรยานยนต์จำนวน 6 คัน จากการตรวจสอบพบว่าได้แจ้งหายในพื้นที่ กรุงเทพฯ
3. เสื้อผ้า หมวกกันน็อก
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อเหตุรวมทั้งสิ้นกว่า 25 รายการ

จับกุมได้ที่ห้องพักเลขที่ 306 , 309 บ้านเลขที่ 29/44 แขวงคูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

ตำรวจ ปส. รุกหนักเด็ดปีกนักบิน 3 เครือข่าย สกัดยาบ้ากว่า 15 ล้านเม็ด

เมื่อวานนี้ (17 ม.ค. 66) ที่ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด แถลงข่าวจับกุม 3 เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง โดยภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร.(กม)/ผอ.ศอ.ปส.ตร., พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผช.ผบ.ตร./รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร., พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผบช.ปส., พล.ต.ต.คมสิทธิ์ รังไสย์ ผบก.ปส.3, พล.ต.ต.พลัฏฐ์ วิเศษสิงห์ ผบก.สกส. พ.ต.อ.กฤษดา ศรีอิสาณ ผกก.2 บก.ปส.3, พ.ต.อ.ไพฑูรย์ งามลาภ ผกก.1 บก.สกส. และ พ.ต.อ.บุญส่ง สนธยานนท์ ผกก.3 บก.สกส.  ตำรวจ ปส. เร่งเดินหน้ากวาดล้าง จับกุม และขยายผลเครือข่ายค้ายาเสพติด รวมทั้งการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ชั้นในและในชุมชน และการทำลายเครือข่ายค้ายาเสพติดให้ครอบคลุมในทุกมิติการทำงาน เน้นย้ำ ในการสืบสวนหาข่าวเครือข่ายหน้าใหม่ รวมทั้งกลุ่มเครือข่ายเก่า ตามนโยบายเร่งด่วนของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.  

คดีแรก เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปส.3 บูรณาการร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง จับกุมนายใจ (สงวนนามสกุล) อายุ 45 ปี ได้บริเวณริมถนนทางหลวงชนบท หลักกิโลเมตรที่ 20 ต.เวียง อ.เทิง จว.เชียงราย ซึ่งก่อนจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปส.3 ได้รับแจ้งว่าเครือข่ายยาเสพติดกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง กับพวก มีพฤติการณ์ลำเลียงยาเสพติดจากพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย  เพื่อนำไปพักคอยในพื้นที่ อ.เทิง จว.เชียงราย ก่อนที่จะส่งต่อให้กับกลุ่มลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่พื้นที่ตอนในของประเทศ โดยใช้รถยนต์เก๋ง ยี่ห้อ ฮอนด้า ทะเบียน กพ 71X เชียงราย ซึ่งช่วงเช้าวันที่ 11 ม.ค.66 เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้เฝ้าติดตามจนได้พบรถยนต์ที่ได้รับแจ้งจริง และพบรถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า ทะเบียน บธ 78XX พะเยา ขับนำ รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่นวีโก้ สีเทา หมายเลขทะเบียน บน 98XX พะเยา (คนขับหลบหนี) และ รถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ ทะเบียน บน 31XX พะเยา (หลบหนี)  

สอบสวน ผู้ต้องหา อ้างว่า รู้จักกับ นายอ้าย อาศัยอยู่ในหมู่บ้านห้วยหาญ ม.9 ต.ปอ อ.เวียงแก่น จว.เชียงราย ว่าจ้างตน 20,000 บาท  ขับรถยนต์เก๋ง ยี่ห้อฮอนด้า ทะเบียน กพ-71X เชียงราย เพื่อดูต้นทางสำหรับลักลอบลำเลียงยาบ้า โดยจะมีชายไม่ทราบชื่อโดยสารรถคันดังกล่าวไปด้วย ก่อนจะเดินทางเข้าไปเปิดห้องพักที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง ห้อง A110 เพื่อรอกลุ่มลักลอบลำเลียงยาเสพติดอีกกลุ่มเดินทางมาถึง และขับรถดังกล่าวลำเลียงยาเสพติดไปตามเส้นทาง กระทั่ง นายใจฯ ถูกจับกุม เบื้องต้นตรวจยึดรถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน บน 98XX พะเยา (ใช้ในการลำเลียงยาเสพติด), รถยนต์เก๋ง หมายเลขทะเบียน กพ 71X เชียงราย (ขับนำคุ้มกัน สำรวจเส้นทาง), โทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง และอื่น ๆ อีกหลายรายการ  พร้อมตรวจยึดยาบ้าห่อหุ้มด้วยกระดาษสาสีขาว ประทับตราใบกัญชาและตัวหนังสือ ภาษาอังกฤษ DON’T WORRY BE HAPPY สีน้ำเงิน และ ยาบ้าห่อหุ้มด้วยกระดาษสาสีขาว ประทับตราเลข 999 สีน้ำเงิน เคลือบเทียนไขสีเหลืองอีกชั้นหนึ่ง ถูกซุกซ่อนในรถกระบะ รวมยาบ้าทั้งหมด 3,500 มัด จำนวน 7,000,000 เม็ด ทั้งนี้ได้แจ้งข้อหา “ร่วมกันกับพวกที่หลบหนีมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชนและทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป” 

คดีที่ 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สกส.และ บก.ขส. ได้ร่วมกันทำการจับกุมตัว นายมานพ (สงวนนามสกุล) ภูมิลำเนา ต.รวมไทยพัฒนา อ.พบพระ จว.ตาก ได้บริเวณป่าข้างทางริมถนนหมายเลข 33 หลัก กม.ที่ 52-53 ต.บางระกำ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา สืบเนื่องจากได้รับแจ้งจากสายลับว่านายมานพฯ กับพวก มีพฤติการณ์ ร่วมกันลำเลียงยาเสพติด จากพื้นที่ทางภาคเหนือ ไปส่งมอบให้กับลูกค้า ในพื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งในวันที่ 10-13 ม.ค.66 จะใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ยี่ห้อ ISUZU รุ่น D-MAX สีเทา หมายเลขทะเบียน ผข 76XX พิษณุโลก และรถยนต์บรรทุก TOYOTA  สีเขียว หมายเลขทะเบียน 1ฒท 82XX  กรุงเทพมหานคร และรถยนต์ TOYOTA  สีดำ หมายเลขทะเบียน ขร 92XX เชียงใหม่ เป็นยานพาหนะที่จะใช้ในการนำทาง, สำรวจด่านตรวจ และลำเลียงยาเสพติดจำนวนมากจากพื้นที่ทางภาคเหนือ ไปส่งมอบให้กับลูกค้าในพื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล และพื้นที่ใกล้เคียง เจ้าหน้าที่จึงระดมกำลังสกัดกั้นตลอดเส้นทาง ถนนสายหลัก ถนนสายรอง และเส้นทางเชื่อมต่อที่คาดว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวจะใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงยาเสพติด ในเขตพื้นที่ จว.นครสวรรค์, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, ลพบุรี, สระบุรี, พระนครศรีอยุธยา กระทั่งเวลา 21.30 น. ของวันที่ 12 ม.ค.66 สามารถสกัดกั้นรถยนต์เป้าหมายทั้ง 3 คัน ไว้ได้ หลังพบวิ่งตามถนนเลียบคลองชลประทาน ทิศทางมุ่งหน้า อ.บางปะหัน จว.พระนครศรีอยุธยา แต่ระหว่างตรวจค้นจับกุม ผู้ขับขี่ รถยนต์ TOYOTA  สีดำ หมายเลขทะเบียน ขร 92XX เชียงใหม่ ได้อาศัยจังหวะเร่งเครื่องยนต์ขับหลบหนีไปได้ เบื้องต้น ตรวจยึดยาบ้า 604 มัด รวมจำนวน  1,208,000 เม็ด  และ ยึดรถกระบะ หมายเลขทะเบียน ผข 76XX พิษณุโลก (ใช้ขับนำทาง/สำรวจด่านตรวจ), รถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 1ฒท 8296 กรุงเทพมหานคร (ยึดได้ที่หน้าร้านหน้าสะดวกซื้อ ต.หัวไผ่ อ.มหาราช จว.พระนครศรีอยุธยา ผู้ต้องหาหลบหนี),โทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง พร้อมแจ้งข้อหา “จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า) โดยผิดกฎหมาย อันเป็นการกระทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป และก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน”

‘สืบสวน ตม.1 - สันติบาล’ บุกรวบแก๊งแรงงานเถื่อน พร้อมพบต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองถูกกักขัง 7 ชีวิต

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ประกอบกับนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม.,พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.สรร พูลศิริ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม.และ พล.ต.ต.ปิยอนันต์ โตสกุลวงศ์ ผบก.ตม.1 

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ กก.สืบสวน บก.ตม.1 ได้บูรณาการกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล กก.3 บก.ส.2 ประชุมสืบสวน หาข่าวการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และความผิดอาญา จนได้รับข้อมูลเชิงลึก จากสายข่าว (ขอปกปิดนาม) ว่ามีคนต่างด้าวกลุ่มหนึ่ง ได้นำคนต่างด้าว สัญชาติ เมียนมา ชาย-หญิง จำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนและอาจมีการกักขังหน่วงเหนี่ยว ในสถานที่พักแห่งหนึ่งมีลักษณะเป็นห้องเช่าสองชั้นในเขตพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เมื่อเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้ข้อมูลตามแนวทางการสืบสวน จนสืบทราบว่าสถานที่นำคนต่างด้าวไปกักขังนั้น
อยู่ที่บ้านเช่าหลังหนึ่งใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จึงได้รายงานข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาทราบ 

พ.ต.อ.ระพีพัฒน์ อุตสาหะ ผกก.สืบสวน บก.ตม.1 จึงได้สั่งการให้ พ.ต.ท.สุริยะ พ่วงสมบัติ รอง ผกก.สืบสวน บก.ตม.1 (ชุดปฏิบัติการสืบสวน ๒) พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ สืบสวน บก.ตม.1 และเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล กก.3 บก.ส.2 ไปตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ทราบการกระทำความผิดตามอำนาจ หน้าที่ เมื่อไปถึงพบสถานที่พักดังกล่าวฯ ลักษณะเป็นห้องพักให้เช่าสูง 2 ชั้น ชั้นล่างมีห้องพัก 4 ห้อง ชั้นบนมีห้องพัก 5 ห้อง ซึ่งห้องพักเป้าหมายที่คาดว่าได้มีการนำคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมามาหลบซ่อนและกักขัง หน่วงเหนี่ยวคนต่างด้าวน่าจะอยู่บริเวณชั้นล่าง ซึ่งจากการสังเกตมีห้องพักห้องหนึ่งต้องสงสัยมีแม่กุญแจล็อกอยู่บริเวณด้านนอก แต่จากการสังเกตพบว่าด้านหน้าประตูมีรองเท้าวางอยู่หน้าห้องจำนวนหลายคู่และมีเสียงพูดคุยสำเนียงเป็นภาษาเมียนมาออกมาจากด้านใน คาดว่าน่าจะมีคนต่างด้าวถูกกักขังอยู่ด้านในห้องพักดังกล่าวฯ 

เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้เฝ้าสังเกตการณ์จนในเวลาต่อมาพบ นายชิ ทูย โช (Mr.Si Thu Soe) อายุ 45 ปี สัญชาติเมียนมา (ผู้ถูกจับที่ 1) และ นายขาน ไม โก โก (Mr.Chan Myae Ko Ko) อายุ 29 ปี สัญชาติ เมียนมา (ผู้ถูกจับที่ 2) (ทราบชื่อภายหลัง) ได้เดินมาที่ห้องพักและได้ใช้กุญแจไขห้องพัก เจ้าหน้าที่ ชุดจับกุมจึงได้แสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและได้แสดงบัตรประจำตัวให้ดูจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงให้เปิดประตูห้องพัก ปรากฎว่าพบคนต่างด้าว สัญชาติ เมียนมา 7 คน เป็นผู้ชาย 5 คน เป็นผู้หญิง 2 คน อยู่ภายในห้องพักดังกล่าว จากการสอบถามผ่านล่าม คนต่างด้าวชาวเมียนมาผู้เสียหายทั้ง 7 คน ได้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมว่า ถูกผู้จับที่ 1-2 เป็นผู้ร่วมกันนำคนต่างด้าวจำนวน 7 คน มาพักที่ห้องเช่าที่เกิดเหตุ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าคนต่างด้าวทั้ง 7 คนได้ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรทางช่องทางธรรมชาติเมื่อวันที่ 7 ที่รอยต่อชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อประมาณต้นเดือน ม.ค.66 เพื่อจะมาทำงานโดยคิดค่าดำเนินการรายละ 2,500,00 จ๊าด (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 40,000 บาท) แต่ผู้เสียหายมีเงินไม่พอ ผู้ถูกจับที่ 1 และ 2 จึงกักขังผู้เสียหายไว้ เป็นเวลา 9 วัน จนกระทั่งเจ้าหน้าชุดจับกุมมาพบ

พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. นำทีมชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจ ตรวจสอบการประกอบธุรกิจสลากออนไลน์กองสลากพลัส มุ่งแก้ไขปัญหาขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง

(16 ม.ค. 66) พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะ ประธานคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจสอบผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กำหนด เปิดเผยว่า

จากกรณีในปัจจุบัน ประชาชนประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กำหนดในสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกอบกับในสื่อออนไลน์มีข้อมูลปรากฏว่าในปีนี้ยอดขายสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของเอกชนมีจำนวนสูง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กำหนด เพื่อตรวจสอบการประกอบธุรกิจจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของเอกชน เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชน แก้ไขปัญหา ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม โดยมี พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นประธานคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจสอบผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กำหนดในสลากกินแบ่งรัฐบาล บังคับใช้กฎหมายและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้นำนโยบายรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ โดยได้สั่งการให้ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.ฐายุฎฐ์ จันทร์ถาวร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.นภันต์วุฒิ เลี่ยมสงวน ผบก.สส.ภ.8, พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ พ.ท.หนุน ศันสนาคม ผอ.สนง.สลากกินแบ่งรัฐบาล, ผู้แทน สคบ., สำนักงาน ป.ป.ง. และ กรมสรรพากร  พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สนธิกำลังเข้าตรวจค้นตามหมายค้นของศาลอาญากรุงเทพใต้ ณ บริษัท ลอตเตอรี่ออนไลน์ จำกัด (กองสลากพลัส) เลขที่ 555/57 อาคารเอสเอสพีทาวเวอร์ 1 ซอยสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม.

พล.ต.ท.ประจวบฯ กล่าวว่า สำหรับการเข้าตรวจค้นในครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ พงส. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) ว่ากองสลากพลัสมีพฤติกรรมเข้าข่ายขายสลากเกินราคาเกินกว่ากฎหมายกำหนด และมีสลากจำนวนมาก คาดว่าเกิดจากการกว้านซื้อ เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ยันยันว่ากองสลากพลัสไม่ได้รับสิทธิการเป็นตัวแทนจำหน่ายของรัฐบาล จึงได้มีการขอหมายค้นศาลอาญากรุงเทพใต้

ผบ.ตร.สั่งพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เร่งตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจและ DSI เรียกรับผลประโยชน์ กรณีค้นสถานรับรองจากสถานกงสุลนาอูรูประจำประเทศไทย

จากกรณีเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 65 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 191 ร่วมกับเจ้าหน้าที่  DSI ได้เข้าตรวจสอบบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่สน.ทุ่งมหาเมฆ ซึ่งมีการแอบอ้างว่าเป็นบ้านพักอดีตกงสุลนาอูรูประจำประเทศไทย แต่ภายในกลับมีคนจีนเข้าออกพลุกพล่าน หลังเข้าตรวจค้นตามหมายค้นของศาลแล้ว พบคนจีน 1 ราย พร้อมเงินสดจำนวน 2.5 ล้านบาท จึงได้ทำการตรวจยึดส่งพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ เพื่อทำการตรวจสอบ ต่อมาได้มีการร้องเรียนว่า มีเงินสดที่ได้จากการตรวจค้นหายไปจำนวนมาก และมีการเรียกรับผลประโยชน์แลกกับการช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวที่อยู่ในบ้านเพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม กรณีดังกล่าว พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว เนื่องจากเป็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ในทางทุจริต เพื่อทำข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวให้กระจ่าง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จึงได้สั่งการให้ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมและบุคคลที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวโดยด่วน รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ รวมรวมพยานหลักฐานประกอบตามกรณีดังกล่าว

จากการสืบสวนทราบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการสายตรวจ และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วยล่ามคนจีน ได้รับการประสานจากสถานกงสุลนาอูรูประจำประเทศไทยในกรณีที่ นายโอนาซิส ซานริค ดาเม่ อดีตกงสุลนาอูรุประจำประเทศไทย ได้เช่าบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. แต่กลับมีชาวจีนเข้าออกบ้านหลังดังกล่าวจำนวนมาก จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ เจ้าหน้าที่จึงได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาลเพื่อเข้าตรวจค้นบ้านหลังดังกล่าวในวันที่ 22 ธ.ค.65 ผลการตรวจค้นพบชาวจีน 2 คน พร้อมด้วยคนงานในบ้าน มีทั้งชาวไทย จีน และเมียนมาอีก 6 คน รวมทั้งพบสุราต่างประเทศ และบุหรี่ซิการ์จำนวนหนึ่ง และยังพบเงินสดไทยจำนวนประมาณ 8 ล้านบาท ซึ่งหนึ่งในชาวจีนดังกล่าวคือ นายเหมา เติ้ง เผิง เป็นผู้ต้องหาตามหมายแดงของตำรวจสากล ในกรณีเกี่ยวข้องกับแก๊งปลอมพาสปอร์ตสัญชาติหมู่เกาะมาแชลและประเทศนาอูรู แต่ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อแลกกับการปล่อยตัว โดยได้ให้ล่ามเป็นคนไปรับเงินจากตัวแทนของชาวจีนดังกล่าว ที่บริเวณปั๊มน้ำมันบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ จำนวนเงิน 4 ล้านบาท จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงได้ทำบันทึกตรวจยึดเงินสดจำนวนแค่ 2.5 ล้านบาท และส่งตัวน.ส.เซี่ยง หยาง ผู้ดูแลบ้านดังกล่าว พร้อมเงินที่ตรวจยึดให้พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ ดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งถูกดำเนินคดีในกรณีไม่พกพาหนังสือเดินทาง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 66 เจ้าหน้าที่สืบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานและขออนุมัติศาลออกหมายจับเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมของกองกำกับการสายตรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 16 ราย ประกอบด้วย

ผบ.ตร.เซ็นส่งสำนวนคดีนายตู้ห่าวกับพวก ให้อัยการสูงสุดพิจารณา มั่นใจพยานหลักฐานแน่นหนา เอาผิดเครือข่ายทุนจีนสีเทาได้

(13 ม.ค. 66) เวลา 9.30 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนวนคดีนายชัยณัฐร์ หรือตู้ห่าว กรณ์ชายานันท์ กับพวก เดินทางไปส่งสำนวนคดี 'ตู้ห่าว' ให้อัยการสูงสุด ณ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารแจ้งวัฒนะศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

ผบ.ตร.กล่าวว่า "คดีนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 26 ต.ค.65 ที่ บช.น. นำกำลังเข้าตรวจค้นผับจินหลิง พบและยึดยาเสพติด พร้อมอุปกรณ์การเสพหลายรายการเป็นของกลางพร้อมจับกุมตัวผู้ต้องหาที่มั่วสุมเสพยา และจำหน่ายยาเสพติด นำสง พงส. สน.ยานนาวา ดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อมาศาลได้ออกหมายจับนายตู้ห่าวกับพวก ในข้อหาร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดและสมคบ และแจ้งข้อหาเพิ่มเติมในข้อหาร่วมกันฟอกเงินและมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พร้อมทั้งขยายผลสืบสวนจับกุมบุคคลผู้เกี่ยวข้อง

คดีนี้เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องนอกราชอาณาจักร อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้กับตน เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบร่วมกันทำการสอบสวนกับ พงส. ในสังกัด 4 กองบัญชาการประกอบด้วย บช.น. บช.ก. บช.สอท. บช.ปส. และร่วมกับพนักงานอัยการทำการสอบสวนคดีนี้ บัดนี้การสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ทางคดีมีการสอบสวนพยานบุคคล 444 ปาก สืบพยานล่วงหน้า 20 ปาก ตรวจยึดทรัพย์สิน 5,345 ล้านบาท มีพยานเอกสาร พยานนิติวิทยาศาสตร์ และอื่นๆกว่า 67 แฟ้ม จำนวน 26,892 แผ่น  สอบสวนผู้ต้องหา ทั้งหมด 43 คน แบ่งเป็นบุคคลธรรมดา 38 คน นิติบุคคล 5 ราย 

ในส่วนของบุคคลธรรมดา 38 คน จับกุมดำเนินคดีแล้ว 20 คน ยังหลบหนี 18 คน ได้สั่งการให้เร่งรัดติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว ส่วนผู้ต้องหาที่เป็นนิติบุคคลอีกจำนวน 5 บริษัทแจ้งข้อหาดำเนินคดีแล้วเช่นกัน

'ตร.' รวบอดีตหนุ่มธนาคาร ปลอมแปลงเอกสาร ใช้ข้อมูลลูกค้าขอสินเชื่อบัตรเครดิต กดเงินใช้ส่วนตัว

(12 ม.ค. 66) พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ.สั่งการ พ.ต.อ.ภาดล จันทร์ดอน ผกก.5 บก.ปอศ., พ.ต.ต.วรวุฒิ คงรักษา สว.กก.5 บก.ปอศ. นำกำลังจับกุม นายณัฐพล (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 30 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 634/2565 ลงวันที่ 4 เม.ย. 2565 ข้อหา 'เอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย, ปลอมและใช้เอกสารปลอม, ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ และลักทรัพย์ผู้อื่น' ได้ที่หน้าตลาดสดคลองเตย ถนนพระราม 4 แขวงและเขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพฯ

จากการจับกุม เมื่อปี 2564 เจ้าหน้าที่ได้รับการร้องเรียนจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ว่ามีบุคคลนำเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น มายื่นสมัครขอสินเชื่อบัตรเครดิต ก่อนนำไปกดเงินสด จำนวน 38 ครั้ง ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย 494,300 บาท จึงทำการสืบสวนสอบสวนจนทราบว่าผู้ก่อเหตุดังกล่าว คือนายณัฐพล ผู้ต้องหารายนี้ จึงรวบรวมพยานหลักฐานขอศาลออกหมายจับ ก่อนเข้าจับกุมดังกล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top