Monday, 19 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

เชียงใหม่ - อบจ.เชียงใหม่ มอบถุงยังชีพประชาชน 25 อำเภอ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มอบถุงยังชีพให้แก่ผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนชาวเชียงใหม่ ณ วัดนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า อบจ.เชียงใหม่ มีความตั้งใจที่ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำในขณะนี้ โดยได้จัดสรรงบประมาณและมอบหมายให้ส่วนงานที่รับผิดชอบ จัดทำถุงยังชีพ จำพวกข้าวสารอาหารแห้ง มาม่า ปลากระป๋อง ประมาณ 40,000 ชุด เพื่อกระจายไปช่วยเหลือประชาชน 25 อำเภอทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ตามสัดส่วนครัวเรือนที่ร้องขอมา จากการสำรวจความต้องการของ อปท.ในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยวันนี้ ได้ส่งมอบถุงยังชีพ จำนวน 2,380 ชุด ให้แก่ผู้นำชุมชน 97 ชุมชน ทั้ง 4 แขวง ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากCOVID-19

นอกจากนี้ยังได้ส่งมอบถุงยังชีพอีกประมาณกว่า 35,000 ชุดผ่าน สจ.เขตทุกเขตเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน 25 อำเภอ ทั่วจังหวัดเชียงใหม่อย่างทั่วถึงต่อไปด้วย

ซึ่งหวังว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้บ้าง อย่างไรก็ตามทางอบจ. จะได้หาแนวทางช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติมเป็นระยะ ๆ ต่อไป


ภาพ/ข่าว  วิภาดา / เชียงใหม่

สมุทรปราการ - “รองโจ” รอง ผบก.ชลบุรี ร่วมกับครอบครัวมีศิริ มอบอาหารปรุงสุกและน้ำดื่ม ให้บุคลากรทางการแพทย์

พ.ต.อ.กรวัฒน์ หันประดิษฐ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย ดร.วีร์สุดา รุ่งเรือง อดีตประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.บางพลีใหญ่ ร่วมกับ ร้าน OPOR fashion ครอบครัวมีศิริ นำอาหารปรุงสุกพร้อมด้วยน้ำดื่มนำมามอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฎิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชน ณ ศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 วัดบางพลีใหญ่กลาง

โดยนายธวัชชัย มีศิริ พร้อมครอบครัวมีศิริ จัดทำอาหารกล่องข้าวหมกไก่ทอด ข้าวมันไก่ ข้าวผัดกระเพราหมู และก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวกรอบ จำนวน 300 ชุด พร้อมทั้ง น้ำลำไย น้ำเก็กฮวย และน้ำดื่ม นำมามอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ จากโรงพยาบาลบางพลี  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางพลี และเจ้าหน้าที่ อสม.ที่มาอำนวยความสะดวกในการให้บริการฉีดวัคซีน ให้กับประชาชน ณ ศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 วัดบางพลีใหญ่กลาง ต.บางพลี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เสียสละเพื่อส่วนรวม โดยมี พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (พระครูแจ้) เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง และตัวแทนบุคลากรทางการแพทย์ ศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 ร่วมกันรับมอบ


ภาพ/ข่าว  คิว-ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน

นายกไก่ควงผู้ว่าฯ ดูสถานที่จัดทำโรงพยาบาลสนาม อำเภอบ้านโพธิ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19

วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 9.30 น. นายกไก่ กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายก อบจ.ฉะเชิงเทรา ลงพื้นที่ร่วมกับ นายไมตรี ไตรติลานันทน์ผวจ.ฉะเชิงเทรา พร้อมคณะทำงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา และผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามความพร้อมของสถานที่จัดทำโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 3 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา 

โรงพยาบาลสนามซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 12,000 ตารางเมตร อยู่ห่างจากชุมชน สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 500-1,000 คน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่คาดว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดในกลุ่มสถานประกอบการ ชุมชน และแคมป์คนงาน     

ทั้งนี้ ได้ทำการสำรวจสถานที่เพื่อเตรียมการติดตั้งระบบไฟฟ้า น้ำประปา ห้องน้ำ และระบบการสื่อสาร ซึ่งในส่วนของการปรับปรุงพื้นที่ องค์การบริการส่วนจังหวัดฉะเชิงเทราให้การสนับสนุนเครื่องจักรกล คนงาน และงบประมาณ สำหรับระบบสาธารณูปโภค ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคฉะเชิงเทรา การประปาฉะเชิงเทรา องค์การโทรศัพท์ฉะเชิงเทรา รวมทั้งการดำเนินงานด้านอื่น ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคเอกชน


ภาพ/ข่าว  สัมฤทธิ์ ล้ำเลิศ / ฉะเชิงเทรา

ปทุมธานี - พิธีเปิด "ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย" จังหวัดปทุมธานี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทย โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ จัดตั้ง "ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย" ณ ศูนย์คหกรรมศาสตร์ช่อพวงชมพู คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในระหว่างวันที่ 7-16 กรกฎาคม 2564

เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นการจัดตั้งครัวพระราชทานฯ แห่งที่ 13 นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19โดยในวันนี้ (7 กรกฎาคม 2564) เวลา 10.00 น. นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด "ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย" พร้อมมอบอาหารพระราชทานให้แก่ผู้แทนจากอำเภอต่าง ฯ จำนวน 3,000 ชุด ณ ศูนย์คหกรรมศาสตร์ช่อพวงชมพู คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

โดยเมนูอาหารพระราชทานในวันนี้ ประกอบด้วย ข้าวสวยไก่กระเทียม น้ำพริก ผักสุด จากนั้น ประธานและคณะได้เดินทางเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยยากไร้ จำนวน 3 รายในพื้นที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง พร้อมมอบอาหารพระราชทาน น้ำดื่ม และชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤติโควิด-19 เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ยังความปลาบปลื้มแก่ประชาชนที่ได้รับอาหารพระราชทานและต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

อาหารปรุงสุกใหม่จากครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย จะแจกจ่ายไปยังประชาชนในพื้นที่ 7 อำเภอ ของจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอสามโคก อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอหนองเสือ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการครัวที่เน้นความสะอาด ถูกสุขลักษณะ ประกอบหารปรุงสดใหม่ สะอาด โดยเน้นให้ผู้ประกอบอาหารแต่งกายตามมาตรฐาน คือ สวมหมวกคลุมผม สวมผ้ากันเปื้อน สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือ รวมถึงการแจกจ่ายอาหารพระราชทานที่มีการจัดระเบียบการรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 3 ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ได้ผลิตอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และมอบให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บุรีรัมย์ นครสวรรค์ และตรัง ไปแล้วรวมจำนวน 145,104 ชุด และยังคงให้ความช่วยเหลือในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเงิน 99 บาท ในโครงการ "พลังใจ 99 บาท ก้าวผ่านวิกฤต COVID-19" เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องกักกันตน ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และไร้ที่พึ่ง เพื่อลดความเสี่ยง ป้องกัน และเยียวยาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านการดำเนินงานของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สถานีกาชาด เหล่ากาขาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ ด้วยการสแกน QR CODE ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารในระบบ E-DONATION หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักสีลม ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 001-1-34567-0 หรือธนาคารกรุงไทย สาขาสุรวงศ์ ชื่อบัญชี "สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 023-6-06799-0 สอบถามเพิ่มเติม โทร.1664


ภาพ/ข่าว  ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

อำเภอขุนหาญเปิดยุทธการ 238 พิทักษ์นครลำดวน กวาดล้างยาเสพติดตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา

เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2564  ภายใต้การอำนวยการของนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ/ผอ.ศอ.ปส.จ.ศก. และนายคมป์ สังข์วงษ์ นายอำเภอขุนหาญ ได้สั่งการให้นายจุติเพชร บุญเนตร ปลัดอำเภอ งานป้องกัน เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เลขประจำตัว 620041นำกำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน อ.ขุนหาญ ที่ 6 สนธิกำลังกับตำรวจ สภ.ขุนหาญ และทหาร ฉก.3 ร่วมกันระดมกวาดล้างอาชญากรรมและการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามแผน "ยุทธการ 238 พิทักษ์นครลำดวน" ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศป.ปส.อ.ขุนหาญ 

โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ เวลาประมาณ 00.01 น.ได้ร่วมทำการจับตัว นายเอกวัฒน์ วรรณพัน ชาวตำบลบึงมะลู อ.กันทรลักษ์  และนายฐิติศักดิ์ เขียวทอง ชาวตำบลบึงมะลู อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยของกลาง เป็น

- ยาเสพติดให้โทษประเภท 1(ยาบ้า) ลักษณะชนิดเม็ดสีส้มกลมแบน จำนวน 1,986 เม็ด
- ยาเสพติดให้โทษประเภท 1(ยาบ้า) ลักษณะชนิดเม็ดสีเขียวกลมแบน จำนวน 14 เม็ด

รวมเป็นยาบ้าทั้งหมดจำนวน 1,200 เม็ด ผลตรวจการปัสสาวะเป็นบวก โดยกล่าวหาว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า)ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) โดยผิดกฎหมาย มีพฤติกรรม ได้นำยาเสพติด(ยาบ้า) เข้ามาจำหน่ายในเขต อ.ขุนหาญ

สถานที่เกิดเหตุ บริเวณประตูทางออกหน้าโรงเรียนสำโรงเกียรติ หมู่ที่ 9 ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ     เจ้าหน้าที่จึงได้จับกุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองรายพร้อมด้วยของกลางทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวน สภ.ขุนหาญ เพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป


ข่าว/ภาพ  ทีมข่าวศรีสะเกษ

ไฟในโรงงานผลิตเม็ดโฟม กิ่งแก้ว 21 ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังฝนตกลงมา เร่งอัดเคมีโฟมคุมสถานการณ์ไว้ได้

เมื่อเวลา 17.00 น ของวันนี้ วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ไฟได้เกิดปะทุลุกไหม้ขึ้นมาอีกครั้งอย่างรุนแรง เนื่องจากในช่วงดังกล่าวมีฝนตกลงมาและมีลมกรรโชกแรง ทำให้เปลวเพลิงยิ่งลุกโหมอย่างรุนแรง ซึ่งขณะเกิดเหตุยังมีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำการณ์อยู่ตรงจัดที่เกิดการปะทุของเหลวไฟ โดยกลุ่มควันสีดำจำนวนมากถูกกระแสพัดมาปกคลุมอยู่บนถนนกิ่งแก้วจนไม่สามารถมองเห็นผิวการจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจและมูลนิธิร่วมกตัญญูร่วมทั้งอาสาสมัครกู้ภัยต้องเข้าประจำการตามจุดรวมพลที่อยู่ทางด้านต้นลม เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ระดมฉีดอัดน้ำยาเคมีโฟมใช้เวลาประมาณ 30 นาที กลุ่มควันเริ่มเบาบางลง ส่วนสาเหตุน่าจะเกิดจากการที่ฝนตกลงมาแล้วทำให้ชั้นโฟมที่เราฉีดอัดปิดอากาศไว้เกิดเบาบางลงทำให้เกิดไฟปะทุขึ้นมาได้ แต่ขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้แล้ว

ด้านนายปภินวิช ละอองแก้ว ปภ.จังหวัดสมุทรปราการ ได้กล่าวว่า ขณะนี้ท่านนายอำเภอในฐานะผู้รับผิดชอบในการทำงาน จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของจังหวัด มาการประชุมปรับปรุงแผนการทำงาน เพราะปล่อยไว้ให้เป็นอย่างนี้กันไม่ได้ ก็คงต้องมีการปรับปรุงแนวทางการทำงานใหม่เพื่อที่จะให้ยุติและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนให้มากที่สุด เพราะเราคลุมสถานการณ์อยู่แบบนี้ โอกาสที่มันจะเกิดขึ้นอีกมันก็ยังมี เราก็เห็นกันอยู่แล้วมันจะดับมันก็ไม่ดับ เพราะฉะนั้นเราถึงได้บอกว่าเราไม่วางใจต้องมีการเฝ้าระวังกันอยู่ตลอด

ซึ่งก็ได้รับแจ้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านมาทางท่านนายอำเภอ ว่าจะมีบริษัทจากจังหวัดระยอง ว่าจะมาสนับสนุนการกำจัดสารระเหย ให้ระเหยขึ้นไปในอากาศได้ แต่ก็ยังไม่มั่นใจก็คงต้องรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการตัดสินใจอะไรต้องผ่านผู้ดูแลในพื้นที่ร่วมไปถึงท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะตัดสินใจว่าจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมาย

ในส่วนที่ทำให้เกิดเปลวไฟปะทุขึ้นมานั้นส่วนหนึ่งก็เกิดจากแสงแดดตอนกลางวันที่ลงมาเผาเคมีโฟมที่เราฉีดอัดเอาไว้ให้บางลงและเกิดรอยแตกร้าวจึงทำให้เกิดการปะทุขึ้นมาได้ เพราะว่าความร้อนที่อยู่ด้านล่างมันอาจจะยังคงอยู่ โดยขณะนี้ตอนนี้กำลังเริ่มอ่อนล้าเพราะทำงานกันมาตั้งแต่วันแรก

ปภ.จังหวัด โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ได้ให้ระดมสรรพกำลัง อปท.ทุกแห่งในจังหวัดสมุทรปราการ ให้เข้าปฎิบัติหน้าที่เป็นเวรผลัด วันละ 3 ผลัด ในการเฝ้าระวังท้องถิ่นละ 1 คัน ก็เท่ากับว่าผลัดละ 4 คัน ที่จะเข้ามาประจำอยู่ตรงนี้หมุนเวียนกันไปวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องอ่อนล้าเสียกำลัง ซึ่งตรงนี้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย


ภาพ/ข่าว  ก๊วก สมุทรปราการ

บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ มอบเครื่องฟอกอากาศเพื่อฆ่าเชื้อโรค สำหรับการใช้ในศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัย และการจราจรทางน้ำ

วันที่ 6 กรกฎาคม 64 เวลา 11:00น. บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ ได้มอบเครื่องฟอกอากาศเพื่อฆ่าเชื้อโรค เพื่อใช้ใน ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ (Maritime Safety and Surveillance Operation Center) โดยมี นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นผู้รับมอบ โดยศูนย์ปฏิบัติการฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลความปลอดภัยการเดินเรือ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางทะเลตามพันธกิจของกรมเจ้าท่า สามารถเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายให้มีความสะดวก รวดเร็วในการปฏิบัติงาน ติดตามข้อมูลเรือระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีเกิดเหตุเรือไทย ในต่างประเทศ สามารถประสานเจ้าของเรือได้รวดเร็ว ประสานงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งระบบ ตรวจการณ์ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรกำกับดูแลการจราจรและป้องกัน อุบัติเหตุทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สร้างความเชื่อมั่นด้านการขนส่งและการท่องเที่ยวทางน้ำ การอำนวย ความสะดวก กำกับ ดูแลด้านความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ การป้องกันกระทำผิดกฎหมายในทะเลมีรูปแบบ ที่หลากหลายซับซ้อน สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเรือประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม ( IUU Fishing) ให้มีข้อมูลภาพ ความเคลื่อนไหวของเรือต่าง ๆ ในทะเลที่มุ่งเข้าสู่ชายฝั่งและแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า จะทำการเปิดอาคาร 39 ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ กรมเจ้าท่า อย่างเต็ม รูปแบบในวันที่ 5 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า ครบรอบ 162 ปี

 

สมุทรปราการ - “นันทิดา” นายก อบจ. ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนศูนย์พักพิงบางพลี แจงปมดราม่า ไม่ได้หายไปไหน

นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ นำคณะผู้บริหารลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ศูนย์พักพิงภายในวัดบางพลีใหญ่กลาง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วย นายสุนทร ปานแสงทอง รองนายก อบจ. ดร.พิริยะ โตสกุลวงศ์ รองนายก อบจ. นายสมลักษณ์ ควรสงวน รองนายก อบจ. นางสาวชนม์ทิดา อัศวเหม และนายรัชชานนท์ ทองอร่าม เลขานุการนายก อบจ.สมุทรปราการ นายชนะ หงวนงามศรี รองประธานสภา อบจ. สมุทรปราการ ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมประชาชน

โดยเดินทางมาให้กำลังใจ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตพลาสติกภายในซอย กิ่งแก้ว 21  โดยศูนย์พักพิงช่วยเหลือประชาชนวัดบางพลีใหญ่กลาง มีผู้ประสบภัยเข้ามาพักอาศัยกว่า 300 คน แรงระเบิดส่งผลกระทบทำให้บ้านเรือนประชาชน รถยนต์ โรงงาน และอาคารโดยรอบที่อยู่ในรัศมีได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก 

อีกทั้งยังพบว่ามีสารเคมีและวัตถุดิบในการผลิตถูกเพลิงเผาไหม้กลายเป็นกลุ่มควันฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ จนทางจังหวัดต้องประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย และทำการอพยพประชาชนออกห่างในรัศมี 5 กิโลเมตร

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำรองหลัก ที่คอยทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของทางจังหวัดสมุทรปราการ ให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายและกลับคืนสู่ภาวะปกติ  โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่ส่งทีมเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์เข้าไปร่วมปฏิบัติการดับเพลิงตั้งแต่เกิดเหตุและยืนหยัดช่วยเหลืออยู่ต่อไปจนกว่าภารกิจจะสำเร็จลุล่วง อบจ.สมุทรปราการ สนับสนุนภารกิจร่วมกับทางจังหวัด ได้แก่ รถฉีดน้ำยาโฟม จำนวน 4 คัน ,น้ำยาโฟม จำนวน 100 ถัง ,รถดับเพลิง จำนวน 2 คัน ,รถพ่นละอองน้ำจำนวน 9 คัน ,บอลลูนไลน์ จำนวน 4 เครื่อง (ประจำตามศูนย์อพยพ) และรถสุขา 4 คัน (ประจำตามศูนย์อพยพ)

นอกจากนี้ยังได้ประสานงานไปยัง นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อขอการสนับสนุนทางด้านอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นต่าง ๆ ในการยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ตามศูนย์อพยพชั่วคราว ซึ่งภารกิจครั้งนี้จะเห็นได้ว่า บทบาทและกรอบภารกิจในการกู้วิกฤติไฟไหม้โรงงานผลิตย่านถนนกิ่งแก้วครั้งนี้ ทุกฝ่ายล้วนให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินการของทางจังหวัดสมุทรปราการ ให้บรรลุเป้าหมายโดยพร้อมเพรียงกัน


ภาพ/ข่าว  คิว-ข่าวสมุทรปราการ รายงาน

นราธิวาส - ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 ร่วมนายก อบต.สุไหงปาดี ลงพื้นทีเยียมเยืยนให้กำลังใจชาวบ้าน

ที่ทางจังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งให้ปิดหมู่บ้านและอยู่ระหว่างรอดูอาการ 14 วันจากสถานณ์โควิคระบาด พันเอกภูมิ โพพี ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาร่วมนายเพียร มะโนภักดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ลงพื้นที่จุดคัดกรอง หน้าโรงเรียนราชภักดี ม.7 บ้านปิเหล็ง เขตบ้านโคกสะตอ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 6 พษฎาคม 2564 เวลา 10.00 น เพื่อพบปะให้กำลังใจ แก่เจ้าหน้าที่ และมอบถุงยังชีพจำนวน 100 ชุด น้ำดื่มสะอาด 360 ขวดให้กับครอบครัวบ้านโคกสะตอที่ถูกปิดหมู่บ้าน ตามประกาศจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2564  เนื่องจากตรวจพบเป็นพื้นที่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 โดยมีนายอันนูวา กาเซ็ง ผู้ใหญบ้าน เป็นผู้รับมอบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง อสม.ชรบ.ในพื้นที่ 

สำหรับบ้านโคกสะตอ มีประชากร 50 ครัวเรือน จำนวน 437 คน ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด -19 ครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 จำนวน 10 คน  จำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 10 คน   


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

เชียงราย - ศบภ.มทบ.37 ซักซ้อมการตรวจความพร้อมกองร้อยช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมกำลัง และยุทโธปกรณ์ ให้พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชน

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64, 1400 พล.ต. ศุภฤกษ์ สถาพรผล ผอ.ศบภ.มทบ.37 มอบหมายให้ พ.อ. วีรพงศ์ ไชยวัง หน.ฝยก.ศบภ.มทบ.37 นำกำลังพลดำเนินการซักซ้อมการตรวจความพร้อมกองร้อยช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมกำลัง และยุทโธปกรณ์ ให้พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชน ให้ได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ รวมถึงเกิดความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ณ สนามฝึก หน้า ร้อย.มทบ.37 ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จว.เชียงราย มีกำลังพล พร้อมเครื่องมือพิเศษ เข้ารับการซักซ้อมการตรวจความพร้อมฯ จำนวน 118 นาย และยานพาหนะ จำนวน 15 คัน การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top