Tuesday, 20 May 2025
NewsFeed

รัฐคลอดเกณฑ์จ่ายค่ารักษาพยาบาลกักตัวที่บ้าน 

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์ อัตรา วิธีการ และเงื่อนไข การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (ฉบับที่ 3) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ คือ 

1. กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด 19 และอยู่ระหว่างรอเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งแพทย์มีความเห็นให้รักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation) ผู้มีสิทธิสามารถเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้ ดังนี้ 
- ค่าบริการของสถานพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยกรณีพักรอก่อนเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง วันละไม่เกิน 1,000 บาท และไม่เกิน 14 วัน
- ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามอาการ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,100 บาท ต่อราย
- ค่ายา ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
- ค่าพาหนะส่งต่อ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท และค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนรถพาหนะ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้ง ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ป้องกันบุคคลของเจ้าหน้าที่แล้ว 

2. กรณีมีอาการผิดปกติภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 และแพทย์สันนิษฐานว่าเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีน หากเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ให้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้
- ค่าตรวจ Heparin-PF 4 antibody (lgG) ELISA assay และค่าตรวจ Heparin induced platelet activation test (HIPA) ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ค่ายา IVIG (Human normal immunoglobulin, intravenous) ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด

คณะกรรมการโรคติดต่อ เคาะแล้วฉีดวัคซีนเข็ม 1-2 ต่างชนิดกัน เข็มแรก Sinovac เข็มสอง AstraZeneca สำหรับคนไทยทั่วไป พร้อมฉีด แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์ ให้บุคลากรทางการแพทย์

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข แถลงผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติครั้งที่ 7/2564 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติเห็นชอบ 4 ประเด็นต่อการควบคุมโรคโควิด-19 คือ

1.) การให้ฉีดวัคซีนโควิดสลับ 2 ชนิด เข็ม 1 เป็นวัคซีนซิโนแวค และเข็ม 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า โดยห่างจากเข็มแรกนาน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ซึ่งจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงได้เร็วมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อผู้รับวัคซีน

2.) การฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Booster dose) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า โดยห่างจากเข็ม 2 นาน 3-4 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันให้สูงและเร็วที่สุด เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า และธำรงระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย เนื่องจากส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนซิโนแวค ครบแล้วนานมากกว่า 3 เดือน จึงควรได้รับการกระตุ้นในเดือนกรกฎาคมได้ทันที อาจเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์

3.) แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยใช้ Antigen Test Kit ที่ผ่านการรับรอง และขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปัจจุบันขึ้นทะเบียนแล้ว 24 ยี่ห้อ โดยอนุญาตให้ตรวจในสถานพยาบาล และหน่วยตรวจที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการตรวจ RT-PCR ที่มีมากกว่า 300 แห่ง ช่วยลดระยะเวลารอคอย และในระยะต่อไปจะอนุญาตให้ประชาชนตรวจเองได้ที่บ้าน โดยจะมอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร กำกับการดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติ

4.) แนวทางการแยกกักที่บ้าน (Home isolation) และการแยกกักในชุมชน (Community isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเงื่อนไขเหมาะสม หรือไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ รวมทั้งการแยกกักในชุมชน ในกรณีการติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนเป็นจำนวนมาก โดยมีกระบวนการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จากสถานพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อความปลอดภัยและเป็นมาตรฐานในการดูแลรักษา เช่น มีเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เครื่อง Oximeter วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และยารักษาโรค โดยมอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร นำเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป นอกจากนี้ ยังรับทราบแนวทางการจัดทีมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวหรือกลุ่มผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นที่บ้าน ในพื้นที่ กทม.

นายอนุทิน กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นการระบาดที่เกิดจากไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา และมีแนวโน้มแพร่เชื้อไปต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถานประกอบการ โรงงาน ตลาดค้าส่ง หากไม่มีมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่เข้มงวดมีประสิทธิภาพ

คาดการณ์ว่าอาจพบผู้ติดเชื้อสูงถึง 10,000 ราย/วัน หรือสะสมมากกว่า 100,000 ราย ใน 2 สัปดาห์ ส่งผลทำให้มีการเสียชีวิตเกิน 100 ราย/วัน จำเป็นต้องใช้มาตรการยาแรงจะดำเนินการพร้อมกันในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เช่น ห้ามการรวมกลุ่มคนมากกว่า 5 คน จำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด ลดจำนวนขนส่งสาธารณะข้ามจังหวัดระยะไกล ปิดสถานที่เสี่ยง ให้พนักงาน Work from home ให้มากที่สุด เพื่อลดโอกาสสัมผัสโรค ลดการเคลื่อนย้าย และลดกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด

รวมถึงปรับแผนการฉีดวัคซีน ระดมฉีดกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรคทั่วประเทศ ตั้งเป้าฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ระบาดรุนแรง เช่น กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ให้ได้ 1 ล้านคนภายใน 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันมากกว่า 80% เนื่องจากกลุ่มนี้หากติดเชื้อมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง โดยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์-11 กรกฎาคม 2564 ฉีดวัคซีนไปแล้ว 12,569,213 โดส เป็นเข็ม 1 จำนวน 9,301,407 ราย เข็ม 2 จำนวน 3,267,806 ราย


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ชี้แจงข้อเท็จจริงจากข่าวลือกรณีเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ยันไม่เป็นความจริง ระบุโรงงานประกอบกิจการเสื้อผ้าสำเร็จ ไม่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยกรณีที่มีข่าวลือว่ากรณีเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในพื้นที่บริเวณเขตประกอบการเสรีนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา และมีผู้ได้รับผลกระทบจากการสูดดมสารเคมีจนเป็นลมจำนวนหลายคนนั้น ขอชี้แจงว่า โรงงานดังกล่าวประกอบกิจการ ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชุดชั้นในสตรี ชุดว่ายน้ำและถุงเท้า และวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป รับจ้างผลิต และจำหน่ายหน้ากากอนามัย ซึ่งในขั้นตอนของกระบวนการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น กรณีสารเคมีรั่วไหลจากโรงงานดังกล่าวจึงไม่เป็นความจริง

“กรณีที่เกิดขึ้น ผมได้รับรายงานจากทางนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินแล้วว่า เกิดจากการที่มีพนักงานในบริษัทฯ ดังกล่าว ได้ทำการฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อแบบเข้มข้น เพื่อทำความสะอาดพื้นในบริเวณพื้นที่ทำงานซึ่งเป็นห้องปรับอากาศ พนักงานบางคนก็นำน้ำยาในขวดสเปรย์มาฉีดใส่ตัว เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งทำให้อากาศไม่หมุนเวียนออกไปสู่ภายนอก ส่งผลให้พนักงานบางคนเป็นลม หน้ามืด หมดสติ โดยพบว่ามี จำนวน 17 ราย ทั้งหมดได้นำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงแล้ว ซึ่งล่าสุดบางรายกลับบ้านได้แล้ว” นายวิริศ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 08.15 น. ของวันที่ 12 ก.ค. 64 หลังได้รับรายงาน กนอ. ได้ให้บริษัทฯ หยุดทำการผลิตทันที และให้พนักงานกลับที่พัก และดำเนินการเปิดพื้นที่อาคารโรงงานเพื่อระบายอากาศ โดย กนอ. จะติดตามความคืบหน้าและตรวจติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และแจ้งให้ทราบในระยะต่อไป


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

สคบ. เผย กำลังหาทางช่วยผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้สิน เตรียมปรับปรุงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์

นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สคบ.กำลังหาทางช่วยผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้สิน โดยเตรียมปรับปรุงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เกี่ยวกับกรณีการขายทอดตลาดที่ไม่เป็นธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่เป็นลูกหนี้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประเภท โดยเฉพาะการเช่าซื้อรถยนต์, จักรยานยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งล่าสุดคณะอนุกรรมการกำลังไปศึกษาแนวทางการช่วยเหลือ คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์นี้ จากนั้นจะเสนอให้ทางคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาพิจารณาเห็นชอบ

ทั้งนี้ในแนวทางการช่วยเหลือ สคบ. ยังได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมมือแก้ปัญหาด้วย เช่น กรณีของการคิดดอกเบี้ยเช่าซื้อนั้น ที่ผ่านมาไม่ได้มีการกำหนดอัตราไว้อย่างชัดเจน

ล่าสุดได้ขอความร่วมมือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หาทางปรับปรุงและออกข้อกำหนดมารองรับให้ครอบคลุมถึงส่วนนี้ด้วย เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในกรณีที่ถูกเอาเปรียบจากการคิดดอกเบี้ยเกินจริง

ส่วนการติดตามทวงถามหนี้ ที่ผ่านมาสคบ.ได้หารือเบื้องต้นกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 โดยสคบ.จะประสานแนวทางการคุ้มครองดูแลผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เพิ่มเติม เช่น...

การติดตามทวงถามหนี้จะผ่อนปรนได้อย่างไรบ้าง, การติดตามทวงถามรายวันทำอย่างไร, มีวิธีการอย่างไรบ้าง และสามารถปรับลดลงได้อย่างไร เพื่อจะได้ช่วยให้ผู้บริโภคที่เป็นหนี้ไม่ได้รับความเดือดร้อนจากการคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูง

เช่นเดียวกับการปรับโครงสร้างหนี้นั้น ที่ผ่านมา สคบ. เคยเชิญผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ที่มีสัญญาเช่าซื้อกับผู้บริโภคมาหารือ ถึงแนวทางการผ่อนปรนในช่วงวิกฤตโควิดครั้งนี้จะช่วยเหลือผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง เช่น การลดค่าธรรมเนียม, การพักชำระหนี้ หรือการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เสกสกล แช่ง เพื่อไทย มีโฆษกสากกะเบือ อนาคตพรรคถูกยุบแน่

นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย วิพากษ์วิจารณ์การแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด-19  พร้อมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ว่า ที่ผ่านมานายกฯ กระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และทุกภาคส่วนได้ทำงานแก้ไขปัญหาสถานการณ์อย่างเต็มที่อยู่แล้ว ทั้งด้านสาธารณสุข การตรวจหาเชื้อเชิงรุก ล่าสุดได้เพิ่มจุดตรวจ และตั้งเป้าตรวจให้ได้วันละหมื่นคน โดยการตรวจหาเชื้อดังกล่าวจะใช้ชุดตรวจแรพิด แอนติเจน เทสต์ ( Rapid Antigen Test) ส่วนการบริหารจัดการวัคซีน นายกฯย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำอย่างเต็มที่ ซึ่งวัคซีนการจัดหาวัคซีนโมเดอร์นาเป็นวัคซีนทางเลือกจะทยอยนำเข้ามาในไตรมาสที่ 4  ถึงมกราคม 2565 เช่นเดียวกับวัคซีนไฟเซอร์ ครม.อนุมัติซื้อ จำนวน 20 ล้านโดส และเร่งนำเข้าในไตรมาส 4 เช่นเดียวกัน

นายเสกสกล กล่าวว่า คนเป็นฝ่ายค้านต่อให้ชี้แจงเรื่องใดไปคงไม่เข้าใจ  เพราะมีหน้าที่ค้านอย่างเดียว คอยแต่จะจ้องกล่าวหา โจมตี นายกฯกับรัฐบาลไม่หยุด เพื่อหวังผลทางการเมืองของตัวเอง การที่นายอนุสรณ์ระบุว่าแทนที่รัฐบาลจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหากลับกลายเป็นภาระ ปกติเสาร์-อาทิตย์ ก็ไม่ทำงาน ยิ่งต้องมากักตัวยิ่งล้มเหลวและสูญเสียโอกาส ตนเองยืนยันว่านายกฯ ทำงานหนักทุกวันไม่มีวันหยุด การทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศ ก่อนที่นายอนุสรณ์ จะตำหนิใครขอให้ย้อนดูตัวเองบ้างว่าทำงานบ้างหรือไม่ อย่าว่าแต่วันหยุดเสาร์ -อาทิตย์เลย วันธรรมดาคนอย่างนายอนุสรณ์ได้ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนบ้างหรือไม่ แต่หากจะทำก็ทำแค่ใช้ปากจ้อเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ให้ประชาชนเกิดความสับสน คนแบบนี้ตนเองถือว่าไม่มีสมองคิด 

คนที่เขาอยากให้นายกฯทำงานแก้ไขปัญหาก็ยังมีอยู่ นายกฯต้องอยู่แก้ไขปัญหาต่อไป จนครบวาระ โดยไม่จำเป็นต้องทำตามข้อเรียกร้องของนายอนุสรณ์ เพราะการเรียกร้องให้นายกฯลาออกนั้นล้วนแต่ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง วันๆสมองคิดแต่โจมตีใส่ร้ายป้ายสีนายกฯ พรรคเพื่อไทยใช้คนอย่างนายอนุสรณ์ เป็นโฆษกสากกะเบือแทนพรรค อนาคตต่อไปพรรคเพื่อไทยอาจจะถูกยุบ หรือพบความวิบัติหายนะอย่างตกต่ำ เพราะวาจาสามหาวของนายอนุสรณ์ปากตลาดคนนี้ ตามที่ตนเคยเตือนไว้ ไม่เชื่อคอยดู

“เลขาฯสมช.”ระบุ ไม่เลื่อนฉีดวัคซีนในกทม. โยน สธ.แจงข้อข้องใจ บ.แอสตราฯส่งวัคซีนให้ไทยน้อย ปัดตอบกระแสตั้ง เลขาฯสมช.คนใหม่ 

พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด – 19)หรือ ศปก.ศบค. กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวการเลื่อนฉีดวัคซีนในพื้นที่กทม.ออกไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งสวนทางกับนโนยายการปูพรมฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยงสูง หรือสีแดงเข้ม ว่า ขณะนี้การฉีดวัคซีนกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ไม่ได้มีการเลื่อนฉีดวัคซีนแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวถามกรณีที่มีข้อสังเกตว่าการผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกา ที่ผลิตโดยบริษัทสยาม ไบโอไซเอนซ์ ที่ต้องส่งวัคซีนให้ประเทศไทยเดือนละ 10 ล้านโดส แต่มีกระแสข่าวว่าสามารถผลิตได้เพียง 5 ล้านโดสต่อเดือน พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ขอให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ชี้แจงในกรณีดังกล่าว 

เมื่อถามถึงการเตรียมแต่งตั้งเลขาฯสมช.คนใหม่ แทนพล.อ.ณัฐพล ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.นี้ โดยมีกระแสข่าวว่าอาจเป็นบุคคลที่ข้ามห้วยมาจากสำนักงานปลัดกลาโหม พล.อ.ณัฐพล กล่าวปฎิเสธว่า”ไม่ทราบถึงกระแสข่าวดังกล่าว”

โฆษกรัฐบาลฯ แจง หน่วยงานราชการไม่ได้เก็บภาษีนำเข้าหรือบวกกำไรวัคซีนทางเลือกที่นำเข้าเพื่อโรงพยาบาลเอกชน “ยัน”ไม่ได้เก็บ VAT ซ้ำซ้อน

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าได้รับทราบคำชี้แจงจากองค์การเภสัชกรรม ถึงการกำหนดราคาขายวัคซีนโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกให้กับโรงพยาบาลเอกชนว่า องค์การเภสัชกรรมไม่ได้บวกกำไรหรือบวกภาษีนำเข้าในราคาที่ขายให้กับโรงพยาบาลเอกชนแต่อย่างใด ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรมชี้แจงว่าได้คิดราคาขายจากราคาวัคซีนที่ได้รับจากตัวแทนผู้ผลิต ซึ่งในกรณีวัคซีนโมเดอร์นาคือ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด จากนั้นจึงนำมารวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ เช่น ค่าเก็บรักษา ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยรายบุคคลเพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนทางเลือกในกรณีที่อาจมีอาการไม่พึงประสงค์เท่านั้น โดยไม่ได้บวกกำไรหรือบวกภาษีนำเข้าในราคาที่ขายให้กับโรงพยาบาลเอกชนแต่อย่างใด

นายอนุชา กล่าวว่า นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการนำเข้าวัคซีนและอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆนั้น ได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าอยู่แล้ว สำหรับของที่นำเข้ามาใช้ในการรักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามรายการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อดูแลและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงเดือน มีนาคม 2565 นั้น จะมีการเก็บเพียงภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ 7% จากผู้นำเข้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งในส่วนของภาษีซื้อนี้ บริษัทผู้นำเข้าสามารถขอคืนได้หรือเอาไปหักออกจากภาษีขายได้ด้วย ดังนั้น หากนำเข้ามาแล้วขายต่อโดยไม่คิดกำไร บริษัทผู้นำเข้าก็สามารถขอคืน VAT ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว แต่หากมีการนำเข้ามาแล้วบริษัทผู้นำเข้าขายทำกำไร ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะส่วนต่างกำไรที่เกิดขึ้นเท่านั้น

“ที่มีกระแสข่าวว่าประชาชนต้องแบกรับภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการที่โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บนั้น กรมสรรพากรได้ชี้แจงว่า การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฏหมายว่าด้วยสถานพยาบาลนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ดังนั้น โรงพยาบาลเอกชนจึงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน จึงไม่สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการแก่ประชาชนได้อีก แต่หากโรงพยาบาลเอกชนมีกำไรจากการประกอบการก็เป็นหน้าที่ในการเสียภาษีกำไรเช่นเดียวผู้ประกอบการในลักษณะอื่นๆ”โฆษกประจำสำนักนานกรัฐมนตรีกล่าว

“บิ๊กตู่” ถก ครม.เตรียนมอนุมัติขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 เดือน ตามมติ ศบค.เคาะมาตรการเยียวยาล็อกดาวน์ “จับตา” ชัวร์หรือมั่วนิ่ม แต่งตั้งปลัด มท.ข้ามห้วย หลังมีรายงานชื่อ จตุพร บุรุษพัฒน์ กระโดดมากินตำแหน่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จากบ้านพัก ภายใน กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์  (ร.1 รอ. ) ซึ่งเป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์ที่ 2 จากบ้านพัก เนื่องจากนายกรัฐมนตรี ต้องกักตัวหลังสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 โดยวันนี้เป็นวันที่ 9 ของการกักตัว

โดยที่ประชุม ครม.วันเดียวกันนี้ จะมีการพิจารณามาตรการเยียวยาประชาชน ภายหลังมีมาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิว พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา เริ่ม 12 ก.ค.

นอกจากนี้ ครม.ยังจะอนุมัติขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทุกเขตพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. – 30 ก.ย. ขณะที่นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การต่างประเทศ เตรียมรายงานสหภาพยุโรปเสนอขอแต่งตั้งนายเดวิด เดลี เป็นวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสหภาพยุโรปประจําประเทศไทย 

ขณะเดียวกัน ในการประชุม ครม.วันเดียวกันนี้ ต้องจับตาว่าจะมีการแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ตามที่มีรายงานว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหาดไทย เตรียมจะเสนอชื่อนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มาดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบประวัติศาสตร์ 100 ปีของการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทยที่ ไม่ได้เอาลูกหม้อขึ้นมาดำรงตำแหน่งจริงหรือไม่

ทั้งนี้ ในส่วนข้าราชการกระทรวงมหาดไทยปัจจุบัน ผู้อาวุโสสูงสุดเรียงตามลำดับคือคือ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง และนายนิสิต จันทรสมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน สำหรับเหตุผลที่กระทรวงมหาดไทยจะรีบเสนอแต่งตั้งปลัดกระทรวงทั้งที่เหลือระยะเวลาอีก 3 เดือน นั้นเพราะสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ไม่มีความแน่นอน จึงต้องรีบแต่งตั้งและจัดวางคนลงไป อีกทั้งรวมถึงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top