Friday, 16 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

ชลบุรี - ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ รับมอบเงินจากการจำหน่ายเสื้อที่ระลึก ‘เรือของพ่อ เรือ ต.91’ จากชมรมภริยา กองเรือยุทธการ เพื่อใช้ในการบำรุงรักษาอุทยานประวัติศาสตร์ฯ สัญลักษณ์สำคัญของเมืองสัตหีบ

วันที่ 24 ส.ค. 64 พล.ร.อ.สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พร้อมด้วยคณะกรรมการกองทุนอุทยานประวัติศาสตร์ เรือของพ่อ เรือ ต.91 รับมอบเงินจากการจำหน่ายเสื้อที่ระลึก เรือของพ่อ เรือ ต.91 จากคุณสุนันท์ สมานรักษ์ ประธานชมรมภริยากองเรือยุทธการ เป็นจำนวนเงิน 300,091 บาท เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษา และดำเนินโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ฯ ณ สนามหน้าสโมสรสัญญาบัตรกองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

การจัดทำเสื้อที่ระลึกฯ โดยชมรมภริยากองเรือยุทธการ มีที่มาจากการที่เรือ ต.91 เปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งพระเมตตาและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ และกองเรือยุทธการ ที่ได้ทรงพระราชทานพระราชดำรัส และทรงให้คำแนะนำแก่กองทัพเรือ จนกระทั่งกองทัพเรือได้จัดสร้างเรือ ต.91 ขึ้นเอง สามารถใช้ในราชการเป็นเวลาถึง 51 ปี จึงได้ออกแบบเสื้อที่ระลึกให้บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือ ต.91 ที่เข้าถึงได้ง่าย โดยได้ทำการจำหน่ายตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2563 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ให้ความสนใจ เช่น กองเรือต่าง ๆ , กำลังพลในกองทัพเรือ และประชาชนทั่วไป ที่ได้ให้การสนับสนุนร่วมกันซื้อเสื้อที่ระลึก ทำให้มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 300,091 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการมอบรายได้ให้แก่คณะกรรมการกองทุนอุทยานประวัติศาสตร์เรือของพ่อ เรือ ต.91 เพื่อนำเข้ากองทุนฯ และนำไปใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตั้งกองทุนต่อไป

ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์ เรือของพ่อ เรือ ต.91 ตั้งอยู่กลางอ่าวดงตาล หน้าสโมสรสัญญาบัตรกองเรือยุทธการ ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของเมืองสัตหีบ ที่ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างการรับรู้ถึงความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของการสร้างอุทยานให้กำลังพลกองเรือยุทธการ และประชาชนทั่วไปร่วมรำลึกสืบไป


ภาพ/ข่าว  กองกิจการพลเรือน กองเรือยุทธการ

นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี ชลบุรี

พิธีมอบประกาศ 'สำนักนายกรัฐมนตรี' เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา แก่วัดในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัด'ยโสธร' ณ วัดมหาธาตุ

เมื่อวันจันทร์ ที่ 23 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ณ วัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร พระเดชพระคุณ "พระธรรมราชานุวัตร" (สุทัศน์วรทสฺสีป.ธ.9) เจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาส "วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร" เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย"พระมหาอภิลักษณ์ ปญฺญาวโร" (ป.ธ.9) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหา เลขานุการเจ้าคณะภาค 10 และคณะทำงานกองงานเลขานุการเจ้าคณะภาค 10 มอบประกาศ "สำนักนายกรัฐมนตรี" เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา แก่วัดในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัด "ยโสธร"

ในการนี้ พระเดชพระคุณ "หลวงพ่อพระเทพวงศาจารย์ " เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง) เจ้าคณะจังหวัดยโสธร / พระเถระชั้นผู้ใหญ่ / รองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร / เจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร / คณะสงฆ์วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง)  / ผู้อำนวยการพระพุทธศาสนาจังหวัดยโสธ / ดร.พนธ์พันธ์ เลิศจันทรางกูร ผู้ช่วยเลขานุการหม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ และตำแหน่งที่ปรึกษาสมเด็จพระสังฆราชราชอาณาจักรกัมพูชา และที่ปรึกษา "วัดบ้านโพนงอย" อ.เมือง จ.ยโสธร / พุทธศาสนิกชน ญาติโยม และคณะสงฆ์ วัดบ้านโพนงอย ต.ขั้นไดใหญ่ อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร / วัดโพนขวาว ต.ขั้นไดใหญ่ อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร ซึ่งเป็นวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้ง​ที่ 2 ประจำปี 2563 ในครั้งนี้ ร่วมแสดงมุฑิตาจิต อนุโมทนาบุญร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง

เปิดปฎิบัติการสยบไพรีตำรวจ ปปส. ปปง. ทหารปกครอง ยึดทรัพย์แก๊งค้ายาเสพติดฟอกเงินชายแดนแม่สาย "กาก้ามังกรหลับ"

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง.ผบ.ตร.(ปป) พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแย้ม ผบช.ปส. พล.ต.ต.ชินวิช วิชัยธนพัฒน์ ผบก.ภ.จว.เชียงราย ตำรวจภูธรภาค5 ตชด.ภาค3 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 3 กองกำลังผาเมืองและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สำนักงานป.ป.ส.เจ้าหน้าที่ป.ป.ง.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันแถลงข่าวการปฎิบัติการปิดล้อมตรวจค้นตามแผนปฎิบัติการสยบไพรี 64/14 เพื่อทลายเครือข่ายค้ายาเสพติด "กาก้า มังกรหลับ" ในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 45 จุดตรวจค้นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน ลพบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร และสุราษฎ์ธานี

โดยผลการปฎิบัติสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้ 24 ราย ยึดทรัพย์บ้านพร้อมที่ดิน 3 หลัง ที่ดิน 4 แปลง คอนโดสิ่งปลูกสร้าง 2 หลัง รถยนต์ 14 คัน รถจักรยานยนต์ 23 คัน อาวุธปืน 8 กระบอก พร้อมเครื่องกระสุนปืน 117 นัดโทรศัพท์มือถือ 31 เครื่อง สมุดบัญชีธนาคาร 52 เล่ม บัตรเอที่เอ็ม 13 ใบพร้อมหลักฐานอื่น ๆ อีก5รายการมูลค่าประมาณ50 ล้านบาท ขณะที่การตรวจสอบบัญชีเงินฝากของกลุ่มบุคคลในเครือข่ายพบว่าในรอบปีมีเงินหมุนเวียนกว่า 1,000 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดเครือข่าย "กาก้า มังกรหลับ" มีคดีเกี่ยวข้องในห้วงปี 2563 ถึง 2564 ได้แก่ เมื่อวันที่1สิงหาคม 2563 จับกุมนายวรเดช พรถาวรกุล กับพวกรวมกัน 4 คน พร้อมยาไอซ์จำนวน 50 กิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 จับกุมนายมนตรี แซ่ลี กับพวกรวมกัน 4 คน พร้อมยาบ้าจำนวน 1.3 ล้านเม็ด ยาไอซ์จำนวน 6 กิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 จับกุมนายบดินทร์ ตานะสาย กับพวกรวมกัน 2 คน พร้อมยาไอซ์ 100 กิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2564 จับกุมนายสุพล ลีไพรอุทิศ กับพวกรวมกัน 3 คนพร้อมยาบ้าจำนวน 9.2 แสนเม็ดยา ไอซ์จำนวน 52 กิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 จับกุมนายกฤษกร ประชุมพรรณ์กับพวกรวมกัน 7 คน พร้อมยาบ้าจำนวน 8 ล้านเม็ด

จากการสืบสวนขยายผลจากคดีข้างต้น ปรากฎพฤติการณ์สอดคล้องว่ากลุ่มชาติพันธ์ในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือทำหน้าที่รับจ้างลำเลียงยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้านมาพักรอตามแนวชายแดนไว้ เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าในพื้นที่และพื้นที่ตอนในตามคำสั่งการของผู้ค้ารายสำคัญที่อยู่ระหว่างหลบหนี โดยมีการโอนเงินค่ายาเสพติดผ่านบัญชีธนาคารซึ่งกลุ่มเครือข่ายได้ว่าจ้างให้กลุ่มชาติพันธ์ในพื้นที่เปิดไว้รอการโอนเงินจากลูกค้าอีกทอดหนึ่ง หลังจากนั้นจะมีกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ใช้บัญชีทำธุรกรรมแทนทำการถอนเงินสดจากตู้เอที่เอ็มหรือโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง เพื่อนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งเป็นการถือครองแทนเจ้าของยาเสพติดที่แท้จริงนำไปประกอบธุรกิจ เพื่อให้ดูเสมือนเงินที่ได้มาอย่างถูกต้อง และนำบางส่วนลักลอบนำออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อส่งต่อไปให้กับกลุ่มเจ้าของยาเสพติดและกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดซึ่งหลบหนีอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านในครั้งนี้ต่อไป


ภาพ/ข่าว  สันติ วงศ์สุนันท์ ผู้สื่อข่าวเชียงราย

อยุธยา – ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 500,000 ตัว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564

วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เวลา 08.15 น. ณ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าน้ำวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 โดยมี พระครูพิพิธวิหารการ(สมาน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชวรวิหาร พร้อมด้วย นายสุชาติ พิลาเดช ประมงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายนายบดินทร์ เกษมศานติ์ นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย

วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสำนักงานประมงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานสังกัดกรมประมง ได้จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ถวายความจงรักภักดีและถวายเป็นพระราชกุศล  อีกทั้งเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้คงอยู่อย่างถาวรสืบไป ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ประกอบด้วยพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 500,000 ตัว พ่อแม่พันธุ์ปลาเทโพพระราชทาน  ขนาดประมาณ 50-80 เซนติเมตร จำนวน 10 ตัว และพันธุ์ปลาไทย จำนวน 50 ตัว โดยการดำเนินกิจกรรมภายใต้การป้องกัน และควบคุมการระบาดของการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด


ภาพ/ข่าว  สุจินดา อุ่นขาว รายงานจากอยุธยา

ขอนแก่น - ขยะติดเชื้อจากเหตุโควิด ทะลักกว่าวันละ 1,000 กก. เทศบาลฯ รับบทหนักจัดเก็บและกำจัดตามาตรฐานความปลอดภัยอย่างเข้มงวด "ธีระศักดิ์" ระบุคนงานของเทศบาลไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บ แต่ทุกคนพร้อมทำหน้าที่เพื่อก้าวผ่านวิกฤติเหตุการณ์ไปด้วยกัน

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 24 ส.ค.2564 นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า เทศบาลฯดำเนินการจัดเก็บขยะติดเชื้อเพื่อนำไปกำจัดเฉลี่ยวันละ ประมาณ 300 กิโลกรัม และด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้ปัจจุบันมี ขยะติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลสนาม ที่มีขยะที่จะต้องดำเนินการกำจัด เฉลี่ยประมาณวันละ 1,000 กิโลกรัม ขณะที่รถจัดเก็บขยะยังมีอยู่เท่าเดิม คือ 1 คัน

"ด้วยศักยภาพของเทศบาลในปัจจุบัน ก็ยังพอรับมือได้ แต่หากมีการขยายโรงพยาบาลสนามมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็จะเกินขีดความสามารถเพราะทางเทศบาลกำลังดำเนินการประสานหาบริษัทเอกชนมาจัดเก็บขยะเพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้ได้รับคำตอบว่า บริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ติดต่อไป ต่างก็มีงานล้นมือ ทำให้ในตอนนี้เทศบาลจึงแก้ปัญหาโดยการปรึกษากับทางกรมอนามัยว่า วิธีการที่เทศบาลใช้รถขยะทั่วไปจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งทางกรมอนามัยก็มาดำเนินการและมาพูดคุยกันแล้วและบอกวิธีการให้ทราบ โดยวิธีการคือใช้รถขยะ ที่มีระบบฝาปิดมิดชิด เนื่องจากว่ารถขยะทั่วไปไม่มีระบบห้องเย็น แต่ความจริงขยะตามครัวเรือน หรือโรงพยาบาลสนาม ขยะติดเชื้อก็จะต่างจากขยะติดเชื้อ ของโรงพยาบาลทั่วไปที่จำเป็นจะต้องมีห้องเย็นเพราะมีจำพวก ชิ้นเนื้อ หรือเลือด ทำให้ต้องมีระบบห้องเย็นเพื่อที่จะได้รักษาอุณหภูมิไม่ให้เน่าเสียมากจนเกินไป"

นายธีระศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่น สำหรับขยะติดเชื้อของครัวเรือน และ โรงพยาบาลสนามที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ไม่ได้เป็นลักษณะดังกล่าว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกที่ใช้แล้ว ก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อ ดังนั้นก็สามารถใช้รถขยะทั่วไปให้ดำเนินการได้ แต่ขอให้มีระบบมิดชิด และเมื่อเก็บใส่ถุงแล้วก็ให้พ่นฉีดฆ่าเชื้อ ใส่ถุงแล้วก็นำขึ้นไปในรถนำไปที่ห้องเย็นที่บ้านคำบอนแล้วก็จะมีบริษัทมารับไปกำจัด ซึ่งเป็นสถานที่แยกกำจัดขยะติดเชื้อ จะไม่รวมกับขยะทั่วไป  และปัญหาที่พบขณะนี้คือ จำนวนคนเก็บขยะไม่เพียงพอในการจัดเก็บขยะ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ ขยะจากบ้านเรือนที่เป็น โฮมไอโซเลชั่นซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ส่วนโรงแรมที่ปรับมาเป็นโรงพยาบาลสนาม

ซึ่งในส่วนนี้ก็มีการประสานว่าการรวบรวมขยะติดเชื้อที่ถูกต้องควรจะดำเนินการอย่างไรตามมาตรฐานด้านอนามัย ซึ่งทางโรงพยาบาลสนามทุกแห่งก็รู้วิธีการปฏิบัติดังนั้นจึงไม่เป็นปัญหามากก็สามารถดำเนินการได้ สำหรับแนวทางในการป้องกันเจ้าหน้าที่ที่ต้องเก็บขยะทุกวันนั้น ทางเทศบาล ได้มีการมอบชุดรวมถึงถุงมือ และมีมาตรการวิธีการดำเนินการ โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกก็คือพนักงานที่เก็บขยะทั่วไปก็มีวิธีการอธิบายและให้ดำเนินการอย่างเคร่งครัด ขณะนี้พบว่าคนงานของเทศบาลซึ่งเป็นพนักงานจัดเก็บขยะเฉลี่ยต่อคนจะต้องเก็บขยะต่อคนโดยเฉลี่ย 1.8 ตันต่อคน  ซึ่งจะมีปัญหาหากใส่ชุดพีพีอี เก็บขยะ วันละ 1.8 ตัน แต่ปกติถ้าไม่สามารถใส่ได้ก็ต้องมีถุงมือมีรองเท้า ซึ่งทางเทศบาลก็สนับสนุนเต็มที่โดยเฉพาะมาตรฐานตรงนี้ทางหัวหน้างานหัวหน้าฝ่ายก็มีการดูแลอย่างเข้มงวด

"สำหรับขยะติดเชื้อค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน ทางเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบ หากเป็นแต่ก่อนขยะติดเชื้อจากสถานประกอบการทั่วไป ก็คิดค่าใช้จ่ายกับสถานประกอบการ แต่พอมีกรณีของโรงพยาบาลสนามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเทศบาลก็ต้องรับผิดชอบไป  โดยเฉลี่ยแล้วในหนึ่งวัน จากเดิมวันละ 300 กิโลกรัมก็เพิ่มเป็นวันละ 1,000 กิโลกรัม จะมีค่ากำจัดเพิ่มขึ้นเทศบาลก็ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะถือว่าเป็นการดูแลซึ่งกันและกันจึงไม่สามารถที่จะไปเรียกร้องกับใครได้"

บช.ปส.นำทีม สนธิกำลัง เปิดปฏิบัติการแผนสยบไพรี 64/14 ทลายแก๊งค้ายาเสพติด “กาก้า มังกรหลับ” ค้น 35 เป้าหมายทั่วประเทศ ยึดทรัพย์รวม 50 ล้านบาท

เวลา 05.00 น.วันที่ 24 ส.ค.64  พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแย้ม ผบช.ปส.ได้นำกำลังตำรวจ กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ตำรวจภูธร ภาค 5 ทหาร ฉก.ม.3 กองกำลังผาเมือง ตชด.ภาค 3 และฝ่ายปกครอง เปิดปฏิบัติการแผนสยบไพรี 64/14 เพื่อทลายเครือข่ายค้ายาเสพติด "กาก้า มังกรหลับ" ในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 35 จุด ทั่วประเทศ โดย จ.เชียงราย 23 จุด  จ.เชียงใหม่ 7 จุด จ.น่าน 2 จุด กรุงเทพฯ 1 จุด จ.สุราษฎร์ธานี 1 จุด และ จ.แม่ฮ่องสอน 1 จุด โดยผลการปฏิบัติสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้ 17 ราย ยึดทรัพย์ บ้านพร้อมที่ดิน 4 หลัง อาคารพาณิชย์ 2 คูหา ที่ดิน 1 แปลง รถยนต์ 5 คัน มูลค่าประมาณ 35 ล้านบาท

โดยปฏิบัติการมีขึ้นหลังจากเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมเครือข่าย แก๊งกาก้า มังกรหลับ โดยมีคดีเกี่ยวข้อง 5 คดีคือ คดีแรกเกิดขึ้นเมื่วันที่ 1 ส.ค.2563 ได้จับนายวรเดช พรถาวรกุล กับพวกรวม 4 คน พร้อมไอซ์ 50 กิโลกรัม เหตุเกิดในพื้นที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย  คดีที่ 2 วันที่ 28 ส.ค.2563 จับกุมนายมนตรี แซ่ลี กับพวกรวม 4 คน พร้อมยาบ้า 1,399,800 เม็ด ยาไอซ์ 6 กิโลกรัม และฝิ่นดิบ 4 กิโลกรัม เหตุเกิดในพื้นที่ ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ คดีที่ 3 วันที่ 3 ก.พ.2564 จับกุมนายบดินทร์ ตานะสาย กับพวกรวม 2 คน ของกลางยาไอซ์ 100 กิโลกรัม ยาบ้า 341 เม็ด เหตุเกิดที่ ต.แม่สาย อ.แม่สาย และ ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียราย จ.เชียงราย คดีที่ 4 วันที่ 13 มี.ค.2564 จับกุมนายสมพล ลีไพรอุทิศ กับพวกรวม 3 คน ของกลางยาบ้า 920,000 เม็ด และยาไอซ์ 52 กิโลกรัม เหตุเกิด ต.หนองหาร อ.สันทราย และ ต.สันผีเสื้อ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และคดีสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 มี.ค.64 จับกุมนายกฤษกร ประชุมพรรณ์ กับพวกรวม 7 คน ของกลางยาบ้า 8,085,000 เม็ด เหตุเกิด ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี จากการขยายผลทางเจ้าหน้าที่ได้ขออนุมัติออกหมายจับ จำนวน 39 ราย เป็นหมายจับข้อหา สมคบฯ พ.ร.บ.ยาเสพติด จำนวน 12 ราย หมายจับข้อหา สมคบฯ พ.ร.บ.ยาเสพติด และ ฟอกเงิน จำนวน 12 ราย และหมายจับข้อหา ฟอกเงิน จำนวน 15 ราย 

โดยก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้เปิดปฏิบัติการตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายมาแล้ว 10 จุด เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมาในเขต จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่  ลพบุรี และลำพูน ดำเนินกรจับกุมผู้ต้องหาได้ 6 ราย ยึดทรัพย์ได้มูลค่า 15,000,000 บาท ประกอบด้วยบ้านพร้อมที่ดิน 1 หลัง ที่ดิน 1 แปลง คอนโด 1 หลัง รถยนต์ 7 คัน รถจักรยานยนต์ 10 คัน ทองคำรูปพรรณ 14 รายการ และอาวุธปืน 6 กระบอกอีกด้วย

โดย พล.ต.อ.มนู เมฆหมก รอง ผบ.ตร.(ปป.) พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแย้ม ผบช.ปส.มีกำหนดเดินทางไปยังห้อง ศปก.สภ.แม่สาย เพื่อรับฟังบรรยายสรุป ก่อนลงตรวจพื้นที่เป้าหมายในปฏิบัติการใน อ.แม่สาย พร้อมแถลงข่าต่อสื่อมวลชนต่อไป


ภาพ/ข่าว  ณัฐวัตร ลาพิงค์ / เชียงราย

สระแก้ว - ผู้ว่าสระแก้วประชุมร่วมผู้ประกอบการในตลาดโรงเกลือเพื่อหารือ เปิดร้านขายของตามปกติ มีบางส่วนปิดหนีโควิด-19

เมื่อเวลา 10.30 น. ของวันนี้ ณ โรงแรมเดอะเวโลโฮเทล อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในพิธี โยมี นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วพ.อ.เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังบูรพา หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ กรปกครองสวนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ตม.สระแก้ว ทหาร ตำรวจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บรรยากาศที่ตลาดโรงเกลือ มีชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศกัมพูชา ประกอบการค้า และกรรมกรรับจ้างทั่วไม่มีทำให้ตลาดเงียบเหงา และเปิดร้านอยู่ไม่กี่ร้านนอกจากนั้นปิดหมด ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในตลาดโรงเกลือ คงต้องรอ ส่วนความคืบหน้าในการป้องกันโรคโควิดตามมาตรการสาธารณสุขสำหรับในช่วงนี้มีชาวกัมพูชาในตลาดโรงเกลือติดเชื้อโควิดเป็นจำนวนมากจึงมีการคัดเตอร์ในตลาดโรงเกลือ 21 วันจะครบในวันที่ 24 ส.ค.2564ที่จะถึงนี้ จึงมีมาตรการมารองรับในการเปิดตลาดโรงเกลือให้กับมาคึกคักเหมือนเดิม

นายสุรศักดิ์ รัตนธรรม เจ้าของตลาดรัตนธรรม กล่าวว่า ในช่วงนี้ตลาดโรงเกลือไม่มีนักท่องเที่ยวมาซื้อสินค้าเหมือนแต่ก่อน การขายของก็ไม่ได้เลย ยามปกติขายของได้ แต่มีลิขสิทธิ์มาจับ พอขายของดีหน่อยก็มีโรคโควิดแพร่ระบาดปิดตลาด แต่ค่าเช่า และค่ายามต้องจ่ายทุกเดือน แต่ตอนนี้ชาวกัมพูชากลัวโควิดมาก ขอกลับประเทศเกือบหมด จึงไม่มีโครมาเปิดร้านขายของได้ รายได้จากการขายของไม่มี แต่ค่าห้อง และค่าอะไรอีกมากมาย ก็ยังมาเก็บอยู่ ถ้าเป็นอย่างนี้ชาวกัมพูชา จะลำบากมาก และคนไทยก็ไม่ค่อยซื้อของมากนัก ไม่มีคนเดินซื้อของเลยจึงขอเสนอให้เปิดตลาดโรงเกลือและให้แต่ละเจ้าของตลาดดูแลคนของตนในการเข้า-ออก จะต้องมีการตรวจคัดกรองและกำชับให้คนในตลาดของตนสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยแอลกอฮอลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว

นางราตรี แสงรุ่งเรือง ประธานสภาการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ตลาดโรงเกลือเป็นตลาดการค้า ที่มีชาวกัมพูชาเข้ามาประกอบการเกือบทุกร้าน และชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ก็มีฐานะไม่ค่อยดี การแก้ไขปัญหาการขายสินค้า ทางจังหวัดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้า มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ซึ่งทางจังหวัดได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรึกษาหารือแนวทางแก้ไข ประกอบการตลาดโรงเกลือเป็นตลาดขนาดใหญ่ จะต้องแก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอน แต่ปัญหาใหญ่ในช่วงนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการซึ่งเป็นชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในตลาดโรงเกลือ ส่วนใหญ่ก็มีฐานะไม่คอยดีอยู่แล้วที่เป็นกรรมกรรับจ้างทั่วไป ดังนั้นจะทำอย่างไรเพื่อให้คนไทยและคนกัมพูชาที่อาศัยอยู่ตมแนวชายแดน มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดไป ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เราเลย จึงไม่มีรายได้เข้ามาทำให้ตลาดโรงเกลือเงียบเหงาดังกล่าว

นายเกียรติศักดิ์ จันทา ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว  กล่าวว่าในที่ประชุมได้รับฟังปัญหาของผู้ประกอบการทั้งในพื้นที่เมืองอรัญฯและในตลาดการค้าชายแดน(โรงเกลือ) เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาด ตลอดจนการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว(กัมพูชา) กรณีขอกลับประเทศเข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับการที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโดยเฉพาะตลาดโรงเกลือ ไม่สามารถขายสินค้าได้ตามปกติตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน และล่าสุดได้มีคำสั่งทางจังหวัดควบคุมการเข้า-ออก ในพื้นที่ ทำให้เดือดร้อนไม่สามารถขายสินค้าได้ แต่ต้องแบกภาระในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการเรียกต่อสัญญาเช่าอาคาร ที่ดิน หรือสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นต้น ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่ดีขึ้นเลย ดังนั้นในการมาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ทางผู้ประกอบการเช่าอาคารตลาดโรงเกลือ ขอยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาทบทวนปัญหาของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในขณะนี้

ทางผู้ว่าสระแก้วได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นโดยรวมรับปากว่าจะรีบหาทางแก้ไขทั้งเจ้าของตลาดและผู้ประกอบการให้เป็นธรรมกันทั้งสองฝ่าย ส่วนตลาดโรงเกลือท่านผู้ว่าฯ ยังต้องใช้มาตรการควบคุมพื้นที่ขั้นสูงต่อไปเรื่อย ๆ ก่อน เนื่องจากยังมีชาวกัมพูชาติดเชื้อเพิ่มเกือบทุกวัน สืบเนื่องจากกลุ่มชาวกัมพูชานั้นยังไม่มีใครได้รับวัคซินสร้างภูมิคุ้มกัน และที่ได้ข่าวว่าชาวกัมพูชาที่อยู่ในตลาดโรงเกลือได้มีการลงทะเบียนเพื่อรอการฉีดวัคซินจากรัฐบาลกัมพูชานั้น ผู้ว่าฯบอกก็ทราบข่าวเหมือนกัน ทั้งนี้ก็ต้องรอผู้ที่มีอำนาจในการอนุญาตหรือตัดสินใจเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็คอยช่วยเหลือเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติใดก็ตาม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังกล่าว ทำให้ชาวกัมพูชา ที่ประกอบการค้าในตลาดโรงเกลือ ต่างพากันปิดร้าน ขอเดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชา ด้วยความกลัวโรคระบาด ที่อยู่ติดกับฝั่งกัมพูชา ทางด้านทิศตะวันออกของตลาดโรงเกลือ และในช่วงที่ผ่านมา ชาวกัมพูชาเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในประเทศของตนเพื่อความปลอดภัยตลาดโรงเกลือ ปิดร้าน คิดเป็นร้อยละ 70% จึงทำให้ตลาดโรงเกลือเงียบเหงาอย่างที่เห็นดังกล่าว


ภาพ/ข่าว  สมศักดิ์ สารการ / บูรพาทีวีออนไลน์ รายงาน

นราธิวาส - "สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จ.นราธิวาส" จัดเสวนายุคใหม่แบบ WHF Online สร้างความเข้าใจในการเรียนการสอน จากสถานการณ์ Covid-19

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่หอประชุมจำลอง ศรีเลขา โรงเรียนนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นายณัฐพงษ์ นวลมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 7 เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน เรื่องการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดนราธิวาส ภายใต้กิจกรรม "สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดนราธิวาส"เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริหาร ครูอาสาสมัครในสถาบันศึกษาปอเนาะ

โดยมี นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต , นายแพทย์วิเศษ สิรินทโสภณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส , นายธวัชชัย ไชยกันย์ รองศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส , ดร.มุทริกา จินากุล หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนและวัยรุ่นสำนักงานอนามัยที่ 12 ยะลา , นายแพทย์วิบูลย์ คลายนา เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานอนามัยที่ 12 ยะลา และฮัจญีอัสอารี ลาเต๊ะ (บาบอซู) ตัวแทนสถาบันศึกษาปอเนาะ พร้อมกันนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet พร้อมกันนี้ได้มอบเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วจำนวน 20 เครื่อง ชุด PPE จำนวน 30 ชุด อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นกว่า 20,000 บาทให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสนามจังหวัดนราธิวาส

ทางด้านนายณัฐพงษ์ นวลมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 7 กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดนราธิวาส มีข้อกำหนดโดยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ On-Hand เป็นหลักเพราะจะมาอยู่ร่วมกันไม่ได้ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 จำนวนมากในขณะนี้ ซึ่งประเด็นที่น่ากังวลก็คือประเด็นของนักเรียนที่กลับไปบ้านแล้วกลับเข้ามาในสถาบันปอเนาะ ซึ่งเป็นประเด็นที่เรากังวล ถ้าหากมีนักเรียนคนใดคนหนึ่งกลับมาอยู่ในสถาบันการศึกษาปอเนาะจะต้องกักตัวก่อน 14 วัน ซึ่งในบางสถาบันศึกษาปอเนาะ จะเป็นนักเรียนที่อยู่ประจำ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จะออกนอกพื้นที่ไม่ได้ โดยจะต้องอยู่ในสถาบันศึกษาปอเนาะทุกวันและต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มที่แบบ 100% โดยห้ามคนในออกคนนอกเข้าไม่เช่นนั้นการแพร่ระบาดจะเกิดขึ้น ส่วนในการจัดการเรียนการสอนจะเป็นไปใน 3 รูปแบบ ดังนี้

1.ใช้ระบบ ON-HAND เป็นหลัก ซึ่งครูก็จะสามารถที่จะประสานกับนักเรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ ผ่านทางบาบอโดยมอบนโยบายในการจัดการเรียนการสอนต่างๆให้กับนักเรียนได้อ่านและตอบ

2.ใช้ระบบ ON–DEMAND ซึ่งบางคนมีมือถือเครื่องมือสื่อสารที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกับครูได้ ซึ่งจะใช้คลิปเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว

3.ใช้ระบบ ON-AIR ซึ่งในบางพื้นที่ก็สามารถจัดการเรียนการสอนได้แต่ก็มีน้อย ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนใน 3 รูปแบบได้

ซึ่งในขณะนี้การจัดการเรียนการสอนแบบ ON-SITE ไม่ได้เด็ดขาด เพราะพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม การจัดการเรียนการสอนแบบ ON-SITE  ก็จะต้องได้รับการอนุมัติจาก ศบค.เป็นหลัก โดยในขณะนี้การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านเครื่องมือต่าง ๆ อาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ โน๊ตบุ๊ก รวมถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว และร่วมหารือหาทางแก้ไข และในส่วนของเด็กยากจนที่ยังขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนนั้นในขณะนี้ต้องยึด ศบค.เป็นหลักคือเงินอุดหนุนบางส่วน สามารถที่จะสนับสนุนจัดอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งต้องรอทำการตกลงกันระหว่างกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

นายณัฐพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ยังกล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันโรค covid-19 ในกิจกรรม "สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันปอเนาะ" สืบเนื่องจากการตรวจราชการในหลายพื้นที่ในห้วงที่ผ่านมานั้น ยังมีประเด็นที่น่ากังวลคือ การสร้างการรับรู้รวมถึงแนวทางการป้องกันมาตรการการป้องกัน covid-19 ยังไม่รัดกุมเท่าที่ควร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งสร้างการรับรู้ระหว่างรัฐกับประชาชนทั่วไป รวมถึงนักเรียนนักศึกษาในประเด็นดังกล่าวให้มากขึ้น และควรจะต้องดำเนินการให้เร็ว ครอบคลุมให้มากที่สุด ทางสาธารณสุขในพื้นที่ และศึกษาธิการจังหวัด จึงได้ร่วมกันประชุมหารือ หาแนวทางมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือสถาบันการศึกษาปอเนาะ โดยสถานศึกษานั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ตามที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)กำหนด

ส่วนเรื่องของการฉีดวัคซีน โควิด-19 นั้น ขณะนี้ทางศึกษาธิการจังหวัดได้ดำเนินการให้บุคลากรทางการศึกษาทุกแห่ง ได้ฉีดวัคซีนวัคซีน เพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนแล้ว โดยหลังจากนี้ ศึกษาธิการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้เร่งชี้แจงสร้างความเข้าใจถึงมาตรการต่าง ๆ ต่อสถานศึกษาในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการรับรู้ และมีการปฏิบัติเรื่องการป้องกันโควิด-19 ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

ตราด - ผบ.มชด. เยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพลที่ปฏิบัติราชการชายแดน เมืองตราดให้กำลังใจ ต้านภัยโควิด

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 64 น.อ.เกียรติกูล สุวรรณ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1/ผู้บังคับหมวดเรือชาดตระเวนชายแดน พร้อมด้วย น.อ.ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ เสนาธิการกองเรือปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 / รองผู้บังคับหมวดเรือชาดตระเวนชายแดน ตรวจพื้นที่และเยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพลของเรือใน มชด./1 ณ ท่าเทียบเรือฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1 อ.แหลมงอบ จว.ตราด และประชุม ผบ.เรือ/ผค.เรือ เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งตรวจความพร้อมของเรือ โดยทำการฝึกสถานีป้องกันภัยทางอากาศ และสถานีป้องกันความเสียหาย และในโอกาสนี้ ผบ.มชด. ได้มอบอุปกรณ์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 ให้กับกำลังพลประจำเรือ อีกด้วย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) ยังไม่เบาบางลง พล.ร.ท.โกวิท อินทร์พรหม ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 มีความห่วงใยกำลังพล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในทะเล จึงให้ผู้บังคับหน่วยในการบังคับบัญชา ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 เพื่อให้ขีดความสามารถในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน กระทำได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเน้นย้ำให้ทุกหน่วย มีการฝึกฝนให้ชำนาญอยู่เสมอ

หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน มีการจัดเรือออกลาดตรวจการณ์ทาง ทะเล อย่างสม่ำเสมอ โดย น.อ.เกียรติกูล สุวรรณ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1/ผู้บังคับหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน(ผบ.มชด.)ได้กำชับเรือใน มชด. ทั้งสองหมู่ (มชด./1 และ มชด./2) ให้ตื่นตัวตลอดเวลา พร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด พร้อมทั้งให้ประสานงานด้านการข่าวกับทุกหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ เพื่อให้การรักษาอธิปไตย การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และการรักษากฎหมายในทะเล ตลอดจนการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอด 24 ชม.


ภาพ/ข่าว  กองกิจการพลเรือนทัพเรือภาคที่ 1

นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

‘มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง' สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ มูลค่ารวมกว่าแสนบาท มอบให้ทางแม่สอดมูลนิธิสามัคคีการกุศล ส่งต่อไปยังโรงพยาบาล 5 อำเภอชายแดนตะวันตกของจังหวัดตาก

บริเวณห้องโถง ศาลเจ้าจีนปุงเม่ากงม่า อ.แม่สอด จ.ตาก นายสมศักดิ์ คะวีรัตน์ ประธานแม่สอดมูลนิธิสามัคคีการกุศลพร้อมด้วยนายวิชัย เตรยาวรรณ ประธานสโมสรโรตารี่แม่สอด-เมืองฉอด และคณะกรรมการศาลเจ้า เป็นตัวแทนมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง ในการส่งต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ของใช้ประจำวันและเครื่องอุปโภคบริโภค ให้แก่โรงพยาบาล 5 อำเภอชายแดนตะวันตกของจังหวัดตาก

ได้แก่ โรงพยาบาลท่าสองยาง,โรงพยาบาลแม่ระมาด,โรงพยาบาลแม่สอด,โรงพยาบาลพบพระ และโรงพยาบาลอุ้มผาง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาล จะได้รับ ชุดป้องกันเชื้อโรค PPE ลังละ 50 ชุด จำนวน 6 ลังรวม 300 ชุด, หน้ากาก N95 ลังละ 160 ชิ้น จำนวน 4 ลังรวม 640 ชิ้น, หน้ากากอนามัยลังละ 20 กล่อง จำนวน 10 ลัง รวม 200 กล่อง,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลังละ 72 ถ้วย จำนวน 8 ลั งรวม 576 ถ้วย,สบู่หอม ลังละ144 ก้อน จำนวน 1 ลัง,แปรงสีฟันลังละ 72 อัน รวม 2 ลัง,ยาสีฟันลังละ 72 หลอด จำนวน 2 ลัง,ยาสระผม ลังละ 72 ขวด จำนวน 2 ลัง,แป้งทาตัว ลังละ 72 กระป๋อง จำนวน 2 ลัง,ยาฟ้าทะลายโจร จำนวน 100 กระปุก และข้าวสาร 5 กก.1 ถุงปุ๋ยมี 10 ถุง จำนวน 6 ถุงปุ๋ยรวม 60 ถุง

ทั้งหมด 11 รายการรวมมูลค่าทั้งสิ้น 100,128 บาท โดยมีผู้แทนแต่ละโรงพยาบาล 5 อำเภอซีกตะวัตกของจังหวัดตากเดินทางมาเป็นผู้รับมอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ภาพ/ข่าว วรภา พันลุตัน จ.ตาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top