Tuesday, 29 April 2025
Politics

เปิดรายชื่อ 41 ว่าที่ ส.ส. พปชร. ส.ส. เขต 39 คน ‘ลุงป้อม’ – ‘สันติ’ บัญชีรายชื่อ

รายชื่อว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ส.ส.แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ รวม 41 คน

พรรคพลังประชารัฐ มี ส.ส.เขต คะแนนนำ 39 ที่นั่ง คะแนนบัญชีรายชื่อ รวม 530,017 เสียง คิดเป็น 2 ที่นั่ง รวมมี ส.ส. 41 ที่นั่ง

โดยมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

 

ส.ส.บัญชีรายชื่อ 2 คน

1. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

2. นายสันติ พร้อมพัฒน์

 

ส.ส.เขต 39 ที่นั่ง

จ.หนองคาย -นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ หนองคาย เขต 1

จ.ชัยภูมิ - นางสาวกาญจนา จังหวะ ชัยภูมิ เขต 4 ,นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ เขต 7

จ.สระแก้ว - นางขวัญเรือน เทียนทอง สระแก้ว เขต 1 ,นางสาวตรีนุช เทียนทอง สระแก้ว เขต 2

จ.ปัตตานี - นายคอซีย์ มามุ ปัตตานี เขต 2

จ.ราชบุรี - นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี เขต 2 , นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ ราชบุรี เขต 3,นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ ราชบุรี เขต 5

จ.กาฬสินธุ์ - นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ เขต 3

จ.พะเยา - ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า พะเยา เขต 1 ,นายอนุรัตน์ ตันบรรจง พะเยา เขต 2, นายจีรเดช ศรีวิราช พะเยา เขต 3

จ.พังงา - นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ พังงา เขต 2

จ.สงขลา - นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สงขลา เขต 4

จ.สกลนคร - นายชัยมงคล ไชยรบ สกลนคร เขต 5

จ.สิงห์บุรี - นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สิงห์บุรี เขต 1

จ.ตรัง - นายทวี สุระบาล ตรัง เขต 2

จ.เชียงใหม่ - นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ เชียงใหม่ เขต 9

จ.เพชรบูรณ์ - นางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ เพชรบูรณ์ เขต 1,นายจักรัตน์ พั้วช่วย เพชรบูรณ์ เขต 2, นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ เขต 3,นายวรโชติ สุคนธ์ขจร เพชรบูรณ์ เขต 4,นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ เพชรบูรณ์ เขต 5,นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ เขต 6

จ.แม่ฮ่องสอน- นายปกรณ์ จีนาคำ แม่ฮ่องสอน เขต 1

จ.กำแพงเพชร- นายไผ่ ลิกค์ กำแพงเพชร เขต 1,นายเพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์ กำแพงเพชร เขต 2,นายอนันต์ ผลอำนวย กำแพงเพชร เขต 3,นายปริญญา ฤกษ์หร่าย กำแพงเพชร เขต 4

จ.ตาก - นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก เขต 3

จ.ร้อยเอ็ด - นางรัชนี พลซื่อ ร้อยเอ็ด เขต 3

จ.มุกดาหาร - นายวิริยะ ทองผา มุกดาหาร เขต 1

จ.ชลบุรี - นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ชลบุรี เขต 1

จ.นราธิวาส - นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส เขต 2,นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส เขต 3

จ.นครศรีธรรมราช - นายสุธรรม จริตงาม นครศรีธรรมราช เขต 6

จ.สระบุรี - นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี เขต 4

จ.ฉะเชิงเทรา - นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา เขต 2

‘จตุพร’ แนะ ‘พิธา’ คิดทบทวน  ‘เรืองไกร’ ได้ข้อมูลหุ้นไอทีวี มาจากไหน ระวัง พรรคใกล้ตัว

20 พ.ค. 2566 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน ตอน "ไม่น่าไว้ใจ?" ช่วงหนึ่งว่า เบื้องต้นต้องยอมรับความจริงก่อนว่า นักการเมืองและประชาชนมีความมุ่งหวังต่างกัน โดยการเมืองในครั้งหนึ่ง พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ชนะเลือกตั้งปี 2526 (ได้ 110 เสียงจากทั้งหมด 324) ต้องได้เป็นนายกฯ แต่เจอข้อมูลใหม่จึงกลายเป็นฝ่ายค้านแทน

ถัดมา การเลือกตั้งปี 2562 พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นับคะแนนปัดเศษ จึงกลายเป็นฝ่ายค้าน อีกทั้งในช่วงนั้น พรรคเพื่อไทยเล่นการเมืองสองหน้า ไปเลือกนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) เป็นแคนดิเดตนายกฯ ชิงกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เสนอเป็นนายกฯ

นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนั้น นายธนาธร ถูกคดีถือครองหุ้นสื่อมวลชน และพรรคเพื่อไทยรู้ว่า จะพบจุดจบทางการเมืองอยู่แล้ว จึงเชิดชูคนรุ่นใหม่เพื่อได้สร้างลักษณ์ที่ดีทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันยังเป็นการหักหน้าคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แคนนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย (ขณะนั้น)

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้น พปชร. ไปรวบรวมพรรคมาตั้งรัฐบาล โดยพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เสนอให้นายชวน หลีกภัย เป็นประธานสภาผู้แทนฯ และกำหนดเงื่อนไขแก้ รธน. 2560 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ยอม จึงเท่ากับแต่งตัวให้ ปชป. เข้าไปร่วมรัฐบาลทั้งที่หัวหน้าพรรคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศหาเสียงไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ ต้องลาออกจากหัวหน้าพรรค

ส่วนพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในปี 2562 ได้ประกาศไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยเช่นกัน แต่ยอมเข้าร่วมรัฐบาล เมื่อรับแบ่งให้ดูแลกระทรวงเกรดเอ ดังนั้น การโหวตเลือกนายกฯ ปี 2562 จึงผ่านฉลุยด้วยเสียง สว.เลือก พล.อ.ประยุทธ์ ถึง 249 เสียงจาก 500 เสียง เท่ากับเป็นเอกฉันท์ร้อยเปอร์เซ็นต์

เมื่อมาถึงการเลือกตั้งปี 2566 นายจตุพร กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองหลังเลือกตั้งไม่แตกต่างจากปี 2562 โดยวันนี้ไม่มีรู้ว่าใคร พรรคใดเหน็บมีดไว้ข้างหลัง โดยระหว่างการหาเสียงพรรคเพื่อไทยให้เลือกตัวเองเป็นยุทธศาสตร์โค่น 3 ป. เลือกอย่างไม่มีพี่ ไม่มีน้อง แต่ผลต้องแพ้พรรคก้าวไกลที่ผู้สมัครมีแต่คนรุ่นใหม่ ดังนั้น ยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยจึงม่ใช่ยุทธศาสตร์ของประชาชน....

นายจตุพร ย้ำว่า สถานการณ์ของพรรคก้าวไกลในขณะนี้ มีความรู้สึกไม่แตกต่างจากนายธนาธรโดนคดีหุ้นสื่อมวลชน ถัดจากนั้นนำไปสู่การยุบพรรค (อนาคตใหม่) ดังนั้น วันนี้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกฯ ควรคิดกันให้ดี ๆ ด้วย

“นายพิธา ควรคิดทบทวน ว่า ไอทีวีเป็นของใคร รายละเอียดของหุ้นไอทีวีหลุดมาจากไหน ผมไม่เชื่อว่านายเรืองไกร (นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ออกจากเพื่อไทยไปเป็นปาร์ตี้ลิสต์ พปชร.) จะล้วงไปได้ง่ายๆ แต่หลุดไปถึงมือเรืองไกรได้อย่างไร ถ้านายพิธา ตีโจทย์นี้แตกจะเข้าใจว่า มีดดาบมาจากไหน เหมือนกับกรณีจูเลียส ซีซาร์ถูกบรูตัสคนใกล้ชิดชักมีดแทงจนตาย ดังนั้น กระดานการเมืองจึงมีมีดดาบซ่อนไว้มากมายในทุกพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคใกล้ตัว”

นายจตุพร เชื่อว่า ในความเป็นจริงตามกระดานการเมืองขณะนี้ การจับมือ 310 เสียงตั้ง รัฐบาลไม่ได้แล้ว เนื่องจากพรรคอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ร่วมใน 310 เสียงนั้นมีท่าทีไม่โหวตให้ ต้องการขึงพืดพรรคก้าวไกล อีกอย่างการปิดสวิตซ์ ส.ว. ก็เกิดขึ้นแล้ว โดย ส.ว.ปิดตัวเอง ประกาศไม่โหวตเลือกนายกฯ สิ่งนี้จึงเป็นสถานการณ์ที่ยากมากในการตั้งรัฐบาลสำเร็จ

“ถ้านายพิธา มีอันเป็นไป (ในคดีถูกร้องถือหุ้นสื่อสารมวลชน) พรรคก้าวไกลก็เสนอแคนดิเดตนายกฯ คนเดียว ดังนั้นแคนดิเดตนายกฯ จะไปถึงอันดับรองถัดไปในพรรค 310 เสียง ซึ่งเห็นชัดเจนอยู่แล้ว ยิ่งคนที่แสดงสปิริตยกให้นายพิธา เป็นนายกฯ ให้พรรคก้าวไกลตั้งรัฐบาล นั่นละตัวดี เพราะทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ง่าย นายพิธา ไม่รอดอยู่แล้ว เป็นกลเกมซ้ำรอยนายธนาธรถูกกระทำมาแล้ว”

อย่างไรก็ตาม นายจตุพร มั่นใจว่า ถ้าแคนดิเดตนายกฯ ลำดับถัดไปก็จัดตั้งรัฐบาลไม่ง่ายอยู่ดี แม้จะมีพรรคก้าวไกลร่วมด้วยหรือไม่ร่วมกลุ่มเดิม 310 เสียงก็ตาม แต่ยกเว้นเกิดการข้ามขั้วไปอีกฝ่าย ดังนั้น คนคิดเรื่องนี้เป้นเกมต้องหน้าด้านที่สุดชนิดเลิกมองกระจกไปเลย อาจอายหน้าตัวเอง

“แล้วสูตรที่คนสงสัยมาแต่ต้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ แม้วันนี้จะยังไม่เกิด แต่มีร่องรอยจะเกิดขึ้น ดังนั้น กระดานการเมืองขณะนี้ จึงต้องดูกันนานๆ ดูกันอย่างมีความอดทนจะได้พบการเมืองแบบเขี้ยว เสือ สิงห์ กระทิง แรด ผสมปนเปเป็นพันธุ์การเมืองที่ดำรงอยู่มาต่อเนื่องมา 90 ปีและเด่นชัดหลัง 14 ตุลาคมถึงปัจจุบัน”

นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนี้พรรคก้าวไกล เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย ดังนั้น 310 เสียงจึงอยู่ผิดที่จน ส.ว. 250 ไม่โหวตเลือกนายกฯให้ ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลของนายพิธา จึงยากจะเกิดขึ้นได้เลย เพราะเข้าสู่สภาวะ “เด็ดล็อก” แล้ว ยกเว้นมีบางพรรคที่จะงดใช้กระจกส่องหน้าตัวเองชั่วคราว แล้วแหกข้ามมาอีกขั้วหนึ่ง แม้วันนี้ยังไม่เกิดก็ตาม แต่ต้องอดทนรอดูกัน

คำคม จาก ว่าที่นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของไทย

“ห้ามทำตัวกร่าง ห้ามเจ้ายศเจ้าอย่าง และท่องจำประโยคเหล่านี้ไว้ให้ดีๆ

ใหญ่กว่าเรา คือพรรค ใหญ่กว่าพรรค คือความคาดหวังประชาชน”

 

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์  หัวหน้าพรรคก้าวไกล

กล่าวในการจัดประชุม ส.ส. (19 พ.ค. 2566)

ประชาชนต้องปรับตัว ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยน คนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า ต้องอยู่กันต่อไป ชาติสำคัญที่สุด

ผู้ใช้ facebook ที่ชื่อว่า Napha Wong ได้โพสต์คลิปชายหนุ่มพูดถึงพรรคส้ม โดยมีใจความว่า

มันเป็นไปตามที่คิดและอยากให้เป็นกับการเลือกตั้งที่พรรคส้มได้ชัยชนะ แต่กลับไม่รู้สึกยินดีที่ไทยนั้นถูกครอบงำโดยชาติตะวันตก และความทันสมัย เห็นดีเห็นงานกับระบอบทุนนิยม มีงาน มีบ้าน มีรถ 

ซีเกมส์ที่ผ่านมาเราเป็นประเทศที่ทุกคนอิจฉา อยากจะเป็นอย่างเรามาก แต่ไม่สามารถเป็นอย่างเราได้เพราะ เราเป็นประเทศที่มีเอกราช และมีคนเก่ง แต่สิ่งเหล่านี้ เราจะสูญเสียไปในทันที ที่เราตกเป็นเมืองขึ้นทางความคิดของทางชาติตะวันตก 

หากเราตกเป็นทาสเขาเมื่อไหร่ เราจะไม่สามารถกำหนดอะไรได้เองเลย ก็หวังว่าสิ่งที่กังวลจะไม่เป็นจริง 

กรณ์ โพสต์ยาว เรื่องจริงหลังเลือกตั้ง ไม่เคยขอร่วมรัฐบาล และไม่เคยคิดแตะ ม.112

หลังจากพรรคก้าวไกลออกแถลงไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคชาติพัฒนากล้า เนื่องจากมีกระแสกดดันโลกออนไลน์ติดแฮชแท็ก #มีกรณ์ไม่มีกู ไม่พอใจที่ดึงพรรคชาติพัฒนากล้า ที่มีนายกรณ์ จาติกวณิช ครั้งหนึ่งเคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. มาร่วมตั้งรัฐบาลด้วย ทำให้ขัดกับหลักของก้าวไกลที่มีจุดยืน "มีเราไม่มีลุง"


ล่าสุด วันที่ 20 พ.ค.2566 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า โพสต์ชี้แจงประเด็นร้อนทางการเมือง ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า นี่คือ "เรื่องจริง" ที่เกิดขึ้น หลังการเลือกตั้ง ผมมาอยู่กับลูกที่ออสเตรเลีย จนเมื่อวานบ่ายคุณสุวัจน์โทรแจ้งว่า ก้าวไกล ชวนเข้าร่วมรัฐบาล
คุณสุวัจน์กับผมสรุปกันว่าจะคุยกันวันจันทร์ในที่ประชุมกก.บห. เพราะมีประเด็นสำคัญสำหรับเราคือ นโยบายสู้ทุนผูกขาดพลังงาน และจุดยืนไม่แก้ ม.112

โดยผมไม่เคยติดต่อร่วมรัฐบาลกับใครเลย เพราะเรามีเพียง 2 เสียง และไม่ได้แม้แต่คิดจะมีเงื่อนไขต่อรองอะไรมีสื่อโทรมาหาผมที่เมลเบิร์นว่า เราเข้าร่วมรัฐบาลแล้วเหรอ ผมก็ตอบไปว่าเรายัง ต้องคุยเรื่องนี้กันในวันจันทร์ (สื่อลงว่าผม ‘กั๊ก’)

ผมยืนยันเหมือนเดิมว่า พรรคที่รวมเสียงข้างมากได้ ถึงจะมีความชอบธรรมในการตั้งรัฐบาล นี่คือหลักประชาธิปไตยที่เป็นจุดยืนของผม ชาติพัฒนากล้า พร้อมทำงานกับทุกพรรค แต่เราไม่แตะ 112 และเราต้องการเน้นแก้ปัญหาราคาพลังงาน

ผมโดนด่าฟรีจากทั้งขวาและซ้าย ผมรับได้ทุกข้อกล่าวหา ทุกคำหยาบ ทุกข้อมูลเท็จ แต่ที่ผมเสียใจคือผลกระทบที่มีต่อครอบครัวและคนที่ผมรักการเมืองที่ผมสร้าง ผมไม่ได้สร้างบนความเกลียด ความกลัว แต่ผมทำบนความเชื่อ เชื่อที่อยากเห็นความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย

ควันหลงเลือกตั้ง ประวัติศาสตร์ การเมืองไทย  บัตรโหล – แบ่งเขต - นอกราชฯ กับ ปรากฎการณ์ที่สุ่มเสี่ยง

ปรากฏการณ์ "ก้าวไกล" ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย เขี่ยบ้านใหญ่หลายพื้นที่สอบตก และหลายจังหวัดกวาด ส.ส.ครบทุกเขต  นำมาสู่การเดินหน้าฟอร์มรัฐบาล รวมให้ได้ 376 เสียงให้เพียงพอต่อการโหวตเลือกนายกฯ  แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องลุ้น กกต. ส่วนกลางเคลียร์ประเด็นข้อร้องเรียนต่างๆ และรับรองผลคะแนนเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลา 60 วัน 

แต่หากมองอีกด้าน ในข่วงก่อนเลือกตั้ง กกต. ในฐานะผู้กำกับดูแลการเลือกตั้ง ก็ถูก "ตั้งคำถามดังๆ" ในหลายประเด็น ที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อความผิดพลาด และทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดความอลวน  อย่างไรบ้าง มาดูกัน 

1 "แบ่งเขตเลือกตั้ง"
สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งครั้งนี้ กกต.ใช้หลักการ “จัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน” โดยแต่ละเขตจะมีจำนวนประชากรมากหรือน้อยจากค่าเฉลี่ยไม่เกิน 10 %  มาใช้คำนวณหา ส.ส. 1 คนต่อจำนวนราษฎร  วิธีการ คือ นำจำนวนประชากรไทยทั้งหมดตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ซึ่งมีทั้งหมด 66,090,475 คน มาหารด้วย 400 เขต จะได้สัดส่วน ส.ส. 1 คน ต่อจำนวนราษฎร 162,766 คน เป็นค่าเฉลี่ย  เสร็จสรรพเรียบร้อย ก่อนนำไปแบ่งเป็นเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด ทำให้เขตเลือกตั้งหนนี้ ถูกแบ่งพื้นที่ต่างไปจากพื้นที่เลือกตั้งเดิม บางจังหวัดมี ส.ส. เพิ่มขึ้น และบางจังหวัดมี ส.ส.ลดลง 

แต่ต่อมา ก็มีนักวิชาการออกมาตั้งข้อสังเกตว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งโดยคิดค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรของ กกต. นั้น มีการนำคนที่ไม่มีสัญชาติไทยมานับรวมด้วย จะทำให้การแบ่งเขตเกิดความผิดพลาดหรือไม่

ขณะเดียวกัน มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง 4 คนยื่นฟ้อง กกต. ว่าแบ่งเขตเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายใน 3 จังหวัด รวม 4 คดี ประกอบด้วย กทม. 1 คดี , สุโขทัย 2 คดี และสกลนครอีก 1 คดี  และขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนประกาศของ กกต.

อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า หนึ่งในผู้ยื่นฟ้อง กกต. มองว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งต้องยึดเขตเลือกตั้งเก่าและเขตปกครอง เพราะกฎหมายกำหนดให้ "รวมอำเภอ" ต่าง ๆ เป็นเขตเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่ติดต่อใกล้ชิดกัน ความสะดวกในการเดินทางระหว่างกัน แต่ กกต. กลับนำแขวงมายำรวมกัน แล้วกำหนดให้เป็นเขตเลือกตั้ง ทำให้มี 13 จาก 33 เขตเลือกตั้งของ กทม. ที่มีแต่แขวงล้วน ไม่มีเขตหลัก และยังสร้างความสับสนให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงส่งผลกระทบต่อนักการเมืองเดิมที่ลงพื้นที่มานาน ไม่ผูกพันกับพื้นที่เขตเลือกตั้งใหม่

อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดข้อถกเถียงยุติลงเมื่อ 7 เม.ย. หลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าประกาศ กกต. ชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

2 บัตรโหล ทั้งประเทศ เลือก ส.ส.เขต มีแต่เลข ไม่มีชื่อ ไม่มีพรรค 
สร้างความสับสนไม่น้อย เมื่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเดียวกัน แต่ต่างเขต หมายเลขไม่เหมือนกัน และหมายเลข ผู้สมัคร ส.ส.เขต ก็ไม่ตรงกับหมายเลขพรรค ในระบบปาร์ตี้ลิสต์  เพราะขึ้นอยู่กับผลการจับสลากหมายเลขในวันสมัครรับเลือกตั้ง

สำหรับบัตรเลือกตั้ง "พรรคที่ชอบ"  แม้จำหมายเลขไม่ได้ แต่ก็ยังมีโลโก้พรรคให้เห็น ต่างจากบัตรเลือกตั้ง ส.ส.เขต ที่มีเพียงหมายเลข ไม่มีชื่อผู้สมัคร รวมถึงโลโก้และชื่อพรรค หรือที่เรียกว่า “บัตรโหล” 

ซึ่งทางเลขาฯ กกต. ยืนยันว่าเป็นรูปแบบบัตรมาตรฐานที่ใช้จัดการเลือกตั้งในไทยทุกครั้งที่ผ่านมา ยกเว้นในปี 2562 ที่ใช้บัตรเลือกตั้งแบบเฉพาะเพราะเลือกจบในใบเดียว  และการนำบัตรโหลมาใช้เลือก ส.ส.เขต จะช่วยประหยัดงบประมาณ และ ป้องกันบัตรเสียจากความสับสน กับบัตรเลือกตั้งบัญชีรายชื่อ ที่มีหมายเลข โลโก้ และชื่อพรรคอยู่บนบัตร  ตรงกันข้ามกับความเห็นของหลายพรรคการเมือง ที่วิจารณ์ว่า การใช้บัตรโหลเป็นการผลักภาระให้ผู้ใช้สิทธิ และสับสน เพราะต้องจำทั้ง “เบอร์คน” และ “เบอร์พรรค”

3 "เลือกตั้งล่วงหน้า  นอกราชอาณาจักร" ใส่ชื่อพรรคผิด-หาย ทำผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างแดนสับสน
นอกจากเรื่องวุ่น ๆ ในการจัดการเลือกตั้งภายในประเทศแล้ว ยังมีความผิดพลาด บกพร่องเกี่ยวกับเอกสารแนะนำผู้สมัครที่แจ้งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในหลายกรณี จากหลายประเทศ ซึ่งอาจทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสับสน เข้าใจผิด และลงคะแนนผิด เช่น 

ภาพผู้สมัคร ส.ส.เขตอยู่สลับพรรคกัน มีการพิมพ์ชื่อพรรคต้นสังกัดของผู้สมัครผิด 

ชื่อพรรคต้นสังกัดของผู้สมัคร ซึ่งมีภาพ หมายเลข และชื่ออยู่ด้านบน แต่ชื่อพรรคดันถูกจัดหน้ามาไว้เหนือภาพผู้สมัคร ส.ส. ที่อยู่ด้านล่าง

รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.เขต ไม่มีชื่อพรรคต้นสังกัดในช่องเดียวกับผู้สมัคร เนื่องจากชื่อพรรคถูกจัดหน้าแล้วดันไปไว้ในเอกสารหน้าถัดไป โดยไปปรากฏเหนือภาพผู้สมัครอื่น

ความสับสนทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับเอกสาร ทางสถานทูตหลายแห่งที่เกิดปัญหาที่ปลายทางนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากเป็นเทมเพลตสำเร็จรูปจาก กกต. 

4 กกต. ไม่มีเอกสารประกาศ 400 เขตเลือกตั้ง เป็นทางการ
ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนการเลือกตั้ง 2 วัน  "ยิ่งชีพ อัชฌานนท์" ผู้จัดการไอลอว์ ที่ออกมารณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการติดตามและตรวจสอบการนับคะแนนเลือกตั้งให้โปร่งใส โดยออกมาเป็นอาสาสมัครสังเกตการณ์กันเลือกตั้งและนับคะแนนตามเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขตทั่วประเทศ   ได้เปิดเผยถึง หนึ่งในอุปสรรคของการทำงานของภาคประชาชน  คือไม่มีเอกสารระบุรายละเอียดของการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต

ซึ่งก่อนหน้านั้น ตน และทีมงานได้พยายามยื่นเรื่องขอเอกสารจาก กกต. เพื่อนำมาจัดสรรอาสาสมัครลงทำงานในพื้นที่เขตเลือกตั้ง หลายครั้ง แต่ได้รับคำตอบว่าไม่มีเอกสารเป็นทางการให้ ทำให้ภาคประชาชนทำงานได้ไม่คล่องตัว และอาจเข้าไปสังเกตการณ์พื้นที่เลือกตั้งอย่างไม่ทั่วถึง เนื่องจากไม่มีข้อมูลของเขตเลือกตั้งที่แม่นยำและครบทุกเขต เรื่องนี้อาจดูไม่เป็นปัญหาใหญ่แต่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ กกต. ทำให้ครบ จบ สมบูรณ์กว่านี้ได้ 

การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 นอกจากจะถูกบันทึกว่าเป็นการเลือกตั้งที่เกิดปรากฏการณ์ความพลิกผันเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากกระแสพรรคก้าวไกลแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งครั้งที่เกิดความอลวน และมีความความสุ่มเสี่ยงต่อการผิดพลาดบกพร่องมากที่สุดครั้งหนึ่งด้วยเช่นกัน

‘พิธา ฟีเวอร์’ ทำเมืองชล แทบแตก ตระเวนขอบคุณ ลั่น ขอขอบคุณความไว้วางใจที่มอบให้ ไม่มีสูญเปล่า

21 พ.ค. 2566 –   เมื่อเวลา 14.00 น.ที่บริเวณหน้าตลาดหนองก้างปลา ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล  พร้อมด้วยนายสหัสวัต คุ้มคง ว่าที่ ส.ส.เขต 7 ชลบุรี และว่าที่ ส.ส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล ทุกเขต  ได้ขึ้นรถแห่ปราศัยขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่ประชาชนเลือกพรรคก้าวไกล ในพื้นที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี   โดยมีนักเรียน ประชาชน กลุ่มพนักงานโรงงาน และแฟนคลับมารอให้กำลังใจ ส่งเสียงเชียร์ตลอดเส้นทาง

สำหรับขบวนแห่ จะเริ่มจาก ตลาดสดหนองก้างปลาไปยังเส้นทางต่างๆในพื้นที่ตำบลลบ่อวิน  โดยนายพิธา แนะนำตัวว่าเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ขอบคุณทุกคะแนนเสียงจากประชาชนที่ให้ความไว้วางใจ ซึ่งจะไม่สูญเปล่าแน่นอน จะไม่หยุดทำงานและตั้งใจเต็มที่ เข้าไปในสภาฯ จะไม่ทำให้พี่น้องประชาชนผิดหวัง รวมถึงมาสร้างขวัญกำลังใจให้ทีมงาน ส.ส.ด้วย

นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กล่าวในรายการ SONDHI TALK เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เรื่อง ‘พิธา-ก้าวไกล’ จิ๊กซอว์ตัวใหม่ของความวุ่นวาย โดยระบุว่า “จำคำพูดผมเอาไว้เลยว่า

อเมริกาต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ในไทย เขามีเครื่องมือที่พร้อมให้ใช้ได้แล้ว คือพรรคก้าวไกล นายพิธา นายธนาธร กับพวกนักวิชาการขายชาติ”

8 พรรครัฐบาลลงนาม ‘เอ็มโอยู’ 23 ข้อ 5 แนวทางปฏิบัติร่วมกัน เร่งร่างรัฐธรรมนูญ นำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด ไร้มาตรา 112

(22 พ.ค. 66) ที่ห้องบอลรูม โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค แถลงข่าวการลงนามข้อตกลงร่วม (MOU) ในการจัดตั้งรัฐบาลว่า วันนี้แถลงบันทึกความเข้าใจร่วมกันการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งวันนี้ 22 พ.ค.เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ครบรอบรัฐประหาร 2557 เป็นวันที่พวกเราเซ็นบันทึก เป็นหมุดหมายที่ดี สะท้อนความสำเร็จของสังคมไทย สามารถเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาอย่างสันติ

จุดประสงค์การทำเอ็มโอยูเพื่อรวบรวมวาระร่วมที่เราเห็นตรงกันและพร้อมผลักดันผ่านกลไกของรัฐบาลและรัฐสภา และเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของพรรคร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล

นายพิธา อ่านเนื้อหาบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อสร้างพื้นฐานในการจัดตั้งรัฐบาลและการทำงานร่วมกัน ของ 8 พรรค

ทุกพรรคเห็นร่วมกันว่าภารกิจของรัฐบาลที่จะผลักดันนั้น ไม่กระทบรูปแบบของรัฐ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดไม่ได้ขององค์พระมหากษัตริย์ ดังนี้

1.) ฟื้นฟูประชาธิปไตย รวมถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชนให้เร็วที่สุด โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

2.) ยืนยันและผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อรับประกันสิทธิสมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ โดยจะไม่บังคับประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ

3.) ผลักดันการปฏิรูประบบราชการ ตำรวจ กองทัพ และกระบวนการยุติธรรม ให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย โดยยึดหลักความโปร่งใส ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน

4.) เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารแบบบังคับ เป็นระบบสมัครใจ ทั้งนี้ยังคงไว้ซึ่งการเกณฑ์ทหารหากมีศึกสงคราม

5.) ร่วมผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคำนึงถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงทบทวนภารกิจของหน่วยงานและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง

6.) ผลักดันการกระจายอำนาจทั้งในแง่ภารกิจและงบประมาณ เพื่อให้ท้องถิ่นตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริต

7.) แก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยการสร้างระบบและวัฒนธรรมรัฐโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลรัฐในทุกหน่วยงาน

8.) ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม

9.) ยกเครื่องกฎหมายเกี่ยวกับการทำมาหากิน และการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น ตัด ลด หรือพักใช้ชั่วคราวซึ่งใบอนุมัติ อนุญาตที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคเพื่อปรับปรุงใหม่ ให้ความช่วยเหลือสภาพคล่องทางด้านการเงินและสร้างแต้มต่อให้กับ SME พร้อมกับมุ่งเน้นการเติบโต GDP ของ SME สนับสนุนอุตสาหกรรม และสินค้าไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

10.) ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยพรรคประชาชาติขอสงวนสิทธิ์ไม่เห็นด้วยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเหตุผลทางศาสนา

11.) ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ ด้วยการผลักดันกฎหมายปฏิรูปที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมแก้ปัญหาแนวเขตป่าไม้และที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกับที่ดินของประชาชน รวมถึงการทบทวนคดีที่เป็นผลจากนโยบายทวงคืนผืนป่า

12.) ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การคำนวณราคา และกำลังการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดค่าครองชีพประชาชนและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

13.) จัดทำงบประมาณแบบใหม่ โดยเน้นใช้วิธีการจัดงบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budgeting)

14.) สร้างระบบสวัสดิการดูแลประชาชนตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและภาระทางการคลังระยะยาว

15.) แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเร่งด่วน

16.) นำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษ ผ่านการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา

17.) ส่งเสริมเกษตรและปศุสัตว์ปลอดภัย คุ้มครอง รักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิตส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยี และแหล่งน้ำ ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อวางแผนการผลิตและรักษาผลประโยชน์กษตรกร ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ

18.) แก้ไขกฎหมายประมง ขจัดอุปสรรค เยียวยา ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพประมงให้ยั่งยืน

19.) ยกระดับสิทธิแรงงานทุกอาชีพให้มีสภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม และได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมสอดคล้องกับค่าครองชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

20.) ยกระดับสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุข

21.) ปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

22.) สร้างความร่วมมือและกลไกภายในและระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) โดยเร็วที่สุด

23.) ดำเนินการนโยบายการต่างประเทศ โดยการฟื้นฟูบทบาทผู้นำของไทยในอาเชียน และรักษาสมดุลการเมืองระหว่างประเทศของไทยกับประเทศมหาอำนาจ

ทุกพรรคเห็นพ้องบริหารประเทศด้วยแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1.) ทุกพรรคจะคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของประชาชนทุกคน
2.) ทุกพรรคจะทำงานโดยซื่อสัตย์สุจริต หากมีบุคคลของพรรคใดมีพฤติกรรมทุจริต คอร์รัปชัน ทุกพรรคจะยุติการดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้นๆ ทันที
3.) ทุกพรรคจะทำงานโดยให้เกียรติซึ่งกันและกัน จริงใจต่อกัน สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน โดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง มากกว่าผลประโยชน์ของพรรคใดพรรคหนึ่ง
4.)ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจฝ่ายบริหารของรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนของแต่ละพรรคการเมือง
5.) ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติของผู้แทนราษฎรที่สังกัดแต่ละพรรคการเมือง

รัฐบาล 313 เสียงไปต่อลำบาก สว.รองดออกเสียง ‘ภท.-พปชร.’ พลิกเกม หนุนเพื่อไทยชิงประธานสภาฯ

(22 พ.ค.66) ครบรอบ 9 ปี การรัฐประหาร.... ‘เล็ก เลียบด่วน’ เขียนเรื่องนี้ก่อนหน้า 8 พรรค 313 เสียง เขาจะลงนาม MOU กันประมาณ 7 ชั่วโมง..แต่เชื่อว่าการลงนาม MOU ก็คงจะผ่านไปในลักษณะ ‘แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง’ เท่าที่ทราบมาก่อนหน้านี้เห็นว่าใน MOU มีภารกิจที่จะต้องทำร่วมกัน 23 ข้อ เช่น ยกเลิกการเกณฑ์ทหารเป็นระบบสมัครใจ, สมรสเท่าเทียมเดินหน้า แต่ไม่บังคับกับประชาชนที่เห็นว่าขัดกับหลักศาสนา, เอากัญชากลับเข้าบัญชียาเสพติด เป็นต้น

นอกจาก MOU 20 กว่าข้อแล้ว ยังมีพันธะสัญญาอีก 4-5 ข้อในการบริหารประเทศ ซึ่งดูดี เช่น รัฐมนตรีคนไหนทุจริตต้องออกจากตำแหน่งทันที…

สำหรับปมร้อนอย่างกรณีการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้นไม่มีใน MOU แปลว่า พรรคไหนใครจะขับเคลื่อนก็ให้เป็นเรื่องของพรรคนั้น ไม่เกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล…

สุดท้ายแล้ว ความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาล 313 เสียง แม้อาจจะมีเสียงสนับสนุนจากพรรคเล็กมาเติมให้ฟรี 4-5 เสียง ก็ไม่พออยู่ดี… ต้องอาศัยเสียงสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว.อีก 60 เสียง เพื่อให้ผ่าน 376 เสียง ซึ่ง ‘เล็ก เลียบด่วน’ ยังฟันธงว่ายากที่จะไปถึง อย่างเก่งเสียงของ สว.ก็น่าจะอยู่แค่ระดับ 25-30 เสียง…

ต้องบอกว่า ประเด็นแนวทางการแก้ไขมาตรา 112 ที่พรรคก้าวไกลเคยยื่นต่อสภานั้นมันก้าวเกินกว่าการแก้ไข แทบไม่ต่างจากการยกเลิก เช่นเดียวกับการปฏิรูปกองทัพที่ใช้โมเดลของสหรัฐฯ ที่เป็นการด้อยค่า ‘จอมทัพไทย’ ทางอ้อม.. .นี่คือสองประเด็นใหญ่ที่ สว.เขาไม่เล่นด้วยหรือใช้เป็นเหตุ ‘งดออกเสียง’
.
แต่พูดไปทำไมมี… กว่าจะถึงวันโหวตเลือกนายกฯ ที่ สว.จะลงมาร่วมวงด้วยนั้น ต้องผ่านด่านการรับรอง ส.ส.โดย กกต.และจากนั้นคือด่านเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร… ซึ่งขณะนี้ สายข่าวหลายทางวิเคราะห์ตรงกันว่า เกมจะพลิกกันตั้งแต่เลือกประธานสภาฯ… และคนพลิกเกมก็คือพรรคพลังประชารัฐ… และภูมิใจไทย

กระซิบเบาๆ กับแฟนๆ คอลัมน์ ‘เลียบการเมือง’ เป็นการเฉพาะตรงนี้ว่า… ประชุมพรรคพลังประชารัฐเมื่อวันก่อนโน้นนน… ที่ประชุมเห็นพ้องให้ทุกคนรูดซิปปากเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล โดยให้ ‘ผู้กอง’ คนดังเป็นคนคอยประสานงานบอกกล่าวถึงทิศทางการเมือง… ทิศทางการเมืองที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคและในบ้านป่ารอยต่อรับรู้กันว่า… คำตอบสุดท้ายจะออกมาอย่างไร…

และคำตอบสุดท้ายที่ว่าก็คือ… พรรคเพื่อไทยจะจับมือกับพลังประชารัฐเป็นแกนนำ โดยมีพรรคอื่นๆ เข้าร่วมด้วย… ส่วนรายละเอียดใครจะเป็นประธานสภาฯ ‘สุชาติ ตันเจริญ’ หรือ ‘นพ.ชลน่าน  ศรีแก้ว’ และใครจะเป็นนายกฯ อุ๊งอิ๊ง, เศรษฐา หรือลุงป้อม หรือแม้แต่ หนู อนุทิน… เป็นประเด็นที่จะดำเนินไปในทางลึก…

เช่นนี้แล้วก็ต้องขอย้ำว่า ทริปฮ่องกงของ ‘อนุทิน-ศักดิ์สยาม’ ที่มีข่าวว่าไปจิบไวน์กับคนแดนไกลเมื่อสองสามวันก่อนนี้… ก็ไม่ใช่ข่าวลือแต่อย่างใด

สรุปก็คงเป็นความลำบากแสนสาหัสของพรรคน้องใหม่อย่างก้าวไกล ที่จะฝ่าค่ายกลทางการเมืองที่ซับซ้อนและหฤโหดไปได้ แต่จะว่าไปถ้าพรรคก้าวไกลไม่มาติดกับดักมาตรา 112 การปฏิรูปกองทัพปฏิรูปสถาบัน...หันไปขับเน้นนโยบายอย่างอื่น มันก็คงไม่ประสบชะตากรรมเยี่ยงนี้…

กลัดกระดุมเม็ดแรกผิดก็เป็นอย่างนี้แล… และถ้าใครคิดจะขนม็อบปลุกมวลชนออกมากดดัน สว.กดดันประเทศในยามนี้ก็มีแต่จะทำให้ตัวเอง ‘เสียการเมือง’

สวัสดีครับ

เรื่อง : เล็ก เลียบด่วน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top