Friday, 4 July 2025
World

‘โมฮัมหมัด บินซัลมาน’ แห่งซาอุดีอาระเบีย ย้ำ!! ปธน.อิหร่าน พร้อม!! ยืนหยัดอยู่เคียงข้าง โลกอิสลามทั้งมวล มีความเป็นหนึ่งเดียว

(15 มิ.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘เจาะลึกตะวันออกกลาง’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

MBS แห่งซาอุฯ อยู่เป็น 

โมฮัมหมัด บินซัลมาน กล่าวกับ ปธน.อิหร่านในการสนทนาทางโทรศัพท์ว่า

ซาอุดีอาระเบียยืนหยัดอยู่เคียงข้างพี่น้องชาวอิหร่าน และในวันนี้ โลกอิสลามทั้งมวลมีความเป็นหนึ่งเดียวและสนับสนุนอิหร่านอย่างเต็มที่ 
ในทุกเวทีทางการทูต ข้าพเจ้ามุ่งมั่นสร้างแรงกดดันและเรียกร้องให้ยุติพฤติกรรมรุกรานของอิสราเอล

เรามีความเชื่อว่าอิสราเอลกำลังทุ่มเททุกวิถีทางเพื่อเพิ่มระดับความตึงเครียดและดึงสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้งครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อมั่นว่าการตอบสนองอย่างรอบคอบและมีสติของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านจะทำให้อิสราเอลไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้

พูดง่ายๆ คือ ซัดกันไปก็อย่าให้ตรูโดนลูกหลงก็แล้วกัน 

อิหร่านเองก็ไม่ได้หวังให้ช่วย แต่อย่างน้อยอย่าขวางก็แล้วกัน

‘เนทันยาฮู’ โผล่จากบังเกอร์ เยือนจุดโดนถล่ม ลั่นพร้อมโค่นระบอบอิหร่าน เตรียมเอาคืนหนักกว่าเดิม

(16 มิ.ย. 68) นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า “จะทำในสิ่งที่จำเป็น” ต่อผู้นำอิหร่าน พร้อมเปรยว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบในกรุงเตหะราน อาจเป็นผลลัพธ์จากปฏิบัติการของอิสราเอล โดยกล่าวหาว่าผู้นำอิหร่านอ่อนแอ และประชาชนส่วนใหญ่ต้องการปลดอำนาจ

เนทันยาฮูได้ออกจากบังเกอร์ใต้ดินเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เปิดฉากโจมตีอิหร่านเมื่อ 13 มิ.ย. เพื่อไปตรวจสอบความเสียหายที่เมืองบัต ยัม ชายฝั่งใกล้กรุงเทลอาวีฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ถูกขีปนาวุธของอิหร่านถล่มคืนก่อน ผู้นำอิสราเอลมีสีหน้าเคร่งเครียด พร้อมประกาศว่า “อิหร่านจะต้องจ่ายราคาที่แพงมาก สำหรับการสังหารพลเรือน ผู้หญิง และเด็กโดยเจตนา”

สงครามระหว่างสองประเทศยังทวีความรุนแรงต่อเนื่อง โดยอิสราเอลเปิดฉากโจมตีทางอากาศกว่า 80 จุดทั่วอิหร่าน ครอบคลุมกระทรวงกลาโหม โรงไฟฟ้า โครงการนิวเคลียร์ และย่านชุมชนในกรุงเตหะราน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 224 ราย ขณะเดียวกัน อิหร่านยิงตอบโต้ด้วยขีปนาวุธหลายระลอก ทำให้อิสราเอลมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย และบาดเจ็บอีกนับร้อย

แม้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เรียกร้องให้เกิดการเจรจา แต่สถานการณ์ยังไร้แนวโน้มยุติลง รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลขู่จะทำลายกรุงเตหะรานเหมือนที่เคยถล่มเบรุต ส่วนผู้นำอิหร่านตอบโต้ด้วยคำขู่ว่า หากอิสราเอลยังเดินหน้าบุก จะได้รับ “การตอบแทนที่เจ็บปวดยิ่งกว่าเดิม”

ธงชาติกลางภาพพังพินาศ สะดุดตาเกินบังเอิญ ตั้งข้อสังเกต ‘อิสราเอล’ สร้างภาพเป็นฝ่ายถูกกระทำ

(16 มิ.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก Anucha Somnas ตั้งข้อสังเกตถึงภาพข่าวความเสียหายจากการโจมตีที่เกิดขึ้นในอิสราเอลว่า แทบทุกภาพล้วนมีธงชาติอิสราเอลหรือสัญลักษณ์ประจำชาติ ปรากฏอยู่ในเฟรมอย่างชัดเจน สร้างคำถามถึงความตั้งใจหรือเบื้องหลังของการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ต่อสังคมโลก โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลเนทันยาฮูกำลังเผชิญแรงกดดันด้านสิทธิมนุษยชนจากกรณีถล่มฉนวนกาซา

ผู้โพสต์วิเคราะห์ว่า ความเสียหายที่เกิดจากจรวดซึ่งตกลงกลางเมือง อาจไม่ใช่ความบังเอิญ แต่คือการจัดฉากเพื่อสร้างภาพจำ สื่อสารกับนานาชาติว่าอิสราเอลเป็นฝ่ายถูกกระทำ พร้อมใช้ภาพเหล่านี้เป็น “แฟ้มสะสมผลงาน” หรือเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ เบี่ยงเบนประเด็นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ ที่ยังดำเนินต่อไป

นอกจากนี้ยังชี้ว่า นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ยังคงยึดแนวทางเดิมในการใช้พลเรือนของตนเองเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ ไม่ต่างจากกรณีตัวประกันชาวอิสราเอลในฉนวนกาซา ที่ไม่เคยได้รับความสำคัญเท่ากับเป้าหมายทางทหาร รัฐบาลเลือกเดินหน้าถล่มทุกพื้นที่ของกาซา โดยไม่สนใจว่าตัวประกันจะเสียชีวิตจากการโจมตีของตนเองหรือไม่

ข้อสังเกตเหล่านี้สะท้อนคำถามถึง เจตนาของรัฐบาลอิสราเอลในการจัดการสงคราม และความโปร่งใสของการสื่อสารข้อมูลกับสาธารณะ ทั้งยังสะท้อนว่าความสูญเสียอาจไม่ใช่เพียงผลข้างเคียงของสงคราม หากแต่เป็นกลไกที่รัฐเลือกใช้ เพื่อเป้าหมายทางการเมืองในระดับที่ลึกซึ้งกว่านั้น

อิหร่านเผย ‘ยุทธวิธีใหม่’ สะเทือนโดมเหล็กอิสราเอล ทำระบบป้องกันยิวยิงกันเอง จนเจาะ ‘เทลอาวีฟ-ไฮฟา’ กระจุย

(16 มิ.ย. 68) กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน (IRGC) เปิดเผยว่าการโจมตีด้วยขีปนาวุธเมื่อช่วงก่อนรุ่งสางของวันที่ 16 มิถุนายน ซึ่งพุ่งเป้าใส่เมืองเทลอาวีฟและไฮฟา ใช้ “ยุทธวิธีใหม่” ที่ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอล เช่น Iron Dome และ David’s Sling ยิงเป้าหมายผิดพลาด โดยจรวดของอิสราเอลบางลูกกลับยิงใส่ระบบของตนเองหรือพลาดทิศทาง จนนำไปสู่ความเสียหายครั้งใหญ่ในเขตเมือง

กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่านระบุว่าวิธีการใหม่นี้ทำให้สามารถทะลวงแนวป้องกันหลายชั้นของอิสราเอล และสร้างความเสียหายแก่เป้าหมายได้จริง โดยเฉพาะเขตที่พักอาศัยใกล้สถานทูตสหรัฐฯ ในเทลอาวีฟที่พังยับเยิน ขณะที่ในไฮฟาเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงไฟฟ้า และมีประชาชนบาดเจ็บกว่า 30 ราย

การโจมตีครั้งนี้ถือเป็นการตอบโต้ต่อการโจมตีเชิงป้องกันของอิสราเอลเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ซึ่งมุ่งเป้าไปยังโครงการนิวเคลียร์และฐานทัพของอิหร่าน ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตในอิหร่านเพิ่มขึ้นกว่า 224 ราย ส่วนในอิสราเอลมีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 18 ราย และบาดเจ็บกว่า 100 คน

แม้อิสราเอลยังไม่แถลงตอบโต้เกี่ยวกับความล้มเหลวของระบบป้องกันภัยทางอากาศ แต่รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลประกาศว่าจะทำให้อิหร่าน “ต้องชดใช้” อย่างสาสม ด้านผู้นำโลกที่ร่วมประชุม G7 แสดงความกังวลว่าวิกฤตนี้อาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งระดับภูมิภาค และต่างเรียกร้องให้เปิดทางเจรจาโดยเร็วที่สุด

จีนประณามอิสราเอลละเมิดอธิปไตยอิหร่า เสนอตัวไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง สร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง

(16 มิ.ย. 68) รัฐมนตรีต่างประเทศจีน หวัง อี้ แถลงเมื่อวันเสาร์ (15 มิ.ย.) ว่าจีน “ประณามอย่างชัดเจน” ต่อการโจมตีของอิสราเอล ซึ่งละเมิดอธิปไตย ความมั่นคง และบูรณภาพแห่งดินแดนของอิหร่าน พร้อมแสดงการสนับสนุนอิหร่านในการปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตน

หวัง อี้ โทรศัพท์หารัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งอิหร่านและอิสราเอล โดยระบุว่าจีนยินดีช่วยในการคลี่คลายสถานการณ์ พร้อมเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้การเจรจาแก้ไขความขัดแย้ง

ขณะที่สหรัฐฯ ยืนอยู่ฝั่งเดียวกับอิสราเอล จีนกลับเลือกประณามการใช้กำลังและเรียกร้องให้ประเทศที่มีอิทธิพลต่ออิสราเอลช่วยฟื้นฟูสันติภาพ สะท้อนภาพการขยับบทบาทของจีนในภูมิภาคและเวทีโลก

สำหรับ จีนถือเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการทูตที่สำคัญของอิหร่านในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านพลังงาน การทหาร และการต่อต้านมาตรการคว่ำบาตรจากตะวันตกอย่างชัดเจน

กระทรวงต่างประเทศ อิหร่าน ออกแถลงการณ์ ชี้ ตอบโต้อิสราเอลชอบธรรมหลังถูกโจมตีก่อน

(16 มิ.ย. 68) กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ได้ออกแถลงการณ์ล่าสุดว่า ในเช้าตรู่ของวันที่ 13 มิถุนายน 2568 อิสราเอลได้เปิดฉากการโจมตีด้วยอาวุธขนานใหญ่ โดยไม่มีการยั่วยุจากอิหร่าน อันเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวอย่างร้ายแรงในทุกความหมายของการกระทำดังกล่าว ด้วยการโจมตีทางอากาศ ขีปนาวุธ และโดรนที่ปฏิบัติการประสานงานกัน

อิสราเอลได้กำหนดเป้าหมายไปที่ย่านที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นฐานของพลเรือน หน่วยงานสาธารณะ
และโรงงานนิวเคลียร์ที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) การกระทำเหล่านี้ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงและชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และกฎบัตรสหประชาชาติ ในกรณีที่เลวร้ายเป็นพิเศษ การโจมตีของอิสราเอลต่ออาคารที่อยู่อาศัยส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิต 60 ราย รวมถึงเด็กและผู้หญิง 35 ราย จากปฏิบัติการทางทหารระลอกรั้งใหม่ อิสราเอลเริ่มกำหนดเป้าหมายไปที่โครงสร้างพื้นฐานและสถานที่อุตสาหกรรมด้วยข้ออ้างหลักสำหรับการโจมตีคือโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ตามที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้รับการยืนยันครั้งแล้วครั้งเล่าว่า การติดตั้งนิวเคลียร์ของอิหร่านถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านสันติภาพเท่านั้น และยังคงอยู่ภายใต้ระบอบการตรวจสอบที่ครอบคลุมและรุนแรงที่สุดที่ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของนานาชาติ

การที่อิสราเอลกำหนดเป้าหมายไปยังโรงงานนิวเคลียร์พลเรือนที่ได้รับการคุ้มครองเหล่านี้ถือเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวโดยเจตนาและการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกรอบกฎหมายที่ควบคุมความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์อย่างโจ่งแจ้ง ตามที่ผู้อำนวยการใหญ่ของ IAEA นายราฟาเอล กรอสซี ได้ยืนยันอีกครั้งในระหว่างการประชุมฉุกเฉินของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้ มติการประชุมสมัชชาใหญ่ IAEA GC(XXIX)/RES/444 และ GC(XXXIV)/RES/533 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การโจมตีด้วยอาวุธใด ๆ ต่อโรงงานนิวเคลียร์ที่มุ่งเน้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสันติภาพถือเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ ธรรมนูญของ IAEA และหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ มติเหล่านี้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงร้ายแรงที่การโจมตีดังกล่าวจะก่อให้เกิดต่อความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์ และเน้นย้ำถึงผลกระทบที่บ่อนทำลายอย่างลึกซึ้งต่อสันติภาพในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ลักษณะของการโจมตีไม่ทิ้งช่องว่างสำหรับความคลุมเครือ: ถือเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง ทำให้ขอบเขตทางกฎหมายได้ถูกละเลยมองข้ามไปอย่างชัดเจน

อิสราเอลมีประวัติการใช้กำลังโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อรัฐอธิปไตยมายาวนานซึ่งมีเอกสารหลักฐานยืนยัน มีการกำหนดเป้าหมายต่อประชากรพลเรือน โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และสถานที่ที่ได้รับการคุ้มครองซ้ำแล้วซ้ำเล่า สะท้อนให้เห็นถึงการดูหมิ่นหลักการที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติอย่างเป็นระบบ การโจมตีครั้งล่าสุดนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ที่แยกตัวออกมา แต่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่สอดคล้องกันที่ใช้อาวุธบังคับและท้าทายระเบียบกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเปิดเผย หลักนิติธรรมไม่ได้ถูกละเลย แต่กำลังถูกรื้อถอน โดยเจตนาในบริบทที่กว้างขวางมากขึ้นของพฤติกรรมของระบอบอิสราเอลต้องได้รับการยอมรับ

ปัจจุบันอิสราเอลอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีต่อหน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในข้อหาที่ถูกกล่าวหาว่าก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกาซา และผู้นำระดับสูงของอิสราเอล รวมถึงนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู
เผชิญข้อกล่าวหาที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ รวมถึงการกำหนดเป้าหมายพลเรือนโดยเจตนา การใช้อดอาหารเป็นวิธีการทำสงคราม และการกำหนดบทลงโทษรวมโดยเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เหตุการณ์ที่แยกตัวออกมา แต่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่คงอยู่ของการปราบปรามทางทหาร การไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย และการไม่คำนึงถึงหลักการสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรม

ในขณะที่ความน่าเชื่อถือของระบบกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างเข้มข้น การประยุกต์ใช้หลักการทางกฎหมายแบบเลือกปฏิบัติและการอาศัยความเหมาะสมทางการเมืองคุกคามที่จะเข้าแทนที่ค่านิยมพื้นฐานของความสอดคล้อง ความรับผิดชอบ และหลักนิติธรรม ในการตอบโต้การรุกรานที่ผิดกฎหมายและปราศจากการยั่วยุโดยอิสราเอล สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้ใช้สิทธิในการป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายตามที่ระบุไว้ในมาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ สิทธิขั้นพื้นฐานนี้อนุญาตให้รัฐสามารถปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนเมื่อถูกโจมตีด้วยอาวุธ

การตอบโต้ของอิหร่านยึดมั่นอย่างเคร่งครัดต่อหลักการและขอบเขตที่กำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้มั่นใจว่าการกระทำของตนมีความสมเหตุสมผล จำเป็น และเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตอบโต้ของอิหร่านได้รับการปรับเทียบอย่างรอบคอบให้ได้สัดส่วนกับภัยคุกคามและการโจมตีทางทหารของอิสราเอล การตอบโต้กำหนดเป้าหมายเฉพาะวัตถุประสงค์ทางทหารที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น รวมถึงศูนย์บัญชาการและควบคุม การติดตั้งทางทหารเชิงกลยุทธ์ และโครงสร้างพื้นฐานในการปฏิบัติการที่เชื่อมโยงโดยตรงกับการโจมตีที่ผิดกฎหมาย ตลอดเวลา

อิหร่านยังคงปฏิบัติตามกฎของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการลดความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีให้เหลือน้อยที่สุด ความล้มเหลวของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการตอบโต้อย่างเด็ดขาดต่อการกระทำที่ก้าวร้าวนี้ แสดงถึงการละทิ้งความรับผิดชอบพื้นฐานในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ในอดีต คณะมนตรีได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วและเป็นเอกฉันท์ หลังจากการโจมตีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์โอซิรักของอิรักในปี 1981 คณะมนตรีได้ออกมติ 487 ประณามการโจมตีและยืนยันความศักดิ์สิทธิ์ของโรงงานนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพ แบบอย่างนั้นยังคงชัดเจน กฎหมายยังคงชัดเจน ทว่าวันนี้ คณะมนตรีกลับเป็นอัมพาต การหารือถูกบีบคั้นด้วยแรงกดดันทางการเมืองและเกราะป้องกันที่กลุ่มรัฐทรงอำนาจจำนวนน้อยยื่นให้การไม่ดำเนินการนี้จะคุกคามและกัดกร่อนรากฐานของระบบพหุภาคี

อิหร่านเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศประณามการกระทำที่ก้าวร้าวนี้ และยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นต่อกฎบัตรสหประชาชาติ และหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ อธิปไตยไม่ใช่เรื่องที่ต่อรองได้ โรงงานนิวเคลียร์ภายใต้การคุ้มครองของ IAEA ไม่ควรถูกกำหนดเป้าหมาย การใช้กำลังทางอาวุธต้องไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาแทนที่การทูต อิสราเอลไม่สามารถได้รับอนุญาตให้เขียนกฎการปฏิบัติระหว่างประเทศใหม่ผ่านการละเมิดซ้ำ ๆ และการยั่วยุที่มีการวางแผนไว้แล้ว เส้นทางสู่สันติภาพเริ่มต้นด้วยความรับผิดชอบ และระบบกฎหมายระหว่างประเทศต้องรวบรวมเจตจำนงเพื่อธำรงเรื่องนี้เอาไว้

คนจีนตั้งคำถามถึงคุณค่า ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือด สาขามนุษยศาสตร์ ยังจำเป็นไหมในศตวรรษ AI??

(17 มิ.ย. 68) ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ในสังคมจีนเกิดกระแสถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนถึง “จุดจบของสายมนุษยศาสตร์” หลายเสียงในโลกออนไลน์ตั้งคำถามว่า วิชาด้านภาษา วรรณกรรม หรือประวัติศาสตร์ ยังมีความหมายอยู่หรือไม่ บ้างมองว่าไร้ประโยชน์ ขณะที่บางคนถึงขั้นแนะให้เลิกเรียนไปเลย โดยกระแสนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2010 แต่ร้อนแรงยิ่งขึ้นในยุคที่การแข่งขันทางการศึกษาดุเดือด

ตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่เคยใฝ่ฝันจะทำงานในบริษัทโฆษณาระดับโลก แต่พอฝึกงานกลับพบว่าการแข่งขันสูงเกินคาด ต้องมีทั้งวุฒิปริญญาโทและรางวัลติดเรซูเม่ ด้านผู้เรียนการเงินรายหนึ่งก็เผยว่า แม้เรียนสายวิทย์ แต่สุดท้ายก็ต้องแย่งงานคอนเทนต์กับเด็กเอกภาษาอยู่ดี สะท้อนปัญหาว่าแม้แต่สายวิชาชีพก็ไม่ได้การันตีตำแหน่งงานอีกต่อไป

อาจารย์มหาวิทยาลัยจีนวิเคราะห์ว่า ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวสาขา แต่เกิดจากการขยายตัวของการศึกษาที่ทำให้จำนวนผู้เรียนล้นตลาด ขณะที่ผู้มีความสามารถโดดเด่นยังมีไม่มากพอ อีกทั้งทัศนคติของสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้คนไม่อยากเรียนตามความชอบ แต่เลือกเรียนตามความ “คุ้มค่า” ทางเศรษฐกิจแทน

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ยังจำเป็นต่อการพัฒนาความคิดและความเข้าใจต่อโลก เพียงแต่นักศึกษายุคใหม่ต้องปรับตัวให้มากขึ้น เช่น เสริมทักษะการวิเคราะห์ เขียนโปรแกรม หรือทำงานข้ามสาขา เพื่อเพิ่มโอกาสในตลาดงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สุดท้ายแล้ว คำถามที่แท้จริงอาจไม่ใช่ “มนุษยศาสตร์ยังมีอนาคตหรือไม่” แต่คือ “เรากำลังเรียนเพื่ออะไร?” หากคำตอบคือความรักในภาษา ประวัติศาสตร์ หรือวรรณกรรม ก็อย่าให้เสียงของโลกภายนอกกลบเสียงของหัวใจ เพราะคุณค่าที่แท้จริงของความรู้ อาจไม่ได้วัดจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว

วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ โทษ ‘เนทันยาฮู’ จุดชนวนสงครามอิหร่าน เตือนวอชิงตันอย่าตกหลุมพรางอิสราเอล

(17 มิ.ย. 68) เบอร์นี แซนเดอร์ส (Bernie Sanders) สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ ออกมาแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ระบุว่านายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู เป็นผู้เริ่มต้นความขัดแย้งกับอิหร่านในครั้งนี้ พร้อมเตือนว่าสหรัฐฯ ไม่ควรถูกลากเข้าไปมีส่วนร่วมทั้งทางการทหารและทางการเงิน

แซนเดอร์สโพสต์บนแพลตฟอร์ม X ว่า “เนทันยาฮูเป็นคนเปิดฉากสงครามนี้ด้วยการโจมตีอิหร่าน” พร้อมระบุว่าเนทันยาฮูมีส่วนในการลอบสังหารอาลี ชามคานี หัวหน้าคณะเจรจานิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งเป็นการจงใจบ่อนทำลายการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน

เขายังกล่าวเสริมว่า “สหรัฐฯ ต้องไม่ถูกลากเข้าไปในสงครามที่ผิดกฎหมายของเนทันยาฮูอีก ไม่ว่าจะเป็นในเชิงทหารหรือการสนับสนุนทางการเงิน” โดยแซนเดอร์สเป็นหนึ่งในนักการเมืองสหรัฐฯ ที่วิจารณ์นโยบายทางทหารของเนทันยาฮูในฉนวนกาซาอย่างสม่ำเสมอ

ขณะที่ สถานการณ์ความตึงเครียดเริ่มปะทุขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังอิสราเอลเปิดปฏิบัติการโจมตีทางอากาศและโดรนถล่มหลายพื้นที่ทั่วอิหร่าน รวมถึงเป้าหมายด้านการทหารและนิวเคลียร์ ส่งผลให้อิหร่านตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธกลับอย่างหนักหน่วง

ทางการอิสราเอลระบุว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 ราย และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคนจากการโจมตีของอิหร่าน ขณะที่ฝ่ายอิหร่านเผยว่าการถล่มของอิสราเอลทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 224 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน

อิหร่านเตือนด่วน! สั่งอพยพประชาชน จ่อถล่มเป้าหมายในดินแดนที่อิสราเอลยึดครอง

หน่วยพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (IRGC) ออกแถลงการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันจันทร์ (17 มิ.ย.) ประกาศเตรียมเปิดฉากโจมตีทางอากาศ 'อย่างแม่นยำ' ต่อเป้าหมายในดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดครอง พร้อมเตือนให้ประชาชนอพยพออกจากเมืองต่าง ๆ ทันที

คำเตือนระบุว่า “สิ่งอำนวยความสะดวก เมือง หรือศูนย์กลางใด ๆ ในดินแดนยึดครองจะถือเป็นเป้าหมายทางทหารที่ชอบธรรม” พร้อมระบุว่าเหตุโจมตีจะเริ่มขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า

ในรายงานเพิ่มเติม มีการเปิดเผยว่าหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของอิหร่านคือเมืองไฮฟา (Haifa) ซึ่งมีถังเก็บแอมโมเนียมไนเตรทขนาดใหญ่ตั้งอยู่ หากถูกโจมตี อาจเกิดแรงระเบิดรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิด TNT จำนวนกว่า 3,500 ลูก

ยูเครนเริ่มขายทรัพยากรชาติภายในประเทศ เปิดทางสหรัฐฯ ถือสิทธิ์ พัฒนาแหล่งแร่ Dobra

(17 มิ.ย. 68) รัฐบาลยูเครนเริ่มเดินหน้าเปิดประมูลพัฒนาแหล่งแร่ลิเทียม Dobra หนึ่งในแหล่งทรัพยากรยุทธศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ในเขตโนโวยูเครนกา (Novo Ukrainskii) ภูมิภาคคิรอโวห์ราด (Kirovohrad) ห่างจากกรุงเคียฟราว 300 กิโลเมตร การดำเนินการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ลงนามกับสหรัฐฯ เมื่อ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนระหว่างสงคราม

ภายใต้ข้อตกลงนี้ รายได้จากการขุดแร่จะถูกแบ่งเท่า ๆ กันระหว่างรัฐบาลยูเครนและกองทุนร่วมทุนที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุน โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยูเครนหลังสงคราม พร้อมกับลดการพึ่งพาจีนในแร่ลิเทียมและแร่กลุ่มวิกฤตในตลาดโลก

ผู้ประมูลที่น่าจับตาได้แก่บริษัท TechMet ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ถือหุ้นบางส่วน และ โรนัลด์ ลอเดอร์ (Ronald S. Lauder) มหาเศรษฐีนักลงทุนชื่อดังผู้ใกล้ชิดประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทั้งคู่เตรียมยื่นข้อเสนอในรูปแบบสัญญาแบ่งผลผลิตระยะยาว ซึ่งจะมอบสิทธิ์การพัฒนาและปันผลให้แก่ทุกฝ่าย

อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่าการเร่งเปิดทรัพยากรธรรมชาติอาจเสี่ยงต่อปัญหาความโปร่งใส ความไม่แน่นอนทางกฎหมาย และต้องอาศัยเวลาอีกหลายปีกว่าจะสามารถเริ่มการผลิตได้จริง เนื่องจากยูเครนยังต้องอัปเดตข้อมูลทางธรณีวิทยาและซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายจากสงคราม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top