Saturday, 12 October 2024
PoliticsQUIZ

คปส.ได้ซีน ปัดตอบยุรัฐประหาร

นายกฤตย์ เยี่ยมเมธากร เลขาเครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (คปส.) บุกหน้ากองบัญชาการกองทัพบก ยื่นหนังสือถึง ผู้บัญชาการทหารบก ให้กำลังใจ ผบ.ทหาร ผบ.ตำรวจ และทหารทั่วประเทศ เพื่อให้มีพลังแก้ไขปัญหาและปกป้องสถาบัน

ประเด็นยื่นจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ผบทบ. ทำรัฐประหาร เลขาคปส. เลี่ยงตอบ ย้ำวันนี้มาให้กำลังใจเท่านั้น ขณะเดียวกันชายสวมเสื้อเหลืองชูป้ายเตรียมป่วน ระบุข้อความว่า “การรัฐประหารคือกบฏ” ก่อนรีบแยกย้ายไร้เหตุชุลมุน

คมนาคมชงงบ 6 แสนล้าน (จะพอใช้เหรอ?)

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เปิดเผยผลการประชุมจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ.2565 จ่อของบทะลุ 6.15 แสนล้านบาท

.

โดยมอบให้แต่ละหน่วยงานจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีโดยกรมทางหลวง (ทล.) นำโด่งของบกว่า 3.6 แสนล้านบาท โดยกว่า 8 หมื่นล้านทุ่มโครงการแบริเออร์ยางพารา

.

นายศักดิ์สยามได้กล่าวว่า “เป็นเรื่องปกติที่แต่ละหน่วยจะตั้งคำของบประมาณไว้สูงเพื่อสำนักงานประมาณพิจารณาปรับลดอีกครั้ง”

จะแก้อะไรก็แก้ แต่หมวด 1 กับ 2 น้องขอไม่ยุ่ง

เมื่อวันที่ 10 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์ถึงท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ในวันที่ 17 และ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นี้ ยันไม่มีผลกระทบสามารถเดินต่อไปได้ อีกทั้งมีการนำร่างของไอลอว์เข้าสู่การพิจารณาด้วย แต่จะออกมาในรูปแบบไหนต้องรอรายละเอียดกันต่อไป ในกรณียื่นขอให้ประธานสภา ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ร่างขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เรื่องนี้ถือเป็นสิทธิ์ที่จะทำได้

แต่การแก้ไขยืนยันดำเนินต่อไป ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคประชาธิปัตย์ยังคงจุดยืนไม่แตะต้องกับหมวดที่ 1 และ 2 เช่นเดิม

ส้มหยุด!! หยุดป้ายสีนายกฯ

เมื่อวันที่10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือ "แรมโบ้" ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี แจงเหตุ “บิ๊กตู่” ปัดตกร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบบังคับ

เพราะเป็นหน้าที่ของชายไทยทุกคน ไม่มีเจตนาแอบแฝงอย่างที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พร้อม ส.ส.พรรคก้าวไกล กล่าวหาและระบุว่าการปฏิรูปกองทัพ ให้กองทัพเคารพสิทธิมนุษยชน ใช้งบอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้

แรมโบ้ได้กล่าวถึง นายธนาธร ว่า "อย่าให้ร้ายกองทัพที่ทำงานเสียสละให้บ้านเมืองมาโดยตลอด ซึ่งการใส่ร้ายของนายธนาธรและพรรคพวกจะส่งผลเสียต่อตัวนายกโดยตรง จากนี้เรื่องที่ไม่เป็นความจริงจะขอดำเนินคดีกับคนที่ ใส่ร้าย ป้ายสีนายก"

ข้าราชการการเมืองคนใหม่ ทำไมหน้าคุ้น ๆ

เมื่อวันที่ 11 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.40 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล "นายวิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในกรณีคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง นางสาวธนพร ศรีวิราช ภรรยา ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นข้าราชการการเมืองในตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สามารถทำได้หรือไม่

นายวิษณุ ได้กล่าวว่า "ทำไมจะทำไม่ได้ การแต่งตั้งข้าราชการการเมืองเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีในการเสนอแต่งตั้ง และนำเข้าครม.ไม่ใช่อำนาจของ ร.อ.ธรรมนัส

โดยตนไม่ทราบว่าใครเป็นผู้เสนอขึ้นมา ในส่วนที่สังคมตั้งข้อสงสัยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ในการแต่งตั้งภรรยาหรือญาติเข้ามาทำงาน"

นายวิษณุได้ให้เหตุผลว่า "ไม่ได้ผิดอะไร เพราะไม่ได้เข้าไปทำงานที่กระทรวงเกษตรฯและในด้านกฎหมายก็ไม่ได้ห้าม หากฎหมายห้ามหรือผิดคุณสมบัติก็ต้องแจ้งหรือตัดออกไป"

นายวิษณุยังทิ้งท้ายด้วยว่า "ส่วนตัวไม่รู้จัก นางสาวธนพร แล้วทำไมถึงมาถามตน มาทราบข่าวจากสื่อด้วยซ้ำไปว่าเกี่ยวดองอะไรกัน"

ประวิตรยิ้มอรุ่ม! ม็อบบางตา

เมื่อวันที่ 11 พฤษจิกายน พ.ศ.2563 ณ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ที่มวลชนกลุ่มราษฎรนั้นมีความอ่อนแรงลงไปมาก

จึงมีการสอบถามเพิ่มเติมว่ามีการส่งคนไปเจรจากับทางผู้ชุมนุมหรือไม่ แต่ไร้วี่แววคำตอบจาก พล.อ.ประวิตร นอกจากการส่ายหน้าแทนคำตอบเท่านั้น เมื่อถามถึงความเห็นต่อจำนวนผู้ชุมนุมที่น้อยลง จึงได้คำตอบว่า "ก็ดี ดี"

เมื่อถามถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มอบหมายให้ไปพูดคุยกับ ส.ส. พรรคพปชร. เพื่อถอนชื่อญัตติรัฐสภา มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210(2) พล.อ.ประวิตร จึงตอบเพียงว่า "ใครให้ถอน ไม่ได้บอกผม"

อีกทั้งเมื่อถามถึงเรืองที่นายกฯ ขอให้พูดคุยกับส.ส.พรรคพปชร. ที่แสดงท่าทีไม่เหมาะสมต่อนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และอดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "บอกไปแล้ว" เมื่อถามย้ำว่าจะถึงขั้นตัดเงินสนับสนุนหรือไม่ พล.อ.ประวิตร ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม

ใจเย็นก่อน ขอทีละเรื่อง

เมื่อวันที่ 12 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงความคืบหน้าในการบรรจุญัตติของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ขอให้รัฐสภามีมติส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 3 ฉบับ ไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ

เพื่อวินิฉัยว่ามิชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ เนื่องจากวันที่ 11 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาจากการประชุมหารือกับวิปทั้ง 3 ฝ่าย ว่า ถ้าหากต้องการประชุมตามปกติต้องบรรจุระเบียบวาระตามเรื่องที่เข้ามาไปเป็นลำดับ

แต่เนื่องจากเมื่อผลประชุมออกมา ทั้ง 3 เห็นว่าให้นำเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญก่อน และในวันที่ 17 - 18 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 จะบรรจุเฉพาะเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วและร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ในส่วนญัตติของนายไพบูลย์ และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะบรรจุหลังวันที่ 18 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563

สมานฉันท์สมชื่อหรือเอาเท่ห์

ในช่วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองบ้านเราร้อนระอุมากขึ้นทุกที และดูเหมือนจะร้อนขึ้นเรื่อยๆไม่มีหยุด จากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่เมื่อการเรียกร้องเริ่มมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป คงหนีไม่พ้นต้องมีคนเข้ามาห้ามมวย เพื่อช่วยคลี่คลายความขัดแย้งอันร้อนระอุนี้ให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

แล้วใครล่ะจะเป็นคนที่เข้ามาห้ามมวยระดับประเทศ ? ในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่ผ่านมาในประเทศ กรรมการห้ามมวยก็มีมาหลาย ๆ ต่อหลายชื่อต่างกันไปในแต่ละยุครัฐบาลก็เท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงในช่วงเวลานี้ก็คงหนีไม่พ้น "คณะกรรมการสมานฉันท์"

ซึ่งนำทีมโดยท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา "ชวน หลีกภัย" ที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันพระปกเกล้าให้วางโครงสร้างคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์หาทางออกให้ประเทศ

ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์นี้จะเข้ามามีบทบาทในการเปิดเวทีให้คู่ขัดแย้งได้พูดคุยถึงปัญหาและหา "ตรงกลาง" ให้กับทั้งสองฝ่าย โดยให้ทั้งสองฝ่ายมาถกปัญหากันด้วยเหตุและผล เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งจุดประสงค์ในการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้นมาจากการที่ต้องการให้คนในประเทศไม่ทะเลาะกันและปรองดองกันในที่สุด แต่สุดท้ายเมื่อตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาแล้วจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงอย่างชื่อหรือเปล่าล่ะ ?

โดยแนวทางในตอนนี้มีด้วยกัน 2 แนวทาง ทางแรกมีคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ 7 หรือ 5 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจหรือจะเป็นตัวแทนของกลุ่มผุ้ชุมนุม ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ส.รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นโครงสร้างที่มีองค์ประกอบครบทุกฝ่าย

ในส่วนของทางที่สองคือการเสนอ "คนกลาง" จากแต่ละฝ่ายเพื่อมาเป็นคณะกรรมการหรือประธานรัฐสภาสรรหาบุคคล หรือจะตั้งประธานคณะกรรมการโดยการทาบทามมาเป็นคณะกรรมการ

ในตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปมาว่าจะใช้แนวทางไหนหรืออาจมีการนำทั้งสองแนวทางมาผสมกันเพื่อให้เกิดความลงตัวมากขึ้น ถ้าเกิดมาในแนวทางนี้จริงก็คงเป็นการหาทางออกที่ผ่านเสียงจากทุกฝ่าย

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าไม่มีฝ่ายค้านไหนเข้าร่วมสังฆกรรมด้วย หรือง่าย ๆ "ไม่เอาด้วย" เพราะหลายฝ่ายกลับมองว่าเป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลมากกว่า

ถ้าคณะกรรมการสมานฉันท์เป็นเหมือนกับการหงายการ์ดปรองดองอย่างรัฐบาลต่างๆที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากการเป็นฟูกลดแรงกระแทกให้กับทางฝั่งรัฐบาลหรือเป็นการซื้อเวลาเสียมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ที่สุดท้ายแล้วข้อเสนอหรือรายงานต่าง ๆ ถูกดองหรือนำออกมาใช้เพียงน้อยนิด สุดท้ายถ้าเป็นไปในรูปแบบเดิมการตั้งคณะกรรการสมานฉันท์ก็มีขึ้นเพื่อลดแรงกระแทกจากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เท่านั้น

ม็อบไม่กลัว....กลัวไม่แก้

เมื่อวานนี้ (วันที่ 13 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563) นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติในฐานะเป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศว่า ได้ส่งร่างดังกล่าวไปที่รัฐสภาแล้วและได้พิจารณาแล้วว่าเป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศ

ซึ่งต้องพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา โดยได้บรรจุระเบียบวาระแล้ว แต่ตามขั้นตอนการพิจารณากฎหมายประชามติต้องนำไปหารือกับวุฒิสภาก่อนว่าพร้อมเมื่อไหร่

ในส่วนรัฐสภาจะพิจารณาให้เสร็จ 3 วาระในคราวเดียวหรือไม่ขึ้นอยู่กับมติของของที่ประชุมรัฐสภาโดยนายชวนยังได้กล่าวอีกว่า ในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 17 - 18 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 จะมีเพียงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น

ซึ่งได้เตรียมความพร้อมสำหรับการลงมติแล้ว รวมไปถึงการรองรับผู้ชุมนุมที่จะมาติดตามการประชุมรัฐสภาด้วย เพราะทางส.ว. มีความกังวลในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการกำชับเป็นพิเศษเพราะทางสภาฯดำเนินการอยู่แล้ว ส่วนเรื่องข้างนอกสภาฯก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูแล

การเมืองที่ไม่จบลงแค่ ‘ ม็อบ ’

“ ศิลปะ “ เป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับมนุษย์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปในสังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงเรื่องการเมือง ศิลปะจึงเป็นกระบอกเสียงของประชาชนที่สะท้อนความเห็นผ่านการเรียกร้องอย่างมีชั้นเชิงจากความสร้างสรรค์ในศิลปะ เมื่อเห็นแบบนี้แล้วม็อบก็คงไม่ใช่ทางออกเดียวที่จะแสดงความเห็นหรือแสดงจุดยืน

.

The States Times จึงได้รวม 4 ผลงานศิลปะที่สะท้อนภาพทางการเมืองที่ไม่ได้มีเพียงแค่ ‘ ม็อบ ’ จากศิลปินสุดเจ๋งที่ใช้ศิลปะมาแสดงออกอย่างแสบสันและสร้างสรรค์

.

.

A Show of Hands - Htein Lin
ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินชาวพม่า สื่อสารผ่านปูนปลาสเตอร์ที่หล่อจากมือของอดีตนักโทษทางการเมือง สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายที่รัฐบาลพม่าได้หยิบยื่นให้กับอดีตนักโทษเหล่านี้
.
Credit : https://www.albrightknox.org/art/exhibitions/htein-lin-show-hands

.

.

Israeli & Palestinian Pillow Fight- Banksy
ผลงานจากศิลปินชื่อดังระดับโลกที่ฝากผลงานเสียดสีแสนเจ็บแสบไว้ตามผนังตึกบ้านเรือนต่างๆเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับผลงาน Israeli & Palestini-an Pillow Fight ภาพสะท้อนของสงครามที่มีเพียงกำแพงกั้น ของสงครามอิสราเอลและปราเลสไตล์
.
Credit : Facebook Banksy

.

.

Politicians' Lies - Marco Melgrati
ผลงานสุดกวนจากศิลปินอิสระชาวอิตาเลียน
ผู้เสียดสีการเมืองผู้จิกกัดนักการเมืองผ่านภาพวาดที่ว่าด้วยคำโกหกต่างๆที่ออกมาผ่านฉากหน้าที่อยู่ในรูปแบบนักการเมือง
.
Credit : Facebook Marco Melgrati

.

.

Carcass - Petr Pavlensky
ศิลปะแสดงสดจากศิลปินชาวรัสเซีย ที่ทุ่มสุดตัวด้วยการนอนเปลือยกายในลวดหนามเพื่อแสดงให้เห็นถึง จุดยืนในการต่อต้านนโยบายที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนจากรัฐบาลของรัฐเซีย
.
Credit : https://www.saatchigallery.com/art/art-riot.php


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top