Tuesday, 29 April 2025
Politics

‘รศ.ดร.เจษฎ์’ จวก!! กระแสกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ลั่น!! ต่อให้ได้ถึง 750 เสียง ก็ไม่มีสิทธิ์ทำแผ่นดินลุกเป็นไฟ

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ได้กล่าวในรายการตอบโจทย์ ของสถานีข่าวไทยพีบีเอสกรณีปมกดดัน สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.ให้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้ามากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.

โดยประเด็นนี้ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ และประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย กล่าวในหัวข้อ จับกระแส ‘กดดัน ส.ว.’ โหวตเลือกนายกฯ ของทางรายการข่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญเขียนเรื่อง ส.ว.ไป และข้อต่อ ส.ว. มาทำอะไรตรงนี้ ทำไม ส.ว.ต้องมาลงมติเพื่อได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมุมดังกล่าวนักวิชาการในร่างแขกรับเชิญ ระบุต่อมา ตรงนี้อาจจะถือเป็นก้าวที่ คสช. ก้าวผิดไป

“ถ้าวันนี้ คสช.ไม่เอา ส.ว. มาร่วมด้วยเนี่ยนะ เมื่อวันปี 62 ท่านก็ได้เสียงข้างมากไปละ รัฐบาลที่จัดตั้งด้วยเสียงข้างมากทหาร วันนี้ถ้าหากเป็นระบบรัฐสภาจริง ๆ จะไม่เกิดเหตุหรือเกิดน้อยมากที่พรรรคที่ได้คะแนนเสียงลำดับ 1 กับลำดับ 2 จับ” กล่าวจบ รองศาสตราจารย์ยังยกตัวอย่างเพื่อย้ำข้อเท็จจริง โดยระบุให้ไปดูตัวอย่างของประเทศระบบรัฐสภาส่วนใหญ่ ไม่ใช่แต่เพียงพรรคจะไม่จับกัน แต่ประชาชนก็ไม่อยากให้จับมือร่วมรัฐบาลกันแบบนี้ด้วย เพราะจะใหญ่เกิน”

“ข้อ 2 ในระบบรัฐสภา สิทธิจัดตั้งก่อน ไม่ใช่ได้สิทธิเป็น ตอนนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่า ได้สิทธิในการจัดตั้งนะ ถ้าจัดตั้งไม่ได้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสิทธิลำดับพรรคที่ได้คะแนนเสียงลดหลั่นกันไป”

รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวต่อถึงประเด็นกลไก ตอนปี 60 มีประชามติการให้ความเห็นชอบคำถามพ่วง ว่าจะให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ ปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิส่วนใหญ่ 15,132,050 คน (58.07%) เห็นด้วยกับการให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

จุดนี้เองทำให้นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ฯ แสดงมุมมองตัวเองเสริมไปว่า ครั้งนั้นเมื่อไม่มีการผลักดัน ตีฆ้องร้องป่าว เท่ากับเป็นคะแนนบริสุทธิ์ ประชาชนก็มาออกเสียง ในกลไก คือ เอา ส.ว. มาเพราะปฏิรูปประเทศ

เมื่อถูกถามว่าอิสระจริงรึเปล่า? ถอดจากคำให้สัมภาษณ์ในรายการโดยละเอียดของ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก สามารถระบุได้ดังนี้

“ผมถึงได้พูดว่าการที่ไม่สามารถที่จะแสดงทรรศนะ ว่าเห็นด้วยหรือเห็นต่างเป็นสาธารณะ หรือมาบอกว่า เธอเห็นด้วยสิ เธอเห็นต่างสิ เธออย่าไปเอาร่างรัฐธรรมนูญ อย่าไปเอาคำถามเพิ่มเติมนะ เธอเอาสิ ไม่มีเลย แสงดว่ามันเป็นคะแนนบริสุทธิ จะด้วยภาวะการณ์ เขาลงคะแนนบริสุทธิ์ ถูกไหมครับ เขาลงคะแนนมาแล้วให้ ส.ว.มาเลือกนายกฯ อันนี้คือประชามติ

“ประชามติ คือ ประชาธิปไตยทางตรงนะ ตรงยิ่งกว่าการเลือกตั้งอีกนะ การเลือกตั้งมันเป็นประชาธิปไตยทางอ้อมนะ คุณเลือก ส.ส. และ ส.ส.ไปเลือกนายกให้นะ แต่นี่ประชาธิปไตยมันตรงนะ คุณจะเอาไม่เอา เขาเอามาแล้ว มันกลายเป็นหน้าที่แล้ว กลายเป็นลักษณะพิเศษของบ้านนี้เมืองนี้ ส.ว.เขาเลยต้องมาลงมติ ที่ถามไว้แบบนี้จะเป็นรอื่นเป็นแบบไหนได้อีกไหม คุณมี 160 ไปขอเพื่อน 150 เลขกลม เพื่อนอีกจำนวนรวมได้ 313 พอรวมได้ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญต้อง 376 ขึ้นไป”

“ความอยากได้ตรงนี้เองทำให้เกิด ‘ความบิดเบี้ยว’ ของกลไกรัฐสภา ส.ว. และ ส.ส. ต้องไม่เป็นพวกเดียวกัน ต้องไม่ใช่คนที่จะมาพูดคุยอะไรกัน ต้องตรวจสอบถ่วงดุลค้านอำนาจกันเสียด้วย”

มาถึงเรื่อง ปิยบุตร แสงกนกกุล ออกมาเคลื่อนไหวจะส่งผลอะไรต่อพิธาในการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลล่าสุดนี้บ้าง เจษฎ์ตอบข้อสงสัยนี้โดยเริ่มจากยกตัวอย่างกรณีที่หากต่อให้ การออกมาเคลื่อนไหวของนายปิยบุตรล่าสุดไม่มีผลใด ๆ กับฝ่ายที่สนับสนุนพรรคก้าวไกล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลต่อคนอื่น ๆ

รศ.ดร.เจษฎ์ ย้ำว่าอย่าลืมว่า ตอนนี้มีคนเลือกคุณ 14 ล้าน ไม่เลือก 27 ล้าน แล้วคนที่ไม่ได้มาเลือกด้วย อีกเท่าไร นับรวมให้ครบคนไทยทั้งประเทศ มีเสียง 160 หย่อน ๆ 300 กว่าคือไม่มี ก่อนจะสรุปด้วยวาจาแข็งกร้าวขึ้นกว่าเดิมว่า...

“ผมเรียนอย่างนี้ครับว่า ต่อให้คุณมีเสียง ส.ส. 500 มีเสียง ส.ว.อีก 250 มีคนไทยทั้งประเทศ คุณก็ไม่มีสิทธิทำลายสิ่งที่บรรพบุรุษคนไทยสร้างไว้ให้ แล้วบรรพบุรุษที่พูดถึงไม่ใช่แค่บรรพบุรุษเจ้าเท่านั้นด้วย เป็นบรรพบุรุษทั้งเจ้าทั้งคนไม่ใช่เจ้าทั้งหมด บรรพบุรุษไทยที่สร้างแผ่นดินนี้มา เขาคือเจ้าของแผ่นดินนี้ที่แท้จริง คุณเป็นผู้สืบทอดเขามา ต่อให้คุณได้ 500 เสียง ส.ส. 250 เสียง ส.ว. คุณก็ไม่มีสิทธิที่จะทำให้แผ่นดินนี้ลุกเป็นไฟ คุณไม่มีสิทธิที่จะทำลายแผ่นดินนี้

หลัง เจษฎ์ โทณะวณิก กล่าวจบ แพทย์หญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ก็กล่าวเสริมทันทีว่า เธอเองเห็นด้วย

“อันนั้นล่ะคะ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เขาไม่เข้าใจ เขาหาว่าเราบ้า อะไรประมาณนี้ เขามีเสียงข้างมาก สิ่งนี้เขาจะไม่ฟังเลย” คำกล่าวเสริมถึงกรณีกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ จากปากของแพทย์หญิงพรทิพย์ที่หลังจากแสดงมุมมองของตัวเธอจบ รศ.ดร.เจษฎ์ แขกรับเชิญนักวิชาการไทยก็ สรุปถึงสิ่งที่สังคมจะต้องทำและทุก ๆ ประเทศต้องทำ คือ ช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองนั้นให้พัฒนาและดีขึ้นเรื่อย ๆ ดีกว่าที่บรรพบุรุษทำไว้ เพื่อเราจะได้มีแผ่นดินที่ดี ดีขึ้นเรื่อย ๆ และเพื่อลูกหลานเราจะได้มีแผ่นดินที่ดีและดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่พากันทำลาย

‘พิธา’ ถือหุ้น ITV ตั้งแต่ปี 2551 โดยไม่ระบุ ‘ผจก.กองมรดก’ หลังบิดาเสียชีวิตปี 2549 ชนวนกกต.สอบปมคุณสมบัติต้องห้าม

จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้า พรรคก้าวไกล ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ตัวแสดงใหญ่’ทางการเมืองขณะนี้ ถูกนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบว่า นายพิธาถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น มีคุณสมบัติต้องห้ามสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.⁣ ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) บัญญัติห้ามมิให้บุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ หรือไม่

สำนักข่าวอิศรา ได้สรุปข้อเท็จจริงเอาไว้เป็นประเด็นสำคัญต่างๆดังนี้
1.นายพิธาถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จริง (เจ้าตัวยอมรับแจ้งว่าเป็นหุ้นมรดก) แต่ถือหุ้นในสัดส่วนน้อย
2. บมจ.ไอทีวี มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการสื่อ (รายละเอียดวัตถุที่ประสงค์ ข้อ (18 ) ข้อ (40) และ ข้อ (41) ตามเอกสารจดแจ้งต่อนายเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ปัจจุบันไม่ได้เผยแพร่ออกอากาศ บริษัทฯไม่ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ สถานะยังเปิดดำเนินการ  นำส่งงบการเงินทุกปี งบการเงินรอบปีสิ้นสุด 31 ธ.ค.2564 งบดุล สินทรัพย์รวม 1,270,457,704 บาท หนี้สิน 2,894,513,831 บาท ขาดทุนสะสม (ยังไม่ได้จัดสรร) 7,488,800,690 บาท งบกำไรขาดทุน รายได้รวม 23,683,771 บาท (ผลตอบแทนจากเงินทุนและดอกเบี้ยรับ) ค่าใช้จ่ายรวม 10,937,852 บาท กำไร สำหรับปี 10,177,063 บาท กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 4,169,647 บาท

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (แบบ บมจ.006) นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามารายงาน พบว่า
วันที่ 23 เม.ย.2550 (23/04/2550) นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ (บิดานายพิธา) ถือหุ้น บมจ.ไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้น ลำดับที่ 1,042 จากจำนวนผู้ถือหุ้นรวม 9,246 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180135571 
.
หลังจากนั้นวันที่ 10 เม.ย.2551 (10/04/2551) - 26 เม.ย.2566 ( 26/04/2566) มีชื่อนายพิธาเป็นผู้ถือครองหุ้นจำนวน 42,000 หุ้น มีรายละเอียดดังนี้
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10 เม.ย.2551 นายพิธาถือลำดับที่ 6,222 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,297 คน แจ้งที่อยู่ THE BOSTON CONSULTING GROUP U CHU LIANG BLD. ชั้น 31 ถ.พระราม 4 ลุมพินี ปทุมวัน เลขที่ใบหุ้น 06680180148012 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 9 เม.ย.2553 (09/04/2553) นายพิธาถือลำดับที่ 5,336 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,314 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180163154 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 มี.ค.2557 (25/03/2557) นายพิธาถือลำดับที่ 4,820 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,346 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110เลขที่ใบหุ้น 06680180200784 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 24 เม.ย. 2558 (24/04/2558) นายพิธาถือลำดับที่ 4,482 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,358 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110เลขที่ใบหุ้น 06680180210146

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 4 เม.ย. 2562 (04/04/2562) นายพิธาถือลำดับที่ 7,649 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,381 คน แจ้งที่อยู่ เลขที่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180247993

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 8 เม.ย. 2564 (08/04/2564) นายพิธาถือลำดับที่ 7,531 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,390 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180276092

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 27 เม.ย. 2565 (27/04/2565) นายพิธาถือลำดับที่ 7,138 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,392 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180285422

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 26 เม.ย. 2566 (26/04/2566) นายพิธาถือลำดับที่ 7,061 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,401 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180304064

จากข้อมูลเห็นได้ว่า การถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด จำนวน 42,000 หุ้นของนายพิธาตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงล่าสุดปี 2566 เป็นเวลา 16 ปี เอกสารบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบบมจ.006) ที่นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในแต่ละปี ท้ายรายชื่อและที่อยู่ผู้ถือหุ้นมิได้ระบุว่าถือในนาม ‘ผู้จัดการมรดก’ แต่อย่างใด 

ทั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ บิดานายพิธา เสียชีวิตในปี 2549
กรณีการถือครองหุ้น บริษัท ไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้นของนายพิธา ยังเป็นประเด็นถูกนายเรืองไกรยื่นร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบว่า จงใจยื่นบัญชีแสดงการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จหรือไม่ เนื่องจากไม่ปรากฏการถือครองหุ้นจำนวนดังกล่าวในบัญชีทรัพย์สินของนายพิธากรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.ปี 2562

‘สมชาย แสวงการ’ โพสต์ข้อความเตือน รัฐบาลใหม่ อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความแสดงความเป็นห่วงต่อท่าทีของรัฐบาลใหม่ กับนโยบายทางด้านต่างประเทศ และการเข้าไปมีบทบาทในการเคลื่อนไหว ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศพม่า โดยได้เขียนโดยมีใจความว่า...

อย่าชักน้ำเข้าลึกอย่าชักศึกเข้าบ้าน
ข่าวนี้น่าห่วงมากครับ ถ้าไม่ระมัดระวัง รัฐบาลใหม่ที่กำลังพยายามจะตั้งขึ้นมีทีท่าที่อาจไปเคลื่อนไหวยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของพม่า คงเกิดผลกระทบตามมาที่รุนแรงแน่นอน  เริ่มด้วยปิfดพรมแดน เรียกแรงงานกลับ ยุติขายแก๊สทางท่อ ฯลฯ และถ้ามหาอำนาจแทรกแซง เรื่องทั้งหมดอาจจะเลวร้ายบานปลายกว่านั้นไปอีกครับ

‘คิริลล์ คอตคอฟ’ ชี้ หากยังขัดแย้งกัน อาจมีสงครามกลางเมือง ระหว่างคนรักสถาบัน กับ คนรักก้าวไกล

คิริลล์ คอตคอฟ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาประเทศตะวันออกไกล ณ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ได้วิเคราะห์สถานการณ์ในประเทศไทย ในรายการ "Turn to the East" ทาง Radio Sputnik Russia ไว้โดยมีใจความว่า ...

พรรค Forward Movement(ก้าวไกล) ซึ่งได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งรัฐสภาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ประกาศจัดตั้ง "แนวร่วมประชาชน" จำนวน 8 พรรค พร้อมจัดตั้งรัฐบาลผสมและควบคุมที่นั่งรวมกัน 313 ที่นั่ง จาก 500 เสียง อย่างไรก็ตาม เสียงข้างมากในสภาล่าง(สภาผู้แทนราษฎร) ดังกล่าวไม่ได้ให้โอกาสโดยอัตโนมัติในการเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการลงคะแนนเสียงในประเด็นนี้จัดขึ้นร่วมกับสภาสูง(วุฒิสภา) การดำเนินการทุกขั้นตอนยังอีกยาวไกล เพราะผลการเลือกตั้งยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ

 

►● พรรคร่วมรัฐบาลชุดใหม่มีแผนอย่างไรเพื่อให้ได้เสียงข้างมากในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี? ใครคือผู้นำของฝ่ายที่ชนะ และเกี่ยวข้องกับผู้ถูกเนรเทศอย่างไร แต่ยังทรงอิทธิพลในประเทศ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี?

กองทัพจะยอมสละอำนาจ และหลังสละอำนาจนโยบายต่างประเทศของประเทศจะมีโครงสร้างอย่างไร?

อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มีอยู่ทั่วไปในการเมืองไทย ขณะเดียวกันเมื่อจัดตั้งรัฐบาลทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับทหาร ทหารถือเป็นผู้สร้างประเทศให้เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน แต่สังคมไทยส่วนมากก็เบื่อพวกเขาเช่นกัน

เราต้องไม่ลืมว่าไทยมักจะวางเดิมพันประเทศไว้กับผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด นั่นคือสหรัฐฯ แต่ในทางกลับกันพวกเขาก็ไม่ต้องการทำลายความสัมพันธ์กับจีนเช่นกัน‼️

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้กังวลเกี่ยวกับการแย่งชิงอำนาจและนโยบายต่างประเทศ #แต่กังวลกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมากกว่า ในเวลาเดียวกัน ดังที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงให้เห็นมาตลอด คือ ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีอะไรขึ้นอยู่กับการเลือกตั้ง ไม่ว่าในกรณีใด จะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีก

สิ่งนี้ถูกซ้อนทับด้วยความไม่ชอบกษัตริย์องค์ปัจจุบัน(รายละเอียดเผยแพร่ลำบาก ขอตัดออกทั้งหมด) ประเทศกำลังพูดว่าไม่ต้องการสถาบันกษัตริย์มากขึ้น และหากล้มล้างระบอบกษัตริย์ได้ ประเทศก็ใกล้จะล่มสลาย

Annex Hya : ถ้าการรัฐประหารจะเกิดขึ้นอีกครั้งในไทย ในขณะที่โครงสร้างอำนาจของทหารถูกแทรกแซงจากกองทัพอเมริกันด้วยการยินดีเปิดประตูบ้านให้พวกเขาอย่างยินดีกันด้วยตนเอง

ทหารอเมริกันเหล่านี้จะพิทักษ์ "ก้าวไกล" และไม่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย

สงครามกลางเมืองระหว่างคนรักสถาบัน กับ คนรักก้าวไกล กับ *การรัฐประหารจากสถาบันทหารของพระเจ้าอยู่หัว กับ การปฎิวัติจากทหารอเมริกันช่วยก้าวไกล*.. - จะเกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนตามความรุนแรงจากความขัดแย้ง

เป้าหมายของการทูตและการทหารของอเมริกัน คือ การตายของหุ้นส่วน และการตายของประเทศหุ้นส่วน เป็นอย่างนี้มาตลอดประวัติศาสตร์ความเป็นชาติของอเมริกัน

บริหารความเสี่ยงจากความขัดแย้งให้รอบคอบ เหนือจากขอบประตูของการปกป้องสถาบัน ยังมีประตูของประเทศไทยที่กำลังเปิดให้เผชิญหน้ากับการล่มสลายรออยู่ด้วยเช่นกัน

‘ณัฐวุฒิ’ แนะพรรคแกนนำตั้งรัฐบาล ทำงานใหญ่ ใจต้องใหญ่กว่า ย้ำ แต่ละฝ่ายหาจุดลงตัว ตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย ตามคำสั่งประชาชน

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ทวีตข้อความทางทวิตเตอร์ ถึงกรณีความขัดแย้งของผู้สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ต่อกรณีการจัดตั้งรัฐบาล โดยระบุว่า

“เห็นต่างโต้แย้งธรรมดารัฐบาลผสม พรรคแกนนำยิ่งต้องเพิ่มความถี่พูดคุยเอาเหตุผลแต่ละฝ่ายหาจุดลงตัว ตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย ตามคำสั่งประชาชนไม่บิดพลิ้ว

ทำงานใหญ่ใจต้องใหญ่กว่า ซีนงอกแบบไม่ไว้ใจเพื่อนก็หยุดเสีย ไม่เชื่ออย่าใช้ ถ้าจะใช้ก็ต้องให้เกียรติกัน ใจเย็นๆทั้งผู้เล่นทั้งกองเชียร์”

สถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาล ‘ก้าวไกล’ อาจต้องยกเก้าอี้ ประธานสภาฯ ให้เพื่อไทย เพื่อให้ ‘พิธา’ เป็นนายกฯ

(26 พ.ค. 66) เลียบการเมือง..สุดสัปดาห์   ก็ต้องมาขมวดสถานการณ์ส่งท้ายกันให้สะเด็ดน้ำอีกนิดว่า..แม้จะบอกว่าพรรคฝ่ายตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย  ยึดผลประโยชน์ชาติและประชาชน  แต่สถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกลไม่ได้ราบรื่นแบบโรยด้วยกลีบกุหลาบแม้แต่นิดเดียว...ยิ่งนานวันก็ออกอาการแบบการเมืองเดิมๆ..
เอาล่ะ ไม่พูดพล่ามทำเพลง  เล็ก  เลียบด่วน  ขอหน้าแหกฟันธงไว้สัก 3ประการดังนี้..
ประการที่หนึ่ง –ศึกชิงตำแหน่งประธานสภา   หลังจากมีการประดาบ สำแดงพลังกันพักใหญ่ ในที่สุดพรรคเพื่อไทยก็คงเป็นฝ่ายชนะ..แต่อาจมีข้อแลกเปลี่ยนพิเศษให้กับพรรคก้าวไกล...

ประการที่สอง  - เมื่อตกลงชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งประธานสภาแล้ว   เพื่อไทยก็จะโอบอุ้มหนุนส่งพิธา   ลิ้มเจริญรัตน์  ไปจนถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีช่วงปลายเดือนก.ค.หรือต้นส.ค.....แน่นอนพรรคเพื่อไทยยกมือหนุนให้พิธา....แต่คะแนนของพิธาจะผ่าน 376 เสียงหรือเกินครึ่งของรัฐสภาเพื่อจะได้เป็นนายกฯหรือไม่อยู่ที่มือของสว.เป็นหลัก...

ประการที่สาม- พิธาคงไปไม่ถึงฝันเพราะสว.ส่วนใหญ่ไม่ยกมือให้  ถึงตอนนั้น พรรคก้าวไกลอาจหนุนนายกฯของพรรคเพื่อไทย  แต่เสียงอาจไม่ถึง 376 เสียงอีกเพราะสว.อาจตั้งแง่ว่า  ตราบใดที่มีพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาลจะไม่โหวตให้...เกมการเมืองก็จะพลิ กโฉมหน้าไปอีก  โดยโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะจับมือกับขั้วรัฐบาลเดิม   พรรคก้าวไกลต้องไปเป็นฝ่ายค้านมีสูงมาก...

อาจมีบางฝ่ายในปีกอนุรักษ์นิยมเชื่อว่า   เมื่อพิธาสอบไม่ผ่าน...ก้าวไกลประกาศไปเป็นฝ่ายค้าน ลุงตู่หรือลุงป้อมอาจพลิกเกมลงสู้ชิงนายกฯแข่งกับพรรคเพื่อไทย  ซึ่งน่าจะชนะแน่เพราะมี250 เสียงจากสว.หนุน  จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย    ลากไปซักปีค่อนปีแล้วค่อยยุบสภานั้น...สูตรนี้”เล็ก  เลียบด่วน”  เห็นว่าคิดได้..ทำได้  แต่ถ้าทำจริงๆน่าจะเข้าทางด้อมส้ม..เลือกตั้งรอบหน้าฟ้าถล่มดินทลายแน่นอน...ขณะที่สูตรยอมหนุนพรรคเพื่อไทย เอาไว้ถ่วงดุลกับก้าวไกล  น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า...

นั่นเป็นการคาดหมายสถานการณ์...ซึ่งไม่ว่าหวยจะออกมาอย่างไรก็ต้องขอบอกว่า  วันก่อนเห็นภาพว่าที่นายกฯทิม  พิธา  ยกคณะไปตัดสูทตัดชุดกันที่ร้านทรงสมัยซั่งฮี้แล้วก็อยากบอกว่าแม้ที่สุดฝันเก้าอี้นายกฯอาจไม่เป็นจริง..แต่กับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านสภาผู้แทนราษฎรก็ถือว่าทรงคุณค่า  เท่ระเบิดเถิดเทิงเหมือนกัน.....

มีคนถามไถ่กันมากว่าทำไม..ผู้พันปุ่น  ศิธา  ทิวารี  หนึ่งในแคนดิเดทนายกฯพรรคไทยสร้างไทย   ต้องเล่นบทผู้สื่อข่าวตั้งคำถามและแนะนำให้พรรคเพื่อไทยกับก้าวไกลทำแอ๊ดวานซ์  เอ็มโอยู  ผูกขากันเดิน..ห้ามพรากจากกัน จนเกิดเรื่องบานปลาย..ก็ตองบอกว่าหากมองชั้นเดียวผู้พันปุ่นน่าจะทำเพื่อพรรคตัวเอง..เพราะตราบใดมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำพรรคไทยสร้างไทยก็จะเป็นตัวช่วยสำคัญตัวหนึ่ง  แต่ถ้าเกมพลิกพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ..เจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริงคงไม่แฮปปี้ที่จะเห็นคุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธ์   หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย มาร่วมวง..?..

ไปที่พรรคประชาธิปัตย์...ไม่เกินความคาดหมาย  เกมการประชุมใหญ่วิสามัญ  เลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในอีกไม่นานนี้  จากองค์ประชุม 19 ประเภทนั้น..จะให้น้ำหนักการโหวตอยู่ที่ ส.ส.ชุดใหม่  25 คน 70 เปอร์เซ็นต์  อีก 18 ประเภทองค์ประชุม เช่น ประสาขา,ตัวแทนจังหวัด,อดีตส.ส. ฯลฯ  30 เปอร์เซ็นต์...เช่นนี้แล้วใครอยากรู้ว่าหัวหน้าและเลขาคนใหม่เป็นใครก็ต้องไปถาม.”.เลขาต่อ”...กับนายกฯชาย..ที่คุมเสียงส.ส.ชุดใหม่เบ็ดเสร็จ...และขณะที่หลายคนบอกอย่าสิ้นหวัง ฟื้นคืนชีพพรรคได้แน่  แต่อีกไม่น้อยบอกว่า..ที่นี่มืดจริงหนอ..!!!

สวัสดีครับ

เรื่อง : เล็ก เลียบด่วน

ว่าที่ ส.ส.อรรถกร ขอบคุณทุกคะแนนเสียง จากประชาชน เร่งลุย ทำงานแก้ปัญหาราคากุ้ง ช่วยเกษตรกรรายย่อย ทันที

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 หนึ่งในว่าที่ส.ส.พลังประชารัฐ ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้แทนของชาวฉะเชิงเทรา  และเป็นหนึ่งในผู้สมัครที่สามารถฝ่าการแข่งขันสูงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า

ตนขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้ความเชื่อมั่นให้ได้ทำงานต่อเนื่อง ตนพร้อมทำงานทันที เพราะยังมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งประสบปัญหาราคากุ้งไม่สอดคล้องกับต้นทุนการเพาะเลี้ยง  

ทั้งค่าอาหารและปูนในการเพาะเลี้ยงปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง  ล่าสุดได้เข้าร่วมประชุมหารือ กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อวางแนวทางร่วมกัน ในการยกระดับราคากลางให้สูงขึ้น   คุ้มค่ากับการลงทุนในการเพาะเลี้ยง ควบคู่กับการหาช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับเกษตรกรรายย่อยในระยะต่อไป เพื่อให้ได้ราคากุ้งที่เหมาะสมกับต้นทุน

“พื้นที่ฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งผลิตกุ้งเลี้ยง อีกแห่งหนึ่ง ถือเป็นเศรษฐกิจพื้นฐานของจังหวัด ต้องได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาระยะยาว ให้เกษตรกรอยู่รอดได้”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เราต้องเร่งสานต่อนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องน้ำในจังหวัด ทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำเค็ม การจัดหาแหล่งน้ำจืด และลดปัญหาน้ำกร่อย พร้อมกับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้น้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เพราะพื้นที่ฉะเชิงเทรา มีความหลากหลายทางอาชีพ นอกจากเกษตรกรรม ยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมด้วย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมีการปริมาณเติบโตอย่างต่อเนื่อง
 

พิธา โพสต์เคลียร์ เก้าอี้ ประธานสภาฯ ขอให้ทุกพรรค เดินหน้าทำงาน ปรับจูนนโยบายร่วมกัน เพื่อตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ

วันที่ (26 พ.ค. 66) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความ ถึงการแย่งชิงเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้พรรคการเมือง 8 พรรคที่เตรียมจัดตั้งรัฐบาลจับมือกัน และนำประเด็นนี้ไปพูดคุยกันในวงเจรจา

"เรื่อง ประธานสภา ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ เป็นเรื่องความเห็นไม่ตรงกันของพรรคร่วมรัฐบาลที่เล็กมากถ้าหากเทียบกับภารกิจที่ประชาชนมอบความไว้วางใจให้พวกเรามา

ดังนั้น พรรคร่วมรัฐบาลต้องจับมือเกี่ยวแขนกันไว้ให้มั่นคง ทำภารกิจยุติสืบทอดอำนาจรัฐประหาร พาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยให้สำเร็จจงได้

พวกเราต่างก็รับทราบวิธีคิด หลักการ เหตุผล ของทุกฝ่ายชัดเจนแจ่มแจ้งในประเด็นนี้กันแล้ว ดังนั้น ผมขอให้เรื่องตำแหน่งประธานสภานี้ ให้พรรคร่วมรัฐบาลกลับไปพูดคุยกันผ่านตัวแทนแต่ละพรรคในวงเจรจาจะดีที่สุด

ตอนนี้ ขอให้ทุกพรรคเดินหน้าทำงานปรับจูนนโยบายร่วมกัน ตั้งรัฐบาลให้สำเร็จตามความคาดหวังของประชาชนครับ" นายพิธา โพสต์
 

‘ฟิทช์’ ส่งสัญญาณถึง ‘รบ.ใหม่’ ปมจัดตั้งคลุมเครือ-ล่าช้า ชี้!! อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือในเสถียรภาพของไทย

วันที่ (26 พ.ค.66) รายงานข่าวจาก Fitch Ratings บริษัทจัดอันดับเรตติ้งชั้นนำ ระบุถึงสถานการณ์ประเทศไทยหลังผ่านการเลือกตั้งว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มีเวลาถึง 60 วันในการประกาศผลอย่างเป็นทางการหลังการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 66 แต่ตัวเลขเบื้องต้นบ่งชี้ว่า

พรรคก้าวไกลซึ่งได้ที่นั่งมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร และพรรคเพื่อไทย พรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุดก่อนหน้านี้ ตามมาเป็นอันดับที่ 2 ยังมีความคลุมเครือในการจัดตั้งรัฐบาล โดยขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า พรรคก้าวไกลจะได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งจะส่งผลให้มีการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายในกรอบที่กว้าง ทำให้การกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ อาจถูกจำกัดชั่วคราว หากกระบวนการสรรหาพันธมิตรร่วมรัฐบาลยังทำให้การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าไปหลายเดือน

สำหรับการจะครองเสียงข้างมากในรัฐสภา และเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต้องรวมคะแนนเสียงให้ได้อย่างน้อย 376 เสียง จากที่นั่งรวม 700 ที่นั่งในรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ในสภาผู้แทนราษฎร 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหารก่อนการเลือกตั้งปี 2562

ทั้งนี้ การคาดการณ์ในกรณีพื้นฐาน (Base Case) นั้น ผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในระยะสั้นจะมีจำกัด โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ฟิทช์ ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)

เราได้ระบุไว้กว้างๆ ว่า อาจเกิดรัฐบาลผสม ทำให้การกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นกลายเป็นเรื่องซับซ้อน แต่ก็ไม่น่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และแม้ว่าแนวโน้มนโยบายการคลังมีความไม่แน่นอน แต่คาดว่ารัฐบาลผสมชุดใหม่ จะยังคงยึดมั่นในนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญบางส่วนของรัฐบาลชุดที่แล้ว

ทั้งนี้ อาจมีการหยุดชะงักในการใช้จ่าย ภายใต้งบประมาณสำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน 2567 หากการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า จะเป็นผลลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่เรายังคงคาดว่า การเติบโตจะเร่งตัวขึ้นในปี 2566 และยังคงแข็งแกร่งในปี 2567 โดยมีการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

ตัวชี้วัดภาคการคลังสาธารณะของไทย ที่มีความเสื่อมถอยลงอย่างมากในช่วงการระบาดของโควิด 19 ซึ่งมีผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับปัจจุบัน แต่ฟิทช์คาดการณ์ว่า หนี้ภาครัฐทั่วไป/จีดีพี และดอกเบี้ย/รายได้ ในปี 2566-2567 จะยังคงอยู่ในระนาบตามค่ามัธยฐาน (Median) ของกลุ่มประเทศที่มีความน่าเชื่อถือในระดับ BBB

ทั้งนี้ ระบุว่า หากรัฐบาลชุดต่อไปไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของสัดส่วนหนี้ภาครัฐได้ ตัวอย่างเช่น มีแรงกดดันด้านการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง หรือมีผลกระทบจากภายนอก ซึ่งอยู่นอกเหนือสมมติฐานพื้นฐานของเรา นั่นอาจส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลดลง

‘ธนกร’ ยัน ‘รทสช.’ ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ พร้อมเป็นฝ่ายค้าน ลั่น!! จุดยืนพรรคฯ ไม่หนุน ว่าที่นายกฯ ‘พิธา’ ปมแก้ ม.112

(27 พ.ค. 66) นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงการเดินหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติหลังการเลือกตั้ง ว่า พรรครวมไทยสร้างชาติยืนยันเดินหน้าสู่การเป็นสถาบันทางการเมือง และไม่ได้เป็นพรรคเฉพาะกิจ แม้จะเป็นพรรคใหม่ แต่จากผลการเลือกตั้งเราถือว่าเป็นความสำเร็จในการเริ่มต้นครั้งแรกของการเลือกตั้ง คะแนนเสียงที่ได้ เป็นสิ่งที่พรรคต้องนำความหวังของพี่น้องประชาชนมาเดินหน้าขับเคลื่อน แม้พรรคไม่ได้เป็นอันดับ 1 แต่ให้คำมั่นไม่ว่าจะบทบาทไหน พรรคจะขับเคลื่อนการทำงานให้กับพี่น้องประชาชนให้ได้ ส่วนการทำงานในพรรคจะมีการปรับกลยุทธ์ โดยนำเสียงสะท้อนพี่น้องมาเป็นการบ้านทำให้พรรคเข้มแข็งต่อไป โดยดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนพรรค

นายธนกร กล่าวว่า ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ยังอยู่นำพรรคต่อไป บนอุดมการณ์จุดยืนแน่วแน่ที่ไม่มีเปลี่ยนแปลง ปกป้องสถาบันหลักของชาติ และในสิ่งที่หาเสียงไว้กับประชาชน รวมถึงสานต่อการทำงานรัฐบาล ตลอด 8 ปี ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์

นายธนกร กล่าวว่า ส่วนการจัดตั้งรัฐบาล อย่างที่ตนบอกมาตลอด เป็นหน้าที่ของพรรคที่ได้คะแนนเสียงลำดับต้นๆ ที่เขาจะไปพูดกันเอง อย่างที่บอกเราให้เกียรติ สำหรับพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมทุกอย่างจะเป็นอะไรก็ได้ เป็นฝ่ายค้านก็ได้ จะอยู่ฝั่งไหนพวกเราก็สามารถทำงานได้ เพราะเราเคารพกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย หากมีพรรคอื่นมาชวนไปร่วมรัฐบาล ตนขอยืนยันว่าพรรครวมไทยสร้างชาติ ไม่เอาพรรคที่แก้มาตรา 112 หากพรรคที่มาชวนเราไปร่วมรัฐบาลมีเรื่องนี้ เรายอมไม่ได้ เพราะเรายึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และจะไม่ยกมือสนับสนุนนายกฯ ที่ชูแก้มาตรา 112


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top