Saturday, 27 April 2024
นายก

“นายก” รับมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร ม.ค. - ส.ค. 64 ขยายตัว 11.58% 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พอใจมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 11.58%  ตั้งแต่เดือนม.ค. - ส.ค.2564 ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัว 1.2% โดยสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์สำคัญของประเทศไทยที่มีมูลค่าการส่งออกปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 103,958 ล้านบาท มังคุดและผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 16,705 ล้านบาท ยางแท่ง มูลค่าการส่งออก 54,752 ล้านบาท น้ำยางข้น มูลค่าการส่งออก 32,172 ล้านบาท ยางแผ่นรมควัน มูลค่าการส่งออก 22,729 ล้านบาท มันเส้น มูลค่าการส่งออก 28,696 ล้านบาท แป้งมันสำปะหลัง มูลค่าการส่งออก 33,259 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมมีการขยายตัวได้ดี 

รวมถึงการมีตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าเจรจาขยายช่องทางการค้าเพิ่มเติมผ่านการเจรจาการค้าเสรี อาทิ FTA อาเซียน-จีน รวมทั้งภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ตะวันออกกลาง เป็นต้น

 “นายกฯ” เพิ่มจุดแข็งสินค้าเกษตรส่งออก- อาหารถิ่น ใช้นวัตกรรมฉายรังสี เพื่อ มาตรฐาน-ความปลอดภัยในการบริโภค

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า จากตัวเลขการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความเชื่อมั่นในมูลค่าการส่งออกปีหน้าว่าจะยังคงขยายตัวต่ออีกแน่นอน ด้วยยุทธศาสตร์การตลาดนำการผลิต ที่กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกลไกหลักในการดำเนินการร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับภาคการผลิต มากไปกว่านั้น 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกฯยังได้ติดตามการขับเคลื่อนการนำนวัตกรรมฉายรังสีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์เกษตร ซึ่งขณะนี้มีจำนวนผู้ประกอบการให้ความสนใจจำนวนมากขึ้นนำสินค้าผลไม้ อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง สมุนไพร อาหารสุนัข มารับการฉายรังสี เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย (ฆ่าเชื้อโรค พยาธิ แมลง)ในตัวสินค้าแล้ว ยังช่วยยืดเวลาในการเก็บรักษา เช่น ผลไม้บางอย่าง จากปกติ มีอายุแค่3-6 วัน ก็ขยายได้เป็น 1 เดือน หรืออาหารแปรรูป ก็ขยายได้อีก 1 ถึง 2 ปี จึงเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกอย่างมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ให้การยอมรับว่าอาหารฉายรังสีมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค

น.ส.รัชดา กล่าวว่า เพื่อต่อยอดการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาลได้ขยายการส่งเสริมไปยังกลุ่มผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์ มีมาตรฐานความปลอดภัย และยืดอายุการเก็บรักษา เป็นการเพิ่มโอกาสการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ภาคกลาง จัดกิจกรรม Product Champion  เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหารสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น อาทิ ปลาร้า ปลาเค็ม ปูเค็ม กบแดดเดียว กะปิ ผัดไทย แกงส้ม กล้วยตาก ผลไม้ดอง เป็นต้น

อย่างน้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง เมื่อเชื้อโรคและสารปนเปื้อนในน้ำพริกได้ถูกจัดการผ่านการฉายรังสี จะมีอายุการเก็บรักษาได้นานออกไปอีก 1-2 ปี หรือปลาวงอบแห้งฉายรังสี สามารถยืดอายุการเก็บรักษาเพิ่มได้เป็น 12 - 18 เดือน สำหรับปี 2565  สทน. มีแผนขยายโครงการไปยังพื้นที่ภาคใต้ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏในท้องถิ่นเช่นเดียวกับพื้นที่ภาคกลาง และยังมีแผนการดำเนินงานที่ขยายต่อไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ เพื่อพัฒนาอาหารพื้นถิ่นให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยทั่วทั้งประเทศ  

'นายก ฯ' เสริมแกร่ง Soft Powerไทย   ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการแข่งขัน e-Sport เติมสิทธิประโยชน์ให้กองถ่ายต่างประเทศที่เข้าถ่ายทำในประเทศไทย สร้างรายได้แล้วกว่า 3.4 พันล้านบาท

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  มุ่งส่งเสริมการใช้ “Soft power” ส่งออกวัฒนธรรมไทยผ่านการออกแบบ ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ กีฬา ซอฟแวร์ และดนตรี เพื่อส่งเสริมความเป็นไทย สินค้าแบรนด์ไทย ท่องเที่ยวไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศและสร้างความสามารถในการแข่งขันในอนาคต  โดยตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จ คือโครงการนำร่องการแข่งขันกีฬาเจ็ตสกี ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ขับเคลื่อนจนยกระดับเป็นการแข่งขันทัวร์นาเม้นท์เจ็ตสกีอันดับที่ 1 ของโลก WPG#1 World Series เป็นลิขสิทธ์แบรนด์ไทย เติบโตครอบคลุมทั้งทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา

โดยในปี 2019 ได้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความสวยงามของประเทศไทย สู่เครือข่ายแฟนกีฬานับพันล้านคน 54 ชาติ 20 ภาษา มีนักกีฬาและทีมนานาชาติเข้าร่วมจำนวนกว่า 3,000 คน และสร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจได้กว่า 700 ล้านบาท ส่วนแผนกลยุทธ์สำหรับการเดินหน้าต่อคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้มากกว่า 4,000 ล้านบาท  เพราะจะมีการต่อยอดด้วยการสร้างทัวร์นาเมนต์อื่นๆในประเทศ การขับเคลื่อนกีฬาและธุรกิจ และการขยายอุตสาหกรรมกีฬาแบรนด์ไทย

ล่าสุด นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกันผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรม e-sports ของไทยอย่างเต็มที่ ตั้งเป้าให้เป็นสถานที่แข่งขันในระดับโลก ซึ่งขณะนี้กีฬา e-sport ถือเป็นกีฬาอาชีพอย่างเป็นทางการแล้ว และเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ของประเทศไทยด้วย โดยนอกจากการจัดแข่งกีฬาอีสปอร์ตแล้ว การสนับสนุนต้องให้ครอบคลุมการส่งเสริมพัฒนาสมาคมกีฬาและนักกีฬาe-sport  และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมด้วย

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยถึงมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำ โดยรัฐบาลกำหนดให้หากมีการถ่ายทำและใช้จ่ายในประเทศไทย 50 ล้านบาทขึ้นไป จะได้สิทธิประโยชน์เงินคืน 15 % บวกสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเลือกรวมได้ไม่เกินอีก 5%  ได้แก่ 1) การจ้างบุคคลากรหลักของไทย (Key Personnel) เป็นคณะทำงานในการถ่ายทำภาพยนต์ (+3%) 2) ส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมหรือภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย (+2%) 3) ถ่ายทำภาพยนตร์ในจังหวัดเมืองรอง (+3%) 4)  ถ่ายทำในประเทศไทยก่อน 31 ธ.ค. 65 และใช้จ่ายในประเทศไทย 100 ล้านบาทขึ้นไป (+5% )  

“นายกฯ”กำชับ ดูแลชาวนา บรรเทาราคาข้าวตกต่ำ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ไม่ได้นิ่งนอนใจ ต่อกรณีที่ชาวนาร้องเรียนราคาข้าวตกต่ำจนถูกกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และกำชับกระทรวงพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบทั้งโควิด-19 น้ำท่วม ราคาข้าวตกต่ำ จึงต้องหาทางบรรเทาความเดือดร้อนโดยเร็ว ขณะนี้ธ.ก.ส. แจ้งว่าระบบจะโอนเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการประกันรายได้ งวดแรกในวันที่ 9 พ.ย.นี้ 

นายธนกร กล่าวถึงราคาข้าวที่ลดต่ำลงในช่วงนี้ ว่า มาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น การส่งออกข้าวไปต่างประเทศ การบริโภคในประเทศที่ลดลง ปริมาณฝนตกชุก ปัญหาน้ำท่วมส่งผลต่อคุณภาพข้าว โดยกระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศมีมากขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง และค่าเงินบาทอ่อนตัวลง จึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยและคาดว่าปีนี้ จะส่งออกได้ราว 6 ล้านตันตามที่ตั้งเป้าไว้ ขณะที่ความต้องการบริโภคในประเทศมีสัญญานดีขึ้น และสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย มาตรการที่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปแก้ไขปัญหาจะช่วยให้ราคาข้าวเปลือกในตลาดดีขึ้นเป็นลำดับ

“นายกฯวอนทุกฝ่ายร่วมมือ ปฏิบัติตามมาตรการ สธ.หลัง ศบค.หวั่น เกิดคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อรายใหม่

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามสื่อมวลชนตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม มอบหมาย ถึงกรณี - ศบค.ห่วงเกิดคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อใหม่ อีกทั้งประชาชนบางส่วนเริ่มหละหลวมกับมาตรการป้องกัน ว่า เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่าทุกคนจะต้องไม่ล่ะหลวมในการดำเนินตามมาตรการของกระทรวงสาธารณะสุข ทั้งภาคธุรกิจหรือธุรกิจบันเทิงจะต้องไม่เห็นแก่ตัว

'นายกฯ' หารือ หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM) ตัวแทนภาคเอกชนขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญ ย้ำความพร้อมในการสนับสนุนร่วมมือนายกฯ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 

ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (American Chamber of Commerce in Thailand: AMCHAM) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักธุรกิจบริษัทสมาชิก เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้  
 
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับ พร้อมขอบคุณ AMCHAM และภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่เป็นพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของไทยเสมอมา โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายกรัฐมนตรียืนยัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการหารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย นำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 ในรูปแบบ Next Normal และการส่งเสริมความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ทั่วถึง และยั่งยืน ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ การค้า และการลงทุน พร้อมขอให้ภาคเอกชนสหรัฐฯ ร่วมมือกับรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไป 

นาย Gregory Wong ประธาน AMCHAM กล่าวว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมการหารือครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกและนับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ได้พบปะกับหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีตัวแทนสมาชิกที่ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้กว่า 400 คน โอกาสนี้ ประธาน AMCHAM เน้นย้ำว่า ภาคเอกชนสหรัฐฯ เชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลก พร้อมทั้งชื่นชมรัฐบาลไทยที่ได้รับคะแนนดีเยี่ยมจากภาคธุรกิจสหรัฐฯ ในเรื่องของการเปิดกว้างและการปรับตัว การประชุมในวันนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเปิดรับและยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ประธาน AMCHAM แสดงความประทับใจต่อแผนการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเต็มที่ในทุกประเด็น รวมถึงพร้อมสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพ APEC ของไทย โดยขอให้ไทยมอง AMCHAM เป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ซึ่งพร้อมสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพของไทยอย่างดีเยี่ยม
 
โอกาสนี้ ตัวแทนจากบริษัท 3 ประเภทหลัก ได้แก่ บริษัทข้ามชาติ บริษัทสัญชาติไทยขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ลดอุปสรรคในการลงทุน โดยภาคเอกชนสหรัฐฯ พร้อมให้การสนับสนุนและกระชับความร่วมมือกับรัฐบาลไทยเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยกัน ทั้งนี้ตัวแทนจากบริษัทฯ ประทับใจนโยบายสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของรัฐบาลไทย 

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงแนวนโยบายของไทย โดยกล่าวถึงสถานการณ์โควิด - 19 ในประเทศว่ามีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความสำเร็จในการเร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชน นอกจากนี้ ไทยยังเป็นฐานการผลิตวัคซีน AstraZeneca ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านวัคซีนให้แก่ไทยและภูมิภาค ซึ่งไทยพร้อมสานต่อความร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ ด้านการวิจัย พัฒนา ผลิต และกระจายวัคซีนที่มีคุณภาพและปลอดภัย ทั้งนี้ ไทยได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง และมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการเปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้มีความสมดุลระหว่างการป้องกันโรคกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามนโยบาย Smart Control and Living with COVID-19 รวมถึงมีการเยียวยาเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  
 
โดยรัฐบาลให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน และช่วยเสริมสร้างการดําเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ของไทยในการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่และเกิดผลเป็นรูปธรรม ที่เมืองกลาสโกว ตลอดจน ไทยส่งเสริมการพัฒนาและสนับสนุนการขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านนโยบายพลังงาน 4D1E และมุ่งพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (electric vehicles: EV) ผ่านนโยบาย 30@30 ซึ่งไทยพร้อมสนับสนุนการลงทุนจากภาคเอกชนสหรัฐฯ ทั้งในด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน อุตสาหกรรม EV และชิ้นส่วนระบบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยินดีร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างห่วงโซ่ อุปทานที่ยืดหยุ่น หลากหลาย และมั่นคงในภูมิภาค โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนในเขต EEC ซึ่งภาคเอกชนสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของไทยเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคตามนโยบาย Thailand+1 
 
นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจในอนาคตและขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ตามกรอบ Digital Thailand และนโยบาย Thailand 4.0 โดยมีโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว เช่น การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม การส่งเสริม e-commerce การส่งเสริมการลงทุนด้านดิจิทัล การส่งเสริมธุรกิจ digital startup การบริหารการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และการพัฒนากฎหมาย เพื่อรองรับการดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนสหรัฐฯ พิจารณาเพิ่มพูนการลงทุนและยกระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะในเขตนวัตกรรม EECd  
 
อย่างไรก็ดี รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเชิงรุกเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยมีความคืบหน้าสำคัญ ดังนี้ 1. การทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน 2. การพัฒนาการให้บริการของภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 3. การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเข้าถึงและขยายช่องทางการตลาดทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการขับเคลื่อนงานบริการของภาครัฐแก่ประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 12 ประการ และมาตรการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ผ่านการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยในลักษณะผู้พำนักระยะยาว 
 

‘เต้ชมตู่’ ไอเดีย ‘เลี้ยงไก่’ เจ๋งกว่า ‘ปลูกผักชี’ พร้อมชวน ‘เลี้ยง-ชนไก่’ ดูซิใครจะชนะ

(16 ธ.ค. 64) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายกรัฐมนตรี เสนอให้ประชาชนเลี้ยงไก่ บ้านละ 2 ตัว เพื่อเก็บไข่กินลดค่าครองชีพ ว่า... 

เป็นความคิดที่ดีกว่าเดิม ดีกว่าตอนให้ทหารไปปลูกผักชี โดยมองว่านายกรัฐมนตรีคงไปศึกษาอะไรมามากขึ้น เพราะตอนเด็กๆ ตนก็เคยเลี้ยงไก่ ไว้กินไข่ แต่ต้องใช้เวลา ถึง 3 เดือน ไม่ใช่เลี้ยงแล้วได้กินเลย

ดังนั้นความคิดนายกฯ ถือว่าดีแต่ก็ยังดีไม่มาก เพราะคงไม่ทัน เนื่องจากขณะนี้ราคาไข่ไก่แพงแล้ว และต้องเลี้ยงอีกกี่ตัว ถึงจะสามารถลดค่าครองชีพได้ และต้องคิดด้วยว่าช่วง 3 เดือนที่รอไก่ออกไข่ ประชาชนจะทำอย่างไร ทางที่ดีนายกรัฐมนตรี ควรเอาเวลาไปลดภาษีน้ำมัน หรือ ลดค่าอาหารไก่ หรือไม่ก็ใช้ที่ดินบ้านนายกรัฐมนตรี ที่มีหลายไร่ไปเลี้ยงไก่ให้ประชาชน 

'บิ๊กตู่' ก.ทส. เร่งแก้ปัญหาชาวบ้าน ไทยสามัคคี-วังน้ำเขียว ปม ที่ดินทับซ้อนพื้นที่อุทยานฯทับลาน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งแก้ปัญหาชาวบ้านตำบลไทยสามัคคีและตำบลวังน้ำเขียว รวมกว่า 400 ราย ถูกฟ้องเป็นจำเลย กรณีบุกรุกเขตป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน จากปัญหาข้อพิพาทที่ดินทับซ้อนพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่ยังไม่ได้ข้อยุติ

ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมารับทราบคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินและมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะกรณีปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความคืบหน้าและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น

นายธนากร กล่าวว่า พร้อมให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งรัดการดำเนินการสำรวจการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติให้แล้วเสร็จครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน รวมทั้งเร่งรัดการจัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ให้แล้วเสร็จ และให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งกำกับติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลที่ดินของรัฐแต่ละประเภทตรวจสอบเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐให้ถูกต้อง ตรงกัน และเป็นที่ยุติ แล้วดำเนินการต่อไป

“บิ๊กตู่” ต้อนรับ “รมว.กห.เกาหลี” เข้าเยี่ยมคำนับ ย้ำความสัมพันธ์แนบแน่นและผลักดันความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี  และรมว.กลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Suh, Wook ( ซอ อุก ) รมว.กลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี ( กล.ต.) และคณะ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของกลาโหม ระหว่าง 19 - 21 ธ.ค. 64 

โดยกระทรวงกลาโหม จัดได้กองทหารเกียรติยศผสมสามเหล่าทัพ ให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ  หลังจากนั้น  รมว.กลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี ( กล.ต.) ได้เข้าเยี่ยมคำนับ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ณ ห้องรับรอง 

โดย พล.อ.ประยุทธ์’ ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีกับ นาย ซอ อุก ที่เข้ารับตำแหน่ง ทั้งสองฝ่ายได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมายาวนาน ซึ่งได้ครบความสัมพันธ์ทางการทูต 63 ปีในปีนี้  โดยมีความร่วมมือที่ใกล้ชิด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะความร่วมมือทางทหารที่แนบแน่น และความเชื่อมโยงในภูมิภาคตามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน  

นาย ซอ อุก ได้กล่าว ชื่นชมรัฐบาลในการรับมือและแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างดีที่ผ่านมา ขอบคุณไทยที่สนับสนุนฉีดวัคซีนให้กันคนเกาหลีในไทย และสนับสนุนเกาหลีให้ผ่านความยากลำบากจากสงครามที่ผ่านมา พร้อมทั้งขอบคุณ กห.ที่ผลักดันการหารือยกระดับความร่วมมือเกาหลีและอาเซียนให้เป็นรูปธรรม ในเวทีการประชุม รมว.กห.อาเซียน ทั้งการแสวงหาสันติสุขในคาบสมุทรเกาหลี ความร่วมมือด้านไซเบอร์และเทคโนโลยี และหวังว่าจะได้พบปะพูดคุยระหว่างกันในเวทีระดับต่างๆใกล้ชิดมากขึ้นเมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้น เพื่อร่วมกันผลักดันขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผย 'นายกฯ' เตือนคนไทยอย่าชะล่าใจในช่วงวันหยุดยาวช่วงเทศกาลปีใหม่  ขอให้เคร่งมาตรการ COVID Free Setting พร้อมเตรียมนำแนวทางสกัดโอมิครอน หารือที่ประชุม ศบค. ใน ครั้งต่อไป

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงเรื่องความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนที่พบมากขึ้น แนะให้ประชาชนป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด อย่าชะล่าใจในช่วงวันหยุดยาวช่วงเทศกาลปีใหม่ อาจพบการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น ขอให้เคร่งมาตรการ COVID Free Setting แนะประชาชนรับวัคซีนให้ครบโดส หลีกเลี่ยงงานปาร์ตี้ร่วมกัน เพราะจะทำให้เสี่ยงการติดเชื้อมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยเรามีมาตรการรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศหลายมาตรการด้วยกันทั้งการเปิดเงื่อนไข Test & Go มาตรการ   Quarantine  มาตรการ Sandbox ที่นำร่องไปแล้วนั้น  แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนแล้วใน 89 ประเทศ รวมทั้งไทย  หลายประเทศได้มีการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพิ่มขึ้น เช่น การชะลอการเดินทางในผู้ที่มาจากต่างประเทศ การล็อคดาวน์ในบางธุรกิจเพื่อลดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่  นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งจัดทำข้อเสนอรูปแบบผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ หารือในที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 เพื่อเสนอต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 หรือ ศบค. ครั้งต่อไป คาดว่าจะมีการประชุมในเร็วๆ วันนี้ 

สำหรับประเทศไทยวันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 2,476 ราย  จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 2,358 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 41 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 47 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 30 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,167,666 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 3,649 ราย หายป่วยสะสม 2,108,771 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 38,892 ราย เสียชีวิต 32 ราย ขณะที่ผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจากผลตรวจ ATK อีก 264 ราย อาการหนักใช้ท่อช่วยหายใจ 237 ราย อาการหนัก 880 ราย จากการเฝ้าระวังในผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศผ่านท่าอากาศยานต่าง ๆ ในเดือนพฤศจิกายน มีผู้เดินทางเข้ามา 133,061 คน เป็นรูปแบบ Test & Go มากที่สุด 106,211 คน เดือนธันวาคม มีผู้เดินทาง 160,445 คน เป็น Test & Go 138,181 คน Sandbox 18,449 คน และ Quarantine 3,815 คน โดยทุกคนที่ตรวจพบการติดเชื้อจะมีส่งตรวจหาสายพันธุ์ที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์และรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในเดือนธันวาคม พบผู้ติดเชื้อแล้ว 348 ราย จากระบบ Test & Go มากที่สุด 204 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อที่เดินทางเข้าประเทศ  


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top