Friday, 3 May 2024
TODAY SPECIAL

28 กันยายน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

ครบรอบ 105 ปี 'วันพระราชทานธงชาติไทย' เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

ประเทศไทยใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่จะมีกำเนิดและใช้มาอย่างไรไม่มีใครทราบแน่นอน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ที่เชิงอรรถแห่งหนึ่งของหนังสือ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ว่า “ธงสำหรับชาติไทยที่ใช้ในเรือ แต่ก่อนจะใช้ธงอย่างไร ข้าพเจ้าได้ตรวจค้นในหนังสือที่ฝรั่งแต่งไม่พบ มาพบในหนังสือจดหมายเหตุทูตไทยที่ลังกาทวีป เมื่อคราวพระอุบาลีออกไปให้อุปสมบทแก่ชาวสิงหล ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ ว่าใช้ธงพื้นแดงสีเดียว จึงเห็นว่าจะใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาแต่โบราณ”

พุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ธงสำหรับชาติสยามซึ่งได้ประดิษฐานขึ้นตามพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2459 นั้น ยังไม่เป็นสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรจะเพิ่มสีน้ำเงินแก่เข้าอีกสีหนึ่ง ให้เป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับกรุงสยามได้ใช้อยู่โดยมากนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องหมายให้ปรากฏว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสุขทุกข์ แลเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ ช่วยกันกระทำการปราบปรามความอาสัตย์อาธรรมในโลก ให้พินาศประลัยไป อีกประการหนึ่งสีน้ำเงินนี้เป็นสีอันเปนศิริแก่พระชนมวาร นับว่าเป็นสีเครื่องหมายเฉพาะพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรจะประกอบไว้ในธงสำหรับชาติด้วยประการทั้งปวง” โดยกำหนดดังนี้

27 กันยายน ของทุกปี ถือเป็นวันเกิดของ Google (กูเกิล) เสิร์ชเอ็นจิน อันดับ 1 ของโลก

27 กันยายน 2565 ครบรอบวันเกิด 24 ปี ของกูเกิล (Google) เว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) อันดับหนึ่งของโลก ที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี

กูเกิล ก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ (Larry Page) และเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Stanford University โดยบริษัทกูเกิลจดทะเบียนในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 แต่ทั้งสองคนเปิดตัวบริษัทของพวกเขาในโรงรถ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2541 ภายหลังจึงใช้วันที่ 27 กันยายนนี้เป็นวันเฉลิมฉลองวันเกิดกูเกิล

สำหรับที่มาของชื่อกูเกิล (Google) มาจากคำว่า Googol มาจากจำนวนทางคณิตศาสตร์ 1.0 × 10100 เพื่อแสดงถึงการรวบรวมข้อมูลมากมายมหาศาลในระบบคอมพิวเตอร์

แม้ว่าจุดเริ่มต้นจะมาจากการค้นหา แต่กูเกิลก็สร้างซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และสมาร์ตโฟน บางบริการปิดตัวลง แต่ส่วนหนึ่งก็ยังถูกใช้งานอย่างเป็นที่นิยม อาทิ

วันที่ 26 กันยายน 2430 หรือ เมื่อ135 ปีที่แล้ว ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นได้ลงนามในปฏิญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างญี่ปุ่นและไทย เริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย มีประวัติยาวนานหลายร้อยปี แต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการโดยการลงนามในปฏิญญาทางไมตรี และการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430

ที่ผ่านมาไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่น ความร่วมมือของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ ไทยได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับญี่ปุ่นให้พัฒนาไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ (strategic and economic partnership)

การเยือนสำคัญในระดับพระราชวงศ์ ที่สำคัญ คือในช่วงต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ เพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรี พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และหนึ่งในประเทศที่พระองค์เลือกเสด็จพระราชดำเนินเยือน คือ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2506

ในครั้งนั้น พระองค์ทรงเสด็จเยือนกรุงโตเกียว เมืองนาโงยา จังหวัดเกียวโต และนารา และฝ่ายญี่ปุ่นได้ถวายการต้อนรับ ด้วยการนำเสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงงานผลิตกล้องถ่ายรูป และวิทยุ เพื่อทอดพระเนตรเทคโนโลยีการผลิตของญี่ปุ่น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าฝ่ายญี่ปุ่นทราบถึงความสนพระราชหฤทัยของพระองค์เป็นอย่างดี

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่นในครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระราชไมตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ

25 กันยายน พ.ศ. 2537 น้ำป่าถล่ม ‘วังตะไคร้’ ฉับพลัน โศกนาฏกรรมกลืน 21 ชีวิต

วันนี้ เมื่อ 28 ปีก่อน เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของไทย เมื่อเกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากอย่างฉับพลัน ถล่มอุทยานแห่งชาติวังตะไคร้ จ.นครนายก ที่คร่าชีวิตผู้คนที่มาท่องเที่ยวในวันหยุดไปถึง 21 ราย 

ช่วงบ่ายวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2537 ขณะนักท่องเที่ยวพาครอบครัวลูกหลานมาเที่ยวชมธรรมชาติในวันหยุด ผู้คนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 400-500 คน ทั้งเด็กผู้ใหญ่กำลังสนุกสนานกับการลงเล่นน้ำ ท่ามกลางฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนัก ทันใดนั้นหตุภัยธรรมชาติจากน้ำป่าจำนวนมหึมาไหลเป็นคลื่นยักษ์ทะลักเข้าอุทยานแห่งชาติวังตะไคร้ ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก ชนิดที่ไม่มีใครได้ทันตั้งตัว 

เหตุการณ์ครั้งนั้น กลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของไทย มีผู้เสียชีวิตมากถึง 21 คน ที่ถูกกระแสน้ำสีแดงขุ่นอันเชี่ยวกรากพัดพาร่างหายไปกับน้ำ

ตามข่าวระบุว่า ในวันนั้นผู้คนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 400-500 คน ทั้งเด็กผู้ใหญ่กำลังสนุกสนานกับการลงเล่นน้ำ ท่ามกลางฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนัก

อย่างไรก็ดี ตามรายงานข่าวระบุว่า เบื้องต้นก่อนเกิดเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ได้รับการติดต่อจากฝ่ายต้นน้ำวังตะไคร้บริเวณเขาใหญ่ว่า มีมวลน้ำป่าขนาดใหญ่กำลังตรงไปทางจุดเล่นน้ำตกวังตะไคร้

ที่สุดเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติวังตะไคร้ได้ใช้จักรยานยนต์แจ้งเตือนนักท่องเที่ยวให้ขึ้นจากน้ำแล้วได้มีการเป่านกหวีดและเรียกให้นักท่องเที่ยวขึ้นมาจากน้ำ ซึ่งบางคนต่างงงว่าเกิดอะไรขึ้น

24 กันยายน ‘วันมหิดล’ วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

24 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย จึงถือเอาวันนี้เป็นวัน ‘มหิดล’ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ฯ

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรส-พระราชธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ดังนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”

23 กันยายน วันภาษามือโลก วันสำคัญสากลของคนพิการทางการได้ยิน สร้างความตระหนักรู้สิทธิคนในโลกเงียบ

วันภาษามือโลก หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า International Day of Sign Languages เป็นวันสำคัญสากลของคนพิการ ตรงกับวันที่ 23 กันยายน ของทุกปี

วันภาษามือโลกถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 23 กันยายน ของทุกปี ซึ่งถ้าย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1951 เป็นวันก่อตั้งสมาคมคนหูหนวกโลก หรือ WFD ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงเลือกวันที่ 23 กันยายน เป็นวันภาษามือโลก (International Day of Sign Languages) โดยปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการในงานสัปดาห์คนหูหนวกแห่งชาติ ซึ่งจัดในปี ค.ศ. 2018 นั่นเอง

จุดประสงค์ในการก่อตั้งวันภาษามือโลก เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษามือ รวมไปถึงเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสิทธิมนุษยชนของคนหูหนวกด้วย โดยข้อมูลจากสมาคมคนหูหนวกโลก (WDF) เผยว่า ปัจจุบันมีผู้พิการทางการได้ยินมากกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก และกว่า 80% อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา นั่นหมายความว่า มีภาษามือกว่า 300 ภาษาที่ใช้อยู่ตอนนี้ ซึ่งถือว่ามีความหลากหลายอย่างมาก และเราก็ไม่ควรมองข้ามภาษามือเหล่านี้

22 กันยายน พ.ศ. 2431 เปิดใช้รถรางครั้งแรกใน ‘สยาม’ปฏิวัติการเดินทางคนบางกอกสมัย ร.5

รถรางกรุงเทพ เป็นระบบรถรางในกรุงเทพมหานครเปิดให้บริการระหว่าง พ.ศ. 2431–2511 โดยถือเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ใช้ระบบรถราง และถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินรถอีกด้วย

ถนนสายแรกของประเทศไทย คือ ถนนเจริญกรุงที่เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2404 และเปิดให้ใช้สัญจรตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2407 พื้นของถนนใช้เพียงอิฐเรียงตะแคงทำให้เกิดความชำรุดอย่างรวดเร็ว ไม่สะดวกแก่รถม้า รถเจ๊ก และแม้แต่คนเดินเท้า ด้วยเหตุนี้ ชาวเดนมาร์กที่มีนามว่า จอห์น ลอฟตัส ได้ขออนุญาตต่อรัฐบาลทำสัมปทานการรถรางขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้นายจอห์น ดำเนินการได้ พิธีเปิดเดินรถรางเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431

โดยใช้ม้าลากไปตามราง โดยเป็นกิจการรถรางลากจูงด้วยม้าถึง 8 ตัว มีเส้นทางวิ่งระหว่างพระบรมมหาราชวัง บริเวณศาลหลักเมืองไปตามถนนเจริญกรุง ปลายทางอยู่ที่อู่ฝรั่งหรือบางกอกด๊อก (Bangkok Dock) หรือบริษัทอู่กรุงเทพ ยานนาวาในปัจจุบัน และในปีต่อมาก็ได้ขยายเส้นทางไปถึงถนนตก แต่ดำเนินกิจการได้ไม่นานก็โอนกิจการให้บริษัท บางกอก แทรมเวย์ คอมปะนี ลิมิเต็ด ภายหลังในปี พ.ศ. 2435 กิจการก็ถูกขายต่อให้กับบริษัทสัญชาติเดนมาร์ก (ไม่ทราบชื่อ) อีก โดยบริษัทหลังนี้ได้หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้าแทน โดยตกลงเช่ากระแสไฟฟ้าจากบริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด

21 กันยายน ‘วันประมงแห่งชาติ’ ยกย่องสนับสนุนคนทำอาชีพประมง พร้อมสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวประมงไทย

วันประมงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมง และเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย

'วันประมงแห่งชาติ' มีที่มาจากสหกรณ์ประมงจังหวัดสมุทรสาครทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ถึงนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ซึ่งคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีจึงได้คำสั่งให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบเรื่องต่อให้กับกรมประมงเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรง 

20 กันยายน ‘วันเยาวชนแห่งชาติ’ น้อมรำลึกวันพระราชสมภพ 2 ยุวกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

วันที่ 20 กันยายน เป็นวันพระราชสมภพของพระเจ้าแผ่นดินถึง 2 พระองค์ และทรงครองราชย์ในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ ทางการจึงกำหนดให้เป็น ‘วันเยาวชนแห่งชาติ’

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้ปีพุทธศักราช 2528 เป็นปีเยาวชนสากล และขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญ "Participation Development and Peace"

สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2528 กำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ โดยถือว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล อันเนื่องมาจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์ คือ

- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468

นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ยังขึ้นครองราชสมบัติขณะยังทรงพระเยาว์เหมือนกันอีกด้วย

19 กันยายน พ.ศ. 2542 ‘โรงงานอบลำไย’ ใน อ.สันป่าตอง ระเบิด คร่า 45 ชีวิต บ้านเรือนรัศมี 1 กม. พังราบ 

เหตุการณ์ระทึกขวัญครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปีของภาคเหนือเกิดขึ้นเมื่อโรงงานลำไยอบแห้งในจังหวัดเชียงใหม่เกิดระเบิดเสียงดังกึกก้อง ได้ยินในรัศมีกว่า 5 กิโลเมตร ส่งผลให้คนงานเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

โรงงานลำไยอบแห้ง ของบริษัท หงษ์ไทยเกษตรพัฒนาจำกัด ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งฟ้าบด ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหูกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอาคารโล่งชั้นเดียว ขนาด 30 คูณ 60 เมตร ไม่ก่อผนังเพื่อเปิดทางให้รถขนส่งลำไยเข้า-ออก ที่ดินเป็นของคนไทยรายหนึ่งแต่ได้เช่าให้ชาวไต้หวันเข้ามาทำกิจการโรงงานลำไยอบแห้ง

เวลาประมาณ 10.30 ของวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2542 เกิดระเบิดขึ้นดังสนั่นหวั่นไหวขึ้นสองครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน สร้างความตื่นตระหนกต่อชาวบ้านโดยรอบ ไม่นานจากนั้นเจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องเร่งนำรถดับเพลิงกว่า 20 คันมาช่วงฉีดน้ำและโฟมสกัดเพลิงไม่ให้ลุกลามถังน้ำมันดีเซลขนาด 5,000 ลิตร ระหว่างนั้นก็เกิดเสียงระเบิดดังเป็นระยะ ๆ กว่าเพลิงจะสงบก็เวลาประมาณ 12.30 น. ขณะที่ชาวบ้านจำนวนมากแห่มุงดูอยู่รอบที่เกิดเหตุนับพันคน

เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจสภาพความเสียหายของโรงงาน เบื้องต้นพบหลุมระเบิดลึก 3 เมตร กว้าง 28 เมตร โรงงานพังราบ เศษกระเบื้อง เศษปูน กระจายเกลื่อน ไม่เหลือเค้าโรงงานแม้แต่น้อย พบศพคนงานในสภาพร่างแหลกเหลวกระจัดกระจายเพราะแรงระเบิด ซึ่งทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของผู้ใด เบื้องต้นแยกเป็นศพเพศชาย 19 ศพ หญิง 1 ศพ และมีผู้บาดเจ็บสาหัส 40 คน แต่คาดว่ายอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะยังมีเศษซากศพที่ไม่สามารถระบุได้อีกจำนวนมาก

ไม่เพียงเท่านั้น ผลจากแรงระเบิดทำให้เกิดก๊าซที่เป็นอันตรายหากสูดดมเข้าไป และยังส่งผลต่อระบบนิเวศโดยรอบเนื่องจากผลจากปฏิกิริยาทางเคมีทำให้เกิดสารตกค้างที่ทำให้ดินเป็นกรด ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อชุมชนโดยรอบโรงงาน

ผลการสอบสวนพบว่าเกิดจากอุบัติเหตุซึ่งน่าจะอยู่ในขั้นตอนของการผสมปุ๋ยที่มีการผสมโพแทสเซียมคลอเรทกับกำมะถันลงไปในปุ๋ย เป็นไปได้ว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นในขั้นตอนการผสมปุ๋ย อาจเกิดประกายไฟหรือการกระแทกเสียดสีในเครื่องโม่ จึงก่อให้เกิดระเบิดขึ้นหนึ่งครั้ง จากนั้นเกิด SHOCK WAVE แรงอัดกระตุ้นให้เกิดระเบิดจากสารเคมีโพแทสเซียมคลอเรทที่เก็บไว้กว่า 4 ล้านตัน จึงเกิดระเบิดเป็นครั้งที่สองซึ่งรุนแรงกว่าครั้งแรกมหาศาล

โพแทสเซียมคลอเรทเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น รสชาติคล้ายเกลือ คล้ายดินประสิว ถูกกระแทกหรือเสียดสีอาจทำให้เกิดระเบิดได้ แต่เมื่อนำไปเป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิดอื่นอย่าง กำมะถันหรือถ่าน จะติดไฟ และเร่งปฏิกิริยาระเบิดได้ง่ายและรุนแรงขึ้น ซึ่งคุณสมบัติของสารตัวนี้สามารถนำมาใช้เร่งปฏิกิริยาให้ลำไยออกดอกนอกฤดู


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top