Sunday, 19 May 2024
อลงกรณ์_พลบุตร

'อลงกรณ์' ประกาศนโยบายส่งเสริมเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรมูลค่าสูง ตั้งเป้าสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2030

ในงานเสวนาหัวข้อ 'อินทรีย์ - เคมี โอกาสของไทย ภายใต้วิกฤตอาหารโลก' วันนี้ (21 มิ.ย.) ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยมีนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นประธานเปิดงานซึ่งจัดโดยกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย และเกษตรกรผู้ปลูกผักแบบ GAP พร้อมด้วย นางสาวเพชรรัตน์ เอกแสงกุล ประธานกิตติมศักดิ์ กรรมการคณะกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุภัค เหล่าดี เลขานุการฝ่ายวิชาการ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย นายสุรวุฒิ ศรีนาม เกษตรกรผู้ปลูกผักมาตรฐาน GAP ผู้แทนภาคเอกชน ภาครัฐ เกษตรกร และผู้แทนพรรคการเมือง เช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์ นายสฤษฏ์พงษ์เกี่ยวข้อง พรรคภูมิใจไทย นางสาวสกุณา สาระนันท์ พรรคเพื่อไทย และ ดร. เดชรัต สุขกำเนิด พรรคก้าวไกล ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และหาทางออกในการเพิ่มศักยภาพการผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ใช้ปัจจัยการผลิต ปุ๋ย และสารเคมีเกษตรเพื่ออาหารปลอดภัย

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ภายใต้วิกฤติโควิด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารและราคาอาหารแพงขึ้น ทำให้โลกเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นโอกาสในวิกฤติของไทย ในฐานะที่เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรชั้นนำของโลกและเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลกจากกว่า 200 ประเทศ เพื่อตอบโจทย์โอกาสแห่งอนาคต พรรคประชาธิปัตย์จึงกำหนดแนวทางในการพัฒนาภาคเกษตรด้วย 5 เป้าหมายในการสร้างมิติใหม่จากครัวไทยสู่ครัวโลกได้แก่...

1. เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยท็อปเทนของโลก

2. เพิ่มรายได้เกษตรกร เพิ่มรายได้ส่งออกอาหาร 2 ล้านล้านภายในปี 2030

3. ประเทศชั้นนำเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองและชนบท

4. ลดก๊าซเรือนกระจกแก้ปัญหาโลกร้อน ตอบโจทย์ Climate Change

5. ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขจัดความอดอยากหิวโหย

ทั้งนี้มีนโยบายหลักๆที่ยกมาเป็นตัวอย่าง เช่น...

1. นโยบายประกันรายได้เกษตรกรสู่การเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนด้วยการต่อยอดพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง

2. นโยบายส่งเสริมเกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง  และเกษตรยั่งยืน บนฐาน คุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร

3. นโยบายตลาดนำการผลิต และระบบการค้าที่เป็นธรรม (Fair trade)

4. นโยบายส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity)

5. นโยบายอาหารแห่งอนาคตเป็นทางเลือกใหม่ในการผลิตสินค้าเกษตร เช่นโปรตีนทางเลือกใหม่ ได้แก่ โปรตีนแมลง โปรตีนพืช สาหร่าย ผำ เห็ด เป็นต้น

6. นโยบายโลจิสติกส์เกษตร เชื่อมไทยเชื่อมโลกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเปิดประตูการค้าใหม่ เช่น เกตเวย์อีสาน - เหนือ - ใต้ - ออก - ตกรวมทั้งเส้นทางขนส่งใหม่ๆ เช่นเส้นทางรถไฟจีน-ลาว 

สำหรับประเด็นเรื่องเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ จะขับเคลื่อนสนับสนุนส่งเสริมเกษตรปลอดภัยด้วย 3 แนวทางไปพร้อมๆ กัน ได้แก่...

1.เกษตรอินทรีย์

2.เกษตรเคมี-อินทรีย์

3.เกษตรเคมี 

ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม...

1.เกษตรรายย่อย

2.เกษตรพาณิชย์ 

3.เกษตรอุตสาหกรรม

4.เกษตรส่งออก โดยจะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเกษตรหรือนิคมเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเป็นฐานการแปรรูปอาหารปลอดภัยใน18กลุ่มจังหวัดตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่เพื่อกระจายโอกาส การค้า การลงทุนและการจ้างงานไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ

'อลงกรณ์' เชื่อมั่นแพลตฟอร์มปฏิรูปเกษตร '12 ก้าวใหม่ที่กล้าเดิน' คานงัดสร้างจุดเปลี่ยนนำไทยสู่เกษตรมูลค่าสูงตอบโจทย์ Next Normal

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ เขียนบทความเผยแพร่ในโลกโซเชียลมีเดียวันนี้ (9 ก.ค.) เรื่อง '12 ก้าวใหม่ที่กล้าเดิน มิติใหม่การปฏิรูปภาคเกษตรของไทย' โดยเชื่อมั่นว่าเป็นคานงัดการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและกระทรวงเกษตรฯ ยุค 'รัฐมนตรีเฉลิมชัย' เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนในมิติต่างๆอย่างน่าสนใจ ระบุว่า...

'12 ก้าวใหม่ที่กล้าเดิน มิติใหม่การปฏิรูปภาคเกษตรของไทย' โดย อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (9 กรกฎาคม 2565)

ท่ามกลางวิกฤติโควิด19และสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบกว้างไกลทำให้เศรษฐกิจประเทศต่างๆชะลอตัว ราคาน้ำมัน ราคาปุ๋ยและอาหารสัตว์แพงขึ้น กระทบต่อราคาและระบบผลิตอาหารทั่วโลก เกิดภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

นับเป็นวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ที่ยาวนานมากว่า 2 ปีที่ยังไม่มีใครคาดเดาว่าจบลงเมื่อใด

แต่ในวิกฤติมีโอกาสเสมอ 

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) วิเคราะห์ว่าโลกกำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารที่รุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่ขาดความมั่นคงทางอาหาร และนี่คือโอกาสของไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ13ของโลกที่จะปฏิรูปตัวเองสร้างความเข้มแข้งและขีดความสามารถใหม่ของประเทศไทย

ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ ผมจะเล่าเรื่อง '12 ก้าวใหม่ที่กล้าเดิน มิติใหม่ภาคเกษตรของไทย' เป็นแพลตฟอร์มการปฏิรูปสร้างจุดเปลี่ยนเชิงโครงสร้างและระบบเพื่อตอบโจทย์โอกาสของวันนี้และอนาคตที่กำลังจะมาถึง

ก้าวที่ 1 >> ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม เราจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center) เรียกสั้นๆว่า ศูนย์ AIC 77 จังหวัดเป็นฐานการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area based Development) ของเทคโนโลยีในทุกจังหวัดและจัดตั้งศูนย์ AIC ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะด้าน (Center of Excellence: COE) อีก 23 ศูนย์ โดยศูนย์ AIC ทำหน้าที่เป็นศูนย์การวิจัยและพัฒนา (R&D) และเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาและเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกรผู้ประกอบการและถ่ายทอดนวัตกรรมเน้นเมดอินไทยแลนด์ (Made In Thailand) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง โดยคิกออฟพร้อมกันทุกศูนย์ทุกจังหวัดทั่วประเทศเมื่อ 1 มิถุนายน 2563 วันนี้เรามีเทคโนโลยีเกษตร 766 นวัตกรรมที่ถ่ายทอดต่อยอดสู่แปลงนาแปลงสวนแปลงไร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องกว่า10,000รายแล้ว

ก้าวที่ 2 >> ระบบบิ๊กดาต้าเกษตร เราจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agriculture Big Data Center: NABC) ภายใต้แพลตฟอร์มดิจิตอลใหม่ๆตั้งอยู่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เริ่มดำเนินการตั้งแต่มีนาคม 2563 ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีข้อมูล (Information Technology) คือเครื่องมือเอนกประสงค์ของทุกภารกิจและทุกหน่วยงานโดยกำลังเชื่อมต่อกับ Big Data ของหน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันเกษตรกรและศูนย์ AIC ทุกจังหวัดโดยจะให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลเกษตรในมิติต่างๆ บนมือถือและคอมพิวเตอร์

ก้าวที่ 3 >> ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) เรากำลังปฏิรูป 22 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ให้เป็นกระทรวงที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี (TechMinistry) ภายใต้โครงการ GovTech อย่างคืบหน้าด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) เพื่อเปลี่ยนการบริหารและการบริการแบบอนาล็อคเป็นดิจิตอล เปลี่ยนการลงนามอนุมัติด้วยมือเป็นลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) และเร่งรัดพัฒนาการโครงการ National Single Window สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ เป็นการปฏิรูประบบราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ใหม่ในการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ก้าวที่ 4 >> เกษตรอัจฉริยะ เราขับเคลื่อนฟาร์มอัจฉริยะ(Smart farming)ตามแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ของไทยเช่น ระบบสมาร์ทฟาร์ม ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดดินน้ำอากาศและการอารักขาพืช การพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร การปรับระดับพื้นแปลงเกษตร (Land Leveling) ระบบเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ (Sead Technology) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ระบบชลประทานอัจฉริยะรวมทั้งการใช้โดรนการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและแพลตฟอร์มเกษตรดิจิตอล (Agrimap platform) โดยมีโครงการเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) 5 ล้านไร่ เป็นโครงการเรือธงโดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC : Agritech and Innovation Center) รวมทั้งการส่งเสริมการตลาดแบบออนไลน์ (Digital Marketing)โดยการสนับสนุนแพลตฟอร์มร้านค้าอีคอมเมิร์ซ และโครงการพัฒนาเกษตรกรเป็นนักการค้าออนไลน์ทุกจังหวัดเช่นโครงการ Local Hero เป็นต้น โดยมีทีมเกษตรอัจฉริยะ ทีมอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ทีม Big Data และG ovTech ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 รับผิดชอบ

ก้าวที่ 5>>เกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง-ชนบท เราริเริ่มโครงการใหม่ๆเช่นการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development) อย่างเป็นระบบมีโครงสร้างครอบคลุมทั่วประเทศเป็นครั้งแรกตอบโจทย์การขยายตัวของเมือง (Urbanization) ที่ขาดความมั่นคงทางอาหารและระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ (ประชากรไทยในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี2562) ตลอดจนการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์โดยจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์ PGS แห่งประเทศไทยได้สำเร็จเป็นครั้งแรก และการขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 1.3 ล้านไร่ การพัฒนาสวนยางยั่งยืนรวมทั้งการพัฒนาแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่บนฐานศาสตร์พระราชา 4,009 ตำบล และโครงการข้าวอินทรีย์1ล้านไร่ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ฯลฯ นับเป็นการวางหมุดหมายใหม่ของระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ประกอบด้วย เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตรและเกษตรธรรมชาติทั้งในเมืองและในชนบทครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ

ก้าวที่ 6 >> เกษตรแห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต เราขับเคลื่อนนโยบายอาหารแห่งอนาคต พืชแห่งอนาคต (Future Food Future Crop) เพื่อสร้างเกษตรทางเลือกใหม่แปรรูปเป็นอาหารคน อาหารสัตว์ เวชสำอางค์ เวชกรรม น้ำมันชีวภาพเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ใหม่ๆให้เกษตรกรของเราและเป็นสินค้าส่งออกตัวใหม่สร้างรายได้ให้ประเทศเป็นการตอบโจทย์เทรนด์ของโลกยุค Next Normal ที่สนใจสุขภาพมากขึ้นหลังจากเกิดโควิดแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Covid Pandemic) ได้แก่ การสนับสนุนโปรตีนทางเลือกจากแมลง (Edible Inseat base Protein) ตามนโยบายฮับแมลงโลก ปัจจุบันมีเกษตรกรกว่า 1 แสนรายทำฟาร์มแมลงเช่น ดักแด้ไหม ดักแด้อีรี่ จิ้งหรีด แมลงวันลาย (bsf) หนอนนกฯลฯ สอดรับกับนโยบายขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ประกาศว่าแมลงกินได้ Edible Insect คืออนาคตใหม่ของโปรตีนโลกและทศวรรษแห่งโภชนาการ รวมไปถึงโปรตีนทางเลือกจากพืช (Plant base Protein) เช่น สาหร่าย ผำ เห็ด ถั่วเหลืองถั่วเขียว แหนแดง ฯลฯ มีบริษัท Startup ใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายบริษัท และการส่งเสริมอาหารฮาลาลซึ่งมีลูกค้ากลุ่มประชากรมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมกว่า 2 พันล้านคน มูลค่าตลาดกว่า 30 พันล้านบาท

ก้าวที่ 7 >> โลจิสติกส์เกษตร เชื่อมไทย-เชื่อมโลก เราได้วางโรดแม็ปเส้นทางโลจิสติกส์เกษตรเชื่อมไทยเชื่อมโลกในระบบการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) ทั้งทางรถทางรางทางน้ำและทางอากาศ (Low Cost Air Cargo) เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงตลาดทั่วโลกและตลาดเป้าหมายใหม่เช่นโครงการดูไบคอริดอร์-ไทยแลนด์ คอริดอร์ (Dubai Coridor- Thailand Corridor), เส้นทางรถไฟอีต้าอีลู่ (BRI) เชื่อมไทย-ลาว-จีน-เอเซียใต้-เอเซียตะวันออก-เอเซียกลาง-ตะวันออกกลาง-รัสเซียและยุโรป และกำลังเปิดประตูใหม่จากอีสานสู่แปซิฟิกไปทวีปอเมริกาเหนืออเมริกาใต้และเปิดประตูตะวันตกประตูใต้สู่ทะเลอันดามัน-อ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียสู่เอเซียใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลางและยุโรป

ก้าวที่ 8 >> เกษตรแปลงใหญ่ สตาร์ทอัพเกษตร เรากำลังปรับเปลี่ยนเกษตรแปลงย่อยเป็นเกษตรแปลงใหญ่ (Big Farm) ซึ่งขณะนี้ขยายเพิ่มเป็น กว่า 8,000 แปลง โดยมีการสนับสนุนเครื่องจักรกลเกษตรและระบบเกษตรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปีนี้จะเริ่มโปรแกรมอัพเกรดวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ เกษตรแปลงใหญ่และสถาบันเกษตรเป็นสตาร์ทอัปเกษตร (Startup เกษตร) และเอสเอ็มอีเกษตร (SME เกษตร)

ก้าวที่ 9 >> ยกระดับเกษตรกรก้าวใหม่ เราพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นyoung smart farmerได้กว่า 20,000คนและส่งเสริมพัฒนาศูนย์ศพก.เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ระดับอำเภอโดยสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart farmer) ปราชญ์เกษตรและอาสาสมัครเกษตร (อกษ.)เป็นทีมงานแนวหน้าทุกหมู่บ้านชุมชนพร้อมกับยกระดับเกษตรกรที่มีประสบการณ์สู่ระบบคุณวุฒิวิชาชีพโดยร่วมมือกับภาคเอกชน ศูนย์ AIC  สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพซึ่งเป็นองค์การมหาชนในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอว.และกระทรวงพาณิชย์

ก้าวที่ 10 >> เกษตรสร้างสรรค์สู่ The Brand Project เรากำลังนำระบบทรัพย์สินทางปัญญา  (Intellectual property) มาใช้ในการเดินหน้าสู่เกษตรสร้างสรรค์เกษตรมูลค่าสูงด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างแบรนด์ (Branding) ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตเกษตร พืช ประมงและปศุสัตว์เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศภายใต้โครงการ เดอะ แบรนด์ โปรเจกต์ (The Brand Project)

ก้าวที่ 11>> การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area base) ไม่มีเหลื่อมล้ำ เราบริหารการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area base) ควบคู่กับการบริหารการพัฒนาเชิงคลัสเตอร์เช่น โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารทั้งหมด 18 กลุ่มจังหวัดครอบคลุม 77 จังหวัดเป็นศูนย์กลางการแปรรูปผลผลิตเกษตรตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มจังหวัดเพื่อกระจายโอกาสการพัฒนาทุกภาคทุกจังหวัดไม่ให้เจริญแบบกระจุกตัวเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาโดยปลายปี 2564 รัฐมนตรีเกษตรฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเกษตรทุกอำเภอทุกจังหวัดและปีนี้กำลังจัดตั้งคณะทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,435 ตำบลให้แล้วเสร็จ เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนระดับพื้นที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

เรายังริเริ่มและเดินหน้าอีกหลายโครงการเช่นการจัดตั้งองค์กรชุมขนประมงท้องถิ่น 2,600 องค์กรใน 50 จังหวัด การดำเนินการโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) ตอบโจทย์ Climate Change โดยเพิ่มต้นไม้ลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งโครงการพัฒนาระบบความเย็น (Cold Chain) ตลอดห่วงโซ่อุปทานและระบบแช่แข็งด้วยไนโตรเจนเหลวแบบ Nitrogen Freezer เป็นต้น

ก้าวที่ 12 >> เปิดกว้างสร้างหุ้นส่วน (Partnership platform) ความก้าวหน้าของงานแต่ละด้านเกิดจากการบริหารแบบเปิดกว้างสร้างหุ้นส่วน (Partnership platform) ในการทำงานกับทุกภาคีภาคส่วนเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมต่างๆ สถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย สถาบันเกษตรกร สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เครือข่ายองค์กรเอกชน ทุกกระทรวงและทุกพรรคการเมืองไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลโดยยึดประโยชน์บ้านเมืองมาก่อนประโยชน์ทางการเมืองได้สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจนำมาซึ่งความร่วมมืออย่างจริงจังและจริงใจ ประการสำคัญคือการทำงานอย่างทุ่มเทของคนกระทรวงเกษตรฯ

'กระทรวงเกษตรฯ' หารือ 'หอการค้า' ขยายความร่วมมือภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ 'เฉลิมชัย'

'อลงกรณ์' จับมือ 'สนั่น' ขับเคลื่อนเกษตรมูลค่าสูงยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มมูลค่าการค้าส่งออกสู่เป้าหมายประเทศมหาอำนาจอาหารภายในปี 2030

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งขยายความร่วมมือกับทุกภาคีภาคส่วน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีกำหนดประชุมกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อหารือแนวทางและโครงการขยายความร่วมมือในทุกมิติตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในการยกระดับภาคเกษตรกรรมสู่เกษตรมูลค่าสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มรายได้เกษตรกรและเพิ่มมูลค่าการค้าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสู่เป้าหมายประเทศผู้ส่งออกอาหารท็อปเทนของโลกและมหาอำนาจอาหารภายในปี 2030 โดยตนจะนำคณะหารือกับนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและคณะในวันพรุ่งนี้ที่สำนักงานใหญ่หอการค้าไทย โดยจะมีประเด็นการหารือเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือในโครงการที่ผ่านมาเช่นโครงการ 1 ไร่ 1 แสนและแนวทางความร่วมมือใหม่ๆ เช่น...

การส่งเสริมระบบการค้าสินค้าเกษตรที่เสรีและเป็นธรรม การพัฒนาธุรกิจเกษตรครอบคลุมถึงระบบตลาดสินค้าเกษตรแบบออนไลน์และออฟไลน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างแบรนด์ การพัฒนาระบบประมูลสินค้าเกษตร ระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตรทั้งในและต่างประเทศ การส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา และระบบประกันภัยพืชผล รวมทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิรูประบบอำนวยความสะดวกทางการค้าการส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืน 

'อลงกรณ์' ร่วมเสวนา'สภาผู้แทนฯ' ชู5ยุทธศาสตร์ 'เฉลิมชัย' ปฏิรูปภาคเกษตรแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรเน้นแปรรูปสู่เกษตรมูลค่าสูง 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรการสัมมนาและบรรยายในหัวข้อเรื่อง”การแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรโดยการเพิ่มมูลค่าด้านการผลิตการแปรรูป และการตลาด” ร่วมกับ นายวีระกร คำประกอบ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมมาธิการ นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน และมีนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้ดำเนินรายการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป และการตลาด ของผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ จำนวน 200 คน ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร เมื่อ29ส.ค. ณ ห้องประชุมสัมมนา B 1-1 ชั้น B 1 อาคารรัฐสภา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะ และระดมข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มมูลค่าด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลทางการเกษตร และยกระดับรายได้เกษตรกรให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ  

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ13ของโลกทำให้สินค้าเกษตรของไทยต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศเป็นหลัก
โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก เช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ( Climate Change )การแพร่ระบาดของโควิด -19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลให้ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพงทำให้ต้นทุนกาคผลิตภาคการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น

การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรจึงต้องขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนที่เรียกว่า "คานงัด" เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความผันผวนของโลก

กระทรวงเกษตรฯ จึงสร้างคานงัดเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนแบบองค์รวมเป็นกลไกแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพภาคเกษตรของไทยจากต้นน้ำถึงปลายน้ำภายใตั 5 ยุทธศาสตร์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้แก่ 1) ตลาดนำการผลิต 2) เทคโนโลยี่เกษตร 4.0 3) "3 S"เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน 4) เกษตรกรรมยั่งยืน และ 5) บูรณาการทำงานเชิงรุกกับทุกภาคส่วนโดยมีตัวอย่าง คานงัด ที่ดำเนินการเช่น
1. การสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเกษตร อาทิ การเจรจาความร่วมมือกับประเทศเวียดนามเพื่อยกระดับราคาข้าวในตลาดโลก ถือเป็นความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือของ2ประเทศในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวอันดับที่ 2 และ 3 ของโลก โดยตั้งกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันสร้างอำนาจการต่อรองราคาข้าวในตลาดโลก หรือการยกระดับความร่วมมือกับซาอุดีอาระเบีย และดูไบในการขยายตลาดสินค้าเกษตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกาและยุโรป
2. ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด”ในรูปแบบ online-offline ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ.กับกระทรวงพาณิชย์โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ รวมทั้งความร่วมมือกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

3. สร้างโอกาสตลาดใหม่และลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้วยแนวทาง "เชื่อมไทย เชื่อมโลก" เช่น กรณีรถไฟจีน-ลาวขนส่งสินค้าเกษตรไปจีนและร่วมมือกับคาซัคสถาน และดูไบในโครงการท่าบกคอคอสเป็นชุมทางรถไฟบริเวณพรมแดนจีน-คาซัคสถานเพื่อขนส่งจากอีสานเกตเวย์ไปเอเซียกลาง ตะวันออกกลาง และยุโรป
4. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ด้วยนโยบายเทคโนโลยีเกษตรและนโยบายคุณภาพและมาตรฐาน เช่น การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์AIC) ทุกจังหวัดโดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทยยกระดับการผลิตอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
5. การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสร้างแบรนด์สู่เกษตรมูลค่าสูง เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่ง (กรกอ.) ร่วมเดินหน้าโครงการ 
"1 กลุ่มจังหวัด1นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร" เพื่อกระจายฐานตลาดและฐานการแปรรูปสินค้าเกษตรใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุมทั่วประเทศและโครงการ "เกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่" และขยายเป็น 5 ล้านไร่ เพื่อให้สินค้าเกษตรมีตลาดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นและมีผลิตภัณฑ์เกษตรมากขึ้นจะทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นและมีเสถียรภาพมากขึ้น

'อลงกรณ์' ชี้ 2565 จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ยุคใหม่ ลดก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุภาวะโลกร้อน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานมูลนิธิ Worldview Climate Foundation (WCF) บรรยายพิเศษ หัวข้อ 'ศักยภาพของโครงการบลู คาร์บอนในประเทศไทย' (Potential for blue carbon projects in Thailand) ในการประชุมนานาชาติจัดโดยมูลนิธิ Worldview International ที่กรุงเทพมหานครวันนี้ โดยแสดงวิสัยทัศน์อนาคตประเทศไทยในการเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Nation) เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases:GHGs) อย่างจริงจังตามพันธกรณีที่นายกรัฐมนตรีของไทยประกาศเป้าหมายในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์

ก.เกษตรฯ ผนึกจังหวัดเพชรบุรีเดินหน้าโครงการ แก้ไขปัญหาลิงแสมพระนครคีรีเป็นตัวอย่างต้นแบบ

'อลงกรณ์' นำทีมกรมปศุสัตว์สำรวจเขาวังและเกาะลิงแก่งกระจานพร้อมดึงมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าร่วมทีม หวังฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเพชรบุรีโดยเร็ว

รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานการประชุมและลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม 'โครงการแก้ไขปัญหาลิงแสมบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี' โดยประชุมหารือร่วมกับ นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระวุฒิ สุวัฒน์เชาว์ ที่ปรึกษากรมปศุสัตว์ด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์ นายสมเกียรติ พันธ์ศรี ผู้อำนวยการกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตว์แพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ นางสาวศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายกรรัตน์ คุ้มกระ ปศุสัตว์จังหวัด Mr.Edwin Wiek ประธานมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้ผู้แทนกรมปศุสัตว์แจ้งต่อที่ประชุมว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายให้กรมปศุสัตว์เร่งแก้ไขปัญหาประชากรลิงแสมที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในชุมชนเมืองของหลายจังหวัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงและโรคอื่น ๆ ที่ลิงเป็นพาหะสู่คน โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่องภายใต้เพชรบุรีโมเดล จึงได้จัดทำโครงการทั้งแผนงานและงบประมาณเสร็จแล้วและเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาลิงแสมบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นรองประธาน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครคีรีหน่วยงานภายใต้กรมปศุสัตว์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หน่วยราชการในจังหวัดเพชรบุรีองค์กรภาคประชาชนและองค์กรภาคประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการ โดยมีรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ บูรณาการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็วที่สุด   

นายอลงกรณ์ได้กล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือในโครงการนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดโรคต่าง ๆ ที่ลิงเป็นพาหะสู่คน ยังช่วยฟื้นฟูธุรกิจการค้าและพระนครคีรีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเพชรบุรีที่ซบเซามาหลายปีรวมทั้งทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนดีขึ้นมีรายได้และอาชีพเพิ่มขึ้น

‘อลงกรณ์’ พุ่งเป้าฟื้นฟูพัฒนาฟาร์ม - สร้างตลาดยั่งยืน ตั้งเป้าปีหน้าผลิตกุ้ง 400,000 ตันภายใต้ยุทธศาสตร์กุ้งไทย

‘อลงกรณ์’ กำหนด 10 มาตรการ มอบบอร์ดกุ้งฟื้นฟูพัฒนาฟาร์ม สร้างตลาด สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าปีหน้าผลิตกุ้ง 400,000 ตันภายใต้ยุทธศาสตร์กุ้งไทย

​นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวปาฐกถาวันนี้ในหัวข้อ ‘ทิศทางการประมงและกุ้งไทย 2023’ ใน ‘งานวันกุ้งดำเพชรบุรี’ ภายใต้หัวข้อ ‘ปรับการเลี้ยง สร้างตลาด เพิ่มศักยภาพ กุ้งดำเพชรบุรี’ โดยมี นายเฉลิม สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี นายชยานันท์ อินทรัตน์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำเพชรบุรี ส่วนราชการ ภาคเอกชนและเครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งเข้าร่วม ณ ห้องประชุมพะนอมแก้วกำเนิด อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

นายอลงกรณ์กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรัฐมนตรี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน มีนโยบายพัฒนาและฟื้นฟูการประมงไทยให้กลับมาเข้มแข็งสร้างรายได้ให้กับชาวประมงและประเทศเพิ่มขึ้นครอบคลุมตั้งแต่ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ ประมงนอกน่านน้ำ ประมงเพาะเลี้ยง และอุตสาหกรรมประมง โดยได้แต่งตั้งตนเป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาการประมงไทยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการประมงของไทย

สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งประสบปัญหาโรคกุ้ง และคุณภาพลูกพันธุ์กุ้งในขณะที่มีการแข่งขันในตลาดต่างประเทศสูงขึ้นทำให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และอุตสาหกรรมต่อเนื่องถดถอย ผู้ประกอบการห้องเย็น และโรงงานแปรรูปที่ส่งออกกุ้งทะเลเป็นหลัก ต้องปิดตัวลงจากเดิมที่มีอยูเกือบ 200 แห่ง ปัจจุบันเหลือเพียง 20 แห่ง และปริมาณการผลิตกุ้งลดต่ำลงจนประเทศไทยที่เคยส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งอยู่ลำดับต้นๆ ของโลกตกมาอยู่อันดับ 6 - 7 ในเชิงปริมาณและมูลค่าตามลำดับ รัฐมนตรีเกษตรฯ จึงมีนโยบายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธานมีกรรมการจากภาครัฐภาคเอกชนอุตสาหกรรมกุ้งและเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนากุ้งไทยปี 2564-2566 มีเป้าหมายเพิ่มการผลิตกุ้งให้ได้ 400,000 ตันในปี 2566

ซึ่งในปี 2564 และปีนี้มีการผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นคาดว่าจะเพิ่มจาก 280,000 ตันเป็น 300,000 ตันหรือ 320,000 ตันหากรวมกุ้งที่ผลิตและไม่ได้เข้าระบบ APD ซึ่งมีประมาณขั้นต่ำ 20% และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กุ้งไทยจึงกำหนด 10 มาตรการในการฟื้นฟูและพัฒนากุ้งไทย ดังนี้...

1.) การวิจัยและพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์
2.) การพัฒนาพันธ์ุกุ้ง 
3.)การพัฒนาระบบการผลิต
4.) ส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 
5.) การยกระดับมาตรฐานฟาร์มและมาตรฐานอาหารกุ้ง
6.) การแปรรูปกุ้งสู่เกษตรมูลค่าสูง
7.) การพัฒนาระบบตลาด และกลไกราคา
8.) การส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม และขจัดการผูกขาด 
9.) การใช้ประโยชน์จาก FTA ในการขยายตลาด
10.) สร้างกลไกและเครื่องมือการบริหารใหม่ๆ สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนากุ้งไทย

โดยบอร์ดกุ้งได้สร้างระบบประกันราคากุ้งขั้นต่ำโดยภาคเอกชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ปี 2564 จนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาทำให้ราคากุ้งหน้าบ่อและตลาดกลางเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,255 ตำบลทุกจังหวัด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของปีนี้จะเป็นกลไกการทำงานบนความร่วมมือในระดับพื้นที่รวมทั้งการเพาะเลี้ยงกุ้งในตำบลนั้นๆ ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านกุ้ง (Shrimp Academy) ภายใต้โครงสร้างของ AIC

'อลงกรณ์' โต้ 'สนธิ ลิ้ม' ไม่ยอมให้ใครผูกขาดทุเรียนไทย วอนออกข่าวอะไรให้นึกถึงความสัมพันธ์ที่ดี 'ไทย-จีน' ด้วย

'อลงกรณ์' โต้ 'สนธิ ลิ้ม' ประกาศชัดไม่ยอมให้ใครผูกขาดทุเรียนไทย พร้อมชนทุนผูกขาด ลั่นใครเอี่ยวฟันเด็ดขาด มั่นใจผลงานทีมประชาธิปัตย์ 3 ปีดันทุเรียนไทยผงาดแชมป์จีนสร้างรายได้ทะลุแสนล้านเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
.
(27 พ.ย.65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ชี้แจงวันนี้ว่า...
.
ตามที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลออกรายการ Sonthitalk (ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง) เผยแพร่ทางยูทูปเรื่อง 'แฉทุนจีนสีเทาผูกขาดทุเรียนไทย' นั้น ต้องขอบคุณที่ให้ความสนใจนำเสนอเรื่องดังกล่าวและได้ให้คำแนะนำในเรื่องการป้องกันการผูกขาดและการค้าทุเรียนอ่อนด้อยคุณภาพรวมทั้งปัญหาล้งนอมินีที่อาจกระทบต่อทุเรียนไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับข้อห่วงใยของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด) เช่นเดียวกันโดยได้ให้กรมวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเป็นปัญหาที่หมักหมมสะสมมานานให้ลุล่วงโดยเร็วที่สุด
.
ทั้งนี้จากผลการบริหารจัดการผลไม้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ จนยกระดับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทำให้ผู้บริโภคจีนเชื่อมั่นในคุณภาพผลไม้ไทย ส่งผลให้ราคาทุเรียนหน้าสวนและหน้าล้งดีต่อเนื่องมากว่า 2 ปีทำรายได้เพิ่มให้กับชาวสวนทุเรียนของไทยแม้ว่าต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด19 และผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนซึ่งต้องทำงานด้วยความยากลำบาก แต่ก็ฝ่าฟันมาได้
.
เป็นผลให้ในปีที่ผ่านมาผลไม้ไทยสามารถครองใจผู้บริโภคชาวจีนจนครองส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 40% ตามมาด้วยชิลีที่เป็นอันดับ 2 ซึ่งครองสัดส่วนตลาด 15% และเวียดนามครองอันดับที่ 3 ด้วยสัดส่วนตลาด 6% สามารถสร้างรายได้จากตลาดจีนกว่า 2 แสนล้านบาท
.
ยิ่งกว่านั้นทุเรียนสดของไทยยังสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดโลกกว่า 70% และครองส่วนแบ่งในตลาดจีนสูงเกินกว่า 90 %ด้วยปริมาณการส่งออกไปตลาดจีนกว่า 8 แสนตันคิดเป็นมูลค่าทะลุ 1 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
.
สำหรับปีนี้ได้ส่งออกทุเรียนสดไปจีนแล้วกว่า 7 แสนตันมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาทระหว่างวันที่ 1 ก.พ.ถึง 17 พ.ย.2565
.
ความสำเร็จข้างต้นเป็นผลมาจากยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตและยุทธศาสตร์ 3s (Safety / Security / Sustainability) โดยรูปแบบการทำงานเชิงรุกล่วงหน้าบูรณาการทุกภาคส่วนด้วยกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ แบบออนไลน์ออฟไลน์และการทำพิธีสารส่งออกนำเข้าผลไม้ไทย—จีนฉบับใหม่จนเปิดด่านจีนได้เพิ่มขึ้นเป็น 10 ด่านและสามารถเพิ่มการขนส่งทางรางด้วยรถไฟจีน-ลาวได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยกำลังขยายเป้าหมายเส้นทางขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรของไทยไปยังเอเซียกลาง ตะวันออกกลางและยุโรป
.
“ส่วนหนึ่งของความสำเร็จเป็นผลมาจากนโยบายยกระดับคุณภาพมาตรฐานและมาตรการป้องกันการปนเปื้อนโควิดของผลไม้ไทยโดยเฉพาะการปราบปรามทุเรียนอ่อนทุเรียนด้อยคุณภาพและทุเรียนสวมสิทธิ์อย่างเด็ดขาดของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ดโดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯ  กรมวิชาการและกรมส่งเสริมการเกษตรทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง สมาคมผลไม้ สหกรณ์และตัวแทนเกษตรกร โดยต้องไม่ให้ลูบหน้าปะจมูกเช่นกรณีการแอบอ้างเป็นที่ปรึกษาหรือคนรู้จักกับฝ่ายการเมืองไม่ว่าพรรคฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านต้องไม่ละเว้นให้ดำเนินคดีให้หมดทุกราย
.
"และหากนักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ทุจริตต่อหน้าที่โดยเรียกรับผลประโยชน์จะถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด ยืนยันว่าไม่มีฝ่ายการเมืองในกระทรวงเกษตรฯ.ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนจีนสีเทา จึงขอให้กลั่นกรองข่าวสารข้อมูลอย่างถ้วนถี่หรือตรวจสอบข้อมูลกับฟรุ้ทบอร์ดหรือตนได้ตลอดเวลาทั้งในและนอกเวลาราชการ"
.
ส่วนกรณีใบรับรอง GAP จำนวน 8 หมื่นฉบับที่ต้องปรับรหัสตามระบบใหม่เพื่อให้การบริหารข้อมูล GAP ของประเทศไทยและประเทศจีนทันสมัยมากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การทำงานแบบใหม่
.
ทางอธิบดีกรมวิชาการรายงานต่อฟรุ้ทบอร์ดว่าได้จัดหน่วยพิเศษเพิ่มขึ้นเพื่อดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยทันฤดูกาลใหม่ที่จะมาถึงแน่นอน
.
“การบริหารจัดการผลไม้ยังต้องแก้ไขปัญหาอีกมากทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบไม่ใช่ว่า 3 ปี จะแก้ไขได้หมดทุกเรื่องทุกประเด็นโดยเฉพาะเรื่องปัญหาคุณภาพมาตรฐานและปัญหาระบบการค้าเพราะเป็นปัญหาที่หมักหมมสะสมมานานหลายสิบปีรวมทั้งการยกระดับการป้องกันการปนเปื้อนของโควิด19 เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด19ระลอกใหม่อย่างรุนแรงในประเทศจีนในช่วงนี้และยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใดก็ต้องสร้างความพร้อมในการรับมือเผชิญหน้ากับปัญหาผลผลิตเพิ่มและคู่แข่งใหม่ๆภายใต้แผนบริหารจัดการผลไม้5ปีอย่างต่อเนื่อง
.
สำหรับประเด็นที่ว่ากลุ่มทุนจีนสีเทาวิ่งเต้นอยู่เบื้องหลังการย้ายผอ.สวพ.6 เพื่อเปิดช่องให้ขบวนการค้าทุเรียนอ่อนสมประโยชน์นั้น ยืนยันว่า ไม่มีใครมาวิ่งเต้นให้ย้ายผอ.สวพ.6 ซึ่งเหตุผลการโยกย้ายเป็นไปตามที่อธิบดีกรมวิชาการได้แถลงชี้แจงไปแล้วอยู่จังหวัดเดียวมา 30 กว่าปีมีประสบการณ์ความรู้ควรไปช่วยทุกภาคเพื่อประโยชน์ของผลไม้ทั้งประเทศวันหน้าเป็นรองอธิบดีเป็นอธิบดีได้ ไม่อยากให้ลาออก หรืออาจจะไปเล่นการเมืองเป็น ส.ส.แบบพี่ชายก็ห้ามกันไม่ได้ ขออย่างเดียวอย่าเอาการเมืองมาปั่นจนกระทบการค้าการส่งออกทุเรียนไปจีนที่กำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดี การออกข่าวหรือเคลื่อนไหวอะไรให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยกับจีน และความรู้สึกของคนจีนที่มีความรักคนไทยและผลไม้ไทยมิฉะนั้นจะกลายเป็นทุบหม้อข้าวชาวสวนผลไม้ไทยทั้งประเทศ
.
ทั้งนี้ฟรุ้ทบอร์ดได้กำชับให้กรมวิชาการต้องทำงานแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนทุเรียนด้อยคุณภาพทุเรียนสวมสิทธิ์ให้ดีกว่าเดิมยิ่งๆ ขึ้นไปอีกที่ผ่านมาจับกุมดำเนินคดีได้น้อยมาก ตรวจแล้วปล่อยก็มีและคดีก็ช้าผิดปกติซึ่งได้มอบให้รองปลัดกระทรวงเกษตรและผู้ตรวจราชการกระทรวงลงไปช่วยสนับสนุนการทำงานในพื้นที่อีกแรงหนึ่งเพราะยิ่งตลาดดีราคาดีคนก็มาปลูกมาค้าทุเรียนมากขึ้นมีมือใหม่ๆเพิ่มขึ้นเนื่องจากเห็นเป็นโอกาสทองของทุเรียนไทยโดยฟรุ้ทบอร์ดพร้อมส่งเสริมคนไทยให้เป็นผู้ประกอบการล้งอย่างต่อเนื่องและจะมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบปัญหาการขายสวนทุเรียนให้ต่างชาติ ปัญหาทุนสีเทา ปัญหานอมินีและเรื่องสินเชื่อพิเศษสำหรับผู้ประกอบการล้งต่อไป

'อลงกรณ์' แนะรัฐส่งเสริมการแปลงรถยนต์สันดาปเป็นรถอีวี ดันไทยเป็นฮับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของอาเซียน

'อลงกรณ์' ดันไทยเป็นฮับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของอาเซียน (ASEAN EV Conversion Hub) เสนอแผนปั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแนวใหม่ แนะรัฐออก 8 มาตรการส่งเสริมการแปลงรถยนต์เบนซินดีเซลเป็นรถไฟฟ้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ 'อนาคตประเทศไทยภายใต้ความท้าทายใหม่' ในงาน 'We Change ... BEV Conversion' โดยมุ่งเน้นถึงทิศทางแนวโน้มอุตสาหกรรม แนวทางสนับสนุนของภาครัฐ องค์กร เพื่อลดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ซึ่งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) ร่วมกับ บริษัท สื่อสากลจำกัด ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ได้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล แผนการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน ตลอดจนสร้างกระแสความรับรู้มาตรการส่งเสริมภาครัฐ มุมมองการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าและจักรยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจรายย่อยและประชาชนทั่วไป 

โดยงานมี นายสุเมฆปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน, นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนา ณ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 The 39 th Thailand International MOTOR EXPO 2022 ห้องประชุมจูปีเตอร์ 8-9 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็คเมืองทองธานี

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวปาฐกถาถึงศักยภาพและอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย โอกาสและความท้าทายของสถานการณ์สำคัญของโลก และการตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change)โดยรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) กำหนดนโยบาย 30@30 >> การผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 โดยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) 

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียวแก้ปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ เล็งใช้เส้นทาง ‘รถไฟจีน-ลาว’ รองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 66

ฟรุ้ทบอร์ด เห็นชอบ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ตามนโยบายของรัฐมนตรีเกษตรพร้อมจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟจีน-ลาว รองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยภายหลังการประชุมวันนี้ว่า ที่ประชุมได้รับทราบ

1.) รายงานความก้าวหน้าโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565 รอบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี

2.) รายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาลำไยอย่างยั่งยืน ปี 2566 – 2568 จากการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2565 มีมติมอบกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขาฯ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแนวทางหรือโครงการนำร่องการแก้ไขปัญหาผลผลิตลำไยอย่างยั่งยืนระยะยาว โดยการปรับโครงสร้างการผลิตลำไยในฤดู และนอกฤดู ให้เท่ากับร้อยละ 60 : 40 ภายในปี 2567 เพื่อให้ลำไยมีการกระจายการผลิตได้ทั้งปี ผลผลิตในฤดูไม่ซ้อนทับกันมาก เป็นทางเลือกให้แก่ตลาดได้ทุกฤดูกาล/ทุกเทศกาล ที่ต้องการลำไย โดยในฤดูกาลปกติจะลดภาวะ over supply ลงได้ร้อยละ 10 แต่ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรไม่ลดลง

3.) รายงานสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2566 โดยคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

4.) รายงานผลการประชุมคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี ครั้งที่ 1/2565
โดยใช้แนวทางการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) 

5.) รายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า 

6.) รายงานสรุปผลการประชุมเฉพาะกิจการเตรียมความพร้อมในการใช้เส้นทางรถไฟจีน – ลาว ซึ่งเป็นโอกาสของฝ่ายไทยและขยายเส้นทางการขนส่งทางรางเพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเข้า - ส่งออกสินค้าไปจีนและผ่านจีนไปยังสหภาพยุโรปผ่านเส้นทางตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง มีการดำเนินการ ดังนี้ (1) การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟ มีหน้าที่ในการรับจองตู้และขบวนรถไฟ เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566 โดยความร่วมมือภาคีเครือข่ายภาคเอกชน โดยประสานงานกับสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (2) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟ ไทย - จีน -ลาว รวมไปถึงการขยายเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านจีนไปสู่ภูมิภาคอื่น (3) เร่งรัดการเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนสำหรับระบบตรวจสอบ รวมไปถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และโครงการพื้นฐานของด่านส่งออกที่สำคัญ เช่น ด่านมุกดาหาร ด่านนครพนม และด่านหนองคาย (4) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การขนส่งสินค้าเกษตรจากประเทศไทยสร้างการรับรู้ ข้อปฏิบัติ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟไทย - จีน - ลาว ในระดับพื้นที่ควบคู่ไปด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top