Thursday, 15 May 2025
Hard News Team

'ธัญวัจน์' ชี้!! การลงโทษลูกที่มีความหลากหลายทางเพศ  สะท้อน!! ความล้าหลัง วอน!! 'พูดคุย-เรียนรู้' ด้วยใจที่เปิดกว้าง

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนผู้มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวถึงกรณีที่มีลูกนักการเมืองท่านหนึ่ง หนีออกจากบ้านเนื่องจากถูกผู้เป็นพ่อลงโทษด้วยเหตุผลรสนิยมทางเพศ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่ล้าหลัง ไม่เพียงแต่เป็นการทำร้ายร่างกายลูก แต่เป็นการเหยียบย่ำตัวตนของลูกด้วย  

ธัญวัจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความหลากหลายทางเพศเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นครอบครัวทุกยุคทุกสมัย แม้ในปัจจุบันที่แม้สังคมจะยอมรับและก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ที่หลายครอบครัวยุคถือสร้างความกดดันและความรุนแรงกับผู้ที่มีความหลากหลายมาตลอด บางคนไม่สามารถแสดงตัวตนได้ที่บ้านเพราะกลัวพ่อแม่จะรับไม่ได้ พ่อแม่ผิดหวังเสียใจ การปลูกฝังแนวคิดแบบนี้จากในครอบครัวสู่สังคมคืออุปสรรคใหญ่ไม่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ ไม่เพียงแต่มิติความเท่าเทียมสากล แต่รวมถึงมิติทางกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติที่แสดงออกต่อกันของคนในสังคม

'ธนกร' สอนมวย 'ชลน่าน' วิจารณ์ทางการเมืองถือเป็นสิทธิ์ แต่หากพูด 'เรื่องเท็จ-สนุกปาก' ก็ต้องรับผิดชอบคำพูดตัวเอง

'ธนกร' สวน 'ชลน่าน' ชี้วิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองถือเป็นสิทธิ์ แต่หากเรื่องที่พูดเป็นเรื่องเท็จ พูดเอาสนุกปาก ก็ต้องรับผิดชอบคำพูดตัวเอง เย้ยไม่มีประชาชนคนไหนต้องทำใจ มีแต่สุขใจด้วยซ้ำ

นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุว่า กรณีที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ทอล์กโชว์ 'เดี่ยว 13' ของ โน้ส - อุดม แต้พานิช เป็นสิทธิ์ในการแสดงความเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ของพลเมือง เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังเสียงของประชาชนว่า ที่ผ่านมาท่านนายกฯ รับฟังเสียงประชาชนมาโดยตลอด เห็นได้จากทุกนโยบายของรัฐบาลที่เน้นช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่ม ไม่แบ่งแยกว่าเป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองไหนเหมือนกับที่บางพรรคการเมืองชื่นชอบ เมื่อได้รับข้อร้องเรียน หรือเห็นว่าประชาชนกำลังลำบาก ท่านนายกฯ ก็สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ปัญหาทันที หรือลงพื้นที่ไปสอบถามข้อเท็จจริงด้วยตัวเอง จึงทำให้หลายๆ นโยบายประชาชนต่างเรียกร้องให้ขยายโครงการออกไปเรื่อยๆ จนแม้แต่ฝ่ายค้านเองก็ยังไม่กล้าพูดเต็มปากว่า หากตัวเองมีโอกาสได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกนโยบายเหล่านี้ เพราะรู้อยู่เต็มอกว่า หากพูดแบบนั้นออกไปก็เตรียมพร้อมสอบตกทันที 

ไม่นานเกินรอ!! 'รถไฟไทย-จีน' มิติใหม่ของการท่องเที่ยว คาด!! อีก 5 ปี พร้อมเปิดให้บริการ

เมื่อไม่นานมานี้ เพจ 'Bangkok I Love You' ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับรถไฟไทย-จีน ไว้อย่างน่าสนใจว่า...

"รถไฟไทย เชื่อมรถไฟโลก"

เมื่อทางรถไฟไทย - จีน (กรุงเทพ เวียงจันทน์ คุณหมิง) สร้างแล้วเสร็จ ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 4 - 5 ปี มิติใหม่ของการเดินทางท่องเที่ยวก็จะเกิดขึ้น ตลอดสองข้างทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลก 

โดยที่รถไฟสายนี้จะมีจุดเริ่มต้นที่ สถานีรถไฟ Woodlands ในประเทศสิงคโปร์ ขึ้นเหนือผ่าน สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ผ่านพรมแดนประเทศไทยที่ ปาดังเบซา ผ่าน สงขลา ผ่านนครศรีธรรมราช เลียบอ่าวไทยขึ้นมา ผ่านสุราษฎร์ธานี ซึ่งสามารถต่อเรือไปเกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า ได้ (และในอนาคตอันใกล้ก็จะมีสะพานข้ามไปยังเกาะสมุย) ผ่านเมืองท่องเที่ยวอย่างหัวหิน ราชบุรี นครปฐม แล้วเข้าสู่ศูนย์กลางขนส่งทางรางของอาเซียนที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ กรุงเทพมหานคร 
ซึ่งจากที่นี่สามารถต่อรถไฟความเร็วสูงซึ่งใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงถึงเวียงจันทน์ โดยผ่านเมืองมรดกโลกอย่าง พระนครศรีอยุธยา และมรดกทางธรรมชาติอย่างเขาใหญ่ ที่สถานีปากช่อง และข้ามแม่น้ำโขงที่ หนองคาย จากนั้นก็จะผ่านพรมแดนบริเวณท่านาแร้ง เวียงจันทน์

จากเวียงจันทน์ต่อรถไฟสาย เวียงจันทน์ คุณหมิง ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ผ่านวังเวียง เมืองมรดกโลก หลวงพระบาง และอีกเพียงไม่เกิน 8 ชั่วโมงก็เข้าถึงคุนหมิง

จากนั้นต่อ รถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง - คุนหมิง ซึ่งเป็นทางรถไฟที่ยาวที่สุดของประเทศจีนด้วยความยาว 2,760 กิโลเมตร จะวิ่งผ่านเมืองสำคัญหลายแห่ง เช่น เมืองสือจยาจวง มณฑลเหอเป่ย, เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนัน, เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย, เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน และนครกุ้ยหยัง มณฑลกุ้ยโจว และที่สำคัญที่คุนหมิงนี่เองสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปทางรถไฟสายหลังคาโลก ต้าหลี่ ธิเบตได้ 

เมื่อถึงปักกิ่งแนะนำให้แวะเที่ยวมหานครที่ร่ำรวยวัฒนธรรมซัก 3-4 วัน โดยจุดท่องเที่ยวที่โดดเด่นเช่น พระราชวังต้องห้าม พระราชวังฤดูร้อน หอฟ้าเทียนถาน ย่านเมืองเก่าหู่ตง สนามกีฬารังนก เป็นต้น 

จากนั้นขึ้นรถไฟสายทรานส์มองโกเลีย ช่วงเส้นทางระหว่างกรุงปักกิ่ง-อูลันบาตอร์ รถไฟจะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมุดเข้าไปอยู่ในเขตภูเขา เป็นภูเขาแนวยาวตลอดเส้นทางเลยทีเดียว ช่วงนี้จะมีอุโมงค์ที่เจาะทะลุภูเขากว่า 50-60 อุโมงค์ได้ และทุกๆ ครั้งที่รถไฟโผล่พ้นจากอุโมงค์เราก็จะพบกับโตรกผาและแม่น้ำแบบอลังการตลอดเส้นทาง และที่พลาดไม่ได้ก็คือกำแพงเมืองจีนนั่นเอง จากนั้นก็จะเข้าสู่เขตทุ่งหญ้า กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา มี Ger District หรือที่อยู่อาศัยแบบเกอร์ของคนท้องถิ่น เป็นระยะๆ จนกระทั่งถึงอูลันบาตอร์

นายกฯ แจ้งข่าวดี แก้หนี้ครัวเรือนคืบหน้า ช่วยกลุ่มเปราะบางได้รับความเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักครับ ผมมีข่าวดี ที่เป็นความคืบหน้า สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2565 เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” โดยล่าสุดก็ได้มีการกำหนดให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ คิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) แบบ "ลดต้น ลดดอก" ซึ่งจะต้องคิดดอกเบี้ยจาก "เงินต้นคงเหลือ" ในแต่ละงวด ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยแบบ "เงินต้นคงที่" (Flat rate) แบบเดิม ที่ทำให้ลูกค้า/ผู้ที่เช่าซื้อเสียเปรียบบริษัทเช่าซื้อ หรือลีสซิ่ง

นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อใหม่ ได้แก่ (1) รถยนต์ใหม่ : คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 10% ต่อปี (2) รถยนต์ใช้แล้ว : คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี (3) รถจักรยานยนต์ : คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 23% ต่อปี และสำหรับผู้ที่สามารถปิดบัญชีได้ก่อน ก็จะต้องให้ "ส่วนลด" กับผู้เช่าซื้อด้วย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว (หรือวันที่ 11 มกราคม 2566) ครับ

ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและพยายามช่วยเหลือพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง มีหนี้สินติดตัว ให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น เช่น ผลักดันให้การเปลี่ยน "ฐานคำนวณดอกเบี้ย" จากเดิมที่คิดดอกเบี้ยจากยอด "เงินต้นคงค้างทั้งหมด" มาเป็นการคิดดอกเบี้ยจาก "เงินต้นเฉพาะเดือนที่ผิดนัดชำระ" เท่านั้น หลักการนี้ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์การคิดดอกเบี้ยในประเทศไทย เป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพี่น้องประชาชนที่เป็นหนี้ ขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะบรรดาเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา มนุษย์เงินเดือน คนหาเช้ากินค่ำ ที่มีความจำเป็นจะต้องกู้หนี้ยืมสิน เพื่อมาใช้ดำรงชีวิต และเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ ตลอดจนกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ให้ชำระดอกเบี้ยลดลงอีกด้วย

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัด "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้" เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขหนี้ครัวเรือนให้ประชาชน เราได้เดินสายไปทุกจังหวัด ทั่วประเทศ สามารถลดปัญหาหนี้สินประชาชนได้ กว่า 200,000 ราย มูลหนี้มากกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชน-ลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการเก็บตกและต่อยอด จึงจัดให้มี "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ที่รายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่ และอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งภายหลังจากดำเนินการมาได้ 2 สัปดาห์ ณ 14 ตุลาคม 2565 มีคำขอแก้หนี้เข้ามาแล้ว 158,539 รายการ จากลูกหนี้ 62,595 ราย เฉลี่ยคนละ 2-3 รายการ ส่วนใหญ่เป็นบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

'สันติ' ชำแหละ พ.ร.บ. EEC เน้นเฉพาะให้แรงจูงใจผู้ลงทุน หนนเฉพาะทุนต่างชาติขนาดใหญ่

'สันติ' ชำแหละ พ.ร.บ. EEC ชี้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน มองรัฐบาลปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ เน้นเฉพาะให้แรงจูงใจผู้ลงทุน ไม่แก้ข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค รวมถึงกระแสสนับสนุนเฉพาะทุนต่างชาติขนาดใหญ่ ขาดการคำนึงถึงความครบวงจรในระบบนิเวศ 

ดร.สันติ กีระนันทน์  รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ว่าตนได้อ่านข่าวที่เกี่ยวกับแนวคิด “เขตธุรกิจใหม่” เปรียบเทียบกับ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า EEC แล้ว ก็อยากจะแสดงความคิดเห็น โดยเก็บข้อมูลจากพระราชบัญญัติ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ประกอบกับประสบการณ์ที่ได้เคยทำงานในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ยุคที่เริ่มต้นของ EEC และช่วงที่เป็นเลขานุการ คณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้ให้ความสนใจเรื่อง EEC โดยทำการศึกษา และได้เชิญผู้บริหารของ EEC มาให้ข้อมูลอยู่หลายครั้ง

อันที่จริง ก็ต้องแสดงความดีใจที่มีแนวคิดเขตธุรกิจใหม่เกิดขึ้น แสดงถึงการเห็นคุณประโยชน์ของการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างจริงจัง ดังที่ตนได้พยายามนำเสนอมาโดยตลอดหลายปีนี้ แต่รัฐบาลปัจจุบันก็คงจะไม่ค่อยเข้าใจความจำเป็น จึงไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า EEC ยังไม่ตอบโจทย์หลายประการนั้น เช่น เน้นเฉพาะการให้แรงจูงใจด้วยการเสนอสิทธิประโยชน์ให้ผู้ลงทุนเท่านั้น ไม่มีการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรค หรือนำเสนอชุดกฎหมายใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ได้จริง หรือประเด็นที่คลาดเคลื่อนว่า EEC จะให้การสนับสนุนเฉพาะทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักลงทุนต่างชาติเท่านั้น รวมไปถึงความเข้าใจที่ว่า EEC นั้น ไม่ได้คำนึงถึงความครบวงจรในระบบนิเวศ (ecosystem) ที่เอื้ออำนวยให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความเข้าใจว่า EEC จะให้การสนับสนุนเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการ hard code ไว้ในพระราชบัญญัติเท่านั้น และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอีกบางประการ

ดร.สันติ ย้ำว่า เป็นสิ่งที่ดี  ที่มีความพยายามเสนอแนวความคิดให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ เพื่อผลักดันให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจของประเทศไทย เกิดพลังในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และไม่สร้างปัญหาแก่การดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วไป หรืออาจจะพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับผู้คน

ทั้งนี้ หากได้อ่านพระราชบัญญัติ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 โดยละเอียดแล้ว จะพบว่า ความเข้าใจเหล่านั้น มีความคลาดเคลื่อนดังที่ผมได้ชี้แจงเริ่มต้นไป เพราะจะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ให้ความยืดหยุ่น (flexibility) ในการสร้างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และมีการกำหนด “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ” (มาตรา 4) ไว้ โดยครอบคลุมทุกเรื่อง และหากมีกฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรค ก็ยังกำหนดไว้ในมาตรา 9 เพื่อเปิดช่องให้มีการปรับปรุงกฎหมายหรือ “ชุดกฎหมาย” ได้โดยรวดเร็ว ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องการกำหนด “สิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจ” นักลงทุนเท่านั้น 

ประเด็นนี้ทำให้ EEC มีความแตกต่างจาก Eastern seaboard อย่างมากมาย  ยิ่งไปกว่านั้น EEC ไม่ได้สนับสนุนเฉพาะทุนใหญ่เท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่า EEC มีการกำหนดเขตย่อยเป็น EEC-D (digital economy), EEC-I (innovation) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EEC-I นั้น มุ่งเน้นให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ startup ขึ้นในพื้นที่ ดังตัวอย่างที่ ปตท. ได้มีการลงทุนสร้าง วังจันทร์ valley เพื่อให้เกิด ecosystem คล้าย ๆ กับ Silicon Valley ใน California ซึ่งแน่นอนว่า คงจะไม่ใช่ทุนขนาดใหญ่ (ในตอนเริ่มต้น) และแม้กระทั่งความพยายามส่งเสริมให้เกิด fruit corridor เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่า และเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นต้น 

EEC ไม่ได้ตั้งใจจะส่งเสริมเฉพาะการลงทุนจากทุนต่างประเทศเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากมาตรา 7 (2) ที่เขียนไว้ชัดว่าให้การสนับสนุนทั้งผู้ประกอบกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาใช้พื้นที่ และการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะที่เขียนในพระราชบัญญัติเท่านั้น แต่ให้อำนาจคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สามารถกำหนดเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงได้ด้วย

และในมาตร 7(1) หากอ่านให้ดี ก็จะเห็นว่า ไม่ได้เน้นเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ต้องการให้เกิดการพัฒนาให้เป็น Smart city หรือเมืองอัจฉริยะไปพร้อมกัน ซึ่งแสดงถึงการพัฒนาอย่างครบวงจร ไม่ได้จำกัดเพียงการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่าง Eastern seaboard ที่เป็นเครื่องยนต์สำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้พวกเราได้ลืมตาอ้าปากมาได้ และเมื่อมาขยายการพัฒนาให้ครบวงจรมากขึ้นอย่างแนวคิด EEC แล้ว หากรัฐบาลปัจจุบันเข้าใจแนวคิด และดำเนินการอย่างจริงจัง จะสร้างคุณประโยชน์ให้ประเทศมากเพียงใด ... แค่หลับตาก็คงพอนึกออกแล้ว 

ดังนั้นแนวคิดของ EEC จึงไม่ได้ถูกจำกัด อย่างที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ก็คือกำหนดไว้เฉพาะเพียงภาคตะวันออก 3 จังหวัดเท่านั้น ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง แต่อย่างไรก็ดี คณะกรรมการนโยบาย อาจจะกำหนดเพิ่มเติมได้ แต่หากให้เกิดความคล่องตัวมากกว่าเดิม อาจจะต้องใช้แนวคิดตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ขยายวงให้เกิดเขตพัฒนาพิเศษในภาคอื่น ๆ ได้ โดยอาจจะใช้ EEC เป็นต้นแบบ ซึ่งกระบวนการแก้พระราชบัญญัติก็ไม่ได้ยุ่งยากมากเกินไป (อย่างน้อยก็ง่ายกว่า การยกร่างพระราชบัญญัติใหม่ทั้งฉบับ) โดยเรียนรู้จาก prototype อย่าง EEC

'ไอติม' ยก 4 เป้าหมายเปลี่ยนประเทศ สู่ ปชต. วอนคนทุกรุ่นต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน

ไอติม ขึ้นเวทีปาฐกถา 14 ตุลา ชี้ 49 ปี ไทยยังคงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย - ชู 4 พันธกิจเปลี่ยนประเทศสู่ประชาธิปไตย ที่คนทุกรุ่นต้องร่วมมือกัน

เมื่อวันที่ 14 ต.ค.65 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกลได้ร่วมแสดงปาฐกถางาน '14 ตุลา 16 ปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์สังคมไทยแค่ไหน' พริษฐ์เริ่มต้นปาฐกถาด้วยการอธิบายว่าโจทย์ของพูดถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วกว่า 49 ปี และตนเองไม่ได้เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ แต่ด้วยความที่ 14 ตุลา เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ถูกตีความอย่างหลากหลายโดยคนแต่ละกลุ่ม ตนจึงตั้งใจที่จะพยายามสรุปและอธิบายเหตุการณ์ผ่านมุมมองของคนแต่ละยุค ทั้งมุมมองที่มองว่า 14 ตุลาเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และมุมมองที่อาจมองว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นชัยชนะที่ลวงตาและไม่สามารถนำไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างยั่งยืนซึ่ง

โดยพริษฐ์กล่าวว่า 14 ตุลา อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่สามารถกำจัดระบบทรราชอย่าง 'ถนอม-ประภาส-ณรงค์' ออกไปจากระบบการเมืองไทยได้ก็จริง แต่ 3 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา กลับเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง 6 ตุลา 2519 โดยเหตุการณ์นี้พริษฐ์อธิบายว่า "เป็นเสมือนการล้างไพ่ประชาธิปไตยไทย ให้ถอยกลับไปอยู่จุดเดิม หรือแย่กว่าเดิม" พริษฐ์ยังอธิบายต่อไปอีกว่า คนรุ่นใหม่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา กับคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน เติบโตมาในโลกที่มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน

พริษฐ์ กล่าวว่าสิ่งที่คนรุ่นใหม่ในแต่ละยุคต้องพบเจอเหมือนกัน คือการเติบโตมาในยุคที่การเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น คนรุ่นใหม่ในยุค 14 ตุลาเป็นยุคที่เติบโตมากับระบบเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานและมีผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 17 ขณะที่คนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันเติบโตมาในยุคที่พวกเขาไม่ได้สัมผัสกับประชาธิปไตยอย่างเต็มใบและต้องอาศัยอยู่ภายใต้ 'ระบอบประยุทธ์' ซึ่งเป็นเสมือนเผด็จการอำพรางที่ชุบตัวจากการเลือกตั้ง แต่ยังคงมีกลไกควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จผ่านกลไกสืบทอดอำนาจ ส.ว. 250 คนศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระรวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แต่ตัวอย่างหนึ่งที่มีความแตกต่าง คือในมิติเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลต่อความยาก-ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คนรุ่นใหม่ยุค 14 ตุลามีทางเลือกในการติดตามข่าวสารอย่างจำกัดเพราะเทคโนโลยีขนาดนั้นมีเพียงวิทยุหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เท่านั้นซึ่งก็ไม่ได้มีอุปกรณ์เหล่านี้ครบทุกบ้าน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกควบคุมและกำกับโดยรัฐในทางกลับกันคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันกลับมีช่องทางในการติดตามข่าวสารมากมายนับไม่ถ้วนเพราะการเติบโตของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียรัฐไม่อาจควบคุมและจำกัดข้อมูลเนื้อหาได้ดังเช่นในอดีต

แม้ความแตกต่างระหว่างรุ่นเป็นเรื่องปกติ แต่จากโจทย์ปัจจุบันที่เป็นช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประชาธิปไตยไทยและที่มีการปะทะกันระหว่างระบบที่ล้าหลังและสังคมที่ก้าวหน้ามากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป้าหมายและความตั้งใจของคนยุค 14 ตุลา มีภารกิจหลายส่วน ที่สอดคล้องกับความฝันของคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบัน แต่ยังไม่สำเร็จถึงฝั่งและยังต้องอาศัยพลังและเจตจำนงของคนทั้ง 2 รุ่น ในการร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป

เป้าหมายที่หนึ่งคือการร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย - แม้เหตุการณ์ 14 ตุลาได้นำมาสู่รัฐธรรมนูญปี 2517 แต่กระบวนการจัดทำยังคงไม่ได้มีส่วนร่วมของตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และเป็นฉบับที่มีอายุเพียง 2 ปี ก่อนถูกฉีกโดยคณะรัฐประหาร ปัจจุบันประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้ธรรมนูญปี 2560 ซึ่งถูกเขียนโดยคณะรัฐประหาร มีวัตถุประสงค์ในการสืบทอดอำนาจ และมีเนื้อหาที่ขัดกับหลักสากล จึงต้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชน ผ่าน สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง

เป้าหมายที่สองคือการขับเคลื่อนประชาธิปไตยในเชิงวัฒนธรรม ที่ไปไกลกว่าการกำจัดผู้นำเผด็จการ แม้ 14 ตุลาจะเป็นหมุดหมายสำคัญทางการเมืองไทยที่ภาคประชาชนรวมกันแสดงตัวเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล แต่ก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ทำให้เห็นว่าการตื่นตัวของประชาชนไม่สามารถนำไปสู่ชัยชนะที่ยังยืนของประชาธิปไตยเสมอไป ตราบใดที่เรายังไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่แข็งแรงให้เกิดขึ้นในระดับความคิด และกำจัดวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมในทุกอณูของสังคม ตั้งแต่ระบบราชการ ยันระบบการศึกษา เพื่อสร้างโครงสร้างและวัฒนธรรม ที่อยู่บนฐานของการไว้วางใจประชาชน

ป่วยที่ไหนไปนั่น!! 'นายกฯ' ช่วยไว!! ให้สิทธิผู้ป่วยบัตรทองในพื้นที่น้ำท่วม 'รักษาฟรี - ที่ไหนก็ได้' แม้ไม่ใช่หน่วยบริการตามสิทธิ

(15 ต.ค. 65) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กำชับส่วนราชการเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และให้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น สำหรับการดูแลสุขภาพประชาชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมดูแลผู้ป่วยสิทธิบัตรทองในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม มีการจัดระบบให้สามารถรับการรักษาต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยสามารถใช้บริการที่หน่วยบริการ หรือ สถานพยาบาลที่ไม่ใช่หน่วยบริการตามสิทธิได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทางหน่วยบริการจะเบิกค่าใช้จ่ายจากสปสช. ตามขั้นตอนต่อไป

วันหยุดแต่ ตำรวจทางหลวง จิตอาสา ไม่หยุด ลงช่วยเหลือชาวบ้านเดือดร้อนน้ำท่วมพิมาย สร้างความปลาบปลื้มต่อผู้ประสบภัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00 น. บริเวณพื้นที่หมู่ 18 บ้านกล้วยสามัคคี ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้พ.ต.ท.จิระพันธ์ มณีรัตน์ สารวัตรสถานีตำรวจทางหลวงนครราชสีมา ตำรวจทางหลวงนครราชสีมา จิตอาสา 904 ฝ่ายป้องกันบรรเทาสาธารณภัย อ.พิมาย ชมรมฮักเขาใหญ่ และฮุก31 พิมาย ผู้ใหญ่บ้าน

โดยคณะเข้าช่วยเหลือชาวบ้านเดือดร้อนน้ำท่วมกว่า 100 หลังคาเรือน ที่มีน้ำท่วมขังกว่า 1 เดือน บ้านเรือนราษฎร พืชสวนไร่นา ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก หลายครอบครัวไม่มีรายได้ โดยนำถุงยังชีพ จำนวน 100 ถุง ไปเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนช่วยเหลือชาวบ้าน พร้อมยารักษาโรค

อัปเดตราคา 'หมู-เนื้อ-ไก่'

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย..

NASA เปลี่ยนวงโคจรดาวเคราะห์น้อยได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เชื่อช่วยต่อยอดความรู้ป้องภัยดาวพุ่งชนโลกได้ในอนาคต

(13 ต.ค.65) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

องค์การนาซายืนยันถึงการพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยของยานในภารกิจ DART ช่วยเปลี่ยนลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย

จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ของทีมงานในภารกิจ DART (Double Asteroid Redirection Test) ขององค์การนาซา แสดงให้เห็นว่าการพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสของยานอวกาศ สามารถเบี่ยงวิถีของดาวเคราะห์น้อยเป้าหมายได้สำเร็จ และกลายเป็นภารกิจเบี่ยงวิถีโคจรของวัตถุในอวกาศที่สำเร็จเป็นครั้งแรกของมนุษยชาติ ซึ่งจะใช้เป็นองค์ความรู้พื้นฐานของการปกป้องโลกจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยในอนาคตต่อไป

ก่อนหน้าการพุ่งชน ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสใช้เวลาโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยดวงแม่ (ดาวเคราะห์น้อยดีดิมอส) นาน 11 ชั่วโมง 55 นาที แต่หลังจากการพุ่งชนของยาน DART เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์จากทั่วโลก ตรวจวัดคาบการโคจรของดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสอีกครั้ง จนถึงตอนนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า การพุ่งชนของยาน DART ทำให้คาบการโคจรของดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสเร็วขึ้นประมาณ 32 นาที ซึ่งคาบการโคจรที่เปลี่ยนไปบ่งชี้ว่า ดาวเคราะห์น้อยมีวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หากดาวเคราะห์น้อยมีคาบการโคจรสั้นลง แสดงว่าวงโคจรใหม่จะหดลงเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยดวงแม่มากขึ้น และในทางตรงข้าม หากมีคาบการโคจรที่นานขึ้น จะแสดงว่ามีวงโคจรใหม่ที่กว้างกว่าเดิม

แม้ว่าทีมนักวิทยาศาสตร์ในภารกิจ DART จะยืนยันว่าสามารถเบี่ยงวิถีดาวเคราะห์น้อยได้แล้ว แต่ก็ยังต้องการข้อมูลการสังเกตการณ์เพิ่มเติมจากเครือข่ายหอดูดาวทั่วโลก รวมไปถึงข้อมูลจากเรดาร์ของห้องปฏิบัติการเครื่องยนต์ขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ของนาซา และกล้องโทรทรรศน์วิทยุกรีนแบงค์ของ NRAO 

ขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ในโครงการ DART หันมาให้ความสนใจในเรื่องการถ่ายโอนโมเมนตัมจากยาน DART ที่พุ่งชนเป้าหมายด้วยอัตราเร็ว 22,530 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมถึงการวิเคราะห์ Ejecta หรือเศษวัสดุที่สาดกระเด็นไปในอวกาศ ซึ่งช่วยขยายแรงจากการพุ่งชนของยาน ในลักษณะเดียวกับกระแสลมที่พุ่งออกจากรูรั่วบนลูกโป่ง แล้วทำให้ลูกโป่งเคลื่อนไปในทิศตรงข้าม

อย่างไรก็ดี เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นข้างต้น นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยมากกว่านี้ อย่างเรื่องลักษณะและความแข็งแรงของพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนที่กำลังศึกษา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top