Friday, 26 April 2024
TheStatesTimes

ชงเข้ม ‘คนละครึ่งเฟสใหม่’ ได้ครบ ‘ทู้กกกกคน’

ยังไง...ยังไง...จะเอามั้ยยย (เสียงลุง)

ชงเข้ม ‘คนละครึ่งเฟสใหม่’ ได้ครบ ‘ทู้กกกกคน’

.

เสียงลุงแถวทำเนียบแอบกระซิบข่าวโครงการคนละครึ่งระลอกใหม่ ใครอยากได้ เตรียมตัวไว้ให้ว่อง

.

ล่าสุด กฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เผยว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาโครงการคนละครึ่ง รวมทั้งการเติมเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามข้อสั่งการของ ‘ลุงตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม

.

เรื่องนี้คาดว่าจะต้องสรุปให้เสร็จในต้นเดือนธ.ค.นี้ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (ศบศ.) และครม.เห็นชอบ ตามขั้นตอนแต่ต้องด่วน

.

โดยเฉพาะไฮไลท์เด็ดอย่าง ‘โครงการคนละครึ่ง’ ที่กระทรวงการคลังพยายามจะเปิดโอกาสให้ ‘ทุกคน’ ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ทั้งหมด

.

สำหรับการพิจารณาแนวทางเบื้องต้นโครงการคนละครึ่งระลอกใหม่นั้น อาจเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับสิทธิในรอบแรกที่กำลังใช้สิทธิอยู่ สามารถเตรียมได้สิทธิ์อีกในรอบถัดไปโดยอัตโนมัติ

.

หรือๆๆ อาจมีการเพิ่มเติมวงเงินลงไปอีก และขยายเวลาใช้จ่ายไปถึงช่วงเทศกาลตรุษจีนต้นปีหน้าด้วย

.

นอกจากนี้ยังรวมถึงการเปิดให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับสิทธิระยะแรกมาลงทะเบียนได้อีก ส่วนจำนวนคนนั้น ยังต้องไปหารือกันก่อนว่าจะให้จำนวนเท่าใด เช่นเดียวกับวงเงินด้วย...

กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางเท่าไร?

เมื่อรายได้หลักหด...รายได้เสริมต้องมาให้ไว!!

.

ในปี 2562 บริษัท วัชรพล จำกัด เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มีรายได้รวม 1,706.03 ล้านบาท รายจ่ายรวม 1,722.93 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 36.04 ล้านบาท นับเป็นการขาดทุนเป็นปีแรก ภายหลังจากปี 2560 มีกำไรสุทธิ 603.79 ล้านบาท และปี 2561 มีกำไรสุทธิลดลงมา 313 ล้านบาท

.

ฉะนั้นจะเรียกว่ามาถูกทางหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ตอนนี้ไทยรัฐเองก็กำลังเตรียมโกทูธุรกิจใหม่ อย่างธุรกิจขนส่ง (Logistics) ที่กล้าพูดได้เลยว่า ธุรกิจจนส่งรุ่นพี่ๆ มีเสียวกันถ้วนหน้าแน่นวล...

.

เพราะ 'สปีดคาร์' คันเขียว ผู้เชี่ยวชาญการย่อระยะทางแบบว่า กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ขอแค่ 4 ชั่วโมงพอ น่าจะเป็นอีกทีเด็ดของธุรกิจสายขนส่งของกลุ่มสื่อหัวเขียว ก็เป็นได้ๆๆ

สายโสด...สนไหม!! ททท. ปิ๊งไอเดียชวนคนโสดเที่ยว ‘สลัดคาน’

สายโสด...สนไหม!!

ททท. ปิ๊งไอเดียชวนคนโสดเที่ยว ‘สลัดคาน’

.

โอกาสทองของคนที่ Need เที่ยวไปด้วย แถมอาจฟลุ้กได้ ‘สลัดคาน’ ไปในตัวมาถึงแล้ว หลังนโยบายใหม่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปี 64 ได้ออกมาวางทริปเส้นทางท่องเที่ยว หรือแห่งท่องเที่ยวใหม่เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่ม

.

หนึ่งในแนวคิดของ ททท. เป็นการคลิกไอเดีย ‘เส้นทางท่องเที่ยวสละโสด’ ทั้งในเส้นทางเที่ยวบนเครื่องบิน หรือเส้นทางล่องเรือแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไปทำกิจกรรม เช่น ไหว้พระและทำบุญ

.

โดยเป้าหมายของแนวคิดนี้ เป็นการสร้างสัมพันธ์ใหม่ให้คนโสดได้เจอ ‘เนื้อคู่’ (รอลุ้นว่าจะออกมาหน้าตายังไง) เพื่อต้อนรับเดือนแห่งความรัก (ก.พ.)

.

อย่างในส่วนเส้นทางเรือนั้น เบื้องต้นได้หารือกับทางผู้ประกอบการเรือแล้ว และน่าจะนำร่องในเส้นทางนี้ได้ก่อนในช่วงต้นปีหน้า

.

ส่วนทางอากาศ ได้มีการดึง ‘การบินไทย’ เข้ามาช่วยทริปการไหว้ขอคู่ ซึ่งจะเป็นการไหว้บนเครื่องบินทั่วประเทศไทย ในทริปชื่อ ‘บินทั่วไทยได้มงคลทั่วทิศ’ ระยะที่ 2 (เคยทำมาแล้ว)

.

แต่ครั้งนี้อาจมีเพิ่มเติมนอกจากบินวนบนฟ้า เช่น การบินลงไปไหว้พระในวัดป่า หรือวัดสำคัญๆ ที่คนต้องการลงไปไหว้ขอพร โดยใช้เครื่องบินของการบินไทย แอร์บัสเอ 380

.

...อย่างไรเสียต้องขอย้ำว่าทริปนี้เป็นการ ‘เปิดให้คนโสด’ เท่านั้นที่จะขึ้นไปเที่ยวในเส้นทางที่จะแจ้งในอนาคต

.

นอกจากนี้โปรเจ็กต์พาเที่ยวของททท. ในปีหน้า (64) น่าจะยังมีอีกเพียบ ทั้งทริปเพื่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความชื่นชอบทางด้านอาหารทุกประเภท กลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานด้านดิจิทัล หรือ ดิจิทัล นอแมด กลุ่มเส้นทางศรัทธาทัวร์ กลุ่มที่ต้องการไปสถานที่เพิ่มพลังฟื้นฟูสุขภาพ หรือสมดุลในร่างกาย และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์

.

เรียกว่าแต่ละกลุ่มนั้นจะมีเส้นทางการท่องเที่ยวของตัวเอง ซึ่งถือเป็นสินค้าการท่องเที่ยวหนึ่งที่จะออกมาในปี 64 หวังดึงนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ กลุ่มชาวต่างชาติที่พำนักในไทย หรือ เอ็กซ์แพท และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเปิดให้เดินทางเข้ามาในปีหน้าไปในตัว

.

แต่เอาใกล้ๆ ตอนนี้ใครอยากเที่ยวและอยากสมหวังในความรักในเวลาเดียวกัน รอตามข่าวจากทางททท. ได้เป็นระยะๆ โลด...

.

ที่มารูป: https://www.lamarieeauxpiedsnus.com/en/real-weddings-en/un-mariage-aux-forges-de-paimpont-en-bretagne/

 

สสร. ใครกันล่ะเนี่ย?

ผลการลงมติ เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ก็ได้ออกมาแล้ว โดยทั้งสองญัตติที่ผ่านการลงมติล้วนเกี่ยวข้องกับการตั้งสสร. ซึ่งรายละเอียดต่างกันแค่ ‘จำนวน’ ของ สสร. เท่านั้น โดยญัตติแรก จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และญัตติที่ 2 จากพรรคร่วมรัฐบาล สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้ง 150 คน และแต่งตั้ง 50 คน  ว่าแต่ สสร.เป็นใครกันล่ะแล้วเคยมีเป็นครั้งแรกรึเปล่านะ ?

.

วันนี้ The States Times อยากจะพาไปย้อนดูกันสักหน่อยว่า สสร.เรามีมากี่ครั้ง แล้วเขาเหล่านี้มีบทบาทอะไรกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ?

.

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า ‘สสร.’ คืออะไร ?

‘สสร.’  หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ หน่วยงานที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแล้วเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งหน่วยงานนี้มักจะมีขึ้นตอนที่เรามีแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วเราอยากจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรหรือต้องการประสานประโยชน์ ให้ตรงตามความต้องการทุกฝ่าย  จึงเกิดการตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาโดยจะปฏิบัติหน้าที่เพียงในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้นซึ่งในบ้านเราก็มีการจัดตั้ง สสร.มาแล้วทั้งหมด 4 ชุดด้วยกัน ได้แก่

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 1

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ต่อสภา และให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 40 คน ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดแรกนี้ได้มีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 2

จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ร่างรัฐะรรมนูญและให้เป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ และยังทำหน้าที่ในการคัดเลือกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกทั้งยังมีอำนาจที่จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ตนเองจัดทำด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 3

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 โดยชุดนี้มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ โดยกำหนดเวลาร่างภายใน 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกครบจำนวน โดยในการร่าง สสร. ต้องคำนึงถึงความเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้ สสร. กำหนดพื้นฐานที่จะพาไปสู่การปฏิรูปการเมืองโดยปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป รัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดที่ 3 นี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 4

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 18) และต้องเสนอความเห็นพร้อมกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน และการร่างรัฐธรรมนูญในชุดนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยการลงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

.

จะเห็นได้ว่าบ้านเรานั้นมีรัฐธรรมนูญที่ผ่านการร่างจาก ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ’หรือ สสร. มาแล้วทั้งหมด 4 ฉบับด้วยกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน จากการร่างบนพื้นฐานความเห็นของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญนอกจากจะเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนทุกคนแล้วยังเป็นหน่วยงานที่ช่วยลดความร้อนระอุในการเมืองและประสานประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างแท้จริงอีกด้วย

บทบาทใหม่ของ 'อริยะ พนมยงค์'

กลายเป็นอีกคนที่น่าจับตามามองในช่วงนี้!! สำหรับ 'อริยะ พนมยงค์' อดีต Head ของ Google ประเทศไทย, อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท LINE ประเทศไทย

.

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational พ่วงบทบาทใหม่ในการเข้ามาเป็นผู้นำทัพ Digital Transformation ให้กับสยามพิวรรธน์ โดยจะเข้ามาปรับคอนเซ็ปต์ Digital Experience ให้แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทาง ‘ออมนิชาแนล’

5 Facts About 'ม.112'

5 เรื่องที่อยากให้รู้ กับมาตรา 112 ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ไปดูกัน !!
 

 

ถอดสมการ MV = PY กลยุทธ์ ‘ตก’ กำลังซื้อ เวอร์ชั่นรัฐ ใต้ไอเดีย ‘ทำมื้อนี้ให้ดีที่สุด’

ถูกด่าก่อนสอบสวน!! น่าจะเป็นตัวอธิบายความได้ดีที่สุดของโครงการคนละครึ่ง

.

แต่จนแล้วจนรอดโครงการดังกล่าวก็กลายเป็นการแก้ปัญหาที่ดูจะถูกจุดเกินคาดของภาครัฐ ที่งวดนี้ปล่อยหมัดฮุกเข้าตรงจุดไปยังกลุ่มคนฐานราก ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการหมุนวงล้อเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

.

แล้วตอนนี้ก็เข้าใจว่า ‘โครงการคนละครึ่ง’ น่าจะกำลังถูกเคาะต่อไปยาวๆ หลังจากกระทรวงการคลังพยายามจะเปิดโอกาสให้ ‘ทุกคน’ ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ทั้งหมดในระลอกใหม่ต้นปีหน้า

.

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า!!

.

อันที่จริงรัฐบาลไทยดูจะพยายามหากลยุทธ์ที่เหมาะกับเศรษฐกิจประเทศ โดยการใช้เงินให้ตรงจุด ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะเข้าเป้าบ้างไม่เข้าเป้าบ้าง

.

แต่ทราบหรือไม่ว่าทุกๆ เม็ดเงินที่ถูกใส่ลงไปในระบบโยบายเชิงประชานิยม ที่มักถูกวิจารณ์ว่าไร้สติ (แต่คนด่านี่แหละคนกดลงทะเบียนก่อนเพื่อน) เป็นการแก้ปัญหาแบบ ‘ทำมื้อนี้ให้ดีที่สุด’ (ขอยืมคำบาบีก้อนมาใช้หน่อย)

.

ไม่ว่าจะชิม ช้อป ใช้เอย / เราไม่ทิ้งกันเอย / การเพิ่มวงเงินเฉพาะให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเอย หรือแม้แต่ล่าสุดกับโครงการ ‘คนละครึ่ง’

.

แน่นอนว่าเวลาพูดถึงนโยบายเชิงเศรษฐกิจ ภาพมันก็ต้องกระทบวงกว้าง ต้องใหญ่ ต้องเปลี่ยนประเทศ แต่มันก็ไม่ใช่แบบนั้นทั้งหมด

.

ยิ่งคิดจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ถึงขั้น ส่งให้ ‘ไทยรวย’ แบบฉับพลันต ยิ่งไม่ง่าย เพราะไหนจะปัญหาภายในประเทศ การเมือง สังคม รวมถึงโรคระบาดอย่างโควิด-19 มันไม่ได้ง่าย

.

ฉะนั้นแนวคิดแบบ ‘ทำมื้อนี้ให้ดีที่สุดก่อน’ จึงไม่ใช่แค่เหมาะ แต่ต้องทำ เพราะผลลัพธ์ถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศจริงๆ

.

สังเกตุจากโครงการคนละครึ่ง ที่พอมีการเปิดให้ลงทะเบียนรอบ 2 ก็ลงกันสิทธิ์อย่างรวดเร็ว มียอดการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ไปแล้วถึง 13,764 ล้านบาท กระจายสู่ร้ายหาบเร่แผงลอยได้กว่า 650,000 แสนร้าน และรอบ 3 ก็ปิดดีลได้อย่างว่อง

.

อันที่จริง หากมองข้ามเรื่องการเมือง แล้วมาคุยเรื่องเบาๆ (เบาชิบหาย) ในเชิงเศรษฐศาสตร์

.

สิ่งที่พอสะเดาะให้เข้ากับกลยุทธ์ของโครงการคนละครึ่งนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีปริมาณทางการเงินอย่างน่าสนใจ

.

โดยทฤษฎีดังกล่าว ถูกย่อยลงมาบนสมการหนึ่งที่เรียกว่า ‘MV = PY’

.

‘MV = PY’ คืออะไร? ไม่ต้องถาม เดี๋ยวจะบอกง่ายๆ เลย เพราะตอนแรกคนเขียนก็งง!! บนความรู้น้อยทางเศรษฐศาสตร์

.

อธิบายตามหลักการ ก็คือ สมการของการแลกเปลี่ยน

M = Money supply ปริมาณเงิน

V = Transaction velocity of money เงินมีการเปลี่ยนมือเร็วแค่ไหน

P = Price level ดัชนีราคาของสินค้าที่ซื้อขาย

Y = Real GDP ระดับผลผลิตที่แท้จริง

.

เป้าหมายของนโยบาย คือ V (Velocity) หรือต้องการให้ ‘เงินมีการเปลี่ยนมือเร็ว’ เพราะถ้า V เยอะจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวสูง จากเงินที่หมุนเป็นเฟืองต่อเฟือง

.

นั่นคือหลักเศรษฐศาสตร์!! ทีนี้มาลองนึกภาพตามแบบภาษาคนกันดูบ้าง

.

มีนักเศรษฐศาสตร์เปรียบเทียบให้เห็นนโยบายแบบ ‘คนละครึ่ง’ ว่าเหมือนกับเรามีถาดหมุนลูกบอลล็อตเตอรี่สักอัน

.

จากนั้นก็หยอดเหรียญเข้าไป 10 เหรียญ

.

ถ้าหมุน 10 รอบแบบเร็วๆ เราจะเห็นเหรียญที่หมุน ดูเยอะขึ้นๆ กว่า 10 เหรียญ

.

ทั้งๆ ที่เหรียญมีเพียง 10 เหรียญ แต่ทำไมแค่หมุนรอบ ทำให้เรามองเห็นว่าเงินมันดูเยอะขึ้น นั่นก็เพราะ ‘การหมุน’ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การที่เงินจากกระเป๋าหนึ่ง โยกไปหาอีกกระเป๋าหนึ่ง

.

มีตัวอย่างหนึ่งที่พอจะขยายภาพของการทำ V ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดเป็นผลลัพธ์ต่อนโยบายที่โยนออกไป นั่นก็คือ

.

...สมมุติแบงค์ชาติมีการพิมพ์ธนบัตร 100 บาทออกมา 1 ใบ

.

แล้วธนบัตรใบนั้น ได้เริ่มต้นไปอยู่ในมือของนาย A

.

Part 1

นาย A ยังไม่คิดจะใช้เงิน จึงเก็บเงินไว้ในกระเป๋าตัวเอง 10 บาท และเอาไปฝากธนาคารจำนวน 90 บาท

.

นาย B ไม่มีเงินแต่ต้องการใช้เงิน จึงไปยืมจากธนาคารที่นาย A ไปฝากมาจำนวน 90 บาท

.

จากนั้นนาย B เอาเงินไปซื้อของกับ นาย C ทำให้เงินจำนวน 90 บาทไปอยู่ที่นาย C

...เท่ากับขั้นตอนนี้มีการซื้อขายเกิดขึ้น คิดเป็น GDP = 90 บาท

.

Part 2

คราวนี้ลูปจะวันกลับมาใหม่!!

โดยเริ่มที่นาย C มีเงินอยู่ 90 บาท แต่เขายังไม่คิดจะใช้เงิน จึงเก็บเงินไว้ในกระเป๋าตัวเอง 10 บาท และเอาไปฝากธนาคาร 80 บาท (เหมือนกับนาย A)

.

นาย D ไม่มีเงิน แต่ต้องการใช้เงิน จึงไปยืมเงินจากธนาคารที่นาย C ไปฝากมาจำนวน 80 บาท

.

จากนั้นนาย D ก็ไปซื้อของกับ นาย E ทำให้เงินจำนวน 80 บาทไปอยู่ที่นาย E

...เท่ากับขั้นตอนนี้มีการซื้อขายเกิดขึ้น คิดเป็น GDP = 80 บาท

.

เมื่อนับไทม์ไลน์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจากแบงก์ชาติที่ให้เงินนาย A มา จนถึง GDP ของ Part1 ที่ 90 บาท + GDP ของ Part2 ที่ 80 บาท ได้ทำให้เกิด GDP รวมจาก ‘การหมุน’ ของเงิน 100 บาท เป็น 170 บาท

.

ทีนี้พอมาเทียบกับโครงการคนละครึ่งแล้ว เลยกลายเป็นว่าการใส่เงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจของรัฐ มีส่วนช่วยอย่างมากให้เหรียญแค่ 10 เหรียญถูกแกว่งจนกลายเป็นภาพเหรียญที่มากกว่า 10 จากการซื้อ ยืม และเก็บวนไปเรื่อยๆ

.

โดยการหมุนตรงนี้ มีดีที่โฟกัสไปยังการหมุนวนเม็ดเงินกันระหว่างกลุ่มประชาชนฐานรากและฐานกลาง ที่ไม่เอื้อต่อฐานใหญ่ ซึ่งทำให้เม็ดเงินอุดเป็นคอขวด

.

นี่จึงเป็นอีกสูตรการกระตุ้น GDP ที่ควรทำในจังหวะที่ ‘กำลังซื้อ’ ของประชาชน ‘ชะลอตัว’ คนไม่มีเงิน ก็กล้าใช้เงิน เพราะมีรัฐช่วยค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง

.

ขณะเดียวกันคนที่มีเงินอยู่แล้ว ก็อยากดึงเงินออกมาใช้ให้มากกว่าเดิม เช่น เคยซื้อสินค้า 1 ชิ้น ในราคา 300 บาท แต่โครงการคนละครึ่ง ทำให้เสียแค่ 150 บาท จึงรู้สึกว่าการนำเงินส่วนต่างอีก 150 บาทไปใช้ต่อ ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เป็นจิตวิทยาเพิ่มความกล้าในการใช้จ่ายเงินโดยไม่รู้ตัว

.

แต่กว่าจะมาถึงสูตรนี้ได้ อยากรู้นักว่าก่อนหน้านี้ ปล่อยให้ใครชี้เป้าเศรษฐศาสตร์ จนเศรษฐกิจแป้กไม่เลิก…

.

อ้างอิง: https://www.asquareschool.com/2015/08/02/mv-py/

S&P การันตี...ไทยเข้มแข็ง!! หลังศก.ไทยแรงบวกหนุนเพียบ

S&P Global Ratings สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
.
โดยนางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้
.
1. คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีความเข้มแข็งภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ หนี้รัฐบาลอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล และสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า
.
2. ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง แม้ว่าการดำเนินนโยบายการคลังผ่านมาตรการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะทำให้การขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563-2564 และหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่ส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการคลัง
.
3. S&P เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตในระยะปานกลางได้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นร้อยละ 6.2 เป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ อีกทั้งรัฐบาลยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และยังส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Public Private Partnership) เพื่อลดความเสี่ยงทางการคลังของรัฐบาลให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ
.
4. ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สภาพคล่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง โดย S&P คาดว่าสภาพคล่องต่างประเทศ (External liquidity) ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับคงที่และไม่น่ากังวล นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพด้านราคา เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
.
ประเด็นที่ S&P ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องและเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง

28 พฤศจิกายน...วันแห่งการประดิษฐ์หัวตัวเอง

อ่านชื่อวันกันไม่ผิดหรอก วันนี้เป็นวันแห่งการประดิษฐ์หัวตัวเอง หรือ Make Your Own Head Day วันชื่อแปลกนี้ถูกคิดขึ้นมา เพื่อให้เราได้ย้อนกลับมามองตัวเอง ได้มองเห็นข้อดีและข้อเสียของตัวเรา

 

ถามว่ามองย้อนยังไง? วันนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ประดิษฐ์ศรีษะหรือ ‘หัวตัวเอง’ ในรูปแบบใดก็ได้ ตามแต่ความถนัด เช่น วาด ปั้น หรือแกะสลัก สุดแล้วแต่จะสร้างสรรค์กันออกมา

 

แม้จะเป็นกิจกรรมที่มีความสนุก เพราะจู่ๆ ได้ลุกขึ้นมาประดิษฐ์หัวตัวเอง ก็เป็นความรู้สึกแปลกใหม่ดี แต่อย่างที่บอกไป มันแฝงให้เห็นถึงการได้มองตัวเอง สังเกตตัวเอง เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ตัวเองไปในทางอ้อม พอพูดถึงการประดิษฐ์หัวตัวเอง เราเลยขอใช้ภาพประกอบการ์ตูนในตำนาน ‘ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่’ เพราะถ้าขึ้นชื่อเรื่องการเอาหัวตัวเองออกมาถอดดูแล้ว คงต้องยกให้แม่หนูน้อยอาราเล่คนนี้นี่เองงงง!


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top