Thursday, 15 May 2025
Hard News Team

'นายกฯ ออสเตรเลีย' ปลื้ม!! ไทยมุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ชม!! เอเปคไทย ช่วยดันความร่วมมือต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมขึ้น

'บิ๊กตู่-นายกฯ ออสเตรเลีย' หารือแบบพบหน้าเป็นครั้งแรก ชื่นชม ความสัมพันธ์ระหว่างกัน พร้อมขยายความร่วมมือให้แน่นแฟ้นครอบคลุม แก้ปัญหาความท้าทายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง 111 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้พบหารือกับ นายแอนโทนี แอลบาเนซี (The Honourable Anthony Albanese MP) นายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลีย ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญจากการหารือ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้หารือแบบพบหน้า หลังจากที่ได้หารือทางโทรศัพท์กันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปีนี้เป็นปีที่ ไทยและออสเตรเลียได้ร่วมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 70 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและพิเศษจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับและทรงศึกษาในออสเตรเลียอยู่เป็นระยะเวลานานหลายปี ซึ่งรวมถึงความร่วมมือระหว่างกัน ที่มีพลวัตสูง ครอบคลุม ทุกมิติและเป็นรูปธรรม อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ร่วมกัน 

'บิ๊กตู่-นายกฯ นิวซีแลนด์' ย้ำความร่วมมือรอบด้าน ร่วมยกระดับพัฒนา 'เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว-สิ่งแวดล้อม'

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง 111 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือทวิภาคีกับ น.ส.จาซินดา อาร์เดิร์น (H.E. Rt Hon. Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรียินดีที่นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เดินทางมาร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในครั้งนี้ ซึ่งไทยตั้งใจจะสานต่อความสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของนิวซีแลนด์เมื่อครั้งล่าสุด ไทยและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยพร้อมเพิ่มพูนความร่วมมือที่มีอยู่เดิมและในสาขาความร่วมมือใหม่ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลพร้อมผลักดันและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และเวทีพหุภาคี

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ยินดีที่พบกับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ยินดีกับการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบาก ชื่นชมไทยที่สามารถผลักดันความร่วมมือจากทุกเขตเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนิวซีแลนด์พร้อมสนับสนุนแนวทางที่หารือร่วมกันเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่นิวซีแลนด์ให้ความสำคัญ เชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะสามารถขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ ได้อีกมาก

'บิ๊กตู่-IMF' ร่วมหารือประเด็น 'สังคมผู้สูงอายุ-สภาพภูมิอากาศ' ผนึกกำลังทุกฝ่ายสร้างประโยชน์เพื่อประชาชนคนไทย

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง 111 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางคริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับกรรมการจัดการ IMF สู่ประเทศไทย และกล่าวชื่นชม IMF ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินโลกท่ามกลางภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยเป็นเวทีหารือและการให้คำแนะนำด้านนโยบายที่เหมาะสม และการเข้าให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศ ที่ประสบปัญหาอย่างรวดเร็ว 

กรรมการจัดการ IMF รู้สึกยินดีที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในวันนี้ และเป็นเกียรติที่ได้ร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ประเทศไทย ซึ่งในช่วงเวลานี้ โลกประสบกับสถานการณ์ความท้าทาย ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ในยูเครน พร้อมกล่าวชื่นชมการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของไทย

ความสัมพันธ์ 'ไทย-ฝรั่งเศส' จากอดีตถึงปัจจุบัน สู่การยกระดับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2024

จากภาพปรากฏตั้งแต่ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก้าวเท้าเข้าสู่ทำเนียบและเข้าทักทายนายกรัฐมนตรีของไทย ด้วยความจริงใจและดูนอบน้อม ในฐานะแขกรับเชิญคนสำคัญจากประเทศไทยเพื่อร่วมการประชุม APEC 2022 หนนี้

ยิ่งทำให้รู้สึกถึงแนวโน้มอันดีงามในการหารือแบบทวิภาคีของ ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ โดยเฉพาะในแง่ของความคืบหน้าการยกระดับสถานะความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ระหว่างกันภายในปี ค.ศ. 2024 

โดยเชื่อว่า ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ จะได้มีการเผยแพร่ถ้อยแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือเร่งด่วนที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการก่อนตามแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (2022-2024) ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ กรุงปารีส ภายใต้ 5 เสาหลัก ได้แก่... การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ ประชาชน และประเด็นระดับโลก 

ภาพความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่าง ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ จะเป็นเช่นไร อาจจะยังตอบแบบชัดๆ ได้ยาก แต่ถ้าย้อนไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต้องขอบอกว่า ไทยและฝรั่งเศส มีการเจริญสัมพันธไมตรีอันดีต่อกันในหลายด้านแล้วด้วย

>> ด้านการทูต : พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีในปี 2228 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้ง 2 ประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต โดยการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีทางการค้าและการเดินเรือ (Treaty - of Friendship, Commerece and Navigation) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2399 

>> ด้านการเมือง : ดำเนินไปด้วยความราบรื่น ไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสได้รับการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยมีแผนปฎิบัติการร่วมไทย - ฝรั่งเศส ความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกัน และสามารถปฎิบัติได้จริงในช่วง 5 ปี ครอบคลุมทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และความร่วมมือระหว่างประเทศ ฯลฯ

>> ด้านเศรษฐกิจ : มีการส่งออกของไทย และสินค้าที่นำเข้าจากฝรั่งเศสหลายประการ ได้แก่...
- สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เลนส์แว่นตา เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี เครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว
- สินค้านำเข้าจากฝรั่งเศส ได้แก่ เครื่องบินแอร์บัส เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง

>> ด้านการร่วมมือด้านการค้า : ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมด้านการค้าไทย-ฝรั่งเศส และมีการจัดทำข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (The High Level Economic Dialogue between Thailand and France) ปี 2553-2557 ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน ระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ

>> ด้านการทหารและความมั่นคง : ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ เช่น ความร่วมมือด้านการฝึกปฎิบัติการร่วมทางเรือ การแลกเปลี่ยนการเยือนของนายทหารในระดับผู้นำเหล่าทัพและผู้บังคับบัญชาระดับสูง และการลงนามข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ การวิจัยและการพัฒนา การทหาร การส่งกำลังบำรุง และความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์

จากอดีต มาสู่ปัจจุบัน ซึ่งหากลองพิจารณาถึงการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศส (2022 - 2024) ที่ลงนามไว้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้ 5 เสาหลัก ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านประชาชน และประเด็นประดับโลกนั้น จะมีความน่าสนใจใดให้ติดตามต่อบ้าง...

>> ด้านการเมืองและความมั่นคง : ทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมจัดตั้งกลไกการเจรจา 2+2 (กระทรวงการต่างประเทศ + กระทรวงกลาโหม) การสนับสนุนความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมถึงการจัดทำความตกลงการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างไทยกับฝรั่งเศสโดยเร็ว เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง สำหรับด้านความมั่นคง นายกรัฐมนตรียินดีกับความร่วมมือทางการทหารที่ใกล้ชิด บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ตลอดจนยินดีที่ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด -แปซิฟิกรวมถึงไทย โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมเร่งรัดการจัดตั้งกลไกการหารือ 2+2 dialogue ไทย - ฝรั่งเศส เพื่อหารือในประเด็นท้าทายด้านความมั่นคง ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสเห็นว่า ไทยกับฝรั่งเศสมีศักยภาพที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการส่งเสริมความเชื่อใจและความใกล้ชิดระหว่างทหารของทั้งสองฝ่าย การสร้างฐานอุตสาหกรรมในประเทศไทยการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยทางทะเล เป็นต้น

>> ด้านเศรษฐกิจ : ทั้ง 2 ฝ่ายยินดีกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง โดยเห็นพ้องกันว่า ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้อีกมาก ซึ่งรัฐบาลไทยได้ปรับนโยบายที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการส่งออกสินค้าสิ่งแวดล้อมและการลงทุนในธุรกิจสีเขียว ไทยร่วมกับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไปสำหรับรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมจำนวน 54 รายการ นายกรัฐมนตรีจึงเชิญชวนให้ฝรั่งเศสใช้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมมีความร่วมมือกับไทยในด้านการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรกรรม ตลอดจนพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนา EEC

>> ด้านประชาชน : ทั้ง 2 ฝ่ายย้ำความสำคัญของการเดินทางที่ปลอดภัยโดยส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค การเพิ่มพูนการฝึกอบรมวิชาชีพและการศึกษาให้บุคลากรไทยเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของฝรั่งเศส และยินดีที่ปีหน้ากำหนดให้เป็นปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศส ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566)

>> ด้านการศึกษาและวิชาการ : ไทยกับฝรั่งเศสมีความร่วมมือในด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งในปีหน้าคาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถลงนามในความตกลงด้านการศึกษาระหว่างกันได้ ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

>> สำหรับประเด็นเร่งด่วนระดับโลก : เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การรับมือกับโรคระบาดรวมถึงย้ำความเป็นหุ้นส่วนที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการแสวงหาทางออกที่สันติผ่านการหารือต่อความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ในยูเครนและในเมียนมา เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานของโลกรวมถึงการเร่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนของสหประชาชาติภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573)

เรื่องเล่าใต้ผืนธงชาติสหรัฐฯ เมื่อชาวมะกันเองก็ยังคลั่งชาติ สิ่งที่ปราชญ์ 3 นิ้วควรรู้ ก่อนกรอกหูเด็กไทยให้ชังชาติตน

ทุกครั้งที่มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นชาติ คนบางกลุ่มจะหงุดหงิดและโจมตีกล่าวหาผู้ที่นิยมชมชอบสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองว่าเป็นพวกคลั่งชาติเสมอ

ทั้งที่สิ่งเหล่านี้คือเครื่องยึดเหนี่ยวสู่ความเป็นชาติ ให้ทุกคนรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเพื่อสร้างประโยชน์ในสังคมไปในทิศทางเดียวกัน โดยทางสังคมวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Solidarity’ หรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมและในความเป็นประเทศ

นักวิชาการตาสว่างมีตรรกะว่า รัฐชาติเป็นเรื่องสมมุติ การที่คนไทยไม่เจริญส่วนหนึ่งมาจากความคลั่งชาติและสถาบัน จากนั้นก็ด่าทอทุกอย่างเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์ โดยมั่นใจไปเองว่าการหยามหมิ่นรากเหง้าตัวเอง คือ ความก้าวหน้าแบบลิเบอรัล ที่ตลกมากที่สุด คือ ชนคนกลุ่มนี้มักอ้างอิงทำนองว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาไม่คลั่งชาติเด็ดขาด เพราะคิดเอาเองว่าประเทศเสรีประชาธิปไตยอย่างอเมริกาไม่มีเรื่องแบบนี้

อเมริกานั้นเหมือนเบ้าหลอมรวมชาติพันธุ์ เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมจับฉ่ายจากทั่วทุกมุมโลกมาตกคลั่กบนแผ่นดินเดียวกัน และสิ่งที่รวมใจอเมริกันทั้งปวงก็คือความเป็นชาติ โดยมีสัญลักษณ์ชัดเจนอย่างธงชาติอเมริกันนั่นแหละ

อยากเล่าว่า เด็กอเมริกันทุกคนต้องมายืนตาแป๋วทุกเช้าไม่ต่างไปจากนักเรียนไทย จากนั้นก็สาบานตนต่อธงชาติหรือที่เรียกว่า Pledge of Allegiance  ตามนี้...

“I pledge allegiance to the Flag 
of the United States of America, 
and to the Republic for which it stands, 
one Nation under God, indivisible, 
with liberty and justice for all.”
______________________________
"ข้าพเจ้าขอสาบานต่อธงชาติแห่งสหรัฐอเมริกาว่า
จะจงรักภักดีต่อสาธารณรัฐแห่งนี้
ที่ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกภาพ
ภายใต้พระผู้เป็นเจ้าอันไม่อาจแบ่งแยก
ด้วยเสรีภาพและความยุติธรรมต่อส่วนรวม"

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการเกี่ยวข้าว ณ แปลงสาธิตการเกษตรที่ 5 รร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการเกี่ยวข้าว ณ แปลงสาธิตการเกษตรที่ 5 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

เมื่อวานนี้ (18 พ.ย.65) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการเกี่ยวข้าว ณ แปลงสาธิตการเกษตรที่ 5 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

'ไทย-ซาอุฯ' ย้ำสัมพันธ์!! ร่วมมือทวิภาคีใน 'ทุกด้าน-ทุกระดับ' ด้าน ซาอุฯ ยาหอม พร้อมอยู่เคียงข้างไทยในทุกโอกาส

นายกฯ เข้าเฝ้าฯ หารือกับมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย พร้อมต่อยอดความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน ในโอกาสนี้ ซาอุดีฯ ย้ำพร้อมอยู่เคียงข้างไทยในทุกโอกาส

เมื่อเวลา 22.40 น. ของคืนวันที่ 18 พ.ย.65 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าเฝ้าฯ หารือทวิภาคีกับเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และ ในฐานะแขกพิเศษของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 

นอกจากนี้ ทางซาอุดีอาระเบีย ยังประกอบไปด้วย รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าชาย (พี่น้อง) ที่มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ทรงวางพระทัยให้ดูแลงานในเป็นแต่ละกระทรวง ได้แก่...

เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะชีช อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (แขกพิเศษที่รัฐบาลไทยเชิญเข้าร่วม)

เจ้าชายอับดุลอะชีช บิน ซัลมาน บิน อับตุลอะชีข อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Abdulaziz bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

เจ้าชายตุรกิ บิน มุฮัมมัด บิน ฬะฮัด บิน อับดุลอะชีซ อาล ซะอุด (His Royal Highness Prince Turki bin Muhammed bin Fahd bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีแห่งรัฐและสมาชิกคณะรัฐมนตรี

เจ้าชายอับตุลอะซีช บิน ซะอุด บิน นายิฟ บิน อับตุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Abdulaziz bin Saud bin Naif bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เจ้าชายอับดุลเลาะฮ์ น บันดัร บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Abdullah bin Bandar bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรักษาดินแดน

เจ้าขายซะอูด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Saud bin Salman bin Abdulaziz Al Saud)

เจ้าขายฟัยอล บิน ฟัรฮาน บิน อับดุลเลาะฮ์ อาล ซะอุด (His Highness Prince Faisal bin Farhan bin
Abdullah Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

โดยขณะเดียวกัน ในการหารือประกอบด้วยบุคคลสำคัญของไทย ได้แก่...

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

ม.ล. ชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย 

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

และนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี กล่าวซาบซึ้งสำหรับการตอบรับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และการตอบรับเข้าร่วมการประชุมเอเปค ในฐานะแขกพิเศษของไทย พร้อมกล่าวถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และแสดงความยินดีที่มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี 

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำถึงความพร้อมของไทยที่จะทำงาน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ โดยยินดีที่ความร่วมมือทวิภาคีในทุกด้านมีความคืบหน้า และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับ

ขณะที่มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งซาอุดีอาระเบีย มีพระราชดำรัสตอบว่า ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนซาอุดีฯ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้หารือในประเด็นต่างๆ และมีการทำข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญ ซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกันจะทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอีกมาก โดยซาอุดีฯ ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆ กับไทย อาทิ การลงทุน สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

ชักศึกเข้าบ้านภาค 2 ความขัดแย้งของตระกูล รักต่างขั้วอำนาจ ลุกลามการเมืองระหว่างประเทศ

ชักศึกเข้าบ้านภาค 2 “กูต้องตายเพราะอยากมีเมียแหม่ม” ความขัดแย้งของตระกูล รักต่างขั้วอำนาจ ลุกลามการเมืองระหว่างประเทศ” 

จากตอนที่แล้วที่เล่าถึงเหตุการณ์ระทึกระหว่างวังหลวงและวังหน้า ลามไปถึงการดึงเอาชาติมหาอำนาจตะวันตกในช่วงเวลานั้นคืออังกฤษ เข้ามาวุ่นวายในกิจการบ้านเมือง ก่อนที่เหตุจะระงับไปด้วยวิธีทางการทูตและการประนีประนอมกันเพื่อบ้านเมือง อาการเหมือน ณ ปัจจุบันที่กลุ่มคนจำนวนเล็กๆ รับใบสั่งมาสร้างความปั่นป่วน จากเรื่องความขัดแย้งของอำนาจทางการเมือง ที่จะลามไปถึงนานาชาติเพื่อดึงชาติตะวันตกเข้ามายุ่มย่ามภายใน เรื่องนี้ก็คล้ายๆ กัน 

ตัวละครสำคัญจากภาคแรกที่ลามมาภาคนี้ได้แก่ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)' ท่านผู้สำเร็จราชการต้นรัชกาลที่ 5 และ 'โทมัส ยอร์ช น็อกซ์'กงสุลแห่งอังกฤษประจำประเทศสยาม และตัวเอกของภาคนี้ 2 ท่านคือ พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ขุนนางหัวก้าวหน้า บุตรของพระยากสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เสนาบดีสำคัญสมัยรัชกาลที่ 4 และ 'แฟนนี่ น็อกซ์' บุตรสาวของ มร.น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ

เรื่องต้องย้อนกลับไปกล่าวถึงความขัดแย้งกันของตระกูลขุนนาง 2 ตระกูล คือ 'ตระกูลบุนนาค' ซึ่งมากล้นบารมี ส่วนอีกตระกูลที่พอจะเทียบเคียงบารมีได้ก็คงเป็น 'ตระกูลอมาตยกุล' ข้าแผ่นดินตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยร้อยร้าวเล็กๆ เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดย พระยากสาปนกิจโกศล ขณะยังเป็นขุนนางหนุ่ม ผู้มีความรู้เชิงช่างสูง ไปวิจารณ์ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ' (ทัต บุนนาค) เมื่อครั้งยังเป็น พระยาศรีพิพัฒน์ฯ เรื่องการซ่อมแซมกำแพงอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ ว่าซ่อมอย่างไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นก็มีเหตุกำแพงถล่มทับคนงาน จนล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ถึงกับทรงบริภาษเหน็บเรื่องนี้จึงทำให้ตระกูลบุนนาคเสียหน้า 

เรื่องถัดมาพระยาเจริญราชไมตรี (ตาด อมาตยกุล) ผู้เป็นน้องชาย ผู้เป็นหนึ่งในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชำระคดีฉ้อโกง โดยมีคดีโกงเงินเข้าพระคลังของ 'กรมนา' ซึ่งเสนาบดีกรมนาในขณะนั้นคือ 'พระยาอาหารบริรักษ์ (นุช บุญหลง)' หลานของ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์' ซึ่งความผิดคดีนี้ทำให้ พระยาอาหารบริรักษ์ต้องถูกออกจากราชการ ริบราชบาทว์ ถูกเฆี่ยน จำคุกและได้มีการพาดพิง 'สมเด็จเจ้าพระยาฯ' แต่ไม่ระคายเคืองท่าน แต่คดีนี้ทำให้ 'สมเด็จเจ้าพระยาฯ' จำแน่ๆ เพราะท่านไปจัดหนักในคดีของ 'พระปรีชากลการ' (ข้อขัดแย้งต้นรัชกาลที่ 5 ไว้ผมจะเล่าในบทความถัดๆ ไปนะครับ) 

เกริ่นมาซะยาว ตอนนี้มาดูที่ตัวเอกของภาคนี้ 'พระปรีชากลการ' (สำอาง อมาตยกุล) บุตรชายคนที่ 2 ของพระยากสาปนกิจโกศล จบวิศวกรรมศาสตร์จากสกอตแลนด์ เป็นข้าราชสํานักหนุ่มรุ่นใหม่ที่ในหลวง ร.5 ทรงโปรดปรานมากคนหนึ่ง ด้วยผลงาน เช่น ประดิษฐ์ซุ้มจุดด้วยไฟแก๊สถวายในงานเฉลิมพระชนมพรรษา และเป็นนายงานสร้างตึกแถวบนถนนบำรุงเมือง ฯลฯ จนได้เป็นหนึ่งในคณะสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวน 49 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย ถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของ 'วังหลวง' ที่กำลังปฏิรูปและพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง 

เมื่อถึง พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทําเหมืองทองคำที่บ่อทองเมืองกบินทร์บุรี ได้จัดตั้งเครื่องจักรทําทองที่เมืองกบินทร์บุรี และสร้างตึกที่จะจัดตั้งเครื่องจักรที่เมืองปราจีนบุรีอีกแห่งหนึ่ง โดยมีพระปรีชาฯเข้าไปดำเนินการจนสำเร็จ ต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. 2419 พระยาอุไทยมนตรี (ขริบ) ผู้ว่าราชการเมืองปราจีนบุรีถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระปรีชาฯ ว่าราชการเมืองปราจีนบุรีแทนต่อไป 

เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เดินทางไปสนามมวยราชดำเนิน เพื่อชมการสาธิตมวยไทย

เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ใช้เวลาว่างช่วงมาร่วมประชุมเอเปก 2022 เดินทางไปสนามมวยราชดำเนิน เพื่อชมการสาธิตมวยไทย

การชมกีฬาหมัดมวยครั้งนี้ มี อองตวน ปินโต อดีตนักมวยไทย สัญชาติฝรั่งเศส ที่มาโด่งดังในแดนสยามให้การต้อนรับด้วย หลังจากนั้น ผู้นำประเทศฝรั่งเศสโพสต์ในทวิตเตอร์ส่วนตัว เป็นคลิปพร้อมเเคปชัน ว่า “มากกว่ากีฬาประจำชาติ มวยไทยเป็นจุดรวมจิตใจบนพื้นฐานความเคารพ ที่สนามราชดำเนินกับ 2 พี่น้องปินโต”

'บิ๊กตู่' ถกผู้นำชาติมหาอำนาจใน APEC 2022 ไฮไลต์!! หารือข้อราชการแบบเต็มคณะกับ 'สี จิ้นผิง'

กำหนดการ #APEC2022THAILAND 19 พ.ย.65 

ภายหลังจบภารกิจในช่วง 01.15 ของวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีกำหนดการในการประชุม #APEC2022 ของ 19 พ.ย.65 ดังนี้...

เวลา 08.00 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับ กับนายแอนโทนี แอลบาเนซี (The Honourable Anthony Albanese MP) นายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลีย 

เวลา 08.30 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีแบบสั้น (pull-aside) กับ นางสาวจาชินดา อาร์เดิร์น (The Right Honourable Jacinda Ardern MP) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์

เวลา 08.40 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับ นางคริสตาลินา กอร์เกียวา (Ms. Kristalina Georgieva) กรรมการจัดการกองทุนเงินระหว่างประเทศ (IMF) 

เวลา 09.15 น. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเขตผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 (Retreat ช่วงที่ 2) ภายใต้หัวข้อ ‘Sustainable Trade and Investment การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน’ ณ ห้องประชุม Plenary Hall 2 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

เวลา 11.30 น. นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวในฐานะประธานผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top