Monday, 1 July 2024
TODAY SPECIAL

27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 วันสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง มหาวิทยาลัยเปิดเพื่อราษฎรแห่งแรก

27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 วันสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) (Thammasat University : TU) ชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งคือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)

ย้อนไปก่อนหน้านั้น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2476 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับเป็นมหาวิทยาลัยเปิดเพื่อราษฎรแห่งแรกตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรและ ดร.ปรีดี พนมยงค์ โดยหลักที่ 6 กล่าวว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”

ต่อมา วันที่ (27 มิถุนายน 2477) สมเด็จฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่ 7 เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสถาปนา โดยมี ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ กล่าวรายงาน

ในปีแรก มีผู้สมัครเรียน 7,094 คน

สำนักหอสมุดได้รับการก่อตั้งในปีเดียวกัน แต่เปิดให้บริการได้ครั้งแรก เมื่อปี 2479 เดิมเป็นแผนกตำราและห้องสมุด

พ.ศ. 2480 มีการตราข้อบังคับให้เปิดชั้นเตรียมปริญญา โดยกำหนดให้รับผู้สอบไล่ได้ชั้นมัธยมบริบูรณ์เข้าศึกษา 2 ปี เพื่อเตรียมคนเข้าศึกษาหลักสูตร “ธรรมศาสตร์บัณฑิต”

26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 วันเกิด พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก 

พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตามสันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวง อยู่ในพระราชวังหลัง บิดามารดาเลิกร้างกันตั้งแต่สุนทรภู่เกิด บิดาออกไปบวชที่วัดป่า ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดากลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง และได้ถวายตัวเป็นนางนม ของพระธิดาในกรมฯ นั้น  

ในปฐมวัยสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชวังหลัง และได้อาศัยอยู่กับมารดา สุนทรภู่ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลัง และที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักการแต่งกลอน ยิ่งกว่างานอื่น ครั้นรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้  

เมื่ออายุราว 20 ปี ได้ลอบรักกับหญิงสาวชาววังชื่อ "จันทร์" จึงต้องเวรจำทั้งชายหญิง เมื่อกรมพระราชวังหลัง ทิวงคตจึงพ้นโทษ ต่อมาจึงได้แม่จันทร์เป็นภรรยา แต่อยู่ด้วยกันไม่นานก็เกิดระหองระแหงคงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์  

สมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ ใกล้ชิด ระยะนี้สุนทรภู่ได้หญิงชาวบางกอกน้อย ชื่อ นิ่ม เป็นภริยาอีกหนึ่งคน ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุรา อาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษ เพราะความสามารถในทางกลอนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 สถานีรถไฟหัวลำโพง เปิดใช้งานวันแรก มรดกทรงคุณค่าจากในหลวง รัชกาลที่ 5

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในช่วงรัชสมัย ร.6 

สถานีรถไฟหัวลำโพง  เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็ว สถานีกรุงเทพ จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับหัวลำโพงตลอดมา ผ่านยุคสมัย นำมาซึ่งผู้คนที่เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานมากมายจากทุกทิศทั่วไทย มีส่วนทำให้ชุมชนเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวและเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเป็นสถานีชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน และเป็นต้นทางในการนำความเจริญออกไปทั่วประเทศไทยในทุกทิศ จากภาคกลาง สู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามเส้นทางรถไฟสายต่าง ๆ ที่สร้างครอบคลุมทั่วประเทศไทย ที่มาจากจุดกำเนิดเดียวกัน คือ สถานีกรุงเทพ 

แม้ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้นและแบ่งความเจริญไปบนเส้นทางถนนจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่ตลอดมา ตามบทบาทและตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจนถึงยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ยุครถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง อาจทำให้สถานีกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต แต่สถานีกรุงเทพ ยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไปในอนาคต และยังคงต้องอยู่กับคนไทย ไปอีกตราบนานเท่านาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟเพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 และได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพแห่งแรกที่อยู่บริเวณหลังอาคารกรมรถไฟหลวง ไม่สามารถรองรับการให้บริการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ กรมรถไฟหลวง จึงริเริ่มที่จะสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพที่มีความทันสมัย สวยงามเป็นศรีสง่าแก่พระนคร โดยมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ 

24 มิถุนายน พ.ศ.2475 วันเปลี่ยนการปกครองประเทศไทย ครบ 90 ปี การอภิวัฒน์สยาม สู่ ประชาธิปไตย

วันที่ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทย เพราะเป็นวันที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเช่นทุกวันนี้

สำหรับกลุ่มที่ทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนการปกครอง หรือ คณะราษฎรนั้น เกิดจากการประชุมของคณะผู้ก่อการ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษางานที่ทวีปยุโรป ที่หลายคนคุ้นชื่อก็จะมี ปรีดี พนมยงค์ ,ประยูร ภมรมนตรี ,แปลก ขีตตะสังคะ ทั้งหมดได้วางแผน ร่วมมือกันเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง โดยตกลงว่าจะใช้วิธีการ ยึดอำนาจโดยฉับพลัน หลีกเลี่ยงการนองเลือดแบบที่เคยเกิดขึ้นที่ฝรั่งเศส 

วันที่ (24 มิถุนายน 2475) แผนการก็ได้เริ่มขึ้น คณะราษฎรได้นำกองกำลังทหารบก ทหารเรือ มารวมตัวกันบริเวณรอบพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม หลังจากนั้นให้ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านคำประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 

โดยเนื้อหาหลักก็เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ประโยคหนึ่งที่เรามักเห็นตามข่าวบ่อย ๆ ก็มาจากเหตุการณ์นี้ ประโยคนั้นคือ

 “ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่หลอกลวง”

โดยใจความหลักก็เป็นการอธิบายถึงหลักการของคณะราษฎรในครั้งนี้ ว่าทำเพื่ออยากให้บ้านเมืองดีขึ้น และให้บ้านเมืองบรรลุเป้าหมาย 6 ประการได้แก่

1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
.
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่

5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เกิดจลาจลเผา รง.แทนทาลัม ที่ จ.ภูเก็ต จุดเปลี่ยนสำคัญจากพึ่งพาเหมืองแร่สู่การท่องเที่ยว

วันนี้ในอดีต (23 มิ.ย. 2529) ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นที่ จ.ภูเก็ต จากการที่ผู้ชุมนุมประท้วงจุดไฟเผาโรงงานแทนทาลัมจนวอดวาย ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกำหนด สุดท้ายต้องย้ายไปสร้างที่อื่น

ตั้งแต่สมัยโบราณมา ‘แร่ดีบุก' นับเป็นทรัพยากรสำคัญที่สร้างรายได้หลักให้กับภูเก็ตมาตลอด แต่ตั้งแต่ปี 2524 ราคาดีบุกในตลาดโลกเริ่มต่ำลง การค้าดีบุกจึงซบเซาพร้อม ๆ กับปริมาณ ‘ดีบุก' ที่มีการขุดพบลดลง

ในระหว่างที่อุตสาหกรรมการผลิตและการค้าดีบุกชะลอตัว ก่อนหน้านั้นชาวภูเก็ต ได้รับรู้และพบว่า 'ขี้ตะกรันดีบุก' หรือ ‘สะแหลกดีบุก' เป็นแร่ที่สามารถขายได้ในราคาดี เพราะมีแร่โคลัมไบต์–แทนทาไลต์ ซึ่งเป็นแร่ยุทธปัจจัยใช้สำหรับทำยานอวกาศหรือหัวจรวดนำวิถีและขีปนาวุธต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติพิเศษที่ทนต่อความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เสียดสีของอากาศได้สูงมาก แร่โคลัมไบต์–แทนทาไลต์ มีราคากิโลกรัมละ 60–70 บาทและเมื่อนำมาผ่านกระบวนการสกัดต่อจนได้ ‘แร่แทนทาลัม'จะมีราคาสูงกว่าแร่แทนทาไลต์หรือขี้ตะกรันดีบุกประมาณ 40-50 เท่า

เมื่อชาวบ้านทราบว่า 'ขี้ตะกรัน' เป็นของมีราคาจึงแตกตื่น ส่งผลให้บรรดานายทุนต่าง ๆ ยื่นประมูลต่อทางการขอขุดถนนเก่า ๆ ทุกสายในตัวเมืองภูเก็ต โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อขุดเสร็จแล้วจะสร้างถนนใหม่ทดแทน ส่วนบ้านที่ปลูกสร้างอยู่บนเตาถลุงที่มีขี้ตะกรันฝังอยู่มาก ๆ ก็จะถูกรื้อหรือทุบพื้นทิ้งเพื่อขุดเอาขี้ตะกรันดังกล่าวขึ้นมา ในขณะนั้นคนภูเก็ตสามารถทำรายได้จากการขุดขาย 'ขี้ตะกรันดีบุก'  หรือรับจ้างขุด สูงถึงวันละ 180 บาท 

ผลจากการตื่นตัวใน 'แร่แทนทาลัม' ส่งผลให้เกิดแนวคิดที่จะสร้าง 'โรงงานถลุงแทนทาลัม' ขึ้น โดยในวันที่ (28 ธ.ค. 2522) บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท โดยมีโครงการก่อสร้างโรงงานที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้รับใบอนุญาตให้สร้างโรงงานในปี 2526 จนก่อสร้างแล้วเสร็จ และคาดว่าจะเปิดดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2529 แต่โรงงานไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ เพราะประสบปัญหาการคัดค้านจากหลายภาคส่วนทั้งในระดับจังหวัดและประเทศอย่างรุนแรง เนื่องจากชาวภูเก็ตได้รับข้อมูลจากฝ่ายคัดค้านการเปิดโรงงานว่า โรงงานแทนทาลัมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ต จนนำมาสู่ความขัดแย้งแผ่ขยายตัว

22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ครบรอบ 150 ปี วันมรณภาพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

วันนี้ในอดีต (22 มิ.ย.2415) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก ‘สมเด็จโต’ ‘หลวงปู่โต’ หรือ ‘ขรัวโต’ พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มรณภาพ สิริอายุรวม 84ปี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง

สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" เนื่องจากเป็นเปรียญธรรมจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 วันเกิด ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นคนเชียงใหม่แต่กำเนิด เป็นบุตรคนสุดท้องของ "นายเลิศ ชินวัตร และ นางยินดี ระมิงค์วงศ์ " จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อเป็น "สิงห์ขาว" รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเมื่อจบการศึกษาได้เดินทางไปเรียนต่อปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ที่ประเทศอเมริกาจนจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคนตักกี้สเตท

เมื่อจบการศึกษาได้เริ่มทำงานในบริษัทครอบครัวที่บริษัทชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด ธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในฝ่ายการขายและการตลาด และช่วยงานในบริษัทของครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง และได้เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาดของเอไอเอส และประธานกรรมการบริหารบริษัทในตำแหน่งสุดท้าย ถือว่าเป็นน้องสาวที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีให้ความไว้วางใจในการบริหารธุรกิจในครอบครัวมากที่สุดคนหนึ่ง จนเมื่อกลุ่มเทมาเส็ก โฮลด์ดิงส์เข้ามาซื้อหุ้นเธอจึงลาออกจากตำแหน่ง

หลังจากนั้น ยิ่งลักษณ์เข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารเอสซี แอสเสท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของครอบครัว ก่อนที่จะเดินเข้าสู่เส้นทางการเมือง หลังจากเหตุชุมนุมทางการเมืองปี 2552 - 2553 ในปี 2554 รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาในเดือนพฤษภาคม เมื่อมีสัญญาณการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยต้องการแม่ทัพที่จะนำสู้ศึกเลือกตั้ง ชื่อของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรปรากฏในหน้าสื่ออีกครั้งในฐานะผู้ท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

20 มิถุนายน พ.ศ. 2309 รำลึกวีรกรรมชาวบ้าน ‘ค่ายบางระจัน’ ถูกกองทัพพม่าตีแตก ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2

วันนี้ เมื่อ 256 ปี ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ‘ค่ายบางระจัน’ ของชาวบ้านถูกตีแตกโดยกองทัพพม่า หลังต้านทานการเข้าตีได้หลายครั้ง 

‘ค่ายบางระจัน’ เป็นค่ายป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาหลบภัยจากกองทัพพม่าที่บางระจัน ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย

ปี 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกเข้ามาในขอบคัณธสีมาด้านด่านระแหงแขวงเมืองตาก โดยกวาดต้อนผู้คนตัดกำลังของกรุงศรีอยุธยาทางหัวเมืองเหนือ ในขณะที่มังมหานรธา ตีเข้ามาทางหัวเมืองใต้ สกัดกำลังจากชายทะเลทิศใต้ โดยหมายใจบรรจบเข้าที่กรุงศรีอยุธยา

ต้นเดือนมกราคม 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันเพื่อลุกขึ้นต่อสู้

ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน

19 มิถุนายน พ.ศ. 2446 ในหลวง ร.5 เสด็จฯ ทรงเปิดการเดินรถไฟ เส้นทาง ‘สถานีบางกอกน้อย-เพชรบุรี เป็นครั้งแรก

วันนี้ในอดีต วันที่ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2446) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดการเดินรถไฟ ในเส้นทางสายใต้ เป็นครั้งแรก ระหว่างสถานีบางกอกน้อย - เพชรบุรี ระยะทาง 150.49 กิโลเมตร

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง และขยายกิจการรถไฟ เพิ่มเติม โดยทรงมีพระราชดำริ ให้กระทรวงโยธาธิการ และกรมรถไฟ วางแผนงาน เพื่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ.2441 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ (8 กรกฏาคม 2442) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายนี้ เริ่มตั้งแต่ ปากคลองบางกอกน้อย ถึงเพชรบุรี เป็นทางกว้าง 1 เมตร ระยะทาง 150 กิโลเมตร แล้วเสร็จเปิดเดินรถได้ เมื่อวันที่ (19 มิถุนายน 2446)

ดังปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 20 ร.ศ. 122  “ด้วยการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟจัดสร้างทางรถไฟหลวงตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยไปเมืองเพชรบุรีนั้น บัดนี้การสร้างทางรถไฟสายนี้สำเร็จตลอดถึงเมืองเพชรบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการเปิดรถไฟสายนี้ เพื่อให้มหาชนโดยสารไปได้สะดวกต่อไป….”

18 มิถุนายน พ.ศ.2507 วันเปิดเรียนวันแรกของ ‘มหาวิทยาลัยเชียงใหม่’ มหาวิทยาลัยแห่งแรกในส่วนภูมิภาคของไทย

วันนี้เมื่อปีพ.ศ. 2507  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเรียนวันแรก โดยมี 3 คณะเริ่มต้น ได้แก่ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 700 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นับตั้งแต่มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ในที่สุดการเรียกร้องก็สัมฤทธิ์ผลก่อให้เกิดความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งแก่ชาวล้านนา

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น โดยกำหนดให้เปิดสอนในปีการศึกษา 2507 และให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเตรียมการจัดตั้ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top