Monday, 29 April 2024
ฝุ่น

‘นพดล’ จี้ รัฐบาล-กทม. เร่งจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 ลั่น! ดันร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดทันที หาก พท.เป็นรัฐบาล

(3 ก.พ. 66) 'นายนพดล ปัทมะ' รองประธานยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย เสนอ 5 ทางออก แก้ฝุ่น PM 2.5 จะต้องหมดไป ย้ำ รัฐบาลต้องจริงจังกับปัญหา สิทธิ์หายใจในอากาศสะอาดเป็นสิทธิมนุษยชน

“ปัญหาฝุ่น PM2.5 ไม่เลือกคนรวย คนจน เด็กอนุบาล หรือผู้สูงอายุ เราจะไม่ปล่อยให้แก้ปัญหาแบบนี้อีกต่อไป พรรคเพื่อไทยมา PM2.5 ต้องหมดไป ต้องแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและโดยแก้เริ่มจากได้การมีรัฐบาลใหม่ที่เอาจริงเรื่องนี้" 

นพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ปัญหาค่าฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานครติดอันดับโลกขณะนี้ และอยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากสภาพอากาศปิด ขณะที่ในหลายจังหวัดประสบปัญหาจากการเผาป่า เผาไร่ ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาเป็นแบบไฟไหม้ฟางและปลายเหตุมาตลอด พรรคเพื่อไทยเห็นว่าเรื่องนี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว หากได้เป็นรัฐบาลจะแก้ปัญหาโดย 

1.) เข้มงวดห้ามเผาป่า เผาไร่เช่น อ้อย ข้าวโพด และของเหลือจากผลิตผลทางการเกษตรอย่างเคร่งครัด พร้อมกับดำเนินนโยบายปลูกป่าเศรษฐกิจขนานใหญ่ ได้ทั้งการแก้ปัญหาโลกร้อนและซับฝุ่น PM2.5

'พิธา' เสนอแก้ฝุ่น PM 2.5 ต้องยกเครื่องโครงสร้างอำนาจ ออก กม.ใหม่-ให้อำนาจท้องถิ่น-ปั้นขนส่งพลังงานไฟฟ้า

'ก้าวไกล' เปิดเวทีพบชาวน่าน ย้ำนโยบายรัฐสวัสดิการทำได้ทันที พร้อมปรับเบี้ยคนแก่เป็น 3,000 บาท ด้าน 'พิธา' เสนอแก้ฝุ่น PM 2.5 ต้องยกเครื่องโครงสร้างอำนาจ ออกกฎหมายใหม่-กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น-ปรับขนส่งสาธารณะใช้พลังงานไฟฟ้า

(3 ก.พ. 66) พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยแกนนำ และ ส.ส. พรรคก้าวไกล อาทิ อภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ, ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน ร่วมจัดเวทีพบปะประชาชนที่จังหวัดน่าน พร้อมนำเสนอนโยบายและตอบคำถามของประชาชนในหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นที่สนใจของประชาชน เช่น เรื่องปากท้องเศรษฐกิจ และปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นต้น

ณัฐชา ส.ส.กรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน พรรคก้าวไกล ได้นำเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการของพรรคก้าวไกล โดยเฉพาะเรื่องเงินผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่จะปรับจาก 600 บาทต่อเดือน ให้เป็น 3,000 บาทต่อเดือน โดยณัฐชาระบุว่านี่คือสิ่งที่พรรคก้าวไกลได้ศึกษามาระยะหนึ่งแล้ว ศึกษาลงไปถึงรายละเอียดว่าแหล่งรายได้ที่จะนำมาใช้ทำนโยบายดังกล่าวมาจากไหน และสามารถทำได้ทันที หากพรรคก้าวไกลได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ผลที่จะเกิดขึ้นคือพี่น้องไม่ต้องมารอลุ้นให้ได้รับเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตามอายุของตัวเองอีกแล้ว ขอเพียงมีอายุ 60 ปีขึ้นไปและเป็นคนไทย จะได้รับสิทธิทันที ไม่ต้องลงทะเบียนด้วย

จากนั้น มีหนึ่งในคำถามสำคัญจากวงพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาฝุ่น pm 2.5 ที่นับวันสถานการณ์มีแต่จะเลวร้ายลง ทางพรรคก้าวไกลมีนโยบายอย่างไร พิธาได้ตอบคำถามนี้โดยระบุว่าปัญหาฝุ่น pm 2.5 เป็นปัญหาที่มีต้นตอจากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ หากเป็นเขตเมือง ก็มักเกิดจากรถยนต์ โรงงาน และการก่อสร้าง ส่วนในพื้นที่ชนบทมักเกิดจากการเผาไหม้จากภาคเกษตร การใช้พลังงานถ่านหิน หรือการเผาป่าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ สาเหตุเหล่านี้เป็นที่รับรู้กันมายาวนาน แต่การแก้ไขปัญหาไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะโครงสร้างอำนาจที่มีปัญหา

กล่าวคือปัญหาของฝุ่น pm 2.5 เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ แต่ความรับผิดชอบที่อธิบดีมีอยู่นั้น ไม่ได้มาพร้อมกับอำนาจ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษไม่สามารถไปสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยมลพิษออกมาตรการเพื่อระงับฝุ่น pm 2.5 ได้ ผลก็คือที่ผ่านมามีเพียงการขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากก็มักไม่ได้รับความร่วมมือกลับมา

ทางรอดวิกฤตฝุ่น ‘แพทย์’ แนะ 6 วิธีเอาตัวรอด ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 เลี่ยงภัยอันตราย หวั่นกระทบสุขภาพ ปชช. ในระยะยาว

แพทย์แนะการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤติ 'ฝุ่น PM 2.5'

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ 5 สมาคมวิชาชีพเวชกรรม อาทิ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย , สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย และสมาคมพิษวิทยาคลินิก ได้ออกคำแนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤติ "ฝุ่น PM 2.5"

เป็นที่ทราบ และตระหนักกันดีถึงพิษภัยต่อสุขภาพจาก ฝุ่น PM 2.5 ทั้งผลเฉียบพลัน และผลเรื้อรัง ไม่เฉพาะผลต่อระบบการหายใจที่เป็นช่องทางนําพาฝุ่นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น ฝุ่น PM 2.5 ยังมีผลต่อการเกิดโรคระบบต่าง ๆ เช่น ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ระบบประสาท หลอดเลือดสมอง และโรคไต

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายได้มากคือ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (โรคปอด หัวใจ สมอง และไต) ในขณะที่ทุกภาคส่วนกําลังระดมสมองแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว 

‘ผบ.ตร’ สั่งลุย!! ยกระดับแก้ปัญหาฝุ่น ‘PM 2.5’ วอนปชช. เลี่ยงใช้รถควันดำ-งดเผาในที่โล่งแจ้ง

‘ผบ.ตร.เอาจริง’ สั่งตำรวจคุมเข้มยกระดับแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เร่งบังคับใช้กม. รถควันดำ ลักลอบเผา โรงงาน การก่อสร้าง ที่ก่อเกิดมลพิษ เน้นบูรณาการร่วมทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาทุกมิติ ตามนโยบายรัฐบาล

(14 มี.ค.66)  พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. เปิดเผยว่า ตามข้อสั่งการความห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อประชาชนกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินมาตรฐานที่เกิดขึ้น โดยให้ทุกหน่วยบูรณาการยกระดับร่วมกันแก้ไขปัญหาทุกมิติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ขานรับนโยบาย สั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัด ตร.ยกระดับเพิ่มมาตรการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินมาตรฐาน ที่มีมาจากหลายสาเหตุทั้ง การคมนาคมขนส่ง การเผาในที่โล่งแจ้ง การเกิดไฟป่า ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และหมอกควันต่างๆ ผบ.ตร.ได้มีวิทยุสั่งการ ไปยังทุกหน่วยให้ดำเนินการดังนี้

1.เพิ่มความเข้มตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มงวดกับผู้ที่นำรถยนต์ที่มีลักษณะปล่อยพิษควันดำมาใช้บนถนน ออกคำสั่งห้ามใช้รถที่ก่อให้เกิดมลพิษ รวมทั้งบูรณาการร่วมกับขนส่ง หน่วยที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

2.เพิ่มมาตรการตรวจสอบบังคับใช้กฎหมาย กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไม่ให้ปล่อยมลพิษทางอากาศ และการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่น

3.ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผาพืชไร่และพื้นที่เพาะปลูก การเผาในที่โล่งแจ้ง และกิจการที่ก่อให้เกิดอันตราย

‘กรมควบคุมมลพิษ’ เผย ค่าฝุ่นเกินกว่ามาตรฐาน 21 จังหวัด หนักสุด!! ‘แม่สาย’ วัดได้ 590 มคก. ส่งผลต่อสุขภาพต่อเนื่อง

(27 มี.ค. 66) กรมควบคุมมลพิษรายงานภาพรวมค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กทั่วประเทศ เกินค่ามาตรฐาน 21 จังหวัด โดยภาคเหนือเผชิญค่า PM2.5 พุ่งสูงชนิดสาหัส 28 พื้นที่ หนักสุดที่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย เชียงรายวัดได้ 590 มคก. รองลงมาเป็นภาคอีสานสูงสุดที่อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ วัดได้ 277 มคก. เตือนภาคเหนือตอนบนเฝ้าระวังต่อเนื่องระหว่าง 27 มีค.-2 เมย. โดยเฉพาะจว.ติดประเทศเพื่อนบ้าน สธ.ห่วง PM2.5 เชียงรายสูงกว่ามาตรฐานอนามัยโลก 32 เท่า

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566 ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศพื้นที่ทั่วประเทศประจำวันว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับคุณภาพดีมากถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ ตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือPM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบค่าฝุ่นระหว่าง 10-590 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน 21จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.บึงกาฬ จ.หนองคาย จ.เลย จ.นครพนม จ.มุกดาหารและจ.อุบลราชธานี

สำหรับภาคเหนือ พบเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 50-590 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐาน 28 พื้นที่ สูงสุดที่ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 590 มคก./ลบ.ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 6 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 33-277มคก./ลบ.ม.สูงสุดที่ ต.บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ 277 มคก./ลบ.ม.ส่วนภาคกลางและตะวันตก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 18-59 มคก./ลบ.ม.ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 10-30มคก./ลบ.ม.ภาคใต้ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 13-21 มคก./ลบ.ม.

ขณะที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ.ร่วมกับกทม.ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 16-76 มคก./ลบ.ม.อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองถ้าจำเป็น

นอกจากนี้ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานผลการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม-2 เมษายน ดังนี้ วันที่ 27 มีนาคมเป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กทม.และปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศเปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดฝุ่นออกจากพื้นที่ ส่วนพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีแนวโน้มควรเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านระหว่างวันที่ 27 มีนาคม-2 เมษายน

วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงาน สภาพอากาศทั่วไปในพื้นที่ จ.เชียงราย โดยเฉพาะตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา และด้าน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.แม่จัน มีฝุ่นละอองหนามากเป็นประวัติการณ์ โดยมีลักษณะเหมือนหมอกในฤดูฝน แต่เป็นฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งกรมควบคุมมลพิษรายงานผลการตรวจวัดค่าฝุ่นใน ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย ติดกับจ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา มีปริมาณ PM 2.5 สูงถึง 459 มคก./ลบ.ม. และค่า PM 10 และอื่นๆ พบดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) มีสูงถึง 569 AQI เช่นเดียวกับด้านอ.เชียงของ ติดกับแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว พบค่า PM 2.5 สูงถึง 219 มคก./ลบ.ม. และเขต อ.เมืองเชียงราย วัดค่าได้ 211 มคก./ลบ.ม.ถือว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพติดต่อกันมาหลายวัน

อย่างไรก็ตาม การตรวจวัดคุณภาพอากาศจากเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าภาคสนามแต่ละพื้นที่พบค่า PM 2.5 ที่มากกว่านั้นอีกมาก โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นตั้งแต่พื้นที่ชั้นในของศูนย์ไฟป่าเชียงราย-144 ไปถึงชาวแดน ทั้งที่ภูชี้ฟ้า อ.เทิง อ.เชียงของ ดอยแม่สลอง อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวงอ.แม่สาย จนไปถึงป่าไม้ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา พบค่า PM 2.5 บางจุดสูงถึง 500-900 มคก./ลบ.ม. มีอัตราเฉลี่ยจากศูนย์ดับไฟป่าประมาณ 27 แห่งตลอดแนวชายแดนพบค่าเฉลี่ย PM 2.5 อยู่ระหว่าง 200-900 มคก./ลบ.ม.

ขณะที่การเผาป่าในประเทศเพื่อนบ้านยังมีต่อเนื่อง ทำให้เจ้าหน้าที่ของไทยต้องเฝ้าระวังตลอดแนวไม่ให้ลุกลามเข้ามาฝั่งไทย แต่ผลกระทบที่ไทยได้รับคือ เกิดฝุ่นปลิวไปทั่วบริเวณ ขณะที่พื้นที่ในประเทศมีไฟป่าลุกไหม้ขึ้นหลายจุด โดยเฉพาะบนดอยปุยและอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก อ.เมืองเชียงราย โดยคืนวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา เกิดไฟไหม้อย่างหนักบนดอยหมู่บ้านแม่สาด ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย โดยลุกไหม้เต็มขุนเขาใกล้หมู่บ้าน ทำให้เจ้าหน้าที่ดับไฟป่าและชาวบ้านเข้าสกัดไฟไม่ให้ลามเข้าที่อยู่อาศัยตลอดทั้งคืน

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ออกประกาศห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดเป็นเวลา 90 วัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 15 เมษายน โดยแจ้งให้หน่วยงานภาคส่วนได้เข้มงวดและหากพบการฝ่าฝืนต้องดำเนินคดี ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีลักลอบเผาในเขตพื้นที่ป่า โทษจำคุก 1 ปี-30 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-3,000,000 บาท

ตามดูแนวทาง 'บิ๊กตู่' กู้สถานการณ์ PM 2.5 ฝ่า Fake News สุดต่ำ!! ที่สังคมก้มหน้ามักเชื่อ

ไม่ทำอะไร เอาแต่สวดมนต์!! ดูจะกลายเป็นวาทกรรมที่ถูกยกมาเชือดเฉือนในโลกโซเชียล ซึ่งเผยแพร่ออกมาทั้งจากปากเกรียนคีย์บอร์ด รวมถึงขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็เคยจับโป๊ะไปแล้วว่าเป็นเรื่องปั่นในช่วงปี 2562

มาในปีนี้ ปี 2566 วาทกรรมน้ำเลว ก็ยังถูกหยิบออกมาใช้คะคานกันในทางการเมืองอีกแบบไม่รู้จบ

วันนี้ THE STATES TIMES จึงตรวจสอบถ้อยคำจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ว่าในปี 2566 นี้ มีถ้อยคำใดหลุดให้ประชาชนไปสวดมนต์ไล่ฝุ่นตาม Fake News ที่ยังหลุดว่อนอยู่บ้าง...

‘บิ๊กตู่’ เตรียมหารือ ‘เลขาธิการอาเซียน’ แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5

เมื่อวานนี้ (30 มี.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงาน่วา ดร.เกา กิม ฮวน (Dr. Kao Kim Hourn) เลขาธิการอาเซียน เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งนายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีในการเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่าด้วยความสามารถและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ ไทยพร้อมสนับสนุนและร่วมมืออย่างเต็มที่ เพื่อความสำเร็จและความเข้มแข็งร่วมกันของประชาคมอาเซียน พร้อมย้ำว่าไทยยังยึดมั่นในระบบพหุภาคีและภูมิภาคนิยม ซึ่งอาเซียนจะเป็นส่วนสำคัญในนโยบายต่างประเทศของไทยต่อไป

ทางด้านเลขาธิการอาเซียน กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรี พร้อมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือภูมิภาคอาเซียนจะเดินหน้าได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็งในอนาคต ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งได้เห็นความก้าวหน้าของอาเซียนในทุกด้าน ขณะเดียวกันภาคีภายนอกก็ให้ความสนใจและต้องการเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างมาก ขอบคุณไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนที่สำคัญ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือและการบูรณาการในภูมิภาคเสมอมา

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการอาเซียน ได้หารือในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน ดังนี้

ไทยยินดีที่อาเซียนยังคงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ท่ามกลางความท้าทายมากมาย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นควรที่จะเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ RCEP นอกจากนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายยังเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลของอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานของอาเซียน รวมทั้งยกระดับเศรษฐกิจของภูมิภาคให้ทันสมัย สอดรับกับบริบทใหม่ของการค้าโลก โดย พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ไทยสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ข้อริเริ่มด้านดิจิทัลของอาเซียน ส่วนเลขาธิการอาเซียน ระบุว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลถือเป็นประเด็นสำคัญที่อาเซียนให้ความสำคัญ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ อาทิ ทางไซเบอร์ เป็นความท้าทายที่อาเซียนควรร่วมกันจัดการ โดยขอให้เลขาธิการอาเซียนหารือเพื่อดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การดำเนินการในภาพรวม ในฐานะภูมิภาคจะทำให้เกิดผลสำเร็จที่เห็นผลลัพธ์อย่างจริงจังได้ ขณะเดียวกัน ยังได้มีการหารือถึงการเพิ่มขีดความสามารถ และการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายที่ส่งผลต่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนอาเซียนในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที โดยเลขาธิการอาเซียนย้ำความพร้อมของสำนักเลขาธิการอาเซียนที่จะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือนี้อย่างเต็มที่ โดยยังได้ขอบคุณและชื่นชมไทยที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ต่างๆ ของอาเซียน

จากนั้น พลเอกประยุทธ์ กล่าวขอบคุณสำนักเลขาธิการอาเซียนที่สนับสนุนการทำหน้าที่ผู้ประสานงานของอาเซียนในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยมาโดยตลอด จนนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมต่างๆ ซึ่งทั้งสองยังเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนวาระความยั่งยืนให้เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอาเซียนต่อไป ส่งเสริมความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความยั่งยืนของภูมิภาค ซึ่งไทยยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากสำนักเลขาธิการอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนในด้านนี้

พร้อมกันนี้ ไทยยินดีที่การจัดทำวิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 มีความคืบหน้าเป็นอย่างดี โดยนายกรัฐมนตรีหวังว่าวิสัยทัศน์ใหม่ของอาเซียนจะมีความครอบคลุม มองไปข้างหน้า และเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อประชาชนในภูมิภาค สร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังเน้นย้ำถึงสถานการณ์หมอกควันข้ามแดนที่เป็นความท้าทายที่รุนแรงของภูมิภาค พร้อมขอรับการสนับสนุนจากเลขาธิการอาเซียนในการผลักดันการแก้ไขปัญหา ขอให้ช่วยประสาน หารือ หรือสนับสนุนการจัดการประชุมจัดอย่างเร่งด่วนกับประเทศสมาชิกเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะการลดจำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ให้ได้โดยเร็ว เพราะส่งผลไม่ใช่แค่ไทย แต่รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย ทั้งทางสุขภาพและการท่องเที่ยว ซึ่งเลขาธิการอาเซียนเห็นด้วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่งอาเซียนมีกลไก (Mechanism) ที่จะช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือ และพร้อมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

‘อบจ.เชียงใหม่’ ยกมือหนุน ‘หยุดเผาเรารับซื้อ’  จุดเริ่มต้น สู่การแก้ปัญหา PM2.5 อย่างยั่งยืน

ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถทำให้สำเร็จด้วยคน ๆ เดียว ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจเท่านั้นที่จะนำพาให้งานลุล่วง เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาหมอกควัน และฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ต้องอาศัยทุกภาคส่วนช่วยแก้ปัญหา ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่

นั่นเพราะที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการระดมสรรพกำลังจากทางภาครัฐเข้าไปแก้ปัญหา แต่ทว่าฝุ่นพิษก็ยังปกคลุมพื้นที่เชียงใหม่ทุกปีในช่วงหน้าแล้ง

อย่างไรก็ดี การที่มีภาคีเครือข่ายรัฐและเอกชน 50 องค์กร ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการ ‘หยุดเผาเรารับซื้อ’ ด้วยการเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล โดยการเปลี่ยนซังข้าวโพดและเศษใบไม้ให้เป็นพลังงาน เป็นอีกหนึ่งแนวทางและเป็นความหวังที่ช่วยลดปัญหาหมอกควันได้อย่างยั่งยืน

นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (อบจ.เชียงใหม่) กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างใหญ่ โดยมีทั้งหมด 24 อำเภอที่ติดผืนป่า เพราะฉะนั้นจึงเกิดปัญหาไฟป่าทุกปี และทางอบจ. ได้จัดสรรงบประมาณในการดูแลจัดการปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง ในปี 2564 จำนวน 13 ล้านบาท ปี 2565  จำนวน 13 ล้านบาท และในปี 2566 อีกประมาณ 10 ล้านบาท  โดยให้แต่ละหมู่บ้านมาบูรณาการทำงานร่วมกัน ตั้งเป็น ‘สภาลมหายใจ จังหวัดเชียงใหม่’ เพื่อช่วยกันดูแลและแก้ปัญหา รวมถึงระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า โดยเฉพาะในหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดกับป่า ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

“ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เป็นปัญหาระดับชาติ ที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน อาศัยเพียงหน่วยงานในจังหวัดคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และเป็นที่น่ายินดีว่า ขณะนี้ได้เกิดการผสานความร่วมมือ เพื่อทำโครงการหยุดเผาเรารับซื้อ ด้วยการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล จากซังข้าวโพดและเศษใบไม้ ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เชื่อว่า จะช่วยลดปัญหาการเผาของเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน และหากสามารถสร้างแรงจูงใจด้วยการกระจายจุดรับซื้ออย่างทั่วถึงและราคาที่เกษตรกรมองว่าคุ้มค่า จะช่วยให้การแก้ปัญหาเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น

‘อนุทิน’ เข้ม!! สั่งทุกจังหวัดบังคับใช้ กม.คุมแหล่งก่อมลพิษ หนุนเร่งพีอาร์เชิงรุกสร้างความร่วมมือ ปชช.แก้ปัญหา PM 2.5 

(6 ธ.ค. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ มอบนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดำเนินการสำหรับป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 66-67

ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้งของทุกปี ประเทศไทยจะเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐานในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากโดยธรรมชาติ สภาพอากาศและภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเกิดสถานการณ์และกิจกรรมของมนุษย์ จนเกิดการสะสมของฝุ่นละอองในปริมาณสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน

ทั้งนี้ ตามข้อสั่งการ รมว.มหาดไทย ได้ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสนับสนุนการสั่งดำเนินการ ตลอดจนแจ้งเตือนแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยให้ฝ่ายปฏิบัติการให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่แหล่งกำเนิด กำชับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ให้บังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ส่วนกรณีการเผาในพื้นที่การเกษตร ให้อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ ตลอดจนใช้กลไกอาสาสมัครร่วมรณรงค์งดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการกำจัดหรือใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ไปสู่การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มแทน เช่น การไถกลบตอ ซัง การใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวต่อว่า นายอนุทินได้กำชับให้กองอำนวยการ ปภ.จังหวัด ทบทวนและจัดทำแผนเผชิญเหตุในกรณีต่างๆ ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน อาทิ พื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่ป่า พื้นที่การเกษตร พื้นที่ริมทาง และพื้นที่ชุมชน/เมือง ตลอดจนข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยง ข้อมูลทรัพยากร เครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมกับมีแนวทางปฏิบัติแต่การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แต่ละระดับอย่างชัดเจน ตลอดจนประสานการปฏิบัติร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งชุดเฝ้าระวังระดับพื้นที่ สนับสนุนการลาดตระเวนเฝ้าระวัง ป้องปรามการลักลอบเผาในเขตพื้นที่ป่า เขตพื้นที่การเกษตร

ทั้งนี้ เมื่อเกิดสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า หมอกควัน หรือระดับปริมาณฝุ่น PM2.5 แนวโน้มสูงเกินค่ามาตรฐาน ให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยกระดับการปฏิบัติตามมาตรการ บังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นอย่างเข้มงวด กรณีที่เกิดไฟป่าให้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะชำนาญ ประกอบกำลังเป็นชุดปฏิบัติการพร้อมอุปกรณ์เข้าระงับเหตุการณ์โดยเร็ว

“ท่าน มท.1 ห่วงใยผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงอันตราย จึงเน้นย้ำให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครที่เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐ จัดอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่มีความเหมาะสม กรณีการเกิดไฟป่าที่กำลังภาคพื้นที่เข้าถึงยาก ให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่มีอากาศยานเข้าสนับสนุน และให้ดูแลด้านสวัสดิการและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบด้วย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายอนุทินยังได้เน้นย้ำให้มีการสื่อสารเชิงรุกผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสาเหตุการเกิดฝุ่นละออง ที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการลดปัญหา ได้เข้าใจต่อสถานการณ์ มาตรการข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืน ส่วนการดูแลสุขภาพประชาชนให้หน่วยงานด้านสาธารณสุข ให้ดำเนินการให้ข้อมูลการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นการมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ข้อมูล หรือการให้ความรู้ผ่านช่องต่างๆ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดพื้นที่และระบบบริการประชาชนในพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) หรือห้องปลอดฝุ่น เพื่อดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพในกรณีจำเป็นต่อไป

‘52 จังหวัด’ อ่วม!! ค่าฝุ่นพิษ PM 2.5 เกินมาตรฐาน วอนปชช.เฝ้าระวังสุขภาพ ใส่แมสก์ป้องกันอย่างมิดชิด

(11 ธ.ค.66) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า-GISTDA รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชัน ‘เช็คฝุ่น’ พบ 52 จังหวัดของประเทศไทย มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) ที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง อาทิ สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย และมหาสารคาม ที่มีค่าคุณภาพอากาศระดับสีแดง

ในขณะที่กรุงเทพมหานคร พบค่าฝุ่น PM2.5 ระดับสีแดงสูงสุดเพียง 1 เขต คือที่เขตหนองแขม 82.3 ไมโครกรัม ส่วนพื้นที่เขตอื่นอยู่ระดับสีส้ม ซึ่งยังเกินมาตรฐานกว่า 40 เขต

ขณะเดียวกัน กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ฝุ่นเช้านี้เช่นกัน โดยระบุว่า

ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 27.3-65.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 71 พื้นที่ ได้แก่

1.แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 49.4 มคก./ลบ.ม.
2.ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 50.5 มคก./ลบ.ม.
3.แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.7 มคก./ลบ.ม.
4.แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
5.ช่องนนทรี เขตยานาวา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
6.ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
7.ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
8.ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 42.2 มคก./ลบ.ม.
9.ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.8 มคก./ลบ.ม.
10.แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 56.6 มคก./ลบ.ม.
11.เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.3 มคก./ลบ.ม.
12.เขตจอมทอง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.4 มคก./ลบ.ม.
13.ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 49.7 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางแค กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
15.ริมถนนพระราม 2 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.4 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
17.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
18.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.7 มคก./ลบ.ม.
19.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.2มคก./ลบ.ม.
20.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.4มคก./ลบ.ม.

21.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.
22.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.4 มคก./ลบ.ม.
23.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.
24.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 52.4 มคก./ลบ.ม.
25.สวนหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
26.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.
27.ริมถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 41.1 มคก./ลบ.ม.
28.ริมถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 42.2 มคก./ลบ.ม.
29.ริมถนนราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.2 มคก./ลบ.ม.
30.ริมถนนพระราม 5 เขตดุสิต กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.5 มคก./ลบ.ม.
31.ริมถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.6 มคก./ลบ.ม.
32.ริมถนนตรีมิตร วงเวียนโอเดียน์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.5 มคก./ลบ.ม.
33.ริมถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
34.ริมถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 95 เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 54.2 มคก./ลบ.ม.
35.ริมถนนพระรามที่ 4 หน้าสามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.
36.ริมถนนนราธิวาส เขตบางรัก กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 54.2 มคก./ลบ.ม.
37.แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 49.1 มคก./ลบ.ม.
38.ริมถนนซอยสุขุมวิท 63 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.
39.ริมถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 52.4 มคก./ลบ.ม.
40.ริมถนนบางนา-ตราด เขตบางนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 55.3 มคก./ลบ.ม.

41.ริมถนนพหลโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
42.เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.
43.ริมถนนสุขาภิบาล5 เขตสายไหม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
44.แยกสวนสยาม-รามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.4 มคก./ลบ.ม.
45.ริมถนนลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.9 มคก./ลบ.ม.
46.ริมถนนสีหบุรานุกิจ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.
47.ริมถนนเลียบวารี เขตหนองจอก กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.3 มคก./ลบ.ม.
48.ริมถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 54.6 มคก./ลบ.ม.
49.ริมถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.5 มคก./ลบ.ม.
50.ริมถนนเจริญนคร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.9 มคก./ลบ.ม.

51.ริมถนนแยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.5 มคก./ลบ.ม.
52.ริมถนนซอยนิคมบ้านพักรถไฟธนบุรี 5 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 57.7
53.ริมถนนพุทธมณฑล 1 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 50.0 มคก./ลบ.ม.
54.ริมถนนคลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 59.1 มคก./ลบ.ม.
55.ริมถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.1 มคก./ลบ.ม.
56.ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 เขตหนองแขม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 59.3 มคก./ลบ.ม.
57.ริมถนนเอกชัย เขตบางบอน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 50.7 มคก./ลบ.ม.
58.ริมถนนประชาอุทิศ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.
59.ริมถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
60.แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.

61.แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
62.แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
63.ริมถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.9 มคก./ลบ.ม.
64.เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.
65.ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี : มีค่าเท่ากับ 55.9 มคก./ลบ.ม.
66.ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี : มีค่าเท่ากับ 55.9 มคก./ลบ.ม.
67.ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี : มีค่าเท่ากับ 48.5 มคก./ลบ.ม.
68.ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ : มีค่าเท่ากับ 56.2 มคก./ลบ.ม.
69.ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ : มีค่าเท่ากับ 65.9 มคก./ลบ.ม.
70.ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร : มีค่าเท่ากับ 56.4 มคก./ลบ.ม.
71.ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top