Saturday, 17 May 2025
POLITICS

'ดร.สุวินัย' วิเคราะห์!! แผนบันได 5 ขั้น 'รัฐไทย' พิชิต 'เครื่องมือ' ขั้วมหาอำนาจเจ้าโลกเก่า

(13 ก.ค.66) ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Suvinai Pornavalai' ว่า...

จงอ่านเกมให้ขาด อ่านหมากให้ทะลุก่อน แล้วค่อยเลือกเถิดว่าจะสู้กับอะไร และสู้เพื่อใคร

- สถานการณ์ภาพรวมในขณะนี้ เราควรมองว่าเป็นการเผชิญหน้าระหว่าง พรรคก้าวไกลและมวลชนด้อมส้ม กับ อำนาจรัฐไทยโดยตรง

- ผมขออ่านหมากว่า กลยุทธ์ของรัฐไทย 2566 งวดนี้ น่าจะมาในมาด 'ดุดัน แข็งกร้าว พร้อมบวก' ซึ่งผิดจากท่าทีเมื่อปี 2553-2554 ตอนพวกเสื้อแดงเผาเมืองอย่างสิ้นเชิง 

- เหตุเพราะบริบทการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันแตกต่างกว่าเมื่อสิบกว่าปีก่อนมาก มีการเผชิญหน้ากันระหว่าง ขั้วมหาอำนาจเจ้าโลกเก่า กับขั้วมหาอำนาจเจ้าโลกใหม่ ... โดยที่ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งภูมิรัฐศาสตร์ที่มหาอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างต้องการดึงมาอยู่ในฝั่งตัวเอง ขณะที่รัฐไทยพยายามวางตัวเป็นกลาง แบบไผ่ลู่ลมจนถึงที่สุด

- พรรคก้าวไกล คือ เครื่องมือใหม่ล่าสุดที่ฝั่งขั้วมหาอำนาจเก่าต้องการใช้เพื่อคุมประเทศไทยให้อยู่ในอาณัติ เหมือนอย่างที่ได้ทำสำเร็จแล้วที่ประเทศฟิลิปปินส์ผ่านการเลือกตั้งครั้งล่าสุด จนทำให้ขั้วมหาอำนาจเก่าสามารถตั้งฐานทัพหลายแห่งในประเทศฟิลิปปินส์ได้อย่างชอบธรรม ตามยุทธศาสตร์เผชิญหน้ากับขั้วมหาอำนาจใหม่ของตน

- แต่ครั้งนี้ก้าวไกลน่าจะเจอตัวบทกฎหมายไทย และรัฐธรรมนูญไทย สั่งสอน อย่างหนักหน่วงกว่าในอดีต

- ถึงแม้พรรคก้าวไกลและพิธาจะรู้ดีว่า ตัวเองผิดอยู่แล้ว และคงแพ้ยับแน่ ในทางกฏหมาย  แต่เนื่องจากเป้าหมายของ กุนซือก้าวไกล นั้นมุ่งไปที่ ...

>> "ลากด้อมส้มลงถนน เพื่อให้โดนทางการปราบตามหน้าที่"  

พิธาและพรรคก้าวไกลจึงไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมอะไรทั้งสิ้น

- จังหวะการตอบโต้ของรัฐไทยในรูป "นิติสงคราม" คาดว่าน่าจะแบ่งได้เป็น 5 จังหวะ หรือ 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ...

(1) กกต. เป็นคนชงให้ศาลรัฐธรรมนูญเล่นงาน (ปัจจุบันคือขั้นตอนนี้)

(2) ยุบทั้งคน ยุบทั้งพรรค

(3) ลากลงคดีอาญา ถึงขั้นจำคุก

(4) ไล่กวาดพวกสื่อ อินฟลูฯ ในระดับทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่

หลังจากที่พลเอกประยุทธ์วางมือไปแล้ว จึงไม่มี '3ป' เป็นข้ออ้างทางวาทกรรมให้โจมตีว่าเป็น 'ฝั่งเผด็จการ' เหมือนก่อนหน้านี้แล้ว ... ความเข้มข้นของการกวาดล้าง อาจจะไม่รุนแรงเท่ากับที่จีนได้ทำใน 'โมเดลฮ่องกง' แต่มันจะขับเคลื่อนไปในทิศทางนี้แน่นอน

(5) ส่วนอีกฝ่ายคงตอบโต้ด้วย 'มวลชนจัดตั้ง' กับ 'กองทหารรับจ้างจากต่างชาติ' แน่นอน เพื่อสร้างสถานการณ์ให้แผ่นดินลุกเป็นไฟลามทั้งแผ่นดิน ... เพื่อบีบให้รัฐไทยออกโรงเต็มตัวในที่สุด

- การประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตนายกฯ วันที่ 13 กรกฎาคม ... มันคือบทละครฉากนึงเท่านั้น เพราะไม่ว่ามติจะออกมายังไง  ...

กุนซือก้าวไกลก็จะลากมวลชนด้อมส้มลงถนนอยู่ดี 

- การที่คนรุ่นใหม่รู้สึกเลือดพล่านต่อ 'สิ่งที่เป็นอยู่' นั้นผมพอเข้าใจ

แต่คนรุ่นใหม่ต้องใช้สมอง ใช้สติปัญญา อ่านหมาก อ่านเกมส์ให้ออกแบบเห็นป่าทั้งป่าด้วย

ด้วยความปรารถนาดี

‘เสรีพิศุทธ์’ ลั่น!! ‘กฎหมายสูงสุด’ ยังแก้ได้ แล้วทำไม ‘กฎหมายอาญา’ จะแก้ไม่ได้

(13 ก.ค. 66) พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย พูดอภิปรายในรัฐสภา วาระการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า…

“รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเราก็ยังแก้ได้ แล้วทำไมประมวลกฎหมายอาญาเราจะแก้ไม่ได้”

‘ส.ว.ประพันธ์’ กางข้อกฎหมายคุณสมบัติ ชี้ชัด ‘พิธา’ ขาดคุณสมบัติตั้งแต่ต้น

(13 ก.ค.66) ที่รัฐสภา นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อภิปรายต่อที่ประชุมรัฐสภา เพื่อคัดค้านชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ โดยระบุว่า นายพิธาเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 และ มาตรา 160 ประกอบกับมาตรา 98 (3) การเสนอชื่อดังกล่าวถือว่าขัดกับข้อบังคับข้อ 136

นายประพันธุ์ กล่าวด้วยว่ากรณีของนายพิธา ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยประเด็นสมาชิกภาพของนายพิธา ได้สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ลงรับในทางธุรการ และเตรียมเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาสัปดาห์ เป็นข้อเท็จจริงที่ปราศจากข้อสังสัยว่า นายพิธามีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 

“การพิจารณาของสภาฯ มีหน้าที่พิจารณาว่าหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อนายพิธานั้น เป็นการเสนอชื่อบุคคลที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและข้อบังคับหรือไม่และมีปัญหาคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ แม้มีคนแย้งว่าคำชี้ขาดของศาลไม่เป็นที่สุดจะพิจารณาแบบนั้นไม่ได้ แต่ผมมองว่าปัญหานี้ไม่จำเป็นต้องรอคำวินิจฉัย เพราะปัญหาคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. เป็นคุณสมบัติเดียวกันกับคนที่เป็นนายกฯ เป็นเรื่องที่วิญญูชน บุคคลทั่วไปวินิจฉัยได้ ไม่จำเป็นต้องถามศาล เพราะมีวิจารณญาณพิจารณาได้เองซึ่งท่านสามารถรู้ได้เองเหมือนกับว่าท่านจบ ม.6 หรือไม่” นายประพันธุ์ กล่าว

นายประพันธุ์ กล่าวด้วยว่า รัฐสภาไม่อาจรับชื่อของนายพิธาไว้พิจารณาลงคะแนนเสียงได้ เพราะคุณสมบัติขัดต่อกฎหมายและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ หากรัฐภาลงมติพิจารณา ย่อมขัดกับรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพราะคนที่พิจารณาย่อมถือว่ารู้อยู่แล้วว่าและจงใจทำผิดและฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับของการประชุมรัฐสภา หากดึงดันอาจจะถูกร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231(1) จงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ส่วนกรณีที่ ส.ว.จะลงมติอาจจะมีปัญหาต่อการทำผิดประมวลจริยธรรมเช่นเดียวกัน

‘ชัยธวัช’ ลั่น!! เป็นผู้แทนราษฎร ไม่ควรเมินเฉยต่อปัญหา - ต้องมีสำนึกมโนธรรม

(13 ก.ค. 66) นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล พูดอภิปรายในรัฐสภา วาระการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า…

“เรามีความสำนึกว่า ถ้าเมื่อไหร่เกิดปัญหาขึ้นในสังคม แล้วผู้แทนราษฎรทำเป็นมองไม่เห็น เราคงอธิบายตนเองไม่ได้ว่า เรายังมีมโนธรรมสำนึกในฐานะผู้แทนราษฎรอยู่ได้อย่างไร”

‘อลงกรณ์’ เสนอ 5 หลักคิดให้ ส.ว.โหวตนายกฯ หวังทุกฝ่ายยึดสันติวิธี หลีกเลี่ยงวิกฤติการเมือง

(13 ก.ค.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมีข้อความว่า…

บ้านเมืองของเรามาถึงทางแพร่งที่สำคัญในวันนี้ สืบเนื่องจากการเลือกตั้งเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว คือการโหวตเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยรัฐสภา

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกลในฐานะพรรคที่ได้รับเสียงเลือกตั้งอันดับ 1 และรวบรวมเสียงในสภาผู้แทนราษฎรรวมตัวเป็นกลุ่ม 8 พรรคการเมืองมีเสียงรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรจะได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศหรือไม่ ขึ้นกับการโหวตของสมาขิกรัฐสภาในวันนี้

สมาชิกรัฐสภา 750 ท่านประกอบด้วย…

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คนและสมาชิกวุฒิสภา 250 คนจะใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
1.สนับสนุน
2.ไม่สนับสนุน 
3.งดออกเสียง 

ผมเคยให้ความเห็นส่วนตัวว่า ในฐานะเป็นอดีต ส.ส.และสมาชิกรัฐสภา 6 สมัยได้เสนอข้อพิจารณาเป็นหลักยึดหลักคิดในการโหวต…

1. เคารพผลการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งคือ ความต้องการของประชาชน 

2. ยึดหลักการเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร พรรคที่รวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิ์และความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี

3. การออกเสียงลงมติของสมาชิกรัฐสภาเป็นเอกสิทธิ์

4. สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย เมื่อปวงชนชาวไทยคือประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยตรงไม่ผ่านระบบผู้แทนปวงชนชาวไทยแล้ว ผู้แทนปวงชนชาวไทยพึงเคารพการตัดสินใจของปวงชนชาวไทย โดยการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยมี 2 กรณีที่ใช้สิทธิอำนาจโดยตรงไม่ผ่านระบบผู้แทนฯ คือ การเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติ

5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองมีระบบพรรคที่ต้องปฏิบัติตามมติ ซึ่งเป็นระบบที่ถือปฏิบัติทุกพรรคการเมือง เช่น พรรคประชาธิปัตย์มีมติงดออกเสียง สมาชิกพรรคและผมต้องถือปฏิบัติในทางเดียวกัน ซึ่งต่างจากสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่สังกัดพรรค

ความเห็นของผมอยู่บนหลักการประชาธิปไตย ไม่เกี่ยวกับนายพิธาหรือพรรคก้าวไกล แต่เป็นการสนับสนุนหลักการที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น 

ไม่ว่าการโหวตนายกรัฐมนตรีจะปรากฏผลเป็นประการใด ผมยอมรับเพราะผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพียงหวังว่า สมาชิกวุฒิสภาผู้ทรงเกียรติและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีความรักชาติศาสนากษัตริย์จะตัดสินใจโหวตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีด้วยความเป็นอิสระไม่อยู่ใต้อาณัติใด ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ผมเพียงหวังที่จะเห็นการตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งเป็นไปโดยราบรื่นและรวดเร็วตามครรลองประชาธิปไตย

ประเทศของเราอยู่ในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและไม่ควรจะเกิดวิกฤติทางการเมืองมาซ้ำเติม

ทุกฝ่ายทั้งในและนอกสภารักประเทศชาติไม่น้อยไม่มากไปกว่ากัน อาจมีความเห็นที่แตกต่างกันแต่ไม่ใช่ความแตกแยก พึงเคารพความแตกต่างอย่างสันติวิธี

ประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยความเกลียดชัง และประเทศไม่สามารถสร้างขึ้นได้บนซากปรักหักพัง 

เรามีบทเรียนของวิกฤติทางการเมืองมาหลายครั้ง สูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อมาหลายครา ขอให้บทเรียนในอดีตเป็นอุทาหรณ์สอนใจเตือนสติทุกท่าน อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกเลย

‘อดิศร’ ชี้ ‘พิธา’ จบ Harvard MIT พูดอังกฤษดี สง่างามเมื่อออกงานในต่างประเทศ มั่นใจ!! ไม่เดินหลงธงชาติแน่นอน

(13 ก.ค. 66) ที่รัฐสภาฯ ในวาระการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวอภิปรายว่า…

"คุณพิธาจบ Harvard MIT พูดอังกฤษดีกว่าผมเยอะ เวลาพิธาไปที่ฝรั่งเศส ไปจับมือกับประธานาธิบดีมาครง ไปแคนาดา ไปจับมือกับประธานาธิบดีทรูโด ไปจีนจับมือกับสีจิ้นผิง ไปอเมริกาจับมือกับผู้เฒ่าไบเดน มันสง่างาม รับรองไม่เดินหลงธงชาติแน่นอนครับ"
 

‘หมอพรทิพย์’ โพสต์ ก่อนโหวตนายกฯ ชี้ วาระนี้ คงเป็นกรรมจัดการ ลั่น!! “รับใช้แผ่นดินมาทั้งชีวิต ขอทำหน้าที่จนกว่าชีวิตจะหาไม่”

(13 ก.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐสภา เตรียมประชุมวาระเลือกนายกฯ โดยประชาชนต่างสนใจการลงคะแนนของ ส.ว.ที่เป็นตัวแปรในครั้งนี้

โดย พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เป็น ส.ว.อีกหนึ่งคนที่ถูกจับตาตั้งแต่ประกาศผลการเลือกตั้ง

ซึ่งล่าสุด พญ.คุณหญิงพรทิพย์ ได้โพสต์อินสตาแกรม ระบุว่า…

“ทั้งชีวิตก็เลือกทำงานรับใช้แผ่นดิน ผ่านมาหลากหลายรัฐบาล ปากว่ารักชาติ รักแผ่นดินกันทั้งนั้น วาระนี้คงเป็นวาระกรรมจัดการ จะขอทำหน้าที่ให้ดีที่สุดจนกว่าชีวิตจะหาไม่”

‘พิธา’ มั่นใจ!! ตนยังมีคุณสมบัติ สมบูรณ์แบบทุกประการ ด้วยความชอบธรรม

(13 ก.ค. 66) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล พูดอภิปรายในรัฐสภา วาระการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า..

“ผมยังคงมีคุณสมบัติ สมบูรณ์แบบทุกประการ ด้วยความชอบธรรม”

‘นันทิวัฒน์’ ย้อนบทเรียนคดีถือหุ้นสื่อ ‘ธนาธร’ สู่ ‘พิธา’ ชี้ สะดุดตีนล้มเอง อย่าชวนคนลงถนนเพื่อปกป้องตนเอง

13 ก.ค. 66) นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘วิบากกรรม’ มีเนื้อหาระบุว่า...

วิบากกรรม

กรณีถือครองหุ้นสื่อ ทำไมนักการเมืองที่อยากเป็นนายกฯ มันถึงได้ทำผิดแล้วผิดอีก และมาจากพรรคเดียวกันเสียด้วย น่าสงสัยที่ปรึกษากฎหมายของพรรคนี้มืออ่อน ผู้นำพรรคทำผิดซ้ำซาก คุณธนาธรก็ทีนึงแล้ว ยังมาเจอคุณพิธาอีก วิบากกรรมจริงๆ

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้หยุดปฏิบัติหน้าไว้ก่อน ก็เป็นการหยุดปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส. ไม่ได้ตัดสิทธิในการถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ นอกจากถูกสมาชิกทักท้วงว่าทำไม่ได้ เพราะมาตรา 160(6) บัญญัติถึงคุณสมบัติคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี นายกฯ ถือว่าเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่ง ต้องไม่มีคุณสมบัติที่ขัดต่อมาตรา 98(3) ที่ห้ามถือหุ้นสื่อ มันย้อนกลับไปสู่คุณสมบัติต้องห้ามในการถือหุ้นสื่อ 

นั่นแสดงว่ารัฐธรรมนูญตั้งใจเขียนรัดเอาไว้ไม่ให้นักการเมืองถือหุ้นสื่อจริงๆ เพราะเขียนล้อ ผูกตรึง (โยง) กันไปหมด

คนที่อาสาจะมาเป็นผู้บริหารประเทศ เป็นถึงนายกรัฐมนตรีไม่น่าทำผิดแบบปลาตายน้ำตื้นขนาดนี้เลย มีอย่างที่ไหนมีหุ้นสื่ออยู่ในมือ (คงจะรวยมากจนจำไม่ได้ว่า มีสมบัติซุกไว้ที่ไหนบ้าง) กรณีคุณธนาธรไม่ทำให้ฉุกใจคิดบ้างเลยหรือ

อาสามาเป็นผู้นำประเทศนะครับ ไม่ใช่เล่นขายขนมครกนะ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ผู้นำต้องบริหารประเทศตามกฎหมาย เป็นนิติรัฐ

พลาดท่าเสียทีด้วยความสะเพร่าของตนเอง ไม่มีใครกลั่นแกล้งยัดหุ้นสื่อใส่มือคุณพิธาแน่นอน ไม่มีใครเตะตัดขา ไม่มีการสร้างหลักฐานเท็จ สะดุดตีนล้มเอง ไม่มีนิติสงคราม

คุณพิธาไม่ใช่คนแรกที่โดนคดีถือหุ้นสื่อ คุณธนาธรก็โดน และยังมีนักการเมืองอีกหลายคนที่ถูกถอดถอนและถูกตัดสิทธิทางการเมือง

คนที่จะมาเป็นนายกต้องรอบคอบ

อย่าชวนคนลงถนนเพื่อมาปกป้องตนเองเลย มันทำไม่ได้ ประการสำคัญคนที่อยากเป็นผู้นำต้องไม่พาคนไปตาย อย่าเหยียบศพเพื่อนเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำ

‘ชาดา ไทยเศรษฐ์’ ชี้!! อย่าหลงระเริงกับ 14 ล้านเสียง หากเป็นนายกฯ ต้องดูแลคนกว่า 60 ล้านคน

(13 ก.ค.66) ที่รัฐสภาฯ การประชุมร่วมกัน พิจารณาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายโหวต โดยในบางช่วงบางตอนระบุว่า…

“คนไทยไม่ได้มีแค่ 14 ล้าน คนไทยไม่ได้มี 25 ล้าน ท่านต้องเป็นนายกฯ ของคน 60 กว่าล้านคน เป็นนายกฯ ของประเทศไทย ไม่ใช่ของพรรคใดพรรคหนึ่ง ท่านอย่าหลงระเริงคำว่า 14 ล้านเสียง มันไม่ถึง 20% มันไม่ใช่เรื่องชี้ขาดของประเทศนี้”

‘วราวุธ’ ย้ำจุดยืน ไม่เลือกพรรคหนุนแก้ ม.112 ยัน!! ไม่กดดัน แม้ม็อบชุมนุมหน้ารัฐสภาฯ

(13 ก.ค. 66) ที่รัฐสภา นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของพรรคชาติไทยพัฒนา ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยคำร้องนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และพรรคก้าวไกล เข้าข่ายล้มล้างการปกครองว่า พรรคชาติไทยพัฒนายังยึดมั่นจุดยืนเดิมในเรื่องมาตรา 112 และมองว่าในที่ประชุมรัฐสภาวันนี้คงจะมีการถกกันในหลาย ๆ ความเห็น ส่วนจะให้ความเห็นชอบหรืองดออกเสียงนั้น พรรคชาติไทยพัฒนาต้องไปพิจารณากันอีกที 

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไม่สนับสนุนนายพิธาใช่หรือไม่ เพราะสนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 นายวราวุธ กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นเราคงต้องยึดตามจุดยืนเดิมของพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งแต่ละพรรคมีจุดยืนแตกต่างกันไป 

เมื่อถามว่า สถานการณ์วันนี้ควรเลื่อนการโหวตนายกฯ ออกไปก่อนหรือไม่ เพื่อรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีของนายพิธาก่อน นายวราวุธ กล่าวว่า ในที่ประชุมรัฐสภาคงมีการหารือกันในประเด็นนี้ ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไร ในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนามีเพียง 10 เสียงเท่านั้น คงต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ แต่หากจะโหวตกันวันนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะมองว่าในอนาคตหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเราก็เคารพคำวินิจฉัยของศาล แต่ในขณะเดียวกัน ก็เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นว่านายพิธาเองก็ถูกสังคมจับตามอง และมีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น ซึ่งเข้าใจในสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม คนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯ นั้นต้องมีความโปร่งใส และชัดเจนในระดับหนึ่ง เมื่อถามว่า จำเป็นต้องเลื่อนการประชุมรัฐสภาไปเป็นวันที่ 19 ก.ค.หรือไม่ นายวราวุธ กล่าวว่า คงต้องหารือกัน เพราะการจะประชุมรัฐสภา 750 คนไม่ใช่เรื่องง่าย 

เมื่อถามถึงการชุมนุมหน้ารัฐสภาของกลุ่มคนที่มาสนับสนุนนายพิธาในวันนี้ นายวราวุธ กล่าวว่า ถือเป็นการแสดงออกแบบหนึ่ง แต่การแสดงออกต้องเคารพสิทธิของประชาชนเสียงส่วนใหญ่ด้วย แสดงออกได้ แต่ต้องมีกรอบและแนวทางชัดเจน และไม่เลยเถิดไปประเด็นอื่น 

เมื่อถามว่า ทางพรรคชาติไทยพัฒนาและนายวราวุธได้รับแรงกดดันจากการชุมนุมหรือไม่ นายวราวุธ กล่าวว่า ตนอยู่การเมืองมาทั้งชีวิต โดนทั้งกดทั้งดันมาตลอด ฉะนั้น ไม่มีปัญหา แต่ตนเข้าใจความต้องการของประชาชนแต่ละฝ่ายว่ามีความต้องการเช่นไร การแสดงออกก็จะแตกต่างกันออกไป

‘อ.ไชยันต์’ ชี้!! ผู้ที่ใช้อำนาจข่มขู่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ใช้ชีวิตของประชาชนมาต่อรอง เป็น ‘มาเฟีย’ มากกว่า ‘นักการเมืองที่ดี’

(13 ก.ค.66) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

ถ้าการนำข้อกล่าวหาการขาดคุณสมบัติของนักการเมืองคนหนึ่งเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รัฐจะต้องมี ‘ราคาที่ต้องจ่ายสูง’

มันไม่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประชาชนทุกคนในประเทศนะครับ

คุณจะเป็นตัวอย่างของคนที่ไม่ยอมรับการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 

และใช้อำนาจอิทธิพลข่มขู่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งนำความสงบสุขในการทำมาหากินและใช้ชีวิตของประชาชนมาต่อรอง เป็นตัวประกัน

ผมว่าคุณเข้าข่าย ‘มาเฟีย’ มากกว่า ‘นักการเมืองที่ดี’

มติ กกต. 4 ต่อ 1 ดันส่งศาล รธน. ฟัน ‘พิธา’ ‘ปกรณ์’ หนึ่งเสียงค้าน หวั่นด้อมส้มมองไม่เหมาะสม

วันนี้ ( 12 ก.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณี กกต. มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อบริษัทไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น นั้นมีรายงานว่าบรรยากาศในการพิจารณา เรื่องดังกล่าวของที่ประชุม กกต. เป็นไปอย่างเคร่งเครียด ซึ่ง กกต. ทั้ง 5 คน เห็นตรงกันว่า บริษัทไอทีวีฯ ประกอบกิจการเป็นสื่อ หากมีการถือหุ้นก็จะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ทั้งมีการพูดถึงว่า หาก กกต. ไม่ส่งศาลธรรมนูญในวันนี้ ก่อนที่รัฐสภาจะมีการโหวตนายกรัฐมนตรี อาจจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ขัดกฎหมายมาตรา 157 จึงมีการลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 4 ต่อ 1 เสียง

โดย 4 เสียงประกอบด้วย 
1. นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต.
2. นายฐิติเชฎฐ์ นุชนาฏ 
3.นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ 
และ 4. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ 

ส่วน 1 เสียง ที่ไม่เห็นด้วยกับการส่งศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ คือ นายปกรณ์ มหรรณพ โดยนายปกรณ์ แสดงความกังวลต่อที่ประชุมว่า การที่ กกต. ส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในช่วงนี้อาจจะถูกมวลชนมองว่าการกระทำของ กกต. ไม่เหมาะสม และควรจะต้องมีสอบประเด็นอื่นเพิ่มเติม อาทิ ความเป็นเจ้าของหุ้นไอทีวี ว่านายพิธาเป็นเจ้าของหุ้นจริงหรือไม่ให้ชัดเจนกว่านี้ แม้ทุกคนจะเห็นตรงกันว่าไอทีวีเป็นธุรกิจสื่อก็ตาม

สำหรับ กกต. ที่ลงมติเรื่องนี้มีเพียง 5 คน เนื่องจากนายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี และนายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย พ้นจากตำแหน่งไปก่อน เพราะมีอายุครบ 70 ปี

‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ มีคำสั่งให้บุคคลผู้เกี่ยวข้อง ส่งหลักฐานเพิ่มรอบ 2 คดี ‘ศักดิ์สยาม’ ถือหุ้นบุรีเจริญ

(12 ก.ค.66) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ออกเอกสารข่าวเผยแพร่ผลการประชุมกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 หรือไม่ไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้นายศักดิ์สยาม ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยนั้น 

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้บุคคลที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำร้องดังกล่าว ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน จำนวน 54 คนได้ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่านายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี 2543 มาตรา 4 (1) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่

‘พิธา’ โอด!! กระบวนการเร่งรัด กกต.ไม่เปิดโอกาสให้ชี้แจง แต่กำลังใจยังดี ขอเข้าสภาฯ ตามเดิม ยันพร้อมแจงทุกข้อสงสัย

(12 ก.ค. 66) ที่รัฐสภา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีถือครองหุ้นสื่อว่า คิดว่ากระบวนการในวันพรุ่งนี้ (13 ก.ค.) ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง ต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ส่งกำลังใจมาให้เสมอ ตนยังกำลังใจดีอยู่

เมื่อถามว่า มีความกังวลหรือไม่ว่าจะถูกนำเรื่องดังกล่าวไปเป็นปัจจัยในการโหวตนายกรัฐมนตรีของสมาชิกรัฐสภา นายพิธา กล่าวว่า ไม่กังวล มองเป็นเรื่องปกติ คิดว่าวุฒิสภาจะแยกแยะได้ว่าแต่ละเรื่องเป็นอย่างไร และเรื่องที่ร้องไปก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นสื่อมวลชนที่หยุดไปนานแล้ว และตนถือในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้อง ซึ่งคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯก็ยังมีอยู่

เมื่อถามว่า การที่ กกต.ไม่ได้เรียกไปชี้แจงเลย มองว่าเป็นธรรมหรือไม่? นายพิธา กล่าวว่า รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม เท่าที่ฟังการแถลงเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยเอาไปเทียบเคียงกับคดีที่เป็นคดีเกี่ยวกับการกู้เงินของพรรค แต่นี่เป็นคนละรูปแบบกัน ดังนั้น ระเบียบของ กกต.ควรเปิดโอกาสให้ชี้แจง รวมถึงระยะเวลาถือว่าสั้น พอมานั่งคำนวณดูพบว่าเป็นเวลา 32 วัน ครึ่งหนึ่งของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ 1 ใน 10 ของรัฐมนตรีที่อยู่ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 4 คน ซึ่งบรรทัดฐานต่างกัน ก็เป็นสิ่งที่ดูว่าเร่งรัดเกินไป และเป็น 1 วันก่อนโหวตนายกฯ ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่ควรเกิดขึ้น แต่ตนยังเชื่อว่าเดินหน้าตามปกติ และตนยังสติดี กำลังใจดีแน่นอน ขอบคุณทุกคนที่ให้กำลังใจ

เมื่อถามว่า กังวลกระแสข่าวล็อบบี้ ส.ว.ไม่ให้โหวตให้หรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า ตนดูสภาพแล้วจากการที่มีการเคลื่อนไหวนอกสภาแบบนี้ แสดงให้เห็นว่าในสภามีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะไปถึง 376 เสียง จึงได้มีการใช้องค์กรอิสระข้างนอกหรือไม่ ตรงนี้เป็นการตั้งคำถามไว้ แต่เท่าที่เขาคุยกันในสภาพรุ่งนี้มีแนวโน้มที่ดี แต่พอมีแนวโน้มที่ดีก็มีกระบวนการเคลื่อนไหวนอกสภาหรือไม่อย่างไร ซึ่งตนก็ไม่รู้ แต่เป็นสิ่งที่เขาพูดกันในสภาฯ เฉยๆ

เมื่อถามว่า เหลือเวลาอีก 1 วัน จะโหวตเลือกนายกฯ แล้วเป็นห่วงอะไรมากที่สุด นายพิธา กล่าวว่า ยังไม่มีอะไรน่าห่วง คิดว่ากระบวนการยังเป็นไปตามปกติ และไม่ได้เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายแต่อย่างใด ก็สามารถบริหารจัดการได้ ในวันพรุ่งนี้ตนจะเข้าสภาตามปกติ ซึ่งในการอภิปราย 6 ชม. ตนจะตอบทุกข้อซักถามทุกข้อกังวลใจ พร้อมกับการแสดงวิสัยทัศน์ ไม่มีอะไรน่ากังวล


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top