Sunday, 5 May 2024
การเงิน

‘แก้หนี้ครัวเรือน’ ได้! หากปลูกฝังวินัยการเงินจริงหรือ?! | Click on Clear THE TOPIC EP.128

📌 คุยเรื่อง ‘หนี้ครัวเรือน’ ภาระใหญ่ ที่คนไทยต้องแบก !! ไปกับ 'ดร.พีรภัทร  ฝอยทอง' ที่ปรึกษากฎหมายและที่ปรึกษาทางการเงิน!

📌ใน Topic​ :  ‘แก้หนี้ครัวเรือน’ ได้! หากปลูกฝังวินัยการเงินจริงหรือ?!

จับประเด็น เน้นความรู้ในรายการ Click on Clear THE TOPIC

🕗เวลา 2 ทุ่มตรง รับชมไปพร้อมกัน !!

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

คณะกรรมาธิการยุโรป กล่าว!! จีนแสดงให้โลกเห็น 'ประชาธิปไตย' ไม่ใช่กุญแจสำหรับการเติบโต

กลายเป็นข่าวเด่นในแวดวงเศรษฐกิจโลกกันขึ้นมาเลยทีเดียว หลังจากล่าสุด 1 ในคณะกรรมาธิการทางด้านเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปอย่าง Paolo Gentiloni เริ่มส่อแววแปรพักตร์ไปหาจีน 

โดยเขาได้กล่าวว่าตอนนี้ 'จีน' แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า "ประชาธิปไตย" นั้นไม่ใช่กุญแจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ?? ซึ่งคำพูดนี้ถือเป็นการหักหน้าสหรัฐฯ อย่างไม่ต้องถามหมอกันเลยทีเดียว !

Paolo Gentiloni กล่าวในงานที่สถาบันปีเตอร์สันในวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า...

“การเติบโตของจีนแสดงให้เห็นแล้วว่าประชาธิปไตยนั้นไม่จำเป็นต่อการบรรลุความสำเร็จทางเศรษฐกิจเลย และนั่นคือการเปลี่ยนแปลงวิถีที่เราได้เห็นและมีการหารือกันกับอีกหลายประเทศ ผมคิดว่าภาพลวงตาแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ผ่านด้านการค้า การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ส่วนบุคคล กำลังจางหายไป”

(China’s growth shows that democracy is not necessary to achieve economic success and that is changing the way we see and interact with such countries, I think the illusion of changing an autocratic regime through trade, cultural exchanges, personal relations, is fading,)

'อินเดีย-รัสเซีย' ไม่สนใจ 'ดอลลาร์' เน้นใช้ 'รูปี-รูเบิล' ค้าขายระหว่างกัน

‘รัสเซีย’ และ ‘อินเดีย’ คงไม่จำเป็นต้องพึ่งดอลลาร์อีกต่อไป หลังจากทั้ง 2 ฝ่าย กำลังหันไปใช้สกุลเงินของแต่ละชาติในค้าขายระหว่างกัน 

เปอร์นิมา อานันท์ (Purnima Anand) ประธานฟอรัมนานาชาติของกลุ่ม BRICS ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวอาร์ทีนิวส์ เมื่อวันที่ 25 ส.ค.65 ระบุว่า...

“เราประสบความสำเร็จในการจัดตั้งกลไกการชำระเงินร่วมใน ‘สกุลเงินรูเบิล’ และ ‘รูปี’ โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์ในการชำระเงินกันและกัน ขณะเดียวกันในวันนี้กลไกการของชำระเงินร่วมในรูปแบบรูเบิลและหยวน ก็กำลังริเริ่มขึ้นโดยจีน” เธอกล่าวและว่า “นั่นหมายความว่าประเทศต่างๆ ในกลุ่ม BRICS เปิดกว้างแก่รัสเซีย มอบโอกาสให้ประเทศแห่งนี้ ได้ก้าวผ่านผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตร”

ประธานฟอรัมนานาชาติ BRICS บอกอีกว่า การค้าร่วมระหว่างอินเดียและรัสเซียเติบโตขึ้น 5 เท่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมอสโก ป้อนอุปทานการผลิตน้ำมันแก่อินเดียในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร, สิ่งทอ ยาและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในปริมาณมาก เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

อานันท์ เน้นด้วยว่า นิวเดลีมองตนเองในฐานะ ‘เป็นกลาง’ ภายใต้สงครามมาตรการคว่ำบาตรในปัจจุบันระหว่างตะวันตกกับรัสเซีย และแม้ต้องเผชิญแรงกดดันให้คว่ำบาตรมอสโก แต่ อินเดีย ก็ยังคงสานต่อความร่วมมือในทุกขอบเขตที่จำเป็น

รัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดหลังทำงานได้ 38 วัน เหตุออกนโยบายเศรษฐกิจที่ประชาชนไม่ยอมรับ

เมื่อวานมีประเด็นร้อนในสหราชอาณาจักร เมื่อรัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดออก หลังจากทำงานได้ เพียง 38 วันเท่านั้น!!

ส่วนชนวนเหตุสำคัญ คือ การออกนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับ

อย่างไรงั้นหรือครับ?

ปัญหา คือ นโยบายนี้เป็นนโยบายที่นายกรัฐมนตรีมีส่วนร่วม 100% ในการคิดและนำเสนอ 

ดังนั้นการปลดรัฐมนตรีคลัง อาจไม่พอ!! ในการปกป้องตำแหน่งตนเอง เพราะตลาดเงินไม่ได้ไม่พอใจตัวบุคคล แต่ไม่พอใจนโยบาย และถึงแม้นายกฯ อังกฤษ จะได้เพิ่งประกาศกลับลำนโยบายบางส่วน ก็อาจจะไม่ช่วยให้เธออยู่ต่อได้ 

‘บิ๊กตู่’ เผย สถานะการเงินประเทศไปในทิศทางบวก ยัน!! ได้รับความเชื่อมั่น-ยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก

นายกรัฐมนตรี สถานะการเงิน การคลังประเทศดี โวได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แม้ มีคนลำบากอยู่บ้าง แต่รัฐบาลจะหามาตรการที่เหมาะสมดูแล บอกปีหน้าค่าไฟแพงขึ้นจากต้นทุนการผลิต

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ถึงสถานการณ์การเงินการคลังภายในประเทศ ว่า ดี ได้รับความเชื่อมั่นและเชื่อถือจากองค์กรต่างประเทศ ขอให้ใจเย็น ๆ แล้วกัน รัฐบาลกำลังทำให้ดีที่สุด ทุกคนก็รู้ว่าช่วงนี้ปัญหามีเยอะ แต่ก็ยังโชคดีที่หลาย ๆ อย่างดีขึ้น รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยก็ดีขึ้น ขณะเดียวกันคนที่ลำบากก็ยังมีอยู่ รัฐบาลก็จำเป็นจะต้องหามาตรการที่เหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพการเงินการคลังเราให้ดี และสถานะการเงินการคลังของเราถือว่าดีมาก ๆ ถ้าเทียบกับที่อื่น ที่เราได้ไปอียูมาเขาก็ชื่นชมเรา

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ปี 65 ยอดจดทะเบียนธุรกิจพุ่ง 7.6 แสนราย สะท้อนนักลงทุนเชื่อมั่น - เกิดการจ้างงานในระยะยาว

(27 ม.ค. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้รับทราบข้อมูลด้านการลงทุนที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยยอดธุรกิจตั้งใหม่ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน การออกบัตรส่งเสริมที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกให้แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติตลอดปี 2565 ที่เพิ่มขึ้นมากเป็นสัญญาณชี้การลงทุนใหม่ในระยะต่อไป ที่จะนำไปสู่การจ้างงานและการมีงานทำของประชาชนในระยะยาว

“นายกรัฐมนตรีพอใจกับยอดธุรกิจตั้งใหม่และการขอรับส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งการลงทุนใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะนำไปสู่การจ้างงาน การมีรายได้และกำลังการใช้จ่ายของประชาชนในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลให้ความสำคัญ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

ตำรวจ ปส. เสริมเขี้ยวเล็บ จัดอบรมสืบสวนสอบสวนธุรกรรมทางการเงินเครือข่ายยาเสพติด

เมื่อวานนี้ (8 ก.พ.66) ที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด(บช.ปส.) ได้จัดอบรมการสืบสวนสอบสวนธุรกรรมทางการเงินเครือข่ายยาเสพติด ณ ห้องประชุมพรหมนอก ชั้น 2 บช.ปส. โดยมี พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผบช.ปส. เป็นประธานเปิดอบรมให้กับผู้บังคับบัญชาระดับ ผบก., รอง ผบก., ผกก. และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติติงาน รวมจำนวน 60 นาย โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงาน จากสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา หรือ DEA นำทีม โดยนายไคล์ เอ. เดนท์ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนทางการเงิน นายวิลเลียม จอห์นสตัล เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานฝ่ายสืบสวน และเจ้าหน้าที่ DEA ประจำประเทศไทย เพื่อเสริมศักยภาพ พัฒนาองค์ความรู้ และเทคนิค ต่าง ๆ ในการสืบสวนเส้นทางทางการเงิน การฟอกเงิน ของกลุ่มเครือข่ายยาเสพติด ที่ในปัจจุบันมักใช้บัญชีของผู้อื่น หรือ บัญชีม้า ทำธุรกรรมแทน ทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวน และนำตัวบุคคลที่เป็นเครือข่ายจริง มาดำเนินคดี 

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! รายได้ 4 เดือนแรก เกินเป้า 9.1 หมื่นลบ. สะท้อนเสถียรภาพการคลัง มั่นใจ!! เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

(21 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เชื่อมั่นการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้น หลังทราบรายงานการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิ 4 เดือน แรกปีงบประมาณ 2566 และปัจจัยบวกตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยที่เพิ่มมากขึ้น สะท้อนถึงการเตรียมพร้อมด้านความมั่นคงทางการเงินของรัฐบาล และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

นายอนุชา กล่าวว่า กระทรวงการคลัง เปิดเผยการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงเดือน ต.ค. 2565 - เดือน ม.ค. 2566 พบว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 สามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 836,643 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 91,339 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.3 โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร รวมกันอยู่ที่ 820,825 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 45,646 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.9

‘พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์’ ถอดบทเรียนอวสาน Silicon Valley Bank  โอกาส ‘โดมิโนเอฟเฟกต์’ เป็นไปได้แค่ไหน?

จากกรณี สหรัฐอเมริกา สั่งปิดกิจการ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับที่ 16 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีสินทรัพย์ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 7 ล้านล้านบาท เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ลูกค้าเจ้าของบัญชีแห่ถอนเงิน จนทางการต้องสั่งปิดกิจการ และให้ Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้ประกันเงินฝากจากความล้มเหลวของธนาคาร มาเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์ของ SVB โดยจะขายสินทรัพย์ของธนาคารเพื่อจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ธนาคาร จากกระแสข่าวดังกล่าวสร้างความตื่นตัวให้กับภาคเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารของไทย รวมถึงคำถามจากประชาชนผู้ฝากเงินกับธนาคารในประเทศไทยว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้หรือไม่ 

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้สัมภาษณ์ คุณพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ถึงกรณีดังกล่าวว่าจะมีผลกระทบวงกว้างต่อโลกและประเทศไทยแค่ไหน โดยกล่าวว่า “SVB เริ่มมีฐานะการเงินเลวร้ายลง โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ปรับขึ้น SVB จึงพยายามที่จะเพิ่มทุนจดทะเบียน ประมาณ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อได้ แต่ก็ไม่สามารถเพิ่มทุนได้  ทำให้แผนการเพิ่มทุนจึงล้มไป ส่งผลให้หุ้น SVB ตกต่ำลงอย่างมาก ลดลง 60% ในครั้งแรก และลดลงอีก 70%” 

ส่วนสาเหตุที่ SVB ถูกปิดกิจการนั้น คุณพงษ์ภาณุ กล่าวว่า “SVB ทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของธุรกิจ Startup ในสหรัฐอเมริกา ย่าน Silicon Valley ซึ่งเป็นย่านธุรกิจไฮเทค โดย SVB ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ธนาคารทั่วไปจะไม่ปล่อย เพราะธุรกิจ Startup ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะมาวางเป็นหลักประกันเงินกู้ให้แบงก์ โดย Silicon Valley ในช่วงที่ผ่านมาก่อนดอกเบี้ยจะปรับขึ้น มีธุรกิจที่ขยายตัวเร็วมาก มีเงินฝากเพิ่มและปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เงินฝากเพิ่มขึ้นมากกว่าสินเชื่อ เพราะตอนนั้นสภาพคล่องในธุรกิจไฮเทค ค่อนข้างสูง เกิด Mix & Match ระหว่างเงินฝากกับสินเชื่อ สภาพคล่องที่มีมากเกินไปโดยนำไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ถึง 2 ใน 3 ของสินทรัพย์ที่แบงก์มีอยู่ ปล่อยเป็นสินเชื่อเพียง 1 ใน 3 ซึ่งเป็นสถานะของแบงก์ SVB ในช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤต

“พอปี 2022 โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เพื่อต่อต้านเงินเฟ้อที่เกิดในสหรัฐอเมริกาอย่างไม่มีทางเลือก เพราะต้องควบคุมเงินเฟ้อตามที่วางเป้าหมายไว้ เมื่อดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พันธบัตรที่ธนาคาร SVB ลงทุนไป ตอนเริ่มลงทุนรัฐบาลสหรัฐฯ ดอกเบี้ยต่ำ ราคาพันธบัตรแพง เมื่อดอกเบี้ยขึ้น ราคาพันธบัตรก็ลดลง แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะไม่มีความเสี่ยงทางด้านเครดิต แต่อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยขึ้นแรง ก็จะทำให้ราคาพันธบัตรลดลง พอ SVB เริ่มมีปัญหา จึงจำเป็นต้องขายพันธบัตรนี้ออกไป เพื่อนำเงินมาใช้จุนเจือสภาพคล่องของตัวเองโดยขายพันธบัตรราคาถูก ทำให้ SVB ขาดทุนจำนวนมาก ถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงพยายามเพิ่มทุนโดยเสนอ FDIC ปรากฏว่าเพิ่มทุนไม่สำเร็จ จึงเป็นที่มาของการปิดกิจการ ไม่สามารถชำระคืนเงินผู้ฝากได้ โดยสรุปแล้ว SVB ประสบปัญหาขาดทุนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย”

เมื่อถามถึงความกังวลในระดับโลกว่ามีโอกาสเกิดโดมิโนหรือวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่หรือไม่? คุณพงษ์ภาณุ กล่าวว่า “ไม่น่าจะมีโอกาสสูงนัก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส SVB เป็นแบงก์ที่ปล่อยสินเชื่อน้อย ลงทุนตราสารการเงินค่อนข้างเยอะ แบงก์โดยทั่วไป ถ้าดูงบดุลแบงก์ ทางด้านหนี้สินแบงก์มีเงินฝากจากประชาชนเข้ามา แล้วนำเงินฝากไปปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ ไปปล่อยลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่ง SVB ปล่อยสินเชื่อน้อย ลงทุนเยอะ แต่แบงก์อื่นๆในสหรัฐอเมริกาจะปล่อยสินเชื่อมากกว่าลงทุน เพราะฉะนั้นสินเชื่อสามารถปรับดอกเบี้ยให้ขึ้นได้ ถ้าเกิดลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็น FIXED INCOME ดอกเบี้ยไม่ขึ้น แต่ถ้าเป็นพันธบัตรระยะยาว ดอกเบี้ยคงที่ เพราะฉะนั้นราคาจึงต้องปรับตัวลดลง แบงก์ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เป็นแบงก์ที่ปล่อยสินเชื่อ สามารถมีความยืดหยุ่นได้มากกว่า SVB เป็นสิ่งที่คิดว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ลุกลามไปยังแบงก์อื่นๆ อาจจะจำกัดอยู่แค่แบงก์ SVB” 

เมื่อถามว่า ประเทศไทยควรถอดบทเรียนจากกรณีข้างต้นเพื่อรับมือได้อย่างไร? คุณพงษ์ภาณุ กล่าวว่า “ประเทศไทยหนีไม่พ้นกับการที่ดอกเบี้ยปรับขึ้น จากที่เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนประมาณ 90% ของ GDP หนี้ของประชาชน หนี้ของครัวเรือนสูง ดอกเบี้ยขึ้นเมื่อไหร่ หนี้เหล่านี้ก็พร้อมที่จะเป็นหนี้เสียได้ทุกเมื่อ ในขณะที่หนี้รัฐบาล ซึ่งอยู่ในรูปของพันธบัตรรัฐบาล ก็มีอยู่มากพอสมควร ปัจจุบัน 60% ของ GDP โดยหนี้ส่วนใหญ่ถูกถือโดยสถาบันการเงิน เมื่อดอกเบี้ยขึ้น สถาบันการเงินจะต้องปรับราคาของพันธบัตรเหล่านี้ แม้จะไม่มีความเสี่ยงกับเครดิตเหล่านี้ แต่มีความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ยอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องใช้เป็นบทเรียน คือ การปรับดอกเบี้ยขึ้นมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่ในภาคธุรกิจจริงเท่านั้น แต่สถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมาก จะต้องบริหารจัดการความเสี่ยงนี้อย่างเต็มที่ 

‘กรณ์’ ชี้!! วิกฤต Credit Suisse กระทบไทยน้อย ยัน!! ฐานะทางบัญชีธนาคารไทย ‘เข้มแข็ง’

(16 มี.ค. 66) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณี มูลค่าหุ้นของธนาคาร เครดิต สวิส (Credit Suisse) ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์อันดับ 2 ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ร่วงลงไปถึง 24% ภายในวันเดียวในช่วงค่ำวันที่ 15 มีนาคม 2566 ทำให้สำนักงานกำกับตลาดการเงินและธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์ ออกแถลงการณ์ร่วมกัน เพื่อลดความกังวลที่อาจจะเกิดขึ้น ว่า ธนาคาร Credit Suisse อยู่ในสถานการณ์วิกฤต หลังจากที่วันนี้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ Saudi National Bank ประกาศว่าไม่สามารถสนับสนุนทุนเพิ่มให้ได้อีกต่อไป

นายกรณ์ กล่าวว่า ธนาคาร Credit Suisse ประสบปัญหาจากการบริหารจัดการที่ไม่ดีมานาน ราคาหุ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาปรับลดลงต่อเนื่องถึง -90% ทางผู้บริหารอ้างว่าทุนเพียงพอ แต่หากมีการแห่ถอนเงินออก เชื่อว่ารัฐบาลสวิสคงไม่ปล่อยให้เป็นไปตามชะตากรรม ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขณะนี้ปรับตัวลง 600 จุด ในขณะที่เงินทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ประเด็นเรื่อง Credit Suisse เป็นคนละประเด็นปัญหากับ SVB และ Signature ของสหรัฐ แต่ความเปราะบางความเชื่อมั่นในขณะนี้จะทำให้ทุกปัญหาถูกขยายผลจนกลายเป็นวิกฤติได้” นายกรณ์ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top