Friday, 19 April 2024
อลงกรณ์_พลบุตร

เร่งเดินหน้า “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ครองแชมป์โลกยางพารา!! “อลงกรณ์” ปักหมุด 7 กลยุทธ์รุกตลาดน้ำยาง 5 หมื่นล้าน เพิ่มรายได้เกษตรกร อัพเกรด กยท.เป็นองค์กรระดับโลก!!

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางกล่าววันนี้(10ต.ค)ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินนโยบายบริหารจัดการยางพาราสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกยางจำนวน 1.83 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 24.76 ล้านไร่ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้บูรณาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการตลาดยางพารา โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ซื้อ และผู้ขาย ประกอบด้วย ตลาดกลางยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 8 แห่ง ตลาดซื้อขายออนไลน์ และตลาดยางพาราท้องถิ่น รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางด้านรายได้ในภาวะช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดผลกระทบจากวิกฤติโควิด19ด้วยการขับเคลื่อนโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางตลอดจนการสร้างกลไกและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการรักษาเสถียรภาพราคา และเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การขับเคลื่อนนโยบายตลาดเชิงรุกโดยการให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ทูตเกษตรประจำอยู่ต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับทูตพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ตามโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตได้ผนึกกำลังกันส่งเสริมการตลาดยางพาราในประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ พร้อมกับติดตามและรายงานข้อมูลสถานการณ์การนำเข้าและส่งออก สินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย และสภาวะแวดล้อมด้านการค้าการแข่งขัน รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโอกาสทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการปรับมิติของกลยุทธ์การตลาดยางพารา โดยขับเคลื่อนร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาตลาดยางพาราในต่างประเทศ ทั้งในตลาดเก่า และการเปิดตลาดใหม่โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share)และขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ ดำเนินการเร่งดำเนินการจัดตั้ง”ตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริงของยางพารา”โดยกยท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.พร้อมกันนั้นก็เร่งส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล จากผลกระทบของโควิด-19

รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการผลิตการแปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในงานด้านวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เน้นเทคโนโลยีเมดอินไทยแลนด์(made in Thailand)

พร้อมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยางพารา เช่น “โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม” และโครงการเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่สู่ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรยุคใหม่(Big Brothers)

รวมถึงข้อริเริ่มใหม่ ๆ เช่นโครงการ Rubber Valley ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (suitability and development of the rubber industry in Nakhon Si Thammarat Province) ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) ของรัฐบาลสู่การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ครอบคลุมทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราทั้งระบบ

วิกฤตโควิด-19 เป็นปัญหาและโอกาสที่ท้าทายประเทศไทยซึ่งข้อมูลและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อไปนี้คือคำตอบว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหนและเดิมพันก็สูงมากแต่ก็คุ้มค่าสำหรับอุตสาหกรรมยางพาราโดยเฉพาะน้ำยางข้น ยางพาราโลกปี2563 ไทยเบอร์ 1 ผลผลิตยางพาราโลกปี 2563 มีปริมาณ 12.9 ล้านตัน โดยประเทศไทยมีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 4.4 ล้านตัน หรือ 38.2% รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินเดีย

เอเชียผลิตมากที่สุดในโลก ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผลิตยางพารา 93% ของผลผลิตยางพาราทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นแหล่งผลิตใหญ่ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศกลุ่ม CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam)  

ไทย...แชมป์โลกส่งออกน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควัน

ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางของโลก โดยเฉพาะน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควันส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

แนวโน้มการส่งออก

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว 5.0-8.0% ต่อปี ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ต่าง ๆ  โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทย และเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลก

ขณะที่ผู้ผลิตน้ำยางข้นยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องตามทิศทางความต้องการของอุตสาหกรรมขั้นปลาย ได้แก่ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ และถุงยางอนามัยในตลาดโลก ประกอบกับการผลิตน้ำยางข้นในตลาดโลกยังมีน้อยเนื่องจากกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ยังเน้นผลิตเพียงยางก้อนถ้วยและเศษยาง ทำให้ภาวะการแข่งขันในการส่งออกน้ำยางข้นไม่รุนแรงนัก

จุดแข็งและโอกาสของน้ำยางพาราไทย

1.การผลิตน้ำยางสด92%

การผลิตน้ำยางสดมีสัดส่วนถึง 92% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมดซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางได้ทุกประเภท ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ส่วนใหญ่ผลิตยางก้อนถ้วยจึงเน้นผลิตยางแท่งเป็นหลัก

2.ศักยภาพน้ำยางข้นไทยอันดับ1ของโลก

อุตสาหกรรมน้ำยางข้นของไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทในปี 2563 (มูลค่ารวมส่งออกและใช้ในประเทศ) โดยส่งออกในสัดส่วน 75.9% และไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเกือบ 70% ของปริมาณการค้าน้ำยางข้นทั่วโลก

3.ตลาดใกล้กระจุกตัวแต่มีตลาดทั่วโลกรออยู่

ตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่ใกล้บ้านในอาเซียนและเอเซียตะวันออกคือ มาเลเซียที่มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณส่งออกน้ำยางข้นทั้งหมด รองลงมาเป็นจีน (33.5%) และเกาหลีใต้ (1.8%) แต่ในอีกแง่หนึ่งคือการมีตลาดดั้งเดิมกระจุกใน3ประเทศแสดงว่ายังมีตลาดใหม่ในอีกกว่า100ประเทศรอเราอยู่

4.Covid โอกาสในวิกฤติ

จากวิกฤติโควิด19 ทำให้ความต้องการน้ำยางข้นเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมถุงมือยางและถุงยางอนามัย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซีย The Malaysian Rubber Glove Manufacturers Association (MARGMA) คาดการณ์ความต้องการถุงมือยางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 662 พันล้านชิ้นในปี 2566 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 23.1% ต่อปีในช่วงปี 2564-2566

‘อลงกรณ์’ โพสต์เฟซบุ๊กถึงชาวปชป. ออกจากพรรค ให้รักษาอุดมการณ์ อย่าถูกกลืน 

“อลงกรณ์” โพสต์เฟซบุ๊กถึงชาวปชป. อ้างคำพูดท่านชวน เตือน ‘ไปแล้วให้รักษาอุดมการณ์ อย่าถูกกลืน’ เผยอดีตเคยลาออกจากพรรคไปทำงานด้านปฏิรูปประเทศ แต่สุดท้ายก็กลับเข้ามาทำงานกับพรรคอีกครั้ง 

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขียนบทความสั้น ๆ ไว้อย่างน่าสนใจในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. โดยระบุว่า

“อย่าถูกกลืน”
รักและห่วงเพื่อนที่จากไปทุกคน
วันวานอ่านข่าวเห็นท่านชวนเตือนว่า “ไปแล้วให้รักษาอุดมการณ์ อย่าถูกกลืน”
ผมคิดว่าเป็นการฝากหลักการหลักคิดในการครองตนของคนประชาธิปัตย์ที่ออกจากพรรคไปอยู่ที่อื่น 
ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยออกจากพรรคไปเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป 
ตอนนั้นหมกมุ่นคิดฝันแต่เรื่องการปฏิรูปพรรคปฏิรูปประเทศ 
ตั้งใจไปทำแผนปฏิรูปประเทศเหมือนสถาปนิกออกแบบพิมพ์เขียวเสร็จก็จบงาน
2 ปีกว่าที่อยู่ท่ามกลางอำนาจและโอกาส แถมมีตำแหน่งเป็นรองประธานสปท. คนที่ 1

ลาภยศสรรเสริญกองอยู่ตรงหน้า ถ้าเดินต่อบนเส้นทางนั่น
มันน่าถูกกลืนเหลือเกิน ถ้าคิดเห็นแก่ตัวเพื่อประโยชน์และอนาคตของตัวเอง
คำเชิญคำชวนมาทั้งก่อนและหลังพ้นตำแหน่ง
แต่ผมก็ตัดสินใจตอนนั้นว่าจะวางมือทางการเมืองเพื่อไม่ต้องเดินทางบนถนนการเมืองอีก หรือไม่ก็กลับบ้านหลังเก่าคือประชาธิปัตย์

ก็มีคำถามตามมาว่าทำไมถึงกลับประชาธิปัตย์
ผมบอกว่ามี 4 เหตุผลหลัก
1.) ถ้าจะเดินต่อทางการเมืองไปอยู่พรรคใหม่ ก็ต้องสู้กับพรรคประชาธิปัตย์ 
ผมทำไม่ได้ครับ ที่จะต้องรบราทำศึกกับพี่น้องของผม และประชาธิปัตย์เป็นสถาบันทางการเมืองที่ต้องรักษาไว้

2.) เมื่อครั้งเดินทางเข้าพรรค สมัครเป็นสมาชิกลงเลือกตั้งที่เพชรบุรี ปี 2535/1 บนเวทีปราศรัยที่สนามหน้าเขาวัง มีท่านชวนหัวหน้าพรรคในขณะนั้นนั่งอยู่ด้วย ผมประกาศกับประชาชนคนเมืองเพชรว่าผมเกิดที่พรรคประชาธิปัตย์และจะตายที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเดียว 

3.) ผมอยากกลับมาปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ตามฝันที่คิดไว้ตอนเสนอปฏิรูปพรรคเมื่อปี 2556

4.) บ้านเมืองยังวิกฤติ ประชาธิปัตย์คือความหวังเพราะเป็นสถาบันการเมืองหลัก

แล้วผมก็กลับมาของานทำที่พรรคประชาธิปัตย์เหมือนเดิม 
เลือกกลับมาทั้งที่ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร และจะอยู่อย่างไรในปลายปี 2561 เพราะผมคงเป็นคนเดียวที่ทั้งก่อนจากไป และเมื่อกลับมา โดนดุด่าว่ากล่าวหนักหนาสาหัสมากจากพี่ ๆ น้อง ๆ ในพรรค

ถ้าคิดน้อยใจหรือไม่อดทนก็คงพกความแค้นติดตัวเตลิดไปแล้ว
เป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตบนทางแพร่งที่ต้องตัดสินใจของผม
ต้องเลือกระหว่างอนาคตของตัวเองหรืออนาคตของพรรค 
เป็นการเลือกครั้งที่ 2 เหมือนครั้งแรกที่ตัดสินใจมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี 2534

'มิสเตอร์เอทานอล' เชื่ออะไรก็เกิดขึ้นได้ หลัง 'ดร.เอ้' ชู!! กทม.เจ้าภาพโอลิมปิก 2036

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของฉายา “มิสเตอร์เอทานอล” เขียนข้อความในเฟซบุ๊กเรื่อง “ฝันของ ดร.เอ้กับ โอลิมปิก 2036”

"No Dream No Possibility" ซึ่งเป็นการให้ข้อคิดต่อข้อเสนอเชิงนโยบายของ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ (เอ้) สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

โดยนายอลงกรณ์นำเสนอมุมมองต่อเรื่องนี้ว่า หลังจาก ดร.เอ้ สุชัชวีร์ ผู้สมัครผู้ว่ากทม. พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศนโยบายเสนอกรุงเทพเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิก 2036 ก็มีการวิจารณ์ฮือฮาในโลกโซเชียลมีเดียทั้งเชิงบวกเชิงลบ รวมทั้ง Blockdit ก็ยังให้ความสำคัญกับกรณีนี้ ส่วนหนึ่งคิดว่าเป็นฝันลมๆ แล้งๆ แต่ไม่น้อยมั่นใจว่าเป็นฝันที่เป็นจริง

“ผมจึงนำประสบการณ์ส่วนตัวมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับความฝัน ผมก็เคยฝันจะให้ประเทศไทยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเอทานอลจากพืชเพื่อลดการนำเข้าเมื่อปี 2543 หรือ 20 ปีที่แล้ว ตอนนั้นคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อและไม่ยอมรับรวมทั้งอุตสาหกรรมน้ำมันและอุตสาหกรรมรถยนต์ แม้แต่เจ้าของรถก็เกรงว่าเอทานอลจะทำให้เครื่องยนต์เสียหาย”

เราฝันและลงมือทำงานเพียง 10 เดือนก็สามารถเสนอผ่านมติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลประชาธิปัตย์สมัยท่านชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี

‘อลงกรณ์’ เปิดมุมมองเศรษฐกิจใหม่ หนุนผนึก ‘ลาว’ ผุดระเบียงเศรษฐกิจ ‘อีสาน’

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก โดยระบุข้อความว่า ก้าวใหม่ประเทศไทย (ตอนที่ 1) ‘อนาคตลาว อนาคตไทย’

เรากำลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ‘เชื่อมไทย เชื่อมลาว เชื่อมโลก’ และการวางหมุดหมายใหม่ที่เรียกว่า ‘อีสาน เกตเวย์’ และ ‘ระเบียงเศรษฐกิจอีสาน’ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์ที่พรรคประชาธิปัตย์ดูแล

ยุทธศาสตร์นี้เป็นคานงัดที่จะเปลี่ยนอนาคตของอีสานและประเทศของเรา

ผมจึงขอเล่าเรื่องสปป.ลาว บ้านพี่เมืองน้องของไทยที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นคำตอบว่าทำไมไทยกับลาวต้องผูกอนาคตไว้ด้วยกัน

ล่าสุด ลาวเพิ่งเปิดเส้นทางรถไฟลาว-จีนเมื่อ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 5 ปี โดยอยู่ระหว่างการทดสอบรถไฟโดยสารและรถขนส่งสินค้าจากหลายมณฑลของจีนมาเวียงจันทน์และคาดว่าจะมีขบวนรถไฟจากยุโรปด้วย

หลังจากผ่านการทดสอบและระบบตรวจตราผ่านแดนเสร็จเรียบร้อย เส้นทางรถไฟสายนี้จะเปิดบริการได้อย่างสมบูรณ์ภายในครึ่งแรกของปีหน้า

ทำให้หนองคายกลายเป็นเกตเวย์ที่มีศักยภาพใหม่ของประเทศเชื่อมไทยเชื่อมลาวเชื่อมจีนเชื่อมเอเชียกลางเชื่อมยุโรป

ความจริง ลาวกำลังพัฒนาระบบโลจิสติกส์และเขตเศรษฐกิจพิเศษหลายโครงการตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดโดยทุกโครงการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ เช่น จีน ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซียและเกาหลี เป็นต้น 

ลาวต้องการเปลี่ยนข้อจำกัดเดิมจากประเทศไม่มีทางออกทะเลอยู่ในมุมอับ (Land Locked) เป็นประเทศแห่งความเชื่อมโยง (Land of Connectivity)

อีกโครงการที่สำคัญมากสำหรับอนาคตลาวและรวมถึงอนาคตของประเทศไทยคือ โครงการท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋าง

ลาวเร่งพัฒนาเส้นทางเชื่อมเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซกับแขวงคำม่วน (ตรงข้ามจังหวัดนครพนม) ไปยังจังหวัดฮาติงห์ของเวียดนาม

โครงการนี้สำคัญมากๆ เป็นช่องทางสู่โลกกว้างแห่งโอกาสที่สั้นที่สุด

เหนืออื่นใดคือ เป็นท่าเรือน้ำลึกในแผ่นดินเวียดนามที่เสมือนลาวเป็นเจ้าของ

บริษัทรัฐวิสาหกิจพัฒนาท่าเรือหวุงอ๋าง ลาว-เวียดนาม (ลาวถือหุ้น 60% เวียดนาม 40%) ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2573 ท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋างจะสามารถให้บริการแก่เรือสินค้าที่มีน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ 5,000 ตัน ถึง 100,000 ตัน เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ตั้งแต่ขนาดบรรทุก 50,000 ตู้ ถึง 1,200,000 ตู้ และเรือบรรทุกสินค้าเทกอง ตั้งแต่ขนาดบรรทุก 3 ล้านตัน ถึง 20 ล้านตัน 

ทั้งนี้จะเปิดให้บริการเฟสแรกในปี 2566 หรือภายใน 2 ปีข้างหน้า

นครพนมจะเป็นเกตเวย์ใหม่ออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกโดยใช้บริการท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋างด้วยระยะทางไม่ถึง 300 กิโลเมตร 

ท่าเรือดังกล่าวเมื่อพัฒนาเต็มรูปแบบจะสามารถขนส่งสินค้าจากไทย ลาวและเวียดนามไปอเมริกา แคนาดา ลาตินอเมริกา จีน ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน รัสเซียและยุโรปเหนือ โดยไม่ต้องผ่านสิงคโปร์

ลาวไม่ได้พัฒนาระบบคมนาคมเท่านั้นแต่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษควบคู่ไปด้วย เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำในแขวงบ่อแก้วทางภาคเหนือใกล้กับฝั่งเชียงรายของเรา หรือ เขตเศรษฐกิจพิเศษมหานทีสีทันดรในแขวงจำปาศักดิ์ตรงข้ามจังหวัดอุบลราชธานีขนาดของวงเงินลงทุน เขตเศรษฐกิจใหม่สีทันดรตั้งเป้าใช้เงินลงทุน 9,000 ล้านดอลลาร์ และใช้พื้นที่ 6 หมื่นไร่มากกว่าโครงการทางรถไฟลาว-จีน ที่ลงทุน 6,800 ล้านดอลลาร์ ใช้พื้นที่ 19,112 ไร่

ยังไม่รวมเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา และเขตเศรษฐกิจพิเศษเวียงจันทน์ 

‘อลงกรณ์’ เปิดวิสัยทัศน์ ลุยปฏิรูปเกษตรไทย ชี้ ต้องปลดกระดุมทุกเม็ดแล้วกลัดใหม่

วันที่ 4 ม.ค. 64 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ รองหัวหน้าพรรค และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อดีต ส.ส. 6 สมัย และอดีตรัฐมนตรี เขียนบทความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “ปฏิรูปเกษตรไทย อนาคตประเทศไทย” “ปลดกระดุมทุกเม็ดแล้วกลัดใหม่” เป็นตอนที่ 2 ของซีรีส์ ”ก้าวใหม่ประเทศไทย” โดยระบุว่า องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (World Food Program) องค์การสหประชาชาติ (UN) และองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานผลการประชุมสุดยอดระบบอาหารโลก (UN Food System Summit 2021) โดยสรุปว่า โลกกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนอาหารจากประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชากรโลกประสบปัญหาการเข้าถึงอาหารและราคาอาหารจะแพงขึ้นเป็นวิกฤติของโลกแต่ก็เป็นโอกาสของไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำของโลก 

ประเทศไทยของเรามีศักยภาพการผลิตและการตลาดด้านเกษตรและอาหารสูงมาก
ปี 2560 เราเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ 14 ของโลก
ปี 2561 ขึ้นเป็นอันดับ 12 ของโลกซึ่งมีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ปีเดียวขึ้น 2 อันดับและเป็นครั้งแรกที่ขึ้นเป็นที่ 2 ของเอเชียรองจากประเทศจีนเท่านั้น
ปี 2562 ขยับต่อเนื่องขึ้นเป็นอันดับ 11 ของโลกและยังครองอันดับ 2 ของเอเชีย
นับเป็นประเทศ “หนึ่งเดียวในโลก” ที่ 2 ปีขึ้น 3 อันดับ
ไทยแลนด์ โอนลี่ครับ

หลังโควิดคลี่คลาย เราจะสานฝัน “ครัวไทย ครัวโลก” สู่อันดับท็อปเท็นของโลกตามนโยบายของรัฐบาล

วันนี้สินค้าเกษตรสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมของไทยติดท็อปเท็นของโลกจำนวนไม่น้อย เช่น ยางพารา ยางรถยนต์ ถุงมือยาง น้ำตาล ทุเรียน ข้าว สับปะรดกระป๋อง อาหารทะเล ทูน่ากระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง เอทานอล มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ

ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปวัตถุดิบและสินค้าแปรรูปขั้นต้นมูลค่าต่ำแบบที่เรียกว่า “ทำมากได้น้อย (More for Less)” ประเทศและเกษตรกรจึงมีรายได้น้อยมาอย่างยาวนาน เราจึงต้องเปลี่ยนใหม่สู่การ “ทำน้อยได้มาก (Less for More)”

ถ้าทำแบบเดิมๆ จะไม่สามารถยกระดับอัปเกรดภาคเกษตรเทคออฟสู่เพดานใหม่ได้

อย่างไรก็ตามแม้โจทย์จะชัดเจนในตัวเอง แต่คำถามคือ แล้วเราจะทำอย่างไร

ผมจะยกตัวอย่างการถอดสมการนำมาสู่การออกแบบโมเดลการปฏิรูปภาคเกษตรไทย

ถ้าเราย้อนมองบริษัท เช่น Amazon Alibaba Google Apple Tesla จะได้คำตอบว่าทำไมบริษัทเหล่านี้จึงสามารถทะยานขึ้นสู่บริษัทแนวหน้าของโลกภายในเวลา 20 ปี โดยเฉพาะ Apple เป็นบริษัทแรกของโลกที่มีมูลค่าตลาดทะลุ 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (มากกว่างบประมาณไทย 30 ล้านเท่า)

คำตอบคือ วิสัยทัศน์ เทคโนโลยีและการบริหารจัดการใหม่ๆ

อีกตัวอย่างเช่น ประเทศจีนที่พัฒนาตัวเองจากประเทศยากจนด้อยพัฒนาสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 และมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีภายใน 30 ปี

คำตอบก็เหมือนกัน

การถอดบทเรียนจากตัวอย่างเหล่านี้ช่วยให้การดีไซน์การปฏิรูปง่ายขึ้น

การปลดกระดุมแล้วกลัดใหม่จึงเกิดขึ้นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เป็นกระบวนการปฏิรูปการบริหารจัดการเชิงโครงสร้างและระบบ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นแก่นกลาง

2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งรัดการปฏิรูปภาคเกษตรเดินหน้าภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ. (จบปริญญาเอกด้านยุทธศาสตร์โดยตรง) และนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ (เจ้าของสโลแกน “ทำได้ไวทำได้จริง”) ด้วยการสร้างกลไก 4 แกนหลัก คือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคเกษตรกร เป็น 4 เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ยุทธศาสตร์ 3S (Safety-Security-Sustainability) เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง เกษตรยั่งยืน ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนและยุทธศาสตร์บูรณาการทำงานเชิงรุก นโยบายโลจิสติกส์เกษตร นโยบายอาหารแห่งอนาคต รวมทั้งการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการ 22 หน่วยงาน เพื่อยกระดับศักยภาพองค์กรและพัฒนาต้นน้ำการผลิตด้วยการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ลดต้นทุน การพัฒนาคนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของประเทศ

'อลงกรณ์'​ เตือน 'ไพศาล'​ อย่าบั่นทอนมิตรภาพ 'ไทย-จีน'​ กรณีโยงการส่งออกทุเรียนไทยกับนาโต้

'อลงกรณ์'​ เตือน​ 'ไพศาล'​ อย่าบั่นทอนมิตรภาพไทย-จีนกรณีโยงการส่งออกทุเรียนไทยกับนาโต้ ชี้!! เป็นปัญหาโควิดไม่ใช่การเมืองระหว่างประเทศ​ ยืนยันสัมพันธ์ไทย-จีนแนบแน่นนำเข้าผลไม้ไทยอันดับ1จนครองมาร์เก็ตแชร์ตลาดผลไม้จีนกว่า​ 40% ทิ้งห่างชิลีและเวียดนามหลายเท่าตัว

กรณีนายไพศาล พืชมงคล อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณเขียนเฟซบุ๊กเรื่อง การส่งออกผลไม้ไทยนับล้านตันไปจีนส่อเดี้ยงโดยโยงเรื่องการเมืองระหว่างประเทศกรณีนาโต้ทำให้จีนกีดกันทุเรียนไทยนั้น

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้​ (Fruit Board) เขียนเฟซบุ๊กส่วนตัววันนี้ว่า ข้อเขียนของนายไพศาลที่โยงการเมืองระหว่างประเทศเรื่องนาโต้กับไทยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้จีนกีดกันการส่งออกทุเรียนไทยนั้น ไม่เป็นความจริงและเป็นประเด็นที่จะส่งผลร้ายผลลบกระทบความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างจีนกับไทย เพราะคุณไพศาลพยายามทำให้คนไทยเชื่อว่าจีนกีดกันหรือกลั่นแกล้งการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไทยซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีระหว่างประขาชนของ​ 2​ ประเทศ

“เรื่องด่านจีนและการขนส่งเป็นปัญหาโควิดไม่ใช่ปัญหานาโต้ และมาตรการซีโร่โควิดของจีนใช้กับทุกเมืองทุกมณฑลในประเทศจีนและทุกด่านทั้งทางบกทางน้ำทางอากาศรอบประเทศจีนไม่ใช่เฉพาะด่านลาวด่านเวียดนามที่ไทยต้องขนส่งผลไม้ผ่านด่านเหล่านั้น ทุกประเทศกระทบหมดทั้งพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ทั้งสมาชิกนาโต้และไม่ใช่นาโต้ ไม่มีประเทศใดได้สิทธิพิเศษ ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ก่อนเวียดนามที่มีโควิดแพร่ระบาดมากขึ้นในช่วงนี้ ทางจีนก็ออกมาตรการเพิ่มจากเดิมที่ด่านจีน-เวียดนามเพื่อป้องกันโควิด”

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่าข้อพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนกับไทยโดยเฉพาะด้านการค้าและการส่งออกผลไม้รวมถึงทุเรียนไทย คือในปี​ 2564 จีนซื้อผลไม้ไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมากว่าแสนล้านบาทและคนจีนนิยมผลไม้ไทยมากกว่าทุกประเทศในโลก ทำให้ไทยเป็นแชมป์ส่งออกทุเรียนและผลไม้ไปจีนได้มากที่สุดกว่าทุกประเทศสามารถครองส่วนแบ่งตลาดหรือมาร์เก็ตแชร์ในตลาดจีนได้กว่า​ 40% อันดับ​ 2​ คือ​ ชิลี 10%  เศษ​ และอันดับ​ 3 เวียดนาม 6% ถ้าโควิดไม่ระบาดหนักเหมือน​ 2​ ปีที่ผ่านมา​ การส่งออกผลไม้ไทยไปจีนจะขยายตัวมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

ยิ่งกว่านั้นเมื่อปลายปี​ 2564​ ทั้ง​ 2​ ประเทศโดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรและรัฐมนตรี​ GACC ของจีนได้ลงนามในพิธีสารเปิดด่านผลไม้เพิ่มอีกเป็น​ 16​ ด่านมากที่สุดเป็นประวัติการณ์จากเดิมที่มีเพียง​ 6​ ด่าน 

ข้อมูลเช่นนี้ตรงข้ามกับที่คุณไพศาลบอกว่าจีนไม่พอใจไทยหรือกลั่นแกล้งไทยเพราะปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

“คุณไพศาลมีสิทธิ์วิจารณ์ทุกเรื่อง​ แต่ต้องแม่นยำตรวจสอบข้อมูลให้ชัดแจ้งโดยเฉพาะประเด็นที่จะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับจีน รวมทั้งข้อมูลเรื่องระบบโลจิสติกส์ผลไม้ทั้งทางบกทางน้ำก็ให้ข้อมูลผิดๆเช่นสถานีรถไฟดังดงของเวียดนามอยู่ห่างด่านรถไฟผิงเสียงเพียง​ 17​ กิโลเมตร ไม่ใช่อยู่กลางประเทศเวียดนามห่างไกลพรมแดนกว่างสีตามที่คุณไพศาลบอก 

ส่วนการขนส่งทางรถไฟสายใหม่จีน-ลาวนั้นประเทศไทยเริ่มขนส่งข้าวเหนียว​ 20​ ตู้คอนเทนเนอร์ไปมหานครฉงฉิ่งเมื่อ​ 27​ มกราคมที่ผ่านมา ไม่ใช่ขนส่งไม่ได้ตามข้อเขียนของคุณไพศาล และการขนส่งทางรถไฟสายใหม่นี้จะสามารถบรรทุกผลไม้ตามพิธีสารที่เพิ่งลงนามได้ทันทีที่ด่านตรวจพืชที่ด่านรถไฟโมฮ่านเสร็จและด่านนี้อยู่ห่างจากสถานีเวียงจันทน์กว่า​ 400​ กิโลเมตร​ ไม่ใช่​ 100​ กิโลเมตรตามที่คุณไพศาลเขียน ก็ขอให้คุณไพศาลทราบถึงข้อมูลเหล่านี้ต่อไปภายหน้าจะได้นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป”

‘อลงกรณ์’ เผยขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ สุดเจ๋ง ขนสินค้าเกษตร 20 ตู้ ถึง ‘นครฉงชิ่ง’ ใช้เวลาแค่ 6 วัน

‘อลงกรณ์’ เผยขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ถึงมหานครฉงชิ่งแล้ว ใช้เวลา 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิต ปี 2565

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 65 ที่ผ่านมา โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนาน ได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วัน ตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ โดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีน คือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วัน เมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลา การขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้

สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาล และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้ว รอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรก และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” นายอลงกรณ์ กล่าว

'เฉลิมชัย'​ เร่งปฏิรูปภาคเกษตร​ ดันเทคโนโลยี 4.0 พร้อมหนุนงบวิจัยและพัฒนาของศูนย์​ AIC​ ทั่วประเทศเพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกร

'เฉลิมชัย'​ เร่งปฏิรูปภาคเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง​ ผนึกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดศูนย์นวัตกรรมสกัดสารพืชกระท่อมและสมุนไพร
สั่งกระทรวงเกษตรเร่งขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตร​ 4.0 สนับสนุนงบวิจัยและพัฒนาของศูนย์​ AIC​ ทั่วประเทศเพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม​ (ศูนย์ AIC:Agritech and Innovation Center) เปิดเผยวันนี้ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดศูนย์นวัตกรรมสกัดสารสมุนไพรและกระท่อมสู่การต่อยอดเกษตรมูลค่าสูง ร่วมกับรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังจากประขุมรับฟังการนำเสนอโครงการพัฒนากระท่อม พืชเศรษฐกิจตัวใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก บนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ ของสมาคมพืชกระท่อมแห่งประเทศไทย อันประกอบด้วย “บทบาทพืชกระท่อมไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก นำร่อง 4 จังหวัดภาคใต้” และ​ “การพัฒนาและวิจัยพืชกระท่อมสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง” เมื่อ​ 20​ มี.ค.65​ ณ ห้องประชุมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์AICจังหวัดเชียงใหม่ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ

ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวมอบนโยบายว่าภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร​ 4.0 ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ​ จัดทำงบประมาณและโครงการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์AICเพื่อการวิจัยพัฒนานวัตกรรมนำมาใช้ส่งเสริมการผลิต การแปรรูป และการตลาดเช่นพืชสมุนไพรของไทย โดยมุ่งหวังให้เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการภาคเกษตรสามารถผลิตและพัฒนาสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดทั้งภายใน และภายนอกประเทศตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เพื่อสร้างเกษตรมูลค่าสูง  ยกระดับรายได้ของเกษตรกร อย่างยั่งยืนต่อไป

กระทรวงเกษตรฯ​ ผนึก​ ศูนย์​ AIC77 จังหวัด​ ถ่ายทอด​ 701 นวัตกรรมสู่เกษตรอัจฉริยะกว่า 8​ พันราย พร้อมเชื่อมฐานข้อมูลกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ​ หวังพลิกโฉมภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและบิ๊กดาต้า

'อลงกรณ์'​ เร่งจบงานเนชั่นแนลซิงเกิลวินโดซ์ (NSW) และดิจิตอล ทรานสฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัยภายในปีนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) เปิดเผยวันนี้ (22มี.ค.)ภายหลังเป็นประธานการประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล พร้อมด้วย นายประภาส ทองยงค์ รองปลัดกระทรวงเกษตร นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.รุ่งอรุณ ดอนจันทร์ทอง ผู้อำนวยการสถาบันบัวราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย รศ.ดร. อาณัฐชัย รัตตกุล ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ศูนย์ AIC และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากทั่วประเทศกว่า 400 คน เข้าร่วมประชุมเมื่อวานนี้เพื่อรับทราบความก้าวหน้าของผลการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้าน Big Data และ Gov Tech ด้านเกษตรอัจฉริยะ ด้าน E-Commerce ด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) และผลการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) 

โดยนายอลงกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินงานการกระจายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางไปรษณีย์ และโครงการ Thailand E-Commerce ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ด้าน Big Data และ Gov Tech ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 1) ความก้าวหน้าการดำเนินงานเชื่อมโยงข้อมูลศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (NABC:National Agriculture Big Data Center) ภายใต้ MOU ระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ 2) ผลการดำเนินงานการจัดทำและให้บริการภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ National Single Window (NSW) มีบริการที่เชื่อมโยง NSW จำนวน 55 บริการ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 38 บริการ ให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างการปรับปรุง/เพิ่มประสิทธิภาพระบบ จำนวน 17 บริการ และ 3) ผลการดำเนินงานการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการเกษตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนตามแนวทางDigital Transformation

ทั้งนี้​ นายอลงกรณ์ ได้แจ้งฝ่ายเลขาฯ ให้กำหนดจัดการประชุมเป็นการเฉพาะในต้นเดือนหน้า (เม.ย.) โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานการจัดทำและให้บริการภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ National Single Window (NSW) ในการวิเคราะห์ ประเด็นเสนอของภาคเอกชน ในการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการบริการในเว็บไซต์ที่ออกแบบให้สามารถเข้าถึงการบริการในเว็บเดียวกัน พร้อมทั้งจัดทำ time line กรอบรระยะเวลาการดำเนินการ 
ในการนี้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานผลการดำเนินงาน และนำเสนอโครงการส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ “ระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ Handy Sense และการขับเคลื่อน ศพก.เกษตรอัจฉริยะ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) สู่การทำการเกษตรแบบเกษตรอัจฉริยะ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานการนำเสนอพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 “ระบบเกษตรพันธสัญญา” และปัญหาราคาสุกรหน้าฟาร์มต่ำกว่าท้องตลาด และการเสนอผลการบริหารจัดการงานวิจัยทางการเกษตร ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศ (COE) บัว ของสถาบันบัวราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ โดยที่ประชุมเสนอให้มีการนำผลงานเข้าร่วมแสดงในงานมหกรรมพืชสวนโลก ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2569 เพื่อแสดงศักยภาพด้านบัวของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สากลซึ่งมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเป็นศูนย์ AIC ประเภทความเป็นเลิศ COE ด้านบัว -ราชินีแห่งพืชน้ำ อีกทั้ง ความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานคัดเลือกรางวัล AIC Award ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างประกาศเปิดรับสมัครผลงานเข้าร่วมประกวดคัดเลือกรางวัล AIC Award 2022 และความก้าวหน้าการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล AIC (Innovation Catalog) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน Innovation Catalog รวมทั้งสิ้น 701 เทคโนโลยี/นวัตกรรม 11 ประเภท การนำไปใช้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก AIC ผ่าน ศพก. สู่เกษตรกรจำนวน 8,709 ราย ศพก. 56 แห่ง จากทั้งสิ้น 882 แห่ง และขยายผลสู่เกษตรแปลงใหญ่ จำนวน 6 จังหวัด รวม 9 แปลงใหญ่

'อลงกรณ์' เกรง!! วงการข้าวสับสน!! นโยบายกระทรวงเกษตรฯ ยืนยันไม่เคยสั่งการให้กรมการข้าวปลูกข้าวบัสมาตี เพื่อส่งออกไปซาอุดีอาระเบีย 30 ล้านตัน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แถลงวันนี้ (16 มิ.ย) ว่า ตามที่มีสื่อมวลชนฉบับหนึ่งเสนอข่าวทำนองว่า กรมการข้าวจะปลูกข้าวบัสมาตีเพื่อส่งออกไปซาอุดีอาระเบีย 30 ล้านตันตามนโยบายของที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรหลังจากเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียนั้น ขอชี้แจงว่า ตนไม่เคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้และไม่เคยบอกกรมข้าวให้ผลิตข้าวบัสมาติเพื่อส่งออกข้าวบัสมาตี 30 ล้านตันไปซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดในนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งแม้แต่โฆษกรัฐบาลก็ยังอ้างอิงข่าวที่ผิดพลาดดังกล่าวนำไปแถลงข่าวในนามนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล

นายอลงกรณ์กล่าวว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปีละไม่เกิน 10 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว ข้าวนึ่งและข้าวหอมมะลิ ประเทศไทยไม่เคยผลิตข้าวบัสมาตีเพื่อการส่งออกแม้แต่ตันเดียว จะมีเพียงการทดลองวิจัยในอดีตนานมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีนโยบายปลูกข้าวบัสมาตีเพื่อการส่งออกเพราะสภาพภูมิอากาศและพื้นที่ของประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวดังกล่าว 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top