Saturday, 5 July 2025
World

‘วลาดีมีร์ ปูติน’ กล่าวซึ้ง!! ถึง ‘อดีตนายกฯญี่ปุ่น’ สะกิด!! ต่อมน้ำตาของ ‘ภรรยา Shinzo Abe’ ไหลหลั่ง

เมื่อวานนี้ (30 พ.ค. 68) วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ให้การต้อนรับภรรยาของ Shinzo Abe ในกรุงมอสโก เนื่องในโอกาสครบรอบวันเสียชีวิตของอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดยปูตินได้ถือช่อดอกไม้ไปต้อนรับ Akie Abe ด้วยความนอบน้อม

ในระหว่างการพบกัน คำพูดของปูตินเกี่ยวกับ Shinzo Abe ทำให้เธอถึงกับน้ำตาไหลออกมา

ประธานาธิบดีรัสเซียแสดงความเคารพต่อ Shinzo Abe โดยกล่าวว่า "เขารู้ว่า Abe ฝันที่จะลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งสนธิสัญญานั้นยังไม่ได้รับการลงนามระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่น เนื่องจากยังคงติดขัดเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับการครอบครองเกาะสี่เกาะในกลุ่มเกาะคอร์เยอร์ ซึ่งญี่ปุ่นเรียกว่า 'ดินแดนเหนือ' ซึ่งเป็นประเด็นหลักความขัดแย้งในอดีต"

Shinzo Abe ถูกยิงจากด้านหลังในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองนารา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2021 และจากรายงานของสื่อญี่ปุ่น เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นและภาวะการหายใจหยุดลง

ฉลองวันหยุดของอเมริกา ด้วยการกินข้าวนอกบ้าน คิดว่าวันหยุดแบบนี้ ร้านแน่นแน่เลย..แต่ผิดคาด แสดงว่า อเมริกันระดับครัวเรือน เริ่มตัดงบฟุ่มเฟือยกันแล้ว

(1 มิ.ย. 68) ‘เจริญขวัญ แพรกทอง บลาฮาสสกี้’ คนไทยที่อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ... 

ฉลองวันหยุดของอเมริกา
ด้วยการกินข้าวนอกบ้าน
คิดว่าวันหยุดแบบนี้
ร้านแน่นแน่เลย..แต่ผิดคาด
แสดงว่าอเมริกันระดับครัวเรือน
เริ่มตัดงบฟุ่มเฟือยกันแล้ว

เคยอ่านรายงานว่าปี 2025 
ครอบครัวอเมริกันจะตัดงบรายจ่ายอะไรบ้าง
อันดับหนึ่งคืองดซื้อของแบรนด์
งดกินข้าวตามร้าน
ตามมาด้วยงดเที่ยว Vacation

ที่ออกไปกินนี่คือขี้เกียจทำกับข้าว
ทำสวนเหนื่อยทั้งวันแล้ว
จะให้มาทำปิ้งย่างบาร์บีคิวกินสองคน
บอกตรงๆว่าไม่ไหว
แต่ด้วยความงก
ก็เอาพาสต้ากลับมากินต่อวันพรุ่งขึ้น

จีนต้องไม่ให้เกาหลีเหนือ เข้ามาแทรกแซง สงครามในยูเครน มิฉะนั้น NATO จะขยายเข้าสู่เอเชีย

(1 มิ.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า …

ปธน. มาครง แห่งฝรั่งเศส ขู่ลั่นว่า “จีนต้องไม่ให้เกาหลีเหนือ เข้ามาแทรกแซงสงครามในยูเครน มิฉะนั้น NATO จะขยายเข้าสู่เอเชีย”

Macron: China must prevent North Korea from interfering in the war in Ukraine, otherwise NATO will expand to Asia

‘ซีอานเจียวทง’ เปิดประตูรับ!! ‘นักศึกษาฮาร์วาร์ด’ ย้ำ!! มาตรฐานโลก พร้อมมอบโอกาสเรียนต่อในจีน

(1 มิ.ย. 68) มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University: XJTU) หนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของจีน ประกาศเชิญชวนนักศึกษานานาชาติจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนวิชาการระดับโลก โดยเปิดรับทั้งนักศึกษาใหม่และผู้ที่ต้องการโอนย้าย พร้อมอำนวยความสะดวกด้านขั้นตอนการสมัครและการปรับตัวเต็มที่

แถลงการณ์อย่างเป็นทางการจาก สำนักงานรับนักศึกษานานาชาติของ XJTU ระบุว่า มหาวิทยาลัยมีความภาคภูมิใจที่จะมอบ “เวทีการศึกษาอันมั่นคง” ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับนักศึกษาฮาร์วาร์ดในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้

XJTU ขึ้นชื่อในฐานะมหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของจีน โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล พลังงานและเชื้อเพลิง วิศวกรรมเคมี และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน Top 10 ของโลก อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้รับ เกรด A+ ในการประเมินคุณภาพการศึกษานานาชาติของกระทรวงศึกษาธิการจีน (MOE) ท่ามกลางมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 894 แห่งทั่วประเทศ

ตัวแทนจาก XJTU ยังเน้นว่า นักศึกษาที่เลือกย้ายมาศึกษาที่นี่จะได้รับ “บรรยากาศนานาชาติที่เปิดกว้าง” ในเมืองซีอาน เมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ของจีน พร้อมประสบการณ์เชิงวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งควบคู่กับการเรียนรู้ที่เข้มข้น

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการสมัครได้ที่:
คุณหลัว
อีเมล: [email protected]
โทรศัพท์ : +86-29-82668812, 82668063, 82665924

‘ยูเครน’ เปิดปฏิบัติการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดต่อ ‘รัสเซีย’ ใช้โดรน 117 ลำ ซ่อนในห้องไม้ถล่ม 4 ฐานทัพ

(2 มิ.ย. 68) รัฐบาลยูเครนเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศระยะไกลครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เริ่มสงครามกับรัสเซีย โดยใช้โดรน 117 ลำ ลักลอบโจมตีเครื่องบินรบ 40 ลำใน 4 ฐานทัพของรัสเซียในปฏิบัติการชื่อ “ใยแมงมุม” ซึ่งประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี กล่าวว่า ได้ทำลายเครื่องบินขีปนาวุธพิสัยไกลได้ถึง 34%

แหล่งข่าวจากหน่วยข่าวกรองยูเครน (SBU) ระบุว่าปฏิบัติการนี้วางแผนมานานกว่า 1 ปีครึ่ง โดยใช้โดรนซ่อนในห้องไม้เคลื่อนที่บนรถบรรทุก ก่อนจะเปิดหลังคาด้วยระบบควบคุมระยะไกลเพื่อปล่อยโดรนออกโจมตีเมื่อถึงเวลาเหมาะสม

รัสเซียยืนยันว่ามีการโจมตีใน 5 แคว้น พร้อมระบุว่าเป็น “การก่อการร้าย” แต่รัสเซียก็ได้ตอบโต้ด้วยการส่งโดรนและขีปนาวุธโจมตีหลายพื้นที่ของยูเครนในคืนวันเดียวกัน โดยยูเครนอ้างว่าสามารถสกัดเป้าหมายทางอากาศได้ถึง 385 รายการ

ปฏิบัติการของยูเครนมุ่งเป้าไปที่ฐานทัพในแคว้นอีร์คุตสค์, มูร์มันสค์, รียาซาน และอีวานอฟ ซึ่งตั้งอยู่ลึกในดินแดนรัสเซีย โดยมีเป้าหมายเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล Tu-95, Tu-22M3 และเครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้า A-50 ซึ่งสร้างความเสียหายที่ SBU ประเมินว่ามีมูลค่ากว่า 7 พันล้านดอลลาร์ (ราว 2.55 แสนล้านบาท)

ในขณะเดียวกัน ผู้แทนจากทั้งสองฝ่ายกำลังมุ่งหน้าไปยังอิสตันบูล ประเทศตุรกี เพื่อเจรจาสันติภาพรอบใหม่ในวันจันทร์ แต่บรรยากาศคาดว่าจะไม่คืบหน้า เนื่องจากจุดยืนของทั้งสองฝ่ายยังคงห่างกันมาก รัสเซียยังครอบครองดินแดนยูเครนราว 20% รวมถึงไครเมียที่ถูกผนวกเมื่อปี 2014

จีนประณาม ‘มาครง’ กรณีเปรียบไต้หวันกับยูเครน ชี้เป็นคนละเรื่อง!!..ยันสองกรณีต่างกันโดยสิ้นเชิง

(2 มิ.ย. 68) จีนออกแถลงการณ์ประณามประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส หลังเจ้าตัวกล่าวในเวทีการประชุมความมั่นคง Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ว่า หากรัสเซียสามารถยึดครองดินแดนยูเครนได้โดยไร้ข้อจำกัด ก็อาจเกิดเหตุการณ์คล้ายกันในไต้หวันหรือฟิลิปปินส์ได้ในอนาคต

สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำสิงคโปร์ตอบโต้ทันทีผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่าการเปรียบเทียบกรณีไต้หวันกับยูเครนเป็นเรื่อง “ไม่อาจยอมรับได้” โดยชี้ว่าสถานการณ์ทั้งสองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และกล่าวหามาครงว่ามี “มาตรฐานสองแบบ” ในมุมมองทางการเมือง

จีนย้ำว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ และจะเดินหน้าสู่การรวมชาติโดยสมบูรณ์ พร้อมเตือนให้เจ้าหน้าที่ไต้หวันหลีกเลี่ยงการประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ขณะที่หลายประเทศตะวันตกยังคงขายอาวุธและมีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการกับไต้หวัน ซึ่งสร้างความไม่พอใจต่อปักกิ่ง

ด้านรัสเซีย ระบุว่าพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครนที่ลงประชามติขอเข้าร่วมรัสเซียนั้น เป็นดินแดนที่ควรได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลเคียฟ และเรียกร้องให้ยูเครนถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าว หากต้องการยุติความขัดแย้งในภูมิภาคนี้

ปูตินเดือด! ยูเครนถล่มสนามบินรัสเซีย ประกาศ ‘ไม่มีเส้นแดงอีกต่อไป’ ขู่ตอบโต้เต็มรูปแบบ

(2 มิ.ย. 68) ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศว่า “ไม่มีเส้นแดงอีกต่อไป” หลังจากยูเครนโจมตีสนามบินของรัสเซียเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2025 โดยปูตินกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางออกที่สงบสุขที่เป็นไปได้ อีกต่อไป และยูเครนจะต้องเสียใจกับสิ่งที่ทำลงไป

หลังจากแถลงการณ์ของปูตินไม่นาน กระทรวงกลาโหมรัสเซียรายงานว่า ได้ยิงขีปนาวุธอิสกันเดอร์ (Iskander) เข้าใส่ค่ายฝึกอบรมของกองทัพยูเครนในพื้นที่โดนีโปรเปตรอฟสค์ ส่งผลให้มีทหารยูเครนเสียชีวิตอย่างน้อย 12 นาย และบาดเจ็บกว่า 60 นาย

ขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้รับข้อมูลล่วงหน้าเกี่ยวกับการโจมตีของยูเครนต่อสนามบินรัสเซีย โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่า ยูเครนไม่ได้แจ้งให้ทราบถึงแผนการดังกล่าว

ทั้งนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาสันติภาพที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคต

สหรัฐฯ กังวลหนัก!!..ขาดแร่ธาตุจากจีน กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการผลิตอาวุธ

(2 มิ.ย. 68) The Wall Street Journal รายงานว่าผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ของสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับความกังวลอย่างหนักเกี่ยวกับการขาดแคลนแร่ธาตุหายาก ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตระบบอาวุธขั้นสูง ทั้งในด้านเรดาร์ มอเตอร์ขีปนาวุธ ไปจนถึงอาวุธพลังงานสูง โดยบริษัทเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าแร่ดังกล่าวจากจีนเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งทางยุทธศาสตร์โดยตรง

นายกรัฐมนตรีเหอ ลี่เฟิง ของจีน และเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สก็อตต์ เบสเซนท์ และผู้แทนการค้า เจมิสัน เกรียร์ มีเป้าหมายให้จีนกลับมาส่งออกแร่ธาตุหายากอีกครั้ง โดยสหรัฐฯ จะระงับการเก็บภาษีเป็นเวลา 90 วัน 

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้กล่าวหาว่าจีนละเมิดข้อตกลงการค้าระหว่างสองประเทศ  ทำให้มีผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์ที่พึ่งพาแร่ธาตุหายากเหล่านี้ และกำลังพิจารณาการเพิ่มภาษีสินค้าจีนอื่นๆ ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ทางการทูตได้เสื่อมถอยลงอีก โดยสหรัฐฯ ได้เพิกถอนวีซ่านักเรียนต่างชาติ และเปิดการสอบสวนแนวทางการค้าของจีน

แม้ว่าจะมีความเปิดกว้างจากฝ่ายจีนในการเจรจาต่อไป แต่ความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมยังคงมีจำกัด ซึ่งสะท้อนถึงความตึงเครียดทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองประเทศ

‘คาร์โรล นาวร็อคกี’ ผู้นำชาตินิยม ชนะเลือกตั้งโปแลนด์ ชูจุดยืนแข็งกร้าว!!..ต้านยูเครน ใกล้ชิดสหรัฐฯ ชนอียู

(2 มิ.ย. 68) คาร์โรล นาวร็อคกี (Karol Nawrocki) ผู้นำสายอนุรักษ์นิยม คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโปแลนด์ด้วยคะแนน 50.89% เฉือนชนะราฟาล ทรัสคอฟสกี นายกเทศมนตรีวอร์ซอผู้แทนสายเสรีนิยม ซึ่งได้ 49.11% ท่ามกลางการขับเคี่ยวอย่างสูสีจนถึงโค้งสุดท้าย โดยก่อนหน้าการเลือกตั้ง ทรัสคอฟสกีมีคะแนนนำเล็กน้อยในโพลเกือบทุกสำนัก

นาวร็อคกี เป็นที่รู้จักจากจุดยืนชาตินิยมแข็งกร้าว และได้รับการสนับสนุนจากอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะช่วยยกระดับความร่วมมือทางทหารระหว่างโปแลนด์กับสหรัฐฯ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจสร้างความตึงเครียดกับสหภาพยุโรปที่ต้องการให้โปแลนด์เดินหน้าไปในทิศทางประชาธิปไตยเสรีนิยม

อย่างไรก็ตาม เส้นทางการเมืองของนาวร็อคกีอาจไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน โดนัลด์ ทัสก์ (Donald Franciszek Tusk) เป็นนักการเมืองสายเสรีนิยมที่มีบทบาทสูงในรัฐบาล ประกอบกับสมาชิกในรัฐสภาโปแลนด์ ยังเป็นพวกฝ่ายซ้ายอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้นโยบายของนาวร็อคกีอาจถูกต่อต้านได้

ในเวทีระหว่างประเทศ นาวร็อคกีแสดงจุดยืนชัดเจนว่าไม่สนับสนุนการที่ยูเครนเข้าเป็นสมาชิก NATO และวิจารณ์รัฐบาลเซเลนสกีอย่างรุนแรง พร้อมประกาศลดบทบาทโปแลนด์ในความช่วยเหลือทางทหารต่อยูเครน แม้จะยังคงยืนกรานท่าทีต่อต้านรัสเซียก็ตาม โดยเขาจะเข้ารับตำแหน่งต่อจากอันเดรจ ดูดา ในวันที่ 6 สิงหาคม 2025 นี้

ถอดรหัสกองพันพิฆาตของเมียนมา ปรับกระบวนทัพให้เหมาะกับทุกสมรภูมิรบ

(2 มิ.ย. 68) เราจะเห็นข่าวว่ากองกำลังชาติพันธุ์ตีกองทัพเมียนมาแตก ยึดค่ายได้ บลาๆ  แต่ถามว่านับจากรัฐประหารมาตั้งแต่ 4 ปีก่อนจนปัจจุบันดูแล้วทำไมท่าทีของกองทัพเมียนมาไม่ได้ดูเหมือนผู้ปราชัยเลย วันนี้เอย่าจะมาถอดรหัสกองรบเมียนมาให้ได้ทราบกัน

พูดถึงทหารราบในเมียนมาแล้วที่เราเห็นส่วนใหญ่หากใครเคยไปต่างเมืองในประเทศเมียนมาแล้วเจอด่านตรวจหรือด่านเก็บส่วยของกองทัพ  ทหารเหล่านั้นเรียกว่าทหารประจำถิ่น  คำว่าทหารประจำถิ่นไม่ได้หมายความว่าทหารพวกนี้เกิดที่นี่เท่านั้น แต่ทหารกลุ่มนี้เวลากำลังพลย้ายไปประจำที่ไหนก็จะยกพาครอบครัวไปด้วย  ดังนั้นเราจะเห็นทหารพวกนี้บางด่านจะมีผู้หญิง หรือเด็กออกมาขายของเวลารถติดเข้าด่าน คนเหล่านี้คือครอบครัวของพลทหารนั่นเอง  กองทัพเมียนมามีทหารประจำถิ่นเหล่านี้จำนวนมากและใช้กองกำลังกลุ่มนี้ในการเฝ้าค่าย ตั้งด่านตรวจและรบในระยะทางไม่ไกลเป็นครั้งคราว

ทหารประจำถิ่นพวกนี้ไม่ได้มีแค่ระดับพลทหารแต่รวมถึงทหารระดับชั้นที่เป็นหัวหน้าบังคับกองร้อยด้วยเช่นกัน

จุดแข็งของทหารกลุ่มนี้คือชำนาญพื้นที่การศึกแต่ข้อเสียคือหากความเสียหายดังกล่าวเกิดกับครอบครัวมักจะยอมแพ้หรือหนี  ในหลายข่าวที่เราเห็นมีการสังหารผู้หญิงและเด็กส่วนใหญ่คือลูกเมียและครอบครัวของทหารประจำถิ่นทั้งสิ้น

กลศึกของทหารประจำถิ่นไม่ได้มีแค่กองทัพเมียนมาเท่านั้นแต่ยังเป็นลักษณะนี้เช่นกันในกองกำลังชาติพันธุ์ด้วย

กองกำลังที่ 2 ถูกเรียกว่ากองกำลังรบหลักเป็นกองกำลังที่มีประมาณ 10 กองพล  กองทัพนี้จะเดินทางไปยังภูมิภาคต่างๆที่มีการสู้รบเปรียบได้กับกองกำลังทหารพรานหรือกองกำลังรบพิเศษอะไรประมาณนั้น 

กองทัพนี้จะไม่มีครอบครัวติดตามไปมาเป็นเอกเทศและรบแบบเล็งผลเป้าหมาย  ดังนั้นในหลายปฏิบัติการที่เอาคืนพื้นที่จะมีกองพลกลุ่มนี้เป็นแนวหน้าเข้าประทะ  แต่อย่างที่บอกด้วยกองพลกลุ่มนี้ไม่ได้มีจำนวนมากหากเกิดสงครามก็ต้องวนไปรบในพื้นที่ต่างๆ และนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่กองทัพเมียนมาอ่อนแอเพราะไม่สามารถผลิตทหารกลุ่มนี้ให้มากพอกับกองกำลังที่มีอยู่ได้นั่นเอง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top