Friday, 23 May 2025
อลงกรณ์_พลบุตร

‘อลงกรณ์’ ชู 8 ลมใต้ปีก สร้างโอกาสการค้าของไทย ดึงเม็ดเงินอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง กว่า 10 ล้านลบ.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวในโอกาสบรรยายพิเศษในหัวข้อ 'ศักยภาพและโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลางและอาเซียน' ในงานสัมมนาธุรกิจ & Business Talk ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 4 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ วันนี้ ว่า ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมากรวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น”ลมส่งท้ายถึง ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทย ทางด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวของไทยเริ่มต้นปีด้วยข่าวดีเมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางนโยบายขับเคลื่อนภาคเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิศ AIC 23 ศูนย์ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุน ของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า '8 ลมใต้ปีก' จะช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้สำเร็จ ได้แก่

1.) การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบีย 
สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่(New Economic Corridor)ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียและอาเซียนและตะวันออกกลาง

2.) รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋าง 

3.) 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP) 
เขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งรองนายกฯ.จุรินทร์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4.) มินิ-เอฟทีเอ ( Mini-FTA)
เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศเช่น ไห่หนาน กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน เมืองโคฟุของญี่ปุ่น เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5.) FTAและการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจาFTAกับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTAและUAE

6.) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น  โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)

7.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศ ล่าสุดทางการตั้งเป้าหมายลงทุนใน EEC ระยะที่ 2 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะแรกที่ตั้งเป้าไว้ 1.7 ล้านล้านบาท (2561-2564) 

8.) ฐานการค้าการลงทุนใหม่ 18 กลุ่มจังหวัด
กระทรวงเกษตรฯ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมมือกันเดินหน้าโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อกระจายการลงทุนกระจายฐานเศรษฐกิจใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุม77 จังหวัดจะมีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศจากจีน อาเซียน ตะวันออกกลางและอีกหลายประเทศมาร่วมลงทุนในโครงการนี้เช่น นิคมอุตสาหกรรมเมืองอุดรฯ.ในกลุ่มอีสานตอนบน และโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ปัจจุบันโลกกำบังเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและราคาอาการแพง

อลงกรณ์’ เผยบอร์ดเกลือ แก้ปัญหาราคาผันผวน มีมติกำหนดราคาขั้นต่ำเกลือทะเลเป็นครั้งแรก

‘อลงกรณ์’ เผยบอร์ดเกลือมีมติกำหนดราคาขั้นต่ำเกลือทะเลเป็นครั้งแรก แก้ปัญหาราคาผันผวน พร้อมเร่งพัฒนานาเกลือด้วยแนวทาง BCG โมเดลเน้น “เพิ่มมูลค่า-คุ้มค่า-ยั่งยืน”

วันนี้ (15มี.ค. 2566) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ได้ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/ 2566 แบบ Hybrid Meeting ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบการประชุมออนไลน์ zoom cloud meeting 

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวหลังการประชุมว่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคาเกลือผันผวนมีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรชาวนาเกลือ คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ

1. การกำหนดราคาขั้นต่ำเกลือทะเลใน 3 ชนิดเกลือ ดังนี้ (1) ราคาเกลือขาว 1,800 บาท (2) เกลือกลาง 1,500 (3) เกลือดำ 1,300 บาท และขอให้ออกเป็นประกาศของคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย โดยเป็นราคาขั้นต่ำที่กำหนดเป็นเกณฑ์ในการซื้อขายเกลือทะเล

2. คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในหลักการ มาตรการการจัดการและป้องกันแก้ไขปัญหาเกลือทะเล ปีการผลิต 2565/66 เพื่อรองรับสภาพปัญหาการผลิตเกลือทะเลไทย

3.คณะกรรมการ ฯ ยังได้รับทราบแนวทางการพัฒนาเกลือทะเลไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีแนวทาง มาตรการ และกลไกการดําเนินงานรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ปี 2564 – 2570 เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว มุ่งเน้นการพัฒนาห่วงโซ่การเพิ่มมูลค่าเกลือทะเลไทย (BCG Value Chain เกลือทะเลไทย) คำนึงถึงการสร้างมูลค่า การหมุนเวียนใช่ทรัพยากรและความสมดุลและยั่งยืน

โดยกำหนดกิจกรรมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่ตอนน้ำ จนถึงปลายน้ำได้แก่ ต้นน้ำ (เกษตรกร) โดยพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตเกลือทะเลให้เป็น smart farmer กระบวนการผลิตเกลือทะเลได้รับมาตรฐาน GAP รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการผลิตดอกเกลือและดีเกลือ ใช้พลาสติกปูพื้นนาเกลือเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำประมงน้ำกร่อย เชื่อมโยง กลางน้ำ (องค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการ) พัฒนาในส่วนของผู้ประกอบการและองค์กรเกษตร ส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นองค์กรเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วยแนวทางดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเกลือทะเลไทยตามรูปแบบโมเดลเศรษฐกิจ ใน 3 ด้าน ได้แก่ 

'อลงกรณ์' ฝากข้อคิดถึงสมาชิก ปชป. ขออย่าทำร้ายพรรคให้บอบช้ำไปกว่านี้

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.66 นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้โพสต์ข้อความลงในกลุ่มไลน์เพื่อนอลงกรณ์ถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์เลือกนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นหัวหน้าพรรค ความว่า...

ผมฝากข้อคิดทุกคนนะครับ

พรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันทางการเมือง เป็นพรรคของสมาชิกทุกคน ไม่ว่าใครจะเป็นหัวหน้าพรรค พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังเป็นของทุกคน ไม่ใช่หัวหน้าพรรคคนใดคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นท่านควงจนถึงท่านเฉลิมชัย

ผมเป็นสมาชิกพรรคเหมือนท่านทั้งหลาย ทำงานรับใช้พรรคภายใต้หัวหน้าพรรคชวน, บัญญัติ, อภิสิทธิ์, เฉลิมชัยและคนต่อ ๆ ไป โดยไม่เคยเป็นคนของใคร ยึดแต่เป็นคนของพรรค

ผมเคยเป็นเลขาท่านชวน เป็นประธานปราบคอร์รัปชันของท่านบัญญัติ เป็นรัฐมนตรีสมัยท่านอภิสิทธิ์ และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรสมัยท่านจุรินทร์ เป็นรองหัวหน้าพรรค 4 สมัย เป็น สส. 6 สมัย

วันนี้ไม่ได้เป็นกรรมการบริหาร แต่ยังเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ผมภูมิใจตลอดชีวิตตั้งแต่เป็นสมาชิกในปี 2534 ไม่ว่าในยามพรรครุ่งเรืองหรือตกต่ำ 

ผมคิดว่า สมาชิกมีหน้าที่ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนพรรค เรามีสิทธิ์เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าพรรคหรือคณะกรรมการบริหาร เพราะเรามีประชาธิปไตยในพรรค 

ประชาธิปไตย คือ การเคารพความแตกต่างและตัดสินด้วยเสียงข้างมาก 

พรรคเรายึดหลักการนี้มาตลอด

ผมก็เคารพหลักการนี้เช่นกัน

วันนี้พรรคบอบช้ำมามาก ถ้าสมาชิกไม่ช่วยพรรค แล้วจะหวังให้ใครมาช่วยพรรค นอกจากพวกเรา 

หรือจะไม่ช่วยพรรคก็เป็นสิทธิของแต่ละคน แต่อย่าทำร้ายพรรคให้บอบช้ำมากกว่านี้เลย

มีมารยาทหน่อย คุณบริงเคน!! ‘อลงกรณ์’ ฟาดใส่!! ประเทศไทย ไม่ใช่ลูกไล่ของ ‘อเมริกา’ ชี้!! ไร้มารยาท ไม่ให้เกียรติ ประเทศไทย

(26 ต.ค. 67) นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรี และ สส.หลายสมัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก อลงกรณ์ พลบุตร ระบุว่า...

มีมารยาทหน่อย คุณบริงเคน !!!

ประเทศไทย ไม่ใช่เมืองขึ้นหรือลูกไล่ของอเมริกา!!!

ติดตามข่าวที่นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนของนายกรัฐมนตรี ไปประชุมผู้นำกลุ่มบริกส์กับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (BRICS Plus Summit) ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ ‘BRICS and the Global South: Building a Better World Together’ ณ เมืองคาซานของรัสเซียที่เป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 24 ต.ค.2567

ในการประชุมบริกส์ (BRICS) ยังมีข่าวการให้ สัมภาษณ์ของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่เปิดเผยว่า ระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน ระหว่างวันที่ 9-11 ต.ค.2567 ที่ประเทศลาว ได้มีการหารือทวิภาคีระหว่าง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายแอนโทนี เจ.บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ โดยสหรัฐได้สอบถามการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มบริกส์ของไทย

สะดุดใจขัดใจตรงข่าวนายบริงเคน!!!

ในฐานะที่ผมเคยเป็นรัฐมนตรีที่กำกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเคยร่วมประชุมพหุภาคีในเวทีเอเปค(APEC)และอาเซียน(ASEAN)และการเจรจาทวิภาคีกับหลายประเทศหลายครั้งรวมทั้งการเจรจากับผู้แทนการค้าสหรัฐ(USTR)ที่กรุงวอชิงตันดีซี พอเข้าใจมารยาททางการทูตและธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศจึงรู้สึกขัดใจต่อท่าทีนายแอนโทนี เจ.บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่ตั้งคำถามกับนายกรัฐมนตรีของไทยเกี่ยวกับการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มบริกส์ของไทย

ผมคิดว่าเป็นคำถามที่ไม่ควรถามถือเป็นการผิดมารยาทไม่ให้เกียรติประเทศไทย

นายบริงเคน รู้อยู่แล้วถึงเหตุผลที่ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มบริกส์เพราะกระทรวงการต่างประเทศของไทยเคยออกข่าวชี้แจงมาแล้วหลายครั้งตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาแต่ทำไมยังมาตั้งคำถามในระหว่างการหารือทวิภาคีอีกและเป็นคำถามแบบมีนัยยะที่ไม่สมควร

(หากผมเป็นคู่เจรจาคงได้สวนกลับทันทีแบบผู้ดีให้จำไปจนวันตาย ผู้แทนอียูเคยเจอมาแล้ว)

การตัดสินใจของประเทศไทยเรื่องบริกส์เป็นเอกสิทธิ์ของเรา ประเทศใดจะพอใจหรือไม่พอใจก็สุดแล้วแต่ แต่จะมาแสดงออกถึงความไม่พอใจด้วยการตั้งคำถามแฝงความกดดันแบบนี้ถือว่าผิดธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูต ไม่ให้เกียรติกัน

ประเทศไทยกับสหรัฐเป็นมิตรกันมากว่า100ปีต้องเคารพและให้เกียรติกันและกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม

เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเอกราชและเกียรติภูมิ ไม่ใช่เมืองขึ้นหรือลูกไล่ของอเมริกา

หวังว่านายบริงเคนหรือรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐคนต่อไปอย่าผิดมารยาทแบบนี้กับประเทศไทยอีกโดยเด็ดขาด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top