Friday, 9 May 2025
Lite

31 ธันวาคม วันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568

ในปฏิทินเกรกอเรียน วันที่ 31 ธันวาคม หรือที่เรียกว่า 'วันส่งท้ายปีเก่า' เป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองการสิ้นสุดของปีเก่าและการต้อนรับปีใหม่ ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายของปี ในหลายประเทศ การเฉลิมฉลองคืนวันปีใหม่มักจะเต็มไปด้วยการเฉลิมฉลอง และการชมพลุดอกไม้ไฟ นอกจากนี้ ในบางประเทศที่มีคริสเตียนก็จะมีการไปทำพิธีนมัสการในคืนวันปีใหม่ การเฉลิมฉลองมักจะดำเนินต่อไปจนถึงเที่ยงคืนและต้อนรับวันปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม

ประเทศในแถบเกาะไลน์ อาทิ คีริบาส, ซามัว และ ตองกา ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะเป็นพื้นที่แรกของโลกที่ต้อนเข้าสู่ศักราชใหม่ ขณะที่ อเมริกันซามัว, เกาะเบเคอร์ และ เกาะฮาวแลนด์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอเมริกัน) จะต้อนรับปีใหม่เป็นพื้นที่สุดท้ายของโลกที่เข้าสู่ปี 2025 

ในแต่ชาติจะมีวัฒนธรรมการเฉลิมฉลองที่แตกต่างกัน ในประเทศจีน แม้ว่าจะมีการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนอยู่แล้ว แต่ก็มีการฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ตามแบบปฏิทินเกรกอเรียนเช่นกัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง ที่มีการจัดแสดงพลุและคอนเสิร์ตร็อก และในเซี่ยงไฮ้ที่มีการแสดงแสงและเสียงก่อนเที่ยงคืน

ใน ญี่ปุ่น, ค่ำคืนวันปีใหม่ถือเป็นเวลาที่ชาวญี่ปุ่นจะเตรียมตัวต้อนรับ 'เทพเจ้าแห่งปีใหม่' หรือ โทชิกามิ ชาวญี่ปุ่นมักนิยมทำความสะอาดบ้านและเตรียม 'คาโดมัตสึ' หรือ 'ชิเมนาวะ' เพื่อการต้อนรับเทพเจ้าถือเป็นประเพณีที่สำคัญ โดยที่วัดพุทธในญี่ปุ่นจะตีระฆัง 108 ครั้งในคืนวันปีใหม่เพื่อขจัดสิ่งไม่ดีทั้งหลาย

ใน ประเทศไทย มีหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยต่างจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่ากันอย่างคึกคัก อาทิ  กรุงเทพฯ และพัทยา มีการจัดงานเคานต์ดาวน์ การแสดงพลุไฟ และคอนเสิร์ต รวมไปถึงงานปาร์ตี้ในโรงแรม ร้านอาหาร และสถานบันเทิงต่าง ๆ 

ใน ฝรั่งเศส, การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ หรือ 'la Saint-Sylvestre' มักจะมีการจัดเลี้ยงอาหารมื้อใหญ่ หรือ 'Réveillon de la Saint-Sylvestre' ซึ่งมีอาหารพิเศษเช่น ฟัวกราส, ซีฟู้ด, และแชมเปญ และมีไฮไลต์คือการแสดงพลุที่หอไอเฟลเป็นประจำทุกปี

ใน รัสเซีย, การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ที่เรียกว่า 'Novy God' แม้ว่ารัสเซียจะนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ (Orthodox) ที่จะมีการเฉลิมฉลองบางอย่างแตกต่างจากคริสตชนประเทศอื่น แต่ก็มีรัสเซียก็มีวันหยุดที่เหมือนกับวันคริสต์มาส โด จะมีการประดับตกแต่งไฟและขอของขวัญจาก 'Ded Moroz' หรือ ซานตาคลอสในภาษารัสเซีย 

ในสหรัฐอเมริกา ไฮไลท์การถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ที่ไทม์สแควร์ในนิวยอร์ก เริ่มต้นครั้งแรกในปี 1970 ก่อนที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเฉลิมฉลองนี้ในเวลาต่อมา ในปีนี้ลูกบอลยักษ์ที่ประดับด้วยคริสตัล จำนวน 2,688 ชิ้นที่ผลิตโดยบริษัท Gillinder Glass พร้อมติดตั้งไฟ LED มีน้ำหนักถึง 11,875 ปอนด์และเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ฟุต จะตกลงมาในไทม์สแควร์ช่วงเวลาใกล้เที่ยงคืน พร้อมอักษรไฟคำว่า '2025' ที่มีน้ำหนักราว 545 กิโลกรัม มีความสูง 7 ฟุต ได้รับการประดับประดาด้วยหลอดไฟแอลอีดีจำนวน 620 ดวง จะสว่างไสวสร้างความประทับใจให้กับคนทั่วโลกในคืนสุดท้ายของปี

‘เจนี่’ สุดทน! หลังสื่อบันเทิงตั้งฉายา “ม่ายใจเริง” ซัด! อย่าให้ความบันเทิงเกินเลยเส้นแบ่งจริยธรรม

(30 ธ.ค. 67) สุดที่จะทน!! จนพรั่งพรูออกมาเป็นตัวอักษรหลายย่อหน้า ของ ‘เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ’ ที่ไม่ไหวแล้ว กับฉายาล่าสุดที่ถูกตั้งโดย สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง อย่าง “ม่ายใจเริง” โดยทางคนที่ตั้งฉายานี้ให้ ให้เหตุผลว่า “นางเอกสาวที่เคยโด่งดังเป็นพลุแตก กับบทบาทใจเริงชิงรักหักสวาทในละครเพลิงบุญ เจนี่ แม้แต่งงานเป็นครอบครัวมีลูกที่น่ารัก กับมิกกี้ มา 6 ปี แต่ถึงวันนี้ชีวิตคู่การเป็นสามีภรรยานั้นกลายเป็นเส้นขนานไปแล้วเรียบร้อย นางเอกสาว เจนี่ เลยเข้าสู่สถานะม่ายสาวพราวเสน่ห์อย่างเป็นทางการอีกครั้ง” แต่ย้อนกลับไปในวันที่ฉายาออกเผยแพร่ ก็ทำให้มีกระแสออกไปทั้งสองด้าน ทั้งเห็นด้วยและก็รู้สึกว่ามันแรงไปไหม?

ล่าสุดเจนี่ได้เคลื่อนไหว ผ่านหน้าไอจี พร้อมในสตอรี่ไอจี เนื่องจากก่อนหน้านี้มีข่าวอักษรออกมาจากเพจ อีป้าข้างบ้าน เขียนประมาณว่า “ดาราสาวไม่โอเคกับฉายา ล่าสุดสั่งให้ลบ จนชาวเน็ตเม้นท์สนั่น” เจ้าตัวร่ายยาวถึงการตั้งฉายานี้ กระทบถึงความรู้สึกตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงถามกลับว่า นี่คือแค่การแซว หรือ บูลลี่ กันแน่!!

“ม่ายใจเริง แต่ลืมนึกถึงใจเขา ใจเรารึเปล่า...

จะสิ้นปีแล้ว เราควรมีสิ่งดีๆ ให้กัน แต่ธรรมเนียมการตั้งฉายา จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง รวมกันตั้ง ให้ผู้อื่นทุกข์ใจ นั้นเหมาะสมแล้วหรือคะ

หลายปีที่ผ่านมามีการตั้งฉายา ให้เจน...เจนไม่ว่าอะไร เข้าใจได้ว่าแซวกัน บนขอบเขตงาน แต่ปีนี้ ฉายา ม่ายใจเริง นั้น มีความหมายถึงสถานะทางครอบครัว และสังคมที่สำคัญไม่ได้บอกถึงผลงาน แต่เป็นการ "ไม่ให้เกียรติ" ต่อการเป็นผู้หญิงของเจน

เจนทำงานทุกอย่างด้วยความสุจริต ตามงานที่เจน ได้รับมอบหมาย เพื่อดูแลครอบครัว

แต่การตั้ง ฉายานี้ ไม่ได้ส่งผลที่ดี ต่องาน และครอบครัวเจน แล้วพอเจนถามไป ก็บอกว่า ทำไมรับไม่ได้ทำไม แค่นี้ไม่ยอมรับล่ะ? มันคือ การแซวกัน !!

รู้มั้ยคะ ว่ามีกี่ข้อความ ที่ด่าทอเจน กันอย่างสนุกปาก กับการจุดไฟของฉายานี้ มีผลกระทบ ต่อครอบครัว และตัวเจนขนาดไหน

เจน ไม่ได้อยากเป็นม่าย แต่เจนก็พยายาม ที่สุดแล้วในการรักษาสถานะครอบครัว ใจเริง หมายถึง ใจที่มีรักมากมาย ?? ตัดสินเจนจากอะไรคะ

หน่วยงานอื่นตั้งฉายา จากผลงานการทำงาน
สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง ตั้งฉายานี้ จากปัญหาชีวิตครอบครัวเจน เจนต้องรับ ฉายานี้เหรอคะ

การตั้งฉายาให้คนอื่นสนุกปาก จากความทุกข์ของอีกฝ่าย มันต่างจากการบลูลี่มั้ยคะ

ทุกวันนี้ในสังคม มีเรื่องแบบนี้มากมาย จนส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิต เรายังสนุก และเห็นด้วยกับผู้กระทำ ว่าบลูลี่ เป็นเรื่องที่ถูกต้อง และต้องยอมรับให้ได้อยู่เหรอคะ

คำว่า ธรรมเนียม คือ การยึดถือปฏิบัติต่อๆ กันมา แต่ควรเป็นเรื่องที่ดี หรือเปล่าคะ

อยากให้นึกถึง ใจเขา ใจเรา ค่ะ ถ้าเป็นเรา เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวเรา หรือคนที่เรารัก เราจะรู้สึกอย่างไร

" สื่อที่ดี " ต้องสื่อสาร ด้วยความเป็นธรรม
ถูกต้อง และ " มีความรับผิดชอบ "

อย่าให้ความบันเทิง มันเกินเลย
เส้นแบ่ง ของจริยธรรมเลยนะคะ“

ส่วนในสตอรี่ไอจี เจ้าตัวก็ได้แชร์โพสต์นี้ พร้อมยังกล่าวถึงความรู้สึกที่ต้องออกมาเคลื่อนไหว พร้อมอิโมจิร้องไห้

“วันนี้มันไม่ไหวแล้วจริงๆ... ขออนุญาตออกมาปกป้องความรู้สึกของตัวเองบ้างนะคะ 30 ปีในวงการ เจนยอมพี่ๆ นักข่าวมาโดยตลอด แต่ครั้งนี้เจนว่ามันแรงเกินไปจริงๆ ลองนึกถึงใจเขาใจเรา... บ้างนะคะ”

1 มกราคม ‘วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ’ เจ้านายพระองค์สำคัญ

วันที่ 1 มกราคม นอกจากจะเป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว ยังถือเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพเจ้านายพระองค์สำคัญในอดีตด้วยเช่นกัน ดังนี้

1 มกราคม 2407 วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407 เป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปนั้น พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทำให้พระองค์ทรงเป็นปฐมบรมราชินีนาถของประเทศไทย มีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์สภานายิกา สภากาชาดไทยพระองค์แรกอีกด้วย 

1 มกราคม 2423 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือ ด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 ปี 

1 มกราคม 2437 วันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 
 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เสด็จพระราชสมภพ 1 มกราคม พ.ศ. 2437 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 86 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 

พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "พระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล" ทรงเป็นสมเด็จพระบรมชนกใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 และ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

2 มกราคม พ.ศ. 2551 วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระธิดาใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม 2466 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงเป็นพระเชษฐภคินีของพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่8 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติในหลายสาขา ทั้งด้านการศึกษาและสาธารณสุข โดยเฉพาะทรงสืบสานงานมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (มูลนิธิ พอ.สว.) พระองค์ทรงนำหน่วยแพทย์ พอ.สว. ออกเยี่ยมราษฎรและตรวจรักษาผู้ป่วยตามหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ในผู้ป่วยบางรายทรงรับไว้ในพระอนุเคราะห์ และส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลในตัวจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2538 ในโอกาสมหามงคลเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมโบราณราชประเพณีพระองค์เดียวในรัชกาล โดยทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”

ปลายปี 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประชวร และเสด็จไปประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลศิริราช และสิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 หรือ วันนี้เมื่อ 17 ปีที่แล้ว สิริพระชันษา 84 ปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2551

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 2 มกราคม 2568

รางวัลที่ 1 รางวัลละ 6,000,000 บาท : 730209
เลขท้าย 2 ตัว 1 รางวัล รางวัลละ 2,000 บาท : 51
เลขหน้า 3 ตัว 2 รางวัล รางวัลละ 4,000 บาท :446  065 

เลขท้าย 3 ตัว 2 รางวัล รางวัลละ 4,000 บาท : 376 297 
รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1

มี 2 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท : 730208 730210

ผลสลาก รางวัลที่ 2
มี 5 รางวัล รางวัลละ 200,000 บาท : 671700 144798 440080    905788    764177

ผลสลาก รางวัลที่ 3
มี 10 รางวัล รางวัลละ 80,000 บาท 

810497    593131    632323    286468    543132
651864    017410    023742    950821    441850

ผลสลาก รางวัลที่ 4
มี 50 รางวัล รางวัลละ 40,000 บาท
452409    226925    624310    074970    953541
601172    449201    397163    666587    710399
688447    702769    676198    436266    088544
176393    640423    987193    615097    556317
358149    315874    309294    096390    094884
825425    582187    676456    422247    011243
881355    440900    601534    789122    085210
342298    067086    857858    785881    608458
293328    487715    794597    810445    379925
726121    746225    783456    618276    506949

ผลสลาก รางวัลที่ 5
มี 100 รางวัล รางวัลละ 20,000 บาท
107563    826029    943848    833998    765600
184544    954563    286901    280825    021492
795138    560785    833636    183320    988047
990183    782267    089960    813239    758578
824174    468305    362401    022786    389866
602267    293532    208923    700600    246839
856581    007186    749177    058809    485535
289954    319306    492579    854220    545258
081441    511582    137743    994546    265752
020744    754462    631702    799442    603121
951202    914603    013427    028982    162386
509831    184824    865081    074378    010081
808422    485072    299555    773620    730910
395375    711289    693949    977363    498509
204356    805029    734145    586000    762213
976957    066939    830173    684186    358876
718146    520294    233615    239089    900063
021023    963902    289147    064372    991165
683261    358456    718339    795129    666663
121888    248890    718590    693948    292298

3 มกราคม พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 ทรงวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ‘จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย’ ในปัจจุบัน

วันนี้ครบรอบ 110 ปี พระราชพิธีก่อพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปัจจุบันคืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์) โดยต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

ในวันนั้นพระราชดำรัสตอบของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ ผู้ที่มาชุมนุมอยู่ในงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ ในวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พระพุทธศักราช 2458 ความว่า

“วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังการให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้ว ในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีเหตุติดขัด"

"ซึ่งการยังจะดำเนินไปไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึงรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ โดยรู้ว่าเมื่อได้ทำสำเร็จแล้วจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์ เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเราเป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์ อันใหญ่และถาวรเช่นนี้”

“ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราจะได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่แลเห็นความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้ส่วนการที่ดำเนินไปได้จนเป็นรูปถึงเพียงนี้แล้ว ก็ต้องอาศัยความอุตสาหะของกรรมการผู้ได้รับมอบเป็นหน้าที่ผู้อำนวยการ ประกอบกับความอุตสาหะแห่งบรรดาผู้มีหน้าที่เป็นครู อาจารย์สั่งสอนในโรงเรียนนี้ ของกรรมการที่ได้รับมอบหน้าที่ไปจากเราให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจงได้รับความขอบใจของเราแล้ว"

"และขอให้แสดงความขอบใจของเรานี้แก่ครู อาจารย์ทั้งหลายที่พยายามทำการตามหน้าที่อย่างสามารถด้วย ขอจงมีความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลทั่วกัน ความมุ่งหมายและกิจการซึ่งต่างก็ตั้งหน้าพยายาม เพื่อจะให้เป็นความดีความงามแก่มหาวิทยาลัยในเบื้องหน้านั้น ก็ขอให้ได้ผลสำเร็จ สมปรารถนาโดยเร็วเทอญฯ”

อนึ่ง สำหรับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ในปัจจุบันคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2459 พร้อมกับโอนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการในวันเดียวกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหาวิทยาลัยขึ้นอีกกรมหนึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการ มีตำแหน่งหัวหน้าเป็นชั้นอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นกับกรมนี้

โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นพระองค์แรก และมีพระยาอนุกิจวิทูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก (ต่อมาตำแหน่งนี้เปลี่ยนไปเรียกเป็นอธิการบดี ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา)

ต่อมาตึกนี้ใช้เป็นสถานที่เรียนของคณะอักษรศาสตร์ คือ ตึกอักษรศาสตร์ 1 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

4 มกราคม ของทุกปี ‘วันทหารม้า’ น้อมสดุดีวีรกรรม ‘พระเจ้าตาก’ ทำการรบบนหลังม้าต่อสู้กับทหารพม่าจนได้ชัยชนะ

วันทหารม้าถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 4 มกราคมของทุกปี เป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้นำกำลังทหารตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่ทหารพม่ารวบรวมกำลังไล่ติดตามมาถึง ณ บ้านพรานนก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยทหารเอกคู่พระทัยจำนวน 4 นาย ได้ทำการรบบนหลังม้าต่อสู้กับทหารพม่าจำนวน 30 นายจนได้รับชัยชนะ

โดยตลอดการรบในครั้งนั้นชาวบ้านได้จัดส่งข้าวเม่าให้เป็นเสบียงและส่งธนูให้แก่ทหารใช้เป็นอาวุธ กองทหารได้ปะทะกับพม่าที่คลองแห่งหนึ่ง จนเมื่อพระยาตากตีทหารพม่าแตกพ่าย จึงตั้งชื่อคลองว่า 'คลองชนะ' ฝ่ายทหารพม่าได้ติดตามไปอย่างกระชั้นชิดตลอดระยะทางที่หนีออกจากกรุงศรีอยุธยา พระยาตากต้องต่อสู้กับพม่าถึง 4 ครั้ง แต่กองทหารพม่าก็ไม่ยอมลดละ และไล่ตามไปทันที่บ้านโพธิ์สังหาร ซึ่งมีหญิงสาวชาวบ้านชื่อนางโพ ได้ช่วยรบกับพม่าจนเสียชีวิต โดยภายหลังจากพระยาตากกู้ชาติได้แล้วจึงได้ระลึกถึงกลับมาตั้งชื่อหมู่บ้านโพธิ์สังหาร เป็นหมู่บ้านโพสาวหาญและยังใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ 

อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งคือ 'พรานนก' หรือเฒ่าคำ ซึ่งเป็นผู้ช่วยจัดเสบียงอาหารให้กับกองทหารพระยาตากในระหว่างสงคราม โดยในปัจจุบันมีรูปปั้นให้ประชาชนเคารพที่หมู่บ้านพรานนก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้ จากการสู้รบในครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงการใช้คุณลักษณะของทหารม้าในการรบ คือความคล่องแคล่วและรวดเร็วในการเคลื่อนที่ จึงยกย่องพระองค์เป็นบูรพาจารย์แห่งการรบบนหลังม้า และเป็นพระบิดาของเหล่าทหารม้า และได้ถือเอาวันที่พระองค์สร้างวีรกรรมในครั้งนั้นคือวันที่ 4 มกราคม ของทุกปีเป็น 'วันทหารม้า'

‘โก๊ะตี๋’ ประกาศแยกทางภรรยา ‘กวาง’ หลังเพิ่งแต่งได้ปีเดียว ปิดฉากรัก 12 ปี

‘โก๊ะตี๋’ ประกาศแยกทางภรรยา ‘กวาง’ ยุติรัก 12 ปี หลังเพิ่งแต่งได้ปีเดียว ยันไม่มีมือที่ 3 ขอโทษทุกฝ่ายที่ทำให้ผิดหวัง 

(3 ม.ค. 68) เพิ่งเข้าพิธีวิวาห์ไปเมื่อปลายปี 2566 ที่ผ่านมา สำหรับตลกชื่อดัง โก๋ตี๋ อารามบอย และ กวาง แฟนสาว 

ล่าสุดโก๊ะตี๋ เปิดเผยถึงการยุติความสัมพันธ์ 12 ปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผ่านบัญชี Instagram โดยระบุเป็นข้อความ ดังนี้

“ก่อนอื่นหนูต้องกราบขอโทษทุก ๆ คนที่หนูต้องขอแจ้งมาตรงนี้นะครับ… เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมาหนูได้ตัดสินใจคุยกับน้องกวาง… ถึงอนาคตและวิธีคิดต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตคู่ด้วยกันต่อไป… แต่ด้วยตัวตนของหนู วิธีคิดของหนู หรือการกระทำของหนู รวมถึงอีกหลายอย่างที่อยู่รอบตัวหนู มันทำให้ความฝันของหนูและกวางคงเป็นไปได้ยากครับ… ด้วยอะไรหลาย ๆ อย่างที่หนูแบกรับมันมานานแสนนานและมันกดดันคนข้าง ๆ หนูและตัวหนูเองตลอดเวลา จึงทำให้หนูเผลอพูดคำแรง ๆ ออกไป ซึ่งผู้หญิงน้อยคนจะรับได้… ซึ่งหนูรู้ตัวเองว่าหนูเปลี่ยนมันไม่ได้ เมื่อใดที่หนูตกอยู่ภายใต้ความกดดันแบบนี้ หนูก็จะทำและเป็นแบบนี้อีก… หนูจึงบอกกับกวางว่าเราคงไม่ใช่คนที่จะเดินทางร่วมกันและสร้างความฝันที่ตั้งใจกันไว้ได้สำเร็จ… หนูขอพูดตรงนี้นะครับว่า การที่เราทั้งคู่ตัดสินใจแบบนี้ไม่มีมือที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งกวางและหนูครับ… มันคือทัศนคติล้วน ๆ ครับ… ปี๊ขอบคุณกวางที่รักผู้ชายคนนี้และเดินทางร่วมกันมา 12 ปี ขอโทษที่ทำให้เสียเวลา… เราต่างก็เจ็บปวดนะเพราะเราต้องแยกย้ายกัน ทั้งที่ยังรักกัน ขอบคุณความรักของกวางที่มีให้ผู้ชายบ้าน ๆ คนนี้เสมอมา

“ปี๊ขอบคุณกวางจริง ๆ ปี๊รักกวางนะ” โกเคยบอกกับหนูว่าทะเลาะกันอย่าโพสต์ลงโซเชียลหนูต้องกราบขอโทษโกด้วยครับ ครั้งนี้มันไม่ได้เป็นการทะเลาะกันเลยครับ… หนูขอบคุณผู้ใหญ่ทั้ง 2 ฝ่ายที่พยายามทำให้รักของเรา2คนไปกันต่อได้ แต่ชีวิตคู่มันเป็นเรื่องของคน2คนจริง ๆ ครับ… หนูขอโทษอาต๋อย (ซึ่งเปรียบเหมือนพ่อคนที่ 2 ของหนู) หนูขอโทษพี่ยุทธที่หนูทำให้พี่ผิดหวัง และกราบขอโทษผู้ใหญ่ของทางกวาง ทั้งโกน้อง ทั้งแม่ พี่ชายกวางอีก 5 คนอาเจ็ก อาซิม และญาติของกวางทุก ๆ คน…ขอบคุณที่รักและเมตตาหนูมาโดยตลอด 12 ปี ก่อนหน้านี้หนูพยายามทำให้มันดีที่สุดเพราะไม่อยากให้ทุก ๆ คนต้องผิดหวังและเสียใจกับคู่ของหนูและกวางครับ… หนูยังรักและเคารพทุก ๆ ท่านเหมือนเดิม เพียงแต่วันนี้ด้วยเหตุผลของเรา 2 คนเดินร่วมทางกันต่อไม่ได้… มันผิดที่หนูคนเดียวครับ เพราะนี่คือการตัดสินใจของหนูเองตั้งแต่ต้นครับ

6 มกราคม พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จฯ ทรงเปิดโรงพยาบาลอานันทมหิดล จ.ลพบุรี

วันนี้เมื่อ 87 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลอานันทมหิดล จ.ลพบุรี

โรงพยาบาลอานันทมหิดล (อังกฤษ: Ananda Mahidol Hospital) กรมแพทย์ทหารบก ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกองทัพบกไทย ให้บริการทั้งข้าราชการทหารและพลเรือนรวมถึงประชาชนทั่วไป และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สามรองจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี

โรงพยาบาลอานันทมหิดลก็ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 และแล้วเสร็จในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ มากระทำพิธีเปิดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันเปิดค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

5 มกราคม พ.ศ. 2516 ในหลวง ร.9 เสด็จฯหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลั๊วะ อ.แม่สะเรียง เยี่ยมราษฎรพร้อมส่งเสริมการปลูกกาแฟและการเลี้ยงไหม

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ หมู่บ้านป่าแป๋ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลั๊วะ ทรงพระราชทาน ห่าน สิ่งของและยารักษาโรค พระองค์ทรงให้ส่งเสริมการปลูกต้นกาแฟและพระราชทานเงินให้หญิงชาวเขาเข้าเรียนการเลี้ยงไหมและกลับมาสอนให้ชาวเขาภายในครอบครัวต่อไป

และในวันเดียวกันนัน ยังได้เสด็จองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) หน่วยแม่โจ้ครั้งแรก ณ อาคารแผ่พืชน์ วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ พร้อมทั้งทรงมีพระบรมราโชวาทสำคัญตอนหนึ่งความว่า 

"แม่โจ้นั้นรักสามัคคีกันมาก และหากพลังแห่งสามัคคี ถ้าไปใช้ในทางที่ถูกต้อง ที่ดี ที่สร้างสรรค์ จะนำไปสู่ความเจริญ ไปสู่ความดี และผู้ปฏิบัติจะได้รับผลดีคือ ความยกย่องของชุมชน และความยกย่องของประชาชนทั้งประเทศ..."


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top