Thursday, 8 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

กัมพูชา - องค์กรทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อยุติความรุนแรงต่อ LGBT ในกัมพูชา

พนมเปญ/กัมพูชา - กัมพูชาเป็นสังคมดั้งเดิมที่คน LGBT กว่า 81% ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว เมื่อผู้คนเข้าใจว่าพวกเขาขัดต่อบรรทัดฐานและประเพณีของพวกเขา ครอบครัวจึงไม่สามารถยอมรับทางเลือกทางเพศ และรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็ก LGBT ของพวกเขา และมักจะบังคับและไล่พวกเขาออกจากครอบครัว หรือกดดันพวกเขา เช่น กีดกันค่าเล่าเรียน หรือบังคับให้แต่งงานกับคนที่พวกเขาไม่ชอบ

ตามหนังสือเกี่ยวกับชีวิตในวัยกลางคน รากเหง้าของปัญหามีมาช้านานแล้ว ซึ่งครอบครัวส่วนใหญ่เชื่อว่าความรักของลูกไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ

บางคนถึงกับคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับอาหารที่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น องค์กร MIRF กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงการล่วงละเมิดในครอบครัว และให้ความช่วยเหลือบุคคล LGBT ที่มีปัญหาในชีวิตประจำวัน

ก้อย แก้ว โสภณ เด็กหญิงที่ค้นพบว่าเธอเป็นเลสเบี้ยนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เล่าถึงความทุกข์ทรมานและความรุนแรงที่เธอเผชิญเมื่อตัดสินใจบอกครอบครัวของเธอว่า พวกเขาทุบตีเธออย่างรุนแรงซึ่งทำให้เกิดรอยฟกช้ำและบาดแผลขนาดใหญ่ในร่างกายของเธอ “ฉันรู้สึกแย่มาก มันส่งผลต่อสุขภาพจิตของฉัน ดังนั้นฉันจึงออกจากบ้านของครอบครัวไปอาศัยอยู่กับคู่รัก” เธอกล่าวเสริม

เชือง รัชนะ นักเคลื่อนไหว เน้นย้ำว่า LGBTQ เกิดมาตามธรรมชาติแบบนี้ ตรงกันข้ามกับความเชื่อมั่นของผู้คน มันไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะพัฒนา และเสริมว่านี่เป็นปัญหาโบราณที่ผู้คนค้นพบเมื่อหลายร้อยปีก่อน

ทุก ๆ ปี กัมพูชาจะเฉลิมฉลอง 16 วันในการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ รวมถึงต่อต้านกลุ่มเพศทางเลือกด้วย ตามการระบุของ Kuy Thida ผู้ร่วมก่อตั้ง Loveisdiversity

 

ปทุมธานี - ‘บิ๊กแจ๊ส’ เปิดยุทธการ!สู้ศึกโอไมครอน ฉีดพ่นฆ่าเชื้อตามสถานศึกษา เพื่อรับการเปิดเรียน

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ที่โรงเรียนปทุมวิไล ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี , นายณเรศ คุชิตา ที่ปรึกษานายก อบจ.ปทุมธานี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีเขตอำเภอเมืองปทุมธานี ร่วมเปิดยุทธการฉีดพ่นฆ่าเชื้อสู่ศึกโอไมครอน ปล่อยรถฉีดพ่นและเจ้าหน้าที่ชุดฉีดพ่นในอาคาร เพื่อฉีดพ่นฆ่าเชื้อสร้างความมั่นใจให้นักเรียนและผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนภายในสถานศึกษา ด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ทาง อบจ.ปทุมธานีได้ประสาน ผอ.โรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีอยู่ตลอดเวลา ในการเตรียมเปิดเรียนของโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งทางโรงเรียนได้เตรียมความพร้อมไว้ทั้งหมดแล้ว

โดยทาง อบจ.ปทุมธานีได้นำทีมฉีดพ่นฆ่าเชื้อเข้ามาฉีดพ่นภายในอาคารและภายนอกอาคาร รวมถึงใครที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก็มีการฉีดวัคซีนให้สำหรับคนที่ยังไม่ได้ฉีด เราอยากให้นักเรียนลูกหลานเราได้กลับมาเรียนตามปกติให้เร็วที่สุด เราก็เชื่อว่าที่เราทำมาทั้งหมดจะสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดปทุมธานี ขอให้ทาง ผอ.โรงเรียนดูระเบียบกฎต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข เราอย่าทำให้ผิดกฎของกระทรวงฯ ที่ได้กำหนดไว้ หากมีการแพร่ระบาดจะเป็นคลัสเตอร์ใหม่ก็จะเป็นเกิดการเสียหายในภาพรวม จึงขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันระมัดระวังต่อไป

ในส่วนของชุดตรวจ ATK ทาง อบจ.ได้พยายามจัดหามาให้ ซึ่งเป็นชุดตรวจที่มีคุณภาพมีความแม่นยำสูง นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน โดยต้องป้องกันตัวเองตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ใส่แมสก์ ล้างมือ เว้นระยะห่าง ระมัดระวังทั้งที่อยู่ที่โรงเรียนและอยู่บ้าน ทาง อบจ.ได้พยายามประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องชาวปทุมธานีระมัดระวังกันทั้งจังหวัด โดยผมหวังอย่างยิ่งต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ และต่อสู้ผ่านสงครามครั้งนี้ไปด้วยกันอย่างปลอดภัยทั้งจังหวัด

 

ตราด - ‘กองทัพเรือ’ โดยทัพเรือภาคที่ 1 เลี้ยงอาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์การเรียน - อุปกรณ์กีฬา และของขวัญวันเด็ก

กองทัพเรือ โดย ทัพเรือภาคที่ 1 ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1 และศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะช้าง จัดเลี้ยงอาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และของขวัญ ให้แก่เด็กนักเรียนเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2565 ตามโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ ภายใต้แนวคิดคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2565 “รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม”

โดยวันที่ 5 มกราคม 2565 ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1 นำโดยนาวาเอก ปฏิรูป  อยู่พรหม ผู้บังคับการฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1 จัดกิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และของขวัญ ให้แก่เด็กนักเรียน และทำความสะอาดโรงเรียนบ้านเนินดินแดง อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โดยมี ครู และ นักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดงให้การต้อนรับ

และวันเดียวกัน ศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะช้าง นำโดย นาวาโท พงษ์กาญจน์  กฤตินันท์ หัวหน้าศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะช้าง ร่วมกับชุมชนสลักคอก จัดกิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และของขวัญ ให้แก่เด็กนักเรียน และทำความสะอาดโรงเรียน วัดวัชคามคชทวีป อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด โดยมี ครู และ นักเรียนโรงเรียนวัดวัชคามชคทวีป ให้การต้อนรับ

และในวันที่ 6 มกราคม 2565 ทัพเรือภาคที่ 1 นำโดย นาวาเอก วีระชัย บุญมาก ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน ทัพเรือภาคที่ 1 จัดกิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และของขวัญ ให้แก่เด็กนักเรียน และทำความสะอาดโรงเรียนเกล็ดแก้ว ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี ครู และ นักเรียนโรงเรียนวัดวัชคามชคทวีป ให้การต้อนรับ

ถึงแม้ในปีนี้ จะไม่มีการจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ในรูปแบบของการแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ การแสดงทางทหารของหน่วยงานในพื้นที่ต่าง ๆ ของกองทัพเรือ งดการรวมตัวกันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แต่การจัดกิจกรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2565 ในรูปแบบของการเลี้ยงอาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และของขวัญนั้น เป็นการจัดกิจกรรมที่มีรูปแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กนักเรียน คุณครู และกำลังพลในสังกัดเป็นหลัก มีการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส COVI-19 อย่างเคร่งครัด  เพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

 

‘เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี’ จัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับชุมชน “Chiang Mai Night Safari"

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 7 มกราคม 2565 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี จัดแถลงข่าวการจัดโครงการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน “Chiang Mai Night Safari" โดยมี นายสายสิทธิ์ เจตสิกทัต ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร เป็นประธานเปิด และคณะผู้บริหาร เข้าร่วมด้วย ณ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

นายสายสิทธิ์ เจตสิกทัต ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง เนื่องจากมีมาตรการการปิดประเทศ ทำให้ภาคผู้ประกอบการท่องเที่ยวและภาคประชาชนต้องอยู่ในสภาวะวิกฤตจากพิษเศรษฐกิจที่หยุดชะงักตัวลง ความหวังเดียวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือ การกระตุ้นการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศด้วยกันเอง เนื่องจากรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู ปรับปรุง และสร้างกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อสร้างรายได้ให้กับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีและชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน “Chiang Mai Night Safari” ขึ้น เพื่อสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีและจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง พร้อมพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้เกิดการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งก่อให้เกิดกระแสการท่องเที่ยว การซื้อสินค้า และบริการ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค เป็นการกระจายรายได้สู่ภาคประชาชน ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ต่อไป

‘ประกันสังคม’ เร่งประชุมหารือผ่านระบบ Zoom ร่วมกับสถานพยาบาล รับมือโอมิครอน!! เตรียมพร้อมจัดระบบบริการทางการแพทย์ดูแลผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด อย่างเต็มที่ และทันท่วงที

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านระบบ Zoom ร่วมกับผู้แทนและบุคลากรทางการแพทย์ของสถานพยาบาลประกันสังคมจำนวนกว่า 50 แห่ง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานประกันสังคม 

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวกับสื่อมวลชนว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรโน 2019 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่กำลังระบาดทั่วโลกในขณะนี้ ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ไอมิครอนแล้วกว่า 2 พันราย ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยพี่น้องลูกจ้าง ผู้ประกันตน จึงกำชับให้สำนักงานประกันสังคม เตรียมแผนรับมือต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในทุกด้านหากสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงมากขึ้น เพื่อรองรับผู้ประกันตนที่ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น

โดยในวันนี้ สำนักงานประกันสังคม ได้จัดให้มีการประชุมผ่านระบบ vdo Conference โดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 หารือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ได้รับการดูแล และรักษาได้ทันที โดยมีประเด็นการประชุมฯ พร้อมแผนมาตรการรองรับร่วมกับสถานพยาบาล ในด้านการใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนกรณีการติดโควิด-19 ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาล และสถานพยาบาลใกล้ที่พักอาศัยทุกแห่ง กรณีที่สถานพยาบาลตามสิทธิฯ และสถานพยาบาลที่รับรักษา ไม่สามารถให้การรักษาได้หรือเกินศักยภาพในการรักษา จะทำการส่งตัวผู้ประกันตนไปรักษากับโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า กรณีที่ผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิได้ เนื่องจากอยู่ต่างจังหวัด หรือต่างพื้นที่ สามารถเข้ารักษาได้ในสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ ผู้ประกันตนจะได้รับการดูแลรักษา ในสถานพยาบาล, โรงพยาบาลสนาม, Hospitel, Community Isolation, Home Isolation ตามแนวทางและระบบบริการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ด้านการเตรียมความพร้อมให้สถานพยาบาลในระบบประกันสังคม มีแผนรองรับการรักษาผู้ประกันตน โดยจัดหาเตียงให้เพียงพอต่อสถานการณ์การเพิ่มจำนวนของผู้ประกันตนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่อาจจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยให้สถานพยาบาลจัดเตรียมสถานที่รองรับผู้ป่วยที่อาการแสดงน้อย หรือไม่แสดงอาการ (สีเขียว) เข้ารับการรักษา ในระบบ Hospitel และ Home Isolation ซึ่งในปัจจุบันมี สถานพยาบาลในระบบประกันสังคม มี Hospitel จำนวนทั้งสิ้น 12,856 เตียง และจำนวนเตียงว่างคงเหลือ 3,230 เตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2565) อีกทั้งสำนักงานประกันสังคม ได้มีการบูรณาการทำงานร่วมกับ สปสช. ในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีแสดงอาการเล็กน้อย (สีเขียว) และประสงค์เข้ารักษาในระบบ Home Isolation โดยผู้ประกันตนสามารถลงทะเบียนในเว็บไซต์ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

นอกจากนี้ยังมี โครงการ Factory Sandbox ในการตรวจ รักษา ควบคุม ดูแลในสถานประกอบการเพื่อการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้นไปที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ คือ ตรวจ : ดำเนินการตรวจคัดกรองด้วย RT – PCR 100% เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดำเนินการตรวจSelf – ATK ทุกสัปดาห์ รักษา : ให้โรงงานจัดให้มีสถานรักษาพยาบาลขึ้นสถานแยกกัก (Factory Isolation : FAI, และ Hospitel สำหรับผู้ป่วยสีเขียว โรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยสีเหลืองและห้องผู้ป่วยวิกฤต สำหรับผู้ป่วยสีแดง ดูแล : ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แรงงานโดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง คนท้องออกใบรับรอง “โรงงานสีฟ้า” เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน ควบคุม : ให้นายจ้างและแรงงานปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and seal) และมาตรการด้านสาธารณสุข (DMHTT) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจคัดกรองโรค COVID-19 กรณีตรวจคัดกรองใน รพ. /ตรวจคัดกรองนอก รพ.โดยหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. โดยผู้ประกันตนคนไทยเบิกเงินจาก สปสช. ผู้ประกันตนคนต่างชาติ เบิกเงินจาก สำนักงานประกันสังคม กรณีตรวจคัดกรองเชิงรุกในสถานประกอบการ ตามโครงการของสำนักงานประกันสังคมโครงการ Factory Sandbox เพื่อค้นหาผู้ประกันตนกลุ่มเสี่ยงในสถานประกอบการซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและมีการแพร่ระบาดและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อ เบิกเงินจากสำนักงานประกันสังคม สำหรับค่าใช้จ่าย ในการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐบาล มีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) ค่าห้องรวมค่าอาหารจ่ายตามจริงไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จ่ายตามจริงไม่เกิน 300 บาทต่อวัน มีอาการปานกลาง (สีเหลือง) ค่าห้องรวมค่าอาหารจ่ายตามจริงไม่เกิน 3,000 บาทต่อวัน ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จ่ายตามจริงไม่เกิน 740 บาทต่อวัน มีอาการรุนแรง (สีแดง) ค่าห้องรวมค่าอาหารจ่ายตามจริงไม่เกิน 7,500 บาทต่อวัน ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จ่ายตามจริงไม่เกิน 740 บาทต่อวัน

กรณีมีอาการเล็กน้อย(สีเขียว) ดูแลรักษาโรงพยาบาลสนาม Hospitel Hotel Isolation ตั้งแต่ 1 ม.ค.65 จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาท ต่อวัน ไม่เกิน 10 วัน และค่าอุปกรณ์ในการดูแลติดตามสัญญาณชีพ 500 บาทต่อวัน ค่าชุด PPE จ่ายตามจริงไม่เกิน 150 บาทต่อราย ดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation ค่าดูแลให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน จ่ายแบบเหมาจ่ายไม่รวมค่าอาหาร 3 มื้อในอัตรา 600 บาทต่อวัน /รวมค่าอาหาร 3 มื้อ ในอัตรา 1,000 บาท ต่อวัน ไม่เกิน 10 วัน กรณีรักษาในสถานพยาบาลเอกชนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 ตามราคากลางประกาศกระทรวงสาธารณสุข สำหรับค่ารถรับส่งผู้ป่วย กรณีจำเป็นต้องส่งต่อภายในจังหวัดเดียวกัน จ่ายตามจริง ไม่เกิน 500 บาท กรณีต่างท้องที่จังหวัดอื่น จ่ายเบื้องต้น 500 บาท และจ่ายเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อยานพาหนะ ไม่เกิน 1,400 บาทต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิตด้วยโรค โควิด-19 เหมาจ่าย 2,600 บาทต่อราย

 

กาฬสินธุ์ - ชาวนาพอใจ เงินประกันรายได้ภาพรวมถึงมือแล้ว 3,600 ล้าน

ชาวนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พอใจเงินประกันรายได้ทำนา และเงินค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าว ฤดูกาลผลิต 2564/65 ที่รัฐบาลจัดให้ ช่วยลดต้นทุนการผลิต มีเงินใช้จ่ายในการครองชีพช่วงสถานการณ์โควิด และมีเงินทุนทำนาปรัง อยากให้มีโครงการนี้ตลอดไป ในขณะที่เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ เผยภาพรวม รัฐโอนถึงมือชาวนาแล้ว 9 งวดเม็ดเงิน 3,678,654,188 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามบรรยากาศการประกอบอาชีพของประชาชนชาว จ.กาฬสินธุ์ ในช่วงฤดูแล้งและสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่าในเขตใช้น้ำชลประทานลำปาว เริ่มลงมือเพาะปลูกข้าวนาปรังกันแล้ว หลังทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว หรือเขื่อนลำปาว ได้ระบายน้ำมาตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก แม้ราคาขายข้าวเปลือกนาปีที่ผ่านมาจะตกต่ำ โดยเริ่มต้นเพียงกิโลกรัมละ 5 บาท ทำให้ชาวนาหลายคนถอดใจไม่อยากทำนา เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน  แต่วันนี้ชาวนากลับมาทำนาด้วยความหวังใหม่อีกครั้ง  ทั้งนี้เป็นผลพวงจากการได้รับเงินส่วนต่าง หรือเงินประกันรายได้ รวมทั้งยังได้รับเงินค่าเก็บเกี่ยวอีกไร่ละ 1,000 บาท เป็นรายได้ 2 ต่อหลังจากขายข้าวเปลือกขาดทุนอีกด้วย

นายพงษ์ศักดิ์ ชินคีรี เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในส่วนโครงการที่รัฐบาลมอบให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวฤดูกาลผลิต 2564/65 มี 2 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 3 คือโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเงินส่วนต่าง และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเงินค่าเก็บเกี่ยว  ซึ่งเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวไว้และผ่านการรับรอง จำนวน 153,884 ครัวเรือน 265,859 แปลง เนื้อที่ 1,558,244.46 ไร่ ผ่านการรับรองและได้รับการช่วยเหลือ ตัดยอดล่าสุด 9 งวด (4 ม.ค.65) จำนวน 153,544 ครัวเรือน 264,997 แปลง เนื้อที่ 1,553,351.34 ไร่

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวอีกว่า ผลการโอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2,272,155,530 บาท ขณะที่ผลการโอนเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 1,406,498,618 บาท รวมจำนวน 3,678,654,188 ล้านบาท โดยยังเหลือที่จะโอนให้อีก 2 งวด รวมที่รัฐบาลจะจัดโอนให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้ง 2 โครงการทั้งหมด 11 งวด ทั้งนี้ เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการลดต้นทุนการผลิต มีเงินใช้จ่ายในการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน ซึ่งผลการดำเนินการที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับความพึงพอใจ 100%

ด้านนายประเสริฐ ภูสิงหา อายุ 55 ปี ชาวนาบ้านหนองบัวหน่วย อยู่บ้านเลขที่ 21 หมู่ 16 ต.คลองขาม อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์กล่าวว่า ตนที่พื้นที่ทำนา 19 ไร่ ขายผลผลิตข้าวนาปีได้กิโลกรัมละ 6 บาท ซึ่งขาดทุน เนื่องจากค่าปุ๋ยเคมี ค่าเก็บเกี่ยวสูงมาก จนคิดว่าในฤดูแล้งนี้ไม่อยากจะทำนาปรัง เพราะทำไปก็ขาดทุนซ้ำซาก แต่พอทางรัฐบาลจัดเงินส่วนต่างและค่าเก็บเกี่ยวให้ โดยโอนผ่าน ธ.ก.ส.ครอบครัวตนได้เกือบ  30,000 บาท ทำให้พอมีเงินใช้หนี้ปุ๋ยเคมี และชดเชยค่ารถเกี่ยวข้าว ทั้งมีเหลือพอใช้จ่ายในครัวเรือนบ้างจึงมีกำลังใจที่จะทำนาต่อไป ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลมีโครงการดี ๆ นี้ต่อเนื่องตลอดไป

 

‘กองเรือยุทธการ’ จัดกิจกรรมแจกของขวัญ – ของเล่น - อุปกรณ์กีฬา ในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2565 ให้กับตัวแทนเยาวชน ในรูปแบบ NEW NORMAL

พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พร้อมคณะผู้บังคับบัญชา และฝ่ายอำนวยการในกองเรือยุทธการ ได้มาร่วมงานในการจัดกิจกรรมแจกของขวัญ ของเล่น และอุปกรณ์กีฬา ในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2565 ให้กับตัวแทนเยาวชน ในรูปแบบ NEW NORMAL ซึ่งในวันเสาร์ที่สองของสัปดาห์ ในเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

แต่เนื่องจากในปีนี้ เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กองเรือยุทธการ จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมจากการจัดแสดงทางทหาร เป็นการแจกของขวัญ ของเล่น อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา ให้กับเด็ก และนักเรียนในพื้นที่สัตหีบ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โรงเรียนสัตหีบ เขตกองเรือยุทธการ เป็นสถานศึกษาหลักที่มีบุตรหลานของข้าราชการกองเรือยุทธการเข้ารับการศึกษา การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อทหารเรือและกองทัพเรือ

ตรัง - ‘รมว.พิพัฒน์’ มอบบ้านให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ดร.นาที รัชกิจประการ ประธานที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกุล) และคณะลงพื้นที่บ้านโคกทราย หมู่ที่ 4 ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เพื่อเป็นประธานในพิธีมอบบ้านให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลาก ทั้งยังได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 40 ทุน ผ้าห่มจำนวน 250 ชุด และ เครื่องครัว เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้แก่ชาวบ้านผู้ประสบภัย โดยมีนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวต้อนรับ

รมว.พิพัฒน์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาบรรทัด เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ช่วงเวลา 02.30 น. ที่ผ่านมานั้น สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว จำนวน 254 ครัวเรือน ในพื้นที่หมู่ที่ 1,4,5,6,7 พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายรวม 74 ไร่ โดยเฉพาะหมู่ที่ 4 บ้านโคกทราย มีผู้เสียชีวิต 1 คน ทรัพย์สิน ได้รับความเสียหายจำนวนมาก

ซึ่งที่ผ่านมามีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น จังหวัดตรัง กองทัพภาคที่ 4 ส่วนราชการต่างๆ รวมถึงภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ได้ให้ความช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา อาทิ ขนย้ายสิ่งของ ทำความสะอาด ประกอบอาหาร นำเครื่องจักรมาปรับพื้นที่ กิจกรรมจิตอาสา ซ่อมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย โดยมีการก่อสร้างบ้านใหม่ให้ประชาชน จำนวน 5 หลัง และปรับปรุง 7 หลัง โดยก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างจำนวน 20 วัน สร้างความปลื้มปิติแก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

 

‘คุณสมบัติ’ ประธาน INTERLINK ประเดิมต้นปี!เปิดงานสัมมนา ต้อนรับโลกแห่งยุคดิจิทัล

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ เปิดงานสัมมนาต้อนรับปี 2022 ในงาน "The Next Innovation of LINK FIBER OPTIC" 

พร้อมนำทีมวิทยากรชั้นนำมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เจาะลึกในการเลือกใช้นวัตกรรมโครงข่ายสายสัญญาณเพื่อการเชื่อมต่อเข้าสู่โลกดิจิทัล 

สตูล - เจ้าหน้าที่ยังเดินหน้าค้นหาร่างเด็กชาย 9 ขวบ พลัดตกน้ำในคลองลำโลน สูญหาย 4 วันยังไม่พบ!!

วันนี้ 6 มกราคม 2565 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สส.จังหวัดสตูล เขต 2 พร้อมด้วยหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะหลีเป๊ะ/สถานีเรือละงู จัดกำลังพลพร้อมเรือยาง ร่วมกับ ชุดปฏิบัติการพิเศษ นก.กมต.ศรชล.ภาค 3 และมูลนิธิกู้ภัยร่มไทรจังหวัดสตูล ร่วมกันทำการค้นหาร่างของ ด.ช.พงศพัศ ขำกิ้ม อายุ 9 ปี ที่ประสบเหตุพลัดลื่นตกน้ำสูญหาย เป็นวันที่ 3 โดยดำเนินการดำน้ำค้นหาบริเวณจุดที่คาดว่าผู้สูญหายอาจจะติดอยู่กับโขดหินหรือรากไม้ที่อยู่ใต้น้ำ และลาดตระเวนทางเรือค้นหาผิวน้ำ บ้านวังใน ต.น้ำผุด อ.ละงู จังหวัดสตูล ระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร

ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวแรง และมีความขุ่น มองเห็นได้เพียงระยะใกล้ ประกอบกับใต้น้ำมีรากไม่และโขดหินจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อทีมงานในการค้นหาอย่างมาก อย่างไรก็ตามทีมค้นหาได้ดำเนินการค้นหาจนถึงเวลาประมาณ 17.30 น. ยังไม่พบผู้สูญหาย จึงได้ยุติการค้นหา และจะดำเนินการค้นหาต่อไปในวันนี้

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top