Saturday, 10 May 2025
NewsFeed

จุรินทร์ นำ พาณิชย์จัดโมบายพาณิชย์ ลดราคา ! ช่วยประชาชน 730 คัน ลดสูงสุด 60% ช่วยประชาชนช่วงโควิด ตระเวนจอดขายของราคาถูก 500 ชุมชน ทั้งกรุงเทพและปริมณฑล

วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายในงาน Mobile พาณิชย์ลดราคา ! ช่วยประชาชน Lot 10 ณ บริเวณป้ายกระทรวงพาณิชย์ (ร้ัวด้านหน้าริมถนน)

นายจุรินทร์ กล่าวว่าวันนี้เป็นการเปิดตัวโครงการพาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน Lot ที่ 10 ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 9 Lot โดย Lot นี้ กระทรวงพาณิชย์จัดในรูปแบบรถ Mobile พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน ที่จะตระเวนไปจำหน่ายสินค้าราคาถูกทั่วกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด เพื่อที่จะให้สามารถนำสินค้าและให้บริการสินค้าต่างๆในราคาถูกไปจำหน่ายให้พี่น้องประชาชนถึงชุมชนต่างๆ ให้พี่น้องประชาชนที่จำเป็นต้องกักตัวอยู่ในชุมชนสามารถได้รับบริการที่ทั่วถึง

โดยได้จัดรถ Mobile ทั้งหมด 730 คัน วิ่งกระจายไปทั่วกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนนึงจะไปจอดที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ทั่วกรุงเทพมหานคร จอดประมาณครึ่งวัน แล้วจะตระเวนไปตามจุดและชุมชนต่างๆ จะเข้าไปในชุมชนประมาณ 400-500 ชุมชน
สินค้าราคาถูกประกอบด้วย 2 ส่วน 1.สินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค 6 ชนิดและ 2.สินค้าอุปโภคบริโภค 6 หมวด 

สำหรับสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน 6 ชนิดประกอบด้วย 1.ข้าวสารถุงเป็นข้าวหอมมะลิ กิโลกรัมละ 30 บาท 2.ไข่ไก่ เบอร์สาม 3-4 แผงละ 30 ฟอง ราคา 83 บาท ตกฟองละ 2.77 บาท 3.น้ำมันพืชขนาด 1 ลิตร ขวดละ 43 บาท 4.น้ำตาลถุงละ 1 กิโลกรัม 20 บาท 5.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซองละ 5 บาท และ 6.ปลากระป๋อง กระป๋องละ 12 บาท

สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคอีก 6 หมวด หมวดที่หนึ่งอาหารสำเร็จรูปมี 11 รายการ ลดสูงสุด 33% หมวดที่สองซอสปรุงรส 16 รายการ ลดสูงสุด 28% หมวดที่สามของใช้ประจำวัน 16 รายการ ลดสูงสุด 50% หมวดที่สี่สินค้าสำหรับชำระร่างกาย 4 รายการ ลดสูงสุด 60% หมวดที่ห้าสินค้าสำหรับการซักล้าง 23 รายการ ลดสูงสุด 54% และหมวดที่หกยา 3 รายการ ลดสูงสุด 23% โดยภาพรวมสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค 6 หมวดนี้ ลดราคาเฉลี่ยสูงสุด 60%

โดยจะเริ่มดำเนินการออกให้บริการพี่น้องประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 400-500 ชุมชนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเป็นเวลา 30 วันถึงวันที่ 8 มิถุนายนคาดว่าจะช่วยลดภาระค่าของชีพให้กับพี่น้องประชาชนได้ไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท ซึ่งได้รับความร่วมมือจากตลาดทั้งหมด 7 ตลาด 1.ตลาดสี่มุมเมือง 2.ตลาดไท 3.ตลาดยิ่งเจริญ 4.ตลาดมีนบุรี 5. ตลาดเวิลด์มาร์เก็ต
6.ตลาดเสรีสายห้า และ 7.ตลาดบางใหญ่

'พรรคกล้า-ชุมพร' ทวงเงินเยียวยาพระสงฆ์ 60 บาทต่อวัน-ส่วนลดค่าน้ำ ค่าไฟ ช่วยวัดสู้วิกฤตโควิด-19

พ.ต.อ.ทศพล โชติคุตร์ ผู้เสนอตัวสมัครรับเลือกตั้ง จ.ชุมพร พรรคกล้า กล่าวระหว่างลงพื้นที่ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิค-19 ที่วัดดอนทรายแก้ว ต.นาทุ่ง ว่า ได้สนทนาธรรมกับพระมหาศิลป์ชัย ชยโชติ ป.ธ.๙ ถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อวัด เช่นกัน งดบิณฑบาตในบางวันที่มีข่าวการแพร่ระบาดในเมือง ทำให้ขาดแคลนอาหาร ซึ่งทางกรมการศาสนาเคยจะให้เงินเยียวยา 60 บาทต่อวัน ต่อพระ 1 รูป แต่ขณะนี้ทางวัดยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว ซึ่งทางพระมหาศิลป์ชัย ระบุว่าไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร ซึ่งทางพรรคกล้าจะช่วยติดตามเรื่องต่อให้กับทางวัดอีกที

"ในสภาวะวิกฤตเช่นนี้ วัดขนาดใหญ่ยังพอดูแลตัวเองได้ ต่างกับวัดขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีเงินบริจาคน้อย ยิ่งพบเจอกับวิกฤต ก็ยิ่งลำบากไปใหญ่ ญาติโยมมาทำบุญที่ก็วัดน้อยลง หายไป ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ วัดขาดรายได้ ไม่มีเงินในการบริหารรายจ่ายในวัด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุง ต่าง ๆ ที่ทางวัดยังคงจ่ายราคาปกติ" พ.ต.อ.ทศพล กล่าว

พ.ต.อ.ทศพล กล่าวด้วยว่า วัดเป็นศาสนาสถานซึ่งไม่ได้หวังผลกำไร ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทางการไฟฟ้า หรือการประปา มีมาตรการให้ส่วนลด ค่าน้ำ ค่าไฟ ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤตเช่นนี้กับทางวัด หรือศาสนสถานอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลต้องมีมาตรการเร่งด่วนเรื่องนี้

“เพื่อไทย” จี้ รัฐบาล ปรับแผนฉีดวัคซีน “โฆษกพรรค”เสนอ 4 ข้อเร่งฉีดวัคซีน ด้าน "วิชาญ" แนะควรให้อำนาจ ผอ.เขต บริหารจัดการทั้งฉีดวัคซีน-ล็อกดาวน์แต่ละเขต

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ที่พรรคเพื่อไทย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาคกทม. น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรค พร้อมผู้สมัคร ส.ก. ของพรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงข่าว โดยน.ส.อรุณี กล่าวว่า หลังรัฐบาลเปิดให้ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรคลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีผู้ลงทะเบียน  เพียง 1.55 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยมากจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 16 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลสอบตกในการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการฉีดวัคซีน บกพร่องต่อการสื่อสารและทำความเข้าใจถึงประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงที่แท้จริงให้กับประชาชนอย่างเพียงพอ 

โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า หากรัฐบาลมีเป้าหมายเพื่อเร่งฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด  ควรเร่งดำเนินการดังนี้ 1.ปรับเปลี่ยนแผนการลงทะเบียนฉีดวัคซีน ให้บุคคลทั่วไปที่สมัครใจและมีความพร้อม 2.ปรับให้กลุ่มอาชีพบริการซึ่งต้องสัมพันธ์กับการพบปะผู้คนในเมืองได้ฉีดวัคซีนก่อน เช่น จักรยานยนต์รับจ้าง, คนขับรถตู้, ตุ๊กตุ๊ก , พนักงานส่งพัสดุอหรือส่งอาหารเดลิเวอรี่ ฯลฯ 3.เร่งสืบสวนหาสาเหตุอาการข้างเคียงของวัคซีน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างชัดเจน และ 4.สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน หากเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน รัฐบาลควรจ่ายเงินชดเชยที่สูง โดยนำกรณีของต่างประเทศมาปรับใช้ เช่น ในมาเลเซีย หากเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน รัฐบาลจ่ายชดเชย 3.7 ล้านบาท, สิงคโปร์จ่าย 5.25 ล้านบาท แต่ไทยจ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท


“ 1 ปีที่ผ่านมาของการระบาด รัฐบาลไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนประเทศได้ในทุกด้าน  ทั้งในมิติของการแก้ไขปัญหา การรับมือ หรือการป้องกันการระบาด จึงไม่แปลกใจหากจะมีประชาชนทยอยเดินทางไปต่างประเทศเพื่อฉีดวัคซีน เพราะต้องการเลือกยี่ห้อวัคซีนเอง แต่ประชาชนคนทั่วไปไม่ได้มีโอกาสเลือกแบบนั้นทุกคน จึงอยากให้รัฐบาลเร่งสร้าง ภูมิคุ้มกันหมู่ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ไทยจะเป็นประเทศเดียวที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง  ในขณะที่หลายประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว” น.ส.อรุณี กล่าว

ด้านนายวิชาญ กล่าวว่า จากการที่พรรคเพื่อไทยลงพื้นที่พบชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. เห็นปัญหาต่างๆ เราได้แจกทั้งแมส และแอลกอฮอล์อย่างกว้างขวาง พร้อมประสานงานช่วยเหลือผู้ป่วยกว่า 76 ครั้ง ซึ่งสถิติที่ได้มาถือว่ายังเป็นตัวเลขที่สูง ทางพรรคจึงขอเสนอแนะให้รัฐบาล โดยเฉพาะกทม. ดำเนินการตามนี้ 1.รัฐควรนำผู้ป่วยออกไปอยู่ที่โรงพยาบาล หรือสถานที่รักษา ขณะที่กลุ่มเสี่ยงก็ควรคัดออกจากชุมชนไปเลย ให้ไปอยูในสถานที่ที่จัดให้ 14 วัน เพราะไม่เช่นนั้น เขาก็ยังต้องดำเนินชีวิต ออกไปทำงาน ฯลฯ 2.กทม. ควรให้อำนาจกับผู้อำนวยการเขตในการบูรณาการในแต่ละเขต แล้วประสานงานกับส่วนราชการต่างๆโดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจะล็อกดาวน์ในเขตต่างๆ รวมถึงดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อำนาจในการฉีดวัคซีน ฯลฯ ให้อำนาจเขาจัดการเลยโดยไม่ต้องรวมศูนย์อยู่ที่ กทม. เท่านั้น 3.รัฐ โดย กทม. ควรกำหนดการฉีดวัคซีน โดยแผนการดำเนินการต้องชัดเจน และ4.ถ้าพบเจอผู้ติดเชื้อในชุมชนใดควรปิดกั้นชุมชนไปเลย เช่น คลองเตย เมื่อเจอแล้วก็ห้ามบุคคลเดินทางเข้าออก แล้วคัดแยกผู้ป่วยให้รวดเร็ว และตอนนี้เขตราชเทวี ห้วยขวาง และวังทองหลาง มีเอกสารที่ชี้ให้เห็นว่าต้องการปิดชุมชน 

นายวิชาญ กล่าวอีกว่า สำหรับการติดตามการดำเนินการของภาครัฐ และกทม.ที่ทีม กทม. เราทำ เห็นว่า กทม.ยังดำเนินการน้อยมาก โดยวัดที่ทำการฌาปนกิจผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโควิดสะท้อนมาว่า ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันใดๆ กลุ่มจิตอาสา อสส. และมูลนิธิก็เช่นกัน ตนจอแนะให้นำเงินกองทุน 500 ล้านบาทของสปสช.ที่อุดหนุน กทม. มาใช้ นอกจากนี้ ควรเร่งเข้าไปดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงตามบ้านอย่างเร่งด่วน 

สภาพัฒน์ ยันเหลือเงินกู้เยียวยา-ฟื้นเศรษฐกิจอีก 2.37 แสนล.

นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการอนุมัติและเบิกจ่ายเงินกู้ตาม พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ว่า สถานะปัจจุบันของ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติโครงการที่เสนอขอใช้จ่ายเงินกู้แล้ว 283 โครงการ รวมกรอบวงเงินกู้ 762,902 ล้านบาท คงเหลือวงเงินกู้ 237,097 ล้านบาท 

นายวันฉัตร กล่าวว่า ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ยังคงเพียงพอสำหรับการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-2019 ในระลอกเดือนเม.ย.64 ทั้งหมด 2 ระยะที่จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.-ธ.ค.64 ทั้ง มาตรการระยะแรก เช่น มาตรการการเงิน มาตรการลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า และน้ำประปา และโครงการเราชนะ กับ ม 33 เรารักกัน และมาตรการระยะที่ 2 เช่น การเพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเงินให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

สำหรับตามกรอบของ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ในส่วนของแผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 3.55 แสนล้านบาท มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ฯ แล้ว 232 โครงการ วงเงินรวม 138,181 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 110 โครงการ วงเงินรวม 69,117 ล้านบาท คิดเป็น 49.15% โดยสาเหตุที่ทำให้มีการเบิกจ่ายต่ำนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์ และความจำเป็นที่ต้องชะลอกิจกรรมที่ต้องลงพื้นที่ และฝึกอบรม เพราะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดตั้งแต่ต้นปี 64 จนถึงปัจจุบัน 

ส่วนวงเงินภายใต้แผนงานด้านสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ผ่านการอนุมัติแล้ว 42 โครงการ วงเงิน 25,825 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 7,102 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27.50% สาเหตุที่ทำให้มีการเบิกจ่ายค่อนข้างต่ำ เป็นผลจากหน่วยงานรับผิดชอบโครงการยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข 

เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านโรคระบาดของสหรัฐฯ ยอมรับ ยอดผู้เสียชีวิต จาก ‘โควิด’ สูงกว่าที่รายงานออกมา ประเมินตัวเลขจริงสูงกว่า 9 แสนราย ขณะที่ตัวเลขรายงานอยู่ที่ประมาณ 5.8 แสนรายเท่านั้น

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน นายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ที่ปรึกษาระดับสูงด้านโรคระบาดของสหรัฐ ยอมรับเมื่อวันอาทิตย์ว่า สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้ป่วยโควิดเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก นับจำนวนการเสียชีวิตเพราะโควิดต่ำกว่าความเป็นจริง "อย่างไม่ต้องสงสัย"

เอเอฟพีรายงานว่า ข้อมูลอย่างเป็นทางการของรัฐบาลสหรัฐนั้น จำนวนผู้เสียชีวิตเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 มีมากกว่า 581,000 คน แต่ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตันเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีประเมินยอดผู้เสียชีวิตในสหรัฐว่ามีมากกว่า 900,000 คน

ในคำให้สัมภาษณ์กับรายการ "Meet The Press" ของสถานีเอ็นบีซีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม นายแพทย์เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ และเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า ตัวเลขประเมินนี้มากกว่าตัวเลขที่นับต่ำกว่าความจริงที่เขาคิด กระนั้น เขายอมรับว่าสหรัฐฯ นับยอดต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างไม่ต้องสงสัย

จากตัวเลขที่รายงานอย่างเป็นทางการ ถึงขณะนี้สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว 32.6 ล้านคน สหรัฐต่อสู้กับจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังเทศกาลวันหยุดยาวช่วงปลายปีที่แล้ว แต่นับจากเดือนมกราคม จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง ในขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นมาก

เจฟฟรีย์ ไซเอนต์ส ผู้ประสานงานโควิด-19 ของทำเนียบขาว กล่าวกับรายการ "State of the Union" ของสถานีซีเอ็นเอ็นว่า สหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ โดยมีชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ 58% ได้ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส และมีชาวอเมริกันรวมแล้วมากกว่า 110 ล้านคนที่ได้ฉีดวัคซีนครบแล้ว

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องการให้ประชากรวัยผู้ใหญ่ 70% ในสหรัฐได้ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสก่อนเทศกาลวันหยุดยาวฉลองวันชาติ 4 กรกฎาคมนี้ แต่อัตราการฉีดวัคซีนที่พุ่งสูงสุดในเดือนเมษายนชะลอตัวลงแล้ว พลอยทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ของประชากรชะลอตามไปด้วย

เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง, มลรัฐ และระดับท้องถิ่นกำลังร่วมมือกับบริษัทยา, ร้านอาหาร, ร้านเหล้า, ซูเปอร์มาร์เก็ต และทีมกีฬาต่าง ๆ หาวิธีชักจูงใจให้ผู้คนฉีดวัคซีน เช่นรัฐนิวเจอร์ซีย์ ผู้ว่าการรัฐฟิล เมอร์ฟี ทำโครงการ "ฉีดแลกเบียร์" ส่วนจิม จัสติซ ผู้ว่าการรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ประกาศว่า รัฐจะให้พันธบัตรออมทรัพย์ 100 ดอลลาร์ แก่คนอายุ 16-35 ปีที่มาฉีดวัคซีน


ที่มา : https://www.naewna.com/inter/571816

ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือนเม.ย. 64 ต่ำสุดรอบ 8 เดือน เหตุผู้ประกอบการกังวลโควิดระบาดระลอกใหม่ วอนรัฐเร่งจัดหาและฉีดวัคซีน-ออกมาตรการเยียวยา

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.3 ในเดือนมีนาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สาม ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ให้เข้มงวดมากขึ้น

แม้ว่าภาครัฐจะไม่ได้ประกาศมาตรการล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิวส์เหมือนกับการระบาดในระลอกแรก แต่วิกฤตโควิด-19 ระลอกที่สาม ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งการค้าการลงทุน การเดินทางท่องเที่ยว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่มาตรการ Work From Home ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายนยังมีวันทำงานน้อยเนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาคการผลิตส่วนใหญ่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 91.8 จากระดับ 94.0 ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่สาม ที่อาจยืดเยื้อและต้องใช้ระยะเวลานานในการควบคุม ขณะที่การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังมีความล่าช้า ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งสถานการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ มี 4 ข้อเสนอด้วยกัน ประกอบด้วย

1.) ขอให้ภาครัฐเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามให้ได้โดยเร็ว โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง

2.) เร่งจัดซื้อและกระจายวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน

3.) ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่สามอย่างเร่งด่วน ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและผู้ประกอบการเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ

4.) เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก

โควิดระลอกใหม่ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิ่งรอบ 8 เดือน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2564 อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.3 ก่อน ถือเป็นการปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนก.ย. 2563 หลังจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ อีกทั้งภาครัฐยังยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ให้เข้มงวดมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งการค้าการลงทุน การเดินทางท่องเที่ยว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น 

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 91.8 จากระดับ 94.0 ในเดือนก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่อาจยืดเยื้อและต้องใช้ระยะเวลานาน ขณะที่การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังมีความล่าช้าภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งสถานการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย

อย่างไรก็ตามภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 4 ข้อ คือ 1. ขอให้ภาครัฐเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามให้ได้โดยเร็ว โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง 2. เร่งจัดซื้อและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน

3. ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่สามอย่างเร่งด่วน ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและผู้ประกอบการเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ 4. เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก

ประชาชน เฮ!! ก.แรงงาน จับมือ กทม. สปสช.ขยายตรวจโควิด-19 เชิงรุก ที่สนามไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง ต่อไปจนถึง 31 พ.ค.นี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย ก.แรงงาน บูรณาการร่วมกับมหาดไทย กทม. สปสช. ขยายเวลาตรวจโควิด-19 เชิงรุก แก่ผู้ประกันตน แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไป เพื่อเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่สนามไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย ก.แรงงาน บูรณาการร่วมกับมหาดไทย กทม. สปสช. ขยายเวลาตรวจโควิด-19 เชิงรุก แก่ผู้ประกันตน แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไป เพื่อเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่สนามไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง ต่อไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค.นี้ 

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ห่วงใยผู้ประกันตน แรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระและพี่น้องประชาชนทั่วไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 เนื่องจากสภาพปัญหาในปัจจุบันได้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง และมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จึงได้มีดำริกำชับให้กระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ขยายระยะเวลาของศูนย์คัดกรองหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุก ที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 พ.ค.นี้ เพื่อให้สามารถตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุกได้ครอบคลุมและเร่งคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดโดยเร็ว ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้ให้กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม บูรณาการความร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด และกระทรวงสาธารณสุข โดย สปสช. ดำเนินการขยายระยะเวลาการตรวจโควิด – 19 เชิงรุก เพื่อผู้ประกันตนแรงงานนอกระบบ และพี่น้องประชาชนทั่วไปตามโครงการแรงงาน…เราสู้ด้วยกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยในแต่ละวันตรวจได้ไม่เกิน 3,000 คน รอบเช้า 1,500 คน และรอบบ่าย 1,500 คน ให้บริการตรวจไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค.นี้ 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ผู้ที่ต้องการตรวจสามารถลงทะเบียนจองคิวตรวจได้ที่เว็บไซต์ https://sso.icntracking.com/icntracking/self_register.php จากนั้นผู้ประกันตนกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือเลขพาสปอร์ต กรอกข้อมูลประเมินความเสี่ยงตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หากผู้ประกันตนรายใดลงทะเบียนแล้วไม่มาตรวจตามนัดจะต้องลงทะเบียนใหม่ และเมื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด -19 เรียบร้อยแล้วสามารถกลับบ้านได้ทันที เนื่องจากผลการตรวจจะส่งทาง SMS ให้ผู้ประกันตนทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน ขอให้ผู้ที่มาตรวจนำบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามได้ที่โทรศัพท์ 1506 กด 6 เพื่อหาสถานที่ตรวจและสถานพยาบาลเข้ารับการรักษาในกรณีติดเชื้อได้ โดยให้บริการทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น. มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการทั้งสิ้น 10 คู่สาย ช่วยเหลือผู้ประกันตนและแรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนจากการตรวจโควิด-19 ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอีกทางหนึ่งด้วย กรณีตรวจพบเชื้อและมีอาการจะถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ส่วนผู้ที่ตรวจพบเชื้อแล้วไม่มีอาการหรืออยู่ในระดับสีเหลืองตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดจะถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ Hospitel ของประกันสังคม ซึ่งมีทีมแพทย์และพยาบาลดูแลเป็นอย่างดี

ศบค. พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย Indian various เข้าไทยแล้ว เป็นหญิงไทย ชี้!! มาจากปากีสถาน ขณะนี้อยู่ในสถานกักกันโรค ยอมรับเป็นห่วงเชื้อกลายพันธุ์ สั่งกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เฝ้าระวังอย่างเข้มงวดสูงสุด

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ การแพร่ระบาดภายในประเทศประจำวันที่ 10 พ.ค.ตอนหนึ่งว่าพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 1,630 ราย แบ่งเป็นติดเชื้อภายในประเทศ 1,622 ราย วันนี้ตัดระบบเฝ้าระวังบริการ 1321 ราย ในพื้นที่ชุมชน 301 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 8 ราย รักษาตัวอยู่ 29,376 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 19,948 ราย โรงพยาบาลสนาม 9,429 ราย อาการหนัก 1151 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 389 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 22 คน รวมเสียชีวิต 421 คน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เที่ยวบินจากอินเดียทั้งหมดเป็นการพาคนไทยกลับบ้าน เดินทางถึงไทยเวลา 16.40 น. วันที่ 8 พฤษภาคม โดยเที่ยวบินพิเศษ ผู้เดินทางคนไทยทั้งหมด 74 คน เป็นเพศชาย 54 คนเพศหญิง 20 คน อายุระหว่าง 14-64 ปี พักอาศัยในหลายเมืองของประเทศอินเดียเช่นเซนไน บังกาลอร์และมุมไบ เข้าพักใน State quarantine 38 คนและ Alternative State quarantine 36 คน

ทั้งนี้ หากเดินทางเข้าเมืองตามระบบเราไม่ห่วง แต่เราห่วงในการเดินทางลอบลอบเข้าเมือง มีการรายงานข้อมูลการสะกัดกั้นการเข้าเมืองไทย ภายใน 24 ชั่วโมง ถึง 104 ราย ทั้งลาว เมียนมา กัมพูชามาเลเซีย ศบค.ชุดเล็กเน้นย้ำฝ่ายครองให้เน้นย้ำป้องกันการลักลอบผ่านทางชายแดน และขอความร่วมมือคนไทยที่ต้องการกลับบ้านเข้าสู่ระบบของคัดกรองของรัฐบาล เพื่อที่จะดูแลให้ปลอดภัยไม่เกิดการแพร่เชื้อ และขอให้พี่น้องประชาชน ผู้นำชุมชน สื่อมวลชนท้องถิ่น ให้เน้นย้ำช่วยเป็นหูเป็นตาหากพบเห็นการขนส่งแรงงานต่างด้าวก็ขอให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการระดมฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรด่านหน้าตามแนวตะเข็บแนวชายแดน ซึ่งจะได้รับการจัดสรรวัคซีนโดยเร็ว

พญ.อภิสมัย กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมได้รายงานว่า มีการพบสายพันธุ์ Indian various ครั้งแรกในประเทศไทย กรณีหญิงไทย อายุ 42 ปีตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์มีภูมิลำเนาก่อนหน้านี้อยู่ที่ปากีสถาน เดินทางมาถึงไทยตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2554 โดยมีการแวะพักเครื่องที่มุมไบ อินเดีย เดินทางมาพร้อมบุตรชาย 3 คนอายุ 4 ปี 6 ปีและ 8 ปี เมื่อเดินทางมาตามระบบก็ถูกจัดสรรให้อยู่ใน state quarantine โดยอาศัยร่มกับบุตรชายอายุ 4 ขวบ พบว่า 26 เมษายนมีการตรวจภูมิประเทศที่ 1 และบุตรอายุ 4 ปียืนยันติดเชื้อ และลูกชายอีก 2 คนเป็นผลลบ

"ยอมรับว่า ที่ประชุมเป็นห่วงเรื่องเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจมีการพัฒนากลายพันธุ์ในประเทศไทย แต่ที่ประชุมได้กำชับให้กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์จะต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดสูงสุด เรามีความเป็นห่วงเรื่องเชื้อสายที่กลายพันธุ์ ที่ประชุมจึงได้กำชับกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ให้ทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังสูงสุดในส่วนเชื้อกลายพันธุ์"พญ.อภิสมัย กล่าว


ที่มา: https://www.naewna.com/local/571886

องค์การอนามัยโลก ย้ำชัดเจนถึงเป้าหมายในเลือกวัคซีนที่แท้จริง โดยให้ดูเรื่อง ‘ความปลอดภัย’ ไม่ใช่เลือกตามประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ตัวเลขชี้วัด)

องค์การอนามัยโลก ย้ำชัดเจนถึงเป้าหมายในเลือกวัคซีนที่แท้จริง โดยให้ดูเรื่อง ‘ความปลอดภัย’ ไม่ใช่เลือกตามประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ตัวเลขชี้วัด)

.

.


ที่มา: นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตรมช.ศึกษา & อธิการบดีม.มหิดล เกี่ยวกับคุณภาพของวัคซีน ผลข้างเคียงต่างๆ ของวัคซีน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top