Thursday, 24 April 2025
Politics

ปัจจุบันพิสูจน์แล้ว แก๊งผู้ก่อการ 2475 ใครร่ำรวย ใครลำบาก ใครสำนึกผิด

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ปัจจุบันนี้เป็นข้อพิสูจน์กันได้แล้ว ผู้ก่อการ 24 มิ.ย. 2475 คนใดบ้าง ร่ำรวยมหาศาล และมีใครบ้างที่ยากจนข้นแค้น ครอบครัวเดือดร้อนในการครองชีพ และใครบ้างที่สำนึกผิดในบาปบุญคุณโทษ หันไปพึ่งพระธรรม แสวงรสดื่มด่ำในสัจธรรม ขององค์พระบรมศาสดา”

ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิทคนสุดท้ายของ พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2523

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

‘ลัทธิฉ้อราษฎร์บังหลวง’ ลุกลาม ไม่มีใครสนใจจะปราบ มีแต่จะยึดเป็นเยี่ยงอย่าง

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ลัทธิฉ้อราษฎร์บังหลวงแพร่ขยายลุกลามใหญ่โต เพราะกินโกงแล้วก็รวยไป ครอบครัวสนุกสุขสำราญ ส่งลูกหลานไปเรียนเมืองนอกเป็นทิวแถว มีคฤหาสน์ใหญ่โตยิ่งกว่าวัง ไม่เห็นมีใครสนใจจะปราบ เพราะปราบไม่ลง กำลังเอาเยี่ยงอย่างกันต่อ ๆ มา…

“การฉ้อราษฎร์บังหลวงแพร่ขยายเต็มที่ ถึงบุคคล ข้าราชการตัวน้อย ๆ บางคนก็เริ่มรู้จักวิธีหาเงินเข้ากระเป๋าตนเอง โดยไม่ละอายใจที่เป็นไปได้ ในทางเลวร้ายถึงเพียงนี้  ก็เพราะมิได้สำนึกถึงคติพจน์ 'จงทำงาน เพื่อตอบแทนบุญคุณชาติ'”

ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิทคนสุดท้ายของ พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2523

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

‘จอมพล ป.’ เคยกล่าวไว้ ลูกหลานยังต้องสู้และแย่งชิงในระบอบเก่ากับระบอบใหม่

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ผมขอยืนยันว่า ในช่วงชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบกันไปอีก และแย่งกันในระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้”

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีไทย กล่าวอภิปรายต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมบทเฉพาะกาล พ.ศ. 2483

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

'ลุงชวน' ยัน!! ไม่เห็นด้วยผู้บริหารพรรคเข้าร่วมรัฐบาลเพื่อไทย ไม่หวั่น!! แม้จะเหลือเพียงคนเดียวในพรรคฯ ก็จะอยู่ประชาธิปัตย์

เมื่อวานนี้ (26 ส.ค.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง นายชวน หลีกภัย สส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย เดินทางเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง พร้อมเยี่ยมชมห้องประชุมมหาวิทยาลัยฯ และมีการประชุมหารือเตรียมเปิดโรงเรียนนานาชาติ ที่ จ.ตรัง โดยใช้เวลาในการประชุมกว่า 4 ชั่วโมง

หลังจากเสร็จสิ้นการประชุม นายชวน หลีกภัย ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ถึงกรณีนายชวน ไม่เห็นด้วยกับการที่พรรคประชาธิปัตย์ จะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย และนายชวน อาจจะถูกขับออกจากพรรคประชาธิปัตย์ได้นั้น

นายชวน กล่าวว่า ตนต้องขอขอบพระคุณพี่น้องชาวตรัง ผมเกิดมาจากพี่น้อง ผมได้เป็นผู้แทนราษฎรมาจากระบบไม่ซื้อเสียงไม่โกงเลือกตั้ง เหมือนนักการเมืองบางกลุ่ม มาด้วยความบริสุทธิ์ตลอดมา และพี่น้องเมตตาผมมาตลอด 50 กว่าปี  เป็น สส.คนเดียวที่อยู่มานานที่สุด 17 สมัย ไม่เคยแพ้ ไม่เคยตก ไม่เคยหยุด และผมก็ยังมั่นคงในขณะที่พรรคฯ จะรุ่งเรือง จะตกต่ำ ผมไม่เคยทิ้ง เหมือนบ้านเก่าที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ตนเองไม่ไป แต่ก็มีคนในพรรคฯ บางกลุ่มเขาอยากไปร่วม

ขอเรียนพี่น้องว่าคนที่อยากเป็นรัฐบาลไม่ได้ผิดอะไรหรอก แต่ผมเป็นคนรณรงค์กับพี่น้องเองว่า พี่น้องปักษ์ใต้อย่าเลือกพรรคไทยรักไทย อย่าเลือกพรรคเพื่อไทย เพราะเขามีนโยบายเลือกปฏิบัติแกล้งพวกเรา เขาบอกว่าจะพัฒนาเฉพาะจังหวัดที่เลือกเขา จังหวัดอื่นไว้ที่หลัง ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหน ไม่ว่ามาจากชุดยึดอำนาจ หรือชุดประชาธิปไตย ที่ใช้นโยบายแกล้งประชาชน เพราะไม่เลือกแล้วไม่พัฒนา แต่คุณทักษิณ เจ้าของพรรคเขาใช้มาตรการอันนี้ผมบอกว่าอย่าเลือก ปรากฏว่าเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ปักษ์ใต้เขาไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว ขณะที่ภาคอื่น ๆ เขาได้มาท่วมท้น แต่ภาคใต้ไม่ได้คนของพรรคเพื่อไทยเลย

ผมเป็นหนี้บุญคุณมากที่พี่น้องกรุณา เชื่อผมส่วนหนึ่งแล้วไม่เลือกพรรคฯ นี้ ดังนั้น เมื่อมีคนอยากจะไปร่วมรัฐบาลผมบอกว่าการไปร่วมก็ปกติ แต่ผมเคยประกาศไม่ให้เลือก บัดนี้ผมจะมาร่วมรัฐบาลที่ผมบอกว่าไม่ให้เลือก เท่ากับตนเองทรยศต่อประชาชน ผมขออนุญาตที่จะไม่เห็นในการไปร่วม เพราะฉะนั้นพี่น้องอย่างห่วง ผมเป็นเด็กบ้านนอก ผมเป็นคนต่างจังหวัด ที่พูดคำไหนคำนั้น แล้วก็เป็นคนรุ่นเก่า ยึดมั่นความกตัญญูรู้คุณต่อบ้านเมือง ต่อพรรคการเมือง ต่อผู้มีพระคุณ ผมรู้สึกบุญคุณที่พี่น้องทุกท่าน ท่านสนับสนุนมาโดยตลอด 

ในชีวิตการเมืองตั้ง 50 กว่าปี ซึ่งในประเทศไทยถือว่าผมเป็นผู้ที่อยู่นานที่สุดแล้ว ไม่เคยแพ้ ไม่เคยหยุด เพราะฉะนั้นผมก็ยังมั่นคงอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าพรรคฯ จะรุ่งเรืองหรือตกต่ำ แต่การที่คนส่วนหนึ่ง กรรมการชุดปัจจุบันนี้ เขามีความคิดแตกต่างกันไป ก็เป็นเรื่องของคนเหล่านั้น ถ้ายกมือผมก็คงแพ้ แต่ว่าผมก็บอกให้เขารู้ว่าตนเองไม่เห็นด้วย

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า กลัวว่าท่านชวนจะถูกขับออกจากพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายชวนยืนยันว่า ผมไม่ไป มีคนอื่นออกไปจากพรรคฯ หลายคน เสียดาย แม้กระทั่งคุณอภิสิทธิ์ฯ ซึ่งท่านเองก็ยังมีความผูกพันอยู่ ยังพบกันอยู่ประจำ ที่ท่านตัดสินใจลาออก เพราะว่าไม่สามารถที่จะเจรจาตกลงกันได้ แต่ผมอยู่ แม้เหลือผมคนเดียวผมก็จะอยู่ ไม่มีปัญหา

ทั้งนี้นายชวนฯ ได้พนมมือไหว้ขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกคนด้วยความเคารพ ยืนยันว่ายังทำงานอยู่เหมือนเดิม ยังดูแลปัญหาพี่น้องอยู่ตลอดเวลาไม่ได้หยุด ในสภาฯ ก็ยังอภิปรายในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้อง ห่วงเรื่องราคายางจะตกก็พูดแทนพี่น้องชาวตรังและภาคใต้

‘สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี’ ทรงเล่า ‘จอมพล ป.’ อยากล้างบาปและได้ก่อสร้าง ‘โรงพยาบาลพระปกเกล้า’

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“จอมพล ป. เคยมาเฝ้า เขาพูดว่า อยากจะล้างบาป เพราะทำกับท่านไว้มากเหลือเกิน จากนั้นแล้วก็เลยไปสร้างโรงพยาบาลพระปกเกล้า ไว้ให้ที่จันทบุรี ดูเหมือนจะสร้างไปทั้งหมด 5 ล้านบาท…

“หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และพระยามานวราชเสวี เคยไปขอเข้าเฝ้าบอกว่า ข้าพระพุทธเจ้าตอนนั้นยังเด็ก  คิดอะไรหัวมันรุนแรงเกินไป ไม่นึกว่าจะลำบากยากเย็นเป็นเพียงนี้ ถ้ารู้อย่างนี้ก็ไม่ทำ…

“ฉันก็ไม่ได้ว่าอะไรเขา เรื่องมันแล้วไปแล้ว ไม่เคยเก็บเอามาคิด”

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชบันทึกทรงเล่า ต่อข้อทูลถามถึงความคิดที่จะต่อต้านกับคณะปฏิวัติ

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เบื้องหลังอุดมการณ์ 'บางพรรค' ที่ยังแน่วแน่-ยืนหนึ่งเรื่องแก้ 112 เพราะผลประโยชน์ในฐานะ 'เด็กเช็ดรองเท้าตะวันตก' มันหอมหวน

สำหรับพรรค 'ส้มสามกีบ' เราคงต้องยอมรับกันตามตรงว่า อุดมการณ์ที่ตั้งมั่นในเรื่องการแก้ 112 ให้โทษอ่อนลง หรือการเดินหน้าล้มล้างการปกครองนั้น ต้องยกนิ้วให้ว่าแน่วแน่ มั่นคงมาก ๆ หาได้ยากยิ่งที่จะมีพรรคการเมืองใดในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กล้าหาญที่จะยืนหนึ่งในเรื่องการกัดเซาะสถาบันเบื้องสูงอย่างแข็งขันเช่นนี้

ขนาดถูก 'ยุบพรรคเดิม' ด้วยข้อหา 'ล้มล้างการปกครอง' ก็ยังประกาศชัดว่าจะนำแนวคิดอันเป็นอุดมการณ์เดิมมาใช้เป็นอาวุธหนัก หวังทะลุทะลวงทิ่มแทงสิ่งที่ตนเองฝังใจเกลียดชังให้มลายหายสูญไปให้ได้ในการ 'ตั้งพรรคใหม่'

อุดมการณ์แรงกล้าขนาดที่ว่า ปากท้องประชาชนไว้ทีหลัง นโยบายหลัก รอง หรือต่อจากนั้น หายใจเข้าออกก็จะมีแต่ทำยังไงก็ได้ที่ประเทศนี้ต้องไม่มีสถาบัน เพราะคือ 'งานหลัก' ที่ถ้าทำสำเร็จ โอกาสหลาย ๆ อย่างในการแอบเป็น 'เด็กเช็ดรองเท้าตะวันตก' ด้วยความซื่อสัตย์ ก็จะเข้ามาหา ทำให้มีอำนาจในการต่อรอง งานนี้เดิมพันจึงสูงลิบ และมาไกลเกินกว่าจะหันหลังกลับไปรักประเทศตัวเองเฉกเช่นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน 

คนเราถ้าลองเดินหลงผิดไปแล้ว แต่ยังพอจะมี 'คนข้าง ๆ' ที่เฝ้ามองด้วยความปรารถนาดี และจริงใจ คอยบอก คอยห้าม คอยทักท้วงให้หยุดพฤติกรรมเลว ๆ ก็ยังถือว่า 'มีบุญมากกว่าบาป' แต่หากไร้คนคอยชี้แนะ ใครห้ามก็ไม่ฟัง ถือดีแบบโง่ ๆ ตะบี้ตะบันจะล้มล้างสิ่งที่คนมากกว่า 14 ล้านเสียงไม่เล่นด้วย อนาคตก็คงจะจบไม่ต่างจากที่เคย

การเป็นนักการเมืองที่มีจุดยืน มีอุดมการณ์ ไม่ว่อกแว่กเอนไหวไปตามกระแสนอกหลักการของตัวเองนั้นดี ควรค่าแก่การยกย่อง สรรเสริญ แต่ควรยึดถือในด้านที่ส่งเสริมให้คนไทยรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักแผ่นดินของตนเอง มิใช่คอยหลอกเด็ก หรือต้มผู้ใหญ่ปัญญาเบาให้ไป 'ชูสามนิ้ว' กัดเซาะ ดูหมิ่น ล้มล้างสถาบันเบื้องสูง จนหลายคนต้องไปหมดอนาคตในคุก 

ตราบที่มีอุดมการณ์ชัดเจนในทางชั่ว ๆ แบบนี้ จบแล้วฟื้นมาตั้งพรรคใหม่อีกกี่ครั้ง เป้าที่หวังก็ยากจะสำเร็จ ด้วยที่นี่คือประเทศไทย ไม่เหมือนประเทศใดในโลก มิเช่นนั้นสถาบันเบื้องสูงจะไม่ยืนยาวถึงวันนี้

'อ.ไชยันต์' แชร์!! การยุบพรรคในฝรั่งเศส โดนมาแล้วเกือบ 100 พรรค จาก 'รัฐบาล-ศาล' ถาม!! อยากให้ไทย เปลี่ยนจากศาล รธน.มาเป็นรัฐบาลสั่งยุบพรรคได้แบบฝรั่งเศสไหม?

(27 ส.ค. 67) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ระบุว่า… “มารู้เรื่องการเมืองฝรั่งเศสกันครับ” / “การยุบพรรคการเมืองในฝรั่งเศส” รายงานตรงจากกรุงปารีส โดย คุณ ‘ณิเชล’

Bonjour de Paris, สวัสดีจากปารีสค่ะ

วันนี้ ณิเชลจะมาแชร์เรื่องการยุบพรรคการเมืองของประเทศฝรั่งเศสโดยย่อให้ค่ะ

พรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ต้องจดเป็นสมาคม (association) ก่อน ตามกฎหมายเกี่ยวกับสมาคม (la loi du 1er juillet 1901)

หากพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ได้ละเมิด มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตยและรัฐอธิปไตย (sovereign state), มาตรา 3 ของกฎหมายเกี่ยวกับสมาคม (la loi du 1er juillet 1901)

ทั้งรัฐบาลและศาล ‘ทริบูนาล จูดิซีแยร์’ (tribunal judiciaire) สามารถยุบพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองได้

รัฐบาลมีอำนาจยุบพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง โดยการออก ‘เดเคร’ (décret = decree) ตาม มาตรา L212-1 ของกฎหมายความมั่นคง หลังจากที่ได้มีมติในการประชุม ‘กงไซย์ เด มินิสตร์’ (Conseil des ministres = council of ministers) ของประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีความมั่นคง ‘มินิสตร์ ดังเตรีเยอร์’ (ministre d’Intérieur)

พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง ที่เข้าเกณฑ์ถูกยุบ ส่วนมากเป็นพวกหัวรุนแรง ‘เอ็กซเทร็ม’ (extrême ) ทั้งฝ่ายซ้ายและขวา ที่ :

1.สร้าง Discrimination, เหยียด (racist), เกลียดชาวต่างชาติ (Xenophobia)

2.ยุยงให้มีการเกลียดชังหรือสร้างความรุนแรงต่อกลุ่มคน ด้วยเหตุผลเชื้อชาติ, เพศ และ sexual orientation

3.ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงติดอาวุธ

4.มีลักษณะเป็น ‘มีลิส’ (milice) คือ กองกำลังกึ่งทหารทางการเมือง ตามกฎหมาย 10 มกราคม 1936 (แก้ไขเพิ่มเติมในปี 1972)

5.ต้องการแบ่งแยกดินแดนเพื่อปกครองเอง (independentist, separatist)

6.เข้าข่ายการก่อการร้าย (terrorist)

ตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมาย ‘มีลิส’ ในปี ค.ศ. 1936 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 มีกลุ่มการเมืองและพรรคการเมืองถูกยุบ รวมกันเกือบ 100 กลุ่ม/พรรค

ล่าสุด เป็น :

1.พรรคเล็กขวาจัด ชื่อ Civitas ‘ซีวีตัส’ มีแนวทางเน้นศาสนา, ต่อต้านชาวยิว (anti-semistism) และการสมรสเท่าเทียม ถูกยุบในวันที่ 4 ตุลาคม 2023 โดยรัฐบาล

2.กลุ่มการเมืองขวาจัด ใช้ความรุนแรง ชื่อ Les Remparts ‘เล ร็องปาร์’ อยู่ที่เมือง Lyon ‘ลียง’ ทางตอนใต้ มีแนวทางในการต่อต้านผู้อพยพ (immigrant) และเกลียดชาวต่างชาติ (Xenophobia) ถูกยุบในวันที่ 26 มิถุนายน 2024 โดยรัฐบาล

Voilà, à la prochaine (วัวลา อา ลา โพรเช็น) ไว้พบกันครั้งหน้าค่ะ

#ณิเชลการเมืองฝรั่งเศส

ศ.ดร.ไชยันต์ โพสต์ความเห็นเพิ่มเติมว่า คำถามสำหรับผู้ไม่เห็นด้วยกับศาลรัฐธรรมนูญในบ้านเรา คือ ถ้าบ้านเรา เปลี่ยนจากศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นให้รัฐบาลมีอำนาจออกกฎหมายยุบพรรค และ ศาลสามารถยุบได้ ตามแบบฝรั่งเศส จะยอมรับและเป็นธรรมมากกว่าไหมครับ?

'รศ.หริรักษ์' วิเคราะห์ปม 'เอกนัฏ' เชื่อ!! ไม่ได้เป็นพยานให้แก่คุณทักษิณแต่อย่างใด ด้านโซเชียล ติง!! 'เอกนัฏ' อย่าเป็น 'ผู้บริสุทธิ์' ที่สุดท้ายต้องถูกวิจารณ์กันเลอะเทอะ

(27 ส.ค.67) รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Harirak Sutabutr' ระบุข้อความว่า...

คุณวัชระ เพชรทอง ออกมาให้ข่าวว่า คุณเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ มีชื่อเป็นพยานให้คุณทักษิณ ในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่อัยการสั่งฟ้องไปแล้ว จากนั้นสำนักข่าวต่าง ๆ ต่างก็รายงานข่าวกันอย่างกว้างขวาง 

ฟังรายงานข่าวแล้วค่อนข้างสับสน บางสำนักรายงานว่า การไปเป็นพยานแต่ละฝ่ายคือ โจทก์และจำเลย จะต้องระบุรายชื่อพยานทางฝ่ายตัวเองยื่นต่อศาล แสดงว่าคุณทักษิณเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลย จึงมีคำถามว่า เหตุใดคุณทักษิณจึงเลือกคนที่เป็นศัตรูไปเป็นพยาน หรือเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการที่พรรครวมไทยสร้างชาติเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นรัฐมนตรี ทำให้คนที่ไม่ได้ตามข่าวอย่างละเอียดเข้าใจไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งคุณอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ออกมาให้ข่าวแทนคุณเอกนัฏว่า ที่คุณเอกนัฏไปเป็นพยานนั้น เป็นการให้ปากคำในชั้นการสอบสวนของตำรวจ ตำรวจมีหมายเรียกให้ไปให้ปากคำ ซึ่งเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ต้นปี จึงไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรัฐมนตรีแต่อย่างใด 

หลังจากนั้นก็มีการตอบโต้คำอธิบายของคุณอรรถวิชช์จากฝ่ายต่าง ๆ ว่า ตำรวจจะไม่เรียกตัวไปให้ปากคำเองโดยไม่มีการระบุชื่อจากโจทก์หรือจำเลย ดังนั้นคุณทักษิณจะต้องระบุชื่อให้คุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลยอย่างแน่นอน การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวเช่นนั้น จึงน่าจะไม่ใช่ความจริง

ในฐานะที่ผมเคยมีประสบการณ์ให้ปากคำกับตำรวจในคดีความผิดตามมาตรา 112 มาครั้งหนึ่ง จึงขอให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงดังนี้...

1. เมื่อมีผู้ไปร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้ที่กระทำสิ่งที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวน จะทำการรวบรวมพยานหลักฐาน และถามความเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นปี จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความมั่นใจในพยานหลักฐานแล้วก็จะส่งต่อไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด หากเห็นว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็อาจไม่ส่งไปยังอัยการ และคดีก็จะจบลงในชั้นตำรวจ

2. ในชั้นการสืบสวนของตำรวจ ยังไม่มีโจทก์หรือจำเลย มีแต่ผู้ถูกกล่าวหา จึงยังไม่มีการเสนอรายชื่อพยานในชั้นนี้ไม่ว่าฝ่ายใด 

3. กรณีคุณทักษิณ เรื่องผ่านการรวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจไปถึงอัยการ และอัยการสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว เรื่องในขณะนี้อยู่ที่ศาล และมีการนัดตรวจสอบพยานหลักฐานไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการสืบพยานแต่อย่างใด จะมีการสืบพยานครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีหน้า

การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวว่าคุณเอกนัฏได้ไปให้การกับตำรวจไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว น่าจะคลาดเคลื่อนเพราะจากที่เป็นข่าว คดีนี้ผ่านจากตำรวจไปถึงสำนักงานอัยการสูงสุดหลายปีแล้ว แต่ที่ยังไม่สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นเพราะตัวคุณทักษิณอยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถมาฟังคำสั่งของอัยการได้ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า ตำรวจ ได้เชิญคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นในคดีคุณทักษิณหลายปีมาแล้ว ซึ่งคุณเอกนัฏเท่านั้นที่สามารถบอกได้ 

ผมเองเคยได้รับการติดต่อจากตำรวจซึ่งเป็นรองผู้กำกับจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อไปให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้ถูกร้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งไม่ใช่เป็นหมายเรียก และเราสามารถปฏิเสธไม่ไปก็ได้ แต่ผมก็ไป เมื่อไปถึงท่านรองผู้กำกับก็นำโพสต์ของบุคคลหนึ่งใน Social Media ซึ่งมีคำว่า 'เจ้านาย' ว่าอ่านแล้วคิดอย่างไร ซึ่งเราก็ต้องอ่านข้อความทั้งหมดเสียก่อน จึงจะให้ความเห็นได้ เพราะคำว่า 'เจ้านาย' จะหมายถึงใครย่อมขึ้นอยู่ว่าอยู่ในบริบทไหน ความเห็นเราจึงอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้ถูกร้องก็ได้ ซึ่งก็น่าจะคล้าย ๆ กับคดีคุณทักษิณที่มีคำว่า 'Palace Circle' ที่จะต้องตีความว่า หมายถึงใครบ้าง 

ดังนั้นหากคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นต่อตำรวจในลักษณะที่ผมเคยไป ก็แสดงว่าคุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้แก่คุณทักษิณแต่อย่างใด เพียงไปให้ความเห็นต่อตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีคุณทักษิณเท่านั้น 

อย่างไรก็ดี คุณเอกนัฏควรต้องออกมาแถลงด้วยตัวเองว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันจนเลอะเทอะ และทำให้เสียชื่อเสียงไปโดยใช่เหตุ 

หวังว่าที่ยังเงียบอยู่คงไม่ใช่เป็นเพราะคุณเอกนัฏมีชื่อเป็นพยานให้จำเลยคือ คุณทักษิณในชั้นศาลจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงเป็นการให้ความเห็นในชั้นตำรวจอย่างที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าว หากเป็นเช่นนั้นจริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายมาก

ทั้งนี้ ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ออกมาโพสต์คอมเมนต์ข้อความขอบคุณ รศ.หริรักษ์ ที่ช่วยขยายความ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ว่า...

"ตำรวจออกหมายเรียกโดยอ้างว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ไปสอบเพิ่มเมื่อต้นปีจริงครับ ช่วงเดือนมีนาคม ผมไม่เคยเจรจา ซักซ้อมใด ๆ ครับ ในหมายเรียกไม่ได้ระบุว่าเหตุการณ์ช่วงไหน ระบุแต่ผู้ถูกกล่าวหา ข้อหา แต่ไม่ได้บรรยายพฤติกรรมครับ ซึ่งไม่นานมานี้ ผมเคยถูกเชิญโดยตำรวจไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีอื่น เราก็ไปตามหนังสือ ส่วนว่าจะต้องไปเป็นพยานในชั้นศาลหรือไม่นั้น ถึงวันนี้ ไม่ทราบเลยครับ ทราบแต่ว่าอัยการได้ส่งฟ้องไปแล้วครับ"

ขณะที่ด้าน ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ตอบคอมเมนต์ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "ควรชี้แจงตั้งแต่ตอนโดนกล่าวหาแล้วนะครับ"

ขณะที่ รศ.หริรักษ์ ได้ตอบกลับคอมเมนต์ของ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "เข้าใจแล้วครับ โล่งอกที่คุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้จำเลย และไปให้ข้อมูลต่อตำรวจ เมื่ออัยการมีคำสั่งให้สอบเพิ่มเติม ขอบคุณที่ชี้แจงครับ"

ทั้งนี้ มีชาวเน็ตท่านหนึ่งเข้ามาถามคอมเมนต์ของนายเอกนัฏ ด้วยว่า "เรื่องตำรวจออกหมายเรียกหรือจะไปเองก็เรื่องนึง แต่สังคมอยากรู้ว่าคุณเอกนัฏพูดประโยคนี้ "…(การ)บอกว่าคำพูดของทักษิณไม่เข้ามาตรา 112 นั้น" ตามที่ วัชระ เพชรทอง กล่าวหา ว่าเป็นความจริงหรือป่าวก็แค่นั้นเอง"

ด้าน นายเอกนัฏ ตอบกลับทันทีว่า "ไม่เคยพูดประโยคนี้ครับ" ซึ่งชาวเน็ตก็มองว่า "หากมีการนำคำอ้างแบบนี้มาใช้ ก็สมควรดำเนินการฟ้องผู้กล่าวอ้างคืนเสียบ้าง"

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในมุมมองของชาวเน็ตส่วนใหญ่ ยังเห็นไปในทางเดียวกันอีกด้วยว่า "นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงของพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ชอบทำอะไรเงียบๆ ไม่ค่อยออกมาตอบเรื่องใด ๆ ในทันที อย่างเรื่องดี ๆ ที่ทำไป ก็มักจะหายเข้ากลีบเมฆ แต่ถ้าเป็นเรื่องปมดรามาหรือประเด็นทางสังคม ก็มักจะปล่อยให้ถูกนำมาโจมตีและแพร่กระจายในโซเชียลโดยไม่มีการชี้แจงทันที... พรรค รทสช.ควรทำงานด้านการสื่อสารเพิ่มบ้าง"

‘เอกนัฏ’ แจง ไปให้การศาลและเจ้าพนักงานเป็นประจำ ยัน!! ไม่เคยพูด “คำพูดของทักษิณ ไม่เข้ามาตรา 112”

(27 ส.ค. 67) รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Harirak Sutabutr' ระบุข้อความว่า...

คุณวัชระ เพชรทอง ออกมาให้ข่าวว่า คุณเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ มีชื่อเป็นพยานให้คุณทักษิณ ในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่อัยการสั่งฟ้องไปแล้ว จากนั้นสำนักข่าวต่าง ๆ ต่างก็รายงานข่าวกันอย่างกว้างขวาง 

ฟังรายงานข่าวแล้วค่อนข้างสับสน บางสำนักรายงานว่า การไปเป็นพยานแต่ละฝ่ายคือ โจทก์และจำเลย จะต้องระบุรายชื่อพยานทางฝ่ายตัวเองยื่นต่อศาล แสดงว่าคุณทักษิณเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลย จึงมีคำถามว่า เหตุใดคุณทักษิณจึงเลือกคนที่เป็นศัตรูไปเป็นพยาน หรือเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการที่พรรครวมไทยสร้างชาติเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นรัฐมนตรี ทำให้คนที่ไม่ได้ตามข่าวอย่างละเอียดเข้าใจไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งคุณอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ออกมาให้ข่าวแทนคุณเอกนัฏว่า ที่คุณเอกนัฏไปเป็นพยานนั้น เป็นการให้ปากคำในชั้นการสอบสวนของตำรวจ ตำรวจมีหมายเรียกให้ไปให้ปากคำ ซึ่งเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ต้นปี จึงไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรัฐมนตรีแต่อย่างใด 

หลังจากนั้นก็มีการตอบโต้คำอธิบายของคุณอรรถวิชช์จากฝ่ายต่าง ๆ ว่า ตำรวจจะไม่เรียกตัวไปให้ปากคำเองโดยไม่มีการระบุชื่อจากโจทก์หรือจำเลย ดังนั้นคุณทักษิณจะต้องระบุชื่อให้คุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลยอย่างแน่นอน การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวเช่นนั้น จึงน่าจะไม่ใช่ความจริง

ในฐานะที่ผมเคยมีประสบการณ์ให้ปากคำกับตำรวจในคดีความผิดตามมาตรา 112 มาครั้งหนึ่ง จึงขอให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงดังนี้...

1. เมื่อมีผู้ไปร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้ที่กระทำสิ่งที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวน จะทำการรวบรวมพยานหลักฐาน และถามความเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นปี จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความมั่นใจในพยานหลักฐานแล้วก็จะส่งต่อไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด หากเห็นว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็อาจไม่ส่งไปยังอัยการ และคดีก็จะจบลงในชั้นตำรวจ

2. ในชั้นการสืบสวนของตำรวจ ยังไม่มีโจทก์หรือจำเลย มีแต่ผู้ถูกกล่าวหา จึงยังไม่มีการเสนอรายชื่อพยานในชั้นนี้ไม่ว่าฝ่ายใด 

3. กรณีคุณทักษิณ เรื่องผ่านการรวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจไปถึงอัยการ และอัยการสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว เรื่องในขณะนี้อยู่ที่ศาล และมีการนัดตรวจสอบพยานหลักฐานไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการสืบพยานแต่อย่างใด จะมีการสืบพยานครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีหน้า

การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวว่าคุณเอกนัฏได้ไปให้การกับตำรวจไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว น่าจะคลาดเคลื่อนเพราะจากที่เป็นข่าว คดีนี้ผ่านจากตำรวจไปถึงสำนักงานอัยการสูงสุดหลายปีแล้ว แต่ที่ยังไม่สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นเพราะตัวคุณทักษิณอยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถมาฟังคำสั่งของอัยการได้ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า ตำรวจ ได้เชิญคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นในคดีคุณทักษิณหลายปีมาแล้ว ซึ่งคุณเอกนัฏเท่านั้นที่สามารถบอกได้ 

ผมเองเคยได้รับการติดต่อจากตำรวจซึ่งเป็นรองผู้กำกับจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อไปให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้ถูกร้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งไม่ใช่เป็นหมายเรียก และเราสามารถปฏิเสธไม่ไปก็ได้ แต่ผมก็ไป เมื่อไปถึงท่านรองผู้กำกับก็นำโพสต์ของบุคคลหนึ่งใน Social Media ซึ่งมีคำว่า 'เจ้านาย' ว่าอ่านแล้วคิดอย่างไร ซึ่งเราก็ต้องอ่านข้อความทั้งหมดเสียก่อน จึงจะให้ความเห็นได้ เพราะคำว่า 'เจ้านาย' จะหมายถึงใครย่อมขึ้นอยู่ว่าอยู่ในบริบทไหน ความเห็นเราจึงอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้ถูกร้องก็ได้ ซึ่งก็น่าจะคล้าย ๆ กับคดีคุณทักษิณที่มีคำว่า 'Palace Circle' ที่จะต้องตีความว่า หมายถึงใครบ้าง 

ดังนั้นหากคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นต่อตำรวจในลักษณะที่ผมเคยไป ก็แสดงว่าคุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้แก่คุณทักษิณแต่อย่างใด เพียงไปให้ความเห็นต่อตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีคุณทักษิณเท่านั้น 

อย่างไรก็ดี คุณเอกนัฏควรต้องออกมาแถลงด้วยตัวเองว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันจนเลอะเทอะ และทำให้เสียชื่อเสียงไปโดยใช่เหตุ 

หวังว่าที่ยังเงียบอยู่คงไม่ใช่เป็นเพราะคุณเอกนัฏมีชื่อเป็นพยานให้จำเลยคือ คุณทักษิณในชั้นศาลจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงเป็นการให้ความเห็นในชั้นตำรวจอย่างที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าว หากเป็นเช่นนั้นจริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายมาก

ทั้งนี้ ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ออกมาโพสต์คอมเมนต์ข้อความขอบคุณ รศ.หริรักษ์ ที่ช่วยขยายความ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ว่า...

"ตำรวจออกหมายเรียกโดยอ้างว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ไปสอบเพิ่มเมื่อต้นปีจริงครับ ช่วงเดือนมีนาคม ผมไม่เคยเจรจา ซักซ้อมใด ๆ ครับ ในหมายเรียกไม่ได้ระบุว่าเหตุการณ์ช่วงไหน ระบุแต่ผู้ถูกกล่าวหา ข้อหา แต่ไม่ได้บรรยายพฤติกรรมครับ ซึ่งไม่นานมานี้ ผมเคยถูกเชิญโดยตำรวจไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีอื่น เราก็ไปตามหนังสือ ส่วนว่าจะต้องไปเป็นพยานในชั้นศาลหรือไม่นั้น ถึงวันนี้ ไม่ทราบเลยครับ ทราบแต่ว่าอัยการได้ส่งฟ้องไปแล้วครับ"

ขณะที่ด้าน ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ตอบคอมเมนต์ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "ควรชี้แจงตั้งแต่ตอนโดนกล่าวหาแล้วนะครับ"

ขณะที่ รศ.หริรักษ์ ได้ตอบกลับคอมเมนต์ของ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "เข้าใจแล้วครับ โล่งอกที่คุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้จำเลย และไปให้ข้อมูลต่อตำรวจ เมื่ออัยการมีคำสั่งให้สอบเพิ่มเติม ขอบคุณที่ชี้แจงครับ"

ทั้งนี้ มีชาวเน็ตท่านหนึ่งเข้ามาถามคอมเมนต์ของนายเอกนัฏ ด้วยว่า "เรื่องตำรวจออกหมายเรียกหรือจะไปเองก็เรื่องนึง แต่สังคมอยากรู้ว่าคุณเอกนัฏพูดประโยคนี้ "…(การ)บอกว่าคำพูดของทักษิณไม่เข้ามาตรา 112 นั้น" ตามที่ วัชระ เพชรทอง กล่าวหา ว่าเป็นความจริงหรือป่าวก็แค่นั้นเอง"

ด้าน นายเอกนัฏ ตอบกลับทันทีว่า "ไม่เคยพูดประโยคนี้ครับ" ซึ่งชาวเน็ตก็มองว่า "หากมีการนำคำอ้างแบบนี้มาใช้ ก็สมควรดำเนินการฟ้องผู้กล่าวอ้างคืนเสียบ้าง"

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในมุมมองของชาวเน็ตส่วนใหญ่ ยังเห็นไปในทางเดียวกันอีกด้วยว่า "นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงของพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ชอบทำอะไรเงียบๆ ไม่ค่อยออกมาตอบเรื่องใด ๆ ในทันที อย่างเรื่องดี ๆ ที่ทำไป ก็มักจะหายเข้ากลีบเมฆ แต่ถ้าเป็นเรื่องปมดรามาหรือประเด็นทางสังคม ก็มักจะปล่อยให้ถูกนำมาโจมตีและแพร่กระจายในโซเชียลโดยไม่มีการชี้แจงทันที... พรรค รทสช.ควรทำงานด้านการสื่อสารเพิ่มบ้าง"

‘บิ๊กป้อม’ เซ็นมอบ ‘วัน อยู่บำรุง’ คุม ‘พลังประชารัฐ กทม.’ ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ตามอุดมการณ์-นโยบายพรรคฯ

(28 ส.ค. 67) มีรายงานข่าวจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แจ้งว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ลงนามในคำสั่งพรรค พปชร.ที่ 7/2567 เรื่อง มอบหมายผู้รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีเนื้อหาว่า เพื่อให้การบริหารงานของพรรคพลังประชารัฐเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามอุดมการณ์ วัตถุประสงค์และนโยบายของพรรค

อาศัยอำนาจตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ. 2561 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (1) (จ) จึงขอมอบหมายให้นายวัน อยู่บำรุง เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและการประสานงาน งานกิจกรรมทางการเมืองของพรรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top