Friday, 29 March 2024
TODAY SPECIAL

19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ‘ไทย-ลาว’ หยุดยิงใน ‘สมรภูมิร่มเกล้า’ ความขัดแย้งจากข้อพิพาทเส้นแบ่งดินแดน

วันนี้เมื่อ 36 ปีก่อน ‘ไทย-ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน ‘สมรภูมิร่มเกล้า’ เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด

ทหารไทยได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ซึ่งไทยต้องเสียเครื่องบินรบแบบเอฟ-5 หนึ่งลำ และโอวี-10 อีกหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตทหารอีกนับร้อยนายในการศึกครั้งนี้

หลังการสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือด ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 นายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวในขณะนั้น ได้ส่งสาส์นถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น เสนอให้หยุดยิง พร้อมตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน และติดต่อสหประชาชาติให้ช่วยเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ซึ่งพล.อ.เปรมตอบรับ นำไปสู่การเจรจาและได้ข้อตกลงโดยทั้งสองฝ่ายจะหยุดยิงในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เวลา 08.00 น. และถอยจากแนวปะทะฝ่ายละ 3 กิโลเมตร

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ‘ไคลด์ ทอมบอห์’ ค้นพบ ‘ดาวพลูโต’ อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เป็นวันค้นพบ ‘ดาวพลูโต’ อดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกค้นพบโดย ‘ไคลด์ ทอมบอห์’

ดาวพลูโต (Pluto) เป็นอดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มีขนาดใหญ่และมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน ประกอบด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ ซึ่งวงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 4.4-7.4 พันล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์

ดาวพลูโตมีดาวบริวารที่ 5 ดวง ได้แก่ แครอน, สติกซ์, นิกซ์, เคอร์เบอรอส และไฮดรา ซึ่งในบางครั้งดาวพลูโตและแครอนถูกจัดเป็นระบบดาวคู่ เนื่องจากจุดศูนย์กลางมวลของวงโคจรไม่ได้อยู่ในดาวดวงใดดวงหนึ่งเฉพาะ ทำให้ไอเอยูยังไม่มีการให้คำนิยามของระบบดาวเคราะห์แคระคู่อย่างเป็นทางการ และแครอนกลายเป็นดาวบริวารของดาวพลูโตอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559

ชื่อของดาวพลูโตถูกตั้งขึ้นตามชื่อของเทพเจ้าแห่งยมโลก ซึ่งถูกเสนอโดยนักเรียนหญิงวัย 11 ปีในออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2473 โดยสมาชิกทุกคนได้ลงคะแนนให้ชื่อพลูโตทั้งหมดและได้ถูกประกาศในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2473

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ชื่อดาวพลูโตเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทำให้วอลต์ ดิสนีย์ได้รับแรงบันดาลใจ โดยเขาได้เสนอชื่อเพื่อนสุนัขของมิกกี้ เมาส์ว่า พลูโต

ทั้งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศลดขั้นของดาวพลูโตให้เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์แคระ จึงทำให้ระบบสุริยะเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวงเท่านั้น

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สิ้น ‘พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น’ ศิลปินแห่งชาติ ผู้อยู่เบื้องหลังสร้างพระเมรุ ‘สมเด็จย่า-พระพี่นาง-เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ’

วันนี้เมื่อ 11 ปีที่แล้ว 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 05.40 น. พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) สาขาย่อย สถาปัตยกรรม ประจำปี 2541 ในวัย 71 ปี ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งตับ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชอย่างต่อเนื่อง และญาติได้นำศพไปประกอบพิธีทางศาสนาที่ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พร้อมทั้งขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในเย็นวันนี้ เวลา 15.00 น. 

ทั้งนี้ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2485 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดราชโอรส เมื่อ พ.ศ. 2499 ต่อมาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนช่างศิลป และศึกษาสถาปัตยกรรมไทยจนได้รับปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมไทย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2507 ซึ่งในสมัยนั้นยังมิได้สถาปนาเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ดังเช่นปัจจุบัน

เมื่อจบการศึกษาและทำงานเป็นผู้ออกแบบเล็กๆ น้อยๆ กับสถาปนิกรุ่นพี่มาระยะหนึ่ง เห็นว่าไม่ค่อยมั่นคงจึงสมัครเข้ารับราชการเป็นสถาปนิกประจำกองทัพอากาศอยู่นาน 9 ปี จนติดยศเรืออากาศเอก โดยพลอากาศตรี อาวุธ ได้เคยเล่าเกร็ดชีวิตทหารให้ฟัง ในวันงานเลี้ยงเชิดชูเกียรติ โดยสภาสถาปนิกครั้งหนึ่งว่า

เป็นโชคร้ายหรือโชคดีก็ไม่ทราบ ที่ในเช้าวันหนึ่ง เกิดมองไม่เห็นทหารชั้นนายพลผู้บังคับบัญชาที่เดินสวนมา จึงไม่ได้ยืนตรงทำความเคารพ เลยถูกสั่งขังเสียหลายวัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ได้โอนมาเป็นนายช่างศิลป์ สังกัดกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2518 

เมื่อถึงปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบูรณปฏิสังขรณ์ ในกองสถาปัตยกรรมไทย ในกรมศิลปากรนั้นเอง และได้เจริญเติบโตเรื่อยมา จากที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบูรณปฏิสังขรณ์ ระดับ 9 จนเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2544 และมาดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และบูรณปฏิสังขรณ์สถาปนิกระดับ 10 เมื่อ พ.ศ. 2545 และเกษียณอายุราชการในปีนั้น

พลอากาศตรี อาวุธ มีผลงานมากมาย โดยเฉพาะผลงานสำคัญ ด้านการอนุรักษ์โบราณสถานของชาติ และออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรมไทย เช่น

งานบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์, งานบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งได้เป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณปฏิสังขรณ์ โบราณสถานแห่งชาติที่สำคัญอีกหลายแห่ง

ส่วนงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม เช่น ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง พระที่นั่งสันติชัยปราการ ในสวนสันติชัยปราการ, พระอุโบสถ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ฯลฯ 

และงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกคนจดจำคือ เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างพระเมรุมาศ ทรงปราสาทจตุรมุขยอดเกี้ยว และอาคารรายรอบที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 

เป็นหัวหน้าคณะทำงานออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 

และเป็นหัวหน้าผู้ออกแบบพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 

ในด้านการเผยแพร่วิชาความรู้ ด้านสถาปัตยกรรมไทย และการอนุรักษ์ พลอากาศตรี อาวุธ ได้เป็นอาจารย์พิเศษ ที่เป็นกำลังสำคัญ ที่ภาควิชาสถาปัตยกรรมไทย ให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่จบการศึกษามา นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้บรรยาย และเป็นวิทยากรในกิจกรรมทางวิชาการมากมาย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ พ.ศ. 2550 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) และ พ.ศ. 2551  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

📌รางวัลที่ 1: 941395

📌รางวัลเลขหน้า 3 ตัว: 056 , 330

📌รางวัลเลขท้าย 3 ตัว: 587 , 375

📌รางวัลเลขท้าย 2 ตัว: 43

📌รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1: 941394 , 941396

📌รางวัลที่ 2 : 211823 , 373681 , 796338 ,113367 , 496441

📌รางวัลที่ 3 : 936126 , 460139 , 134889 , 552114 , 042623 , 843088 , 278597 , 443451

487983 , 381382

📌รางวัลที่ 4: 385067 , 752257 , 500392 , 374357 , 914215 , 539332 , 612090 , 756050 290149 , 763978 , 301175 , 727557 , 644916 , 075236 , 310055 , 363420 , 981752 301276 , 836608 , 044458 , 832234 , 637827 , 889886 , 633434 , 125127 , 119756 500829 , 438338 , 366476 , 038359 , 777366 , 563369 , 084081 , 389775 , 188306 039220 , 660302 , 426909 , 181834 , 815554 , 549309 , 808757 , 555748 , 947702 911101 , 802581 , 456575 , 656500 , 226954 , 889033

📌รางวัลที่ 5: 035736 , 019328 , 818287 , 193192 , 014671 , 095947 , 233423 , 711151 446339 , 181917 , 306001 , 657274 , 996047 , 277050 , 795971 , 143793 , 611073 520537 , 374810 , 574692 , 189393 , 584252 , 922417 , 543667 , 152190 , 584863 700313 , 005617 , 146868 , 387206 , 188188 , 255988 , 175113 ,  361557 , 850980 133453 , 041950 , 241143 , 406936 , 517656 , 736154 , 510381 , 594938 , 243949 663612 , 456150 , 412996 , 300048 , 113391 , 770452 , 278567 , 471303 , 625515 612374 , 164740 , 960902 , 904426 , 461672 , 479387 , 703034 , 503711 , 995054 937938 , 033577 , 302352 , 533774 , 254855 , 647570 , 002860 , 162860 , 179639 965175 , 332488 , 884007 , 219226 , 748606 , 248303 , 604482 , 008370 , 245048 770386 , 121121 , 986008 , 983366 , 571133 , 425681 , 913543 , 753804 , 416655 879546 , 405171 , 866426 , 758573 , 925375 , 655079 , 332689 , 593124 , 961609 216166 , 095789

16 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ กษัตริย์ผู้มีความรอบรู้-ปราดเปรื่อง

วันนี้เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยถูกยกให้เป็น ‘วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปี พ.ศ. 2175 ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 นั่นเอง

ทั้งนี้ สมเด็จพระนารายณ์ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยทรงขึ้นครองราชย์เมื่อแรม 2 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2199 ในขณะที่มีพระชนมายุ 25 พรรษา

ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมีพระราชกรณียกิจที่ส่งเสริมให้กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การศึกษา และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการค้าขาย ทรงติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยพระองค์ทรงปรับปรุงพระคลังสินค้า โปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ นอกจากนี้ยังทรงจัดคณะทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีถึงประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่มีความรอบรู้และปราดเปรื่อง ตลอดจนทรงมีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วง โดยครั้งหนึ่งฝรั่งเศสได้ส่งคณะทูตนำโดย เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ มาเข้าเฝ้าเพื่อทูลขอให้พระองค์ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถไปว่า

"การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้"

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ให้เสรีภาพแก่ราษฎร ที่จะนับถือคริสตศาสนาได้ตามความเลื่อมใสของตน เรื่องนี้ทำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจเป็นอย่างยิ่ง

วันนี้ถือเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ‘สมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งในการเทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระปรีชาสามารถ ตลอดจนพระอัจฉริยภาพอันเปี่ยมล้นของพระองค์

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ‘แคนาดา’ ประกาศใช้ ‘ธงเมเปิลสีแดง’ เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ

แคนาดา มีประวัติศาสตร์หลังการมาถึงของชาวตะวันตกยาวนานราว 400 ปี เบื้องแรกในฐานะดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ก่อนตกมาอยู่ในความครอบครองของอังกฤษในเวลาถัดมา

การใช้ธงชาติของรัฐก่อนที่จะมาเป็นแคนาดาในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยมีสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นรัฐภายใต้อิทธิพลของเจ้าอาณานิคมอยู่เสมอ

เมื่อเข้าถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสถานการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ และความเป็นชาติของแคนาดา การสนับสนุนอังกฤษในสงครามยังมีส่วนที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง เมื่อประชาชนจำนวนมากพากันต่อต้านการเกณฑ์ทหาร โดยเฉพาะกลุ่มชาวแคนาดาในควิเบกที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 แคนาดาเดินหน้าสู่ความเป็นรัฐเอกเทศมากขึ้น และพยายามหาธงชาติใหม่เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2507 ที่รัฐสภาได้ประกาศคัดเลือกธงชาติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 รัฐสภาได้มีมติเลือกธงชาติพื้นแดงขาว ที่มีใบเมเปิลสีแดง ปลายใบ 11 แฉก อยู่ตรงกลาง ให้เป็นธงชาติของแคนาดา โดยสีแดงบนธงซ้ายและขวา หมายถึง มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนสีขาว หมายถึง ผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่และหิมะ ใบเมเปิลคือสัญลักษณ์ของแคนาดา ซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19

ทั้งนี้ พิธีสถาปนาธงชาติแคนาดาอย่างเป็นทางการมีขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ณ รัฐสภาแคนาดา

14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันแห่งความรัก’ หรือ ‘วันวาเลนไทน์’ Valentine's Day วันระลึกถึง ‘นักบุญวาเลนไทน์’ ผู้อุทิศตนเพื่อความรัก

‘วันวาเลนไทน์’ หรือในภาษาอังกฤษ คือ ‘Valentine's Day’ หรือ ‘วันแห่งความรัก’ นั่นเอง และคงเป็นวันที่ใครหลาย ๆ คนรอคอย... โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ตื่นขึ้นมา พร้อมรอยยิ้ม เพื่อเตรียมของขวัญวาเลนไทน์ คำหวาน และข้อความพิเศษ ๆ มอบให้กับคนรักของตัวเอง

สำหรับประวัติหลาย ๆ คนคงสงสัยว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) คืออะไรและเกิดขึ้นเพราะอะไร โดยเหตุเพราะวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้นเป็นวันเสียชีวิตของนักบุญวาเลนไทน์ หรือเซนต์วาเลนไทน์ นักบุญแห่งความรักนั่นเอง โดยนักบุญวาเลนไทน์ เป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแต่งงานในยุคที่ไม่นิยมให้แต่งงานกัน เหตุเพราะในช่วงนั้น โรม ต้องประสบกับสงคราม จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ต้องการเกณฑ์คนไปรบ แต่มีบุคคลจำนวนมากที่มีครอบครัว มีภรรยา มีคนรัก ต่างไม่อยากจะทิ้งครอบครัวไป ทำให้ จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ตัดสินใจให้ยกเลิกการแต่งงานและการหมั้นทั้งหมดของชาวโรมันในยุคนั้นไปหมด อย่างสิ้นเชิง

แต่นักบุญวาเลนไทน์กลับสวนกระแสของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ชักชวนคู่รักมาแต่งงานหลายต่อหลายคู่ จนโดนจับตัวไปขังเอาไว้ และในคุกที่คุมขังนักบุญวาเลนไทน์นั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอดนางหนึ่ง เมื่อโดนจับได้ นักบุญวาเลนไทน์จึงถูกนำตัวไปประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันวาเลนไทน์ วันที่ผู้คนจะรำลึกถึงนักบุญผู้อุทิศตนให้ความรักนั่นเอง

ทั้งนี้ สัญลักษณ์วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน ร่างกายเป็นเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)  

ตำนานความรักของ เทพเจ้าคิวปิด นั้น ในอดีตเทพเจ้าวีนัสอิจฉา ‘ไซกี’ ธิดาวัยกำลังแรกรุ่นของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่สำคัญคือไซกีสวยกว่าเทพเจ้าวีนัสมาก นางเลยส่งเทพเจ้าคิวปิดไปหาไซกี เพื่อบันดาลให้ไซกีมีความรักกับบุรุษเพศ แต่เทพเจ้าคิวปิดกลับหลงรักไซกีและพามาที่วัง และลอบมาหาในเวลากลางคืนเพื่อไม่ให้ไซกีรู้ว่าตนเองเป็นใคร แต่มีคนยุให้ไซกีแอบดูตอนเทพเจ้าคิวปิดนอนหลับ แต่ด้วยความตื่นเต้นของไซกีที่เห็นเทพเจ้าคิวปิดเป็นหนุ่มรูปงาม เลยเผลอทำน้ำมันตะเกียงหกใส่เทพเจ้าคิวปิด เมื่อเทพเจ้าคิวปิดรู้สึกตัวตื่นขึ้นก็โกรธมากที่นางขัดคำสั่ง จึงทิ้งนางไป

เมื่อโดนทิ้ง ไซกีก็ออกตามหาเทพเจ้าคิวปิด ซึ่งตลอดเวลาไซกีถูกเทพเจ้าวีนัสกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา จนเทพเจ้าคิวปิดเห็นใจต้องเข้ามาช่วย เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจ จึงช่วยให้ทั้งสองได้ครองรักกัน

13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันรักนกเงือก’ สัตว์ป่าโบราณ สัญลักษณ์แห่งรักแท้ 1 ในสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ เพราะความเชื่อของมนุษย์

13 กุมภาพันธ์ ‘วันรักนกเงือก’ สัตว์ที่ถูกคุกคามเพราะความเชื่อจนใกล้สูญพันธุ์ นำหัวและโหนกมาทำของขลังและเครื่องประดับ

‘นกเงือก’ เป็นสัตว์โบราณสืบสายพันธุ์มานานราว 60 ล้านปี หลายคนอาจรู้จักมันในฉายา ‘สัญลักษณ์แห่งรักแท้’ เพราะนกเงือกเป็นสัตว์ผัวเดียวเมียเดียวไปตลอดชีวิต หากตัวผู้ที่ออกไปหาอาหารตาย ตัวเมียและลูกน้อยที่รออยู่ในรังก็จะไม่ออกไปไหนและรอจนตัวตายเช่นกัน

นอกจากเรื่องราวความรักที่มีต่อสายพันธุ์เดียวกันแล้ว นกเงือกยังส่งต่อความรักให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นในผืนป่าและมนุษย์ด้วย

โดยการดำรงอยู่ของพวกมันจะช่วยขยายพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถกินผลไม้ได้กว่า 300 ชนิด โดยเฉพาะผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่กว่า 1.5 เซนติเมตร ที่นกขนาดเล็กไม่สามารถช่วยกระจายเมล็ดได้ แล้วปลูกเมล็ดด้วยการขับถ่ายและขย้อนออกทางปาก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง

นอกจากนี้นกเงือกยังเป็นผู้ล่าสำคัญของระบบนิเวศป่า จึงช่วยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็ก อย่างแมลงและหนูได้ด้วย ด้วยเหตุนี้นกเงือกจึงมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่า

สำหรับในประเทศไทยมีนกเงือกทั้งหมด 13 ชนิด แต่น่าเสียดาย ที่ ‘นักปลูกป่ามือฉมัง’ อย่างนกเงือก กำลังถูกคุกคามจากมนุษย์ที่ไล่ล่าหมายหัวพวกมันเพียงเพราะความเชื่อและค่านิยมในการนำหัวและโหนกของนกเงือกมาทำของขลังและเครื่องประดับ ทำให้หลายชนิดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์

หากนกเงือกมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2547 มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งดำเนินการศึกษาวิจัยนกเงือกมานานกว่า 20 ปี จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น ‘วันรักนกเงือก’ เพื่อให้สังคมและประชาชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์นกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์อยู่ทุกขณะ

ในวันสำคัญนี้จึงถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องช่วยกันปกป้องรักแท้นี้ไว้ ก่อนที่ความรักอันยาวนานของนกเงือกจะจบลงที่ยุคของเรา…

12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 วันเกิด ‘อับราฮัม ลินคอล์น’ มหาบุรุษแห่งดินแดนเสรีภาพ ผู้นำประเทศผ่านพ้น ‘สงครามกลางเมือง-การเลิกทาส’

12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 วันเกิด ‘อับราฮัม ลินคอล์น’ อดีตประธานาธิบดีและมหาบุรุษที่ชาวอเมริกันยกย่องนับถือ

‘อับราฮัม ลินคอล์น’ (Abraham Lincoln) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา และรัฐบุรุษชาวอเมริกัน ซึ่งเขาเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่จดจำคือ การนำพาประเทศผ่านพ้น ‘สงครามกลางเมือง’ ระหว่างปี 2404-2408 ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญ ทางทหารและศีลธรรมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ ทำให้สามารถรักษาความเป็นสหภาพของสหรัฐอเมริกาเอาไว้ได้ นอกจากนี้ เขายังเป็นต้นแบบใน ‘การเลิกทาส’ นำไปสู่การสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลกลาง ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจและการเงินให้ทันสมัย

‘อับราฮัม ลินคอล์น’ (Abraham Lincoln) ถูกลอบสังหารด้วยการยิงเข้าที่ศีรษะ โดย ‘จอห์น วิลค์ส บูธ’ ขณะกำลังชมการแสดงที่โรงละครฟอร์ด (Ford's Theatre) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2408

11 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันเสื้อยืดขาว’ รำลึกการประท้วงจ้างงานไม่เป็นธรรม

รู้หรือไม่ เสื้อยืดขาวมีประวัติความเป็นมาสำคัญอย่างไร…ทุกวันที่ 11 กุมภาพันธ์ จะถือเป็นวันเสื้อยืดขาว (White T-Shirt Day) เพื่อรำลึกถึงจุดสิ้นสุดของการประท้วงของพนักงานของบริษัทเจอเนอรัลมอเตอร์ส (General Motors) เพื่อเรียกร้องสวัสดิการและสภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2480 ด้วยวิธีนั่งลงและหยุดทำงานใดๆ โดยสิ้นเชิงภายในบริเวณโรงงาน โดยคนรุ่นหลังสามารถรำลึกถึงวีรกรรมที่ส่งผลดีด้านสวัสดิภาพแรงงานนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้ด้วยการสวมเสื้อยืดสีขาวในวันนี้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top