Monday, 20 May 2024
NEWSFEED

ตัดเชือก 4 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 ฝรั่งเศสจะย้ำชัย หรือแชมป์หน้าใหม่จะบังเกิด

4 ทีมสุดท้ายในเวิลด์คัพ คุณคิดว่าใครจะเป็นแชมป์?

ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ เราก็ได้เห็น 4 ทีมสุดท้ายที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบรองชนะเลิศ 

ทีมแรกที่เข้ามาในรอบนี้เป็นทีมแรกคือ เหล่าขุนพลทัพฟ้าขาว อาร์เจนตินา นำทัพโดย ลิโอเนล เมสซี่ ที่ลงสนามร่ายมนต์พาอาร์เจนเข้ารอบรองโดยหักด่านรอบ 16 ทีมด้วยการล้มออสเตรเลีย 3-1 และชนะการดวลจุดโทษ เนเธอร์แลนด์ 4-3 หลังใน 120 นาที เสมอกัน 2-2 

ในเกมรอบ 8 ทีม ที่พบกับอัศวินสีส้ม เนเธอร์แลนด์ ดูเหมือนจะเป็นงานง่ายๆ เพราะออกนำ 2-0 โดยได้ประตูช่วงครึ่งแรกจาก มานูเอล โมลิน่า นาทีที่ 35 และจุดโทษของ เมสซี่ นาทีที่ 73 เกมทำท่าว่าจะจบด้วยชัยชนะของทัพฟ้าขาว แต่เข้าสู่ช่วง 10 นาทีสุดท้ายของเกม เนเธอร์แลนด์ได้ประตูตีไข่แตกไล่มาเป็น 1-2 จาก วูท เว็กซ์ฮอสร์ท ช่วงทดเวลา 10 นาที นาทีที่ 90+10 ใครจะคิดว่า เนเธอร์แลนด์จะตีเสมอ 2-2 นาทีสุดท้ายของสุดท้าย กล้องจับภาพไปที่กองเชียร์ทั้ง 2 ฝั่ง คนละอารมณ์เลย กองเชียร์ทัพฟ้าขาวถึงกับ ‘ช็อตฟีล’ 

ในจังหวะนี้ ถ้าเนเธอร์แลนด์ทำไม่ได้คือจบเกมไปเลย แต่นี้ต้องอยู่ด้วยกันต่อไปลุ้นที่การดวลจุดโทษ ผลปรากฏว่า อาร์เจนตินายิงแม่นกว่าเนเธอร์แลนด์ เบียดเอาชนะไป 4-3 ในการดวลจุโทษ หลังเสมอ 2-2 ใน 120 นาที และส่งให้ขุนพลทัพฟ้าขาวลุ้นแชมป์โลกสมัยที่ 3 เส้นทางที่ เมสชี่ จะพาอาร์เจนตินาไปเป็นแชมป์โลกยังคงเปิดกว้างและในรอบรองต้องชนกับ ทัพตราหมากรุก โครเอเชีย ซึ่งไม่ง่ายเลยและเป็นถึงรองแชมป์เก่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

ทีมที่ 2 ที่เข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศได้ด้วยการล้มเต็ง 1 อย่างบราซิลของรายการนี้ ในรอบ 16 ทีม คือโครเอเชีย แต่ก็เกือบเอาตัวไม่รอด เพราะต้องเล่นญี่ปุ่น จนถึงดวลจุดโทษ แอบเสียดายญี่ปุ่นอยู่นิดๆ มาทัวร์นาเมนต์นี้ดีจริง ๆ ล้มอดีตแชมป์โลกได้ 2 ทีม (เยอรมันและสเปน) เข้ามาเป็นที่ 1 ของสายชนโครแอต ในรอบ 16 ทีม ความเก๋าเกม บวกกับมีลูก้า โมดริช ที่คอยคุมจังหวะเทมโป้ของเกมทำให้ทัพโครเอเชียคว้าชัยเบียดญี่ปุ่นเข้ารอบ 8 ทีม ไปชนกับเต็ง 1 อย่างบราซิลของรายการนี้ ที่นำทัพมาโดยสุดยอดกองหน้าทั้งนั้น นำโดย เนย์มาร์ จูเนียร์ ราฟิณญ่า ริชาร์ลิซอน แอนโตนี่ มาติเนลลี่ และ เฆซุส แล้วก็เป็น ลูก้า โมดริช คนดีคนเดิมของคนโครแอตที่หักด่านบราซิลในการดวลจุดโทษ แต่คนที่พาโครเอเชียเข้ารอบมาจริงๆ เป็นพระเอกของงานนี้ทั้ง 2 รอบ โดมินิค ลิวาโควิช ผู้รักษาประตูทีมชาติโครเอเชีย ต้องบอกว่านี้โกล์หรือกาว เหนียวเกินพ่อเอ้ยยย เชฟจุดโทษทั้งรอบ 16 และ รอบ 8 ทีมแบบโคตรเทพ พาทัพตราหมากรุกเข้ารอบรองชนะเลิศเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน โดยจะชนกับ อาร์เจนตินา ในวันที่ 13 ธ.ค. นี้ เป็นการรีแมตซ์เมื่อ 4 ปีก่อนที่โครเอเชียอัดทัพฟ้าขาว 3-1 ในฟุตบอลโลก 2018 ในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก 

เก่งผิดยุค ‘ชู เปรียญ’ ปริญญาเอกคนแรกแห่งสยาม กับตัวตนที่เลือนหาย เพราะแต่งตำรายากผิดยุค

พูดถึงทุนเล่าเรียนหลวง หลายคนคงคิดถึงทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานปีละ 9 ทุน โดยทุนเล่าเรียนหลวงมีข้อกำหนดเดียว คือ ให้ผู้รับทุนกลับมาทำงานในประเทศไทยเท่ากับระยะเวลาที่ไปศึกษา โดยไม่จำเป็นว่าต้องทำงานให้กับภาครัฐ ซึ่งไม่เหมือนกับทุนการศึกษาของไทยอื่น ๆ 

แต่คุณรู้ไหม? ว่าจริง ๆ แล้วทุนพระราชทานในสมัยรัตนโกสินทร์มีมาตั้งแต่รัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยครั้งนั้นได้ส่งคนไปศึกษาวิชาการเดินเรือที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งสามัญชน ชื่อ ‘นายฉุน’ ไปเล่าเรียน 

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทางราชการก็ได้ส่งนักเรียนทุนคือ ‘นายทด บุนนาค’ และ ‘นายเทศ บุนนาค’ ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งไปพร้อมกับคณะทูตไทยเมื่อ พ.ศ. 2400 นอกจากนักเรียนแล้ว ราชการยังส่งข้าราชการไปศึกษาวิชาชีพเฉพาะ เช่น การพิมพ์ และการซ่อมนาฬิกา โดยส่งข้าราชการไปดูงานในต่างประเทศทางด้านการปกครองและบำรุงบ้านเมืองที่ประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2404 ด้วย

ครั้นลุมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทางราชการได้ส่งนักเรียนไทยจำนวน 206 คน ไปศึกษาในประเทศที่เป็นต้นแบบของวิชาการแต่ละด้าน เช่น อังกฤษ, เยอรมัน, ออสเตรีย, ฮังการี, เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โดยเน้นให้ไปศึกษาภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, คณิตศาสตร์ และวิชาตามที่นักเรียนถนัด เช่น วิชาทหารบก, ทหารเรือ, การทูต, กฎหมาย, แพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น (ก็มีความดราม่ากันไปแต่ละค่ายการศึกษา) 

โดยในสมัยนี้ เริ่มมีการแบ่งนักเรียนทุนเป็น 2 ประเภท คือ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง และนักเรียนทุนตามความต้องการของกระทรวง นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนด้วยอย่างเป็นกิจจะลักษณะด้วย 

มาถึงตรงนี้ผมก็จะขออนุญาตเริ่มต้นเล่าเรื่องราวของ ดร.คนแรกของคนไทย โดยปริญญาเอกรายนี้คือ ‘นายชู เปรียญ’ ผู้สำเร็จการศึกษา Ph.D. ทางด้านการศึกษาจากประเทศเยอรมนี 

นายชู เปรียญ เริ่มการศึกษาตั้งแต่เป็นสามเณรอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ สอบได้เป็นเปรียญสามประโยคตั้งแต่เป็นสามเณร จนถึงพ.ศ. 2429 ได้ลาสิกขา แล้วมาเรียนต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจบแล้วก็ได้สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนวิชาการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี (เก่งนะเนี่ย) 

โดยในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศเยอรมัน ตั้งแต่ขั้น B.A. มาถึงการศึกษาชั้น M.A. แล้วศึกษาต่อจนจบ Ph.D. ทางการศึกษา เมื่อนายชู เปรียญ สำเร็จการศึกษาชั้น Ph.D. นั้นว่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตื่นเต้นมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานเลี้ยงพระราชทานแก่นายชู เปรียญ พร้อมกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากเยอรมันอีก 2 คน ในโอกาสนั้นโปรดพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเกียรติยศ

การนี้มีบันทึกไว้ใน ‘หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)’ แต่งโดยพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ผู้ตามเสด็จและทำหน้าที่จดบันทึกการเดินทาง เขียนไว้ตอนหนึ่งความว่า…

“...วันที่ 10 มิถุนายน ร.ศ. 116 ขณะ รัชกาลที่ 5 ประทับอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เวลาบ่าย เมื่อเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว พระยาศรีสุริยราชวราวัตรก็ได้...นำนายชู เปรียญ ซึ่งมาส่งเสด็จฯ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทฯ นายชูคนนี้เป็นนักเรียนที่เล่าเรียนในเยอรมันสอบไล่ได้ดีแล้ว และได้ประกาศนียบัตรเป็น ‘ดอกเตอร์ออฟฟิลอซโซฟี่’ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เล่าเรียนถึงได้รับประกาศนียบัตรชั้นนี้ มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควรแล้วเสด็จขึ้น...”

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วในปี พ.ศ. 2440 มีหลักฐานบันทึกว่า ‘นายชู เปรียญ’ ได้กลับมาสยามและเข้ารับราชการ โดยพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรับหน้าที่เป็น ‘พนักงานตรวจแต่งตำราเรียน’ ก่อนที่จะย้ายไปเป็น ‘ผู้ดูการพิพิธภัณฑ์’ (Curator) ในปี พ.ศ. 2441 ซึ่งในตอนนั้นการพิพิธภัณฑ์กำลังเริ่มต้นขึ้นในสยาม โดยมีการลงข่าวไว้ใน ‘หนังสือพิมพ์สยามไมตรีรายสัปดาห์’ ฉบับวันอังคารที่ 14 ธันวาคม ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ความว่า...

“...เราได้ทราบข่าวว่า นายชู เปรียญ ซึ่งเป็นนักเรียน ได้ไปเล่าเรียนศึกษาวิชาสอบไล่ได้เป็นนายศิลปชั้นสกลวิทยาลัย ในกรุงเยอรมนีนั้นกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จะได้มีตำแหน่งรับราชการในกรมศึกษาธิการ รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ 2 ชั่งในชั้นแรกๆ..."

สำหรับบันทึกอื่น ๆ เกี่ยวกับการรับราชการของดอกเตอร์คนแรกของไทย ปรากฏว่า ‘นายชู เปรียญ’ ได้เคยแต่งหนังสือและเคยทำงานในกรมพิพิธภัณฑ์ ในช่วงที่ ‘เจ้าพระยาภาสกรวงศ์’ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้มีจดหมายพิมพ์ดีดลงวันที่ 14 มกราคม ร.ศ. 117 ทูลฯ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ความว่า ‘เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์’ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด ถูกขังเร่งเงินหลวงอยู่ โดยท่าน (เจ้าพระยาภาสกรฯ) ได้ให้นายชู มาเป็น ‘กุเรเตอร์’ (Curator) ในพิพิธภัณฑ์ 

และได้แนะนำตัวนายชู เพิ่มเติมว่า เดิมทำการในกรมศึกษาธิการ เป็นพนักงานตรวจแต่งตำราเรียน ซึ่งขณะนั้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนมาดูอาทิตย์ละ 2 หน โดยมี ‘ผู้ที่มาดูน้อย นอกจากงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฉัตรมงคล ซึ่งผู้ที่มาดูนับหมื่นแต่ชอบดูส่วนแนชุรัล ฮีสตอรี (Natural History) ยิ่งกว่าสิ่งอื่น’ (แสดงว่าน่าจะเหมาะกับการที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรหนัก ๆ เพราะนายชู น่าจะเป็นนักวิชาการเต็มตัว เน้นทำวิจัยทางวิชาการว่างั้นเถอะ) 

ตำแหน่ง ‘ผู้ดูการพิพิธภัณฑ์’ (Curator) ในสมัยก่อนอย่าดูถูกว่าเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงมากนะครับ ถ้าเรามาคิดถึงสภาพสังคมในยุคนั้นที่เพิ่งเริ่มจัดการศึกษา ผู้ที่มีหน้าที่ ‘ดูการพิพิธภัณฑ์’ ก่อนหน้านายชู (ไม่นับ ‘เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์’ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ที่ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด) คือ นายราชารัตยานุหาร (พร บุนนาค) ซึ่งต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ 

ต่างชาติผู้แสนดี ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ พระยากัลยาณไมตรี ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับรัชกาลที่ 7

หากผมจะเล่าเรื่องเกี่ยว ‘รัฐธรรมนูญ’ ผมแทบไม่ได้นึกถึงเรื่องราวของวันที่ 10 ธันวาคม เลยสักนิดเดียว แต่ผมกลับไปคิดถึง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และ ‘ชาวต่างชาติผู้หนึ่ง’ ที่พิสูจน์ได้ถึงความตั้งพระราชหฤทัยในการพระราชทาน ‘รัฐธรรมนูญ’ ให้แก่ปวงชนชาวไทย โดยขณะนั้นพระองค์ทรงปรึกษาผู้รู้อย่างหลากหลาย ลึกซึ้ง เพื่อกลั่นกรอง ให้เกิด ‘ร่างรัฐธรรมนูญ’ ที่เข้าใจบริบท เข้าใจเงื่อนไขที่เหมาะสมกับสยามที่สุดในห้วงเวลานั้น แต่ทว่าร่างในครั้งนั้นกลับไม่ได้ถูกนำมาใช้ เพราะการชิงสุกก่อนห่ามของ ‘คณะราษฎร’ ผู้เห็นแก่ตน ผู้ไม่เคยคิดถึงบริบทอะไรนอกจากพวกตน อำนาจปกครอง และการล้มเจ้า...

เกริ่นมาซะยาว !!! กลับมาที่ ‘ชาวต่างชาติ’ คนนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมในการ ‘ร่างรัฐธรรมนูญ’ ฉบับรัชกาลที่ 7 เรามารู้จัก ‘พระยากัลยาณไมตรี’ คนที่ 2 ของสยาม Dr.Francis B.Sayre / ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ กันดีกว่า

ดร.ฟรานซิส บี.แซร์ เป็นชาวอเมริกัน เกิดที่เซาธ์เบธเลเฮม ในเพนซิลเวเนีย เรียนจบด้านกฎหมายจากฮาร์วาร์ด เริ่มงานด้านกฎหมายด้วยการเป็นผู้ช่วยอัยการแห่งนิวยอร์กเคาตี เขาได้พบรักกับ ‘เจสซี’ ลูกสาวของ วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐฯ และแต่งงานกันที่ทำเนียบขาวในปี พ.ศ. 2456 ก่อนที่เขาจะออกไปเป็นอาจารย์สอนที่ฮาร์วาร์ดในปี พ.ศ. 2460 และจบดอกเตอร์ในปีถัดมา (ขอเล่าเป็น พ.ศ. นะครับ จะได้ไม่ต้องสลับระหว่างไทยกับเทศ) 

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2466 เขาได้รับข้อเสนอจากคณบดีโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด ให้ไปเป็นที่ปรึกษาพระเจ้าแผ่นดินสยาม ด้วยความอยากเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ เขาจึงตอบตกลงและเข้ามารับราชการในสยาม ช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเข้ามาอยู่ในบังคับบัญชาของ ‘พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์’ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น

เขาเล่าถึง ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ในอัตชีวประวัติของเขาว่า ..... “ข้าพเจ้ามีความสนิทสนมกับองค์พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นเป็นอย่างดีเยี่ยมทีเดียว สามารถถวายจดหมายส่วนตัวโดยตรงก็บ่อย ๆ พระองค์จะทรงอักษรตอบด้วยฝีพระหัตถ์เอง ซึ่งบางทีก็ยาวตั้ง 12 หรือ 15 หน้ากระดาษ พระองค์ทรงภาษาอังกฤษอย่างดีเลิศ เมื่อพระองค์ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นั้น ทรงโปรดปรานวรรณกรรมเชกสเปียร์มาก เคยมีพระราชปรารถนาจะแปลบทละครเชกสเปียร์ออกเป็นภาษาไทย”

ภารกิจสำคัญของ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 คือการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบและไม่เป็นธรรมของชาติตะวันตก ในสมัยจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยเฉพาะ ‘สนธิสัญญาเบอร์นี’ ในรัชกาลที่ 3 และ ‘สนธิสัญญาเบาริ่ง’ ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งประเทศสยามมีข้อเสียเปรียบอยู่หลายจุด

แม้ว่าผลจากการเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัญญาให้สยาม แต่ก็เป็นเพียงบางส่วน เพราะสนธิสัญญาที่ยกเลิกมีเพียงกับคู่สงครามอย่างเยอรมนีและออสเตรียเพราะพ่ายแพ้ แต่กับฝ่ายสัมพันธมิตรมีเพียงสหรัฐฯ ที่เห็นชอบกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับสยาม แต่กับชาติพันธมิตรอื่น ๆ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส กับ อังกฤษ การเจรจาการแก้ไขสนธิสัญญาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากทั้งสองชาติต่างก็พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนอย่างเต็มที่ 

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแต่งตั้งให้ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นผู้แทนประเทศสยามไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับชาติต่าง ๆ ในยุโรป โดยเริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2467 ด้วยความสามารถทางการทูตและกฎหมาย เขาสามารถโน้มน้าวให้ชาติต่าง ๆ ยอมทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นการสละสิทธิพิเศษทีมีอยู่ในสนธิสัญญาเก่าอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้สำเร็จลุล่วง 

จากคุณงามความดีในครั้งนี้ ของ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ในฐานะผู้ที่ช่วยให้สยามรอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ จากสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสมัยจักรวรรดินิยม ในหลวงรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ‘พระยากัลยาณไมตรี’ มีตำแหน่งราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ถือศักดินา 1,000 นับเป็นคนที่ 2 ต่อจากพระยากัลยาณไมตรี (เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด) กระทั่งในปีต้นปี พ.ศ. 2468 ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการของสยาม และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความสัมพันธ์อันดีต่อกัน 

ภายหลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ให้เขากลับมาช่วยราชการอีกครั้ง ด้วยมิตรไมตรีอันดีต่อสยาม เขาจึงเดินทางกลับมาไทยในปี พ.ศ. 2469 ดังที่เขากล่าวในอัตชีวประวัติว่า…

“...ผมไม่อาจลืมสยาม ใจผมยังคงนึกถึงตะวันออกไกลอยู่เสมอ ในเดือนพฤศจิกายน 1925 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งผมเคยถวายงานรับใช้ได้เสด็จสวรรคต บัลลังก์ของพระองค์สืบทอดถึงเจ้าฟ้าประชาธิปก ผู้เป็นอนุชา...และพระเจ้าอยู่หัวประชาธิปกก็ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะให้ผมกลับไปยังสยาม แม้ผมไม่อาจละทิ้งงานที่ฮาร์วาร์ดได้ ในช่วงวันหยุดซัมเมอร์ปี 1926 ผมก็เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อสนทนาและถวายคำปรึกษาตามพระราชประสงค์ถึงการ ‘ปฏิรูปธรรมนูญการปกครอง’ ซึ่งมีการเรียกร้องกันมาก...”

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการ ‘ร่างรัฐธรรมนูญ’ ขึ้นมาใช้ในประเทศในปี พ.ศ. 2469 โดยมี ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่วมร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 

โดยก่อนหน้าที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 7 ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นคำถามถึง ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ จำนวน 9 ข้อ โดยคำถาม 4 ข้อแรกนั้น ว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในข้อ 3 ความว่า…

“หากประเทศนี้จำเป็นต้องมีระบบรัฐสภาเข้าสักวันหนึ่ง การปกครองในระบบรัฐสภาแบบแองโกล - แซกซัน นั้นเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือไม่?” โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเพิ่มเติมว่า “ในคำถามที่ 3 นั้นข้าพเจ้าเองยังไม่แน่ใจนัก”

และคำถามข้อ 4 ทรงตั้งคำถามว่า “ประเทศนี้พร้อมหรือยัง? ที่จะมีการปกครองในระบบผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน?” โดยทรงให้พระราชวินิจฉัยเพิ่มเติมว่า “ส่วนคำถามที่ 4 โดยความเห็นส่วนตัวข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่” เหตุผลที่พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยดังนี้ เพราะมีเหตุผลหลายประการ ซึ่งตรงกับที่ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ได้ถวายความเห็นกลับมา หลังจากที่ได้อ่านแล้ว ความว่า…

“...ข้าพเจ้าไม่คิดว่าการพิจารณาให้มีระบบรัฐสภาโดยสมาชิกมีที่มาจากประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติได้ในสยาม ณ เวลานี้ ระบบรัฐสภาที่สามารถทำงานได้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ลงคะแนนเสียงที่มีการศึกษา หากปราศจากการควบคุมอย่างชาญฉลาดโดยประชาชนแล้ว องค์กรเช่นนี้ย่อมเสื่อมทรามลงกลายเป็นองค์กรทุจริตและเผด็จอำนาจเป็นแน่ จนกว่าประชาชนทั่วไปในสยามจะได้รับการศึกษาที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ มันคงอันตรายเกินไปที่จะตั้งรัฐสภาภายใต้การควบคุมของประชาชน ด้วยเหตุนี้มันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่อำนาจเด็ดขาดจะต้องอยู่กับสถาบันกษัตริย์ต่อไป...”

อ่านมาถึงตรงนี้คุณว่า ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ วิเคราะห์ได้ตรงไหมล่ะ? ‘คณะราษฎร’ สนใจเรื่องการศึกษาของผู้ลงคะแนนเสียงไหม? รัฐบาลหลังจากนั้นเป็นองค์กรทุจริตและเผด็จการอำนาจจริงไหม? ลองคิดตามดูนะ อันนี้แล้วแต่ความคิดของท่านผู้อ่าน ผมไม่ก้าวล่วง 

นอกจากนี้ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ยังได้แนบร่างรัฐธรรมนูญ 12 มาตรา ‘Outline of Preliminary Draft’ หรือเค้าโครงเบื้องต้นว่าด้วยโครงสร้างของรัฐบาล ซึ่งตามความเห็นของเขาถือเป็นร่างรัฐธรรมนูญการปกครองที่เหมาะกับสยามที่สุดในขณะนั้น โดยข้อแรกมีความว่า…

“...อำนาจสูงสุดในราชอาณาจักรเป็นของพระมหากษัตริย์” และข้อสอง “พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีผู้มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ในการบริหารงานของรัฐบาล และเป็นผู้ซึ่งอาจถูกถอดจากตำแหน่งได้ทุกเวลาโดยพระมหากษัตริย์…” (แปลจาก: Siam’s Political Future: Documents from the End of the Absolute Monarchy)

ร่างธรรมนูญการปกครองตามข้อเสนอของเขา จึงมีลักษณะเป็นการยืนยันรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไป ซึ่งตามความเห็นของเขาถือเป็นการปกครองที่เหมาะกับสยามที่สุดในขณะนั้น 

‘เต๋อ เรวัต’ ผู้มีพระคุณ พลิกชีวิต ‘ก๊อท จักรพันธ์’ ‘ให้โอกาส-ผลักดัน’ จนกลายเป็น ‘เจ้าชายลูกทุ่ง’

เรียกว่าทำแฟน ๆ ช็อกหนักเลยทีเดียว หลังจากที่ ‘ก๊อท จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ’ ประกาศลาขาดจากแกรมมี่ ที่อยู่มานานกว่า 30 ปี พร้อมลั่น ถือว่าที่ผ่านมา ตนได้ตอบแทนบุญคุณ ‘เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์’ แล้ว โดย ‘ก๊อท จักรพันธ์’ ได้โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมว่า…

"โปรเจ็กต์นิวคันทรี่ ผมสู้มาสามปีนะคับ ผมทำให้ทุกอย่าง ตั้งแต่ดนตรีโน้ตแรกยันถ่ายทำตัดต่อ เสร็จส่งคุณ คุณไม่ต้องทำอะไรเลย ??? แค่ลงระบบ………"

"คุณบอกผมพลิกวงการลูกทุ่ง ??? ฝากคุณช่วยพลิกวงการคนทำงาน ของคุณหน่อยนะคับ ผมถือว่าผมได้ตอบแทนคุณพี่เต๋อแล้ว ลาขาดคับ GMMGRAMMY"

ซึ่งถ้าคนที่ไม่ได้เป็นเอฟซีเจ้าตัว อาจไม่รู้ว่า ‘เต๋อ เรวัต’ มีบุญคุณอะไร ทำไม ก๊อท ถึงได้ลั่นประโยคนี้ออกมา

ย้อนกลับไปสมัยที่ก๊อท ยังไม่มีชื่อเสียง ชีวิตต้องทำงานหลายอย่าง ทั้งเซลส์แมน พนักงานเสิร์ฟ นักร้องคาเฟ่ การร้องเพลงก็เป็นความฝันที่หวังว่าสักวันจะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังไม่ถึงฝั่งฝันสักที เรียกว่าชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

แต่ต่อมาชีวิตของก๊อท จักรพันธ์ ก็พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อเขาได้มีโอกาสเจอกับ ‘เต๋อ เรวัต’ ชายผู้ก่อตั้งแกรมมี่ โดยเต๋อ เรวัตถึงขั้นประกาศว่าก๊อทจะต้องโด่งดังในอนาคต รวมทั้ง ‘ออกทุน’ เพื่อให้ก๊อท จักรพันธ์ ได้ศึกษาและพัฒนาบุคลิกภาพ ทำให้เจ้าตัวร่ำเรียนอย่างหนัก ลบคำสบประมาทต่าง ๆ ออกไป 

กระทั่งวันที่ฝันได้เป็นจริง ‘ก๊อท จักรพันธ์’ ได้ออกอัลบั้ม เป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้ออกในซีรีส์ ‘แม่ไม้เพลงไทย’ ในปี 2533

นิตยสาร 'TIME' เลือก ‘BLACKPINK’ ครอง 2022 Entertainer of the Year

สาว ๆ BLACKPINK ได้รับเลือกให้เป็น ‘2022 Entertainer of the Year’ ของนิตยสาร ‘TIME’ ซึ่งพิสูจน์สถานะของพวกเธอในฐานะซูเปอร์สตาร์ระดับโลก

ทั้งนี้สาว ๆ กลายเป็นศิลปิน K-Pop คนที่สองในประวัติศาสตร์ที่ได้รับตำแหน่งนี้  รองจาก BTS ที่เคยได้ตำแหน่งนี้ในปี 2018

สำหรับคุณลักษณะพิเศษโดย ‘TIME’ ทบทวนประวัติศาสตร์ที่ BLACKPINK ทำได้ในฐานะกลุ่ม ในขณะเดียวกันก็มีปฏิสัมพันธ์กับความคิดและการไตร่ตรองส่วนตัวของสมาชิก

ของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับทุกเทศกาล

ของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองและครอบครัว คือ คุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และมีแรงพลังก้าวหน้าต่อไป

ข่าวการป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายของแพทย์หนุ่มเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก สู้ดิวะ ในช่วงที่ผ่านมา ส่งแรงกระเพื่อมไปยังวงการสุขภาพ วงการสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตประชาชนในสังคมหลายมิติ ถ้าเป็นเราจะรับมือและเสริมสุขภาพอย่างไร

บางเรื่อง ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ ยิ่งสำหรับเรื่องสุขภาพ ก็ทำแทนไม่ได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เราสามารถแบ่งปันข้อมูล เและส่งต่อเรื่องราวดีๆ ให้กันได้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และตระหนักในการดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ในทุกๆ มิติ

• อายุยืนยาว + คุณภาพชีวิตดี = อยู่ได้นานอย่างมีความสุข
 “อายุขัย” ของมนุษย์เรา คือส่วนหนึ่งของดัชนีชี้วัดคุณภาพเกี่ยวกับสุขภาพประชากร เราอาจจะคุ้นเคยกันว่ามนุษย์เรานั้น มีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ปี ซึ่งนั่นอาจจะใช้ไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าและโอกาสในการเข้าถึงการรักษา เมื่อมนุษย์เราเจ็บป่วย เรามีโอกาสที่จะรอดชีวิตมากขึ้น ต่างจากในสมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า และการเข้ารับการรักษาที่ไม่ทั่วถึง ทำให้ในปี 1930 มนุษย์ มีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 40 ปีเท่านั้น

จากข้อมูลของ Our world in data ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2000-2019 มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 70 ปี  และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาก็คือ หากเรามีอายุยืนยาวโดยที่ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ การมีอายุยืนยาวนั้น เป็นเรื่องดีจริงๆหรือ !?

อะไรทำให้ชีวิตมนุษย์เรายืนยาวขึ้นกันนะ - ในอดีต มนุษย์เรานั้นอายุไขเฉลี่ยต่ำถึง 30 ปี ในปี 1820 การที่มนุษย์เราอายุขัยต่ำนั้น เกิดได้จากสภาพแวดล้อม อาหาร การรักษาสุขภาพ และที่สำคัญคือการแพทย์ที่อาจจะยังไม่ค้นพบโรคและวิธีการรักษา หรือต่อให้ค้นพบ การเข้าถึงการรักษาก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากรูปแบบเมืองที่กระจัดกระจาย การเดินทางมาโรงพยาบาล

เมื่อเทคโนโลยีในทุกๆ ด้าน ถูกพัฒนา ชีวิตคนหนึ่งคนสามารถยืนยาวขึ้นได้ ด้วยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รับประทานอาหารที่ดี รักษาสุขภาพ และที่สำคัญการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพอย่างทันท่วงที

สถิติน่าสนใจ อ้างอิงจาก กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยหนังสือ “สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563” หนึ่งในเนื้อหาสำคัญคือ “จำนวนและอัตราการตายต่อประชากร 1 แสนคน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2559-2563”  ซึ่งจำแนกออกเป็น 10 สาเหตุการตาย (Causes of Death)

สำหรับข้อมูลปี 2563 พบว่า 10 สาเหตุการตายของคนไทย ได้แก่ 1.มะเร็งทุกชนิด 2. โรคหลอดเลือดในสมอง 3. ปอดอักเสบ 4. โรคหัวใจขาดเลือด 5. อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก 6. เบาหวาน 7. โรคเกี่ยวกับตับ 8. โรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง 9. วัณโรคทุกชนิด 10. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากไวรัส

ดูจากโรคที่ทำให้คนเสียชีวิต ห้าอันดับต้น โดยตัดเรื่องอุบัติออกนั้น เอามือทาบอกแล้วพินิจข้อมูล คุณจะพบว่าโรคร้ายอย่าง มะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด และเบาหวาน คือเหล่าโรคคุ้นเคยยังคงพรากชีวิตติดอันดับ

ฉะนั้นของขวัญที่ควรมอบให้ตัวเอง และคนรัก ได้ตั้งแต่นาทีนี้ ก็คือทำทุกทางให้ร่างกายให้แข็งแรง สุข สดชื่น และอยู่อย่างมั่นคงปลอดภัยเพื่อใช้ชีวิตที่ยืนยาวขึ้น รวมถึงห่างไกลจากสิ่งบั่นทอนสุขภาพทั้งปวงได้เป็นดี

  

• นักวิทย์ฯ เสริมความเห็น “ชะลอการเสื่อมของร่างกายที่ต้นตอ” พร้อมหยุดความเสี่ยง เสื่อม ทรุดโทรม
“หากเราทราบต้นตอของความแก่ชรา และเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย และช่วยเสริมประสิทธิภาพตรงจุด แก้ที่ปมปัญหา เมื่อเซลล์เสื่อมลง ณ จุดหมวกของโครโมโซมคู่สำคัญ ซึ่งนวัตกรรมวัฒนชีวา จากการวิจัยของคณะ Operation BIM ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ จัดการกับตัวเองให้ไม่ เสี่ยง เสื่อม และทรุดโทรมได้โดยง่าย ทั้งจากความเป็นอยู่ การกิน และการทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เราต้องดูแลตนเองให้ดีในทุกๆ วัน เพราะว่าไม่มียาไหนในโลกที่จะหยุดลมหายใจหรือทำให้ใครเป็นอมตะ” ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะวิจัยฯ กล่าว 

•  ผบ.ด้านนวัตกรรมสุขภาพย้ำ “รู้แนวโน้มความเสี่ยงเฉพาะทาง ห่างไกลโรคร้ายอันดับต้น” 
“โดยส่วนมากคนเรามักรอแก้ไขปัญหา ตอนเกิดเรื่อง มองข้ามการป้องกัน และจัดการก่อนเกิดโรค จะดีกว่าไหม หากเราทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ ได้ก่อน แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ตรงจุด เพื่อเปลี่ยนผลลัพธ์ อย่างเช่น การตรวจสุขภาพประจำปี ทำความเข้าใจกับร่างกาย และอัปเดตเทรนด์สุขภาพอยู่เสมอ เพื่อนำมาฟื้นฟูร่างกาย ให้เหมือนๆ กับ การที่เราตามทันข่าวสารของโลก รู้เรื่องคนดังใน วงการบันเทิง ออกเดินทางท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ ตามความชอบ ร่างกายของเราก็เช่นกัน ต้องเข้าใจ ให้ความสำคัญสนใจ และอัปเดตเขาเสมอ กินอาหารที่ดี มีประโยชน์ ส่วนหนึ่ง ออกกำลังกาย อีกส่วนหนึ่ง และยังต้องทำจิตใจให้แข็งแรง เติมวิตามินจำเป็นให้ทั้งกาย และใจ ห่างไกลโรคทั้งปวง” ปารมี สินธุเสก กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปารมี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และผู้เผยแพร่สาระสุขภาพในเพจ PNA Wellness Innovation แสดงทรรศนะ
 

รู้จัก 'พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9' แห่งอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ สวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ในหลวง ร.10 พระราชทานเพื่อปวงชน

ย้อนไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 หรือพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 หรือ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งอยู่ในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต มีขนาดความสูงถึง 7.7 เมตร หรือขนาด 4 เท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถนนศรีอยุธยา หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฐานพระบรมรูปตั้งอยู่บนลานรูปไข่ ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นผังแปดเหลี่ยม ตามคติพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง 8 เหลี่ยมมีแผ่นจารึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อนำพาประเทศชาติอยู่ดีมีสุข อันก่อให้เกิดความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทยที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือน

ทั้งนี้ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต มีชื่อเต็มว่า  'อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร' มีพื้นที่ทั้งหมด 297 ไร่ เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมสามแยกนางเลิ้ง ล้อมรอบด้วยถนนสวรรคโลก ถนนศรีอยุธยา ถนนพระรามที่ 5 และถนนพิษณุโลก ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต

โครงการปลูกกาแฟบนดอย จุดเริ่มต้นเปลี่ยน 'ฝิ่น' สู่ 'ไร่กาแฟ' ทุกถ้วยที่เราอิ่มเอม ล้วนมีเงาของพระองค์อยู่ในนั้นเสมอ

ไม่มีความสุขใดที่จะมากไปกว่า การได้นั่งจิบกาแฟควันกรุ่นถ้วยโปรดรับอรุณ ก่อนจะเริ่มกิจการงานในแต่ละวัน 

ว่าแต่กาแฟที่จิบในแต่ละวันนั้น มีเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับ 'โครงการหลวง' และเกิดเป็นเรื่องราวมหัศจรรย์ระหว่างชายสองคน จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นโครงการปลูกกาแฟบนดอยอีกด้วย

โครงการหลวงหรือมูลนิธิโครงการหลวงก่อตั้งในปี  พ.ศ. 2512 เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มุ่งส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น โดยมีเป้าประสงค์คือช่วยเหลือให้ชาวเขามีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยในระยะแรกมี หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง

ผลผลิตจากโครงการหลวงส่วนใหญ่เป็นพืชผักและผลไม้เมืองหนาว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าผลผลิตโครงการหลวงนั้นมีกาแฟรวมอยู่ด้วย 

ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงมีพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 24 ศูนย์ รวมทั้งหมด 9,491 ไร่ เกษตรกร 2,602 ราย เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตผ่านโครงการหลวงปีละประมาณ 400-500 ตัน

ย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน เกิดเรื่องราวอันน่าประทับใจระหว่างชายสองคนที่บ้านหนองหล่ม จังหวัดเชียงใหม่ คนหนึ่งเป็น 'พระราชา' ส่วนอีกคนหนึ่งเป็น 'ชายชาวกะเหรี่ยง'

(ในเวลานั้นบ้านหนองหล่ม อำเภอจอมทอง เต็มไปด้วยไร่ฝิ่น ชายกะเหรี่ยงคนนี้นำเสด็จพระราชาเป็นระยะทางกว่า 7 กิโลเมตรเพื่อไปดูต้นกาแฟ ซึ่งต่อมากลายเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวเขาปลูกกาแฟแทนฝิ่นในโครงการหลวง)

'พะโย่ ตาโร' คือชายกะเหรี่ยงที่นำรัชกาลที่ 9 บุกป่าฝ่าดงไปดูต้นกาแฟ เมื่อเห็นว่าสามารถปลูกกาแฟบนดอยได้ พระองค์จึงให้ชาวเขาหันมาปลูกกาแฟแทนฝิ่น โดยพระราชทานสัญญาว่าจะช่วยเหลือในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น  

พระองค์ทรงเสด็จกลับมาอีกหลายครั้งหลายหน เพื่อนำความช่วยเหลือด้านอื่น เช่น พันธุ์สัตว์และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยพระองค์ทรงมีพระดำรัสว่า...

“แต่ก่อนเขาปลูกฝิ่น เราไปพูดจาชี้แจง ชักชวนให้เขามาลองปลูกกาแฟแทน กะเหรี่ยงไม่เคยปลูกกาแฟมาก่อน ยังดีที่กาแฟไม่ตายเสียหมด แต่ยังเหลืออยู่หนึ่งต้นนั้น ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้าสำหรับกะเหรี่ยง จึงต้องเสด็จฯ ไปทอดพระเนตร จะได้แนะนำเขาต่อไปว่า ทำอย่างไรกาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งต้น”   

จากต้นกาแฟที่ทรงดั้นด้นเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร กลายมาเป็นโครงการหลวง ที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟของชาวเขา ช่วง พ.ศ. 2517-2522 มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อหาพันธุ์กาแฟอาราบิกา ที่สามารถต้านทานโรคราสนิมที่ระบาดในแหล่งปลูกภาคเหนือของไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตรแปลงกาแฟที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และทรงมีพระราชดำริให้กรมวิชาการเกษตรพัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมกับสภาพที่สูงของประเทศไทยเพื่อปลูกทดแทนฝิ่นบนพื้นที่สูง

5 ธันวาคมของทุกปี วันสำคัญที่สุดของคนไทย พระองค์ยังอยู่ในหัวใจทุกคนอย่างไม่ลืมเลือน

(5 ธ.ค. 65) พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.)​ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า...

วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี จะเป็นวันที่คนไทย ทุกคนจะลืมไม่ได้ เพราะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 คนไทยจึงยึดถือกันว่า วันนี้เป็นวันพ่อแห่งชาติ เป็นวันชาติของไทย

ต่อมาสหประชาชาติ ได้กำหนดให้เป็น วันดินโลก (World Soil Day) ซึ่งเป็นผลมาจาก นักปฐพีวิทยาทั่วโลก 60,000 คน ได้ตกลงที่จะนำ วันคล้ายวันพระราชสมภพ มากำหนดเป็น 'วันดินโลก' ขึ้น โดยดูจากพระราชกรณีกิจ ของพระองค์มาเป็นตัวกำหนด ในการพิจารณา

พระมหากรุณาธิคุณ ที่ปกห่มประชาชนชาวไทย ในทุกด้านซึ่งแผ่กว้างไพศาล มานานถึง 70 ปี นั้น ไม่ว่าจะเรียกว่าวันอะไรก็ตาม วันนี้ก็ยังเป็นวันสำคัญที่สุดของคนไทย และ พระองค์ยังอยู่ในหัวใจของคนไทยทุกคน อย่างไม่ลืมเลือน

เมื่อนักการเมืองยื่นปลา แต่พระราชาทรงยื่นเบ็ด

เนื้อหาของบทความนี้ผมตั้งใจอยากจะเล่าเรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ท่านวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งอีกนัยหนึ่งยังเป็น ‘วันพ่อ’ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพ่อของปวงชนชาวไทย ผมเลยขอนำเรื่องความประทับเรื่องหนึ่งมาเขียนเล่าในบทความนี้

เมื่อหลายปีก่อน ผมได้เคยเห็นภาพหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2518 จาก ‘สมุดภาพโครงการตามพระราชดำริ’ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2525 โดยเนื้อหาใต้ภาพระบุว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การพัฒนาที่ดินตามโครงการที่ได้ทรงเริ่มมาตั้งเเต่พุทธศักราช 2507 ที่ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ผลเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงต้องพระราชประสงค์ที่จะขยายงานด้านการช่วยเหลือเกษตรกรให้เเพร่หลายต่อไป ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานที่นาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั้งหมดรวม 51,967 ไร่ 95 ตารางวา สำหรับใช้ในการปฎิรูปที่ดินเป็นการประเดิมเริ่มเเรก โดยให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พุทธศักราช 2518”

สมุดภาพเล่มนี้รวบรวมโครงการพระราชดำริจนถึง พ.ศ. 2525 ไว้ทั้งหมด 654 โครงการ (ซึ่งปัจจุบันมี 4,000 กว่าโครงการ) จากภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ที่ได้เห็นจากหนังสือ ผมก็เลยไปลองหาข้อมูลต่อ โดยเฉพาะความสนใจเรื่องของ ‘ที่ดินทำกิน’ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในยุคแห่งการสร้างเนื้อสร้างตัวของคนไทย ที่เกษตรกรรมคืออาชีพหลัก และเป็นเรื่องหลักที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานให้เป็นมรดกของปวงชนชาวไทย 

ปฐมบทของเรื่องนี้ต้องย้อนไปเมื่อปี 2507 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ จ.เพชรบุรี แล้วทรงทราบถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มชาวสวนผักชะอำ จำนวน 83 ครอบครัว ซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ในการประกอบอาชีพจึงทรงรับกลุ่มเกษตรกรนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระราชทานเงินให้กู้ยืมไปลงทุน (ย้ำว่าให้กู้นะครับ) จำนวน 300,000 บาท ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับสมัยนั้น แต่ทว่าไม่มีผู้ใดสามารถนำเงินที่กู้ยืมไปมาคืนได้ (ทำไมล่ะ ?) เหล่าเกษตรกรไม่ได้ขี้เกียจนะครับ แต่มูลเหตุที่เกษตรกรเหล่านี้ไม่มีเงินมาคืนก็เพราะพวกเขา ‘ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง’ ต้องเช่าที่ดินของกรมประชาสงเคราะห์ เฉลี่ยครอบครัวละไม่เกิน 2 ไร่ ทั้งอยู่ ทั้งเพาะปลูก ซึ่งไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ พอพระองค์ทรงทราบถึงมูลเหตุแห่งการนี้ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ อดีตองคมนตรี ไปจัดหาที่ดินในเขต จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อมาจัดสรรให้แก่เกษตรกร (คือวัดผลกันอีกครั้ง เงินที่ให้กู้ไป ก็ช่างมัน) 

เป็นความบังเอิญที่โชคดีอย่างยิ่ง!! เพราะในขณะนั้น รัฐบาลอิสราเอล โดย เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ได้ขอทราบหลักการของโครงการเรื่องของที่ดินเกษตรในครั้งนั้นและอาสาช่วยเหลือในด้านผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการทำสัญญาร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล โดยเริ่มโครงการ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2509 ให้ชื่อว่า ‘โครงการไทย - อิสราเอล เพื่อพัฒนาชนบท (หุบกะพง)’ นั่นคือการต่อยอดจากพระราชดำริในการสร้างที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร 

พื้นที่โครงการเดิมเป็นป่าคุ้มครองของกรมป่าไม้ มีราษฎรเข้าไปจับจองอยู่บ้าง แต่ทำกินไม่ค่อยได้ผล เพราะดินไม่ดีและขาดแคลนน้ำ การทำกินจึงเป็นไปในลักษณะไร่เลื่อนลอย ย้ายที่ทำกินทุก 3-4 ปี จึงมีพระราชดำริให้กันพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ออกจากพื้นที่ป่า โดยทรงจับจองที่ดินตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำมาจัดให้ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนและมีความขยันหมั่นเพียร แต่ขาดแคลนที่ทำกินได้เข้าไปอยู่อาศัยและทำประโยชน์ นั่นคือจุดเริ่มต้นจนเกิดเป็นข่าวนี้ในปี พ.ศ. 2518 

เกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องที่ดิน ผมขอยกบทความของท่านอดีตประธานองคมนตรี ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เรื่อง ‘พระบารมีคุ้มเกล้าฯ’ ในหนังสือ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับคณะองคมนตรี’ โดยมีใจความบางส่วนบางตอนที่เล่าเรื่อง ‘การปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรผู้ยากไร้ได้มีที่ดินทำกิน’ ความว่า...

“...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นการณ์ไกลในอนาคตว่า ยิ่งนานวันชาวไร่ชาวนาจะยิ่งไม่มีที่ดินทำกิน เพราะความยากจนของเขาเหล่านี้ พวกที่เคยมีที่ดินต้องยอมสูญเสียกรรมสิทธิ์ให้แก่นายทุน และกลายมาเป็นผู้เช่าหรือไร้ที่ดินทำกินในที่สุด จึงมีพระราชดำริที่จะปฏิรูปที่ดินทำกิน เพื่อช่วยราษฎรที่ยากจนให้มีที่ดินทำกินตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน โดยทรงดำเนินโครงการเป็นแบบอย่างเริ่มจาก ‘โครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง’

“รัฐบาลแต่ละชุดหลังจากนั้น ก็ได้ดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในเรื่องปฏิรูปที่ดินตามพระราชดำริของพระองค์มาเป็นลำดับ (พระองค์ไม่ได้บังคับให้ทำตามนะครับ แต่ถ้ารัฐบาลไหนเห็นประโยชน์ตรงนี้ก็สนองพระราชดำริของพระองค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน)”

“ตั้งแต่รัฐบาลชุดศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เสนอและได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาให้ตราพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ขึ้น ช่วงที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ พระองค์ทรงพระกรุณาฯ รับโครงการไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยการพระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 51,967 ไร่ 95 ตารางวา ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นประเดิม โดยมีพระราชประสงค์ให้ผู้เช่าที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่แต่เดิม ได้ทำกินในที่ดินนั้นต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน ตราบที่ยังยึดถืออาชีพเกษตรกรรมอยู่ แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น (ให้ทำกินได้ แต่ไม่ให้ขายเพราะจะหมดที่ทำกินหากขายไป)”

“ต่อมาในสมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพระราชดำริเรื่องการปฏิรูปที่ดิน โดยทรงขอให้รัฐบาลดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่ช้านัก แต่เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้มีเวลาอยู่ในหน้าที่ไม่นาน (เป็นรัฐบาลผสมยิบย่อยมาก ๆ) จึงยังไม่มีโอกาสสนองพระราชดำริเต็มที่ การปฏิรูปที่ดินตามพระราชดำรินั้น จึงเริ่มดำเนินการในสมัยรัฐบาลชุดของผม (รัฐบาลของ ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร) ตามที่ได้มีพระราชดำรัสแนะนำ คือ ให้มีการแจกเอกสารสิทธิแก่ราษฎรผู้ไร้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และจัดให้มีการบูรณาการต่อไปด้วยการสร้างถนน สะพาน ขุดคลอง สร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงคุณภาพดิน แจกปุ๋ย ฝึกอบรมสาธิตการเพาะปลูกพืชต่างๆ ที่ดูแลง่าย โตเร็ว ให้ราคาสูง และจัดสรรเงินทุนของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกษตรกรกู้ยืมเพื่อการเกษตรด้วย…”

ถึงตรงนี้จบเรื่องราวที่ดินในบทความเล่าเรื่อง ‘การปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรผู้ยากไร้ได้มีที่ดินทำกิน’

น่าสังเกตว่าโครงการหุบกะพงที่ทรงดำเนินโครงการเป็นแบบอย่างนั้น มีการทดลองปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ วางแผนผังการจัดที่ดิน บำรุงรักษาพัฒนาแหล่งน้ำรวมกลุ่มเกษตรจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร เพื่อการผลิต การจำหน่าย จัดหาสินเชื่อ มีการส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาอาชีพ ครบวงจร 

ที่น่าสนใจ คือ พระองค์พระราชทานที่ดินเพื่อใช้ประเดิมสำหรับการดำเนินงานปฏิรูปที่ดินในท้องที่ภาคกลางด้วย โดยรัฐบาลในขณะนั้นเริ่มทำการปฏิรูปที่ดินที่ได้รับพระราชทานมาทั้ง 50,000 ไร่เศษก่อน โดยมีที่ดิน ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถปฏิรูปได้ 43,902ไร่ จากนั้นก็บุกเบิกปฏิรูปที่ดินในท้องถิ่นทุรกันดารอื่น ๆ ตามพระราชดำริ รวมอีก 17 จังหวัด ปฏิรูปไปถึงท้องที่ ที่แห้งแล้งที่สุดในอีสาน คือ ทุ่งกุลาร้องไห้!! (วันนี้ไม่มีกุลามาร้องไห้ มีแต่ข้าวเจ้าที่อร่อยมาก ๆ) 

ต่อจากนั้น รัฐบาลชุดต่อ ๆ มาก็ได้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินตามพระราชดำรินี้จวบจนถึงปัจจุบัน จนสามารถช่วยเกษตรกรไทยให้มีที่ดินทำกิน และมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ยังได้พระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพิ่มเติม โดยทรงชี้แนะด้วยว่า การปฏิรูปที่ดินในแต่ละท้องที่ จะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อให้เกษตรกรเห็นผลโดยไม่ชักช้าส่วนเงินชดเชยค่าที่ดินที่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ซึ่งรัฐบาลจะต้องทูลเกล้าฯ ถวายตามกฎหมายนั้น เพื่อพระราชทานให้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินงานของสหกรณ์ในเขตปฏิรูปที่ดินเหล่านั้น (คือเงินพระองค์ที่ชาวบ้านมาใช้ที่ดินของพระองค์พระองค์ไม่รับ ที่จ่าย ๆ กันมาให้เอาไปหมุนเวียนในสหกรณ์) พูดง่าย ๆ ว่า ทรงให้ทั้งที่ดินทำกิน ให้ทั้งเงิน แล้วยังให้พัฒนาทรัพยากรเพื่อการผลิตอื่น ๆ พร้อมด้วยความรู้ในการผลิตและการดำเนินการต่อไปด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top