Thursday, 15 May 2025
Hard News Team

รู้จัก ‘มาครง’ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2 สมัย ชีวิต - ความรัก - การงาน - การเมือง

Bonjour … comment allez-vous? สวัสดี...สบายดีมั้ย นี่เป็นคำทักทายในภาษาฝรั่งเศส ที่ใครมีโอกาสได้พบกับผู้นำสุดหล่อแห่งฝรั่งเศสสามารถเตรียมไว้ทักทายกันได้ หลังจากในการประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้น ประเทศฝรั่งเศสได้ถูกรับเชิญเป็นแขกพิเศษในการประชุมครั้งนี้ และผู้ที่มาร่วมประชุม ก็คือ แอมานุแอล ฌ็อง-มีแชล เฟรเดริก มาครง (Emmanuel Jean-Michel Frédéric Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางกาเตอรีน โกลอนนา (Catherine Colonna) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส 

ทว่าก่อนที่จะได้ทราบกันว่าสาระสำคัญของไทย-ฝรั่งเศสใน APEC 2022 นี้ จะมีมิติใดอัปเดตบ้างนั้น THE STATES TIMES ก็ขออนุญาตพาทุกท่านไปรู้จักกับประธานาธิบดีท่านนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ 

Emmanuel Jean-Michel Frédéric Macron เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ 2520 ที่เมืองเอเมียงส์ ประเทศฝรั่งเศส โดยครอบครัวทำงานอยู่ใวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มาครงได้ศึกษาระดับประถม-มัธยมศึกษาที่โรงเรียนในเมืองเอเตียง ก่อนย้ายไปศึกษามัธยมปลายที่โรงเรียน อองรีที่ 4 (Lyeeé Henri-IV) เป็นโรงเรียนมัธยมชั้นสูงเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปารีส เมื่อเขาจบมัธยมปลาย เขาได้ศึกษาต่อด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยปารีส น็องแตร์ (Université Paris Ouest Nanterre La Dèfense) และศึกษาต่อในด้านการบริหารกิจการสาธารณะ สถาบันซีอองซ์ โป (Science Po - The Institut d études politiques de Paris) มาครงมีความชื่นชอบและสนใจด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา และ ศิลปะ 

มาครง เข้าทำงานในแวดวงการเงิน การธนาคาร โดยทำงานให้กับบริษัท Rothschild บริษัททรงอิทธิพลที่เป็นเจ้าของเครือข่ายธนาคารหลายแห่งในยุโรป ตั้งแต่ปี 2551 และเคยทำหน้าที่ในกระทรวงการคลัง โดยเป็นผู้ช่วยในทีมของ ฌากส์ อัตตาลี นักการเมืองผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยเป็นที่ปรึกษาของอดีตประธานาธิบดี มิต เตร็อง และได้ลาออกไปทำงานให้กับบริษัท ร็อธส์ไซลด์ ในปี 2551 และได้เข้ามาทำงานการเมืองอย่างจริงจัง โดยเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้เสนอชื่อเขาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ ในปี 2557 

ด้านความรัก: ความรักของมาครง เมื่อเขาอายุ 17 ปี เขาเปิดเผยกับคุณครูผู้เป็นที่รักว่า เขาอยากแต่งงานกับเธอ ถึงแม้ว่าเขาจะมีอุปสรรคมากมายก็ตาม แต่มาครงบอกกับเธอว่า "ผมจะกลับมาหาคุณ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ผมก็จะแต่งงานกับคุณให้ได้" หลังจากเวลาผ่านไปนานหลายปี ความรักที่มาครงมีให้คุณครูก็ไม่เคยจืดจางลงไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ขณะที่มาครงอายุได้ 29 ปี บริจิตต์ก็หย่าขาดจากสามี และมาครงก็ได้แต่งงานกับเธอดังที่เขาปรารถนามาตลอด โดยไม่สนคำวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ จากสังคม 

ด้านการเมือง: เขาได้ก้าวทำงานด้านการเมืองแบบจริงจัง โดยเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้เสนอชื่อเขาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจในปี 2557 โดยเขาได้ร่างกฎหมายที่มุ่งเน้นผลักดันให้รัฐบาลมีความเป็นมิตรกับภาคเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสภา และถูกตัดลงไป ไม่ผ่านการอนุมัติ

จุดเปลี่ยนในการจัดตั้งพรรคการเมือง … เขาเล็งเห็นว่า แนวคิดของการปฏิรูปเศรษฐกิจ ไม่สามารถไปกันได้กับนโยบายของพรรคสังคมนิยม ภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดี ออลลองด์ มาครงจึงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี และออกมาตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง ในปี 2559 ในชื่อ ‘ออง มาร์ช (En Marche)’ มีชื่อทางการว่า สมาคมเพื่อการฟื้นฟูชีวิตการเมือง (Association pour le renouvellement de la vie politique) ซึ่งมีความหมายตรงตัวถึงการเคลื่อนไหว เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดเสรีนิยมสายกลาง ที่มีเป้าหมายปฏิรูปการเมืองของฝรั่งเศสให้ก้าวไปข้างหน้า และให้ความเคารพกับสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคนในประเทศ ซึ่งการจัดตั้งพรรคการเมืองของมาครง เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของฝรั่งเศส และเขาคือ 1 ในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในการเลือกตั้ง ในปี 2560 โดยผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 (อย่างไม่เป็นทางการ) รอบแรก พบว่า แอมานุแอล มาครง มีคะแนนเสียงอันดับ 1 คิดเป็น 24.01% แซงมารีน เลอ แปน จากพรรคแนวร่วมสร้างชาติ 21.30% ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2560 มีการเลือกตั้งรอบที่ 2 ระหว่าง แอมานุแอล มาครง จากพรรคอ็องมาร์ช และ มารีน เลอแปน จากพรรคแนวร่วมสร้างชาติ ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 ปรากฎว่า แอมานุแอล มาครง มีคะแนนคิดเป็น 66.10% ในขณะที่มารีน เลอ แปน มีคะแนนคิดเป็น 33.90% ทำให้มาครงกลายเป็นประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และเป็นประธานาธิบดีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส และเป็นประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศสที่อายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่สมัยโบเลียน

'ดร.เผ่าภูมิ' ชี้หุ้น MORE สะท้อนช่องโหว่ที่ไม่เคยถูกปิดของตลาดหุ้นไทย เสียหายซ้ำซาก ประเมินค่าไม่ได้

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีหุ้น MORE ว่า

เรื่องนี้แบ่งได้ 3 ระดับ 
ต้นน้ำ คือ ความจริงของตลาดหุ้นไทยที่เต็มไปด้วยช่องโหว่และโอกาสการปั่นหุ้น กฎเกณฑ์ที่ล้าหลังไม่ทันเกม หน่วยงานกำกับที่ไม่ทันการณ์
กลางน้ำ คือ ความหละหลวมของโบรกเกอร์เรื่องหลักประกันและการปล่อยวงเงิน จนเกิดความเสียหาย 
ปลายน้ำ คือ นักลงทุนรายย่อยกลายเป็นเหยื่อ

จริงอยู่ที่หัวใจของเรื่องนี้มักถูกชี้เป้าที่ความหละหลวมของโบรกเกอร์ในเรื่องหลักประกันและการปล่อยวงเงิน แต่เรื่องทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากตลาดหุ้นไทยมีความสมบูรณ์เชิงโครงสร้าง ซึ่งความรับผิดชอบตรงนี้ก็ต้องชี้เป้าไปที่ หน่วยงานที่กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ 

'อนุสรณ์' ชี้ นโยบายพรรคการเมือง แค่พูดแล้วทำไม่พอ แต่ต้องทำอย่างถูกต้องด้วย

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. ... ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ช่วงหลังการประชุมเอเปก ว่า ก่อนที่พรรคภูมิใจไทยจะมาโทษฝ่ายค้าน ควรหันกลับไปดูการทำงานร่วมกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลก่อน จนถึงขณะนี้ยังมีความเห็นต่างกันอย่างมากในหลายประเด็น และไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้เชื่อว่ายิ่งใกล้วันยุบสภาจะยิ่งเกิดความขัดแย้งรุนแรงระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐซึ่งกำลังประสบกับปัญหาเผชิญกับสภาวะวิกฤติศรัทธาจากประชาชน หลายนโยบายที่หาเสียงไว้แล้ว ทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ คาดว่าในช่วงโค้งสุดท้าย จะหันกลับมาร่วมวงไพบูลย์ถล่มพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเองเพราะอาจจะเหลือแนวทางที่เป็นทางเลือกและทางรอดสุดท้ายที่จะใช้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ขนาดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ ยังมีแนวโน้มจะโบกมือลา ขนลูกพรรคในกลุ่มก๊วนของตัวเองไปอยู่พรรคการเมืองใหม่ แสดงว่าชื่อชั้นของพรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาลขายไม่ได้และไปต่อลำบาก ซึ่งจะเป็นอุทาหรณ์ให้กับทุกพรรคการเมืองที่จะนำเสนอนโยบายต่อพี่น้องประชาชน ไม่ใช่แค่พูดแล้วทำแต่ต้องทำอย่างถูกต้องไม่ใช่ทำผิดทิศผิดทางและไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติและพี่น้องประชาชน

'วราวุธ' ขึ้นกล่าวถ้อยแถลง บนเวที COP27 ตอกย้ำประชาคมโลก 'ไทยพูดจริง ทำจริง' โชว์ความก้าวหน้าการรับมือด้านสภาพภูมิอากาศ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ณ Sharm El Sheikh International Convention Center สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม COP27 ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงแสดงวิสัยทัศน์และความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ต่อที่ประชุมระดับสูงของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP27) โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายพุทธพร อิ้วตกส้าน เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เข้าร่วม

นายวราวุธ ได้กล่าวบนเวที COP27 ว่า “ประเทศไทยได้ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการประชุม COP26 ด้วยการจัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ฉบับปรับปรุง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 รวมทั้ง เพิ่มเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 หากได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทย ยังได้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับประชาชน ตลอดจนส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างจริงจัง และในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคในปีนี้ เชื่อว่า เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว จะเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการประชุมผู้นำ APEC เพื่อช่วยบูรณาการความร่วมมือไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการของเสีย”

'วราวุธ' หารือ อเมริกา ถกประเด็นลดก๊าซมีเทน ต้นเหตุสำคัญปัญหา Climate Change ระดับโลก

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ณ Sharm El Sheikh International Convention Center สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม COP27 พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) และคณะ หารือร่วมกับผู้แทนสหรัฐอเมริกา MR.John Kerry ผู้แทนพิเศษว่าด้วยประเด็นสภาพภูมิอากาศ (Special Presidential Envoy for Climate) และคณะ ถึงแนวทางความร่วมมือในการลดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังการขึ้นกล่าวถ้อยแถลง บนเวทีการประชุมระดับสูงของ COP27

โดยในการหารือ นายวราวุธ ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายของประเทศไทย ในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด หรือ NDC ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ทั้งยังส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model อย่างจริงจัง 

เพจดัง ชี้!! Thai PBS สื่อจากภาษีคนไทย ที่นำเสนอความจริง 'ยังทำไม่ได้'

(17 พ.ย. 65) เพจ 'ฤๅ - Lue History' จากกรณีที่ Thai PBS เสนอข่าวเพื่อจับโป๊ะรัฐบาลเรื่อง 'ปลากุเลาตากใบ' ที่ถูกเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารสำหรับงานเลี้ยงกาลาดินเนอร์แก่ผู้นำต่างชาติในงานประชุม APEC 2022 ว่าไม่ได้เป็นปลาที่มาจากตากใบ ซึ่งเป็นการไปเอาข้อมูลสัมภาษณ์มาจากคนในพื้นที่ (บางคน) โดยไม่ได้สืบสาวต้นตอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

สุดท้าย Thai PBS โป๊ะแตกเอง เมื่อเชฟใหญ่ที่รับผิดชอบเมนูอาหารครั้งนี้ยืนยันด้วยตัวเองว่า ได้ซื้อวัตถุดิบปลากุเลาจากร้านค้าในพื้นที่ตากใบจริง พร้อมแสดงใบเสร็จสั่งซื้อชัดเจน

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ แค่เมนูอาหาร แต่มันสร้างผลกระทบถึงเศรษฐกิจภาพรวมของตากใบ รวมไปถึงภาพลักษณ์การประชุมระดับโลกที่ถูกด้อยค่า ที่จะต้องมาตามแก้ไขความเท็จที่ไม่ควรเกิดขึ้นจากการทำงานของสื่อไร้จรรยาบรรณ

จริง ๆ แล้วการสืบค้นหาข้อมูลจากต้นตอของแหล่งข่าว ถือเป็นพื้นฐานของการทำงานสื่อมวลชนด้วยซ้ำ ซึ่งในเคสนี้แค่ไปสอบถามข้อเท็จจริงจากหน่วยงาน หรือผู้รับผิดชอบโดยตรงก็จบแล้ว

แต่มาตราฐานแบบนี้กลับไม่มีเลยในการทำงานของ Thai PBS

ซ้ำร้ายยังมีข้อมูลมาด้วยว่า สื่อนี้มีการสนับสนุนช่องทางของขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยอีกด้วย ซึ่งเราจะนำประเด็นนี้มาพูดคุยในครั้งต่อไป

‘ม็อบต้านเอเปค’ ป่วน ปะทะ คฝ.แยกอโศก พบส่วนใหญ่ล้วนหน้าเดิม - บางคนมีคดีติดตัว

จากกรณีที่นักกิจกรรมการเมืองและประชาชนที่เรียกตัวเองว่า 'เครือข่ายราษฎรหยุด APEC 2022' นำโดย น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ดาวดิน และแนวร่วมเครือข่ายต่าง ๆ เตรียมได้ฉวยโอกาสช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค 2022 นัดชุมนุมขับไล่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังจากห่างหายไปหลายเดือน ด้วยหวังส่งสารไปถึงผู้นำระดับโลกที่เข้าร่วมการประชุมเอเปค

ล่าสุด เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 17 พ.ย. 65 พบว่า มีการรวมตัวกันของกลุ่มราษฎร 63 พร้อมแนวร่วมอีก 13 เครือข่าย จัดกิจกรรม What happening in Thailand? และพยายามจะฝ่าแนวกั้นเข้าไปบริเวณด้านหน้าอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมให้ได้ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศให้ผู้ที่จะเข้าร่วมชุมนุมต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากจะจัดชุมนุมจะต้องแจ้งการชุมนุม ส่วนจะเคลื่อนย้ายไปสถานที่ใดจะต้องแจ้งล่วงหน้า และห้ามชุมนุมกีดขวางการจราจร

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มราษฎร 63 และแนวร่วม ประมาณ 60 คน ซึ่งรวมตัวกันที่บริเวณแยกอโศกมนตรีนั้น ล้วนเป็นบุคคลที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ออกจากตำแหน่ง และเชื่อมโยงกับขบวนการล้มล้างสถาบัน ซึ่งมีบางคนในกลุ่มนี้ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อาทิ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, น.ส.ณัฐนิช ดวงมุสิทธ์ หรือใบปอ และน.ส.เนติพร เสน่ห์ สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย

นอกจากนี้ ทางฝ่ายความมั่นคง ยังพบว่ามีบุคคลซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มราษฎร 63 ในพื้นที่อีกจำนวนมาก อาทิ นายณัฐพงศ์ มาลี, นางนภัสสร บุญรีย์, นายพนัส พลายบัว, นายกีรติ สโมรินทร์, นายสามารถ ปุยปัญจะ, นายเจษฎา ศรีปลั่ง, นายธัชพงศ์ แกดำ, นายธีรัตน์ พณิชอุดมพัชร์, นางธนพร วิจันทร์, นายกรกช แสงเย็นพันธ์, น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว, น.ส.อันนา อันนานนท์, นายพิชัย เลิศจินตวงษ์, นางสาคร คำแถลง, นายพิชัย เลิศจินตวงษ์, นางจิรัชยา สกุลทอง, นางเงินตา คำแสน, นายเอกชัย หงส์กังวาน, นางพรวลัย ทวีธนวาณิชย์, นายวสันต์ กล่ำถาวร, นายวีรวิชญ์ รุ่งเรืองศิริผล, นายสุรเมธ น้อยอุบล, นายกันต์ แสงทอง, นายเชน ชีวอบัญชา, นายแซม สามแมท, นายจิรภาส กอรัมย์, นายสมพร งามสง่า, น.ส.สุวรรณา ตาลเหล็ก

‘ดร.นิว’ พารู้จัก ‘มายด์’ เด็กโข่งแห่งม็อบ 3 นิ้ว ชี้!! พูดดี-แสดงเก่ง-ฉลาดน้อย ไม่รู้ตัวกำลังถูกสนตะพาย

(17 พ.ย. 65) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง ‘ทำความรู้จักน้องมายด์สามนิ้วผ่าน 3 ข้อเรียกร้อง’

ดูเหมือนว่าน้องมายด์พึ่งจะได้รับบทพูดบทใหม่ ถึงได้ออกหน้าแสดงความห่วงใยต่อทรัพยากรของประชาชนในช่วงนี้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ น้องมายด์ไม่เคยออกมาช่วยกัน ทวงคืนป่าสงวนแห่งชาติสองพันกว่าไร่จากนายทุนตระกูลหนึ่งเลยแม้แต่นิดเดียว

[ ข้อ 1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องยกเลิกนโยบาย BCG กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่พยายามนำเสนอเข้าที่ประชุมเอเปครับรอง เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุนชั้นนำในประเทศ ]

BCG (Bio-Circular-Green) Economy เป็นแนวคิดบูรณาการทางเศรษฐกิจ ที่ได้รวบรวมแนวคิดทางเศรษฐกิจที่หลากหลายมาไว้ด้วยกัน แล้วมุ่งเน้นนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม Bio Economy - เศรษฐกิจชีวภาพ Circular Economy - เศรษฐกิจหมุนเวียน Green Economy - เศรษฐกิจสีเขียว

นับได้ว่าเป็นแนวคิดที่ทันสมัยและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่นี้เป็นอย่างมาก มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกระจายรายได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับกระแสประชาคมโลกในการเผชิญหน้ากับวิกฤตปัญหาโลกร้อนอีกด้วย

ตลอดจน BCG ยังเป็นวิสัยทัศน์ที่ได้รับการยอมรับโดย APEC มาก่อนหน้านี้แล้วเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากเอกสารให้ความรู้ของ APEC ฉบับนี้ https://www.apec.org/publications/2022/08/understanding-the-bio-circular-green-(bcg)-economy-model

ไม่นึกว่าคนที่ร่ำเรียนวิศวกรรมโยธาจะขาดความรู้ความเข้าใจต่อแนวคิดสิ่งแวดล้อมพื้น ๆ เช่นนี้ ได้ข่าวว่าน้องมายด์อายุ 26 ปีแล้ว แต่ไม่รู้ว่าตอนนี้เรียนหนังสือในระดับปริญญาตรีจบแล้วหรือไม่ แสดงถึงความไม่รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเอง

[ ข้อ 2. พลเอกประยุทธ์ ไม่มีความชอบธรรมที่จะลงนามข้อตกลงร่วมกับผู้นำกลุ่มเอเปค และต้องยุติบทบาทการเป็นประธานในที่ประชุมโดยทันที ]

ถ้าพลเอกประยุทธ์ไม่มีความชอบธรรม ผู้นำและตัวแทนต่างชาติทั้งหมดก็คงไม่เดินทางมาร่วมในการประชุมในครั้งนี้หรอก ตัวน้องมายด์เองใหญ่มาจากไหน ถึงได้ทำตัวกร่างและกล้ามาออกคำสั่งผู้นำนานาชาติไม่ต่างจากเด็กโข่งที่เป็นเผด็จการทางความคิด

แถมน้องมายด์ยังฉลาดน้อยและอาจตกเป็นเครื่องมือในการสร้างสถานการณ์รุนแรง เพราะวันที่ 18 พ.ย. นี้ น้องมายด์ไม่มีความจำเป็นต้องออกมาก่อม็อบสร้างปัญหาเลย เดี๋ยว 19 พ.ย. ก็จะมีพิธีส่งมอบการเป็นเจ้าภาพ APEC แก่สหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว

ดังนั้น การออกมาอ้างว่าต้องการหยุด APEC จึงเป็นเพียงแค่โฆษณาชวนเชื่อที่ดูน่าตลกขบขันเสียมากกว่า และไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงของคนที่คอยชักใยอยู่เบื้องหลังม็อบอีกด้วย เพราะถ้าต้องการหยุด APEC จริง ต้องหยุดตั้งนานแล้ว ไม่ใช่จะมาหยุดในวันท้าย ๆ แบบนี้

[ ข้อ 3. พลเอกประยุทธ์ ต้องยุบสภา เปิดทางให้มีการเลือกตั้ง จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อันจะทำให้ได้มาซึ่งผู้นำปประเทศที่สง่างาม คู่ควรกับการเป็นเจ้าภาพในการประชุมประชาคมโลกในอนาคต ]

อีกไม่นานพลเอกประยุทธ์ก็จะหมดวาระแล้ว ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ไม่ได้นำไปสู่การสร้างประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามช่วงชิงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคอยชี้นำอย่างบิดเบือน มีแต่จะสร้างความแตกแยกครั้งมโหฬารเท่านั้น

การเคลื่อนไหวของม็อบสามนิ้ว #ราษฎรหยุดAPEC2022 โดยมีน้องมายด์เป็นนักแสดงนำกับ 3 ข้อเรียกร้อง จึงเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย มีแต่จะขัดขวางความเจริญและบั่นทอนผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ

อีกทั้งการใช้ม็อบสร้างสถานการณ์กดดันนำไปสู่ความรุนแรง จงใจเคลื่อนไหวต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า สร้างเงื่อนไขให้เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องปราบปราม แล้วนำภาพมาขยายผลอย่างบิดเบือน ก็เป็นวิธีการสกปรกเดิม ๆ ที่ม็อบสามนิ้วกระทำมาโดยตลอด

ผบ.ตร. วางระบบ CCTV 22,848 ตัว ครอบคลุมทุกพื้นที่ คุมเข้มความปลอดภัยประชุม APEC 2022 มั่นใจ!! เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ห่วงกลุ่มผู้ชุมนุมขวางการประชุม เตรียมแผนพร้อมรองรับไว้แล้ว

(17 พ.ย. 65) เวลา 09.00 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร./รอง ผอ.กองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยและการจราจรฯ การประชุม APEC 2022 เป็นประธานประชุมขับเคลื่อน กอ.ร่วมฯ ติดตามสถานการณ์ด้านการข่าว สภาพภูมิอากาศ และแผนการปฏิบัติรักษาความปลอดภัยและการจราจรประจำวัน บูรณาการทุกภาคส่วน รวมกว่า 30 หน่วยงาน

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า ภาพรวมการปฏิบัติมีความพร้อมทุกภาคส่วน และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การจราจรยังคล่องตัวดี เนื่องจากรัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดราการ มีการติดตามสถานการณ์ด้านการข่าวทั้งในและนอกพื้นที่ กทม. อย่างใกล้ชิด

ด้านมาตรการรักษาความปลอดภัย ได้ติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 17,848 ตัว และส่วนภูมิภาคในจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ อีกจำนวน 5,000 ตัว รวมทั้งสิ้น 22,848 ตัว มั่นใจว่าครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อการรักษาความปลอดภัย หากมีใครเข้ามาก่อเหตุ จะถูกตรวจจับด้วยกล้องทันที

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งจุดตรวจเป็นใยแมงมุม ครอบคลุมทุกเส้นทาง โดยเฉพาะสถานที่ประชุม ที่พักผู้นำ เส้นทาง และสถานที่สำคัญต่าง ๆ โดยใช้เจ้าหน้าที่กว่า 35,000 นาย พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สำหรับการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top