Friday, 23 May 2025
TheStatesTimes

“นายกฯ” ห่วง เด็กติดโควิด-19 เพิ่มขึ้น สั่ง ทุกรพ.รับผู้ป่วยเด็ก-ช่วยส่งต่อ ย้ำ สถาบันสุขภาพเด็กฯ เตรียมพร้อมรักษาผู้ป่วยทุกกลุ่มทุกระดับอาการ 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ห่วงใยกรณีที่พบมีเด็กติดโควิด-19เพิ่มขึ้น รวมถึงมีการเผยแพร่ในสื่อกรณีโรงพยาบาลปฏิเสธการรับรักษาเด็ก  โดยนายกฯ ขอให้กระทรวงสาธารณสุข กำชับโรงพยาบาลทุกแห่งของรัฐและเอกชน อย่าปฏิเสธการรับผู้ป่วยเข้ารักษา และมีระบบให้คำปรึกษา หากเกิดกรณีผู้ป่วยเต็ม ให้ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยให้เร็วที่สุดและมีประสิทธิภาพ และต้องให้ความสำคัญกับผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นลำดับแรก เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันน้อยเพราะยังไม่ได้รับวัคซีนเหมือนผู้ใหญ่

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายกฯรัฐกำชับให้สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชราชินี ที่มีความเชี่ยวชาญดูแลรักษาโรคเด็ก ให้เตรียมพร้อมรองรับการรักษาผู้ป่วยโควิดเด็กทุกกลุ่ม ทุกระดับอาการ และเป็นหน่วยงานหลักในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยเด็กแก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งขั้นตอนวิธีการดูแล การเตรียมยาน้ำฟาร์วิพิราเวียร์สำหรับเด็ก เป็นต้น  สำหรับผู้ปกครอง ขอให้หลีกเลี่ยงพาเด็กไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก ที่จะเพิ่มโอกาสให้เด็กรับเชื้อมากขึ้น และแนะนำให้ผู้ปกครองที่ต้องอยู่ใกล้ชิดเด็กเข้ารับวัคซีนให้ครบโดส เพื่อลดโอกาสที่จะนำเชื้อมาสู่เด็กด้วย และให้สังเกตอาการเพื่อคัดกรองนำเด็กเข้าสู่การรักษาให้เร็วที่สุด ถ้าพบมีไข้ ไอ มีน้ำมูกและไปในพื้นที่เสี่ยง ควรตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK หากผลเป็นลบ ควรตรวจซ้ำในวันที่ 3-4 หากเป็นบวกให้ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านในส่วนภูมิภาค หากอยู่ในกทม.และปริมณฑล สามารถติดต่อที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯหรือติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข มีข้อสั่งการให้กรมการแพทย์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ดูแลผู้ป่วย

13 มกราคม ‘วันการบินแห่งชาติ’ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณรัชกาลที่ 6 ผู้ก่อกำเนิดการบินของไทย

ปี พ.ศ. 2454 ที่ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบินที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ จึงมีคำสั่งให้นายทหาร 3 นาย คือ พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส

ในระหว่างที่นายทหารทั้ง 3 นายเดินทางไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น ทางการก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินเป็นครั้งแรกจากฝรั่งเศส มาจำนวน 7 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินแบบเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง เข้าไว้ประจำการ นอกจากนี้ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ยังได้อุทิศทรัพย์ส่วนตัว ซื้อเครื่องบินแบบเบรเกต์ให้ราชการไว้ใช้งานอีก 1 เครื่อง ด้วยเห็นว่าเครื่องบินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ ทำให้ในยุคแรก ประเทศไทยมีเครื่องบินประจำการ จำนวน 8 เครื่อง

หลังสำเร็จการศึกษานายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย ได้กลับมาทดลองบินครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งนายทหารนักบินทั้ง 3 นาย สามารถขับเครื่องบินและร่อนลงจอดได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางเสียงชื่นชมของผู้ชมจำนวนมากที่มารอชม เนื่องจากในสมัยนั้น การขึ้นบินบนท้องฟ้าถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง ผู้ที่สามารถขับเครื่องบินได้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญ และถือเป็นเกียรติประวัติที่ควรได้รับการสรรเสริญ

ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการการบินไทยได้รับการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ จากนั้น ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรการบิน โดยมีนายทหารนักบินขึ้นแสดงการบินถวายและโปรยกระดาษถวายพระพรชัยมงคล ในการนี้ก็มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ และประชาชนมาร่วมเฝ้าเสด็จและชมการแสดงการบินในครั้งนี้ด้วย

ในอดีตกิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้างอากาศยานใช้ในราชการได้ และหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การบินของไทยก็ได้ช่วยสร้างประโยชน์มากมาย อาทิ เช่น ป้องกันประเทศ (สงครามอินโดจีน ฯลฯ) ช่วยเหลือผู้ป่วย, ช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ (โรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ) และช่วยทำให้เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม การเดินทาง ขนส่งไปรษณีย์ และสินค้าได้รวดเร็วจนพัฒนามาเป็นสายการบินระหว่างประเทศ
 

สุโขทัย - เทศบาลเมืองบางขลังสุโขทัย สร้างงานวิจัยสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มาของประเทศไทย

สถานการณ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน คือการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความน่าสนใจควบคู่กับการมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรทางการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” เป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่สามารถกระจายรายได้ให้กับคนในพื้นที่ กลายเป็นรายได้เสริมให้กับชุมชน  ที่มาพร้อมกับทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญ และคุณค่าของทรัพยากรในพื้นที่ ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มีการบริหารจัดการและความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้มาเยือน 

งานวิจัยเมืองบางขลังของเทศบาลตำบลเมืองบางขลังในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน นักวิจัยได้แก่ชาวบ้าน พนักงานเทศบาล พระสงฆ์ ครูอาจารย์ โดยได้รับส่งเสริมจาก ผศ.ดร.ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ, ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ วิริยสุมล, ผศ.วัลลิกา โพธิ์หิรัญ, ผศ.ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ, กมลรัตน์ บุญอาจ และทีมงานจาก ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม  มีนายวิทยา เกษรพรหม ปลัด ทต.เมืองบางขลัง และรองปลัด นส.สุวรรณ ทรัพย์ศิริกาญจนา เป็นหัวหน้าโครงการ  

เมื่อปี 2556 สกว.สนับสนุนการวิจัย “การศึกษาอัจฉริยลักษณ์ชุมชนโบราณเมืองบางขลัง เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ ทต.เมืองบางขลัง” ปี 2557 วช. สนับสนุนการวิจัย “การสร้างแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชนโบราณเมืองบางขลัง 9 หมู่บ้าน” ปี 2559  สกว. สนับสนุนการวิจัย“การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรมเมืองบางขลัง” ปี 2562 สกว.สนับสนุนการวิจัย “การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้วิถีชาวนาเมืองบางขลัง” ปี 2563 สกว. สนับสนุน ให้ ศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและมนุษยวิทยาของประเทศไทย พร้อมด้วย สุดารา สุจฉายา, เมธินีย์ ชอุ่มผล พร้อมคณะจาก มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และนิตยสารเมืองโบราณ ทำการวิจัย “ประวัติศาสตร์สังคมเมืองบางขลัง” อย่างรอบด้าน 

จากผลงานวิจัยทั้ง 5 เรื่องที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านเกิดการตื่นตัว รับรู้ถึงของดีมากมายที่มีอยู่ในท้องถิ่นตน เกิดความภาคภูมิใจ ในถิ่นฐานบ้านเกิด อยากเปิดบ้าน เปิดเมืองถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบ พูดคุยให้ข้อมูลด้วยร้อยยิ้มและเสียงหัวเราะ และมีความยินดีที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองบางขลัง

นายชาตรี สุขแจ่ม นายกเทศมนตรีตำบลเมืองบางขลัง พร้อมคณะผู้บริหาร เห็นว่า “การสร้างบ้านแปลงเมืองด้วยฐานงานวิจัยผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน” มีความเป็นไปได้ภายใต้ปัจจัยที่มี  จึงได้หารือกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น คณะสงฆ์ ส่วนราชการ ผู้นำชุมชน นำองค์ความรู้มรดกวัฒนธรรมที่เป็นผลจากการวิจัย มาสร้างความหมายและการบูรณาการความรู้ของชุมชนกับการท่องเที่ยว เพื่อให้ชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว และเป็นการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์, จัดตั้งชมรมท่องเที่ยววิถีเมืองบางขลัง, ขับเคลื่อน “เมืองบางขลังสะอาดไร้ถัง” ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า, การพัฒนาทักษะอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) 

เป็นที่น่ายินดีที่มีการรวมกลุ่ม “เมืองบางขลังโฮมสเตย์” ภายใต้การนำของ หทัยวรรณ โสรัจประสพสันติ (ครูบัว) จนได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย จากกรมการท่องเที่ยว  ผู้ประกอบการโฮมสเตย์เกิดการตื่นตัว อยากได้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย เกิดการเรียนรู้ ลงมือปรับปรุงโฮมสเตย์ของตน  ปัจจุบัน โฮมสเตย์บ้านแจ่มจ้า ได้รับการประเมินมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น ผ่านเกณฑ์ คุณภาพที่พักนักเดินทาง HOME LODGE จากกรมการท่องเที่ยว มีการรวมกลุ่มจัดตั้ง “ชมรมท่องเที่ยววิถีเมืองบางขลัง” มีการจัดกิจกรรมในงานประเพณีของตำบลปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 3 วัน,  มีการนำสินค้าผลิตภัณฑ์ ออกไปขายร่วมกับชมรมท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยอย่างต่อเนื่อง มีปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งแดง ยศวิชัย, อุเทนลำไย, ประพันธ์ ฟุ้งเฟื่อง และอรณี พูลเลิศ เข้ามาให้การส่งเสริมภาคภูมิปัญญาท้องถิ่น     

ผลสำเร็จของคนชุมชนกับงานวิจัยสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนครั้งนี้ หมู่ 1 บ้านคลองแห้ง ของเทศบาลฯได้รับการคัดเลือกผ่านเข้ารอบ ชุมชนสะอาด “Zero Waste” ปี 2564 จากคนชุมชนมีทักษะอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และครอบครัว โดยการนำวัสดุในท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้มาทำดอกไม้จันทน์ ทำผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาที่แก้ปัญหาน้ำเน่าเหม็นด้วย อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ต้อนรับ และขายให้แก่นักท่องเที่ยว เป็นจุดเรียนรู้ที่ให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้ลงมือทำอีกด้วย ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เห็นคุณค่า ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำมาสร้างคุณค่าทางจิตใจ สร้างมูลค่าเป็นเงินรายได้ให้แก่ตนเอง แก่คนในชุมชนได้ ได้รับคัดเลือกจาก กสศ. เป็น 1 ใน 5 แห่ง 

“รองโฆษกปชป.” สวน ส.ส.พปชร. ยัน “จุรินทร์” ไม่ได้นิ่งนอนใจแก้ปัญหาราคาหมูแพง -ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ และให้เกียรติทุกพรรค แนะ ส.ส.พรรคร่วมรบ.ทำการเมืองแบบสร้างสรรค์ ไม่ให้ร้ายโจมตี แข่งกันทำงานจะดีกว่า

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณที่นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ 

ออกมาติงพรรคประชาธิปัตย์เรื่องการบริหารงานของ 2 กระทรวงหลัก ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาราคาหมูแพง โดยได้ออกมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาราคาหมู ตั้งแต่ต้นปี 2565 ถึง 3 มาตรการ ทั้ง ห้ามส่งออกหมูเป็น เป็นเวลา 3 เดือน เช็คสต็อกเนื้อหมู พร้อมกับแจ้งราคาให้กรมการค้าภายในทุก 7 วัน และขอความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้ดูแล เพื่อให้ทราบปริมาณทั้งหมูเป็น หมูแช่แข็งทั้งประเทศ

อีกทั้งยังได้หารือกับ นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรฯ ที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์ โดยได้หารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เพื่อออกมาตรการเร่งรัดการส่งเสริมการเลี้ยงหมูในประเทศ พร้อมเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยราคาถูกหรือเงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเข้ามาเลี้ยงในระบบที่มีมาตรฐานและต้นทุนไม่สูงเกินไป เป็นระบบที่ป้องกันโรคได้และมีความปลอดภัยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

นางดรุณวรรณ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายจุรินทร์ ยังได้สั่งการให้กระทรวงฯทำงานเชิงรุก เพื่อดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนอย่างทันท่วงที โดยให้ติดตามราคาสินค้าทุกรายการทั่วประเทศ อีกทั้งดำเนินโครงการ หมูพาณิชย์ลดราคาหมู! ช่วยประชาชน เป็นครั้งที่ 2 จำนวน 667 หน่วย เพื่อลดภาระค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และให้ประชาชนมีช่องทางในการเลือกซื้อเนื้อหมูราคาถูกกว่าท้องตลาด ที่สำคัญคือได้สั่งการให้ดูแลควบคุมปัญหาอย่างใกล้ชิดทุกวัน หากประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนทางด้านราคาสินค้าที่ไม่เป็นไปตามกลไกหรือเกิดความยุติธรรมสามารถแจ้งร้องเรียนร้องทุกข์ได้ที่ 1569 สายด่วนกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์  

ส่วนเรื่องราคาปุ๋ยนั้น ก็ได้ให้กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร และสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย ดำเนินโครงการ พาณิชย์ลดราคา! ปุ๋ยช่วยเกษตรกร โดยให้เกษตรกรที่ต้องการสั่งซื้อปุ๋ยในราคาถูกกว่าท้องตลาดยังคงสามารถสั่งซื้อได้ผ่านกลุ่ม ,สถาบันเกษตรกรที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ เช่น สหกรณ์ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มแปลงใหญ่ เพื่อให้รวบรวมยอดการสั่งซื้อแจ้งไปยังเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ หรือสหกรณ์จังหวัดในแต่ละพื้นที่ ซึ่งโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว และสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี 

14 มกราคม “วันทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ” (National forest Conservation Day)

ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชน ช่วยรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่าจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพป่าไม้ของชาติ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางภาวะแวดล้อม จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลง ทั้งแปลงได้ 
 

พิธีเปิด “อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี” โดยได้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมมิต ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น

15 มกราคม พ.ศ. 2477 พิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของ ย่าโม โดยได้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมมิต ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรีคนแรกของประเทศ 

เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) ครั้นเมื่อยังเป็น พระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา

องคมนตรี และรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็ก บรรจุพระอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ที่วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก อีกทั้งยังอยู่ในที่แคบ ไม่สมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วยสัมฤทธิ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปไชย) ประติมากรเลื่องชื่อในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2510 

ทุกข์ซ้ำคนกรุง เรือคลองแสนแสบ ประกาศขึ้นราคาเริ่ม 14 ม.ค.นี้ 

นายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ผู้ให้บริการเดินเรือโดยสารคลองแสนแสบ เปิดเผยว่า ว่า บริษัทฯ ได้ประกาศปรับราคาค่าโดยสารระยะละ1 บาท  มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.65 เป็นต้นไป จากปัจจุบันเก็บอยู่ที่ราคา 8-18 บาทตามระยะทาง จะปรับเพิ่มเป็น 9-19 บาทตามระยะทาง หรือปรับเพิ่มขึ้นระยะละ 1 บาท ซึ่งการปรับขึ้นค่าโดยสารครั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถตรึงราคาค่าโดยสารได้อีกต่อไป เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลง และได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลปรับราคาสูงขึ้นอยู่ที่ลิตรละ 29 บาท และมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

สำหรับการปรับค่าโดยสารดังกล่าวเป็นไปตามประกาศของกรมเจ้าท่า โดยบริษัทฯ ไม่เคยปรับค่าโดยสารสูงถึงเพดานที่กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะประเมินผลอีก 2-3 เดือน หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายจะพิจารณากลับมาเปิดบริการแบบเต็มรูปแบบทุกวันจันทร์-ศุกร์ และ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่จำเป็นต้องใช้บริการเรือแสนแสบ

‘กรมสรรพากร’ รับนโยบาย ‘บิ๊กตู่’ คาดเกณฑ์เก็บภาษีคริปโตเสร็จเดือนนี้

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์การคิดภาษีจากกำไรการขายหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.นี้ หลังจากนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กรมสรรพากรเร่งสร้างความชัดเจน เกี่ยวกับแนวคิดคำนวณภาษีจากกำไร การขายหรือการลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี ให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป  

ทั้งนี้ กรมสรรพากร ได้หารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น  ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อนำมาจัดทำแนวทางการปฏิบัติในการเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เกิดความเหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนและบริบทในปัจจุบัน โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องจากการถือครองหรือได้รับผลประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล

8 คำถามที่ประชาชนสงสัยและอยากรู้ กรณี 'ตั๋วทอน' ดอดฉีดวัคซีนก่อนคนแก่

จากกรณีมีการเผยแพร่ใบรับรองการฉีดวัคซีนของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ที่พบว่าฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 แอสตร้าเซนเนก้า ล็อตที่ A10062 ซึ่งผลิตจากโรงงานสยามไบโอไซแอนซ์ฯ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 64 เวลา 19.15 น. ที่โรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

ล่าสุด ดร.เสรี วงษ์มณฑา บรรณาธิการบริหาร เพื่อวางกลยุทธ์สื่อสาร ศบค. โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กดังนี้

คำถามที่ประชาชนสงสัยและอยากรู้

1. เป็นกลุ่ม 608 หรือไม่จึงได้ฉีดในช่วงเวลาดังกล่าว

2. ทำไมถึงยอมรับวัคซีน Astra ที่ผลิตโดย Siam Bioscience ที่ตัวเองเคยด้อยค่าด้วยความเท็จ

3. จริงหรือว่าเป็นวัคซีนเหลือก้นขวด แต่พอค้นหลักฐานก็พบว่าฉีดกันทั้งครอบครัวหลายคนมาก ตกลงเขาได้รับวัคซีนก้นขวดกันเหรอคะ

ไอเดียสุดเจ๋ง! โหลใส่น้ำผึ้งกินได้ ทำจากขี้ผึ้ง ย่อยสลายง่าย ดีต่อสิ่งแวดล้อม

แบรนด์ Bee Loop ออกไอเดียบรรจุภัณฑ์ใส่น้ำผึ้งจากขี้ผึ้ง ทานได้จริงแถมยังฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย

บรรจุภัณฑ์ดีไซน์ใหม่จากแบรนด์ Bee Loop ทำจากวัสดุขี้ผึ้ง ซึ่งบรรจุภัณฑ์นี้ใช้วัสดุ 2 อย่าง คือวัสดุที่ผึ้งงานผลิตจากต่อมไขผึ้ง เพื่อใช้สร้างและซ่อมแซมรวงผึ้ง และเชือกลินินตรงฝาสำหรับเปิดฝาบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์นี้นำมาทดแทนตัวเดิมนั้นก็คือแก้ว ทาง Bee Loop เลยปรับเปลี่ยนมาใช้วัสดุนี้แทน เก็บน้ำผึ้งใส่ลงขี้ผึ้งของแท้ !

แถมบรรจุภัณฑ์นี้ยังสามารถรับประทานได้จริง โดยตัวขี้ผึ้งสามารถรับประทานได้เลย และตัวบรรจุภัณฑ์เองยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียไวรัส สามารถเก็บน้ำผึ้งได้อีกนาน ไม่เสียรสชาติแน่นอน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top