Sunday, 28 April 2024
NATO

‘ปูติน’ เริ่มของขึ้น!! ออกสื่ออัด ‘สหรัฐฯ-ยุโรป’ หลังตั้งใจดึงรัสเซียเข้าสู่สงครามให้ได้

ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ฉุนขาด!! ออกมาอัดยับ เหล่าบรรดาชาติตะวันตกที่กำลังสร้างสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน เพื่อดึงรัสเซียเข้าสู่สงครามให้ได้ โดยไม่สนใจข้อต่อรองขั้นพื้นฐานของรัสเซียในเรื่องความมั่นคงภายในของยูเครนและรัสเซียเลยแม้แต่น้อย

ท่ามกลางกระแสข่าวว่ารัสเซียเตรียมนำกองทัพบุกยึดยูเครนในไม่ช้านี้ที่หลุดออกมาสะพัด แต่จนแล้วจนรอดรัฐบาลเครมลินก็ปฏิเสธในทุกทีไป เฉกเช่นเดียวกันกับปูตินเอง ที่ไม่ได้ออกสื่อแสดงความเห็นโดยตรงเกี่ยวกับความตึงเครียดบริเวณชายแดนยูเครน-รัสเซียมานาน 

อย่างไรก็ตามแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา และชาติพันธมิตรตะวันตก ซึ่งได้ส่งกองทหารหนุนยูเครน กดดันรัสเซียอย่างหนัก โดยล่าสุด โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ เตรียมส่งกองหนุนเพิ่มให้อีกกว่า 3,000 นาย เข้าไปในเยอรมัน, โรมาเนีย และโปแลนด์ นอกเหนือจากกองกำลังต่างหากของ NATO โดย จอห์น เคอร์บี โฆษกของแพนทากอน ได้กล่าวว่า กองกำลังส่วนนี้มีภารกิจเพื่อสกัดการรุกราน และเสริมกำลังให้กับกองรบแถวหน้าให้กับพันธมิตรของเรา ซึ่งพร้อมเคลื่อนพลประจำการได้ในทันทีเร็วๆ นี้

พอมาถึงจุดนี้ ก็เหมือนจะทำให้ผู้นำรัสเซียเริ่มเดือด และดูท่าจะไม่อดทนอีกต่อไป จนได้มีการออกมาให้สัมภาษณ์กับนักข่าวขณะไปเยือนนายกรัฐมนตรีฮังการีว่า “จนถึงตอนนี้ก็ชัดเจนแล้วว่า ชาติพันธมิตรตะวันตกไม่ได้สนใจข้อเรียกร้องของรัสเซียเรื่องความมั่นคงเลย”

แน่จริงยิงดิ!! เปิด!! 'มาตรา 5' อ้อมอกของ NATO ที่ 'ยูเครน' โหยหา โจมตีประเทศเดียว ก็เหมือนทำร้ายทุกประเทศสมาชิก

ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครนยืดเยื้อมากว่าสิบวันแล้ว ขณะที่บรรดาประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกำลังกลัวว่าสถานการณ์จะยิ่งรุนแรงขึ้น นำไปสู่ความขัดแย้งในวงกว้าง รวมถึง ประธานาธิบดีกิตานัส นาวเซดา ของลิทัวเนีย ซึ่งกล่าวกับ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียจะไม่หยุดอยู่แค่ยูเครน พร้อมเรียกร้องให้นานาชาติให้ความช่วยเหลือยูเครน ก่อนที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งในระดับโลก หรือสงครามโลกครั้งที่ 3

ขณะที่บลิงเคนเน้นย้ำถึง มาตรา 5 ภายใต้สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือของ NATO อีกครั้ง โดยกล่าวกับผู้นำลิทัวเนียซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก NATO ว่า "สหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นในการรับประกันมาตรา 5 ของ NATO ซึ่งว่าด้วยการป้องกันร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก" โดยหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจเยือนลิทัวเนียแล้วบลิงเคนยังมีกำหนดการเยือนลัตเวียและเอสโตเนีย สมาชิก NATO ที่อยู่ใกล้เคียงด้วย

นับตั้งแต่ที่รัสเซียประกาศเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ประเทศสมาชิก NATO ได้พูดถึงมาตรา 5 หลายครั้ง เนื่องจากเพื่อนบ้านรอบๆ ยูเครนหลายประเทศเป็นสมาชิก NATO รวมถึงบลิงเคนเองก็ได้กล่าวเมื่อเดือนก.พ. หลังรัสเซียรุกรานยูเครนว่า "มีความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะไม่หยุดอยู่แค่ยูเครน แต่มีบางสิ่งที่ทรงพลังมากที่ขวางทางสิ่งนั้น และมันคือสิ่งที่เราเรียกว่ามาตรา 5"

บลิงเคนกล่าวต่อว่า "หมายความว่า การโจมตีประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นสมาชิก NATO คือการโจมตีทุกประเทศที่เป็นสมาชิก NATO ประธานาธิบดี (โจ ไบเดน) มีความชัดเจนมากว่าเราจะปกป้องทุกตารางนิ้วของดินแดน NATO"

ปธน.ยูเครน ส่งสัญญาณถึงรัสเซีย ยอมถอย ไม่รั้นขอเป็นสมาชิกนาโต้อีกแล้ว

ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี เผยว่าเขาจะไม่เดินหน้ากดดันขอยูเครนเป็นสมาชิกนาโต้อีกต่อไปแล้ว เพราะถือเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่รัสเซียใช้อ้างความชอบธรรมในการยกพลรุกรานเพื่อนบ้านฝักใฝ่ยุโรปแห่งนี้

เซเลนสกี บอกด้วยว่าเขาเปิดกว้างสำหรับ "ประนีประนอม" ในประเด็นสถานะของ 2 เขตแบ่งแยกดินแดนฝักใฝ่รัสเซีย ที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพิ่งรับรองในฐานะรัฐเอกราช ไม่นานก่อนปิดฉากรุกรานยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์

"ผมใจเย็นลงในเรื่องเกี่ยวกับคำถามนี้มาสักพักแล้ว หลังจากเราตระหนักว่า นาโต้ไม่พร้อมอ้าแขนรับยูเครน" เซเลนสกีให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ซึ่งออกอากาศในคืนวันจันทร์ (7 มี.ค.) "พันธมิตรกลัวสิ่งต่างๆ อันเป็นที่ถกเถียงและกลัวการเผชิญหน้ากับรัสเซีย" ประธานาธิบดีรายนี้กล่าว

เมื่อถูกถามถึงประเด็นถึงการเป็นสมาชิกนาโต้ เซเลนสกี ระบุว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศหนึ่งที่ต้องคุกเข่าอ้อนวอนขออะไรบางอย่างจากใคร

'อียู'​ จำนน!! หลังรับปากพา​ 'ยูเครน'​ เข้า​ 'นาโต'​ แต่ทำไม่ได้ ซ้ำร้าย!! ทำเสียโอกาสฟื้นสัมพันธไมตรีกับรัสเซีย

(11 มี.ค.65)​ สำนักข่าว Wion เผย​ นายโจเซป บอร์เรลล์ (Josep Borrell) รองประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ในฐานะผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง กล่าวว่า ตะวันตกทำพลาดที่ไปเสนอความเป็นสมาชิกภาพของนาโต (NATO membership) ให้แก่ประเทศยูเครน 

มีการวิเคราะห์จากหลายฝ่าย โดยเชื่อกันว่า สาเหตุที่รัสเซียเปิดฉากบุกโจมตียูเครน เป็นเพราะว่า นายวลาดิเมียร์ เซเลนสกีย์ (Volodymyr Zelensky) ประธานาธิบดียูเครน แสดงความพยายามในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนาโต

นายโจเซป บอร์เรลล์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “ผมพร้อมที่จะยอมรับว่า เราทำผิดพลาดหลายประการ และเราสูญเสียโอกาสในการฟื้นสัมพันธไมตรีกับรัสเซีย...มีหลายครั้งที่เราควรจะทำได้ดีกว่านี้ มีหลายสิ่งที่เรานำเสนอแล้วไม่สามารถนำไปบรรลุผลให้สำเร็จได้ เช่น การให้คำมั่นสัญญาว่า ยูเครนกับจอร์เจียจะได้เป็นส่วนหนึ่งของนาโต...ผมคิดว่ามันเป็นความผิดพลาดที่เราไปให้คำมั่นสัญญาแต่กลับทำไม่ได้”

‘ไบเดน’ ย้ำชัดๆ การสู้รบระหว่างNATO กับรัสเซีย จะนำไปสู่ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ที่ต้องพยายามไม่ให้เกิด!!

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา กล่าวย้ำเมื่อวันศุกร์ (11 มี..65) ว่า สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร NATO ทั้งหลายจะไม่สู้รบกับรัสเซียในยูเครน เพราะหากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้นมา นั่นหมายถึงการปะทุของ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’

ในขณะที่เราให้ความสนับสนุนนี้แก่ยูเครน เราก็จะยืนหยัดด้วยกันต่อไปกับบรรดาพันธมิตรของเราในยุโรป และส่งข้อความที่ไม่ทางเข้าใจผิดพลาดไปได้ว่า เราจะปกป้องดินแดน NATO ทุกๆ ตารางนิ้วด้วยพลานุภาพอย่างเต็มที่ของสหรัฐฯ และของNATO ที่ได้รับการกระตุ้นให้ตื่นตัวอย่างเต็มที่” ไบเดนกล่าวเช่นนี้ขณะอยู่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ในวันศุกร์ (11 มี..65) ระหว่างกล่าวปราศรัยกับชาวพรรคเดโมแครตของเขา “ถ้าพวกเขาเคลื่อนไหวขึ้นมาในทันที และได้รับอนุมัติ และถ้าเราตอบโต้ มันก็คือสงครามโลกครั้งที่ 3 แต่เรามีพันธกรณีอันศักดิ์สิทธิ์บนดินแดนของ NATO”

อย่างไรก็ตาม ไบเดน ย้ำอีกครั้งว่า สหรัฐฯ จะไม่สู้รบกับรัสเซียในยูเครน ซึ่งไม่ได้เป็นชาติสมาชิก NATO “เราจะไม่สู้รบทำสงครามกับรัสเซียในยูเครน การสู้รบขัดแย้งกันโดยตรงระหว่างนาโต้กับรัสเซียคือสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องพากเพียรพยายามไม่ให้มันเกิดขึ้นมา”

การให้ความเห็นของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คราวนี้ คือ การกล่าวเตือนอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนที่สุดของเขาเท่าที่เคยกระทำมา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญและนักหนังสือพิมพ์บางรายตั้งคำถามข้องใจขึ้นมาว่า ต้องรอให้รัสเซียทำสถานการณ์บานปลายขยายตัวถึงขนาดไหน จึงจะกระตุ้นให้สหรัฐฯ ดำเนินการตอบโต้ทางการทหาร

นอกจากนั้น ยังมีสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ บางคน พยายามผลักดันให้จัดตั้งเขตห้ามบินขึ้นเหนือน่านฟ้ายูเครน ถึงแม้พวกเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวปฏิเสธไม่เห็นด้วยเรื่อยมา โดยบอกว่า การตั้งเขตห้ามบินเช่นนี้มีศักยภาพจะทำให้กำลังทหารของสหรัฐฯ และพวกชาติพันธมิตรต้องยิงเครื่องบินรัสเซียในน่านฟ้าของยูเครน

อย่าเล่นมุกตลกกับพวกคุณเอง ไม่ว่าคุณจะเรียกมันยังไงก็ตามที นี่เขาเรียกว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 โอเคนะครับ?” ไบเดน กล่าวสำทับ

อดีต 'รมว.คลัง'​ เผยเอกสารลับสหรัฐฯ ที่เคยรับปากรัสเซีย ระบุ!! จะไม่ขยายเขตนาโตแม้แต่นิ้วเดียว

อดีต รมว.คลัง เผยเอกสาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯและยุโรป ร่วมเจรจาให้คำมั่นกับ “มิคาอิล กอร์บาชอฟ” อดีตผู้นำโซเวียต ว่า จะไม่ขยายขอบเขตของนาโต “แม้แต่นิ้วเดียว” แต่กลับเบี้ยว นำไปสู่สงครามยูเครน

ไม่นานมานี้​ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 'Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล'​ เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนว่า...

“กอร์บาชอฟบอกว่า: แม้แต่นิ้วเดียว เข้าใจไม่ตรง”

รูป 1 สื่อ Russia Beyond สัมภาษณ์กอร์บาชอฟ อดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต เกี่ยวกับ ‘แม้แต่นิ้วเดียว’ ปรากฏว่าคำตอบน่าสนใจมาก

สื่อถามว่า: ปัญหาหลักอย่างหนึ่ง เกี่ยวข้องกับยูเครน ก็คือการขยายเขตโดยนาโต้ไปทางตะวันออก คุณคิดว่าประเทศตะวันตกที่วางแผนเกี่ยวกับยุโรปตะวันออกโกหกกับคุณหรือเปล่า?

กรณีที่เจมส์ เบเคอร์สัญญาว่านาโต้จะไม่ขยายไปทางตะวันออก ‘แม้แต่นิ้วเดียว’ นั้น ทำไมคุณไม่เรียกร้องให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร?

กอร์บาชอฟ: ไม่มีการพูดคุยหัวข้อ ‘การขยายเขตนาโต้’ เลย แม้ในห้วงเวลาต่อจากนั้น (หลังปี 1990) ผมพูดอย่างรับผิดชอบเต็มที่

และไม่มีประเทศยุโรปตะวันออกใดที่ยกประเด็นนี้ขึ้น แม้ภายหลังข้อตกลง Warsaw Pact ยกเลิกไปแล้วในปี 1991 ส่วนผู้นำตะวันตกก็ไม่ได้ยกขึ้นเช่นกัน

ประเด็นหนึ่งที่เรายกขึ้นพูดกัน คือโครงสร้างของนาโต้จะไม่ขยายเข้าไปในเยอรมันตะวันออกหลังรวมประเทศ คำพูดของเบเคอร์เป็นเรื่องนี้ โคลและเกนซเลอร์พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้

(ประเทศตะวันตก) ได้มีการทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ตามข้อตกลงทางการเมืองแล้ว ข้อตกลงสุดท้ายเรื่องเยอรมนีระบุว่าจะไม่มีโครงสร้างทางทหารใหม่ในเยอรมันตะวันออก จะไม่วางอาวุธ weapon of mass destruction ที่นั่น และประเทศตะวันตกก็ยอมปฏิบัติตามนั้น

ดังนั้น โปรดอย่าไปเล่าขานกันว่ากอร์บาชอฟและรัฐบาลสหภาพโซเวียตไม่ทันเกม และถูกตะวันตกหลอกลวง

ถ้าจะมีความไม่ทันเกม ก็คือห้วงเวลาหลังจากสหภาพโซเวียตแตกสลายกลายเป็นรัสเซียแล้ว(คือกอร์บาชอฟพ้นตำแหน่งไปแล้ว) รัฐบาลรัสเซียไม่ได้ประท้วงการขยายเขตนาโต้ตั้งแต่เริ่มต้น(ในปี 1999)

(If there was naïveté, it was later, when the issue arose. Russia at first did not object.)

สหรัฐและนาโต้ตัดสินใจขยายเขตนาโต้ไปทิศตะวันออกในปี 1993 (ในปีนั้น เริ่มเจรจากับโปแลนด์) ผมเห็นว่าเป็นการตัดสินใจผิดพลาดตั้งแต่แรก และการขยายเขตดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์และคำมั่นที่ให้กับเราไว้ในปี 1990

(It was definitely a violation of the spirit of the statements and assurances made to us in 1990.)

กรณีเยอรมนีนั้น มีการระบุไว้เป็นเอกสารสัญญาและประเทศตะวันตกก็ปฏิบัติตาม

(With regards to Germany, they were legally enshrined and are being observed.)

สัมภาษณ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 .. 2014 เกิดขึ้นหลังจากรัสเซียในสมัยปูติน บุกเข้าไปในแหลมไครเมียในเดือน ก.. 2014 การที่สื่อมาสัมภาษณ์กอร์บาชอฟ ก็คงจะเพื่อเอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ มาอ้างสนับสนุนการบุกดังกล่าว

แต่เมื่อกอร์บาชอฟสัมภาษณ์เช่นนั้น สื่อสหรัฐก็เอาไปขยายความเพื่อลบล้าง ‘แม้แต่นิ้วเดียว’

ผมวิเคราะห์ว่า ตรงนี้ กอร์บาชอฟพูดตรงกับเหตุการณ์ และการเจรจาเน้นทำเป็นสัญญาเกี่ยวกับเยอรมันตะวันออกเท่านั้น ไม่ได้มีการทำสัญญาเกี่ยวกับประเทศยุโรปตะวันออกอื่นด้วยเลย

เป็นเพราะเหตุใด?

รูป 2 แสดงสมาชิกนาโต้ปัจจุบัน โดยประเทศสมาชิกใหม่หลังปี 1990 ที่อยู่ระหว่างสองลูกศรสีน้ำเงิน ก็คือประเทศที่เดิมอยู่ภายใต้ร่มเงาของสหภาพโซเวียต

รูป 3 แสดงการรับสมาชิกใหม่ของนาโต้ โดยก่อนเยอรมนีรวมตัวมี 3 รอบ ในรอบที่หนึ่งปี 1952 รับกรีซกับตุรกี รอบที่สองปี 1955 รับเยอรมันตะวันตก รอบที่สามปี 1982 รับสเปน

ส่วนประเทศยุโรปตะวันออกนั้น เริ่มรับในรอบที่สี่เป็นต้นไป เริ่มด้วยปี 1999 เชค ฮังการี โปแลนด์ ปี 2005 ล๊อตใหญ่ บุลกาเรีย เอสโตเนีย แลตเวีย ฯลฯ

สรุปแล้ว ในการประชุมปี 1990 ที่เบเคอร์กล่าวถึง ‘แม้แต่นิ้วเดียว’ นั้น มุ่งไปที่เส้นแบ่งเขตอิทธิพลหลักระหว่างนาโต้กับสหภาพโซเวียตในขณะนั้น

‘นาโต’ เล็งกระชับความร่วมมือกับเอเชีย รับมือความท้าทายจาก ‘พญามังกร’

สำนักข่าว RT ของรัสเซียรายงานว่า เย็นส์ สต็อลเตินบาร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) เปิดเผยว่า NATO วางแผนที่จะกระชับความร่วมมือกับพันธมิตรในเอเชียเพื่อตอบสนองต่อ "ความท้าทายด้านความมั่นคง" ที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีน โดยระบุว่าวิกฤตความมั่นคงในปัจจุบันจะมีผลกระทบระดับโลก

สต็อลเตินบาร์กมุ่งมั่นที่จะให้ NATO กระชับความร่วมมือกับพันธมิตรในเอเชียแปซิฟิกในด้านต่างๆ อาทิ การควบคุมอาวุธ ไซเบอร์ และเทคโนโลยี

‘นายกฯ ผู้ดี’ โชว์พาว!! เซ็นข้อตกลง พร้อมส่งทหาร ปกป้องสวีเดน ฟินแลนด์ หากถูกรัสเซียรุกราน

หลังจาก ‘สวีเดน’ และ ‘ฟินแลนด์’ จ่อเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ ‘นาโต’ (NATO) ด้าน บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็ได้เดินทางไปพบนาง แม็กดาเลนา แอนเดอร์สัน ผู้นำหญิงคนล่าสุดของสวีเดน เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อเซ็นข้อตกลงด้านความมั่นคงร่วมกัน โดยสาระสำคัญอยู่ที่ ความพร้อมในการยกกองทัพมาช่วยสวีเดนทันที หากโดนรัสเซียรุกราน

บอริส จอห์นสัน กล่าวว่า ข้อตกลงนี้จะเป็นการเสริมกำลังให้กับชาติในยุโรปเหนือจากภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ และยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรายังคงอยู่ตลอดไป

ผู้นำอังกฤษ ยังกล่าวย้ำอีกว่า นี่ไม่ใช่ข้อตกลงแค่ชั่วคราว แต่จะเป็นความผูกพันด้านการทหารที่ยาวนาน และเมื่อใดก็ตามที่พันธมิตรของเราประสบภัยพิบัติ หรือถูกรุกรานโจมตี ขอเพียงแค่บอกมา อังกฤษพร้อมส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือทันที

และไม่ใช่เพียงแค่สวีเดนเท่านั้น บอริส จอห์นสัน ยังเดินทางไปเยือนฟินแลนด์ และเซ็นข้อตกลงเช่นเดียวกันนี้กับฟินแลนด์ด้วย

ข้อตกลงร่วมนี้ เกิดขึ้นขณะที่ 2 ชาติในกลุ่มนอร์ดิกกำลังกังวลใจกับการรุกรานของรัสเซียในยูเครน และเคยได้กล่าวว่าอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO หรือไม่ 

NATO เตรียมสยายปีก รุกคืบ 'เอเชีย-แปซิฟิก' ดึง 4 ชาติเอเชีย ร่วมเกมกดดันอิทธิพลจีน

ถัดจากการงานประชุมสุดยอดผู้นำ G-7 ที่เยอรมัน ก็จะถึงคราวงานประชุมประจำปีของเหล่าสมาชิก NATO ต่อในทันที ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในวันที่ (29-30 มิถุนายน 2022) ที่กรุงแมดริด ประเทศสเปน

ประเด็นที่สำคัญในปีนี้ หนีไม่พ้นปัญหาการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ที่ผู้นำกลุ่มอย่างสหรัฐอเมริกา ต้องการเห็นการแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดาชาติสมาชิก NATO ที่จะสนับสนุนฝ่ายยูเครนอย่างเต็มกำลังที่จะต่อสู้กับรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกประเด็นที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ 'ภัยคุกคามจากการขยายอิทธิพลของจีนทางด้านฝั่งเอเชีย-แปซิฟิก' ที่กลุ่ม NATO แม้จะได้ชื่อว่าเป็นองค์การของฝั่งแอตแลนติกเหนือ ก็ไม่สามารถปล่อยไว้ได้

นั่นจึงทำให้ปีนี้ มีการเชิญชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ทางฝั่งแปซิฟิก ทั้ง ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ มาเข้าการประชุม NATO ด้วยเป็นครั้งแรก ซึ่งคาดเดาว่าจะมีหัวข้อการผลักดันให้เกิดเป็นพันธมิตรด้านการทหารร่วมกันทางฝั่งเอเชีย-แปซิฟิกเติมเข้ามา

เพราะเชื่อว่าได้ว่านาทีนี้ สหรัฐอเมริกา คงต้องการขยายฐานกองกำลัง NATO ลงมาทางย่านเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น แม้ว่าปัจจุบัน NATO จะได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มพันธมิตรด้านการทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชาติสมาชิกถึง 30 ชาติ แต่เมื่อภูมิภาคด้านฝั่งเอเชีย-แปซิฟิก นั้น อยู่เกินอำนาจขอบเขตการดูแลของกองกำลัง NATO และกำลังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของจีน นี่จึงเป็นเรื่องที่ปล่อยเฉยได้ยาก

ดังนั้นการขยายขอบเขต NATO ด้วยการดึงพันธมิตรของสหรัฐฯ ทางฝั่งเอเชีย-แปซิฟิก เข้ามาร่วมวงด้วย จึงเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษในการประชุมประจำปีครั้งนี้แน่นอน

ฟากรัฐบาลจีน ก็ไม่อาจอยู่เฉย และออกมาคัดค้านการร่วมวงประชุม NATO ของ 4 ชาติในเขตเอเชีย-แปซิฟิกครั้งนี้ พร้อมทั้งตอบโต้ให้ NATO หยุดสร้างมโมคติเกี่ยวกับประเทศจีนที่ผิดๆ เพื่อยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้า และสงครามเย็นในภูมิภาคนี้เสียที และอย่ากระหายสงครามจนล้ำเส้นอธิปไตยของชาติอื่น เพราะเมื่อเกิดสงครามจริงๆ คนที่เดือดร้อนคือประชาชนนับล้าน อย่างที่เห็นตัวอย่างมาแล้วมากมาย

'ตุรเคีย' เปลี่ยนใจ พร้อมสนับสนุน 'ฟินแลนด์-สวีเดน' เข้าร่วม NATO

ผู้นำตุรเคีย-สวีเดน-ฟินแลนด์ ได้เซ็นข้อตกลงไตรภาคีร่วมกันในงานประชุมประจำปีของสมาชิก NATO ที่กรุงแมดริด ประเทศสเปนในวันนี้ ว่าตุรเคียพร้อมที่จะสนับสนุนการเป็นเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ของทั้งสวีเดน และ ฟินแลนด์แล้ว

หลังจากที่ผู้นำตุรเคีย ราเซป ไทยิป แอโดแกน เคยคัดค้านมาโดยตลอด ด้วยข้อกล่าวหาว่า ประเทศนอร์ดิกทั้ง 2 ชาติสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของตุรเคีย แต่วันนี้เขาเปลี่ยนใจ?

นายเซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีฟินแลนด์ ได้ออกมาประกาศยืนยันการสนับสนุนของรัฐบาลตุรเคีย เพื่อเปิดทางสู่การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ NATO ส่วนทางตุรเคียก็ออกแถลงการณ์ว่า ตุรเคียได้สิ่งที่ต้องการแล้ว ที่จะเป็นข้อได้เปรียบของฝ่ายตุรเคียในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย

ว่าแต่สิ่งที่ตุรเคีย "ต้องการ" คืออะไร? 

ก่อนหน้านี้ที่ฟินแลนด์ และสวีเดน แสดงเจตจำนงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO เนื่องจากหวั่นเกรงภัยคุกคามของรัสเซีย ที่กำลังรุกรานยูเครน อีกทั้งยังข่มขู่ฟินแลนด์ และ สวีเดน หากคิดจะเข้ากลุ่ม NATO 

แต่การจะได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลัง NATO จะต้องได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกปัจจุบันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งตุรเคียได้ออกมาคัดค้านอย่างหัวชนฝา และกล่าวหาว่าทั้งฟินแลนด์ และ สวีเดน สนับสนุน และให้ที่พักพิงแก่กลุ่มนักรบชาวเคิร์ด หรือกลุ่ม PKK ที่มีเป้าหมายแบ่งแยกดินแดนตุรเคียเพื่อสถาปนารัฐเคอร์ดิสถาน และได้ก่อความไม่สงบในยุโรปมานานหลายสิบปีจนถูกขึ้นทะเบียนเป็น กลุ่มก่อการร้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top